1 / 83

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)

มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และ เกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอก การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (พ.ศ. ๒๕๔๙ - ๒๕๕๓) และการรับรองมาตรฐานการศึกษา. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). มาตรฐานการศึกษาชาติ. มาตรฐานการศึกษา เพื่อการประเมิน คุณภาพภายนอก. มาตรฐานการศึกษา

Download Presentation

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอก การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๓)และการรับรองมาตรฐานการศึกษา สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)

  2. มาตรฐานการศึกษาชาติ มาตรฐานการศึกษา เพื่อการประเมิน คุณภาพภายนอก มาตรฐานการศึกษา ขั้นพื้นฐาน

  3. มาตรฐานการศึกษาชาติ มาตรฐานที่ ๑ คุณลักษณะของคนไทยที่ พึงประสงค์ ทั้งในฐานะพลเมือง และพลโลก มาตรฐานที่ ๒ แนวการจัดการศึกษา มาตรฐานที่ ๓ แนวการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้/สังคมแห่งความรู้

  4. หลักการการศึกษานอกระบบหลักการการศึกษานอกระบบ การศึกษานอกระบบเป็นกระบวนการของการศึกษาตลอดชีวิต มีภารกิจสำคัญที่มุ่งให้ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะการศึกษาพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตตามมาตรฐานของสังคมซึ่งเป็นสิทธิที่คนทุกคนพึงได้รับ นอกจากนั้นยังจะต้องได้รับการศึกษาที่ต่อเนื่องจากการศึกษาพื้นฐานเพื่อนำความรู้ไปพัฒนาอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิตและพัฒนาชุมชนและสังคมในที่สุด

  5. หลักการการศึกษานอกระบบหลักการการศึกษานอกระบบ การจัดกระบวนการเรียนรู้ การศึกษานอกระบบจึงยึดหลักการสำคัญ ๕ ประการ คือ หลักความเสมอภาคทางการศึกษา หลักการพัฒนาตนเองและพึ่งพาตนเอง หลักการบูรณาการการเรียนรู้และวิถีชีวิต หลักความสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และหลักการเรียนรู้ร่วมกันและการมีส่วนร่วมของชุมชน ดังนี้

  6. หลักการการศึกษานอกระบบหลักการการศึกษานอกระบบ ๑. หลักความเสมอภาคทางการศึกษา กลุ่มเป้าหมายของการศึกษานอกระบบส่วนมากเป็นผู้พลาดโอกาส และผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา ซึ่งอาจมีความแตกต่างทางด้านสถานภาพในสังคม อาชีพเศรษฐกิจ และข้อจำกัดต่างๆ ในการจัดการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้การศึกษานอกระบบต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติ หากแต่สร้างความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเท่าเทียมกัน

  7. หลักการการศึกษานอกระบบหลักการการศึกษานอกระบบ ๒. หลักการพัฒนาตนเองและการพึ่งพาตนเอง การจัดการศึกษานอกระบบจะต้องจัดการเรียนการสอน และกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพของตน สามารถเรียนรู้เกิดความสำนึกที่จะพัฒนาตนเองได้ เป็นคนคิดเป็น ปรับตัวเพื่อให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เรียนด้วยตนเอง พึ่งพาตนเอง เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างเป็นปกติสุขท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคม

  8. หลักการการศึกษานอกระบบหลักการการศึกษานอกระบบ ๓. หลักการการบูรณาการการเรียนรู้กับวิถีชีวิต หลักการนี้อยู่บนพื้นฐานของการจัดการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับสภาพปัญหา วิถีชีวิต สภาพแวดล้อมและชุมชนท้องถิ่นของผู้เรียน ซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา สิ่งดังกล่าวส่งผลโดยตรงต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้เป็นลักษณะของการบูรณาการจึงมีความเหมาะ โดยบูรณาการสาระต่างๆ เพื่อการเรียนรู้ และนำไปใช้ ตลอดจนการบูรณาการวิธีการจัดการเรียนการสอน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการคุณภาพชีวิตของผู้เรียนอย่างเป็นองค์รวม

