410 likes | 429 Views
วิวัฒนาการของมนุษย์ และเทคโนโลยีการเกษตร. วิวัฒนาการ ของสิ่งมีชีวิต. วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบ ของพันธุกรรมของประชากรที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน
E N D
วิวัฒนาการของมนุษย์และเทคโนโลยีการเกษตรวิวัฒนาการของมนุษย์และเทคโนโลยีการเกษตร 400110_Nathitakarn Pinthukas
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต • วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของพันธุกรรมของประชากรที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน • การเปลี่ยนแปลงนี้อาจเกิดขึ้นเพียงบางส่วนหรือทั้งหมด อันเป็นผลมาจากปฏิกิริยาที่สิ่งมีชีวิตมีการปรับตัวให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม 400110_Nathitakarn Pinthukas
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต • หลังจากสิ่งมีชีวิตแรกเริ่มเกิดขึ้นบนโลก สิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมตลอดเวลา สิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นใหม่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เกิดการคัดเลือกตามธรรมชาติ (natural selection) จนได้สิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้างต่างกัน จากสิ่งมีชีวิตง่ายๆ วิวัฒนาการไปเป็นสิ่งมีชีวิตที่สลับซับซ้อน กลายเป็นพืช สัตว์ และมนุษย์ • สิ่งมีชีวิตที่ไม่แข็งแรง และไม่สามารถปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป จะค่อยๆ ตายและสูญพันธุ์ เหลือเพียงแต่สิ่งมีชีวิตที่สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมได้ 400110_Nathitakarn Pinthukas
วิวัฒนาการเกิดขึ้นได้อย่างไร?วิวัฒนาการเกิดขึ้นได้อย่างไร? • ความแตกต่างทางพันธุกรรม • สิ่งมีชีวิตเดียวกันมีลักษณะร่วมเหมือนกัน แต่ในแต่ละหน่วยจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ไม่มีหน่วยใดเหมือนกันทุกประการ นกพันธุ์เดียวกันอาจมีลักษณะร่วมเหมือนกัน แต่ไม่มีตัวไหนเหมือนกันทุกประการ • การคัดเลือกตามธรรมชาติ • ในหมู่สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อยนั้น ตัวที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมขณะนั้นได้มากกว่าจะอยู่รอด และแพร่พันธุ์ต่อไปได้มากกว่า ส่วนตัวที่ลักษณะไม่เหมาะสมจะตาย หรือมีโอกาสสืบพันธุ์ได้น้อยลง เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งมีชีวิตชนิดนั้นก็จะเหลือแต่พวกที่มีลักษณะเหมาะสมและเกิดลักษณะร่วมที่เด่นชัดขึ้น 400110_Nathitakarn Pinthukas
