1.01k likes | 1.55k Views
คดีปกครองเกี่ยวกับการการเงิน. อนุชา ฮุนสวัสดิกุล ตุลาการศาลปกครองกลาง. การนำเสนอ : คดีพิพาทเกี่ยวกับ. การนำกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง มาใช้ทำงานเกี่ยวกับการเงิน ความรับผิดทางละเมิด ค่าเช่าบ้านข้าราชการ เงินเดือน และสิทธิประโยชน์ การเบิกจ่ายเงิน การทุจริต การใช้รถราชการ.
E N D
คดีปกครองเกี่ยวกับการการเงินคดีปกครองเกี่ยวกับการการเงิน อนุชา ฮุนสวัสดิกุล ตุลาการศาลปกครองกลาง
การนำเสนอ : คดีพิพาทเกี่ยวกับ • การนำกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้ทำงานเกี่ยวกับการเงิน • ความรับผิดทางละเมิด • ค่าเช่าบ้านข้าราชการ • เงินเดือน และสิทธิประโยชน์ • การเบิกจ่ายเงิน • การทุจริต • การใช้รถราชการ
การนำกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้ทำงานเกี่ยวกับการเงินการนำกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้ทำงานเกี่ยวกับการเงิน กรณีเป็นเรื่องเกี่ยวกับ “คำสั่งทางปกครอง”
ประเด็นต่าง ๆ • ความหมายของ “คำสั่งทางปกครอง” “การพิจารณาทางปกครอง” และ “คู่กรณี” • เจ้าหน้าที่ และ คู่กรณี • การพิจารณาทางปกครอง • การทำคำสั่งทางปกครอง • การทบทวนคำสั่งทางปกครอง(การอุทธรณ์ และการเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง) • การบังคับทางปกครอง
ลักษณะทั่วไป การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง การรับจดทะเบียน มีผลสร้างนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล/กระทบสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล มีผลเฉพาะ “กรณีใด หรือบุคคลใด” เป็นการกระทำที่มีผลไปสู่ภายนอกโดยตรง (2) กฎกระทรวง ฉบับที่ 12 การดำเนินการเกี่ยวกับการ จัดหาหรือให้สิทธิประโยชน์ ในกรณีดังนี้ การสั่งรับหรือไม่รับคำเสนอขาย รับจ้าง แลกเปลี่ยน ให้เช่า ซื้อ เช่า หรือให้สิทธิประโยชน์ การอนุมัติสั่งซื้อ จ้าง แลกเปลี่ยน เช่า ขาย ให้เช่า หรือให้สิทธิประโยชน์ การสั่งยกเลิกกระบวนการพิจารณาคำเสนอหรือการดำเนินการอื่นใดในลักษณะเดียวกัน การสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน การให้หรือไม่ให้ทุนการศึกษา คำสั่งทางปกครอง
หลักกฎหมายว่าด้วยกระบวนการพิจารณาทางปกครองหลักกฎหมายว่าด้วยกระบวนการพิจารณาทางปกครอง 1. การเข้าสู่กระบวนพิจารณาทางปกครอง 2. การพิจารณาทางปกครอง 3. การออกคำสั่งทางปกครอง 4. การทบทวนคำสั่งทางปกครอง 5. การบังคับตามคำสั่งทางปกครอง หลักว่าด้วยแบบของคำสั่งทางปกครอง หลักว่าด้วยการแจ้งหรือการประกาศคำสั่งทางปกครอง เจ้าหน้าที่ คู่กรณี สั่งให้ชำระเงิน สั่งให้กระทำหรือ ละเว้นกระทำ หลักการพิจารณาต้องมีประสิทธิภาพ หลักการพิจารณาโดยเปิดเผย การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย (ม.43) การอุทธรณ์ คำสั่ง (ม.44) การขอให้พิจารณาใหม่ (ม.54) การเพิกถอนคำสั่งฯ (ม.49-53)
แผนผังการพิจารณาอุทธรณ์: เป็นการอุทธรณ์ ๒ ชั้น 2 ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาภายใน ๓๐ วัน ขยายอีกไม่เกิน ๓๐ วัน เจ้าหน้าที่ รวม90 วัน คู่กรณี 1 เจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งฯ พิจารณาภายใน ๓๐ วัน ยื่นอุทธรณ์ภายใน ๑๕ วัน
ประเด็นพิจารณาเกี่ยวกับการอุทธรณ์คำสั่งฯ: กรณีเป็นการออกคำสั่งทางปกครอง • กรณีคำสั่งทางปกครองที่อาจอุทธรณ์ได้ ต้องมีการแจ้งสิทธิในการอุทธรณ์หรือโต้แย้งคำสั่งทางปกครอง หากไม่แจ้งจะทำให้ระยะเวลาการอุทธรณ์หรือโต้แย้งคำสั่งฯ ขยายเป็น 1 ปี • กรณีมีการอุทธรณ์ เป็นอุทธรณ์ที่ถูกต้องหรือไม่ • ระยะเวลาการพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ออกคำสั่งฯ • ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ และระยะเวลาในการพิจารณาอุทธรณ์ของผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ • กรณีแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ หากเป็นคำสั่งที่ฟ้องต่อศาลปกครองได้ ต้องแจ้งสิทธิฟ้องคดีด้วย
การเพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ให้ประโยชน์ที่เป็นเงินหรือประโยชน์อื่นที่แบ่งแยกได้ (ม.49,50,51) ไม่สุจริต เพิกถอน คืนทั้งจำนวน คำสั่งไม่ชอบฯ เป็นคุณ (1) เป็นเงิน หรือ (2) ประโยชน์อื่น ที่แบ่งแยกได้ อนาคต ไม่เพิกถอน สุจริต ปัจจุบัน เพิกถอน ย้อนหลัง คืนอย่างลาภมิควรได้ ใช้ประโยชน์ทั้งหมด ไม่ต้องคืน ใช้ประโยชน์บางส่วน คืนส่วนที่ยังไม่ได้ใช้ ยังไม่ใช้ประโยชน์ คืนทั้งจำนวน ความเชื่อโดยสุจริตในความคงอยู่ของคำสั่ง ประโยชน์สาธารณะ คำนึงถึง • กรณีอ้างความเชื่อโดยสุจริตไม่ได้ • ความเชื่อโดยสุจริตที่จะได้รับการ คุ้มครองเมื่อได้ใช้ประโยชน์อันเกิด จากคำสั่งฯ หรือได้ดำเนินการเกี่ยวกับ ทรัพย์สินฯ แก้ไขไม่ได้หรือหากแก้ไข จะเสียหายเกินควร • เงื่อนไขอื่น • เพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ • มีผลย้อนหลัง ปัจจุบัน หรืออนาคตก็ได้ • ต้องเพิกถอนภายใน ๙๐ วันนับแต่วันที่รู้เหตุฯ