  9. หลักการการศึกษานอกระบบหลักการการศึกษานอกระบบ ๔. หลักความสอดคล้องกับปัญหาความต้องการและความถนัดของผู้เรียน หลักการนี้เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักความต้องการของตนเอง สามารถจัดการศึกษาให้กับตนเองได้อย่างเหมาะสม ครูการศึกษานอกโรงเรียนมีบทบาทในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนร่วมกำหนดวัตถุประสงค์ สาระการเรียนรู้ วิธีการเรียน และการประเมินผลการเรียนรู้ของตนเอง ซึ่งเป็นกระบวนการการศึกษานอกระบบที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

  10. หลักการการศึกษานอกระบบหลักการการศึกษานอกระบบ ๕. หลักการเรียนรู้ร่วมกันและการมีส่วนร่วมของชุมชน การเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มผู้เรียนนับว่ามีความสำคัญ เป็นการส่งเสริมและสร้างกัลยาณมิตรในกลุ่มผู้เรียน ก่อให้เกิดความร่วมมือ ความผูกพัน ความเอื้ออาทร การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ปลูกฝังวินัยในตนเอง ฝึกความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรเกิดขึ้นสำหรับผู้เรียนที่มีวุฒิภาวะ สำหรับการมีส่วนร่วมของชุมชนก็นับว่าเป็นหลักการสำคัญในการจัดการศึกษานอกโรงเรียน ชุมชนสามารถเข้ามาร่วมในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา การจัดสรรทรัพยากรทั้งด้านภูมิปัญญา วัสดุอุปกรณ์ และแหล่งเรียนรู้ ตลอดจนสนับสนุนในเรื่องอื่นๆ เพื่อผลิตผู้เรียนให้มีคุณภาพ และเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชนต่อไป

  11. มาตรฐานการศึกษานอกโรงเรียนมี ๙ มาตรฐาน ๒๘ ตัวบ่งชี้ ได้แก่ มาตรฐานด้านผู้เรียน/ผู้รับบริการ มาตรฐานที่ ๑ ผู้เรียน/ผู้รับบริการ มีความรู้ ความสามารถเจตคติและทักษะตามจุดหมายของหลักสูตร/กิจกรรม ตัวบ่งชี้ ๑.๑ มีผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร/กิจกรรมของสถานศึกษา

  12. มาตรฐานการศึกษานอกโรงเรียนมี ๙ มาตรฐาน ๒๘ ตัวบ่งชี้ ได้แก่ มาตรฐานที่ ๒ ผู้เรียน/ผู้รับบริการมีทักษะในการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ ๒.๑ มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ ๒.๒ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจ ๒.๓ มีความสามารถในการเลือกใช้แหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม ๒.๔ มีทักษะในการสื่อสาร

  13. มาตรฐานการศึกษานอกโรงเรียนมี ๙ มาตรฐาน ๒๘ ตัวบ่งชี้ ได้แก่ มาตรฐานที่ ๓ ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคม ตัวบ่งชี้ ๓.๑ มีคุณธรรม จริยธรรม ๓.๒ มีจิตสำนึกสาธารณะ ๓.๓ ปฏิบัติตนตามระบอบประชาธิปไตย ๓.๔ มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี

  14. มาตรฐานการศึกษานอกโรงเรียนมี ๙ มาตรฐาน ๒๘ ตัวบ่งชี้ ได้แก่ มาตรฐานด้านกระบวนการ

  15. มาตรฐานการศึกษานอกโรงเรียนมี ๙ มาตรฐาน ๒๘ ตัวบ่งชี้ ได้แก่ มาตรฐานที่ ๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน/ผู้รับบริการเป็นสำคัญ ตัวบ่งชี้ ๔.๑ มีการพัฒนาหลักสูตร โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม ๔.๒ มีการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและใช้ชุมชนเป็นฐาน ๔.๓ มีการจัดการเรียนรู้โดยส่งเสริมกระบวนการคิดเป็น