วิวัฒนาการเกิดขึ้นได้อย่างไร?วิวัฒนาการเกิดขึ้นได้อย่างไร? • กินมากกว่าแพร่พันธุ์มากกว่า เดิมบรรพบุรุษของยีราฟคอไม่ยาว แต่เนื่องจากตัวที่คอยาวกว่าสามารถกัดกินพุ่มไม้ที่สูงกว่าได้ จึงกินอาหารได้มากกว่า ทำให้มีโอกาสอยู่รอดและแพร่พันธุ์ได้มากกว่า เมื่อเวลาผ่านไปยีราฟรุ่นต่อมาจึงยิ่งคอยาวมากขึ้นจนกลายเป็นยีราฟคอยาว กระบวนการนี้ต้องอาศัยระยะเวลานานหลายชั่วอายุเลยทีเดียว ถูกกินน้อยกว่าแพร่พันธุ์มากกว่า ป่าแห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษ มีต้นไม้เปลือกสีขาวส่วนใหญ่ ผีเสื้อกลางคืนสีเข้มจึงมีอยู่น้อย เพราะ มองเห็นได้ชัดเมื่อเกาะอยู่บนต้นไม้ ทำให้ถูกนกจับกินได้ง่าย ขณะที่พวกสีอ่อนจะพรางตัวได้ดีจึงอยู่รอด และออกลูกหลานมากมาย ต่อมาภายหลังเกิดโรงงานซึ่งปล่อยเขม่าควันมาปกคลุมต้นไม้จนกลายเป็นสีดำ ทำให้ผีเสื้อปีกสีเข้มดูกลมกลืนกับต้นไม้ จึงอยู่รอดและออกลูกหลานเพิ่มจำนวนได้มากมาย ส่วนพวกสีอ่อนถูกนกจับกินจนลดจำนวนลง 400110_Nathitakarn Pinthukas
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ⭗ปรับตัวเพื่ออยู่รอด Evolution of Life : Struggle to Survive วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต คือ การที่สิ่งมีชีวิตแต่ละรุ่นค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงรูปร่างไปจากบรรพบุรุษ และเมื่อกระบวนการนี้ดำเนินไปเป็นเวลานานนับล้านปี จะทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นการปรับตัวให้ดำรงอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมใหม่จะสูญพันธุ์ไป วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในอดีตสังเกตได้จากหลักฐานทางสัณฐานวิทยาจากการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ และหลักฐานทางโมเลกุลที่ศึกษาจากดีเอ็นเอ 400110_Nathitakarn Pinthukas
วิวัฒนาการของมนุษย์ • เมื่อประมาณ 20 ล้านปีที่ผ่านมา เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม โดยมีทุ่งหญ้าขึ้นมาทดแทนป่าที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้สิ่งมีชีวิตหลายชนิด มีวิวัฒนาการมาดำรงชีวิตบนพื้นดินมากขึ้น • จากหลักการซากดึกดำบรรพ์และการเปรียบเทียบลำดับเบสบน DNA ระหว่างมนุษย์และชิมแปนซี พบว่ามนุษย์แยกสายวิวัฒนาการจากลิงไม่มีหางเมื่อประมาณ 7-5 ล้านปีที่ผ่านมา 400110_Nathitakarn Pinthukas
วิวัฒนาการของมนุษย์ ข้อแตกต่างระหว่างมนุษย์และลิง 400110_Nathitakarn Pinthukas
วิวัฒนาการของมนุษย์ ข้อแตกต่างระหว่างมนุษย์และลิง 400110_Nathitakarn Pinthukas
วิวัฒนาการของมนุษย์Human Evaluation • ซากดึกดำบรรพ์อายุประมาณ 7 - 6 ล้านปีของ ซาเฮลแอนโทรปัสจากประเทศชาด ในแอฟริกากลางเป็นหลักฐานของโฮมินิด หรือต้นตระกูลมนุษย์ที่เก่าที่สุดเท่าที่มีการค้นพบ ซึ่งสามารถเดิน 2 ขาและอาศัยอยู่ตามต้นไม้ • ต่อมาเมื่อประมาณ 5 ล้านปีก่อน ได้เกิดโฮมินิดอีกนามสกุลคือ อาร์ดิพิเธคัสซึ่งพบหลักฐานที่ประเทศเอธิโอเปียในแอฟริกาตะวันออก • หลังจากนั้นจึงเกิดโฮมินิดสกุล ออสตราโลพิเธคัสซึ่งมีหลายสายพันธุ์โดยพบหลักฐานจำนวนมากในแอฟริกาตะวันออก มีอายุในช่วง 42 – 1 ล้านปีมาแล้ว ลักษณะโครงกระดูกชี้ชัดว่าเดิน 2 ขาและมีฟันคล้ายฟันของมนุษย์สมัยใหม่ 400110_Nathitakarn Pinthukas
