1 / 17

กลุ่มที่ 2

กลุ่มที่ 2. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์การอุตสาหกรรม. 1.1 ความหมายของอุตสาหกรรม. อุตสาหกรรม (Industry) มีหลายความหมาย โดยในแต่ละความหมายจะเป็นไปตาม วัตถุประสงค์ในการนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานต่างๆ เช่น 1. พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ . ศ . 2525 ได้ให้ความหมายของ

lemuel
Download Presentation

กลุ่มที่ 2

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กลุ่มที่ 2 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์การอุตสาหกรรม

  2. 1.1 ความหมายของอุตสาหกรรม อุตสาหกรรม (Industry) มีหลายความหมาย โดยในแต่ละความหมายจะเป็นไปตาม วัตถุประสงค์ในการนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานต่างๆ เช่น 1. พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525ได้ให้ความหมายของ อุตสาหกรรมว่า “ การทำสิ่งของเพื่อให้เกิดผลประโยชน์เป็นกำไร การประกอบธุรกิจ ขนาดใหญ่ที่ต้องใช้แรงงานและทุนมาก ” 2.พระราชบัญญัติบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2502 ได้ให้ความหมายของอุตสาหกรรมว่า “ เป็นการประกอบอุตสาหกรรมรวมตลอดไปถึง การทำหัตถกรรม การดำเนินกรรมวิธีและการซ่อมสิ่งของ การทำเหมืองแร่ การผลิต และการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น การขนส่ง การอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การก่อสร้าง การปรับปรุงพื้นที่ และเกษตรกรรมพาณิชย์ ”

  3. 3.พระราชบัญญํติโรงงาน พ.ศ. 2512ได้ให้ความหมายของอุตสาหกรรม โรงงานว่า “ อาคารสถานที่หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักร มีกำลังรวมตั้งแต่ 2 แรงม้า ขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป โดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตาม เพื่อใช้สำหรับ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ หรือทำลาย สิ่งใดๆ ทั้งนี้ตามประเภทหรือชนิดของโรงงานที่กำหนดในกระทรวง ” 4.ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมประเทศหนึ่งของโลก ได้ให้ความหมายของอุตสาหกรรมว่า “ เป็นการงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหรือ พฤติกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ที่ใช้แรงงานคนเข้ากระทำต่อธรรมชาติ เพื่อสร้าง และเพิ่มพูนมูลค่าใช้สอยอันได้แก่ การเกษตร การเลี้ยงสัตว์ การประมง การทำ เหมืองแร่ การพาณิชย์ อุตสาหกรรมประกอบการ การค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น ”

  4. ความหมายของอุตสาหกรรมโดยสรุปความหมายของอุตสาหกรรมโดยสรุป ความหมายแคบ หมายถึง การผลิตหรือการแปรสภาพของวัตถุสิ่งของให้เป็น ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเพื่อการค้า หรือดำเนินการผลิตสิ่งของหรือสินค้า โดยมีโรงงาน เป็นที่ทำการผลิต ที่เรียกว่า อุตสาหกรรมประเภทโรงงาน (Manufacturing industry) ความหมายกว้าง หมายถึง การประกอบธุรกิจต่างๆที่ต้องอาศัยเงินลงทุน วัตถุดิบ เครื่องจักร และแรงงาน มาผสมผสานกันเพื่อผลิตสินค้าและบริการสำหรับซื้อขายกัน ในท้องตลาด ได้แก่ การก่อสร้าง การโรงแรม การโทรคมนาคม การขุดเจาะน้ำมัน การพิมพ์ อุตสาหกรรมรถยนต์ ปิโตรเคมี

  5. 1.2 การแบ่งหมวดหมู่ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและภาคการอุตสาหกรรม การแบ่งประเภทของอุตสาหกรรมแบ่งได้หลายแบบ ได้แก่ 1.แบ่งตาม Colin Clark ในหนังสือ The Conditions of EconomicProgressแบ่งอุตสาหกรรมออกเป็น 3 สาขา ดังนี้ อุตสาหกรรมสาขาที่หนึ่ง ได้แก่ การเกษตร การเลี้ยงสัตว์ การประมง การป่าไม้ การล่าสัตว์ อุตสาหกรรมสาขาที่สอง ได้แก่ การทำเหมืองแร่ หัตถอุตสาหกรรม การก่อสร้าง สาธารณูปโภค อุตสาหกรรมสาขาที่สาม ได้แก่ การพาณิชย์ การเงิน การประกันภัย การขนส่ง หน่วยงานราชการ การบริการ และอื่นๆ

