390 likes | 520 Views
ทางเลือกของสังคม (2) กรณีศึกษา. สฤณี อาชวานันทกุล Fringer | คนชายขอบ http://www.fringer.org/ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน , 8 กรกฎาคม 2550.
E N D
ทางเลือกของสังคม (2)กรณีศึกษา สฤณี อาชวานันทกุล Fringer | คนชายขอบ http://www.fringer.org/ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, 8 กรกฎาคม 2550 งานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ Creative Commons แบบ Attribution Non-commercial Share Alike (by-nc-sa) โดยผู้สร้างอนุญาตให้ทำซ้ำ แจกจ่าย แสดง และสร้างงานดัดแปลงจากส่วนใดส่วนหนึ่งของงานนี้ได้โดยเสรี แต่เฉพาะในกรณีที่ให้เครดิตผู้สร้าง ไม่นำไปใช้ในทางการค้า และเผยแพร่งานดัดแปลงภายใต้ลิขสิทธิ์เดียวกันนี้เท่านั้น
กรณีศึกษา • การประกันภัยสภาพอากาศ (weather insurance) • DualCurrency Systems • BENETECH • CAMPFIRE program ในซิมบับเว
การประกันภัยสภาพอากาศ (weather insurance) ระบบการเงินโลกกับเกษตรกรรายย่อย
Low probability High Consequence Extremely low yields High probability Low Consequence Reduced yields Low probability High Consequence Extremely low yields Extreme weather events (droughts) Normal weather Extreme weather events (excess rainfall or flood) The producers generally perceive this as their risk ความเสี่ยงในการเพาะปลูก: high probability+low consequence/low probability+high consequence
ปัญหาของประกันผลิตผลทางเกษตรปัญหาของประกันผลิตผลทางเกษตร • กรมธรรม์ประกันผลิตผลทางเกษตร • Multi-Peril Crop Insurance (MPCI): ประกันผลิตผลที่ผ่านมาไม่คุ้มทุน (ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสูงเกินไป) • Named Peril Crop Insurance: ประกันความเสียหายต่อพืชผลใช้ได้สำหรับความเสียหายเฉพาะบางท้องถิ่นเท่านั้น • ปัญหาหลักของกรมธรรม์ประกันผลผลิต • การคำนวณมูลค่าความเสียหาย และข้อมูลที่นาแต่ละผืน • ปัญหา moral hazard(เกษตรกรไม่ดูแลพืชที่ทำประกันแล้ว) • ปัญหา adverse selection (เกษตรกรมีแนวโน้มปลูกแต่พืชที่ได้ประกัน แม้ว่าอาจไม่ตรงกับสภาพอากาศหรือความต้องการของตลาด) • ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบและบริหารจัดการสูงมาก ต้องใช้เงินอุดหนุนจากรัฐในระดับสูง
กรมธรรม์บนพื้นฐานดัชนี (index-based insurance) • กรมธรรม์บนพื้นฐานดัชนีให้การคุ้มครองบนมูลค่าของ “ดัชนี” (index) ไม่ใช่มูลค่าความเสียหายในไร่นา • ดัชนีคือตัวแปรที่มีมูลค่าแปรผันตามระดับความเสียหาย แต่ผู้เอาประกันไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ • ตัวอย่างดัชนีเช่น ปริมาณน้ำฝน, อุณหภูมิ, ผลิตผลระดับภูมิภาค, ระดับน้ำในแม่น้ำ • กรมธรรม์บนพื้นฐานดัชนีช่วยแก้ปัญหาด้านอุปทาน (supply-side problems) ส่วนใหญ่ที่เป็นปัญหาของกรมธรรม์ผลิตผลทางเกษตรแบบดั้งเดิม
