300 likes | 590 Views
บทที่ 5 ทรัพยากรคงคลัง ( Inventory Model). การเก็บสินค้าค้างไว้ในสต๊อก น้อยจนเกินไป อาจเกิดปัญหาของไม่พอใช้ หรือสินค้าไม่พอขาย นั่นหมายถึง การเสียโอกาสที่จะได้รับกำไร หรือการดำเนินงานหยุดชะงัก (เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสขึ้น).
E N D
บทที่ 5 ทรัพยากรคงคลัง (Inventory Model)
การเก็บสินค้าค้างไว้ในสต๊อกน้อยจนเกินไป อาจเกิดปัญหาของไม่พอใช้ หรือสินค้าไม่พอขาย นั่นหมายถึง การเสียโอกาสที่จะได้รับกำไร หรือการดำเนินงานหยุดชะงัก (เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสขึ้น)
การเก็บสินค้าไว้มากจนเกินไป นอกจากจะทำให้เงินทุนจมอยู่ในทรัพยากรคงคลังแล้ว ยังก่อให้เกิดตันทุนต่างๆ เช่น ต้นทุนการดูแลรักษา ค่าเช่าโกดังสินค้า ค่าใช้จ่ายอันเกิดจากสินค้าเสื่อมสภาพ หรือล้าสมัย
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทรัพยากรคงคลัง มี 4 ประเภท 1. ต้นทุนผลิตภัณฑ์ (Product Cost) 2. ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อทรัพยากร (Ordering Cost) 3. ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาทรัพยากรคงคลัง (Holding Cost or Carrying Cost) 4. ค่าใช้จ่ายในการขาดแคลนทรัพยากร (Shortage Cost or Stock-out Cost)
ค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายรวม ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา (Holding Cost) ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ ( Ordering Cost) ปริมาณการสั่งซื้อ
ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด (Economic Order Quantity : EOQ)ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด( EOQ)คือ ปริมาณการสั่งซื้อที่ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ และค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษารวมกันแล้วเกิดน้อยที่สุด ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุดจะอยู่ ณ จุดที่ค่าใช้จ่ายทั้งสองเท่ากัน (ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ = ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา )
สัญลักษณ์ที่ใช้ในตัวแบบมีดังนี้K = ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ หรือเตรียมการผลิตต่อครั้งH = ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาทรัพยากรต่อหน่วย C = ราคาทรัพยากรต่อหน่วย Q = ปริมาณการสั่งซื้อต่อครั้ง D = ความต้องการใช้ทรัพยากรทั้งหมด TC = ค่าใช้จ่ายรวม
สูตรในการคำนวณปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด Q* = สูตรในการคำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมด TC = DK + QH + CD Q 2
ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ = DK Q ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา = QH 2 ต้นทุนของสินค้า = CD
ตัวอย่าง บริษัทพัฒนาอุตสาหกรรม จำกัด ผู้ผลิตวิทยุกระเป๋าหิ้ว สั่งซื้อส่วนประกอบชนิดหนึ่ง เพื่อใช้ในการผลิตวิทยุจากบริษัทไทยรุ่งเรือง ประมาณว่า บริษัทต้องการใช้ส่วนประกอบนี้ ปีละ 3,500 ชิ้น โดยมีต้นทุนชิ้นละ 10 บาท จากการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย ประมาณว่าในการสั่งซื้อสินค้านี้แต่ละครั้งจะเสียค่าใช้จ่าย 70 บาท และต้นทุนการเก็บรักษาคิดเป็นเงินชิ้นละ 25 สตางค์ต่อปี จงหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุดและค่าใช้จ่ายทั้งหมด
วิธีทำD = 3,500 ชิ้นC = 10 บาทK = 70บาทH = 0.25 บาท/ชิ้น