วิวัฒนาการของมนุษย์Human Evaluation • เมื่อเข้าสู่ช่วง 2 ล้านปีที่แล้ว ปรากฏโฮมินิดกลุ่มใหม่ในสกุล โฮโม ที่คล้ายมนุษย์ปัจจุบันมากยิ่งขึ้นพวกโฮโมรุ่นแรก ๆ อาธิ โฮโม ฮาบิลิส และ โฮโม เออร์แกสเตอร์ ล้วนมีใบหน้าแบนและรู้จักสร้างเครื่องมือหินง่าย ๆ • สายพันธุ์หนึ่งที่สำคัญคือ โฮโม อิเร็คตัส ที่มีชีวิตอยู่ในช่วง 1.8 ล้าน - 300, 000 ปีมาแล้ว พวกนี้มีร่างกายสูงใหญ่ขึ้น และเป็นมนุษย์พวกแรกที่อพยพออกจากทวีปแอฟริกาไปสู่ทวีปอื่น ๆ โดยพบหลักฐานทั้งในแอฟริกาตะวันออกกลาง อินโดนีเซียและจีน พวกนี้รู้จักล่าสัตว์ และเป็นมนุษย์กลุ่มแรกที่รู้จักใช้ไฟ 400110_Nathitakarn Pinthukas
วิวัฒนาการของมนุษย์Human Evaluation • ประมาณ 300,000 ปีที่แล้ว มนุษย์โฮโมกลุ่มหนึ่งได้ปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศอันหนาวเหน็บในยุโรปและตุรกีจนพัฒนาเป็นมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล หรือ โฮโม นีแอนเดอร์ทัลเอนซิส ซึ่งมีร่างกายบึกบึน พร้อมสมองและโพรงจมูกขนาดใหญ่ รู้จักการสร้างเครื่องมือที่ประณีตยิ่งขึ้น และมีวัฒนธรรมการฝังดอกไม้และสิ่งของลงไปพร้อมกับศพ • แต่อาจยังไม่มีภาษาพูดและความคิดที่ซับซ้อนอย่างมนุษย์ โฮโม เซเปียนส์ หรือมนุษย์สมัยใหม่ที่ปรากฏขึ้นในทุ่งหญ้าของแอฟริกาเมื่อ 200,000 ปีที่แล้ว โฮโม เซเปียนส์ มีรูปร่างเพรียวกว่านีแอนเดอร์ทัล รู้จักใช้เหตุผลและสามารถตรึกตรองตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นนามธรรม พวกนี้แพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลกและเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์ในปัจจุบัน 400110_Nathitakarn Pinthukas
วิวัฒนาการของมนุษย์ การเดินสองขา Bipedalism ⯈ วิวัฒนาการสำคัญที่ทำให้บรรพบุรุษของมนุษย์แยกออกจากเอป คือ การยืนตัวตรงตั้งฉากกับพื้นโลกและเดิน 2 ขา หลักฐานโครงกระดูกมนุษย์โบราณสามารถแสดงให้เห็นลักษณะดังกล่าวได้จากกระดูกส่วนเท้า ขา สะโพก แขน มือ และตำแหน่งของโพรงที่ฐานกะโหลก ⯈ การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของถิ่นอาศัยจากป่าไม้สู่ทุ่งหญ้าสะวันนา อาจเป็นสิ่งที่ผลักดันให้บรรพบุรุษของมนุษย์ที่เคยปีนป่ายหาอาหารอยู่บนต้นไม้ ต้องปรับตัวลงมาหากินบนพื้นดินและวิวัฒนาการเป็นสัตว์ที่เดิน 2 ขา เมื่อประมาณ 7 - 6 ล้านปีมาแล้ว การยึดลำตัวตั้งตรงและเดิน 2 ขา 400110_Nathitakarn Pinthukas
วิวัฒนาการของมนุษย์ การเดินสองขา Bipedalism ⯈ นอกจากจะช่วยให้มองเห็นศัตรูในทุ่งหญ้าได้จากระยะไกลและช่วยให้เคลื่อนที่ได้รวดเร็ว โดยใช้พลังงานไม่มากนักแล้ว ยังช่วยลดพื้นที่ที่ร่างกายต้องสัมผัสกันความร้อนจากแสงแดดตอนกลางวันที่ส่องลงมาในแนวดิ่งด้วย แต่ผลตามมาที่สำคัญที่สุดจากการเปลี่ยนมาเดิน 2 ขา อยู่ที่การทำให้มือทั้ง 2 ข้างของมนุษย์เป็นอิสระ สามารถใช้หยิบจับและสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ นับจากเครื่องมือหินจนถึงไมโครชิปได้ด้วย 400110_Nathitakarn Pinthukas