คุณสมบัติหลักๆ ของดัชนี • สังเกตได้และวัดง่าย • เป็นข้อมูลอัตตวิสัย (objective) • มีความโปร่งใส • ตรวจทานได้โดยผู้ประเมินอิสระ • สามารถรายงานข้อมูลได้ทันท่วงที • มีความมั่นคงและยั่งยืน วัดได้ตลอดไป ดัชนีที่เกี่ยวกับสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถนำมาใช้สร้างกรมธรรม์ที่คุ้มครองเกษตรกรรายย่อยจากความเสี่ยงด้านดินฟ้าอากาศ ซึ่งเป็นความเสี่ยงสูงสุดในอาชีพนี้
ตลาดประกันสินค้าเกษตรมีมูลค่า $7 พันล้าน ที่มา: http://www.forumforthefuture.org.uk/docs/page/52/493/4%20William%20Dick.pdf
หลักการของกรมธรรม์ประกันภัยแล้งหลักการของกรมธรรม์ประกันภัยแล้ง • ประเภท : กรมธรรม์ประกันภัยแล้ง โดยจ่ายเงินบนพื้นฐานของดัชนีน้ำฝน (rainfall index) • สร้างจากข้อมูลของปริมาณฝนในอดีตเพื่อคำนวณ “ระดับปกติ” ของน้ำฝน (ที่ทำให้ผลผลิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ) เรียกค่านี้ว่า ‘ดัชนีขั้นต่ำ’ (threshold) • ถ้าดัชนีที่เกิดขึ้นจริงต่ำกว่าดัชนีขั้นต่ำ (threshold) บริษัทประกันต้องจ่ายเงินชดเชยเกษตรกรตามส่วนต่าง • ผู้ทำประกัน : เกษตรกร โดยในระยะเริ่มแรกอาจต้องมีการช่วยอุดหนุนจากภาครัฐ • ผู้ให้ประกัน : บริษัทประกันภัย หรือ ธกส. (เบื้องต้น?) • บทบาทของรัฐบาล : ให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ เช่น การเผยแพร่แนวคิด และประชาสัมพันธ์แก่เกษตรกร
กรมธรรม์ประกันภัยแล้ง vs. การประกันราคาสินค้าเกษตร
ตัวอย่างโครงสร้างการจ่ายเงินประกัน: กรมธรรม์ประกันภัยแล้งในลิลองเว ประเทศมาลาวี ที่มา: http://www.forumforthefuture.org.uk/docs/page/52/493/4%20William%20Dick.pdf
*Maize yields are particularly sensitive to rainfall during the tasseling stage and the yield formation stage – rainfall during the latter phase determines the size of the maize grain Sowing and establishment period is also critical crop survival Diagram taken from the FAO’s maize water requirement report* ปฏิทินเพาะปลูกของข้าวโพด ประเทศมาลาวี • A rainfall index is normally split into 3 or more crop growth phases • Objective: maximise the correlation between index and loss of crop yield
การใช้กรมธรรม์ : ประสบการณ์ของธนาคารโลก
ประเทศที่ธนาคารโลกช่วยพัฒนากรมธรรม์ประเทศที่ธนาคารโลกช่วยพัฒนากรมธรรม์ • Deals transacted: • Argentina I – Weather insured seed credit • Argentina II – Dairy yield protection against low rainfall • South Africa – Apple co-operative freeze cover • India – Approximately 250,000 insured against poor monsoon • Mexico – Crop insurance portfolio reinsurance through weather derivative structure • Canada (Ontario) - Forage insurance with weather indexation • Canada (Alberta) - Heat index insurance for maize • Ukraine – Winter wheat protection against weather risks • Malawi – Weather insurance pilot for groundnut farmers • Ethiopia – WFP Drought Insurance • Under preparation: • Morocco – Wheat yield protection against drought • Zambia – Maize yield protection against drought • Nicaragua – Bank-intermediated weather insurance for groundnut farmers • Thailand – Bank-intermediated weather insurance