  16. มาตรฐานการศึกษานอกโรงเรียนมี ๙ มาตรฐาน ๒๘ ตัวบ่งชี้ ได้แก่ มาตรฐานที่ ๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน/ผู้รับบริการเป็นสำคัญ ตัวบ่งชี้(ต่อ) ๔.๔ มีการจัดการเรียนรู้โดยส่งเสริมกระบวนการทำงานร่วมกัน ๔.๕ มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ ๔.๖ มีการศึกษาวิจัย หรือนำผลการวิจัยหรือติดตามหรือประเมินผลและนำผลไปใช้

  17. มาตรฐานการศึกษานอกโรงเรียนมี ๙ มาตรฐาน ๒๘ ตัวบ่งชี้ ได้แก่ มาตรฐานที่ ๕ การบริหารจัดการศึกษานอกโรงเรียนมีประสิทธิภาพ ตัวบ่งชี้ ๕.๑ บริหารเชิงกลยุทธ์ ๕.๒ บริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาล

  18. มาตรฐานการศึกษานอกโรงเรียนมี ๙ มาตรฐาน ๒๘ ตัวบ่งชี้ ได้แก่ มาตรฐานด้านปัจจัย มาตรฐานที่ ๖ ครูและบุคลากรมีความสามารถในการปฏิบัติงานการศึกษานอกโรงเรียน ตัวบ่งชี้ ๖.๑ ครูและบุคลากรมีความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักการจัดการศึกษานอกโรงเรียน ๖.๒ ครูและบุคลากรมีความสามารถในการประสานงานให้เกิดกระบวนการเรียนรู้

  19. มาตรฐานการศึกษานอกโรงเรียนมี ๙ มาตรฐาน ๒๘ ตัวบ่งชี้ ได้แก่ มาตรฐานด้านปัจจัย มาตรฐานที่ ๖ ครูและบุคลากรมีความสามารถในการปฏิบัติงานการศึกษานอกโรงเรียน ตัวบ่งชี้ (ต่อ) ๖.๓ ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ๖.๔ ครูและบุคลากรมีคุณธรรม จริยธรรม

  20. มาตรฐานการศึกษานอกโรงเรียนมี ๙ มาตรฐาน ๒๘ ตัวบ่งชี้ ได้แก่ มาตรฐานด้านปัจจัย มาตรฐานที่ ๗ ผู้บริหารมีสมรรถนะในการบริหารองค์กร ตัวบ่งชี้ ๗.๑ มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นแบบอย่างที่ดี ๗.๒ มีภาวะผู้นำและมีความสามารถในการบริหารจัดการ

  21. มาตรฐานการศึกษานอกโรงเรียนมี ๙ มาตรฐาน ๒๘ ตัวบ่งชี้ ได้แก่ มาตรฐานด้านปัจจัย มาตรฐานที่ ๘ สถานศึกษามีหลักสูตร/ กิจกรรม สื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ตัวบ่งชี้ ๘.๑ หลักสูตร กิจกรรมสอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการหรือชุมชน ๘.๒ สื่อและแหล่งเรียนรู้หลากหลายและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ๘.๓ มีการจัดการแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน/ ผู้รับบริการ

  22. มาตรฐานการศึกษานอกโรงเรียนมี ๙ มาตรฐาน ๒๘ ตัวบ่งชี้ ได้แก่ มาตรฐานด้านปัจจัย มาตรฐานที่ ๙ เครือข่ายร่วมจัด หรือส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษานอกโรงเรียน ตัวบ่งชี้ ๙.๑ เครือข่ายร่วมจัดการศึกษานอกโรงเรียน ๙.๒ เครือข่ายส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษานอกโรงเรียน/ ผู้รับบริการ

  23. การประเมินคุณภาพ ภายนอก

  24. การประเมินภายนอก คืออะไร การติดตาม ตรวจสอบ ประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยผู้ประเมินที่ได้รับมอบหมายจาก สมศ. เพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น

