240 likes | 398 Views
มหัศจรรย์....ยอบ้าน. สมุนไพรยอบ้าน. ความหมายของพืชสมุนไพร คำว่า พืชสมุนไพร ( Herb ) หมายถึง พืชที่ใช้ทำเป็นเครื่องยา ซึ่งหาได้ตามพื้นเมือง ส่วนคำว่า ยาสมุนไพร หมายถึง ยาที่ได้จาก พฤกษชาติ สัตว์หรือแร่ ซึ่งยังมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพ ความสำคัญของพืชสมุนไพร ข้อดี(ประโยชน์)ของสมุนไพร
E N D
สมุนไพรยอบ้าน • ความหมายของพืชสมุนไพร คำว่า พืชสมุนไพร (Herb) หมายถึง พืชที่ใช้ทำเป็นเครื่องยา ซึ่งหาได้ตามพื้นเมือง ส่วนคำว่า ยาสมุนไพร หมายถึง ยาที่ได้จาก พฤกษชาติ สัตว์หรือแร่ ซึ่งยังมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพ • ความสำคัญของพืชสมุนไพร • ข้อดี(ประโยชน์)ของสมุนไพร • ข้อเสีย(โทษ)ของสมุนไพร • ขอบเขตการศึกษา
ลักษณะทั่วไปของยอและลูกยอลักษณะทั่วไปของยอและลูกยอ • ยอ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ยอบ้านจะเจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิด เติบโตได้เองตามธรรมชาติ มีการแตกขยายกิ่งก้านสาขาไม่มากนัก ใบมีสีเขียวยาวรีออกตามกิ่งก้าน ลำต้นเกลี้ยง สีน้ำตาล • ลูกยอลูกยอบ้านจะมีขนาดใหญ่กว่า ลูกยอป่า มีขนาดประมาณเท่ากำมือ และผิวเป็นตุ่มๆรอบๆมีสีน้ำตาล ออกตามกิ่ง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ • ดอก • ใบ
การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด ขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด เจริญเติบโตในดินชุ่มชื่น มักปลูกกันในต้นฤดูฝน จะปลูกลงหลุมเลยหรือเพาะกล้าก่อนแล้วย้ายไปที่ที่เตรียมปลูกไว้ และต้องกำจัดวัชพืชบ้างเป็นครั้งคราว • นิเวศวิทยา ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด แต่เจริญได้ดีในที่ที่มีความชุ่มชื้นพอควร
ข้อมูลทั่วไป • ยอ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีทั้งยอป่าและยอบ้าน ยอบ้านขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด ปลูกง่าย แต่จะเจริญเติบโตได้ดี ในที่มีความชุ่มชื้น เติบโตได้เองตามธรรมชาติ จึงปลอดจากสารเคมี นอกจากนี้รากของต้นยอที่มีอายุ 3-4 ปี ยังใช้เป็นสีย้อมผ้า โดยเปลือกและรากจะให้สีแดง ส่วนเนื้อในเปลือกจะให้สีเหลือง ใช้ย้อมผ้าฝ้ายจะให้สีคงทน • ลูกยอ เป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยสรุป ลูกยอเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ มีวิตามินซี วิตามินเอสูง มีสารแอนตี้ออกซิแดนซ์ ช่วยชะลอการแก่และต้านมะเร็ง
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ • สารโพรเซอโอนีน ( Proxernine) • สารสโคโเลติน (Scopoletin) • สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) • - สารไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoide) • - สารคาโรธีนอยด์ - วิตามินซี วิตามินอี - ซิสเตอีน - ซิเลเนียม • วิตามินและเกลือแร่ • กรดอะมิโน • สารประกอบอื่นๆ