โครงสร้างการส่งผ่านความเสี่ยงโครงสร้างการส่งผ่านความเสี่ยง เกษตรกร ทำสัญญากรมธรรม์ประกันภัยอากาศ สหกรณ์/กองทุน บริษัทประกัน / หน่วยงานรัฐ / ธกส? ตลาดในประเทศ ตลาดต่างประเทศ สนธิสัญญารับประกันภัยต่อ บริษัทรับประกันภัยต่อ ซื้อตราสารอนุพันธ์ ตลาดประกันความเสี่ยง market exchange/maker
โครงการนำร่อง : กรมธรรม์ชดเชยกรณีภัยแล้ง จ. เพชรบูรณ์ วงเงินที่ได้รับความคุ้มครองจะถูกกำหนดโดยอ้างอิงจากต้นทุนการเพาะปลูกเป็นหลัก (ตัวเลขสมมติ)
โครงการนำร่อง : กรมธรรม์ชดเชยกรณีน้ำท่วม (ข้าวโพด จ.นครราชสีมา) • เป็นนวัตกรรมใหม่ของวงการประกันภัย เนื่องจากเริ่มทดลองในประเทศไทยเป็นแห่งแรก
กรมธรรม์ประกันภัยน้ำท่วมใช้หลักการเดียวกันกรมธรรม์ประกันภัยน้ำท่วมใช้หลักการเดียวกัน “Medium Risk” Pricing Zone “High Risk” Pricing Zone LA1 LA2 LA4 LA3 River LA5 “Low Risk” Pricing Zone
ความคืบหน้าโครงการนำร่อง (?) • ในปี 2549 ธนาคารโลกอยู่ระหว่างการจัดทำร่าง MOU โดยจะนำแผนการดำเนินงานในปี 2549 เป็นส่วนหนึ่งของ MOU และเสนอให้ส่วนงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยพิจารณาก่อนมีการลงนามใน MOU • ธนาคารโลกได้ให้บริษัท PASCO ทำการศึกษาด้านเทคนิคเบื้องต้นในการจัดทำประกันภัยพืชผลโดยใช้ดัชนีภูมิอากาศในประเทศไทย โดยคาดว่าในปีการผลิต 2549 (?) จะดำเนินงานเพื่อทดสอบระบบการประกันภัยพืชผล เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานโครงการนำร่องในพื้นที่ที่กำหนดต่อไป
DualCurrency Systems ระบบเงินตราเพื่อกำจัดความไร้ประสิทธิภาพและช่วยสังคม
ผลิตภาพที่สูงขึ้นหายไปไหน?ผลิตภาพที่สูงขึ้นหายไปไหน? ? ศักยภาพล้นเกิน (เช่น mileage เครื่องบินไม่ได้ใช้) = ความไร้ประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจ
ปัญหาเกิดจากการแข่งขันมากเกินไปปัญหาเกิดจากการแข่งขันมากเกินไป ที่มา: http://www.dualcurrency.com/files/wpcomplete.pdf
DualCurrency สร้างระบบเงินตราใหม่ ที่มา: http://www.dualcurrency.com/files/wpcomplete.pdf
ตัวอย่างธุรกรรมผ่าน DCNet ที่มา: http://www.dualcurrency.com/files/wpcomplete.pdf
ตัวอย่างธุรกรรมผ่าน DCNet (ต่อ) ประโยชน์ของ DualCurrency • ลูกจ้างได้ประโยชน์จากการใช้กำลังซื้อที่ไม่ใช่ตัวเงิน และได้ค่าตอบแทนจากการช่วยสังคม • นายจ้างได้ประโยชน์จากลูกจ้างที่มีความสุขกับการทำงานมากขึ้น • ร้านค้าต่างๆ ขายสินค้าได้มากขึ้น • สังคมได้ประโยชน์จากอาสาสมัครทางสังคม (ที่ได้รับ ‘ค่าตอบแทน’ เป็น Business Dollars)
BENETECH ช่วยเหลือคนจนด้วยไฮเทค
โมเดลของ BENETECH: break-even tech ที่มา: http://www.benetech.org/about/business_model.shtml
Arkenstone Reader Bookshare.org • คอลเล็กชั่นหนังสือดิจิตัลที่ใหญ่ที่สุดในโลก: หนังสือ 32,850 เล่ม และวารสาร 150 ฉบับ แปลงเป็นภาษาเบรลล์ ตัวพิมพ์ใหญ่ หรือไฟล์เสียง • ร่วมกันดูแลโดยอาสาสมัคร 200 คน ส่วนใหญ่เป็นคนตาบอด อาสาสมัครคนหนึ่งบริจาคหนังสือ 3,000 เล่ม ที่เขาสแกนทุกวันติดกัน 10 ปี ที่มา: http://www.kaires.kendal.org/Text%20reader%20(talks)+--.jpg • ขายเครื่องสแกนหนังสือสำหรับคนตาบอดยี่ห้อ Arkenstone ให้กับคนตาบอด 35,000 คน ใน 60 ประเทศ & 12 ภาษา • Jim Fruchteman นำรายได้จากการขายเครื่องนี้มาก่อตั้ง BENETECH ($3m)
