1.16k likes | 1.28k Views
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์. ครูคินพรรณ ภูโตนนา โรงเรียนห้วยเม็กวิทยาคม สพม.เขต 24. คอมพิวเตอร์คืออะไร.
E N D
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ครูคินพรรณ ภูโตนนา โรงเรียนห้วยเม็กวิทยาคม สพม.เขต 24
คอมพิวเตอร์คืออะไร คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"
คอมพิวเตอร์คืออะไร คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิเช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้
คุณลักษณะสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ มี 4 ประการ คือ 1. ทำงานโดยอัตโนมัติ ถ้าสังเกตการทำงานของคอมพิวเตอร์ จะพบว่า อุปกรณ์ทุกอย่างของคอมพิวเตอร์ทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ โดยที่คนไม่ได้เข้าไปควบคุม ไม่ว่าจะเป็นการอ่านข้อมูล การคำนวณ หรือการพิมพ์ผลลัพธ์
คุณลักษณะสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ มี 4 ประการ คือ 2. ทำงานได้อเนกประสงค์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้อเนกประสงค์ เพราะทำงานได้หลายชนิดขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ใช้ เช่น โปรแกรมเงินเดือน โปรแกรมคิดคะแนนสอบของนักเรียน เป็นต้น
คุณลักษณะสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ มี 4 ประการ คือ 3. เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบกันเข้าเป็น เครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ล้วนแล้วแต่เป็นอุปกรณ์ทางด้านอิเล็คทรอนิคส์ ทั้งสิ้น เช่น ทรานซิสเตอร์ วงจรไอซี ดังนั้นจึงทำงานด้วยความเร็วสูงมาก
คุณลักษณะสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ มี 4 ประการ คือ 4. เป็นระบบดิจิตอล คำว่า ดิจิตอล (Digital) มาจากคำว่า Digit หมายถึง ตัวเลข เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ ทำงานโดยใช้ระบบตัวเลข ข้อมูลทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นตัวเลขตัวหนังสือ หรือเครื่องหมายในทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เมื่อส่งเข้าเครื่องรับข้อมูลของคอมพิวเตอร์แล้ว จะถูกเปลี่ยนเป็นตัวเลขหมด
คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ 1. หน่วยเก็บ (Storage) หมายถึง ความสามารถในการเก็บข้อมูล จำนวนมากและเป็นเวลานาน นับเป็น จุดเด่นทางโครงสร้างและเป็นหัวใจ ของการทำงานแบบอัตโนมัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องด้วย
คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ 2. ความเร็ว (Speed) หมายถึง ความสามารถในการประมวลผล ข้อมูล (Processing Speed) โดยใช้เวลาน้อย เป็นจุดเด่นทางโครงสร้าง ที่ผู้ใช้ทั่วไปมีส่วนเกี่ยวข้องน้อยที่สุด เป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สำคัญส่วนหนึ่งเช่นกัน
คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ 3. ความเป็นอัตโนมัติ (Self Acting) หมายถึง ความสามารถ ในการประมวลผลข้อมูลตามลำดับขั้นตอนได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง อย่างอัตโนมัติ โดยมนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้องเฉพาะในขั้นตอนการกำหนด
คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ 4. ความน่าเชื่อถือ (Sure) หมายถึง ความสามารถในการประมวลผล ให้เกิดผลลัพธ์ที่ถูกต้อง ความน่าเชื่อถือนับเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำงาน ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ความสามารถนี้เกี่ยวข้องกับโปรแกรมคำสั่ง และข้อมูลที่มนุษย์กำหนดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง กล่าวคือ หากมนุษย์ป้อนข้อมูลที่ไม่ถูกต้องให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ย่อมได้ผลลัพธ์ ที่ไม่ถูกต้องด้วยเช่นกัน
หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ • คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยในการทำงานได้รวดเร็ว สะดวกและแม่นยำ การใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ให้ได้ผลเต็มที่จึงจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการทำงานตลอดจนลักษณะต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ให้ครบถ้วน • การทำงานของคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอน คือ • ขั้นตอนที่ 1 การรับข้อมูลและคำสั่งคอมพิวเตอร์รับข้อมูลและคำสั่ง • ผ่าน อุปกรณ์นำเข้าคือ เมาส์ คีย์บอร์ด สแกนเนอร์ ฯลฯ • ขั้นตอนที่ 2 การประมวลผลหรือคิดคำนวณ หรือ CPU (Central • Processing Unit)เรียกสั้นๆ ว่า ชิป (Chip) เป็นสมองคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่ • คำนวณ ประมวลผลคำสั่งและควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อื่น ๆ • ขั้นตอนที่ 3 การเก็บข้อมูล ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ หน่วย • เก็บข้อมูลคือ ฮาร์ดดิสก์ ดิสก์เกตต์ และซีดีรอม • ขั้นตอนที่ 4 นำเสนอผลลัพธ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่นำเสนอผลลัพธ์ที่ได้ • จากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ 1. จอภาพ (Monitor) 2. ตัวเครื่อง (Computer Case) 3. คีย์บอร์ด (Keyboard) 4. เมาส์ (Mouse) 5. เครื่องพิมพ์ (Printer) 6. สแกนเนอร์ (Scanner) 7. โมเด็ม (Modem)
ส่วนประกอบภายในเครื่องส่วนประกอบภายในเครื่อง 1. เมนบอร์ด (Motherboard) 2. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU-Central Processing Unit) 3. หน่วยความจำแรม (RAM - Random Access Memory) 4. หน่วยความจำรอม (ROM-Read Only Memory) 5. ซีดีรอมไดรฟ์ (CD-ROM Drive) 6. ช่องไดรฟ์ (Drive Bay) 7. ฟลอปปี้ไดรฟ์ (Floppy Drive) 8. ฮาร์ดไดรฟ์ (Hard Drive) 9. หม้อแปลงไฟฟ้า (Power Supply) 10. การ์ดขยาย (Expansion Card) 11. ช่องเสียบอุปกรณ์เพิ่มเติม (Expansion Slot)