การค้นพบสารสำคัญในลูกยอ โดย ดร. ราฟ ไอเนกี (Dr. Ralph Heinicke) นักชีวเคมีชาวเยอรมัน • สร้างเสริมปฎิกิริยาชีวเคมีในเซลล์ให้ดีขึ้น • ช่วยสังเคราะห์สารโปรตีนในร่างกาย • มีสารต้านอนุมูลอิสระ • ลดระดับน้ำตาลในคนไข้เบาหวาน • ลดความดันโลหิตสูง • ต่อต้านเซลล์มะเร็ง • ลดและบรรเทาอาการอักเสบของเซลล์ และโรคภูมิแพ้ • มีวิตามิน แร่ธาตุ อะมิโนแอซิท ช่วยเสริมอาหารและเพิ่มพลังงาน • ระงับความเจ็บปวด • ช่วยสมานแผล ทำให้แผลหายเร็ว
งานวิจัยเท่าที่มี • มีสามรายงานที่มีข้อมูลน่าสนใจดังนี้ ในลูกยอมีสาร โพลีแซคคาไรด์ มีผลต่อเซลล์ของมะเร็ง คือ ต้านมะเร็ง Lewis lung carcinoma ได้จริง และยืดอายุของหนูที่เป็นมะเร็งนี้ไดจริง แต่ยังไม่มีการวิจัยในคน อาจมีผลป้องกันได้ จากการที่มีสารแอนตี้ออกซิแดนซ์ โดยดูการลด DMBA-DNA adduct formetion
ประโยชน์ของน้ำลูกยอ • ให้สารอาหารที่เป็นประโยชน์ ต่อร่างกาย ได้แก่ วิตามิน เกลือแร่ และกรดอะมิโน หลากหลายชนิด • ให้กำลังงานแก่ร่างกาย และควบคุมสมดุลในการทำงานของร่างกาย ให้เป็นปกติ • เสริมสร้างภูมิต้านทาน และป้องกันการติดเชื้อ • ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้ และโรคภูมิต้านทานทำร้ายร่างกาย (AutoimmunDiseases) • ป้องกันโรคที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกิดจากการทำลายของอนุมูลอิสระ • ช่วยลดความดันเลือดสูง • ลดกรดในกระเพาะอาหารและช่วยในการย่อยและดูดซึมอาหาร • บรรเทาอาการปวดและต้านอักเสบ
ลดกรดในกระเพาะอาหารและช่วยในการย่อยและดูดซึมอาหารลดกรดในกระเพาะอาหารและช่วยในการย่อยและดูดซึมอาหาร • บรรเทาอาการปวดและต้านอักเสบ • ช่วยในผู้ที่มีปัญหาโรคหัวใจ และหลอดเลือด • ช่วยในผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ
คุณค่าจากลูกยอมีดังนี้คุณค่าจากลูกยอมีดังนี้ • เพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย • ต่อต้านการอักเสบและอาการแพ้ • ทำงานร่วมกับสารเมลาโทนิน และเซโรโทนิน ช่วยให้นอนหลับสบาย และช่วยสร้างดุลยภาพ ทางอารมณ์ • บรรเทาอาการปวด • มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด จึงสามารถป้องกันรักษาระบบการย่อย และโรคหัวใจ • ยับยั้งการเกิดของเซลล์มะเร็ง สรรพคุณของลูกยอ เป็นที่รู้จักกันในหมู่คนไทยมาช้านาน แต่น้ำลูกยอจากต่างประเทศ ที่เรียกกันว่า “โนนิ” นับว่ามีส่วนอย่างมากในการทำให้เกิดการตื่นตัว และมีการใช้ลูกยอซึ่งแต่ก่อนเกือบไร้ค่า มาใช้ประโยชน์มากขึ้น ด้วยวิธีการต่างๆกัน
ผลข้างเคียงในการใช้ • ประโยชน์ทางการแพทย์และช่วยดูแลสุขภาพของลูกยอ • ผลข้างเคียงในการใช้น้ำลูกยอ ควรมีการเลือกชนิดของสมุนไพรที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งพิจารณาจากสายพันธุ และพื้นที่ซึ่งใช้เพาะปลูก และหากใช้ ในรูปแบบของยาสมุนไพร และผลิตภัณฑ์ อาหารเสริม ควรพิจารณาถึงผู้ผลิตว่าจะมีมาตรฐานพอเพียงหรือไม่และขนาดที่ใช้อย่างเหมาะสมควรถือตามข้อมูลที่เป็นผลการวิจัยหรือประสบการณ์ในการใช้ ในกรณีที่ใช้ อย่างถูกต้องและเหมาะสม สมุนไพรโนนี่จะมีความปลอดภัยสูงอย่างไรก็ตาม พบว่าประมาณ 3% มีผลข้างเคียงเล็กน้อยคือ ท้องอืด ถ่ายเหลว และมีผื่นคัน