คำสั่งทางปกครองที่เป็นการให้ประโยชน์ที่เป็นเงินฯ และไม่ชอบด้วยกฎหมาย:เพิกถอนคำสั่งทางปกครองย้อนหลัง อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้าน ออกคำสั่งเพิกถอนย้อนหลัง และมีทรัพย์สินต้องคืน หากสุจริต ให้คืนอย่างลาภมิควรได้ หากไม่สุจริต ต้องคืนทั้งหมด ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รู้ถึงเหตุฯ ทราบเหตุที่จะเพิกถอน ออกคำสั่งเรียกเงินคืน
ความรับผิดทางละเมิดอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการเงินความรับผิดทางละเมิดอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน
อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นละเมิด ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน • ผู้ถูกฟ้องคดีออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดี (ผอ.รร.) ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทางราชการตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ 76,800 บาท ซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครอง เมื่อไม่เห็นพ้องด้วยจะต้องอุทธรณ์ตามมาตรา 44 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ • แต่คำสั่งระบุว่า หากไม่เห็นด้วยให้ฟ้องคดีต่อศาลปกครองภายใน 90 วัน การยื่นฟ้องโดยมิได้อุทธรณ์คำสั่งก่อน จึงเป็นผลมาจากคำสั่งที่ทำให้เข้าใจโดยสุจริตว่าฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์ก่อน จึงถือว่าการฟ้องคดีเป็นไปตามเงื่อนไขในการฟ้องคดีตามมาตรา 42 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ แล้ว คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 37/2552
ก่อนที่ผู้ฟ้องคดีจะมีคำสั่งอนุมัติให้นางสาว ส. ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านสำหรับผ่อนชำระค่าบ้านตามคำสั่งลงวันที่ 30 มกราคม 2539 ผู้ฟ้องคดีรู้อยู่แล้วว่าบ้านพักครูว่าง สภาพสมบูรณ์เหมาะสมที่จะให้เข้าพักอาศัย และต้องจัดให้ครูเข้าอยู่อาศัย และยังรู้อยู่แล้วว่า การอนุมัติให้นางสาว ส. เบิกค่าเช่าบ้านตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2539 ถึงเดือนกันยายน 2541 เป็นการอนุมัติที่ผิดระเบียบ พฤติการณ์จึงเป็นการจงใจกระทำผิดต่อกฎหมายหรือระเบียบทำให้ทางราชการได้รับความเสียหายอันถือว่าเป็นการกระทำละเมิด • ระยะเวลาอนุมัติค่าเช่าบ้านตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2539 จนถึงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2539 เป็นช่วงเวลาก่อนที่ พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มีผลใช้บังคับ จึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวน
ส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2539 จนถึงเดือนกันยายน 2541 แม้ว่าจะต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ แต่เนื่องจากเป็นการทำละเมิดด้วยความจงใจ ตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง และมิได้เกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐหรือระบบการดำเนินงานส่วนรวมอันจะนำมาหักส่วนแห่งความรับผิดตามมาตรา 8 วรรคสาม อีกทั้ง มิใช่เป็นการกระทำละเมิดที่เกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคนที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของแต่ละคน ตามมาตรา 8 วรรคสี่ จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2539 จนถึงเดือนกันยายน 2541 เต็มจำนวนแต่เพียงผู้เดียว • การที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวน จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
กรณีอุทธรณ์ว่าแม้บ้านพักครูว่างก็ไม่จำต้องจัดให้เข้าอยู่เพราะ นางสาว ส. มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านในลักษณะเช่าซื้อตามที่ ผอ.รร. เดิมอนุมัติ จึงใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านได้ต่อไปนั้น เห็นว่า สิทธิการนำหลักฐานการชำระเงินกู้มาเบิกค่าเช่าบ้านของนางสาว ส. มิได้เกิดขึ้นตามคำอนุมัติของ ผอ.รร. คนเดิม เพราะขณะนั้นยังมิได้เข้าอยู่อาศัยจริงเนื่องจากยังไม่มีการก่อสร้างบ้าน แต่สิทธิเพิ่งเกิดตั้งแต่วันที่เข้าพักอาศัยจริง หลังจากที่ได้รับมอบบ้านพร้อมที่ดินเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2539 ตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.ฎ. • แม้กรมบัญชีกลางระบุว่า ผู้ฟ้องคดีทำละเมิดด้วยความประมาทเลินเล่อก็ตาม แต่พฤติการณ์ฟังได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดด้วยความจงใจอันมีผลทำให้ผู้ฟ้องคดีต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงเป็นกรณีที่ศาลย่อมจะต้องวินิจฉัยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้