1. เมนบอร์ด (Motherboard) เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์หลักของคอมพิวเตอร์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชิ้นของคอมพิวเตอร์ จะต้องต่อเชื่อมเข้ากับเมนบอร์ด 2. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU-Central Processing Unit) เป็นสมองของระบบคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานหลักของเครื่อง ทำหน้าที่ในการคำนวณประมวลผล และควบคุมอุปกรณ์ อื่นๆ ในระบบ
3. หน่วยความจำแรม (RAM - Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำที่อยู่ในไมโคร คอมพิวเตอร์ และเป็นส่วนที่ใช้สำหรับทำงาน ใช้บันทึกข้อมูลหรือโปรแกรมเรียกคำสั่งจากหน่วยความ จำหลัก เมื่อปิดเครื่อง ค่าที่อยู่ในแรมจะหายไป 4. หน่วยความจำรอม (ROM-Read Only Memory) เป็นชิปที่ใช้บันทึกโปรแกรมต่าง ๆ โดยบริษัท ผู้ผลิตเครื่อง ผู้ใช้งานไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งที่บันทึกอยู่ในรอมได้ แต่จะสามารถเรียกใช้งานได้ แม้จะ ปิดเครื่อง คำสั่งที่บรรจุในรอมก็ยังคงไม่สูญหายไป
5. ซีดีรอมไดรฟ์ (CD-ROM Drive) เป็นอุปกรณ์เล่นแผ่นซีดีรอม โดยคอมพิวเตอร์ จะอ่านข้อมูลที่ บันทึกอยู่ในแผ่นซีดีและแสดงผลออกมาทางจอภาพ 6. ช่องไดรฟ์ (Drive Bay) เป็นโครงเหล็กช่องสี่เหลี่ยม อยู่ด้านบนของเครื่องใช้สำหรับใส่ฟลอปปี้ไดรฟ์ หรือซีดีรอมไดรฟ์
7. ฟลอปปี้ไดรฟ์ (Floppy Drive) เป็นช่องสำหรับอ่านแผ่นดิสก์ 3.5 นิ้ว เพื่อให้คอมพิวเตอร์นำข้อมูลจาก แผ่นดิสก์ไปประมวลผลในเครื่องอีกที เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ยังจำเป็นต้องมีไดรฟ์ชนิดนี้อยู่ทั้งเครื่อง พีซี โน้ตบุ๊ค หรือแมคอินทอช 8. ฮาร์ดไดรฟ์ (Hard Drive) ฮาร์ดดิสก์ เป็นที่เก็บข้อมูลหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีความจุข้อมูล มากกว่าฟลอปปี้ดิสก์ ฮาร์ดไดรฟ์จะติดตั้งอยู่ภายในหน่วยระบบหลัก
9. หม้อแปลงไฟฟ้า (Power Supply) ติดตั้งอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ด้านหลังทำหน้าที่แปลงระดับแรง ดันไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านหรือไฟฟ้าทั่วไปมาใช้ให้เหมาะกับที่ใช้ในวงจรคอมพิวเตอร์ 10. การ์ดขยาย (Expansion Card) เป็นอุปกรณ์คล้ายบัตร หรือการ์ดขนาดใหญ่ จึงเรียกว่า การ์ดขยาย ทำหน้าที่เฉพาะด้าน เช่น การ์ดแสดงผล การ์ดเสียง การ์ด 3D เป็นต้น 11. ช่องเสียบอุปกรณ์เพิ่มเติม (Expansion Slot) ทำหน้าที่ให้การ์ดขยาย เสียบเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างการ์ดขยายกับเมนบอร์ด
หน่วยประมวลผลกลาง CPU (Central Processing Unit) หน่วยควบคุมControl Unit หน่วยคำนวณหรือตรรกะArithmetic Logic Unit หน่วยรับข้อมูลInput Unit หน่วยแสดงผล OutputUnit หน่วยความจำหลัก Main Storage Unit แผนผังการทำงานของคอมพิวเตอร์ การเก็บข้อมูล
หน่วยประมวลผลกลาง CPU (Central Processing Unit) หน่วยควบคุมControl Unit หน่วยคำนวณหรือตรรกะArithmetic Logic Unit หน่วยรับข้อมูลInputUnit หน่วยแสดงผล Output หน่วยความจำหลัก Main Storage Unit หน่วยรับข้อมูล การเก็บข้อมูล
หน่วยประมวลผลกลาง CPU (Central Processing Unit) หน่วยควบคุมControl Unit หน่วยคำนวณหรือตรรกะArithmetic Logic Unit หน่วยรับข้อมูลInputUnit หน่วยแสดงผล OutputUnit หน่วยความจำหลัก Main Storage Unit หน่วยรับข้อมูล (INPUT UNIT) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่รับข้อมูลหรือคำสั่งเข้าสู่คอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์ ดำเนินการประมวลผล โดยอาศัยอุปกรณ์รับข้อมูลหลากรูปแบบ เช่น แป้นพิมพ์ (Keyboard), เมาส์ (Mouse),บอลกลิ้ง (Track Ball), ก้านควบคุม (Joy Stick) ฯลฯ ข้อมูลที่นำ เข้าคอมพิวเตอร์ เป็นได้ทั้งตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ รูปทรง สี อุณหภูมิ เสียงตลอดจนสิ่งอื่นๆ ที่สามารถส่งเข้าคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผล หน่วยรับข้อมูล การเก็บข้อมูล
แป้นพิมพ์หรือ คีย์บอร์ด (Keyboard) คีย์บอร์ดเป็นอุปกรณ์รับข้อมูลพื้นฐานที่สุด มีการทำงานคล้ายแป้นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ดีด แต่ได้เพิ่มปุ่มควบคุมเฉพาะเช่น ปุ่มฟังก์ชัน !.+ ปุ่มเลื่อนตำแหน่ง QRZYONหน้าที่หลักของคีย์บอร์ด ได้แก่ การเปลี่ยนกลไกการกดปุ่ม ให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้าเพื่อส่งให้คอมพิวเตอร์ โดยสัญญาณดังกล่าว จะบอกให้คอมพิวเตอร์ทราบว่ามีการกดคีย์อะไร ลักษณะการใช้งานคีย์บอร์ดนี้คล้ายๆ กับการใช้แป้นพิมพ์ ของเครื่องพิมพ์ดีด มีการจัดวางปุ่มในรูปแบบQWERTY (QWERTY Layout) นอกจากนี้ยังมีปุ่มเพิ่มพิเศษ (Extra keys) เช่น ปุ่ม C ปุ่ม A ที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการสั่งงาน โดยอาศัยหลักการใช้ควบคู่กับปุ่มอื่นๆ บนคีย์บอร์ด เช่นการใช้ปุ่ม CA= ในการบูตเครื่อง (Restart) เป็นต้น นอกจากแป้นพิมพ์ระบบ QWERTY ยังมี ระบบ Dvorak Layout ซึ่งเป็นแป้นพิมพ์ที่วางแป้นเหย้าไว้ที่ AOEUIDHTNS แป้นพิมพ์ระบบนี้ช่วยให้พิมพ์ ได้เร็วกว่าแป้นพิมพ์ระบบ QWERTY มากถึง 5 - 25 เท่า แต่ไม่เป็นที่นิยมจึงไม่ค่อยพบเห็นในปัจจุบัน ปัจจุบันมีการพัฒนาคีย์บอร์ดในหลายๆ ลักษณะ ทั้งรูปทรง จำนวนปุ่มปุ่มฟังก์ชันพิเศษการใช้แสงอินฟราเรด ในการส่งสัญญาณแทนการต่อสายสัญญาณ การนำอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งมาผสมรวมกับแป้นพิมพ์
2. อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง (Pointing Device) •เมาส์ (Mouse) อุปกรณ์รับข้อมูลที่นิยมรองจากคีย์บอร์ด ได้แก่ อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งที่เรียกว่า เมาส์ (Mouse)หรือ หนูอิเล็กทรอนิกส์เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายหนู มีสายต่ออยู่ที่ปลายลักษณะเดียวกับหางหนู เมาส์พัฒนาขึ้นมาครั้งแรกในศูนย์ค้นคว้าที่เมืองปาโลอัลโต้ของบริษัทซีร็อก์ Xerox Corporation.s Palo Alto Research Center หน้าที่ของเมาส์จะช่วยในการบ่งชี้ตำแหน่งว่าขณะนี้กำลังอยู่ ณ จุดใดบนจอภาพ เรียกว่าตัวชี้ตำแหน่ง (Pointer) จากนั้นจึงกดปุ่มของเมาส์เพื่อสั่งงานเมาส์ประกอบด้วยลูกกลิ้งที่ติดตั้ง อยู่ด้านล่าง และมีปุ่มกดควบคุม (ถ้าเป็นเมาส์สำหรับเครื่องแมคอินทอช จะมีปุ่มเดียว แต่สำหรับเครื่องพีซี จะมี 2 หรือ 3 ปุ่ม) การใช้เมาส์จะนำเมาส์วางไว้บนพื้นราบ และเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางที่ต้องการ โดยบนจอภาพจะปรากฏสัญลักษณ์ชี้ตำแหน่งเรียกว่า Mouse Pointer (มักจะเป็นรูปลูกศรเฉียงซ้าย) เมื่อต้องการจะทำ งานใดๆ ก็ทำ การกดปุ่มเมาส์ตามหลักการใช้เมาส์ คอมพิวเตอร์จะรับสัญญาณและ ทำการประมวลผลต่อไปนอกจากเมาส์จะมีความแตกต่างเรื่องของปุ่มกด ยังมีความแตกต่างในเรื่องการรับส่ง สัญญาณ ดังนี้
•เมาส์แบบกลไก (Mechanical Mouse) เป็นเมาส์ที่รับสัญญาณจากการเลื่อนเมาส์ แล้ว ทำ ให้ลูกกลมๆ ที่อยู่ช่องใต้เมาส์กลิ้งไปมา ทำ ให้กลไกตรวจสอบการกลิ้งของลูกกลม นั้น ส่งเป็นสัญญาณสู่คอมพิวเตอร์
•เมาส์แบบใช้แสง (Optical Mouse) ใช้แสงเลเซอร์หรืออินฟราเรด จากหลอดไฟสอง หลอด ส่องบนแผ่นรองพิเศษ เมื่อลำ แสงสะท้อนกลับขึ้นไป เครื่องรับจะตรวจสอบว่า เมาส์เคลื่อนไปยังทิศทางใด
บอลกลิ้ง (Track Ball) อุปกรณ์รับข้อมูลที่มีลักษณะคล้ายเมาส์ แต่เอาลูกบอลมาวางอยู่ด้านบน เพื่อลดพื้นที่ การใช้งาน เมื่อต้องการเลื่อนตำแหน่ง ก็ใช้นิ้วมือกลิ้งลูกบอลไป-มา และปุ่มกดก็มีจำนวน เท่ากับปุ่มกดของเมาส์ เพียงแต่วางไว้ด้านข้าง หรือรวมกับแผงแป้นพิมพ์ของคอมพิวเตอร์ ประเภท Note Book
TrackPoint/AccuPoint อุปกรณ์บ่งชี้ตำแหน่ง ที่มีรูปร่างคล้ายๆ หัวยางลบที่ติดมากับดินสอ ติดตั้งไว้ระหว่างปุ่มตัว อักษร G, H และ B ส่วนปุ่มกดจะอยู่บริเวณด้านล่างของ Space Bar เวลาใช้งานก็จะใช้ วิธีการเอาปลายปากกา หรือปลายดินสอ หรือนิ้วมือไปกดที่ปุ่มยาง. แล้วโยกมือเพื่อเลื่อน ตำแหน่ง ตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ จะเลื่อนตามทิศทางที่โยกมือ
แผงสัมผัส (Touchpad) อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นแผ่นเรียบ ขนาด 3 x 3 นิ้ว มีวงจรรับสัญญาณภายใน วางไว้บริเวณหน้าคีย์บอร์ด (ที่พักมือ) พบในเครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊ก เมื่อต้องการสั่ง งานก็นำปลายนิ้วเลื่อนไปบนแผ่นเรียบ ในทิศทางที่ต้องการ สามารถคลิกเบาๆ บนแผ่นเรียบ เพื่อสั่งการได้เลย หรือใช้ปุ่มกดข้างๆ แผ่นก็ได้
ก้านควบคุม (Joy Stick) เป็นอุปกรณ์การทำงานลักษณะเดียวกับ เมาส์ มีลักษณะเป็นกล่อง หรือรูปทรงแปลกตาที่มี ก้านควบคุมอยู่ด้านบน โดยก้านควบคุมนี้สามารถเคลื่อนที่ได้เหมือนคันโยก ทำให้สามารถ ควบคุมการเลื่อนตำแหน่งได้สะดวก บางรุ่นจะเพิ่มปุ่มฟังก์ชันพิเศษ เช่น ปุ่มกระโดด ปุ่มต่อสู้ นิยมใช้กับเกมคอมพิวเตอร์
3. สแกนเนอร์ (Scanner) สแกนเนอร์ เป็นอุปกรณ์ต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์แบบกราฟิก ที่มีหน้าที่ในการเปลี่ยนแปลง ภาพต้นฉบับ (รูปถ่าย ตัวอักษรบนหน้ากระดาษ ภาพวาด) ให้เป็นข้อมูล เพื่อให้คอมพิวเตอร์ สามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ในการแสดงผลที่หน้าจอ ทำให้สามารถแก้ไข ตกแต่งเพิ่มเติม และจัดเก็บข้อมูลได้
Sheet - Fed Scanner Handy Scanner Flatbed Scanner ประเภทของ Scanner • Desktop Scanner มีลักษณะเป็นแท่นในแนวราบ แบ่งเป็น 2 แบบ - แบบใส่กระดาษแล้วกระดาษจะเลื่อนผ่านหัวสแกนเอง เรียกว่าSheet - Fed Scanner - แบบวางกระดาษแล้วให้หัวสแกนเลื่อนอ่านข้อมูลจากกระดาษ โดยกลไกการทำงานคล้ายๆ กับเครื่องถ่ายเอกสาร เรียกว่า Flatbed Scanner • Handy Scanner มีขนาดเล็ก สามารถจับถือได้ การใช้งานผู้ใช้ต้องจับสแกนเนอร์ แล้ว เลื่อนหัวสแกนบนไปหนังสือหรือรูปภาพ
4. ดิจิไทเซอร์ (Digitizer) ดิจิไทเซอร์ หรือ แท็ปเลต (Tablet) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่มักจะใช้ในงาน CAD/CAM มี ลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมขนาดเท่ากับจอภาพ และมีอุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง คล้ายเมาส์ วางบนแผ่นสี่เหลี่ยม เรียกว่า ทรานซดิวเซอร์ เมื่อเลื่อนตัวชี้ตำ แหน่งไปบนกระดาน จะมีการส่งสัญญาณจากตะแกรงใต้แผ่นกระดาน ไปให้คอมพิวเตอร์
5. เครื่องอ่านแถบรหัสแท่ง (Bar-code Reader) เป็นเครื่องอ่านรหัสแถบขาวดำ ที่เรียกว่า Bar Code ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนข้อมูล โดย เครื่องอ่านรหัสแถบนี้ มีหลายรูปแบบด้วยกัน Bar Code หรือ รหัสแท่ง มีลักษณะ เป็นลายเส้นดำขาว ที่มีขนาดของแต่ละแท่งในแผ่นป้ายที่แตกต่างกัน พร้อมทั้งบรรจุตัวเลข หรือตัวอักษร
6. เครื่องอ่านรหัสหมึกแม่เหล็ก (MICR Reader) เครื่องอ่านรหัสหมึกแม่เหล็ก หรือ MICR Reader . Magnetic Ink Character Recognition Reader พบมากในธุรกิจธนาคาร โดยเครื่องจะอ่านรหัสหมึกแม่เหล็กบนเอกสารธนาคาร เช่น เช็คธนาคาร แล้วแปลงรหัส จากนั้นจึงส่งข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลต่อไป
7. จอสัมผัส (Touch Screen) จอสัมผัส หรือ Touch Screen เป็นเทคโนโลยีใหม่เพื่อลดความจำกัดของพื้นที่ในการวาง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ในสถานที่ที่จำกัด โดยอาศัยพื้นผิวของจอภาพ เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล และ แสดงผลในเวลาเดียวกัน ผู้ใช้สามารถใช้นิ้วสัมผัสบนตำแหน่งต่างๆ บนจอภาพ เพื่อสั่งการ อุปกรณ์ชนิดนี้มักจะใช้งานตามสถานที่ที่มีพื้นที่จำกัด เช่น ที่สาธารณะ หอสมุด และมักใช้ ในงานนำเสนอข้อมูล (Presentation) ที่มีข้อมูลนำเสนอไม่มากนัก เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับ สถานที่นั้นๆ
8. กล้องถ่ายภาพระบบดิจิตอล (Digital Camera) การนำภาพต่างๆ เข้าคอมพิวเตอร์ วิธีเดิมที่ใช้กันอยู่คือ การนำ ภาพต้นฉบับจากหนังสือ หรือภาพถ่ายผ่านเครื่องสแกนเนอร์ แต่ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีการถ่ายภาพ และบันทึก ด้วยสัญญาณดิจิตอล ทำให้เกิดกล้องถ่ายภาพระบบดิจิตอล ที่สามารถถ่ายภาพ และ โอนข้อมูลภาพจากกล้องถ่ายภาพ หรืออุปกรณ์บันทึกข้อมูลของกล้องถ่ายภาพเข้าสู่ คอมพิวเตอร์ได้โดยตรง
9. กล้องบันทึกวิดีโอระบบดิจิตอล (Digital Video Recorder) ภาพเคลื่อนไหว เป็นความหวังของนักคอมพิวเตอร์หลายคนที่ต้องการนำ เข้ามาเก็บ และใช้ งานด้วยคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันได้กลายเป็นความจริงเนื่องจากมีกล้องบันทึกภาพเคลื่อนไหว ระบบดิจิตอล ทำให้สามารถถ่ายภาพเคลื่อนไหว และนำมาเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ได้ทันที สามารถใช้โปรแกรมจัดแต่งภาพ มาทำการตกแต่ง ปรับเปลี่ยน และใส่ลูกเล่นให้กับภาพนั้นๆ เพื่อนำเสนอต่อไป