ข้อควรระวัง น้ำลูกยอมีธาตุโปแตสเซียมสูงมากประมาณ 56 meq/L พอๆกับน้ำส้ม และน้ำมะเขือเทศ และมีรายงานว่าผู้ที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังทานน้ำลูกยอแล้วมีโปตัสเซียมสูงมากจนเป็นอันตราย จึงไม่ควรทานในโรคไต ในประเทศไทย มีรายงานผลการรักษาคนไข้ที่มีอาการและอาเจียน หลังจากฟื้นจากโรคมาลาเรีย โดยเทียบกับ metoclopamide และชาจีน พบว่าต้านการอาเจียนไม่ดีเท่า metoclopamide แต่ให้ผลดีกว่าในกลุ่มควบคุม แต่เป็นการตากแห้งชงน้ำไม่ใช่ทานน้ำคั้นสด
สรุปคุณสมบัติลูกยอ • ซ่อมแซมผนังเซลล์ของทุกอวัยวะทั่วร่างกาย • ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ โดยการจับตัวกับกรดอะมิโนในการสร้าง โปรตีนและเสริมการ ทำงานของโปรตีนให้มีคุณภาพสูงสุด • ร่างกายแข็งแรง ประสิทธิภาพเต็ม 100% • เร่งการฟื้นตัวของเซลล์ที่เสียหายทั่วร่างกาย รวมทั้งตับอ่อน • ลดระดับน้ำตาลในเลือดของคนไข้เบาหวานเนื่องจากมีการซ่อมแซมของตับอ่อน • เป็นสารตั้งต้นของ Hormone Melatonin ช่วยในการให้การนอนหลับเป็นไปอย่างสมดุล • นอนหลับสบาย สะสมพลังงานได้เต็มที่ ตื่นนอนจะสดชื่น • ออกฤทธิ์จับกับตัวรับของสารเอนดอร์ฟีน (Endorphin Receptor)
กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว และการสร้างภูมิคุ้มกัน • เพิ่มภูมิต้านทานให้ดีขึ้น ต้านมะเร็ง • ขยายหลอดเลือด ควบคุมการหดและขยายตังของหลอดเลือดแดง • ลดความดันโลหิต • มีผลต่อสมอง และอารมณ์-จิตใจสงบ • ต่อต้านการอักเสบ ต่อต้านสารภูมิแพ้ • ลดอาการปวด เช่นปวดศรีษะ ปวดเก๊าท์ เอ็นท์อักเสบ • ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา • ควบคุมและยับยั้งเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหาร • ยั้งยั้งการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ปกติไม่ให้กลายเป็ฌนเซลล์มะเร็ง
ป้องกันการเกิดมะเร็ง • เพิ่มคุณภาพชีวิตและช่วยผู้ให้เป็นมะเร็งมีอายุยืนยาวขึ้น • ช่วยให้เซลล์ขับถ่ายสารพิษต่างๆออกไปนอกร่างกาย • ช่วยจับโคเลสเตอรอล น้ำตาลในเลือด • มีกรดอะมิโนถึง 17 ชนิด • สร้างโปรตีน ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ • เป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติมากมายหลายชนิด
ประโยชน์ทางยา • ที่ใช้เป็นยา คือ ราก ใบ ผล ต้น ดอก และสรรพคุณในตำรายาไทย • ราก สรรพคุณ เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก • ใบยอ รสขมเฝื่อน คั้นเอาน้ำสระผมแก้เหา ทาแก้ปวดข้อนิ้วมือนิ้วเท้า ใบย่างสดนำมาประคบแก้ปวดบวม อักเสบ แก้โรคเกา ต้มดื่ม แก้ไข้ บำรุงธาตุ แก้ท้องร่วงในเด็ก ทาเหงือกแก้บวม วิตามินเอต้านอนุมูลอิสร • ผลยอดิบหรือห่าม ใช้รับประทานเป็นยาแก้คลื่นไส้อาเจียนชนิดที่ไม่รุนแรงได้ สารแอนทราควิโนนช่วยระบายท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อขับพยาธิตัวกลมและเส้นด้าย