  6. 2. แบ่งตาม International Standard Industrial Classification :ISIC แบ่งอุตสาหกรรมออกเป็น 4 สาขา ดังนี้ 1) เหมืองแร่ 2) อุตสาหกรรมโรงงาน 3) การก่อสร้าง 4) ไฟฟ้า ประปา และสาธารณูปโภค

  7. 3. แบ่งกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามตารางปัจจัยการผลิต (I – O Table) ของประเทศไทย เพื่อแสดงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ โครงสร้างทางด้านการบริโภคทั้งภาค รัฐและภาคเอกชน การสะสมทุน และการส่งออก – การนำเข้า การแบ่งหมวดหมู่ แบ่งโดยใช้รหัสตั้งแต่ 01 – 33 เช่น 01 การเพาะปลูก 07 การผลิตเครื่องดื่ม 02 การเลี้ยงปศุสัตว์ 08 การผลิตยาสูบ 03 การประมง 09 การผลิตสิ่งทอ 04 การทำป่าไม้ 10 การผลิตเครื่องแต่งกาย 05 การทำเหมืองแร่และย่อยหิน ยกเว้นรองเท้า 06 การผลิตอาหาร

  8. 4. แบ่งตาม Standard International Trade Classification : SITC นิยมใช้ในเรื่องเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ โดยแบ่งเป็น 9 หมวด ได้แก่ 1. หมวดอาหาร 2. หมวดยาสูบและเครื่องดื่ม 3. หมวดวัสดุก่อสร้าง 4. หมวดสินค้ากึ่งสำเร็จรูปขั้นต้น 5. หมวดสินค้ากึ่งสำเร็จรูปขั้นสูง 6. หมวดสินค้าบริโภคสิ้นเปลือง 7. หมวดสินค้าถาวร 8. หมวดสินค้าเครื่องจักร 9. หมวดอุปกรณ์การขนส่ง

  9. 5. แบ่งตามมาตรฐานอุตสาหกรรมในประเทศไทย Thailand Standard IndustrialClassification : TSIC เป็นระดับตัวเลข 5 หลัก เช่น 31119 การผลิตผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ 31142 การผลิตน้ำปลา 31410 การบ่มใบยาสูบ ตัวเลขหลักที่ 1 ระบุหมวดของกิจกรรม ตัวเลขหลักที่ 2 บอกกิจกรรมในกลุ่มหลัก ตัวเลขหลักที่ 3 บอกกิจกรรมในกลุ่มย่อย ตัวเลขหลักที่ 4 และ 5 บอกชนิดของอุตสาหกรรม

  10. 6. แบ่งตามการคำนวณรายได้ประชาชาติ โดยสภาพัฒน์ของไทย แบ่งภาคเศรษฐกิจออกเป็น 11 สาขา และสาขาอุตสาหกรรมแบ่งเป็น 20 ประเภทได้แก่ 1. อาหาร 11. เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี 2. เครื่องดื่ม 12. น้ำมันปิโตรเลียม 3. ยาสูบ 13. ยางและผลิตภัณฑ์ยาง 4. สิ่งทอ 14. ผลิตภัณฑ์จากแร่อโลหะ 5. สิ่งทอสำเร็จรูปยกเว้นรองเท้า 15. อุตสาหกรรมโลหะขั้นมูลฐาน 6. หนังสัตว์ ผลิตภัณฑ์หนังสัตว์และรองเท้า 16. ผลิตภัณฑ์โลหะ 7. ไม้และไม้ก๊อก 17. การซ่อมเครื่องจักรที่ไม่ใช้ไฟฟ้า 8. เครื่องเขียนและเครื่องตกแต่ง 18. เครื่องจักรที่ใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ 9. กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 19. อุปกรณ์การขนส่ง 10. การพิมพ์และการพิมพ์โฆษณา 20. อื่นๆ

  11. 1.3 ประเภทของอุตสาหกรรม แบ่งได้หลายแบบ ได้แก่ 1.3.1การแบ่งประเภทของอุตสาหกรรมตามลำดับขั้นของการผลิต แบ่งเป็น 3 ขั้น ดังนี้ 1. อุตสาหกรรมขั้นปฐม(Primary industry) เป็นอุตสาหกรรมพื้นฐาน ที่ยังไม่มีการแปรรูป เช่น การทำนา การประมง การเลี้ยงสัตว์ การขุดแร่ ขุดน้ำมัน 2.อุตสาหกรรมขั้นกลาง (Secondary industry) เป็นอุตสาหกรรมที่นำเอา ผลผลิตจากอุตสาหกรรมขั้นปฐมมาแปรรูป เช่น อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน โรงสีข้าว การแปรรูปสัตว์น้ำแช่แข็ง อุตสาหกรรมผลิตผลไม้กระป๋อง 3.อุตสาหกรรมขั้นที่ 3(Terteary industry) เป็นอุตสาหกรรมที่ทำหน้าที่ ในการจำหน่าย แลกเปลี่ยน และให้บริการ เช่น การขนส่ง การค้า และการธนาคาร