คดีพิพาทเกี่ยวกับค่าเช่าบ้านข้าราชการคดีพิพาทเกี่ยวกับค่าเช่าบ้านข้าราชการ คำสั่งอนุมัติ หรือไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้าน เป็น “คำสั่งทางปกครอง”
คำสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านเป็นคำสั่งทางปกครอง: ต้องอุทธรณ์คำสั่งก่อนนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง • คำสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้าน เป็น “คำสั่งทางปกครอง” • หากไม่เห็นด้วย ต้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ออกคำสั่งตามมาตรา 44 พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ไม่ใช่เป็นกรณีที่ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติต่อตนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและใช้สิทธิร้องทุกข์ • เมื่อไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวก่อน จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดี • ศาลจึงไม่อาจรับคำฟ้องไว้พิจารณาได้ คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๒๓๙/๒๕๔๕
เบิกค่าเช่าบ้านชำระค่าบ้าน : นำค่าบ้านท้องที่เดิม มาเบิกท้องที่ใหม่ (อ.บุญเชิด) • เบิกค่าเช่าซื้อบ้านอยู่เดิม ในท้องที่ ๑ ต่อมาได้รับคำสั่งย้ายไปท้องที่ ๒ • สคก./กค. ตีความว่า จะนำค่าเช่าซื้อบ้านในท้องที่เดิมมาเบิกได้ต่อเมื่อมีการเช่าจริงในท้องที่ใหม่ด้วย แล้วเลือกว่าจะเบิกค่าเช่าบ้านท้องที่ใหม่ หรือนำค่าเช่าซื้อบ้านในท้องที่เดิมมาเบิก (ม. ๗ + ม. ๑๓) • ศาลเห็นว่า ม.๑๓ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตั้งแต่วันที่ได้เช่าบ้านอยู่จริงเป็นหลักทั่วไปกรณีการเช่าบ้าน • แต่การนำหลักฐานการเช่าซื้อบ้านมาเบิกตาม ม.๑๖ จะต้องเป็นกรณีการเช่าซื้อและอยู่อาศัยในบ้านนั้นจริง • “มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน” ตาม ม.๑๓ กับ ม.๑๖ จึงต่างกัน โดย ม.๑๖ เพียงมีสิทธิตาม ม. ๗ ก็เพียงพอแล้ว คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๓๘/๒๕๔๖ 9
สรุปหลักกฎหมายจากคำพิพากษาสรุปหลักกฎหมายจากคำพิพากษา • กรณีใช้สิทธิค่าเช่าซื้ออยู่เดิม ต่อมาได้รับคำสั่งย้ายไปท้องที่ใหม่ • หากมีสิทธิเบิกค่าบ้านตาม ม.๗ • ก็สามารถนำค่าเช่าซื้อบ้านในท้องที่เดิมมาเบิกค่าเช่าซื้อในท้องที่ใหม่ได้ • โดยไม่ต้องมีการเช่าจริงในท้องที่ใหม่ (ตามมาตรา ๑๓) 10
เปรียบเทียบความเห็น ท้องที่ใหม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามมาตรา ๗ เบิกค่าเช่าบ้าน เช่าบ้านอยู่จริง ตามมาตรา ๑๓ เบิกค่าเช่าซื้อ ความเห็นกระทรวงการคลัง เช่าบ้านอยู่จริง ตามมาตรา ๑๓ เบิกค่าเช่าบ้าน ท้องที่ใหม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามมาตรา ๗ นำค่าเช่าซื้อบ้านท้องที่เดิมมาเบิกค่าเช่าบ้านได้ตามมาตรา ๑๖, ๑๗ เบิกค่าเช่าซื้อ คำวินิจฉัยของศาลปกครอง 11
การเพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เป็นเงินฯ: เบิกเกินสิทธิ แต่ผู้เบิกสุจริต ต้องคืนอย่างลาภมิควรได้ • ผู้ฟ้องคดีซื้อบ้าน + ที่ดิน ทำสัญญา 2 ฉบับ คือ (1) ซื้อขายบ้าน + ที่ดิน (จดทะเบียนฯ) 180,000 บาท และ (2) สัญญารับจ้างต่อเติม 180,000 บาท โดยจ่ายเงินสด 40,000 บาทที่เหลือกู้ธนาคารมาชำระ 320,000 บาท • ผู้ฟ้องคดีทำเรื่องขอเบิกค่าเช่าบ้านเต็มจำนวนที่กู้ธนาคาร 320,000 บาท หน่วยงานฯ อนุมัติให้เบิกตามที่ขอ โดยเบิกเดือนละ 2,400 บาท • ต่อมาหน่วยงานฯเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีเบิกค่าเช่าบ้านได้เฉพาะตามสัญญา (1) ที่จดทะเบียนฯ 180,000 บาท โดยเบิกเดือนละ 1,950 บาท จึงออกคำสั่งเรียกเงินคืนในส่วนที่เบิกเกินไป 61,613 บาท คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 245/2549
ศาลเห็นว่า การพิจารณาว่าจะใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านในกรณีนำหลักฐานการผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านพร้อมที่ดินที่ค้างชำระมาเบิกได้เท่านั้น ต้องพิจารณาจากราคาซื้อขายที่ปรากฏในสัญญาซื้อขายที่ จพง.ที่ดินทำขึ้น • หนังสือเวียน กค. เป็นเพียงคำแนะนำการตรวจสอบหลักฐานเท่านั้น ไม่ใช่การนำหนังสือ กค. มาใช้บังคับย้อนหลังจำกัดสิทธิการเบิกค่าเช่าบ้าน