สูตร Q* = = = 1,400ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด คือ 1,400 ชิ้น
TC = DK + QH + CD Q 2 = 3,500 (70) + 1,400 (0.25) + 10 (3,500) 1,400 2 = 175 + 175 + 35,000 = 35,350ค่าใช้จ่ายรวม คือ 35,350
ตัวอย่าง 5.1 (หน้า 106)วิธีทำ D = 1,200 หน่วยC = 10 บาทK = 20 บาท H = 1.2 บาท / หน่วย (0.12*10)
สูตร Q* = = = 200 ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด = 200 ชิ้น
TC = DK + QH + CD Q 2 = 1,200 (20) + 200(1.2) + 10(1,200) 200 2 = 120 + 120 + 12,000 = 12,240 บาท
2. ตัวแบบพื้นฐานที่มีการลดราคาทรัพยากร ในตัวแบบที่จะพิจารณาต่อไปนี้ จะกำหนดให้ราคาทรัพยากรมีการลดลง หากมีการซื้อในปริมาณที่มากขึ้น ดังนั้น สัญลักษณ์ C ที่เคยคงที่ในตัวแบบนี้จะกำหนดให้เป็น Cj ซึ่งจะมีมากกว่า 1 ค่า
ส่วนค่าใช้จ่ายในการขาดมือทรัพยากร ไม่มีเพราะไม่อนุญาตให้มีการขาดมือ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาทรัพยากรต่อหน่วย จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือh^ = ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาต่อหน่วยที่ไม่ผันแปรตาม มูลค่าทรัพยากร เช่น ค่าเช่าสถานที่ i = ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาต่อหน่วยที่ผันแปร ตามมูลค่า ทรัพยากร เช่น ค่าดอกเบี้ย ค่าเบี้ยประกันดังนั้น H = h^ + iCj
สูตรในการคำนวณ ในกรณีมีการลดราคาสินค้า Q* = TC = + (h^+iCj)+CjD
ตัวอย่างที่ 5.11 (หน้า 126) ร้านกีฬาไทยสั่งทำไม้เทนนิสจำหน่าย โดยร้านที่จำหน่ายไม้เทนนิสให้ร้านกีฬาไทย คิดราคาไม้เทนนิสตามปริมาณการสั่งซื้อ ดังนี้ หากสั่งซื้อครั้งละไม่เกิน 9 อัน คิดราคาอันละ 250 บาท หากสั่งซื้อเกิน 9 อัน แต่ไม่เกิน 40 อัน คิดราคาอันละ 237.50 บาท หากซื้อเกิน 40 อัน คิดราคาอันละ 225 บาท ในการสั่งซื้อไม้เทนนิสจากร้านจำหน่ายนั้น ร้านกีฬาไทยประมาณว่าเสียค่าใช้จ่ายครั้งละ 100 บาทและไม้เทนนิสที่ ร้านกีฬาไทยเก็บไว้ในสต๊อก จะเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาอันละ 12.50 บาท ต่อเดือน ร้านกีฬาไทยจะต้องเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินทุน 12 เปอร์เซนต์ต่อปี ร้านกีฬาไทยควรสั่งซื้อไม้เทนนิสมาจำหน่ายครั้งละเท่าใดจึงจะเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
วิธีทำ K = 100บาท/ครั้ง h = 12.50 บาท/อัน/เดือน i = 12% ต่ออัน/ปี หรือ 1% ต่ออัน/เดือน C1 = 250 บาท เมื่อ Q 9 C2 = 237.50 บาท เมื่อ 9 < Q2 40 C3 = 225 บาท เมื่อ Q3 > 40 D = 9 อัน/เดือน
Q*1 == 10.95 (เป็นจำนวนที่เป็นไปไม่ได้)
Q*3 = = 11.047 (เป็นจำนวนที่เป็นไปไม่ได้)
Q*2 == 11 (เป็นจำนวนที่เป็นไปได้)
หาค่า TC เมื่อ Q = 11 TC = DK + Q (h^ + iCj) + CjD Q 2 = 9(100) + 11 (12.50 + 0.01*237.5)+ 237.5 (9) 11 2 = 81.8 + 81.8 + 2,137.5 = 2,301.1 บาท
ปรับค่า Q* Q1 = 9 (เป็นปริมาณที่ใกล้กับที่เป็นไปได้ตามเงื่อนไขราคา) TC = DK + Q (h^ + iCj) + CjD Q 2 = 9 (100) + 9 (12.50+0.01*250) + 250 (9) 9 2 = 100 + 67.5 + 2,250 = 2,417.5 บาท
Q3 = 41 ( เป็นปริมาณที่ใกล้กับที่เป็นไปได้ตามเงื่อนไขราคา) TC = DK + Q (h^ + iCj) + CjD Q 2 = 9 (100) + 41 (12.50 + 0.01 * 225) + 225 (9) 41 2 = 21.95 +302.37 + 2025 = 2,349.32
เปรียบเทียบค่า TC แล้วเลือกทางเลือกที่ให้ค่า TCต่ำสุด TC ( Q1 = 9 ) = 2,417.5 TC ( Q2 = 11) = 2,301.1 TC ( Q3 = 41) = 2,349.3 ควรสั่งไม้เทนนิส 11 อัน เพราะ มีค่า TC ต่ำที่สุด เท่ากับ 2,301.1 บาท / เดือน