190 likes | 418 Views
พระราชวังเดิม. ผู้จัดทำ. นางสาว บุศรินทร์ ประทุมโทน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 เลขที่ 9 นางสาว ธิดาศิลป์ มูลใจทราย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 เลขที่ 18 นางสาว วนัช พร คำวังพฤกษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 เลขที่ 23 นางสาว สิริ วรรณ นันท สุวรรณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4 เลขที่ 28
E N D
ผู้จัดทำ • นางสาว บุศรินทร์ ประทุมโทน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6/1 เลขที่9 • นางสาว ธิดาศิลป์ มูลใจทราย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6/2 เลขที่18 • นางสาว วนัชพร คำวังพฤกษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6/2 เลขที่23 • นางสาว สิริวรรณนันทสุวรรณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6/4 เลขที่28 • นางสาว ศรีสกุล โพธิ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6/4 เลขที่34 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย เขตพื้นที่การศึกษา เชียงราย-พะเยา เขต36
ประวัติพระราชวังเดิม • ภายหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราชจากพม่าได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2310 พระองค์ได้ทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่แทนกรุงศรีอยุธยาที่อยู่ในสภาพทรุดโทรมจนไม่สามารถบูรณะให้กลับมาสู่สภาพเดิมได้ การที่ทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานีนั้น สันนิษฐานว่าเนื่องจากเป็นเมืองขนาดเล็ก เหมาะสมกับกำลังไพร่พลที่พระองค์มีอยู่ในขณะนั้น ทั้งยังเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญ อยู่ใกล้ทะเลทำให้สามารถควบคุมเส้นทางเดินเรือเข้าออกมี ป้อมปราการเป็นชัยภูมิที่ดีและตั้งอยู่ใกล้ปากแม่น้ำ หากเพลี่ยงพล้ำก็สามารถหลบหลีกศัตรูออกสู่ทะเลได้สะดวก
หลังจากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังหลวงขึ้นทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ในพื้นที่ที่เคยเป็นที่ตั้งของป้อมวิไชยเยนทร์เดิม (ซึ่งภายหลังได้รับการเปลี่ยนชื่อ เป็นป้อมวิไชยประสิทธิ์) อาณาเขตของพระราชวังเดิมในสมัยนั้นมีพื้นที่ตั้งแต่ป้อมวิไชย ประสิทธิ์ขึ้นมาจนถึงคลองเหนือ วัดอรุณราชวราราม (คลองนครบาล) โดยรวมวัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) และวัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยาราม) เข้าไปในเขตพระราชวัง ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ได้ทรงย้ายราชธานีมาอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และได้ทรง สร้างพระบรม มหาราชวังขึ้นเป็นที่ประทับ พระราชวังกรุงธนบุรีจึงได้รับการเรียกขานว่า "พระราชวังเดิม" นับแต่นั้นมา
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงกำหนดเขตของพระราชวัง กรุงธนบุรีให้แคบกว่าเดิม โดยให้วัดทั้งสองอยู่ภายนอกพระราชวัง รวมทั้งให้รื้อตำหนักแดง ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในพระราชวังเดิมไปปลูกสร้างให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช (ศรี) ที่วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตาราม) และโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวงศ์ชั้นสูงที่ได้รับความไว้วาง พระราชหฤทัยมาประทับที่พระราชวังเดิม เนื่องจากพระราชวังเดิมและกรุงธนบุรีมีความสำคัญทางด้าน ยุทธศาสตร์ จึงจำเป็นต้องมีผู้ดูแลรักษา
นอกจากนี้ พระราชวังเดิมยังเป็นสถานที่ที่พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี 3 พระองค์ ทรงมีพระราชสมภพ ซึ่งทุกพระองค์เป็นพระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ขณะยังทรงดำรงพระอิสริยยศ เป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบรมวงศานุวงศ์ที่ได้โปรดเกล้าฯ ให้มาประทับที่พระราชวังเดิมมีดังนี้คือ