แม้ผู้ฟ้องคดีจะเพิกถอนคำสั่งอนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านโดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่มีคำสั่งก็ตาม แต่เมื่อผู้ฟ้องคดีกระทำโดยสุจริต ผู้ฟ้องคดีก็มีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าเช่าบ้านที่เป็นลาภมิควรได้ เพียงส่วนที่ยังอยู่ในขณะเมื่อเรียกคืนเท่านั้น เมื่อได้นำเงินไปจ่ายให้ธนาคารหมดแล้ว จึงไม่ต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่หน่วยงานฯ ตาม ปพพ. มาตรา ๔๑๒ • การที่หน่วยงานมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีคืนเงินฯที่เบิกไป จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้เพิกถอนคำสั่งนั้น
ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า • มาตรา ๑๖ กำหนดว่า ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตาม พรฎ. นี้ ได้เช่าซื้อบ้านหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านที่ค้างชำระอยู่ในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่ เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและได้อาศัยอยู่จริงในบ้านนั้น ให้ผู้นั้นมีสิทธินำหลักฐานดังกล่าวมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ ไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านฯ ตามเงื่อนไขใน (๑) ถึง (๓) • ดังนั้น จำนวนเงินกู้ที่จะนำหลักฐานการผ่อนชำระมาเบิกค่าเช่าบ้านได้จะต้องเป็นจำนวนเงินกู้ตามสัญญากู้เงินที่ได้ใช้ในการชำระราคาบ้าน • หลักฐานการผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านที่จะนำมาเบิกค่าเช่าบ้านได้นั้น เนื่องจากมาตรา ๔๕๖ ปพพ. กำหนดว่า การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นโมฆะ การซื้อขายที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างต้องดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว จึงจะมีผลบังคับ ดังนั้น การที่จะพิจารณาว่าที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ซื้อขายกันนั้นมีราคาเท่าใด จึงต้องพิจารณาจากสัญญาที่เจ้าพนักงานที่ดินทำขึ้นเป็นสำคัญ
เมื่อสัญญาขายที่ดินระบุว่า ผู้ขายยอมขายที่ดินโฉนดที่ดินพร้อมทาวน์เฮ้าส์ ๑๘๐,๐๐๐ บาท จึงถือว่าซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในราคา ๑๘๐,๐๐๐ บาท • ข้ออ้างที่ว่า ผู้ฟ้องคดีซื้อบ้านพร้อมที่ดิน ๓๖๐,๐๐๐ บาท โดยผู้ขายทำสัญญา ๒ ฉบับ คือสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดินราคา ๑๘๐,๐๐๐ บาท และสัญญาจ้างต่อเติมราคา ๑๘๐,๐๐๐ บาท โดยผู้ฟ้องคดีชำระราคา ๔๐,๐๐๐ บาท จึงกู้เงินจากธนาคารส่วนที่เหลือ ๓๒๐,๐๐๐ บาท นั้น ไม่อาจรับฟังหักล้างเอกสารราชการที่เจ้าพนักงานที่ดินจัดทำขึ้นได้
ข้ออ้างที่ว่า กรณีของผู้ฟ้องคดีเป็นกรณีเดียวกันกับหนังสือ ที่ กค ๐๕๑๘.๓/ว ๒๑ ลงวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ นั้น เห็นว่า กรณีของผู้ฟ้องคดีแตกต่างจากหนังสือดังกล่าว กล่าวคือ กรณีตามหนังสือฯ เป็นกรณีที่ข้าราชการซื้อบ้านพร้อมที่ดินในคราวเดียวกัน แต่หลักฐานที่เจ้าพนักงานที่ดินจัดทำขึ้นระบุเพียงว่าเป็นการซื้อขายที่ดิน ส่วนกรณีของผู้ฟ้องคดีนั้นหลักฐานที่เจ้าพนักงานที่ดินจัดทำขึ้นระบุชัดเจนว่า เป็นการขายที่ดินพร้อมทาวน์เฮ้าส์ • ดังนั้น แม้จะได้กู้เงินจากธนาคาร ๓๒๐,๐๐๐ บาท แต่ถือว่าได้ชำระราคาบ้านพร้อมที่ดินตามสัญญาขายที่ดินที่เจ้าพนักงานที่ดินทำขึ้นเพียง ๑๘๐,๐๐๐ บาท เท่านั้น ผู้ฟ้องคดีจึงมีสิทธินำหลักฐานการผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ ในวงเงินตามสัญญาขายที่ดินจำนวน ๑๘๐,๐๐๐ บาท
เมื่อเจ้าหน้าที่ของกรมฯ แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีทราบและดำเนินการตามข้อทักท้วงของ สตง.โดยเรียกเงินคืนในส่วนที่เบิกเกินสิทธิ จึงเป็นการเพิกถอนคำสั่งอนุมัติค่าเช่าบ้านที่มีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ ภายใน 90 วัน • เนื่องจากการเพิกถอนคำสั่งอนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านในส่วนที่เกินสิทธิ เป็นการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เป็นการให้เงินโดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่มีคำสั่งอนุมัติ จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในมาตรา 51 ซึ่งให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรตามมาตรา ปพพ. 412 มาใช้บังคับโดยอนุโลม • กรณีนี้เชื่อว่าผู้ฟ้องคดีได้กระทำการไปโดยสุจริต และเพิ่งรู้ว่าตนไม่มีสิทธิเบิกเต็มวงเงินเมื่อถูกเรียกให้คืนเงิน เมื่อ 22 กันยายน 2541
กรณีไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่ไม่อาจอ้างความเชื่อโดยสุจริตตามมาตรา 51 วรรคสาม และได้นำเงินไปชำระให้แก่ธนาคารฯ ทั้งหมดแล้ว ไม่มีส่วนที่เหลืออยู่ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ต้องคืนเงินที่เบิกเกินสิทธิและรับไว้เป็นลาภมิควรได้ • ส่วนตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน 2541 ซึ่งเป็นวันที่รู้ว่าตนไม่สิทธิเบิกเต็มวงเงินจึงต้องถือว่าตกอยู่ในฐานะไม่สุจริต จึงต้องคืนเงินที่รับไปเต็มจำนวน • เมื่อหน่วยงานฯ มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีคืนเงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับไปเกินสิทธิก่อนวันที่ 22 กันยายน 2541 จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ในส่วนที่ให้เบิกเกินไปตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน 2541 เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย • พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งฯ ส่วนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย • ข้อสังเกต • นำเงินไปใช้หนี้ ถือว่าใช้ประโยชน์แล้ว
สรุปย่อข้อเท็จจริง ออกคำสั่งเพิกถอนย้อนหลัง มีทรัพย์สินต้องคืนหากสุจริต ให้คืนอย่างลาภมิควรได้ หากไม่สุจริต ต้องคืนทั้งหมด 1 เมษายน 2535 อนุมัติให้เบิกค่าเช่าซื้อ • ซื้อที่ดิน 180,000 บาท(จดทะเบียนกับ จพง.ที่ดินฯ) • จ้างก่อสร้าง 180,000 บาท • ดาวน์ 40,000 บาท • กู้ธนาคาร 320,000 บาท • เบิกค่าเช่าซื้อ 320,000 บาท เดือนละ 2,400 บาท สุจริต ไม่สุจริต ไม่เกิน 90 วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ 14 กันยายน 2541 สตง. ทักท้วง • เบิกได้เฉพาะในส่วนที่จดทะเบียนฯ 180,000 บาทเดือนละ 1,950 บาท • ทักท้วงให้เรียกเงินส่วนที่เบิกไปเกินคืน 22 กันยายน 2541 ออกคำสั่งเรียกเงินคืน • 61,613 บาท
เพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย :เช่าบ้านแม่ • ผู้ฟ้องคดีเช่าบ้านแม่เพื่ออยู่อาศัยจริง และสภาพบ้านเช่าเหมาะสมกับอัตราเช่า และได้รับอนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านได้ ก่อให้เกิดสิทธิเบิก ถือเป็นคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้ฟ้องคดี • การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยจะต้องมีเหตุใดเหตุหนึ่งตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 53 วรรคสอง (1)-(5) • การที่มีคำสั่งเพิกถอนโดยอ้างว่า แนวปฏิบัติของ ครม. ประกอบกับความเห็นของคณะกรรมการที่หน่วยงานแต่งตั้งที่เห็นว่า ผู้ฟ้องคดีขอย้ายกลับภูมิลำเนาเดิมเพื่ออยู่ร่วมกับมารดาในการอุปการะเลี้ยงดูในยามชรา อีกทั้งครอบครัวสามารถอยู่อาศัยร่วมกับมารดาโดยไม่ต้องเช่าบ้าน และอัตราถือว่าสูง การเบิกของผู้ฟ้องคดี จึงถูกต้องแต่ไม่เหมาะสม คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.160/2548
เห็นว่า เหตุผลที่ใช้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้ฟ้องคดีไม่เข้ากรณีหนึ่งกรณีใดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 53 วรรคสอง จึงไม่มีอำนาจเพิกถอนคำสั่งอนุมัติให้ผู้ฟ้องคดีเบิกค่าเช่าบ้านโดยมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีเบิกค่าเช่าบ้านโดยมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีงดเบิกฯ และชดใช้ค่าเช่าบ้านที่เบิกไปแล้วคืน คำสั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย • พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้งดเบิกและเรียกเงินคืน แล้วให้ดำเนินการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านให้แก่ผู้ฟ้องคดีตามสิทธิที่บัญญัติไว้ใน พรฎ. ให้เป็นการถูกต้องต่อไป
การเพิกถอนคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายที่ให้ประโยชน์ที่เป็นการให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ที่อาจแบ่งแยกได้ (ม.49,53ว4,51)
การเพิกถอนคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายที่ให้ประโยชน์(ม.49,53ว2,52)การเพิกถอนคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายที่ให้ประโยชน์(ม.49,53ว2,52)
การเพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เป็นเงิน: ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต • ผู้ฟ้องคดีย้ายตามคำขอ และทางราชการไม่มีบ้านพักให้ จึงได้เช่าบ้านและเบิกค่าเช่าบ้าน ต่อมาหน่วยงานฯเห็นว่า ไม่มีสิทธิเบิกจึงมีคำสั่งเรียกเงินคืน ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่งฯ ปลัด มท. มีคำวินิจฉัยยืน • ศาลเห็นว่า เมื่อเป็นการย้ายตามขอของตน จึงไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน การที่หน่วยงานฯมีคำสั่งให้เบิกค่าเช่าบ้านจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย • หน่วยงานฯจึงมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ 2124/2545
