330 likes | 343 Views
การปรับตัวของภาคการศึกษาเพื่อตอบรับ กับนโยบาย และ กลยุทธการพัฒนาเยาวชน ตามกรอบนโยบายความเป็นผู้ประกอบการ ของ UNCTAD. ดร.สุพัชรา ดิษฐบรรจง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาขีดความสามารถทางการค้าและการพัฒนา สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒน (องค์การมหาชน). แหล่งข้อมูล : มูลนิธิมั่นพัฒนา.
E N D
การปรับตัวของภาคการศึกษาเพื่อตอบรับกับนโยบาย และ กลยุทธการพัฒนาเยาวชน ตามกรอบนโยบายความเป็นผู้ประกอบการ ของ UNCTAD ดร.สุพัชรา ดิษฐบรรจง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาขีดความสามารถทางการค้าและการพัฒนา สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒน (องค์การมหาชน)
แหล่งข้อมูล : มูลนิธิมั่นพัฒนา
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) จำแนกออกได้เป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่ม People ที่ว่าด้วยเรื่องคุณภาพชีวิตของผู้คน (เป้าหมายที่ 1, 2, 3, 4, 5) กลุ่ม Prosperity ที่ว่าด้วยเรื่อง ความเจริญทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและครอบคลุม (เป้าหมายที่ 7, 8, 9, 10, 11) กลุ่ม Planet ที่ว่าด้วยเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (เป้าหมาย 6, 12, 13, 14, 15) กลุ่ม Peace ที่ว่าด้วยเรื่อง สันติภาพ สถาบันที่เข้มแข็ง และความยุติธรรม (เป้าหมาย 16) กลุ่ม Partnership ที่ว่าด้วยเรื่อง การเป็นหุ้นส่วนเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (เป้าหมาย 17)
SDG 4 เป้าหมายด้านการศึกษา “ Ensure inclusive and equitable, quality education and promote lifelong learning opportunities for all” “สร้างหลักประกันว่า ทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ อย่างเสมอภาค และ เท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต”
ภาพรวมกรอบนโยบายความเป็นผู้ประกอบการเยาวชน(Youth Entrepreneurship Policy Framework) การกำหนดกลยุทธ์ระดับชาติ ด้านความเป็นผู้ประกอบการ (Formulating National Entrepreneurship Strategy) กรอบนโยบายความเป็นผู้ประกอบการเยาวชน(Youth Entrepreneurship Policy Framework) • การอำนวยความสะดวกด้านการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี และนวัตกรรม(Facilitating Technology Exchange and Innovation) • การปรับปรุงการเข้าถึงแหล่งเงินทุน • (Improving Access to Finance) • การสร้างสมดุลของสภาพแวดล้อมทางกฎระเบียบ (Optimizing the Regulatory Environment) • การส่งเสริมความตระหนัก และการสร้างเครือข่าย (Promoting Awareness and Networking) • การยกระดับการศึกษาด้านความเป็นผู้ประกอบการ และการพัฒนาทักษะ (Enhancing Entrepreneurship Education and Skills Development) ที่มา : UNCTAD
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาผู้ประกอบการเยาวชนข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาผู้ประกอบการเยาวชน 1. กลยุทธ์ระดับชาติด้านความเป็นผู้ประกอบการ • พัฒนาแบบจำลองเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Model) ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมการพัฒนาและการสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนความเป็นผู้ประกอบการเยาวชนของประเทศ • จัดตั้งหรือกำหนดกลไกเชิงสถาบันหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบชัดเจนและเฉพาะที่จะเป็นแกนหลักในด้านการพัฒนาเยาวชนในมิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกัน อาทิ ความเป็นผู้ประกอบการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาผู้ประกอบการเยาวชนข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาผู้ประกอบการเยาวชน 1. กลยุทธ์ระดับชาติด้านความเป็นผู้ประกอบการ(ต่อ) • พัฒนานโยบาย กลยุทธ์ แผนงาน และโครงการต่าง ๆ เป็นการเฉพาะสำหรับประเด็นการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการเยาวชน • ระบุและสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่เกี่ยวข้อง ควบคู่กับการสร้างความเป็นหุ้นส่วน (Partnerships) และความร่วมมือระหว่างกันอย่างใกล้ชิด เพื่อส่งเสริมการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการเยาวชน
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาผู้ประกอบการเยาวชนข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาผู้ประกอบการเยาวชน 2.การสร้างสมดุลของสภาพแวดล้อมทางกฎระเบียบ • ดำเนินการปรับปรุงและพัฒนากฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจอย่างต่อเนื่องต่อไป • เพิ่มเติมวาระการพัฒนาเยาวชนให้เป็นผู้ประกอบการโดยคำนึงถึงกรอบนโยบายของ UNCTAD ให้เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชน • เพิ่มเติมองค์ความรู้และทักษะทางกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจพื้นฐานให้แก่ผู้ประกอบการเยาวชน รวมทั้งในองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาผู้ประกอบการเยาวชนข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาผู้ประกอบการเยาวชน 3.การยกระดับการศึกษาและการพัฒนาทักษะด้านความเป็นผู้ประกอบการ • ปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาทุกระดับชั้นโดยกำหนดให้วิชาความเป็นผู้ประกอบการเป็นวิชาบังคับที่ต้องบรรจุในทุกหลักสูตรทุกระดับการศึกษา • ผลิตและพัฒนาครูผู้สอนด้านความเป็นผู้ประกอบการโดยตรง • พัฒนาความเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างสถานประกอบการ สถาบันการเงิน และสถาบันการศึกษาทุกระดับเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอน
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาผู้ประกอบการเยาวชนข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาผู้ประกอบการเยาวชน 3.การยกระดับการศึกษาและการพัฒนาทักษะด้านความเป็นผู้ประกอบการ • ปรับปรุงการประเมินผลสัมฤทธิ์ของสถาบันการศึกษาโดยใช้ความสำเร็จของความเป็นผู้ประกอบการของผู้จบการศึกษาเป็นตัวชี้วัด • เปิดโอกาสให้ครูอาจารย์ และนักศึกษาดำเนินและบริหารโครงการพัฒนาวิสาหกิจหรือธุรกิจขนาดย่อมภายในสถานศึกษา เสมือนจำลองสถานการณ์จริงด้านการดำเนินธุรกิจ เพื่อสนับสนุนการสร้างทักษะและความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นผู้ประกอบการมากขึ้น ทั้งนี้ อาจพิจารณาเชื่อมโยงกับภาคเอกชนบางรายที่สามารถอำนวยความสะดวกหรือให้บริการเชิงพื้นที่สำหรับการทดลองดำเนินธุรกิจในสนามทดลองเฉพาะ (เช่น แนวคิดสนามเด็กเล่นทางธุรกิจ หรือ Playground เป็นต้น)
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาผู้ประกอบการเยาวชนข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาผู้ประกอบการเยาวชน 4. การอำนวยความสะดวกด้านการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี และนวัตกรรม • พัฒนาระบบการให้ความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีผ่านการจัดทำ Application ผ่าน Smart Phone • ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมด้านการแปรรูปสินค้าเกษตร โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการเยาวชนในเขตชนบทและต่างจังหวัด • พัฒนาระบบการประเมินผลความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ของส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยี • ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผลประโยชน์ของเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา • สร้างอุทยานวิทยาศาสตร์ในระดับภูมิภาค เพื่อเป็นแกนหลักด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงบ่มเพาะผู้ประกอบการในระดับพื้นที่อย่างทั่วถึง
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาผู้ประกอบการเยาวชนข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาผู้ประกอบการเยาวชน 5. การปรับปรุงการเข้าถึงแหล่งเงินทุน • พัฒนาช่องทางการระดมทุนในรูปแบบใหม่ เช่น การระดมทุนผ่านอินเทอร์เน็ต (Crowdfunding) • กำหนดมาตรการด้านภาษีเพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดนักลงทุนบุคคลเดียว (Angel Investors) และบริษัทร่วมทุน (Venture Capital) ให้มากขึ้น • กำหนดสัดส่วนการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์เฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการเยาวชน
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาผู้ประกอบการเยาวชนข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาผู้ประกอบการเยาวชน 6. การส่งเสริมความตระหนักและการสร้างเครือข่าย • ปรับเปลี่ยนทัศนคติของพ่อแม่ผู้ปกครองให้ตระหนักและเห็นคุณค่าการเป็นผู้ประกอบการ • ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการรวมตัวของที่ปรึกษา และองค์กรหรือเครือข่ายพี่เลี้ยง (Mentors) ด้านเทคโนโลยีและธุรกิจมากขึ้น รวมทั้งให้การสนับสนุนด้านงบประมาณเพื่อความยั่งยืนในการดำเนินงาน • สร้างค่านิยมความเป็นผู้ประกอบการให้สังคมโดยรวมเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของความเป็นผู้ประกอบการต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม
ยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 มุ่งเน้นการสร้างเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ด้วยการ เปลี่ยนแปลง 3 มิติสําคัญ คือ เปลี่ยนจากการผลักดัน สินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรมไป สู่การ ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้าไปสู่การ เน้นภาคบริการ มากขึ้น
ยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 • การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ต้องปรับเปลี่ยนองค์ประกอบสําคัญในภาคเศรษฐกิจ คือ • เปลี่ยนจากระบบเกษตรแบบดั้งเดิม สู่เกษตรสมัยใหม่ เน้นบริหารจัดการและเทคโนโลยี ปั้นเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการ • เปลี่ยนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ที่มีภาครัฐคอยช่วยเหลือ ผลักดันสู่การเป็น SmartEnterprises หรือ Startups ที่มีศักยภาพสูง • เปลี่ยนจาก Traditional Services ที่มีมูลค่าตํ่า มุ่งสู่ High Value Services • เปลี่ยนจากแรงงานทักษะตํ่า สู่แรงงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง
โมเดลประเทศไทย 4.0 : การพัฒนาสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน ความมั่งคั่งทาง เศรษฐกิจ (EconomicWealth) ความอยู่ดีมีสุข (Social Well-beings) สร้างความเข้มแข็งจากภายใน การยกระดับ คุณค่ามนุษย์ (HumanWisdom) การรักษ์สิ่งแวดล้อม (Environmental Wellness) SEP Thailand4.0 SDGs การอนุรักษ์โลก(SavedthePlanet) สันติภาพที่มั่นคง (SecuredPeace) เชื่อมไทยสู่ ประชาคมโลก ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน (SharedProsperity) การเจริญเติบโตที่ยั่งยืน (SustainableGrowth) เราจะเ หน้าไปดวย ไม่ทิ้งใครไวข้ างหลงั สร้างความเข้มแข็งจากภายใน เชื่อมไทยสู่ประชาคมโลก 5
Future Learning Cross-national Technology Work-base Innovative Tech network Globalization
ศูนย์ศึกษาวิเคราะห์แนวโน้มด้านการค้าและการพัฒนา สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (2560)ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทย ในมิติการศึกษาและแรงงาน โดยได้ระบุเกี่ยวกับประเด็นที่เป็นแนวโน้มความท้าทาย รวมถึงข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต ดังมีสาระสำคัญต่อไปนี้ • แนวโน้มความท้าทายในระยะต่อไป ได้แก่ การใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและงานวิจัย การพัฒนาคุณภาพและทักษะของแรงงาน การจัดการกับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี การเผชิญหน้ากับสังคมพหุวัฒนธรรม การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการพัฒนาการศึกษาและแรงงานของไทย ประกอบด้วย • การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและภาคธุรกิจในกระบวนการจัดการการศึกษา โดยอาศัยบทบาทของวิสาหกิจสังคม (Social Enterprises) และการสร้างสังคมที่มีส่วนร่วมอย่างทั่วถึง (Inclusive Society) • การพัฒนาองค์กรที่ดูแลรับผิดชอบในการบูรณาการและสะท้อนองค์รวมของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ • การปรับกระบวนทัศน์ด้านการจัดการการศึกษา โดยส่งเสริมการพัฒนาทักษะสำคัญ อาทิ ทักษะการคิดเชิงระบบ ทักษะการแก้ไขปัญหา ทักษะทางภาษา และทักษะทางเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ ควบคู่กับการมีส่วนร่วมของผู้เรียน (Active Learning) ใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning: PBL) และเน้นการจัดทำโครงการเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหา (Project-based Solution: PBS) • การเชื่อมโยงการจัดการการศึกษากับการพัฒนาแรงงาน และการยกระดับศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนา • การพัฒนาวิสัยทัศน์และสมรรถนะของบุคลากรทางการศึกษา
ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-long Learning)เพราะเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่สำคัญในการพัฒนาทักษะตลอดช่วงอายุ ทั้งการฝึกอบรมจากการทำงานและการพัฒนาทักษะอื่นๆและการพัฒนาทักษะการสร้างและประยุกต์องค์ความรู้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ในโลกความเป็นจริง (Knowledge Generation and Adaptive Skills) • สร้างระบบนิเวศ สภาพแวดล้อม รวมถึงรูปแบบการเรียนรู้แนวใหม่ ที่กระตุ้นการใช้ความคิดสร้างสรรค์ การประยุกต์ใช้หลักการและทฤษฎี และการลงมือปฏิบัติจริงให้มากขึ้น • สนับสนุนภาคการศึกษาให้พัฒนาบริการแนะแนวทั้งด้านการศึกษาและการประกอบวิชาชีพให้กับสถานศึกษา โดยเฉพาะในระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา และในบางมิติอาจมีการให้บริการสมทบจากที่ปรึกษาของภาคธุรกิจเอกชนเฉพาะทางด้านการศึกษาและการทำงานด้วยก็ได้ • พัฒนาความร่วมมือในมิติต่าง ๆ ของฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ทั้งในภาคการศึกษาและแรงงาน อาทิ การลงทุน การพัฒนาบุคลากรครูอาจารย์ การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาและผลิตบุคลากรที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยหน่วยงานสำคัญ ประกอบด้วย กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ผู้ประกอบการเอกชน สถาบันอาชีวศึกษา และมหาวิทยาลัย