Route 66 บริการสอนอ่านเขียนผ่านเว็บ
Martus: ระบบช่วยงานองค์กรสิทธิมนุษยชน • BENETECH พัฒนาระบบซอฟต์แวร์ชื่อ “Martus Human Rights Bulletin System” เพื่อช่วยองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนเก็บข้อมูล จัดระเบียบ และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนทั่วโลก • Martus ช่วยให้องค์กรพัฒนาเอกชนสามารถสร้างและจัดเก็บฐานข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์ของ Martus • เป็นโค้ดเสรี (open source) ดังนั้นจึงต่อเติมและดัดแปลงได้ง่ายโดยไม่มีค่าใช้จ่าย • ให้การสนับสนุนด้านเทคนิคแก่องค์กรพัฒนาเอกชนจาก 13 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย
CAMPFIRE Program ในซิมบับเว การบริหารจัดการทรัพยากรชุมชน
วัฒนธรรมท้องถิ่นในซิมบับเววัฒนธรรมท้องถิ่นในซิมบับเว • ประชากรกว่า 5 ล้านคนอาศัยอยู่ใน ‘พื้นที่ชุมชน’ (communal land) ซึ่งกินพื้นที่กว่าครึ่งประเทศซิมบับเว • ความเชื่อในวัฒนธรรมท้องถิ่นของซิมบับเวมีกลไกควบคุมการล่าสัตว์ป่าที่ได้ผลกว่ากฎหมาย เพราะเชื่อว่าการละเมิดจะทำให้ฟ้าดินลงโทษ • ชาวบ้านทุกคนเป็นสมาชิกเผ่า แต่ละเผ่ามีรูปสลักบนเสา (totem) เป็นสัญลักษณ์ • Totem เหล่านี้ห้ามสมาชิกเผ่าฆ่าสัตว์ประเภทใดประเภทหนึ่งเช่น ช้าง ม้าลาย และควายป่า
ปัญหา : เจ้าหน้าที่อุทยาน vs. ชาวบ้าน • พื้นที่ประมาณร้อยละ 12 ของซิมบับเวเป็นพื้นที่สงวนในเขตอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าบางชนิดในเขตอุทยานแห่งชาติแพร่พันธุ์เร็วมากจนก่อให้เกิดความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ช้างป่า และสัตว์ป่าบางชนิดก็มีปัญหาทางพันธุกรรมจากการผสมพันธุ์กับญาติพี่น้องเชื้อสายเดียวกัน (inbreeding) • ชาวบ้านจำนวนมากถูกไล่ที่เมื่อรัฐสถาปนาอุทยานแห่งชาติ ส่วนใหญ่ใช้ชีวิตต่อไปบนพื้นที่ชุมชนในเขตใกล้เคียง สัตว์ป่ามักออกมาเดินนอกเขตอุทยาน ทำลายพืชผล ทำร้ายสัตว์เลี้ยงและบางครั้งก็ทำร้ายมนุษย์ด้วย • ปัญหานี้นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านและเจ้าหน้าที่อุทยาน นำไปสู่การล่าสัตว์ป่าอย่างผิดกฎหมายบ่อยครั้ง • ชาวบ้านมองสัตว์ป่าว่าน่ารำคาญ ไม่ใช่ทรัพยากรที่มีค่า
การขยายพันธุ์อันรวดเร็วของช้างป่าการขยายพันธุ์อันรวดเร็วของช้างป่า
กำเนิดโครงการ CAMPFIRE • CAMPFIRE (Communal Areas Management Programme for Indigenous Resources) เป็นโครงการที่รัฐบาลซิมบับเวริเริ่มกลางทศวรรษ 1980 • ออกแบบมาเพื่อสร้างสมดุลระหว่างการรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และการพัฒนาชนบทจากรายได้ที่มาจากสัตว์ป่า • สนับสนุนให้ชาวบ้านร่วมกันบริหารจัดการและควบคุมประชากรสัตว์ป่า และระบบนิเวศในชุมชนด้วยตัวเอง • เปลี่ยนความคิดของชาวบ้าน จนมองสัตว์ป่าว่าเป็นทรัพยากรสำคัญ
