E N D
ความหมายของการเกิดภูเขาไฟความหมายของการเกิดภูเขาไฟ การเกิดภูเขาไฟเกิดจากหินหนืดที่อยู่ใต้เปลือกโลกถูกแรงดันอัดให้แทรกรอยแตกขึ้นสู่ผิวโลก โดยมีแรงปะทุหรือแรงระเบิดเกิดขึ้นสิ่งที่พุ่งออกมาจากภูเขาไฟเมื่อภูเขาไฟระเบิดก็คือ หินหนืด ไอน้ำ ฝุ่นละออง เศษหินและแก๊สต่างๆ โดยจะพุ่งออกมาจากปล่องภูเขาไฟ (หินหนืดถ้าถูกพุ่งออกมาจากบนพื้นผิวโลกเรียกว่า ลาวา แต่ถ้ายังอยู่ใต้ผิวโลกเรียกว่า แมกมา)บริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟ แนวรอยต่อระหว่างเพลตจะเป็นบริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟได้ มากที่สุด โดยเฉพาะบริเวณที่มีการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก ใต้พื้นมหาสมุทรลงไปสู่บริเวณใต้เปลือกโลกที่เป็นส่วนของทวีป เพราะเปลือกโลกแผ่นเปลือกโลกที่มุดตัวลงไปจะถูกหลอมกลายเป็นหินหนืด จึงแทรกตัวขึ้นมาบริเวณผิวโลกได้ง่ายกว่าบริเวณอื่น บริเวณที่อยู่ห่างจากรอยต่อระหว่างเปลือกโลก ก็อาจเกิดภูเขาไฟได้เช่นกัน ซึ่งเกิดขึ้นโดยกระบวนการที่หินหนืดถูกดันขึ้นมาตามรอยแยกในชั้นหิน
ปรากฏการณ์ภูเขาไฟ ปรากฏการณ์ภูเขาไฟ แบ่งออกเป็น ภูเขาไฟมีพลัง (active volcanoes) ภูเขาไฟสงบ (dormant volcanoes)และ ภูเขาไฟดับสนิท (extint volcanoes) ภูเขาไฟที่อยู่ในสภาวะมีการปะทุอย่างต่อเนื่องหรือขาดหายไปเป็นช่วงให้จัดเป็นภูเขาไฟมีพลัง เช่น ภูเขาไฟเอ็ตนา (Etna) ในเกาะชิชิลีตอนใต้ประเทศอิตาลี ส่วนภูเขาไฟที่ปัจจุบันไม่มีพลัง แต่ได้เคยปะทุขึ้นในอดีต เรียกว่า ภูเขาไฟสงบเช่น ภูเขาไฟวิสุเวียสในอิตาลี ที่ได้ปะทุขึ้นและสงบมานานหลายศตวรรษ ส่วนภูเขาไฟที่ไม่มีการปะทุอีกในอดีตกาล เรียกว่า ภูเขาไฟดับสนิท
การจำแนกภูเขาไฟตามรูปร่างการจำแนกภูเขาไฟตามรูปร่าง • การจำแนกภูเขาไฟตามรูปร่าง ตามส่วนประกอบที่ทำให้เกิด และ • ชนิดของการประทุ โดยสรุปแล้วเราจะจำแนกภูเขาไฟได้ 3 ลักษณะคือ • กรวยภูเขาไฟสลับชั้น (Composite Cone Volcano)เป็นภูเขาไฟซึ่งเกิดจากการสลับหมุนเวียนของชั้นลาวา และเศษหิน ภูเขาไฟชนิดนี้อาจจะดันลาวาไหลออกมาเป็นเวลานาน • ภูเขาไฟรูปโล่ (Shield Volcano) เป็นภูเขาไฟที่มีขนาดใหญ่ โดยพื้นฐานแล้วภูเขาไฟชนิดนี้เกิดจาก ลาวาชนิดบาซอลท์ที่ไหลด้วยความหนืดต่ำ ลาวาที่ไหลมาจากปล่องกลางและไม่กองสูงชัน เหมือนภูเขาไฟชนิดกรวยสลับชั้น ภูเขาไฟชนิดนี้มักจะเป็นภูเขาไฟที่ใหญ่ • กรวยกรวดภูเขาไฟ (Cinder Cone) ภูเขาไฟชนิดนี้จะสูงชันมาก และเกิดจากลาวา • ที่พุ่งออกมาทับถมกัน ลาวาจะมีความหนืดสูง การไหลไม่ต่อเนื่อง