พระราชกระแสรับสั่ง ด้านการศึกษา ของรัชกาลที่ ๙ • “ต้องปรับปรุงครู ครูจะอายุ ๔๐-๕๐ ปี ก็ต้องเรียนใหม่ ต้องปฏิวัติครูอย่างจริงจัง (๖ มิ.ย. ๕๕)
พระราชกระแสรับสั่ง ด้านการศึกษา • ของรัชกาลที่ ๙ • “ครูต้องสอนนักเรียนให้มีน้ำใจ เช่น คนเรียนเก่ง • ช่วยติวเพื่อนที่เรียนล้าหลัง ใช่สอนให้เด็กคิดแต่แข่งขัน (Compete) กับเพื่อน เพื่อให้คนเก่งได้ลำดับดีๆ เช่น สอบได้ที่หนึ่งของชั้น แต่ต้องให้เด็กแข่งขันกับตัวเอง (๑๑ มิ.ย. ๕๕) • “เราต้องฝึกหัดให้นักเรียนรู้จักทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เป็นหมู่คณะมากขึ้น จะได้มีความสามัคคี รู้จักดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ความรู้ และประสบการณ์แก่กัน (๕ ก.ค. ๕๕) การฝึกอบรม เรื่อง “การเตรียมบุคลากรภาคการศึกษาเข้าสู่อุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อรองรับระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก” 19-20 มีนาคม 2561 จังหวัดสระแก้ว
พระบรมราโชบายของรัชการที่ ๑๐ ด้านการศึกษา • สืบสานพระราชปณิธาน รัชกาลที่ ๙ เรื่องการสร้างคนดี • การศึกษามุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่เด็ก ทัศนคติที่ถูกต้อง (อุปนิสัย) ที่มั่นคง เข้มแข็ง มีอาชีพ มีงานทำ ฯลฯ • เน้นการสร้างทัศนคติ (Attitude)
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) International Institute for Trade and Development (ITD) • สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร จัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายของรัฐบาลไทยโดยมีสถานะเป็นองค์การมหาชน ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ สถาบันฯดำเนินงานโดยอาศัยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลไทย อังค์ถัด องค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ และองค์กรระดับภูมิภาค • สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา ได้รับการสถาปนาขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2544 และได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พฤษภาคม 2545 • แนวคิดที่จะจัดตั้งสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา มีความริเริ่มมาจาก ฯพณฯ รูเบนส์ ริคูเปโร เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ อังค์ถัด ซึ่งแนวคิดดังกล่าวส่วนหนึ่งเกิดจากแรงจูงใจที่จะสนองตอบขอบคุณรัฐบาลไทยอย่างเป็นรูปธรรม ในฐานะที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพของการจัดประชุมระดับรัฐมนตรีของอังค์ถัดครั้งที่ 10 ขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000 รวมทั้งต้องการจะให้มีการจัดตั้ง หน่วยงานที่ยั่งยืนถาวรและเป็นแหล่งแพร่กระจายความรู้ เพื่อการพัฒนาที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย
วิสัยทัศน์และพันธกิจ วิสัยทัศน์ • เป็นองค์กรชั้นนำในการพัฒนาศักยภาพด้านการค้าและการพัฒนา อย่างยั่งยืนในภูมิภาคและอนุภูมิภาค พันธกิจ • เป็นศูนย์กลางเพื่อให้บริการด้านการฝึกอบรม สนับสนุนงานวิจัยและงานวิชาการ ด้านการค้าระหว่างประเทศ การเงิน การคลัง การลงทุน การพัฒนา และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้แก่บุคลากรต่างๆ ในภูมิภาคและอนุภูมิภาค • สร้างศักยภาพและความสามารถในการกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจ และมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมร่วมกัน ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคและอนุภูมิภาค • สนับสนุนความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความรู้ด้านการค้าระหว่างประเทศ การเงิน การคลัง การลงทุน การพัฒนา และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคและอนุภูมิภาค • สนับสนุนความร่วมมือกับ UNCTAD และองค์การที่เกี่ยวข้อง พัฒนา องค์ความรู้ และกระบวนการถ่ายทอด ให้แก่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคและอนุภูมิภาค
รายงานวิจัยและบทความการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development)และระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) โทรศัพท์: +66 (0) 2216 1894-7 โทรสาร: +66 (0) 2216 1898-9 อีเมล์: info@itd.or.th เว็บไซด์ : www.itd.or.th Facebook : ITD - International Institute for Trade and Development YouTube: ITD LIVE e-library