ช่วยขับเลือดหลังการคลอดบุตร ห้ามใช้เวลามีครรภ์ อาจแท้งได้ โขลกผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน กินครั้งละขนาดเท่าผลพุทราไทย 1-2 ลูก เป็นยาขับผายลม อาจใช้ตากแห้งหนัก 5 กรัม ชงน้ำร้อนดื่มก่อนอาหารเช้า เย็นได้ • ผลสุก ของยอบ้าน มีกลิ่นฉุน สรรพคุณผายลมในลำไส้ ต้น ใช้เป็นส่วนผสมกับสมุนไพรอื่นเป็นยารักษาวัณโรค ซึ่งผลแก่นิยมนำมาสกัดทำเป็นน้ำลูกยอ ซึ่งได้นิยมทำมาตั้งแต่โบราน
ขนาดและวิธีใช้ • แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ใช้ผลดิบแก่ฝานเป็นชิ้นบางๆ ย่างไฟให้เหลือง ต้มหรือชงดื่ม ใช้ครั้งละประมาณ 2 กำมือ (10-15 กรัม) เอาน้ำที่ได้จิบทีละน้อยและบ่อยๆ ครั้งจึงจะได้ผลดี • แก้ปวดบวม อักเสบ โรคเกาต์ ใช้ใบสดย่างไฟ หรือปรุงยาประคบ • แก้ปวดข้อนิ้วมือนิ้วเท้า ใช้ใบคั้นเอาแต่น้ำ ทาที่ปวด • ฆ่าเหา ใช้ใบสดคั้นเอาน้ำ สระผม • แก้เหงือกเปื่อย เป็นขุมบวม ใช้ผลดิบเผาเป็นถ่านผสมเกลือเล็กน้อยอมขับโลหิตระดู ขับผายลม ขับเลือดลม ใช้ผลดิบต้มเอาน้ำดื่ม • แก้คลื่นเหียนอาเจียน ใช้ผลดิบหั่นปิ้งไฟหรือตากแห้ง คั่วแล้วนำไปต้มเอาน้ำ
ประโยชน์ทางอาหาร • ส่วนที่ใช้เป็นผัก คือ ใบอ่อนและห่ามของยอใช้เป็นผักได้ ใบยอเป็นผักเก่าแก่ที่ใช้เป็นผักรองกระทะห่อหมก ใบยอมีสารอาหารหลายอย่าง ประกอบไปด้วยแคลเซียมมาก นอกจากนั้นยังมีเกลือแร่ วิตามินต่างๆอีกไม่น้อย รวมทั้งกากและเส้นใยอาหาร นอกจากนี้รากต้นยอ ที่มีอายุ 3-4 ปี ใช้เป็นสีย้อมผ้าได้ด้วยเพราะเปลือกรากจะให้สีแดง ส่วนเนื้อเปลือกจะเป็นสีเหลือง ย้อมผ้าฝ้ายและผ้าไหมได้ดี • วิธีปรุงอาหาร ส่วนของใบอ่อน ลวกหรือต้มให้สุก ทำเป็นผักจิ้มน้ำพริก ปรุงเป็นแกงจืด แกงอ่อม หรือใช้เป็นผักรองก้นกระทงห่อหมก ผัดไฟแดง
คุณค่าทางโภชนาการ • ใบยอ 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 73 กิโลแคลอรี ประกอบด้วยน้ำ 77.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 10.5 กรัม โปรตีน 5.0 กรัม ไขมัน 2.2 กรัม กาก 4 กรัม แคลเซียม 469 มิลลิกรัม เหล็ก 1.4 มิลลิกรัม วิตามินเอ 43333 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.30 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.14 มิลลิกรัม ไนอาซีน 7.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 3 มิลลิกรัม
สรุป สมุนไพรยอบ้าน มีประโยชน์มากมายทางด้านสุขภาพ และสามารถหาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ได้สะดวก เพราะมีขึ้นอยู่ทั่วทุกสภาพดิน และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่ ราก เปลือก ใบ ผล ซึ่งทั้งหมดนี้จะอุดมไปด้วย สารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ทั้ง วิตามินซี โปตัสเซียม วืตามินเอที่ค่อนข้างสูง มีสารแอนตี้ออกซิแดนท็ซึ่งสารเหล่านี้มีความสำคัญ และให้ประโยชน์แก่สุขภาพทั้งสิ้น อีกทั้งยังเป็นสมุนไพรที่สามารถป้องการเกิดมะเร็งได้ด้วย เหมือนกับการทานผักผลไม้ทั้งหลาย