วิวัฒนาการของมนุษย์ 400110_Nathitakarn Pinthukas
วิวัฒนาการของมนุษย์ • Primate…..วิวัฒนาการของสัตว์พวกนี้ในการอาศัยอยู่บนต้นไม้ ลักษณะมือขาและการใช้ประสาทรับความรู้สึกต่างๆให้เข้ากับการดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อม • แต่มีวิวัฒนาการของบางลักษณะที่เป็นผลจากวิวัฒนาการในช่วงหลังๆที่เป็นไปเพื่อการดำรงชีวิตอยู่บนพื้นดิน • ลักษณะของออร์เดอร์ไพรเมต คือมีนิ้ว 5 นิ้ว ปลายนิ้วมีเล็บแบน นิ้วยาว นิ้วหัวแม่มือพับขวางกับนิ้วอื่นได้ดี สมองใหญ่ จมูกสั้น ตาชิดกัน (ทำให้สามารถมองภาพจากสองตามาซ้อนกันเกิดเป็นภาพสามมิติซึ่งดีต่อการดำรงชีวิตอยู่บนต้นไม้)ขากรรไกรห้อยต่ำ • ออร์เดอร์ไพรเมตมีสมาชิกทั้งหมด 180 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ในโลก ได้เเก่ มนุษย์ ลิงลม ลิงทาเซียร์ ลิงแสม ลิงมาโมเซต กอริลลา ชิมแพนซี และอุรังอุตัง 400110_Nathitakarn Pinthukas
วิวัฒนาการไพรเมตEvolution of Primates ⯐ ไพรเมตคือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกลิง ประกอบด้วย ลีเมอร์, ลิงลม,ทาร์เซีย, ลิง,เอป(ลิงใหญ่) และมนุษย์ ⯐ คำเรียกชื่อ ไพรเมตหมายถึง ผู้เป็นที่หนึ่ง สัตว์กลุ่มนี้มีสมองที่พัฒนามาก และมีลักษณะเด่น คือ ตาทั้ง 2 ข้างอยู่ทางด้านหน้า ทำให้เห็นภาพเป็น 3 มิติ มีมือที่ใช้หยิบจับได้ดี โดยนิ้วหัวแม่มือพับขวางฝ่ามือได้ ลักษณะดังกล่าววิวัฒนาการมาจากการอาศัยอยู่บนต้นไม้ ซึ่งต้องใช้มือคว้าจับกิ่งไม้ และใช้สายตากะระยะในการกระโจนจากกิ่งหนึ่งไปอีกกิ่งหนึ่ง 400110_Nathitakarn Pinthukas
วิวัฒนาการของมนุษย์ ออสตราโลพิเธคคัสแอฟริกานัสAustralopithecus africanus3 – 2.3 ล้านปีมาแล้ว ซาเฮลแอนโทรปัสชาดเอนซิสSahelanthropustchadensis7 – 6ล้านปีมาแล้ว โฮโม อิเร็คตัสHomo erectus 1.8 ล้าน - 200,000 ปีมาแล้ว โฮโม นีแอนเดอร์ทัลเอนซิสHomo neanderthalensis600,000 – 30,000 ปีมาแล้ว โฮโม เซเปียนส์ Homo sapiens200,000 ปีมาแล้ว - ปัจจุบัน 400110_Nathitakarn Pinthukas
วิวัฒนาการของมนุษย์ • 1. Homo habilis • บรรพบุรุษของมนุษย์ในปัจจุบัน • นักวิทยาศาสตร์ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของมนุษย์ชนิดนี้ที่ บริเวณภาคตะวันออกของแอฟริกา มีอายุประมาณ 2-4 ล้านปี • มีขนาดสมองประมาณ 800 ลูกบาศก์เซนติเมตร • มีฟันที่แสดงให้เห็นว่ากินเนื้อสัตว์ เป็นอาหารด้วย จึงจัดเป็นผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์ • นักวิทยาศาสตร์ เชื่อว่า มนุษย์ ชนิดนี้อาจจะยังมีขนแบบลิง • มนุษย์ชนิดนี้เป็นมนุษย์พวกแรกที่รู้จักการใช้หินมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือหรือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตได้ 400110_Nathitakarn Pinthukas