ภูเขาไฟเกิดขึ้นได้อย่างไรภูเขาไฟเกิดขึ้นได้อย่างไร ภูเขาไฟเป็นเสมือนช่องประทุหรือแนวประทุที่แมกมา ( หินร้อนเหลวที่อยู่ในส่วนลึก ใต้เปลือกโลก) เคลื่อนตัวด้วยแรงผ่านเปลือกโลกขึ้นมาบนผิวโลก เรียกหินร้อนเหลวที่ไหลบน ผิวโลกนี้ว่าลาวา ภูเขาไฟมักเกิดขึ้นตามแนวขอบของแผ่นเปลือกโลกภูเขาไฟที่ไม่มีการระเบิด มานานเรียกว่า ภูเขาไฟ หมดสภาพ (domant) และภูเขาไฟที่หยุดการระเบิดไปแล้ว อย่างถาวรเรียกว่า ภูเขาไฟดับสนิท (extinct)ในบริเวณภูเขาไฟนอกจากจะพบภูเขาไฟแล้ว ยังมีสิ่งที่เกิดร่วมกับภูเขาไฟที่ควรรู้ ได้แก่ พุน้ำร้อนไกเซอร์(geysers),พุน้ำแร่ร้อน (hot mineral springs), พุก๊าซกำมะถัน (Solfataras), พุก๊าซ (Fumnaroles) และ โคลนเดือด (bubbling mudpools) เป็นต้น
ผลกระทบจากการระเบิดของภูเขาไฟผลกระทบจากการระเบิดของภูเขาไฟ • - แรงสั่นสะเทือนสั่นมากๆ มีทั้งการเกิดแผ่นดินไหวเตือน • แผ่นดินไหวจริง และแผ่นดินไหวติดตาม • การเคลื่อนที่ของลาวา อาจไหลออกมาจากปากปล่องภูเขาไฟเคลื่อนที่รวดเร็วถึง 50,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง • เกิดเถ้าภูเขาไฟ บอมบ์ภูเขาไฟ ระเบิดขึ้นสู่บรรยากาศ ครอบคลุมอาณาบริเวณใกล้ภูเขาไฟ และลมอาจพัดพาไปไกลจากแหล่งภูเขาไฟระเบิดหลายพันกิโลเมตร • เกิดคลื่นสึนามิ ขณะเกิดภูเขาไประเบิด โดยเฉพาะภูเขาไฟใต้ท้องมหาสมุทร คลื่นนี้จะโถมเข้าหาฝั่งสูงกว่า 30,000 เมตร • หลังจากภูเขาไฟระเบิด เถ้าภูเขาไฟจะถล่มลงมา ทำให้พื้นที่ใกล้เคียงถูกทำลาย
ภาพเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิดภาพเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิด
1. แก๊ส แก๊สที่พวยพุ่งออกมาจากภูเขาไฟส่วนใหญ่ประกอบด้วย ไอน้ำที่มีปริมาณหลากหลายของคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สไข่เน่า และคลอรีน ในช่วงมีการปะทุแก๊สที่เล็ดลอดอาจผสมรวมกันเข้ากับฝุ่นภูเขาไฟปริมาณมาก และบ่อยครั้งที่พวยพุ่งจากปากปล่องภูเขาไฟมีกลุ่มควันดำโขมง ซึ่งอาจมองเห็นได้หลายกิโลเมตร ภูเขาไฟกรากะตัว (Krakatoa)ระเบิดเมื่อ พ.ศ. 2426 ที่ช่องแคบสุมาตรา ระหว่างเกาะชวากับเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย
2. ของเหลว ของเหลวที่ได้จากภูเขาไฟคือ ลาวา ปริมาณของหินหลอมเหลวร้อนระอุ โดยทั่วไปลาวาปะทุจากปากปล่องบนยอดภูเขาไฟ แต่พบไม่บ่อยที่ลาวาได้แตกทะลักออกมาทางด้านข้างปล่องและเล็ดลอดออกมาตามรอยแตกซึ่งส่งผลกระทบอัตราและระยะทางในการไหลหลาก และยังผลต่อถึงรูปทรงกรวยภูเขาไฟได้เช่นกัน และจะทำให้มีบางสิ่งบนโครงสร้างผิวของหินที่เกิดขึ้น เมื่อหินที่หลอมเหลวแข็งตัว
3. ของแข็ง หินอัคนีพุ โดยทั่วไปพบในรูป ลาวาหลาก (lava flow) ตามธรรมชาติคล้ายแผ่นหินแบน อาจแผ่ปกคลุมได้หลายร้อยตารางกิโลเมตร และลึกเกือบกิโลเมตร ลาวาหลากเกิดร่วมกับภูเขาไฟและส่วนอื่นได้ไหลขึ้นมาตามรอยแตก
ภูมิลักษณ์จากปรากฏการณ์ภูเขาไฟภูมิลักษณ์จากปรากฏการณ์ภูเขาไฟ ปรากฏการณ์ภูเขาไฟและการปะทุของลาวายังผลให้เกิดภูมิลักษณ์หลัก 4 แบบคือ ที่ราบสูงบะซอลต์หรือที่ราบลาวา เทือกเขาภูเขาไฟ ก้อนกรวดภูเขาไฟและแอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด (caldera) 1. ที่ราบสูงบะซอลต์หรือที่ราบลาวา (Plateau basalt or lava plain) เกิดจากการปะทุลาวามหาศาลขึ้นมาตามรอยแตกและไหล่แผ่ซ่านเป็นชั้นเหนือพื้นผิวโลก