  25. หลักการสำคัญ ในการประเมินภายนอกมีอะไรบ้าง ๑. มุ่งพัฒนาคุณภาพไม่ได้จับผิดหรือลงโทษ ๒. ยึดหลักความยุติธรรมโปร่งใส ๓. มุ่งสร้างความสมดุล ระหว่างเสรีภาพทางการศึกษา และหลักการศึกษาของชาติ ๔.มุ่งเน้นการประสานงาน มีลักษณะกัลยาณมิตร ๕. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย

  26. วัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพภายนอกวัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพภายนอก ๑. เพื่อศึกษาและยืนยันสภาพจริงในการดำเนินงานของสถานศึกษาและประเมินคุณภาพการศึกษา ๒. ช่วยสะท้อนจุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนาของสถานศึกษา ๓. ให้ข้อเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่สถานศึกษา และหน่วยงานต้นสังกัด

  27. มาตรฐาน และตัวบ่งชี้ เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๓)๕ มาตรฐาน ๑๙ ตัวบ่งชี้

  28. ปรัชญา วัตถุประสงค์ • กลยุทธ และแผน ๒.การจัดการศึกษา ขั้นพื้นฐาน นอกระบบ ๕. การประกัน คุณภาพภายใน มาตรฐาน กศน. และอัธยาศัย ๓. จัดการศึกษาเพื่อ การพัฒนาอาชีพและ ทักษะชีวิต ๔. การบริหารจัดการ

  29. มาตรฐานที่ ๑ปรัชญา วัตถุประสงค์ กลยุทธ์และแผนการจัดการศึกษา(ม.๕ ประกันคุณภาพภายใน) มี ๓ ตัวบ่งชี้ คือ ๑.๑ การกำหนดปรัชญา วัตถุประสงค์ กลยุทธ์ และแผนการดำเนินงาน รวมทั้งมีการกำหนดตัวบ่งชี้จากผลสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนครบทุกพันธกิจ

  30. เกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับตัวบ่งชี้เกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับตัวบ่งชี้

  31. ๑.๒ ระดับความสอดคล้องของปรัชญาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ/เขต กับเจตนารมณ์ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและนโยบายการศึกษานอกระบบของกระทรวงศึกษาธิการและนโยบายการศึกษาของจังหวัดพื้นที่

  32. เกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับตัวบ่งชี้เกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับตัวบ่งชี้

  33. ๑.๓ ระดับของการบรรลุเป้าหมายตาม ตัวบ่งชี้ของแผนปฏิบัติการประจำปีของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ/เขต

  34. เกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับตัวบ่งชี้เกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับตัวบ่งชี้

  35. มาตรฐานที่ ๒ การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานนอกระบบ(ม.๑, ๒, ๓, ๔, ๖ และ ๘) มี ๖ ตัวบ่งชี้

  36. ๒.๑ ระดับคุณภาพของหลักสูตร เกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับตัวบ่งชี้

  37. ๒.๒ ระดับคุณภาพของผู้สอน เกณฑ์การพิจารณา ๒.๒.๑ มีจำนวนครูที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพียงพอเหมาะสม ๒.๒.๒ ครูมีคุณธรรม จริยธรรม และปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณและจิตวิญญาณความเป็นครู ๒.๒.๓ ครูมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชนและเพื่อนร่วมงาน ๒.๒.๔ ครูมีความมุ่งมั่นและอุทิศตนในการสอนและพัฒนาผู้เรียน ๒.๒.๕ ครูมีแผนการสอนครบถ้วนตามรายวิชาที่สอน ๒.๒.๖ ครูที่จบระดับปริญญาตรีทางด้านการศึกษาขึ้นไป หรือได้รับการพัฒนาให้มีคุณวุฒิทางการศึกษา ๒.๒.๗ครูสอนตรงตามวุฒิหรือผ่านการอบรมในรายวิชาที่สอน (เฉพาะวิชาหลัก) ๒.๒.๘ ครูได้รับการพัฒนาในวิชาที่สอนหรือวิชาครูไม่ต่ำกว่า ๒๐ ชั่วโมงต่อปี

  38. เกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับตัวบ่งชี้เกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับตัวบ่งชี้