วิวัฒนาการของมนุษย์ • 2. Homo erectus • - มนุษย์ที่มีใบหน้าตั้งตรงเหมือนมนุษย์ยุคใหม่แล้ว • - มีขากรรไกรและฟันที่แข็งแรง โดยขากรรไกรจะเริ่มหดสั้นกว่า Homo habilis • - ส่วนของกะโหลกซึ่งกว้างที่สุดอยู่ที่ระดับรูหู มีขนาดสมองประมาณ 1000 ลูกบาศก์เซนติเมตร • - ไม่มีขนแบบลิงแล้ว และมีการกระจายตั้งแต่แอฟริกาจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และยุโรป • - มนุษย์ยุคนี้เริ่มรู้จักการใช้ไฟ และประดิษฐ์ เครื่องมือต่างๆ จากก้อนหินได้ดีขึ้น นักวิทยาศาสตร์จึงจัดให้เป็นมนุษย์แรกเริ่ม(Early man) ที่รู้จักกันดีก็คือมนุษย์ชวา(Java ape man) และมนุษย์ปักกิ่ง(Peking man) • - สำหรับมนุษย์ปักกิ่งนั้นถูกค้นพบซากอยู่ที่ถ้ำ จูกูเทียน(Zhoukoudian) • ทางตอนเหนือของประเทศจีน ทำให้ทราบว่ามนุษย์ยุคนี้รู้จักการใช้ไฟ • - มีการล่าสัตว์โดยใช้ขวานหิน และในบางครั้งมนุษย์ปักกิ่ง • เป็นพวกที่กินเนื้อมนุษย์พวกเดียวกันอีกด้วย 400110_Nathitakarn Pinthukas
วิวัฒนาการของมนุษย์ • 3. Homo sapiens neanderthalensisหรือ มนนุษย์ดีแอนเดอร์ทัล • - เป็นมนุษย์ที่พบว่ามีชีวิตอยู่ในช่วงทีน้ำส่วนใหญ่ของโลกกลายเป็นน้ำแข็งโดยซากดึกดำบรรพ์ที่พบมีอายุประมาณ 1 แสน ถึง 1 ล้านปี - มีขนาดสมองประมาณ 1450 ลูกบาศก์เซนติเมตร - ส่วนของกะโหลกซึ่งกว้างที่สุดอยู่ที่ระดับเหนือรูหู มีขากรรไกรล่างสั้น • ลักษณะหน้าผากเป็นสันนูนและลาดกว่ามนุษย์ในปัจจุบันสามารถยืนโดยลำตัวตั้งตรง • รู้จักการใช้ไฟ การล่าสัตว์ รู้จักประดิษฐ์เครื่องมือต่างๆโดยใช้หิน • คนที่ตายแล้วจะถูกนำไปฝังพร้อมกับช่อดอกไม้ อาหาร และอาวุธ • มนุษย์พวกนี้รู้จักการหาที่อยู่อาศัยทั้งในถ้ำ หุบเขา หรือที่ราบ • พบกระจายในบริเวณต่างๆกว้างขวางมากตั้งแต่ยุโรปตะวันออกกลาง แอฟริกา ไปจนถึงประเทศจีน 400110_Nathitakarn Pinthukas
วิวัฒนาการของมนุษย์ • 4. Homo sapiens sapiensหรือ มนุษย์โครมายอง(Cro - Magnon man) • - มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับมนุษย์ปัจจุบัน มีกะโหลกศีรษะโค้งมนมากขึ้น • - ขากรรไกรหดสั้นลงกว่ามนุษย์นีแอนด์เดอร์ทัลมาก และแก้มนูนเด่นชัดขึ้น - มีใบหน้าเล็กแต่ก็มีสมองขนาดใหญ่ประมาณ 1300-1500 ลูกบาศก์เซนติเมตรซึ่งมีความเฉลียวฉลาดสามารถประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ รู้จักการเขียนภาพต่างๆ - จากการศึกษาพบว่ามนุษย์โครมายองมีชีวิตอยู่ใน ช่วงประมาณ 50,000 ปีมาแล้ว 400110_Nathitakarn Pinthukas