2. เทือกภูเขาไฟ เทือกเขาเหล่านี้ประกอบด้วย ผลผลิตภูเขาไฟที่ปะทุออกจากกลางปล่องและจำแนกออกเป็นกรวยภูเขาไฟระเบิดหรือ กรวยกรวดภูเขาไฟ (cindercone) กรวยภูเขาไฟสลับชั้น (composite cone orcomposite volcano or stratovolcano) และ โดมลาวาภูเขาไฟ (lava dome) หรือ กรวยลาวาภูเขาไฟ (lava cone)หรือ ภูเขาไฟรูปโล่ (shield volcano)กรวยภูเขาไฟระเบิดทั้งหลายเกิดขึ้นจากการปะทุระเบิดสืบต่อกันมาครั้งแล้วครั้งเล่า ชั้นเอียงเทของตะกอนภูเขา ไฟทับถมรอบปากปล่องภูเขาไฟ ทำให้กรวยแบบนี้สูงกว่า 300 เมตร และมักเป็นผลจากการระเบิดภูเขาไฟเพียงครั้งเดียว
3. ปากปล่องภูเขาไฟ คือที่ลุ่มรูปปล่องบนยอดภูเขาไฟทะลุไปถึงใจกลางที่เกิดการระเบิดขึ้น ปากปล่องส่วน มากเกิดมาจากผลของปรากฏการณ์ภูเขาไฟระเบิด และเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ควรเกิน 1.5 กิโลเมตร หรือมีความลึกเกินกว่าร้อยเมตรโดมลาวาภูเขาไฟหรือภูเขาไฟรูปโล่กว้างไพศาล มีความลาดน้อย ลักษณะแสดงผิวบนนูนมนน้อยภูเขาไฟชนิดนี้ประกอบด้วยหินหนืดบะซอลต์หลากชนิดที่คลุกเคล้ากันมาก เกิดจากกลางปล่องหรือปะทุออกมาด้านข้างผ่านรอยแตก ขึ้นมาจากชั้นเนื้อโลก ได้แก่ ภูเขาไฟลูกใหญ่ของเกาะฮาวาย
4. แอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด4. แอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด เกือบเป็นรูปวงกลม ที่ลุ่มรูปแอ่งอยู่บนยอดภูเขาไฟและใหญ่กว่าปล่องภูเขาไฟมาก มีด้วยกัน 2 ชนิด คือ ชนิดแรกเป็นผลพวงมาจากปรากฏการณ์ระเบิดและอีกชนิดเป็นผลจากการยุบตัวหรือจม ตัวลง แอ่งภูเขาไฟรูปกระจาดชนิดระเบิดมาจากผลของการระเบิดภูเขาไฟอย่างรุนแรง ทำให้ปริมาณหินมหาศาลเคลื่อนย้าย แอ่งภูเขาไฟรูปกระจาดที่ยุบตัวหรือจมตัวลงเป็นผลจากที่ส่วนบนของภูเขาไฟยุบตัวลง
วิธีป้องกันตัวขณะภูเขาไฟระเบิดวิธีป้องกันตัวขณะภูเขาไฟระเบิด • สวมเสื้อคลุม กางเกงขายาว ถุงมือเพื่อป้องกันเถ้าภูเขาไฟและความร้อนจากการระเบิด • ใส่หน้ากากอนามัย แว่นตาทุกชนิดเพื่อป้องกันเถ้าภูเขาไฟ • เตรียมเสบียง ยารักษาโรค เครื่องใช้ที่จำเป็นรวมทั้งเครื่องมือสื่อสารเช่นโทรศัพท์ วิทยุ • ติดตามข่าวสารจากทางราชการอย่างเคร่งครัดและเมื่อทางการสั่งอพยพให้อพยพ • ออกจากพื้นที่ทันทีอาจไปรวมตัวกันที่สถานที่หลบภัยทันที • -ไม่ควรหลบอยู่ในอาคารสิ่งก่อสร้างเพราะอาจถล่มลงมาจากแผ่นดินไหว • หรือเถ้าภูเขาไฟ
เรื่อง ภูเขาไฟระเบิดจัดทำโดยนาย ณัชชพล โตอดิเทพย์ รหัส 55560090คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขานิเทศศิลป์ โทรทัศน์และดิจจิตอลมีเดีย (ภาคพิเศษ)