กรณีนี้ผู้ฟ้องคดีรับผิดชอบกำกับดูแลงานการเงินและบัญชี ย่อมต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินเป็นอย่างดี และรับราชการมา ๒๐ กว่าปี ได้รับคำสั่งย้ายหลายครั้ง ย่อมทราบสิทธิการเบิกค่าเช่าบ้าน การที่ผู้ฟ้องคดีมีหน้าที่กลั้นกรองเสนอความเห็นเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินของ สนจ. ได้ยื่นขอเบิกค่าเช่าบ้านโดยไม่ศึกษากฎหมาย ระเบียบฯ ให้รอบคอบก่อน แต่กลับเห็นว่าตนเองมีสิทธิเบิกได้ • กรณีจึงถือได้ว่า กระทำการไปโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อันเป็นกรณีที่ควรรู้ว่าตนเองไม่สิทธิเบิก และควรรู้ว่าคำสั่งอนุมัติให้เบิกไม่ชอบ จึงไม่อ้างความเชื่อโดยสุจริตในความคงอยู่ของคำสั่งที่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านเพื่อไม่ต้องคืนเงินค่าเช่าบ้านที่เบิกไปแก่ทางราชการได้
การเบิกค่าเช่าบ้าน: กรณีพนักงานเทศบาลย้ายเป็นข้าราชการพลเรือน • รับราชการครั้งแรกที่ ทต.บัวใหญ่ ได้โอนย้ายมารับราชการที่ มรฎ.นครราชสีมา จึงมีสถานภาพเป็นข้าราชการพลเรือนเป็นผู้มีคุณสมบัติของข้าราชการที่จะมีสิทธิขอเบิกค่าเช่าบ้านตามเงื่อนไขที่พระราชกฤษฎีกากำหนด • สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านเป็นสวัสดิการของรัฐอย่างหนึ่งที่กำหนดไว้เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของข้าราชการของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการในราชการส่วนกลาง ภูมิภาค หรือท้องถิ่น เพียงแต่ราชการส่วนท้องถิ่นได้รับการแบ่งมอบภารกิจจากรัฐให้ดำเนินกิจการแทนรัฐในพื้นที่ที่กำหนดและให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีงบประมาณเป็นของตนเอง จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสวัสดิการค่าเช่าบ้านแยกออกไปต่างหากเป็นการเฉพาะ แต่ก็มีเจตนารมณ์เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ข้าราชการของรัฐเช่นเดียวกัน คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 721/2548
ผู้ฟ้องคดีจึงเป็นผู้มีสิทธิได้รับสวัสดิการขั้นพื้นฐานนี้จากรัฐบนพื้นฐานอย่างเดียวกัน เพียงแต่สิทธิและเงื่อนไขดังกล่าวได้กำหนดให้แยกส่วนจากกันเพื่อความสะดวกในการตั้งงบประมาณและการเบิกจ่ายงบประมาณขององค์กรเป็นสำคัญ แต่ก็ยังคงมีเจตนารมณ์ในการจัดสวัสดิการพื้นฐานของรัฐในการดูแลช่วยเหลือบุคลากรของรัฐบนพื้นฐานอย่างเดียวกันของทุกส่วนราชการ • เมื่อผู้ฟ้องคดีเข้ารับราชการครั้งแรกโดยได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานในท้องที่ อ.บัวใหญ่ ต่อมา ได้โอนย้ายมาปฏิบัติราชการที่ อ.เมืองนครราชสีมา จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ต่างท้องที่แล้ว และเมื่อไม่มีเหตุที่ต้องห้ามใช้สิทธิเบิกจึงเป็นผู้มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว คำสั่งเพิกถอนคำสั่งอนุมัติเบิกค่าเช่าบ้านและให้คืนเงินค่าเช่าบ้านที่เบิกไปแล้ว 167,225.80 บาท จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การเบิกค่าเช่าบ้าน: กรณีพนักงานเทศบาลย้ายเป็นข้าราชการพลเรือน • ผู้ฟ้องคดีเป็นพนักงานเทศบาลโอนไปรับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน และขอเบิกเงินค่าเช่าบ้าน หน่วยงานฯหารือ กรมบัญชีกลางเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีไม่มีสิทธิเบิกฯ เพราะไม่ใช่ข้าราชการพลเรือน แม้ต่อมาบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือน และได้รับคำสั่งโอนมา มิใช่กรณีได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่ง หน่วยงานมีคำวินิจฉัยยืน • ศาลเห็นว่าการโอนมาเป็นข้าราชการพลเรือน ไม่ใช่ลาออกแล้วบรรจุใหม่ สถานภาพการเป็นข้าราชการพลเรือนเริ่มใหม่จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าเริ่มรับราชการครั้งแรก ซึ่งมาตรา ๖๑ กฎหมายข้าราชการพลเรือน ต้องการให้สถานภาพเป็นบุคคลของราชการมีอยู่อย่างต่อเนื่อง คำพิพากษาศาลปกครองกลางที่ 1253/2546
พ.ร.ฎ. ไม่ได้กำหนดว่าต้องเริ่มรับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนมาตั้งแต่แรกเริ่มเข้ารับราชการจึงจะมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านได้ • ผู้ฟ้องคดีโอนเป็นข้าราชการพลเรือน โดยได้รับแต่งตั้งให้ไปประจำในต่างท้องที่ จึงขอเบิกค่าเช่าบ้านซึ่งก็เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติที่เคยตอบข้อหารือของ ปค. ว่าเบิกได้
