790 likes | 1.84k Views
แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่. โดย นาย เอกบุตร อุตมพงศ์ วิศวกร 7ว. สำนักโรงงานอุตสาหกรรมรายสาขา 6 กรมโรงงานอุตสาหกรรม. แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายเดิม. 1. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2540) - ขออนุญาตนำ สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ออกนอกโรงงาน
E N D
แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่ โดย นาย เอกบุตร อุตมพงศ์ วิศวกร 7ว. สำนักโรงงานอุตสาหกรรมรายสาขา 6 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายเดิมแนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายเดิม 1. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2540) - ขออนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกโรงงาน - แจ้ง แบบ รง.6 ภาคผนวกที่ 1 ลักษณะและคุณสมบัติ เช่น สารไวไฟ สารกัดกร่อน สารพิษ ตัวทำละลาย สี กาว กากตะกอนต่างๆ น้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว ฯลฯ ภาคผนวกที่ 2หลักเกณฑ์และวิธีการกำจัด เช่น ฝังกลบอย่างปลอดภัย เผาในเตาเผาอุณหภูมิสูง หรือในเตาเผาปูนซิเมนต์ นำกลับไปใช้ประโยชน์
แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายเดิม (ต่อ) 2. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2541) - ขออนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกโรงงาน ภาคผนวกที่ 1 ลักษณะและคุณสมบัติ เช่น เศษไม้ กระดาษ เศษโลหะ กากแร่ ตะกรัน ฝุ่นจากระบบบำบัดอากาศ ฯลฯ ภาคผนวกที่ 2หลักเกณฑ์และวิธีการกำจัด เช่น ฝังกลบ ถมที่ ทำปุ๋ย เผาในเตาเผาปูนซิเมนต์ นำกลับไปใช้ประโยชน์
แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายเดิม (ต่อ) ปัญหาและอุปสรรคจากการใช้ ประกาศ ทั้ง 2 ฉบับ ดังกล่าว สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วบางประเภท ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ ผลวิเคราะห์เพื่อพิสูจน์ความเป็นอันตราย สร้างความลำบากในการรวบรวมข้อมูล ไม่มีการแยกสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วตามประเภทอุตสาหกรรมหรือ การประกอบกิจการ จึงขาดความชัดเจน ทำให้ไม่สะดวกในการวินิจฉัย ประเภทสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว และใช้เวลาในการพิจารณามาก - ฯลฯ
แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วพ.ศ. 2548 - ม.8 ตาม พรบ.โรงงาน พ.ศ. 2535 มอบอำนาจให้ รมว.อก. ออกกฎกระทรวง - กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) หมวด 4 ข้อ 13 (3) - ม. 29 ม.35 ม.48 ม.50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 1. ยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2540) และฉบับที่ 1 (พ.ศ.2541) 2. กำหนดคำจำกัดความ ดังต่อไปนี้
แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่ (ต่อ) - สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว คือ สิ่งของที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้น จากการประกอบกิจการโรงงานรวมถึงของเสียจากวัตถุดิบของเสียที่เกิดขึ้นใน กระบวนการผลิต ของเสียที่เป็นผลิตภัณฑ์เสื่อมคุณภาพ และน้ำทิ้งที่มี องค์ประกอบหรือมีคุณลักษณะที่เป็นอันตราย - ของเสียอันตราย คือ สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่มีองค์ประกอบ หรือปนเปื้อน สารอันตราย หรือมีคุณสมบัติที่เป็นอันตราย ตามที่กำหนดในภาคผนวกที่2 ท้ายประกาศ
แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่ (ต่อ) - การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว คือ การบำบัด ทำลายฤทธิ์ทิ้ง กำจัด จำหน่ายจ่ายแจก แลกเปลี่ยน หรือนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการกักเก็บไว้เพื่อทำการดังกล่าว - ผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว คือ ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ก่อให้เกิด และมีสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วไว้ในครอบครอง -ผู้รวบรวมและขนส่ง คือ ผู้มีสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วไว้ในครอบครองเพื่อ การขนส่ง และผู้มีไว้ในครอบครองสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วในสถานที่เก็บ รวบรวมหรือขนถ่ายสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ตามประกาศกระทรวง อุตสาหกรรม เรื่อง ระบบเอกสารกำกับการขนส่งของเสียอันตราย พ.ศ. 2547
แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่ (ต่อ) - ผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วคือ ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มี สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วไว้ในครอบครอง ตามประกาศกระทรวง อุตสาหกรรม เรื่อง ระบบเอกสารกำกับการขนส่งของเสียอันตราย พ.ศ. 2547 และโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ ไม่ใช้แล้วตามประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับที่ 105 - ใบกำกับการขนส่งคือ แบบกำกับการขนส่ง 02 ตามแนบท้ายประกาศกระทรวง อุตสาหกรรม เรื่อง ระบบเอกสารกำกับการขนส่งของเสียอันตราย พ.ศ. 2547
แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่ (ต่อ) - การแจ้งทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ การแจ้งข้อมูลตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว จากโรงงาน โดยทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Internet) พ.ศ. 2547
แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่ (ต่อ) หมวด 1 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ได้รับการยกเว้น 1. สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ไม่เป็นของเสียอันตราย จากสำนักงาน บ้านพัก อาศัยและโรงอาหารในบริเวณโรงงาน 2. กากกัมมันตรังสี 3. มูลฝอยตาม พรบ. สาธารณสุข 4. น้ำเสียที่ส่งไปบำบัดนอกโรงงานทางท่อส่ง
แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่ (ต่อ) หมวด 2 หน้าที่ผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว(Waste Generator,WG ) 1. ต้องไม่ครอบครองสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วไว้ภายในโรงงานเกินเวลา 90วัน หากเกิน ต้องขออนุญาต ตามแบบ สก.1 ในกรณีที่ครอบครองของเสียอันตราย ให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ระบบเอกสารกำกับการ ขนส่งของเสียอันตราย พ.ศ. 2547 2. ต้องมีผู้ควบคุมดูแลระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมที่มีความรู้เฉพาะด้าน 3. ต้องจัดทำแผนการป้องกันอุบัติภัยเพื่อรองรับเหตุฉุกเฉิน ในกรณีเกิดเหตุรั่วไหล อัคคีภัย การระเบิดของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วหรือเหตุที่คาดไม่ถึง ตามภาคผนวกที่ 3
แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่ (ต่อ) หมวด 2 หน้าที่ผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (Waste Generator,WG ) 4. ห้ามมิให้นำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงาน เว้นแต่จะได้รับ อนุญาตจากอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (ใช้คำขอตามแบบ สก. 2 ) 5. ต้องส่งสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นของเสียอันตรายให้กับผู้รวบรวมและ ขนส่ง หรือผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วเท่านั้น ในกรณีใช้ บริการของผู้อื่น จะต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม 6. ต้องมีใบกำกับการขนส่ง เมื่อมีการนำของเสียอันตรายออกนอกบริเวณโรงงาน ทุกครั้ง และให้แจ้งข้อมูลการขนส่งสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วทุกชนิด ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์
แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่ (ต่อ) หมวด 2 หน้าที่ผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว(Waste Generator,WG ) 7. ต้องรับผิดชอบต่อภาระความรับผิด(liability) ในกรณีสูญหาย เกิดอุบัติเหตุ การทิ้งผิดที่ หรือ การลักลอบทิ้ง และการรับคืนเนื่องจากข้อขัดแย้งที่ไม่เป็นไป ตามสัญญาการให้บริการระหว่างผู้ก่อกำเนิดและผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือ วัสดุที่ไม่ใช้แล้ว จนกว่าผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจะรับ สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ ไม่ใช้แล้วนั้นไว้ในครอบครอง 8. ต้องส่งรายงานประจำปีให้แก่กรมโรงงานอุตสาหกรรมตามแบบ สก. 3 ท้ายประกาศนี้ ภายในวันที่ 1 มีนาคม ของปีถัดไป
แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่ (ต่อ) หมวด 3 การรวบรวมและขนส่งของเสียอันตราย 1. กรณีผู้ก่อกำเนิดของเสียอันตราย หรือ ผู้บำบัดและกำจัดของเสียอันตราย แต่งตั้งตัวแทนเพื่อเป็นผู้รวบรวมและขนส่ง จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และ วิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด 2. ผู้แต่งตั้งตัวแทนต้องรับภาระความรับผิด (liability) ร่วมกับตัวแทนระหว่าง การดำเนินการขนส่ง ------------------------------------------------
แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่ (ต่อ) หมวด 4 หน้าที่ของผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว(Waste processor,WP) 1. ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วตามหลักเกณฑ์และ วิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด 2. ต้องรับบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วเฉพาะที่ได้รับอนุญาตตาม เงื่อนไขการประกอบกิจการโรงงานที่กำหนดไว้ 3. ต้องใช้ใบกำกับการขนส่ง และต้องปฏิบัติตามประกาศมติคณะกรรมการวัตถุ อันตราย เรื่อง การขนส่งวัตถุอันตรายทางบก พ.ศ.2545เมื่อมีการรับสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วเข้ามาในบริเวณโรงงาน ให้แจ้งข้อมูลต่อกรมโรงงาน อุตสาหกรรมโดยทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ------------------------------------------------
แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่ (ต่อ) หมวด 4 หน้าที่ของผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว(Waste processor,WP) 4. ต้องรับภาระความรับผิด (liability) ต่อสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เมื่อรับดำเนินการบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว 5. ต้องมีข้อมูลผลวิเคราะห์ทางเคมีและกายภาพของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ก่อนการดำเนินการบำบัดหรือกำจัด จากห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ขึ้นทะเบียนไว้ กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม และให้เก็บข้อมูลผลวิเคราะห์ไว้อย่างน้อย 3 ปี เพื่อการตรวจสอบ 6. ต้องมีผู้ควบคุมดูแลระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมที่มีความรู้เฉพาะด้าน
แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่ (ต่อ) หมวด 4 หน้าที่ของผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว(Waste processor,WP) 7. ต้องจัดทำแผนการป้องกันอุบัติภัยเพื่อรองรับเหตุฉุกเฉิน ในกรณีเกิดเหตุรั่วไหล อัคคีภัย การระเบิดของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วหรือเหตุที่คาดไม่ถึง ตามภาคผนวกที่ 3 8. ต้องส่งรายงานประจำปีให้แก่กรมโรงงานอุตสาหกรรมตามแบบ สก. 5 ภายในวันที่ 1 มีนาคม ของปีถัดไป -------------------------------------------------
แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่ (ต่อ) หมวด 5 บทเฉพาะกาล 1. คำขออนุญาตใดๆ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2540) และ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2541) และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่ง ปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (เพิ่มเติม) พ.ศ. 2547 ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาให้ ถือเป็นคำขออนุญาตตามประกาศฉบับนี้โดยอนุโลม 2. ใบอนุญาตตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2540) และ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2541) และ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัด สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (เพิ่มเติม) พ.ศ. 2547 ที่ออกให้ก่อนวันที่ประกาศนี้ มีผลบังคับใช้ ให้คงใช้ต่อไปได้จนสิ้นอายุที่กำหนดไว้
ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว จากประกาศฯเดิมทั้ง 2 ฉบับ จะเห็นได้ว่ามีการแบ่งชนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วตาม หมวดและข้อ เช่น - เศษไม้ จัดอยู่ใน หมวด 1 ข้อ 1.2 และ เศษโลหะ จัดอยู่ใน หมวด 1 ข้อ 1.8ของ ฉ.1 เป็นต้น - น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้ว จัดอยู่ใน หมวด 4 ข้อ 13 และ หมึก สีย้อม สี สีน้ำมัน จัดอยู่ใน หมวด 4 ข้อ 18 เป็นต้น
ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว แต่ ประกาศฯ ฉบับใหม่ใช้เลขรหัส 6 หลัก (XXXXXX) แทนหมวดและข้อแบบเดิม - ความหมายของเลขรหัส 6 หลัก (XXXXXX) XXXXXX กิจกรรมหลัก (หมวด) กิจกรรมย่อย (หมู่) ประเภทของเสีย (หมู่ย่อย)
ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เลขรหัส 6 หลักดังกล่าวจะถูกกำกับด้วยอักษร HA (Hazardous waste – Absolute entry) หรือ HM (Hazardous waste – Mirror entry)แสดงว่าเป็นสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ ไม่ใช้แล้วที่มีคุณสมบัติเป็นของเสียอันตราย สำหรับรหัสที่กำกับด้วย HMผู้ประกอบการต้องทำการวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในภาคผนวกที่ 2 ในกรณีที่ต้องการโต้แย้งว่า ไม่เข้าข่ายเป็นของเสียอันตรายตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ สำหรับเลขรหัสที่ไม่กำกับโดยอักษรใดๆ ถือว่าไม่เป็นของเสียอันตราย
ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว กิจกรรมหลัก (สองหลักแรก) ( XX _ _ _ _ ) แบ่งเป็น 19 หมวด โดย - หมวด 1 ถึง 12 เป็นหมวดเฉพาะ (Specific) - หมวด 13 ถึง 19 เป็นหมวดทั่วไป (Common)
วัตถุดิบหลัก สารเคมี ส่วนผลิตสาธารณูปโภค –ไฟฟ้า, น้ำใช้, น้ำร้อน, ไอน้ำ, น้ำเย็น, ฯลฯ การเตรียม การผสม ซ่อมบำรุง โรงบำบัดน้ำเสียรวม คลังสินค้า / วัตถุดิบ / ของเสีย สายการผลิต 1 สายการผลิต 2 ห้องปฏิบัติการ สำนักงาน ผลิตภัณฑ์, ผลพลอยได้ โรงอาหาร ห้องพยาบาล ของเสียเฉพาะ ของเสียทั่วไป กระบวนการผลิตหลัก 12 หมวด (01 – 12) กระบวนการสนับสนุน 8 หมวด (13 – 20) ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว
ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว หมวด 1 - 12 (หมวดเฉพาะ) แบ่งตามกระบวนการผลิตหลัก ดังนี้ หมวด 01 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากการสำรวจ การทำเหมืองแร่ การทำเหมืองหิน และการปรับสภาพแร่ธาตุโดย วิธีกายภาพและเคมี หมวด 02 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากการเกษตรกรรม การเพาะปลูกพืชสวน การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การทำป่าไม้ การล่าสัตว์ การประมง การแปรรูปอาหารต่างๆ
ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว หมวด 1 - 12(หมวดเฉพาะ) แบ่งตามกระบวนการผลิตหลัก ดังนี้ หมวด 03 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากกระบวนการ แปรรูปไม้ และการผลิตแผ่นไม้ เครื่องเรือน เยื่อกระดาษ กระดาษ หรือกระดาษแข็ง หมวด 04 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากอุตสาหกรรม เครื่องหนัง ขนสัตว์ และอุตสาหกรรมสิ่งทอ
ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว หมวด 1 - 12 (หมวดเฉพาะ) แบ่งตามกระบวนการผลิตหลัก ดังนี้ หมวด 05 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากกระบวนการกลั่น ปิโตรเลียม การแยกก๊าซธรรมชาติ และกระบวนการบำบัดถ่านหิน โดยการเผาแบบ ไม่ใช้ออกซิเจน หมวด 06 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากกระบวนการผลิต สารอนินทรีย์ ต่างๆ หมวด 07 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากกระบวนการผลิต สารอินทรีย์ต่างๆ
ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว หมวด 1 - 12(หมวดเฉพาะ) แบ่งตามกระบวนการผลิตหลัก ดังนี้ หมวด 08 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากการผลิต การผสม ตามสูตร การจัดส่ง และการใช้งานของสี สารเคลือบเงา สารเคลือบผิว กาว สารติดผนึก และหมึกพิมพ์ หมวด 09 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับ การถ่ายภาพ หมวด 10 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากกระบวนการใช้ความร้อน
ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว หมวด 1 - 12(หมวดเฉพาะ) แบ่งตามกระบวนการผลิตหลัก ดังนี้ หมวด 11 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากการปรับสภาพผิวโลหะ และวัสดุต่างๆ ด้วยวิธีเคมี รวมทั้งการชุบเคลือบผิว และของเสียจาก กระบวนการ non-ferrous hydro-metallurgy หมวด 12 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากการตัดแต่ง และปรับสภาพผิวโลหะ พลาสติก ด้วยกระบวนทางกายภาพ หรือ เชิงกล
ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว หมวด 13 - 19(หมวดทั่วไป) แบ่งตามกระบวนการสนับสนุน ดังนี้ หมวด 13 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วประเภท น้ำมันและ เชื้อเพลิงเหลว ไม่รวมน้ำมันที่บริโภคได้ หมวด 14 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วประเภทตัวทำละลายอินทรีย์ สารทำความเย็น สารขับเคลื่อน ที่ไม่รวมไว้ในหมวด 07 และหมวด 08 หมวด 15 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วประเภทบรรจุภัณฑ์ วัสดุดูดซับ ผ้าสำหรับเช็ด วัสดุตัวกรอง และชุดป้องกันที่ไม่ได้ระบุ ไว้ในหมวดอื่น
ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว หมวด 13 - 19 (หมวดทั่วไป) แบ่งตามกระบวนการสนับสนุน ดังนี้ หมวด 16 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วประเภทต่างๆ ที่ไม่ได้ระบุใน หมวดอื่น หมวด 17 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากงานก่อสร้างและการรื้อ ทำลายสิ่งก่อสร้าง รวมถึงดินที่ขุดจากพื้นที่ปนเปื้อน หมวด 18 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากการสาธารณสุขสำหรับ มนุษย์และสัตว์ รวมถึงการวิจัยทางด้านสาธารณสุข
ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว หมวด 13 - 19 (หมวดทั่วไป) แบ่งตามกระบวนการสนับสนุน ดังนี้ หมวด 19 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากโรงปรับคุณภาพของ เสีย โรงบำบัดน้ำเสีย โรงผลิตน้ำประปา และ โรงผลิตน้ำใช้ อุตสาหกรรม
ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ตัวอย่าง 1. กิจกรรมหรือการประกอบกิจการแปรรูปอาหาร หมวดที่ 02 2. กิจกรรมหรือการประกอบกิจการทำเครื่องเรือนจากไม้ หมวดที่ 03 3. กิจกรรมหรือการประกอบกิจการหลอมโลหะ หมวดที่ 10 4. กิจกรรมหรือการประกอบกิจการชุบโลหะ หมวดที่ 11
หมวดที่ 02 ( 02 XX _ _ ) หมวดที่ 08 ( 08XX_ _ ) หมวดที่ 08 ( 08XX_ _ ) ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว กิจกรรมย่อย(สองหลักกลาง,หมู่) ( XX XX _ _ )แสดงถึงกระบวนการเฉพาะในการประกอบกิจการนั้น ๆ ตัวอย่าง 1. กิจกรรมชำแหละ แกะ ล้าง เนื้อสัตว์ จัดอยู่ใน หมู่ที่02( 0202_ _ ) 2. กิจกรรมทำสีชนิดต่าง ๆ (Paints) จัดอยู่ใน หมู่ที่01( 0801_ _ ) 3. กิจกรรมทำกาวชนิดต่าง ๆ (Adhesives and Sealant) จัดอยู่ใน หมู่ที่04( 0804_ _ )
หมวดที่ 10( 10XXXX) หมวดที่ 12 ( 12XXXX) หมู่ที่06 ( 10 06XX) หมู่ที่01 ( 12 01XX) ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ประเภทของเสีย(สองหลักสุดท้าย,หมู่ย่อย)( XX XXXX)แสดงถึงลักษณะเฉพาะหรือประเภทของของเสีย ตัวอย่าง 1. Copper Slag จากการถลุงทองแดง จัดอยู่ใน หมู่ย่อยที่01 ( 100601 ) 2. Copper Slag จากการขัดผิวโลหะ เช่น ขัดผิวเรือเดินสมุทร หมู่ย่อยที่16( 120116) หรือ ( 120117)
หมวดที่ 12 ( 12XXXX) หมวดที่ 17 ( 17 XXXX) หมู่ที่ 01 ( 12 01XX) หมู่ที่ 04 ( 17 04XX) ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ตัวอย่าง 3. เศษเหล็กจากการตัดชิ้นงาน (หมวด 1 ข้อ 1.8 ตาม ฉ.1 เดิม) จัดอยู่ใน หมู่ย่อยที่01( 120101) 4. เศษเหล็กจากการรื้อถอนอาคารโรงงาน(หมวด 1 ข้อ 1.8 ตาม ฉ.1 เดิม) จัดอยู่ใน หมู่ย่อยที่05( 170405)
หมวดที่ 19 ( 19 XXXX) หมู่ที่12 ( 19 12XX) ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ตัวอย่าง 5. เศษเหล็กจากการคัดแยก (หมวด 1 ข้อ 1.8 ตาม ฉ.1 เดิม) จัดอยู่ใน หมู่ย่อยที่02( 1912 02)
หมวดที่ 13 ( 13 XXXX) หมวดที่ 13 ( 13 XXXX) หมู่ที่ 01 ( 13 01XX) หมู่ที่ 02 ( 13 02XX) ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ตัวอย่าง 6. น้ำมันไฮโดรลิกจากการเปลี่ยนถ่ายเครื่องจักร (หมวด 4 ข้อ 13 ตาม ฉ.6 เดิม) จัดอยู่ใน หมู่ย่อยที่11( 13 0111) กรณีเป็นชนิด Synthetic Oil 7. น้ำมันเครื่อง (Engine oil) จากเครื่องยนต์ (หมวด 4 ข้อ 13 ตาม ฉ.6 เดิม) จัดอยู่ใน หมู่ย่อยที่06( 13 0206) กรณีเป็นชนิด Synthetic Oil
หมวดที่ 15 ( 15 XXXX) หมวดที่ 15 ( 15 XXXX) หมู่ที่ 02 ( 15 02XX) หมู่ที่ 01 ( 15 01XX) ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ตัวอย่าง 8. ผ้าปนเปื้อนน้ำมันต่างๆ(หมวด 4 ข้อ 13 ตาม ฉ.6 เดิม) จัดอยู่ใน หมู่ย่อยที่02( 15 0202) 9. ภาชนะปนเปื้อนน้ำมันต่างๆ (หมวด 4 ข้อ 13 ตาม ฉ.6 เดิม) จัดอยู่ใน หมู่ย่อยที่10( 150110)
กระบวนการผลิตเคมีอินทรีย์กระบวนการผลิตเคมีอินทรีย์ กระบวนการผลิตเคมีอนินทรีย์ 02 xx xx07 xx xx 06 05 xx กากตะกอนอินทรีย์ ระบบบำบัดน้ำเสีย ณ จุดกำเนิด (On-site WWT) ระบบบำบัดน้ำเสีย ณ จุดกำเนิด (On-site WWT) กากตะกอนอนินทรีย์ น้ำเสียอนินทรีย์ น้ำเสียอินทรีย์ ระบบบำบัดน้ำเสียรวม (Central WWT) ระบบบำบัดน้ำเสียรวม(Central WWT) กากตะกอน กากตะกอน สิ่งแวดล้อม ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ตัวอย่าง 19 08 xx 19 08 xx
ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว การกำหนดรหัสที่เหมาะสมกับของเสีย 1. พิจารณาการประกอบกิจการตามหมวด 1 ถึง 12 เป็นลำดับแรก หรือ หมวด 17 ถึง หมวด 19 เป็นลำดับต่อมา 2. หากไม่สามารถหารหัสที่เหมาะสมตามข้อ 1 ได้ ให้ตรวจสอบรหัสตามชนิด ของเสีย ในหมวด 13 ถึง 15 3. ถ้ายังไม่สามารถระบุได้ ให้ตรวจสอบรหัสของเสีย ในหมวด 16 4. หากไม่สามารถระบุรหัสเลข 6 หลักจากหมวด 16 ได้ ให้กลับไปใช้รหัสที่มี เลข 2 หลักสุดท้ายเป็น 99 ในหมวดที่เกี่ยวข้องในข้อ 1
ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว คำถามเศษเนื้อหมูจากการผลิตซาลาเปา 02 0202– เศษเนื้อเยื่อสัตว์จากการแปรรูปอาหาร คำถามเศษเปลือกถั่วจากการผลิตซาลาเปา 02 0304– วัสดุที่ไม่เหมาะสมสำหรับการบริโภคจากการแปรรูปอาหาร คำถามPlastic Monomer เหลว ที่ได้จากการควบแน่นไอ ที่ระเหยจากกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก (เดิมเคยกำหนดเป็น หมวด 4 ข้อ 13 ตาม ฉ.6) 070299
ภาคผนวกที่ 2 ลักษณะและคุณสมบัติของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นของเสียอันตราย 1. สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วประเภทสารไวไฟ (Ignitable substances) 2. สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วประเภทสารกัดกร่อน (Corrosive substances) 3. สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วประเภทสารที่เกิดปฏิกิริยาได้ง่าย (Reactive substances) 4. สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วประเภทสารพิษ (Toxic substances) 5. สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่มีองค์ประกอบของสิ่งเจือปน ที่กำหนดไว้ดังนี้ 5.1 องค์ประกอบของสารอนินทรีย์อันตรายและสารอินทรีย์อันตราย ในหน่วยมิลลิกรัม ของสารต่อหนึ่งกิโลกรัมของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว(Total Concentration) มีค่ามากกว่าค่า Total Threshold Limit Concentration (TTLC) ( Total Concentration ≥TTLC )
ภาคผนวกที่ 2 ลักษณะและคุณสมบัติของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นของเสียอันตราย 5.2 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เมื่อนำมาสกัดด้วยวิธี Waste Extraction Test (WET) มีองค์ประกอบของสารอนินทรีย์อันตรายและสารอินทรีย์อันตราย ในหน่วยมิลลิกรัม ของสารต่อลิตรของน้ำสกัด (mg/L)เท่ากับหรือมากกว่าค่า Soluble Threshold Limit Concentration (STLC) (WET ≥ STLC ) 5.3 การทดสอบวิธี WET ตามข้อ 5.2 จะทำก็ต่อเมื่อ Total Concentration < TTLC แต่ ≥STLC หรือเมื่อจะฝังกลบเท่านั้น ( STLC ≥ Total Concentration < TTLC )
ภาคผนวกที่ 3แผนป้องกันอุบัติภัยและแผนฉุกเฉิน ผู้ประกอบการต้องเตรียมแผนป้องกันอุบัติภัยและแผนฉุกเฉิน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด เช่น - ขั้นตอน วิธีการปฏิบัติ ในการตอบสนองต่ออัคคีภัย การระเบิด หรือ การรั่วไหลของของเสียอันตราย - การเตรียมการกับหน่วยงานท้องถิ่น - รายการแสดงอุปกรณ์ความปลอดภัยและอุปกรณ์ฉุกเฉิน - แผนการหนีภัยฯลฯ
ภาคผนวกที่ 4หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดการ หลักเกณฑ์และวิธีการกำจัด - ฟิสิกส์ - ปรับเสถียร/ตรึงสาร - เคมี-ฟิสิกส์ - กำจัดในดิน/ฝังกลบ - เคมี - การนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ - ชีวภาพ - ใช้ความร้อน
ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สอบถามได้ที่ สำนักโรงงานอุตสาหกรรมรายสาขา 6 กรมโรงงานอุตสาหกรรมhttp://www.diw.go.th/iwmb/โทรศัพท์ 0-2202-4165 และ 4168 และโทรสาร 0-2202-4167 ถาม - ตอบ