วิวัฒนาการของมนุษย์ • สำหรับมนุษย์ในปัจจุบันนั้น นักมนุษยวิทยาพบว่า มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากมนุษย์ในอดีตอยู่หลายประการ คือ • 1.ยืนตัวตรง เคลื่อนที่ด้วยขา 2 ขา ช่วงขายาวกว่าช่วงแขน • 2.หัวแม่มือสั้นและงอ พับเข้ามาที่อุ้งมือได้ สามารถงอนิ้วทั้ง 4 ได้ จึงใช้จับ ดึง ขว้าง ทุบ ฉีก แกะ และทำกิจกรรมต่างๆได้ รวมทั้งการออกแบประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องใช้ได้ • 3.กระดูกคอต่อจากใต้ฐานหัวกะโหลก กระดูกสันหลังโค้งเล็กน้อย เป็นรูปตัว เอสและสมองมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับร่างกาย หน้าสั้นแบน หน้าผากค่อนข้างตั้งตรง ขากรรไกรสั้น • 4.กระดูกสะโพกกว้าง ใหญ่และแบนให้กล้ามเนื้อเกาะเพื่อให้ลำตัวตั้งตรง เท้าแบน ร่างกายไม่ค่อยมีขน แนวฟันโค้งเกือบเป็นรูปครึ่งวงกลม 400110_Nathitakarn Pinthukas
วิวัฒนาการของมนุษย์ • 500,000 ปีเป็นต้นมา ประชากรมนุษย์ในทวีปแอฟริกาและยูเรเซียตะวันเริ่มเห็นรายละเอียดของโครงกระดูกแตกต่างกัน • พบโครงกระดูกในเอเชียและยุโรป 130,000-50,000 ปีก่อน นีแอนเดอธัล”เรียก โฮโม นีแอนเดอธัลเลนซิล (Homo neanderthalensis) สมองมีขนาดใหญ่กว่ามนุษย์ปัจจุบันเล็กน้อย • หลักฐานพบจากการเผาศพผู้ตายครั้งแรก และมีการรักษาผู้ป่วยด้วย แต่เครื่องมือเป็นหินหยาบ 400110_Nathitakarn Pinthukas
เครื่องมือล่าสัตว์มนุษย์ยุคแรกเครื่องมือล่าสัตว์มนุษย์ยุคแรก • เครื่องมือมนุษย์ยุคแรกที่ล่าสัตว์และหากิน ทำมาจากโครงกระดูกและหินหยาบ ไม่มีรูปทรงที่แน่นอน • ทักษะเป็นแบบง่ายๆ ในการล่า จากหลักฐาน และเป็นสัตว์ไม่มีอันตราย เช่น หมู ควาย • การตั้งถิ่นฐานริมฝั่งทะเล ไม่พบว่ามีร่องรอยการเคยจับปลา • ทั้งสายพันธ์ โอโมเซเปี้ยน และนีแอนเดอธัล จัดอันดับต่ำกว่าฐานะมนุษย์ที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง 400110_Nathitakarn Pinthukas
ประวัติศาสตร์มนุษย์ 50,000 ปีก่อน • พบงานศิลปะที่ผนังถ้ำของมนุษย์ โครมันยอง การเขียนภาพศิลปะ รูปปั้น เครื่องดนตรี เช่น พบภาพวาดวัว ขนาดเท่าตัวจริงวาดด้วยมือโดยไม่ต้องร่าง 400110_Nathitakarn Pinthukas
ความเป็นอยู่และการดำรงชีวิตของมนุษย์ในแต่ละยุคความเป็นอยู่และการดำรงชีวิตของมนุษย์ในแต่ละยุค • 1. การอยู่เยี่ยงเดรัจฉาน ( savagery )เป็นยุคที่มนุษย์เพศชายยังทำหน้าที่ล่าสัตว์และแสวงหา พืช ผัก ผลไม้เป็นอาหารตามธรรมชาติ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ • 1.1 ระยะก่อนรู้จักใช้ไฟและภาษาตรงกับยุดหินเก่า เช่นEolithic พบในมนุษย์พวก Homo habilis • 1.2 ระยะรู้จักใช้ไฟและภาษา ตรงกับยุคหินเก่าเช่นกัน มนุษย์พวกนี้รู้จักใช้ถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย ได้แก่ พวกมนุษย์ Homo erectus ซึ่งก็คือ มนุษย์ชวาและมนุษย์ปักกิ่ง 1.3 ระยะรู้จักประดิษฐ์ธนูและลูกศร ตรงกับยุดหินกลาง มนุษย์พวกนี้รู้จักการใช้หนังสัตว์เป็นเครื่องนุ่งห่มได้แก่ มนุษย์ Homo sapiens 400110_Nathitakarn Pinthukas