วิธีสร้างรายได้ของชุมชนใน CAMPFIRE • สัมปทานล่าสัตว์: รายได้กว่าร้อยละ 90 ในโครงการ CAMPFIRE มาจากการขายสัมปทานล่าสัตว์ให้นักล่าสัตว์มืออาชีพ และผู้ประกอบการซาฟารี ภายใต้โควตาที่รัฐบาลตั้ง เช่น นักล่าสัตว์ต้องจ่ายเงิน US$12,000 เพื่อล่าช้างและควายป่า และต้องอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิดของมืออาชีพท้องถิ่นที่ได้รับใบอนุญาต • การล่าสัตว์แบบนี้ถือเป็น ‘การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ’ (ecotourism) ชั้นดี เพราะรัฐไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอุดหนุนนักท่องเที่ยว ทำความเสียหายต่อระบบนิเวศท้องถิ่นน้อยมาก แต่ทำรายได้สูง • ขายสัตว์ป่า:ชุมชนในพื้นที่ที่มีประชากรสัตว์ป่าจำนวนมากขายสัตว์ป่าให้กับอุทยานแห่งชาติหรือพื้นที่สัตว์สงวน
วิธีสร้างรายได้ของชุมชนใน CAMPFIRE (ต่อ) • ขายของป่า: ภายใต้โครงการ CAMPFIRE ชาวบ้านขายของที่เก็บได้ในป่า เช่น ไข่จระเข้ ให้กับนักท่องเที่ยวและคนต่างถิ่น • การท่องเที่ยว:ในอดีต รายได้ส่วนใหญ่จากนักท่องเที่ยวตกเป็นของบริษัททัวร์ ไม่ใช่ของชุมชนท้องถิ่น แต่โครงการ CAMPFIRE พัฒนาโปรแกรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และเชิงวัฒนธรรม เช่น ทัวร์ดูนก และทัวร์บ่อน้ำพุร้อน โดยจ้างชาวบ้านเป็นทัวร์ไกด์ และบริหารจัดการที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว • ขายหนังและเนื้อสัตว์ป่า: ในบริเวณที่มีสัตว์ป่าบางชนิดชุกชุม เช่น ละมั่ง กรมอุทยานแห่งชาติก็ดูแลให้ชาวบ้านฆ่าและขายหนังและเนื้อสัตว์ได้
โครงสร้างการจัดการ CAMPFIRE • หมู่บ้านแต่ละแห่งที่เข้าร่วมโครงการ CAMPFIRE แต่งตั้ง “คณะกรรมการสัตว์ป่า” (wildlife committee) ซึ่งมีหน้าที่นับสัตว์ป่าในบริเวณทุกเดือน ลาดตระเวนไม่ให้มีการลักลอบฆ่าสัตว์ และให้การศึกษาต่อชาวบ้าน • ทางการฝึกสอนนักสำรวจ (game scout) เพื่อช่วยสอดส่องดูแลป่าและบริหารประชากรสัตว์ป่า • กรมอุทยานจัด workshop ทุกปีเพื่อกำหนดโควตาการล่าสัตว์ประจำปีร่วมกันกับชาวบ้าน โดยคำนึงถึงศักยภาพของพื้นที่ในการรองรับประชากรสัตว์แต่ละชนิด (carrying capacity) • World Wildlife Fund (WWF) ช่วยในการนับจำนวนประชากรสัตว์ป่าโดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ • เจ้าของบริษัททัวร์ต้องเก็บข้อมูลสัตว์ป่าที่ลูกทัวร์ฆ่าอย่างละเอียด และรายงานข้อมูลต่อรัฐก่อนที่จะได้รับโควตาใหม่
การใช้เงินรายได้จาก CAMPFIRE • สภามณฑล (District Council) เป็นผู้จัดเก็บรายได้จาก CAMPFIRE และใช้รายได้นั้นตามเกณฑ์ที่ CAMPFIRE แนะนำ ได้แก่: • 80% ของรายได้มอบให้กับชุมชนท้องถิ่นโดยตรง ซึ่งจะตัดสินใจร่วมกันว่าจะนำเงินไปใช้ทำอะไร • 20% ที่เหลือเป็นของสภามณฑล ใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการโครงการ CAMPFIRE ในพื้นที่ • มณฑล 26 แห่งที่ร่วมโครงการ หารายได้กว่า US$1.4 ล้านจาก CAMPFIRE ในปี 1993 เพียงปีเดียว • ในปีที่รายได้ดี ชาวบ้านจะนำรายได้ไปพัฒนาชุมชน เช่น สร้างสถานีอนามัยและโรงเรียน ขุดบ่อน้ำบาดาล สร้างถนน จ้างทัวร์ไกด์ ในปีที่รายได้ไม่ดี ชาวบ้านมักนำเงินไปซื้ออาหาร เช่น ข้าวโพด มาเผื่อยามขาดแคลน • ตั้งแต่ปี 1989 ชาวบ้านกว่า 250,000 คน มีส่วนร่วมในโครงการ CAMPFIRE