การที่ กค. อ้างว่า การตอบข้อหารือนำมาใช้กรณีผู้ฟ้องคดีไม่ได้ เพราะเป็นการตอบข้อหารือเฉพาะราย เป็นการเลือกปฏิบัติ เมื่อข้อเท็จจริงเหมือนกันก็ต้องถือปฏิบัติให้เหมือนกัน ได้รับสิทธิเหมือนกัน การที่หน่วยงานฯระงับสิทธิการเบิกค่าเช่าบ้านของผู้ฟ้องคดีตามการตอบข้อหารือของ กค. จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย • พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งระงับการเบิกจ่ายค่าเช่าบ้าน และให้ผู้ฟ้องคดีได้รับสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตั้งแต่วันที่ร้องขอเป็นต้นไป
โอนไปเป็นข้าราชการ ๘ ประเภท พนักงาน/ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ท้องที่เริ่มรับราชการครั้งแรก เมื่อโอนไปเป็นข้าราชการ ๘ ประเภท ถือเป็นท้องที่เริ่มรับราชการครั้งแรกในฐานะข้าราชการ ๘ ประเภท จึงยังเบิกค่าเช่าบ้านไม่ได้ จนกว่าจะได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติราชการต่างท้องที่ 12
การเบิกค่าเช่าบ้านกรณีย้ายตามคำขอ(นางสาวไฉไล ฤาชา) • เป็นกรณีช่วงต่อเนื่องการแก้ไข พรฎ. กรณีย้ายตามคำขอ ไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน • เดิม (ว.๘๑) ให้ดูที่วันอนุมัติให้เบิกเป็นหลัก (ต้องก่อน ๒๖ มิ.ย. ๔๑) • ต่อมา (ว.๓๕) ให้ดูวันที่เช่าบ้านจริง หรือวันรายงานตัวกรณีเช่าบ้านก่อน (ต้องก่อน ๒๖ มิ.ย. ๔๑) • ผู้ฟ้องคดี ๒๖ มิ.ย. ๔๑ ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าซื้อ ย้ายตามคำขอ และอยู่กับบิดา บ้านเสร็จ คำพิพากษาศาลปกครองกลางที่ 507/2544
คำพิพากษา • หนังสือเวียนของ กค. เป็นการตีความกฎหมายให้ชัดเจน และศาลเห็นด้วยจึงเป็นการดำเนินการโดยชอบ • คำสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้าน ผู้ฟ้องคดีไม่ได้ขอ ศาลจึงไปพิจารณาไม่ได้ • แต่จากเอกสารที่ผู้ฟ้องคดีเสนอศาล เป็นกรณีข้อเท็จจริงเดียวกับผู้ฟ้องคดี และกรมบัญชีกลางให้ความเห็นว่าเบิกได้ • ดังนั้น ตามหลักเสมอภาค ผู้ฟ้องคดีจึงมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านเช่นเดียวกัน • พิพากษาให้ เพิกถอนคำสั่งที่มีผลให้ผู้ฟ้องคดีไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านในลักษณะผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านตามสิทธิของผู้ฟ้องคดี
การอุทธรณ์(การอุทธรณ์คำสั่งเรื่องเดียวกัน ๒ คำสั่ง และอายุความสะดุดหยุดอยู่) • การที่ ผอ. ไม่อนุมัติให้ผู้ฟ้องคดีเบิกค่าเช่าบ้าน และผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คำสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านครั้งที่ ๑ (แต่ยังไม่มีการวินิจฉัยอุทธรณ์) • ผอ. ไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้าน ครั้งที่ ๒ ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อ ศป. • การที่อุทธรณ์มาครั้งหนึ่งในเรื่องเดียวกัน แต่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย จึงไม่มีเหตุผลที่จะต้องอุทธรณ์คำสั่งที่ ๒ อีก เพราะหากวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อใดก็จะมีผลผูกพันคำสั่งทั้ง ๒ ครั้ง จึงถือว่าผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คำสั่งฯไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านแล้ว • เมื่อยื่นอุทธรณ์ครั้งที่ ๑ แล้ว อายุความจึงสะดุดหยุดอยู่ตั้งแต่วันดังกล่าว [ไม่นับระหว่างนั้นจนกว่าการพิจารณาจะถึงที่สุดหรือเสร็จไปโดยประการอื่น (มาตรา ๖๗)] คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๘๓/๒๕๔๔
ย้ายตามคำขอก่อน ๒๖ มิ.ย. ๔๑ แต่พักกับสามี • ผู้ฟ้องคดีย้ายตามคำขอของตนก่อน ๒๖ มิ.ย. ๔๑ และได้พักอาศัยอยู่กับสามี โดยสามีใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน • ปี ๔๒ สามีย้ายไปดำรงตำแหน่งท้องที่อื่น ผู้ฟ้องคดีจึงใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน • หน่วยงานไม่อนุมัติ โดยเห็นว่าผู้ฟ้องคดีย้ายตามคำขอและไม่ได้ใช้สิทธิเบิกก่อนวันที่ ๒๖ มิ.ย. ๔๑ • ศาลวินิจฉัยว่า พรฎ. กำหนดว่า สามี-ภรรยารับราชการอยู่ในท้องที่เดี่ยวกัน ให้สามีเป็นผู้ใช้สิทธิเบิก ถือได้ว่าภรรยาได้ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านร่วมกับสามีแล้ว คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.๑๔/๒๕๔๗