ความเป็นอยู่และการดำรงชีวิตของมนุษย์ในแต่ละยุคความเป็นอยู่และการดำรงชีวิตของมนุษย์ในแต่ละยุค • 2. การอยู่อย่างป่าเถื่อน(Babarism)เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักการใช้โลหะทำเครื่องมือ ทำการเกษตรกรรม ทอผ้า สังคมในยุคนี้มีระบบทาส เพศชายมีภรรยาได้หลายคน และทำหน้าที่ปกครอง ส่วนเพศหญิงทำหน้าที่เป็นแม่บ้านแบ่งเป็น 3 ระยะคือ • 2.1 ระยะแรกประมาณ 12,000 ปีมาแล้ว ยุคนี้มนุษย์รู้จักการปลูกบ้านสร้างเรือนเพื่ออยู่อาศัย รู้จักใช้ขวานมีด้าม และใช้เครื่องปั้นดินเผา • 2.2 ระยะกลางประมาณ 10,000 ปีมาแล้วมนุษย์ยุคนี้รู้จักการเลี้ยงสัตว์ การเกษตรกรรม รู้จักใช้สัตว์ช่วยในการไถนาหรือบรรทุกสิ่งของ • 2.3 ระยะหลังประมาณ 7,000 ปีมาแล้ว มนุษย์รู้จักใช้โลหะทำอาวุธ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ 400110_Nathitakarn Pinthukas
ความเป็นอยู่และการดำรงชีวิตของมนุษย์ในแต่ละยุคความเป็นอยู่และการดำรงชีวิตของมนุษย์ในแต่ละยุค • 3. การอยู่อย่างมีอารยธรรม(Civilization) • เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักการประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรง มีการใช้ตัวอักษรในการสื่อความหมาย สังคมเปลี่ยนจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม 400110_Nathitakarn Pinthukas
มนุษย์ ผู้ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมHuman : the Creature that Change the Environment แม้มนุษย์รุ่นแรก ๆ รู้จักสร้างเครื่องมือหินและนำไฟมาใช้ แต่ก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม เพราะรวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ยังชีพด้วยการเร่ร่อนล่าสัตว์ และเก็บพืชผักที่มีอยู่ในธรรมชาติเป็นอาหาร จนกระทั่งเมื่อประมาณ 10,000 ปีที่แล้ว มนุษย์เริ่มเรียนรู้ที่จะนำพืชมาปลูกเพื่อผลิตอาหารขึ้นเอง แทนการพึ่งพาอาหารในธรรมชาติ นับเป็นจุดกำเนิดของการเกษตรกรรมที่ได้ทำให้มนุษย์หยุดเร่ร่อน และเริ่มตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชน 400110_Nathitakarn Pinthukas
มนุษย์ ผู้ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมHuman : the Creature that Change the Environment ผลผลิตอาหารที่แน่นอนและเพียงพอจากการเกษตร ทำให้ประชากรมนุษย์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ชุมชนขยายจากหมู่บ้านสู่เมืองพร้อมกับการขยายพื้นที่เพาะปลูก และการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ 400110_Nathitakarn Pinthukas
มนุษย์กับการเกษตร • การเกษตรยุคแรก การล่าสัตว์ หาอาหารจากธรรมชาติ 7 ล้านปีก่อน • ศตวรรษที่ 19 11,000 ปี พบว่ามีการผลิตอาหาร ได้แก่ การนำสัตว์มาเลี้ยง การนำพืชป่ามาปลูก เพื่อการบริโภค • ชนเผ่าพื้นเมืองใช้วิธีการเก็บหาอาหารจากป่า และล่าสัตว์ • พวกอะบอริจิ้น ออสเตรเลียไม่เคยผลิตอาหารเองเลย แต่เรียนรู้การรับอาหารจากชุมชนข้างเคียง 400110_Nathitakarn Pinthukas
