1.65k likes | 4.46k Views
การลดต้นทุนการผลิตข้าว. โดย สำนักงานเกษตรอำเภอ เมืองยโสธร กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. การลดต้นทุนการผลิตข้าว. หมายถึง การลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วยผลผลิต เช่น ต้นทุนเป็นบาทต่อกิโลกรัม หรือ บาทต่อตัน. ตัวอย่าง. ปราชญ์ปลูกข้าวใช้ต้นทุนทั้งหมด 4,800 บาท/ไร่
E N D
การลดต้นทุนการผลิตข้าวการลดต้นทุนการผลิตข้าว โดย สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองยโสธร กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
การลดต้นทุนการผลิตข้าวการลดต้นทุนการผลิตข้าว หมายถึง การลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วยผลผลิต เช่น ต้นทุนเป็นบาทต่อกิโลกรัม หรือ บาทต่อตัน ตัวอย่าง ปราชญ์ปลูกข้าวใช้ต้นทุนทั้งหมด 4,800 บาท/ไร่ ได้ผลผลิต 600 กก. ดังนั้น ต้นทุนที่ใช้ คือ 8 บาท/กก. หรือ 8,000 บาท/ตัน
ทำไมต้องลดต้นทุนการปลูกข้าว ??? ทำไม??? ทำไม???
1. การใช้ปัจจัยการผลิต ไม่ถูกต้อง ไม่ถูกชนิด ใช้ผิดเวลา ในอัตราไม่เหมาะสม 2. การใช้ปัจจัยการผลิตฟุ่มเฟือย เป็นต้นเหตุให้เกิดโรคและแมลงระบาด ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม 3. การใช้ปัจจัยการผลิตชนิดหนึ่งไม่ถูกต้องทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการใช้ปัจจัยการผลิตชนิดอื่นเพิ่มมากขึ้น 4. ให้เกษตรกรมีรายได้ต่อไร่เพิ่มขึ้น 5. เสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชาวนาในการรองรับประชาคมอาเซียน ก็เพราะ
มาตรการลดต้นทุนการผลิตข้าวมาตรการลดต้นทุนการผลิตข้าว ที่สำคัญ 6 ข้อ
3ต้องทำ............3ต้องลด • ต้อง ปลูกข้าวไม่เกิน 2 ครั้ง ต่อปี • ต้อง ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี • ต้อง ทำบัญชีฟาร์ม 3 ต้องทำ • ลด อัตราเมล็ดพันธุ์ข้าว • ลด การใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ถูกต้อง • ลด การใช้สารเคมี 3 ต้องลด
3ต้องทำ + 3 ต้องลด 1. ปลูกข้าวปีละไม่เกิน 2 ครั้ง 1. ลดอัตราเมล็ดพันธุ์ นาหว่านไม่เกิน 20 กก./ไร่ นาดำไม่เกิน 7 กก./ไร่ นาโยนกล้าไม่เกิน 5 กก./ไร่ เพื่อตัดวงจรของโรคแมลงระบาด ปลูกพืชตระกูลถั่วเพื่อปรับปรุงดิน ปลูกพืชอื่นเพื่อเพิ่มรายได้ • ผลที่ได้ • - ลดต้นทุน • - เพิ่มคุณภาพ • เพิ่มรายได้ • ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม 2. ลดการใช้ปุ๋ยเคมี 2. ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี ใช้ตามคำแนะนำทางราชการ ใช้ตามค่าวิเคราะห์ดิน ใช้ถูกสูตร ถูกเวลา ถูกปริมาณ เมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ ความงอกไม่น้อยกว่า 80% ซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ 3. ลดการใช้สารเคมี 3. ทำบัญชีฟาร์ม ใช้ตามคำแนะนำทางราชการ ใช้วิธีผสมผสาน หมั่นตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ บันทึกรายจ่ายการปลูกข้าวทุกรายการ ต้องบันทึกข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ
ขั้นตอนการลดต้นทุนการผลิตข้าวขั้นตอนการลดต้นทุนการผลิตข้าว มีทั้งหมด 8 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี • ใช้เมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ตรงตามสายพันธุ์ • ใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่น่าเชื่อถือ • เมล็ดพันธุ์มีความงอกไม่ต่ำกว่า 80% • อัตราที่ใช้ นาหว่านไม่เกิน 20 ก.ก./ไร่ นาปักดำไม่เกิน 7 ก.ก./ไร่ นาโยนกล้าไม่เกิน 5 ก.ก./ไร่ • เพิ่มผลผลิต 10 % • ลดต้นทุนได้ 50% (ลดได้ประมาณ 300 บาท)
ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมดิน • ห้ามเผาฟางข้าว เพราะทำลายสภาพดิน • ให้พลิกหน้าดินเพื่อกลบฟางข้าว • ระบายน้ำเข้านา และใช้สาร พด.2 • ใช้เวลาหมักฟางข้าวอย่างน้อย 2 สัปดาห์ • ปรับหน้าดินให้เรียบสม่ำเสมอ • นาหว่านน้ำตมให้ทำร่องน้ำ เป็นทางระบายอากาศในแปลงปลูกข้าว • เมล็ดข้าวงอกสม่ำเสมอ • ไม่มีวัชพืชขึ้นในนา • ลดค่าใช้จ่ายในการป้องกันกำจัดวัชพืช (ลดได้ประมาณ 250 บาท)
ขั้นตอนที่ 3 การกำจัดวัชพืช • ใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชทันทีหลังหว่านข้าว ก่อนที่เมล็ดวัชพืชงอก อย่าให้เกิน 4 วัน • ใช้สารกำจัดวัชพืชให้ตรงตามชนิดวัชพืชที่ระบาด • ประเมินการระบาดของวัชพืชไม่ถึง 20% ของพื้นที่นา ยังไม่ต้องใช้ • ขณะพ่นสารกำจัดวัชพืชครั้งแรก ต้องไม่มีฝนตก ไม่มีน้ำขังในนา และระบายน้ำเข้านาหลังพ่น 3 วัน • - การงอกของต้นกล้าข้าวสม่ำเสมอ ลำต้นแข็งแรง สมบูรณ์ • กำจัดวัชพืชก่อนหว่านปุ๋ยเคมี • (ทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น 10 – 15%)
ขั้นตอนที่ 4 การใช้ปุ๋ยเคมี • ชนิดของปุ๋ย • อัตราปุ๋ย • ระยะเวลา • ชนิดของพันธุ์ข้าว • ไม่ใส่ปุ๋ยหลังข้าวออกดอก - ลดค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ย 50% (ลดได้ประมาณ 500-600 บาท/ไร่) - ลดค่าใช้จ่ายในการใช้สารป้องกันกำจัดโรคแมลงได้ 50% (ลดได้ประมาณ 420 บาท/ไร่)
ข้าวไวต่อช่วงแสง ( ข้าวปี ) ใส่ 2 ครั้ง ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 (NPK) สร้างใบ ราก และลำต้น 16-20-0 (ดินเหนียว) อัตรา 20-25 กก./ไร่ 16-16-8 (ดินทราย) อัตรา 20-25 กก./ไร่ ใส่ระยะหลังหว่านข้าว 20-30 วัน /7-10 วันหลังปักดำ ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 (N) บำรุงช่อดอกและเมล็ดข้าว ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตรา 5-10 กก./ไร่ ใส่ระยะสร้างรวงอ่อน
ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ใส่ 3 ครั้ง ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 (NPK) สร้างใบ ราก และลำต้น 16-20-0 (ดินเหนียว) /16-16-8 (ดินทราย) อัตรา 20-25 กก./ไร่ ใส่ระยะหลังหว่านข้าว 20-30 วัน /7-10 วันหลังปักดำ ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 (N) เร่งการแตกกอ ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตรา 5-10 กก./ไร่ ใส่ระยะแตกกอ (ข้าวอายุ 40-45 วัน) ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 (N) บำรุงช่อดอกและเมล็ดข้าว ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตรา 5-10 กก./ไร่ ใส่ระยะสร้างรวงอ่อน
ขั้นตอนที่ 5 การป้องกันกำจัดศัตรูข้าว • ถ้าปฏิบัติตามขั้นตอนที่กล่าวมาแล้วข้างต้น (ลดเมล็ดพันธุ์ เตรียมดินพิถีพิถัน ลดการใช้ปุ๋ยเคมี) จะลดการระบาดของโรค/แมลงได้ • หมั่นลงตรวจพื้นที่นา อย่างสม่ำเสมอ เรียนรู้การคาดคะเนอาการที่เสี่ยงต่อการระบาดของโรคและแมลง - ลดค่าใช้จ่ายในการใช้สารป้องกันกำจัดโรคแมลงได้ 50% (ลดได้ประมาณ 420 บาท) - สามารถรักษาสุขภาพของผู้ใช้สารเคมี และรักษาสิ่งแวดล้อม
ขั้นตอนที่ 6 การจัดการน้ำ • หลังทำเทือกเสร็จแล้ว ระบายน้ำออก ให้ดินแห้งแบบหมาดๆ แล้วจึงหว่านข้าวงอก • ระดับน้ำ ช่วงข้าวยังเล็ก ให้ระดับน้ำ 5 ซม. ช่วงข้าวแตกกอ สร้างรวงอ่อน ให้รักษาระดับน้ำ 10 -15 ซม. ข้าวออกดอก • การปรับหน้าดินให้เรียบสม่ำเสมอ สามารถลดระดับน้ำในนา โดยลดระยะเวลา การสูบน้ำเข้านา ลดค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำ ได้ 30% (ประมาณ 360 บาท/ไร่)
ขั้นตอนที่ 7 การเก็บเกี่ยว • เกี่ยวข้าวระยะพลับพลึง (หลังข้าวออกดอก 30 วัน) เท่านั้น • ให้ระบายน้ำออกจากนาข้าว เมื่อข้าวออกดอกแล้ว 15 วัน • ช่วงเก็บเกี่ยวดินนาต้องแห้ง ลดการสูญเสียผลผลิตจากข้าวที่ร่วงระหว่างการเก็บเกี่ยว (ลดประมาณ 20%)
ขั้นตอนที่ 8 การทำบัญชีฟาร์ม • บันทึกบัญชีฟาร์มอย่างสม่ำเสมอ ทุกฤดูการปลูกข้าว • พิจารณาเปรียบเทียบบัญชีฟาร์มด้วยตนเอง ก่อนปลูกข้าวฤดูต่อมา • เกษตรกรจะเห็นได้ว่าตนเองสามารถลดต้นทุนอะไรได้บ้าง
เทคโนโลยีลดต้นทุนการผลิตข้าว3 ต้องทำ+ 3 ต้องลด ผลที่ได้ เพิ่มคุณภาพ ผลผลิตข้าว 10% กำไรเพิ่มมากขึ้น • ลดต้นทุน เมล็ดพันธุ์ข้าว 50 % ( ประมาณ 300 บาท/ไร่ ) • ลดค่าใช้จ่าย ในการป้องกันกำจัดวัชพืช ( ประมาณ 250 บาท/ไร่ ) • ลดค่าใช้จ่าย ในการใส่ปุ๋ย 50 % ( ประมาณ 500-600 บาท/ไร่ ) • ลดค่าใช้จ่าย ในการใช้สารป้องกันกำจัดโรคและแมลง ( ประมาณ 420 บาท/ไร่ ) • รักษาสุขภาพของเกษตรกร • รักษาสภาพแวดล้อม ลดต้นทุนได้ 1,500 – 3,000 บาท/ไร่
แผนการจัดการ ตลอดฤดูปลูกข้าว
ลด...ละ...เลิก... การใช้ปัจจัยการผลิตอย่างฟุ่มเฟื่อย