นำบ้านนอกท้องที่มาเบิกค่าเช่าบ้านเพื่อชำระค่าบ้าน: กรณีไม่อาจความเชื่อโดยสุจริต • การที่ผู้ฟ้องคดีนำหลักฐานการผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านที่ตั้งอยู่ในท้องที่นอกท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่มาเบิกค่าเช่าบ้าน จึงเป็นการเบิกโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 16 และมาตรา 4 แห่ง พรฎ. ค่าเช่าบ้านฯ • ผู้ฟ้องคดีเป็นข้าราชการระดับสูงและเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติให้มีการจ่ายเงินค่าเช่าบ้านได้ ย่อมควรจะทราบถึง พรฎ. ที่ใช้บังคับอยู่ การยื่นของเบิกค่าเช่าซื้อฯ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงตามมาตรา 51 วรรคสาม (3) จึงไม่อาจอ้างความเชื่อของตนว่าเป็นไปโดยสุจริตได้ ผู้บังคับบัญชาจึงมีอำนาจเพิกถอนการอนุมัติได้ตามมาตรา 49 มาตรา 50 และมาตรา 51 ฯ • คำสั่งที่เรียกให้ผู้ฟ้องคดีนำเงินส่งคืนคลังจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.137/2547
เบิกค่าเช่าซื้ออยู่ ต่อมาทางราชการจัดที่พักให้: คำสั่งไม่อนุมัติให้เบิกไม่ชอบ • มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามมาตรา ๑๖ อยู่ก่อนสร้างที่พักของทางราชการ • การที่ไม่เข้าพักในที่พักที่ทางราชการจัดให้ และถือเป็นเหตุเพิกถอนคำสั่งอนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านไม่ชอบด้วยเจตนารมณ์ของทางราชการ เพราะทางราชการต้องการที่จะช่วยเหลือข้าราชการที่ได้รับความเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัยอันเนื่องมาจากทางราชการเป็นเหตุ • เมื่อได้กู้ยืมเงินเพื่อผ่อนชำระเงินกู้ฯ และได้รับอนุญาตโดยชอบแล้วกลับมาเพิกถอนคำสั่งเพียงแต่เหตุที่ได้สร้างที่พักราชการขึ้นมาในภายหลัง เป็นการทำให้ข้าราชการต้องเดือดร้อนเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่น่าที่จะเป็นความประสงค์ของทางราชการ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.84,99,/2549
ยิ่งกว่านั้น พรฎ. มีเจตนารมณ์สนับสนุนให้ข้าราชการได้มีบ้านอยู่อาศัยของตนเอง โดยการอนุญาตให้ข้าราชการซึ่งได้รับการอนุญาตให้เบิกค่าเช่าบ้านโดยวิธีการผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านที่ค้างชำระเมื่อถูกย้ายไปประจำสำนักงานใหม่ ซึ่งมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน ยังคงสามารถนำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้มาเบิกค่าเช่าบ้านในท้องที่ใหม่ได้ • ศาลปกครองสูงสุดจึงเห็นว่า สิทธิของผู้ฟ้องคดีในการที่จะได้รับค่าเช่าบ้านยังคงมีอยู่ต่อไปถึงแม้ทางราชการจะได้สร้างที่พักของทางราชการขึ้นมาในภายหลังก็ตาม ดังนั้น การที่มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่เคยอนุมัติให้ผู้ฟ้องคดีเบิกค่าเช่าบ้านโดยวิธีการเช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านที่ค้างชำระ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
มีสิทธิเบิก แต่พักกับสามี ต่อมาสามีย้าย จึงเบิก: คำสั่งไม่อนุมัติให้เบิกไม่ชอบ • ในปี 41 ทางราชการจัดที่พักให้สามี และผู้ฟ้องคดีได้เข้าอยู่อาศัยร่วมกับสามี และไม่ได้ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน จึงไม่ใช่กรณีที่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน แต่เป็นกรณีที่ทางราชการจัดที่พักให้สามีและผู้ฟ้องคดีได้อยู่อาศัยร่วมกับสามี • เมื่อต่อมาในปี 42 สามีย้ายไปดำรงตำแหน่งท้องที่อื่น ผู้ฟ้องคดีจึงได้ไปเช่าบ้าน และใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน จึงไม่อาจตีความว่า ผู้ฟ้องคดีไม่ได้ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านอยู่ก่อน ๒๖ มิ.ย. ๔๑ แม้จะอ้างความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่าเบิกไม่ได้ ศาลก็ไม่เห็นพ้องด้วย • ศาลวินิจฉัยว่า คำสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้เพิกถอน คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.242,/2549
ขยายความ • กรณีจึงไม่อาจตีความได้ว่าผู้ฟ้องคดีไม่ได้ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านอยู่ก่อนวันที่ 26 มิถุนายน 2541ซึ่งมิอาจใช้บังคับหรือตัดสิทธิในการเบิกค่าเช่าบ้านได้ และไม่มีผลทำให้สิทธิในการเบิกค่าเช่าบ้านต้องเสียไป • เมื่อต่อมาผู้ฟ้องคดีได้เช่าบ้านอาศัยอยู่จริง ไม่ว่าจะก่อนหรือหลัง พรฎ. (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2541 ใช้บังคับ ก็ย่อมเป็นผู้มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านได้ • ดังนั้น คำสั่งที่ให้ระงับการเบิกค่าเช่าบ้านของผู้ฟ้องคดีโดยอ้างหนังสือของ กค. ว.86 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2544 ว่าผู้ฟ้องคดีไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย