220 likes | 663 Views
เทคนิคการพูดในที่ชุมชน. อาจารย์ สันติ อภัยราช อาจารย์ 3 ระดับ 9 ผู้เชี่ยวชาญการพูดในที่ชุมชน นิ ติศาสตร บัณฑิต การศึกษาบัณฑิต ศิลปศา สตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร คนดีศรีกำแพงเพชร. การพูดในที่ชุมชน คือ การพูดในที่สาธารณะ มีผู้ฟังเป็นจำนวนมาก.
E N D
เทคนิคการพูดในที่ชุมชนเทคนิคการพูดในที่ชุมชน อาจารย์ สันติ อภัยราช อาจารย์ 3 ระดับ 9 ผู้เชี่ยวชาญการพูดในที่ชุมชน นิติศาสตรบัณฑิต การศึกษาบัณฑิต ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร คนดีศรีกำแพงเพชร
การพูดในที่ชุมชน คือ การพูดในที่สาธารณะ มีผู้ฟังเป็นจำนวนมาก
วิธีการพูดในที่ชุมชน1. พูดแบบท่องจำ เตรียมเรื่องพูดอย่างมีคุณค่า สาระถูกต้องเหมาะสม แล้วจำเรื่องพูดให้ได้ เวลาพูดให้เป็น ธรรมชาติ มีลีลา จังหวะ ถ่ายทอดออกมาทุกตัวอักษร 2. พูดแบบมีต้นฉบับ พูดไปอ่านไป จากต้นร่างที่เตรียมมาอย่างดีแล้ว แต่ไม่ใช่ก้มหน้าก้มตาอ่าน เพราะไม่ใช่ ผลดีสำหรับผู้พูด 3. พู ดจากความเข้าใจ เตรียมเรื่องพูดไว้ล่วงหน้า ถ่ายทอดสารจากความรู้ความเข้าใจของตนเอง มีต้นฉบับ เฉพาะหัวข้อสำคัญเท่านั้น เช่น การพูด , สนทนา , อภิปราย , สัมภาษณ์
การพูดในที่ชุมชนตามโอกาสต่างๆ จำแนก เป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. การพูดอย่างเป็นทางการ เป็นการพูดในพิธีต่าง ๆ มีการวางแผนแนวปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน เช่น การ ปราศรัยของนายกรัฐมนตรี การพูดสุนทรพจน์ของรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
2. การพูดอย่างไม่เป็นทางการ เป็นการพูดที่ให้บรรยากาศเป็นกันเอง เช่น พูดเพื่อนันทนาการในกิจกรรมต่าง ๆ การพูดสังสรรค์งานชุมนุมศิษย์เก่า การพูดเรื่องตลกในที่ประชุม การกล่าวอวยพรตามโอกาสต่าง ๆ ในงานสังสรรค์ 3. การพูดกึ่งทางการ เป็นการพูดที่ลดความเป็นแบบแผนลง เช่น พูดอบรมนักเรียนในคาบจริยธรรม การกล่าว ต้อนรับผู้มาเยี่ยมชม การกล่าวขอบคุณผู้ช่วยเหลือกิจกรรม กล่าวบรรยายสรุปแก่ผู้เข้าชมตามสถานที่ต่าง ๆ
การเตรียมตัวพูดในที่ชุมชน 1. กำหนดจุดมุ่งหมาย ให้ชัดเจนว่าจะพูดอะไร เพื่ออะไร มีขอบข่ายกว้างขวางมากน้อย เพียงใด 2. วิเคราะห์ผู้ฟัง พิจารณาจำนวนผู้ฟัง เพศ วัย การศึกษา สถานภาพทางสังคม อาชีพ ความสนใจ ความมุ่งหวัง และทัศนคติ ที่กลุ่มผู้ฟังมีต่อเรื่องที่พูด และตัวผู้พูดเพื่อนำข้อมูลมาเตรียมพูด เตรียมวิธีการใช้ภาษาให้เหมาะกับผู้ฟัง 3. กำหนดขอบเขตของเรื่อง โดยคำนึงถึงเนื้อเรื่องและเวลาที่จะพูด กำหนดประเด็น สำคัญให้ชัดเจน
4. รวบรวมเนื้อหา ต้องจัดเนื้อหาที่ผู้ฟังได้รับประโยชน์มากที่สุด การ รวบรวมเนื้อหาทำได้ หาได้จากการศึกษา ค้นคว้าจากการอ่านการ สัมภาษณ์ ไต่ถามผู้รู้ ใช้ความรู้ความสามารถ แล้วจดบันทึก 5. เรียบเรียงเนื้อเรื่อง ผู้พูดจัดทำเค้าโครงเรื่องให้ชัดเจนเป็น ตามลำดับจะกล่าวเปิดเรื่องอย่างไร เตรียมการใช้ภาษาให้เหมาะสม กะทัดรัด เข้าใจง่าย ตรงประเด็น พอเหมาะกับเวลา 6. การซ้อมพูด เพื่อให้แสดงความมั่นใจต้องซ้อมพูด ออกเสียงพูด อักขรวิธี มีลีลาจังหวะ ท่าทาง สีหน้า สายตา น้ำเสียง มีผู้ฟังช่วยติชม การพูด มีการบันทึกเสียงเป็นอุปกรณ์การฝึกซ้อม