10. อุปกรณ์รับข้อมูลด้วยเสียง (Voice Input Devices) ปัจจุบันมีการสั่งงานคอมพิวเตอร์ด้วยเสียง เช่น การตรวจเมล์ด้วยเสียง ผลเนื่องจากความ ก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีมัลติมีเดีย และการสื่อสารข้อมูล โดยอาศัยอุปกรณ์เฉพาะ เช่น ชิปเสียง, ไมโครโฟน, ลำ โพง
หน่วยประมวลผลกลาง CPU (Central Processing Unit) หน่วยควบคุมControl Unit หน่วยคำนวณหรือตรรกะArithmetic Logic Unit หน่วยรับข้อมูลInput Unit หน่วยแสดงผล OutputUnit หน่วยความจำหลัก Main Storage Unit หน่วยประมวลผลกลาง การเก็บข้อมูล
หน่วยประมวลผลกลาง เปรียบได้กับสมองของคอมพิวเตอร์ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการประมวลผลและควบคุมระบบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ ให้ทุกหน่วยทำงานสอดคล้องสัมพันธ์กัน
หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU จะประกอบไปด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวน มากมายมหาศาล ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า CPU จะทำหน้าที่คำนวณตัวเลข จากชุดคำสั่งที่ผู้ใช้ป้อนโปรแกรมเข้าไปแล้ว CPU จะไปอ่านชุดคำสั่งมาแปลความหมาย และทำการคำนวณ เมื่อได้ผลลัพธ์ก็จะส่งผลลัพธ์ออกไปแสดงผลทางหน้าจอ
ความเร็วของCPU (CPU Frequency) ความเร็วหรือความถี่ในการประมวลผลคำสั่ง ในช่วงเวลา 1 วินาทีนั้น สำหรับPC ยังมีหน่วยเป็น เมกกะเฮิรตซ์(MHz) หรือกิกะเฮิรตซ์ ความถี่นี้จะเป็นความสามารถในการประมวลผลคำสั่งต่อ1วินาทีของซีพียูว่า มีความสามารถเร็วแค่ไหน เช่น 600 MHz ก็หมายความว่าซีพียูนี้มีความสามารถ ในการประมวลผลคำสั่งได้ 600 ล้านคำสั่งต่อ1 วินาที นั่นเอง และยิ่งในปัจจุบันนี้ ซีพียูมีการพัฒนาความถี่ไปถึง 1 GHz (พันล้านคำสั่งใน1วินาที) ความเร็วซีพียู จะได้ได้มาจาก 2 ค่าด้วยกัน กล่าวคือ ความเร็วของบัส กับค่าตัวคูณความเร็วบัส
หน่วยประมวลผลกลาง CPU (Central Processing Unit) หน่วยควบคุมControl Unit หน่วยคำนวณหรือตรรกะArithmetic Logic Unit หน่วยรับข้อมูลInput Unit หน่วยแสดงผล OutputUnit หน่วยความจำหลัก Main Storage Unit หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยหน่วยย่อย ดังนี้ 1. หน่วยควบคุม (Control Unit) 2. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit ; ALU) 3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) การสื่อสารระหว่างหน่วยต่างๆ ใน CPUจะใช้สายสัญญาณที่เรียกว่า Bus Line หรือ Data Bus การเก็บข้อมูล
หน่วยประมวลผลกลาง CPU (Central Processing Unit) หน่วยควบคุมControl Unit หน่วยคำนวณหรือตรรกะArithmetic Logic Unit หน่วยรับข้อมูลInput Unit หน่วยแสดงผล OutputUnit หน่วยความจำหลัก Main Storage Unit หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยควบคุมทำ หน้าที่ควบคุมการทำงานของหน่วยทุกๆ หน่วย ใน CPU และอุปกรณ์อื่น ที่ต่อพ่วง เปรียบเสมือนสมองที่ควบคุมการทำ งานส่วนประกอบต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ เช่น แปลคำสั่งที่ป้อน ควบคุมให้หน่วยรับข้อมูลรับข้อมูลเข้ามาเพื่อทำ การประมวลผล ตัดสินใจว่าจะให้เก็บข้อมูลไว้ที่ไหน ถูกต้องหรือไม่ ควบคุมให้ ALU ทำ การคำนวณข้อมูล ที่รับเข้ามา ตลอดจนควบคุมการแสดงผลลัพธ์ เป็นต้น การเก็บข้อมูล
หน่วยประมวลผลกลาง CPU (Central Processing Unit) หน่วยควบคุมControl Unit หน่วยคำนวณหรือตรรกะArithmetic Logic Unit หน่วยรับข้อมูลInputUnit หน่วยแสดงผล Output หน่วยความจำหลัก Main Storage Unit หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยคำนวณและตรรกะ (ALU ; Arithmetic and Logic Unit) หน่วยคำนวณและตรรกะ ทำหน้าที่คำนวณทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic operations) และการคำนวณ ทางตรรกศาสตร์ (Logical operations) โดยปฏิบัติการเกี่ยวกับการคำนวณได้แก่ การบวก (Addition) ลบ (Subtraction) คูณ (Multiplication) หาร (Division) สำ หรับการคำนวณทางตรรกศาสตร์ ประกอบ ด้วยการเปรียบเทียบค่าจริง หรือเท็จ โดยอาศัยตัวปฏิบัติการพื้นฐาน 3 ค่าคือเงื่อนไขเท่ากับ (=, Equal to condition) เงื่อนไขน้อยกว่า (<, Less than condition) และเงื่อนไขมาก กว่า (>, Greater than condition) การเก็บข้อมูล
หน่วยประมวลผลกลาง Central Processing Unit : CPU หน่วยควบคุมControl Unit หน่วยคำนวณหรือตรรกะArithmetic Logic Unit หน่วยรับข้อมูล Input Unit หน่วยแสดงผล Output Unit หน่วยความจำหลัก Main Storage Unit หน่วยความจำหลัก การเก็บข้อมูล
หน่วยประมวลผลกลาง Central Processing Unit : CPU หน่วยควบคุมControl Unit หน่วยคำนวณหรือตรรกะArithmetic Logic Unit หน่วยรับข้อมูล Input Unit หน่วยแสดงผล Output Unit หน่วยความจำหลัก Main Storage Unit หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) หน่วยความจำ หลัก ซึ่งมีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ Main Memory Unit, Primary Storage Unit, Internal Storage Unit เป็นหน่วยที่ใช้เก็บข้อมูล และคำ สั่งเพื่อใช้ในการประมวลผล และเก็บ ข้อมูลตลอดจนคำสั่งชั่วคราวเท่านั้น ข้อมูลและคำสั่งจะถูกส่งมาจากหน่วยควบคุมสามารถแบ่งได้ เป็น 2 ประเภท คือ 1. หน่วยความจำ สำหรับเก็บคำสั่ง (Program Memory) 2. หน่วยความจำ สำหรับเก็บข้อมูลและคำสั่ง (Data & Programming Memory) การเก็บข้อมูล
หน่วยความจำสำหรับเก็บคำสั่ง (Program Memory) ใช้เก็บคำสั่งที่มักใช้บ่อยๆ เช่น คำสั่งเริ่มต้นการทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยคำสั่งนี้จะอยู่ ภายในคอมพิวเตอร์ตลอดไป แม้ว่าจะทำ การปิดเครื่องไปแล้ว มักจะเป็นข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลง น้อยมาก โดยเฉพาะข้อมูลที่ใช้ในการเริ่มระบบ (Start Up) ข้อมูลควบคุมการรับส่งคำสั่งและข้อมูล ตลอดจนการแสดงผล บางรุ่นอาจจะมีตัวแปลภาษา BASIC) มักมีขนาดเล็กเพียง 48 กิโลไบต์ ปัจจุบันหน่วยความจำนี้ สร้างจากเทคโนโลยีสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) สามารถแยกประเภท ย่อยได้เป็น