โรงเรียนนายเรือตั้งอยู่ที่พระราชวังเดิมเรื่อยมาจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2487 จึงได้ย้ายไปอยู่ที่สัตหีบชั่วคราวในช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และในปี พ.ศ. 2489 ได้ย้ายไปอยู่ที่เกล็ดแก้วก่อนจะย้ายมาตั้งที่สมุทรปราการ ในปี พ.ศ. 2495 จนถึงปัจจุบัน ส่วนอาคารเดิมของโรงเรียนนายเรือที่พระราชวังเดิมนั้น กองทัพเรือได้ดัดแปลงเป็นอาคารแบบทรงไทย แล้วใช้เป็นที่ตั้งของกองบัญชาการกองทัพเรือจนถึงปัจจุบัน สำหรับโบราณสถานที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน ได้แก่ ท้องพระโรง พระตำหนักเก๋งคู่ ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, พระตำหนักสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และป้อมวิไชยประสิทธิ์ ซึ่งได้รับการบูรณะ ครั้งล่าสุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 และเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2545 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2545
ภายหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์สิ้นพระชนม์ พลเรือโทพระชลยุทธโยธินทร์ ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ ในขณะนั้น ได้กราบบังคมทูลขอพระราชวังเดิม เพื่อให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้ ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 โดยทรงมีพระราชกระแสให้รักษาซ่อมแซมสิ่งที่ปลูกสร้างที่มีมา แต่เดิม ได้แก่ ท้องพระโรง, ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, พระตำหนักของสมเด็จพระปิ่นเกล้า เจ้าอยู่หัว และศาลศีรษะปลาวาฬ
สถานที่สำคัญบริเวณพระราชวังเดิมสถานที่สำคัญบริเวณพระราชวังเดิม • ศาลพระเจ้าตากสิน ตั้งอยู่ที่ พระราชวังเดิม ปากคลองบางหลวง เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร (เมื่อปี พ.ศ. 2508 มีชื่อว่าจังหวัดธนบุรี) ศาลพระเจ้าตากสินนี้มีมาตั้งแต่สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี สมัยแรกเป็นแต่เพียงศาลพระภูมิสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการสร้างบูรณะพระราชวังเดิมของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมัยรัชกาลที่ 5 เรียกว่า "ศาลพระเจ้าตาก" ภายในศาลพระเจ้าตาก ประดิษฐานเป็นพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ลักษณะประทับยืนทรง พระแสดงดาบ ขนาดเท่าองค์จริง พระบรมรูปประทับนั่งขนาดสูงประมาณ 1 ฟุต 1 องค์ และเทวรูปจีน แกะสลักด้วยไม้ปิดทองอีก 1 องค์ มีปืนโบราณพร้อมฐาน 2 กระบอกประดับเชิงบันไดชั้นล่าง
อาคารท้องพระโรง อาคารท้องพระโรงสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2311 พร้อมกับการสถาปนากรุงธนบุรี เป็นราชธานี อาคารนี้มีรูปทรงแบบไทยประกอบด้วยพระที่นั่งสององค์เชื่อมต่อกัน ได้แก่ พระที่นั่งองค์ทิศเหนือ เรียกว่าท้องพระโรง หรือ วินิจฉัย อยู่ทางทิศเหนือใช้เป็นที่เสด็จ ออกขุนนาง และประกอบพระราชพิธีที่สำคัญมาแต่ครั้งกรุงธนบุรี และพระที่นั่งองค์ทิศใต้ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระที่นั่งองค์แรก เรียกกันว่า พระที่นั่งขวาง เป็นส่วนพระราชมณเฑียร อันเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ ในปัจจุบัน กองทัพเรือได้ใช้ โถงท้องพระโรงภายในพระที่นั่งองค์ทิศเหนือ เป็นสถานที่ที่จัดงาน และประกอบพิธีสำคัญเป็นประจำ ส่วนพระที่นั่งขวาง ได้ใช้เป็นห้องรับรองบุคคลสำคัญ และเป็นห้องประชุมในบางโอกาส
ตำหนักเก๋งคู่หลังใหญ่ตำหนักเก๋งคู่หลังใหญ่ อาคารหลังนี้มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างไทยและจีน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นระหว่าง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสร้างขนานกับอาคารเก๋งคู่หลังเล็กที่อยู่ทางทิศเหนือ ส่วนหลังคาของอาคาร มีการเขียนสีตกแต่งเป็นลวดลายแบบจีน แต่กรอบหน้าต่างมีการจำหลักลายประดับแบบไทย ปัจจุบันอาคารหลังนี้ใช้เป็นที่จัดแสดงภาพนิทรรศการเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจในด้านการ ทำนุบำรุงบ้านเมืองในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ตำหนักเก๋งคู่หลังเล็กตำหนักเก๋งคู่หลังเล็ก อาคารหลังนี้รูปแบบเป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงโดยเฉพาะประตูหน้าต่างเพื่อให้เข้ากับสภาพอากาศ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯดำรงพระ อิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดฯ ให้ซ่อมแซมและดัดแปลงในช่วง พ.ศ. 2367 - 2394 พร้อมกับให้สร้างพระตำหนักเก๋งคู่หลังใหญ่ ในรูปแบบที่สอดคล้องกับอาคารหลังนี้ ปัจจุบัน อาคารนี้ใช้เป็นที่จัดแสดงเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจทางด้านการรบของสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช
ตำหนักสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวตำหนักสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ตำหนักหลังนี้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อครั้งยังทรงดำรง พระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ และประทับที่พระราชวังเดิม ในระหว่างปี พ.ศ. 2367 - 2394 แต่หลังจากที่พระองค์ทรงได้รับพระราชทานบวรราชาภิเษก ได้ทรงย้ายไปประทับ ณ พระบวรราชวัง อาคารหลังนี้จึงได้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้า น้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ตัวอาคารมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบตะวันตก หรือเรียกว่า "ตึกแบบอเมริกัน" และถือได้ว่าเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง ที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบตะวันตกหลังแรกๆ ที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ป้อมวิไชยประสิทธิ์ ป้อมนี้เดิมชื่อ "ป้อมวิไชยเยนทร์ " หรือ "ป้อมบางกอก" สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยเจ้าพระยาวิไชยเยนทร์กราบบังคมทูลแนะนำให้สร้างขึ้น พร้อม ป้อมทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนา กรุงธนบุรีเป็นราชธานีได้ทรงสร้างพระราชวังในบริเวณป้อมแห่งนี้พร้อมกับปรับปรุงป้อม และพระราชทานนามใหม่ว่า "ป้อมวิไชยประสิทธิ์" ปัจจุบันป้อมวิไชยประสิทธิ์ใช้เป็นที่ ยิงสลุตในพิธีสำคัญต่างๆ และติดตั้งเสาธงเพื่อประดับธงราชนาวี และธงผู้บัญชาการทหารเรือ
เรือนเขียว อาคารเรือนเขียวคืออาคารโรงพยาบาลเดิม เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ยกพื้นสูงจำนวน 2 หลัง ตั้งอยู่บริเวณ "เขาดิน" ซึ่งเป็นเนินดินตรงมุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ ภายในเขตกำแพงชั้น ในของพระราชวังเดิม อาคารเรือนเขียวสร้างขึ้นในช่วงเวลาที่มีการปรับปรุงพระราชวังเดิม ให้เป็นโรงเรียนนายเรือและได้ใช้เป็นสถานพยาบาลของโรงเรียนนายเรือ
ศาลศีรษะปลาวาฬ ในระหว่างการขุดสำรวจครั้งล่าสุดได้พบฐานอาคารทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าบริเวณพื้นที่ที่อยู่ระหว่าง ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและตำหนักเก๋งคู่หลังเล็ก ซึ่งเมื่อพิจารณาจาก หลักฐานทางเอกสารประกอบแล้ว สันนิษฐานว่าเป็นซากของอาคารศาลศีรษะปลาวาฬเดิม ที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก่อนรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวและได้พังลงในคืนวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2443 ซึ่งเป็นคืนที่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ สิ้นพระชนม์ รูปแบบสถาปัตยกรรมของอาคารหลังเดิมตามที่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นอาคารโถงแบบจีน ส่วนศาลศีรษะปลาวาฬหลังปัจจุบันทางมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิมได้ปรึกษากับ กรมศิลปากรและเห็นชอบให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2542 บนฐานของศาลหลังเดิมที่ได้ขุดพบ เพื่อใช้เป็นที่จัดแสดงกระดูกศีรษะปลาวาฬ (ที่ได้พบอยู่ใต้ถุนศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในคราว สำรวจพื้นที่ทางโบราณคดี ในช่วงการบูรณะครั้งล่าสุด) รูปแบบของอาคารหลังปัจจุบันได้ ประยุกต์ให้เหมาะสมกับอาคารโบราณสถานโดยรอบ โดยยังคงรูปแบบเป็นเก๋งจีน
เอกสารอ้างอิง เอกสารออนไลน์เข้าถึงได้จาก: http://www.wangdermpalace.org/wangderm/thai_history.html เอกสารออนไลน์เข้าถึงได้จาก: http://www.wangdermpalace.org/wangderm/thai_ancient.html เอกสารออนไลน์เข้าถึงได้จาก: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A1