• เมื่อได้รับเชิญให้พูด อย่าตกใจ จงภูมิใจที่ได้รับเกียรติ ลุกขึ้นเดินไปอย่างสง่าผ่าเผย กล่าวทักทายต่อที่ประชุมให้เหมาะสมกับที่ประชุม พร้อมกับสังเกตสถานการณ์ แวดล้อม เริ่มประโยคแรกเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ฟังให้มากที่สุด • พูดเรื่องที่ง่ายและใกล้ตัวที่สุด ลำดับเรื่องที่จะพูดก่อนหลัง โดยเสนอแนวคิดอย่างกระชับที่สุด พูดไปอย่างต่อเนื่อง พูดบทสรุปในตอนจบอย่างประทับใจ พยายามรักษาเวลาที่กำหนดไว้ • ในกรณีที่เป็นการตอบคำถาม กล่าวทักทายหรือทำขั้นตอนอย่างสั้นๆ แล้วทวนคำถามให้กระชับ จึงตอบโดยลำดับเรื่องให้ตรงประเด็น ขยายความให้ชัดเจน • ผู้พูดต้องมีปฏิภาณ ( ความสามารถในการแสดงความคิดที่จะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างฉับไว ) เรียบเรียงเนื้อเรื่องพูดได้ทันที คิดได้เร็ว ฉะนั้น จึงฝึกหัดให้คิด เร็ว ๆ ไว้บ่อย ๆ จะได้ช่วยได้มาก
การพูดประเภทต่างๆ ในที่ชุมชน 1. สุนทรพจน์ สุนทรพจน์ หมายถึง คำพูดที่ดีงาม ไพเราะจับใจ การพูดสุนทรพจน์มักมีในพิธีสำคัญ เช่น พิธีต้อนรับแขกเมืองคนสำคัญ พิธีได้รับตำแหน่งสำคัญ ลักษณะสุนทรพจน์ • ใช้ถ้อยคำไพเราะลึกซึ้งกินใจ จับใจ • โน้มน้าวให้ผู้ฟังเห็นคล้อยตาม • กระตุ้นผู้ฟ้ง มีความมั่นใจ และยินดีร่วมมือ • สร้างบรรยากาศให้เกิดความหรรษา และให้ความสุขแก่ผู้ฟัง
โครงสร้างสุนทรพจน์ ขั้นตอนของสุนทรพจน์ 1. คำนำ หรือการเริ่มต้น (Introduction) 2. เนื้อเรื่อง หรือสาระสำคัญของเรื่อง (Discussion) 3. สรุปจบ หรือการลงท้าย (Conclusion) " ขึ้นต้นให้ตื่นเต้น ตอนกลางให้กลมกลืน ตอนจบให้จับใจ”
การแบ่งโครงสร้างของสุนทรพจน์เป็นสัดส่วน คำนำ 5 - 10 % เนื้อเรื่อง 80 - 90 % สรุปจบ 5 - 10 %
ข้อพึงหลีกเลี่ยงในการขึ้นต้น • อย่าออกตัว • อย่าขออภัย • อย่าถ่อมตน • อย่าอ้อมค้อม
หลักในการขึ้นต้นมีอยู่ว่า• ขึ้นต้นแบบพาดหัวข่าว (Headline) • ขึ้นต้นด้วยคำถาม (Asking Question)• ขึ้นต้นด้วยการทำให้ผู้ฟังสงสัย (Interest Arousing)• ขึ้นต้นด้วยการอ้างบทกวี หรือวาทะของผู้มีชื่อเสียง (Quousing) • ขึ้นต้นให้สนุกสนาน (Entertainment)
ข้อพึงหลีกเลี่ยงในการสรุปจบ 1. ขอจบ ขอยุติ 2. ไม่มากก็น้อย 3. ขออภัย ขอโทษ 4. ขอบคุณ
วิธีสรุปจบที่ได้ผล • จบแบบสรุปความ • จบแบบฝากให้ไปคิด • จบแบบเปิดเผยตอนสำคัญ • จบแบบชักชวนและเรียกร้อง • จบด้วยคำคม คำพังเพย สุภาษิต
การพูดโน้มน้าวใจบันได 5 ขั้น ของมอนโร
หลักของ AIDA A = ATTENTION ให้ผู้ฟังมาเอาใจใส่ I = INTEREST ให้ผู้ฟังสนใจ D = DESIRE ปรารถนา A =ACTION ให้กระทำตาม
การโน้มน้าวใจหลักของบอร์เดนการโน้มน้าวใจหลักของบอร์เดน จุดไฟให้ลุกขึ้น ดึงเข้าสู่เป้าหมายที่ต้องการอย่างรวดเร็ว จงพูดให้เห็นคล้อยตาม ให้ผู้ฟังเห็นปัญหาที่ควรแก้ไข จงหาข้อสนับสนุน ยกตัวอย่าง ยกทฤษฎีที่มีน้ำหนักอย่างแท้จริง เรียกร้องให้กระทำการ ตามจุดหมายที่เตรียมไว้
การพูดโน้มน้าวใจ โดยทั่วไป ต้องเชื่อเรื่องที่ตนเองพูดก่อน คนอื่นเชื่อ แสดงให้เห็นว่า เป็นความเชื่อพื้นฐานที่เขาเชื่ออยู่ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพพจน์ เปรียบเทียบโดยใช้แผ่นภาพ กราฟ อ้างวาทะ ผู้รอบรู้ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ที่ผู้ฟังนับถือ พูดมีสาระน่าสนใจ พูดถึงเหตุผล ข้อเท็จจริง ขอร้องวิงวอน ในเรื่องของความปรารถนาของมนุษย์ เช่นความเป็นธรรม ความรัก ความถูกต้อง