  39. ๒.๓ระดับความพึงพอใจของผู้เรียนต่อกระบวนการเรียนรู้๒.๓ระดับความพึงพอใจของผู้เรียนต่อกระบวนการเรียนรู้ เกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับตัวบ่งชี้

  40. ๒.๔ ระดับความสำเร็จของการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เกณฑ์การพิจารณา ๒.๔.๑ ครูมีความรู้ความเข้าใจเป้าหมายของการจัดการศึกษา และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒.๔.๒ ครูมีการวิเคราะห์ศักยภาพของผู้เรียนและเข้าใจผู้เรียนเป็นรายบุคคล ๒.๔.๓ ครูมีความสามารถในการจัดประสบการณ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ๒.๔.๔ ครูมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองและผู้เรียน ๒.๔.๕ ครูมีการประเมินผลการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับสภาพการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนและอิงพัฒนาการของผู้เรียน ๒.๔.๖ ครูมีการนำผลการประเมินมาปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ ๒.๔.๗ ครูมีการวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อและการเรียนรู้ของผู้เรียนและนำผลไปใช้พัฒนาผู้เรียน

  41. เกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับตัวบ่งชี้เกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับตัวบ่งชี้

  42. ๒.๕ ระดับคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา เกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับตัวบ่งชี้

  43. ๒.๖ร้อยละของผู้เรียนที่จบตามเกณฑ์๒.๖ร้อยละของผู้เรียนที่จบตามเกณฑ์ เกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับตัวบ่งชี้

  44. มาตรฐานที่ ๓การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและทักษะชีวิต(ม.๑, ๒, ๓, ๔, ๖ และ ๘) มี ๔ ตัวบ่งชี้

  45. เกณฑ์การพิจารณา ๓.๑.๑ หลักสูตรการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอาชีพและทักษะชีวิต สอดคล้องกับปรัชญาและวัตถุประสงค์ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ/เขต ๓.๑.๒ หลักสูตรการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอาชีพและทักษะชีวิต ตามแผนปฏิบัติงานของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ/เขต ตรงความต้องการจำเป็น ๓.๑.๓ ประชาชนในพื้นที่ที่ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ/เขต รับผิดชอบมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมและการให้บริการวิชาการและวิชาชีพ ๓.๑ ระดับคุณภาพของหลักสูตรการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและทักษะชีวิต

  46. เกณฑ์การพิจารณา(ต่อ) ๓.๑.๔ ผู้เข้ารับการอบรมหรือเข้าร่วมกิจกรรมจากหลักสูตรการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและทักษะชีวิต สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้พัฒนาอาชีพ พัฒนาทักษะอาชีพ และพัฒนาทักษะชีวิตของตนเองได้ ๓.๑.๕ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ/เขต มีการติดตามและประเมินผลหลักสูตรแล้วนำผลการประเมินไปปรับปรุงหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง ๓.๑ ระดับคุณภาพของหลักสูตรการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและทักษะชีวิต

  47. เกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับตัวบ่งชี้เกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับตัวบ่งชี้

  48. ๓.๒ จำนวนผู้เข้ารับบริการเพื่อการพัฒนาอาชีพและทักษะชีวิตเทียบกับเป้าหมาย เกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับตัวบ่งชี้

  49. ๓.๓ ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการเพื่อการพัฒนาอาชีพและ ทักษะชีวิต เกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับตัวบ่งชี้

  50. เกณฑ์การพิจารณา ๓.๔.๑ มีการจัดทำข้อมูลพื้นฐานหรือทำเนียบเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาในท้องถิ่น เพื่อให้บริการความรู้แก่ประชาชนในท้องถิ่น ๓.๔.๒ มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาในท้องถิ่น ๓.๔.๓ มีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมการให้ความรู้ และการให้บริการชุมชนที่ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองแก่ประชาชนในท้องถิ่น ๓.๔.๔ มีการจัดกิจกรรมตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมการให้ความรู้ และการให้บริการชุมชนที่ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองแก่ประชาชนในท้องถิ่น ๓.๔ ระดับคุณภาพของการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อการพัฒนาตนเองและส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

More Related