การวางตัวของโลก ในแนว ตะวันออก-ตะวันตก ปัจจัยเบื้องหลัง เผ่าพันธุ์สัตว์ป่า ที่เหมาะสม จำนวนมาก การแผ่ขยายเผ่าพันธุ์อย่างรวดเร็ว เผ่าพันธุ์สัตว์เลี้ยง และพืชเกษตรจำนวนมาก อาหารส่วนเกิน และการเก็บสำรองอาหาร สังคมขนาดใหญ่ซึ่งมีประชากร หนาแน่นและเริ่มตั้งหลักแหล่งแน่นอน รวมทั้งมีการแบ่งชนชั้นในสังคม เทคโนโลยี เรือที่เดินทางข้ามมหาสมุทร หน่วยการปกครอง, การมีตัวอักษรใช้ ปืน, ดาบเหล็ก โรคระบาด ปัจจัยเบื้องหลัง ม้า 400110_Nathitakarn Pinthukas
มนุษย์กับการเกษตร • การหาอาหารจากการล่า เริ่มวิวัฒนาการเป็นการเริ่มการเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ และการตั้งถิ่นฐาน • สัตว์ที่เลี้ยงเป็นประเภททีให้โปรตีน ให้เนื้อและนม วัว สุกร แพะ ไก่ • การใช้ยานพาหนะจากสัตว์ใหญ่ เช่น ม้า อูฐ ลา กวาง เป็นต้น ในเดินทาง • ต่อมามีการพัฒนาอานเหล็กในม้า คริสต์ศตวรรษที่ 13-14 ของคนจีนและมองโกล ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 รวมไปถึงการใช้อูฐ 400110_Nathitakarn Pinthukas
มนุษย์กับการเกษตร • การเรียนรู้ผลทางตรง : • ประชากรเพิ่มขึ้น อัตราการเกิดสูง เนื่องจากไม่อพยพย้ายถิ่น • การขยายพื้นที่ปลูก เลือกพื้นที่ปลูกพืช เช่นปลูกพืชริมแม่น้ำ • การใช้แรงงานสัตว์ • การสำรองอาหาร • เกิดทักษะและมีฝีมือ ชำนาญ 400110_Nathitakarn Pinthukas
มนุษย์กับการเกษตร • การเรียนรู้ทางอ้อมการผลิตอาหารเอง: • ปรับเปลี่ยนการผลิตอาหาร • มนุษย์มีวิถีชีวิตอยู่กับที่มากขึ้น เดิมต้องย้ายถิ่นหาอาหารตลอดเวลา • การขยายอาณาเขต • วิวัฒนาการมนุษย์ส่งผลต่อการเกิดเชื้อโรค เช่น ไข้ทรพิษ หัด ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งเดิมไม่เคยเกิดโรค ไม่มีภูมิต้านทาน 400110_Nathitakarn Pinthukas
มนุษย์กับการเกษตร • การผลิตเครื่องนุ่งห่มจากเส้นใยธรรมชาติ อุปกรณ์ให้เกิดอบอุ่น อาชีพของผู้หญิงที่ไม่ต้องเพาะปลูก หรือไม่ต้องล่าสัตว์ เช่น ฝ้าย ปอ เฟล็กซ์ • วิวัฒนาการถึงการทอขนแกะ แพะ ลามะ และรังไหม • การนำหนังมาฟอกเป็นวัสดุนุ่งห่ม • การทำผลิตเครื่องมือล่าสัตว์ และเครื่องมือทางเกษตร การทำตาข่ายดักสัตว์ • เดิมการใช้เครื่องมือเป็นกระดูก ต่อมาใช้กระดูกเป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องมือในยุคหินใหม่ • ต่อมาหลอมโลหะ 400110_Nathitakarn Pinthukas
พื้นที่ศูนย์กลางเป็นแหล่งผลิตอาหาร เกิดขึ้นจากการผลิตอาหารไม่ใช่การขยายจากพื้นที่อื่น 400110_Nathitakarn Pinthukas
คำถาม (Quiz 1)เทคโนโลยีกับพัฒนาการอารยธรรมมนุษย์ • ความแตกต่างของมนุษย์ด้านต่างๆ ยุคอดีตและ ปัจจุบัน • การตั้งถิ่นฐาน และที่อยู่อาศัย • ด้านการหาอาหาร การผลิตอาหาร • ด้านสังคมและวัฒนธรรม • ชนเผ่าในประเทศไทย มีอะไรบ้าง 400110_Nathitakarn Pinthukas