  12. 1.3.2 การแบ่งประเภทของอุตสาหกรรมจำแนกตามลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1.อุตสาหกรรมหนัก(Heavy industry) เป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหนักมาก ต้องใช้เครื่องมือ เครื่องจักร แรงงาน และเงินทุนมาก รวมทั้งใช้เทคโนโลยีระดับสูงด้วย เช่น อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ การผลิตเหล็ก เส้น การผลิตเครื่องจักรกล 2.อุตสาหกรรมเบา(Light industry) เป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหนักเบา ใช้เครื่องมือ เครื่องจักร แรงงาน และเงินทุนน้อย และใช้เทคโนโลยีระดับต่ำ เช่น อุตสาหกรรมทอผ้า อุตสาหกรรมผลิตของเด็กเล่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า อาหารกระป๋อง

  13. 1.3.3 การแบ่งประเภทของอุตสาหกรรมตามขนาดของกิจการ ธุรกิจขนาดกลาง ประเทศไทยกำหนดเกณฑ์ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ไว้ดังนี้ ธุรกิจขนาดย่อม

  14. 1.4 ข้ออ้างของประโยชน์ของอุตสาหกรรม ข้ออ้างเหล่านี้มีการกล่าวอ้างกันบ่อยๆ ขอให้พิจารณาดูว่าจริงหรือไม่ 1. ให้มูลค่าเพิ่ม (Value – added) สูง 2. การสร้างงาน 3. การได้รับเทคโนโลยี 4. ช่วยในการลดการขาดดุลการค้า 5. ประโยชน์อื่นๆ เช่น - Balanced Growth - Big Push - อุตสาหกรรมเป็นหน้าเป็นตาของประเทศ

  15. 1.5 แนวคิดว่าด้วยเป้าหมายและพฤติกรรมของหน่วยผลิต เป้าหมายของหน่วยผลิต จะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของหน่วยผลิต ถ้าหน่วยผลิตต้องการกำไรสูงสุด (Maximize Profit) จะผลิต ณ. ระดับผลผลิตที่ MC = MR แต่หน่วยผลิตไม่มีเป้าหมายอื่นบ้างเลยหรือ ? อาจต้องการรายรับรวมสูงสุด อัตราการเจริญเติบโตสูงสุด หรือต้องการความพอใจสูงสุด ก็ได้

  16. 1.6 แนวคิดว่าด้วยทฤษฎีหน่วยผลิตสมัยใหม่ ในสมัยก่อน ตามทฤษฎีของนักเศรษฐศาสตร์สำนัก Neo – Classic หน่วยธุรกิจต้องการกำไรสูงสุด เนื่องจากเจ้าของกิจการกับผู้ดำเนินการ เป็นบุคคลคนเดียวกัน แต่ปัจจุบัน หน่วยธุรกิจมิใช่กิจการของเจ้าของคนเดียว แต่มักดำเนินการ ในรูปบริษัทซึ่งมีการขายหุ้นเพื่อระดมทุน การควบคุม การจัดการต่างๆ จึงตกอยู่กับฝ่ายจัดการซึ่งมิใช่เจ้าของเงินทุน แต่จะเป็นกลุ่มผู้บริหารซึ่ง มีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นดังนั้น เป้าหมายจึงเปลี่ยนไป เป้าหมายหรือ วัตถุประสงค์ของหน่วยธุรกิจในยุคโลกาภิวัตน์ จึงมีขอบเขตกว้างขวางขึ้น

  17. เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของหน่วยธุรกิจในยุคโลกาภิวัตน์ มีดังนี้ 1) สร้างความพอใจให้แก่ลูกค้า 2) มีกำไรของกิจการอย่างเพียงพอ 3) ใช้เงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ 4) สร้างความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น 5) ให้ผลตอบแทนแก่ผู้เกี่ยวข้องอย่างยุติธรรม 6) ปฏิบัติต่อคู่สัญญาและต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรม 7) เป็นพลเมืองดีของสังคม

More Related