400 likes | 666 Views
แผนพัฒนาตลาดทุนไทย. คณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทย. 4 พฤศจิกายน 2552. หัวข้อของการนำเสนอ. ความสำคัญของตลาดทุนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ความท้าทายของตลาดทุนไทย และความจำเป็นของการจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทย การจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ปี 2552 – 2556 องค์ประกอบของคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทย
E N D
แผนพัฒนาตลาดทุนไทย คณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทย 4 พฤศจิกายน 2552
หัวข้อของการนำเสนอ • ความสำคัญของตลาดทุนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ • ความท้าทายของตลาดทุนไทย และความจำเป็นของการจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทย • การจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ปี 2552 – 2556 • องค์ประกอบของคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทย • วิสัยทัศน์และพันธกิจของแผนพัฒนาตลาดทุนไทย • 8 มาตรการปฏิรูปตลาดทุนไทย • ร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตลาดทุนที่จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี • แนวทางการติดตามและประเมินผล 1
ความสำคัญของตลาดทุนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจความสำคัญของตลาดทุนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ 2
1. ตลาดทุนที่กว้างและลึกจะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 1.1 ช่วยให้ธุรกิจสามารถเพิ่มส่วนทุนสำหรับการขยายธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยต้นทุนการเงินที่เหมาะสม 1.2 เป็นช่องทางการออมและการระดมทุนสำหรับภาคเอกชนเพิ่มเติมจากระบบธนาคารพาณิชย์ 1.3 เป็นแหล่งระดมทุนของภาครัฐสำหรับการชดเชยการขาดดุลงบประมาณและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ 1.4 เอื้อต่อการพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผ่านธุรกิจเงินร่วมลงทุน หรือ venture capital 1.5 เป็นช่องทางในการระดมทุนจากต่างประเทศ 1.6 กระตุ้นให้เกิดระบบบรรษัทภิบาลที่ดี เนื่องจากธุรกิจที่ระดมทุนผ่านตลาดทุนต้องมีความโปร่งใส และการบริหารจัดการที่ดี 1.7 กระตุ้นให้บริษัทจดทะเบียนต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา เพราะจะถูกเปรียบเทียบกับบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกันในต่างประเทศ 3
2. ตลาดทุนเป็นแหล่งการออมระยะยาว เตรียมพร้อมสำหรับสังคมผู้สูงอายุ • ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ สัดส่วนประชากรวัยแรงงานต่อผู้สูงอายุในปี 2552 อยู่ที่ 6 : 1 และจะลดลงเหลือเพียง 3 : 1 ในปี 2572 แนวโน้มประชากรไทยในปี 2552 - 2572 4 ที่มา : International Labour Organization
มูลค่าการระดมทุนจากตลาดตราสารทุน ตลาดตราสารหนี้ และการเปลี่ยนแปลงยอดสินเชื่อคงค้าง ในช่วงปี 2537 – 2552* หน่วย: พันล้านบาท หน่วย: พันล้านบาท การระดมทุนผ่านตราสารทุน การเปลี่ยนแปลงยอดสินเชื่อคงค้าง การระดมทุนผ่านตราสารหนี้ 11,500 11,334 8,762 6,270 3,078 3. ตลาดทุนเป็นแหล่งระดมทุนที่สำคัญของประเทศ เมื่อเกิดวิกฤติ ระบบสถาบันการเงิน หมายเหตุ: * ตราสารทุน (25/09/52), สินเชื่อ (06/2552), ตราสารหนี้ (Q3/2552) ที่มา: ตลท., ธปท., ThaiBMA 5
4. ตลาดทุนช่วยเอื้อประโยชน์ต่อภาคส่วนต่างๆ ของสังคม 4.1 ช่วยสนับสนุนการขยายธุรกิจของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งจะเพิ่มการจ้างงานให้แก่ประเทศ 4.2 ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ตลาดทุนจะเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ ส่งผลให้ระบบธนาคารพาณิชย์ให้ความสำคัญกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพิ่มขึ้น 4.3 เครื่องมือในตลาดทุนสามารถใช้เป็นกลไกในการบริหารความเสี่ยงได้ โดยเฉพาะความเสี่ยงที่เกิดจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ราคาสินค้าเกษตร และตัวแปรทางการเงินต่างๆ 4.4 บริษัทจดทะเบียนในตลาดทุนเป็นแหล่งรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่สำคัญของรัฐบาล โดยบริษัทจดทะเบียน 525 บริษัท จ่ายภาษีถึงร้อยละ 35 ของภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี 2551 6
ความท้าทายของตลาดทุนไทย และความจำเป็นของ การจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทย 7
Market capitalization Nominal GDP Market cap to - GDP Country Country Domestic debt outstanding Debt outstanding-to-GDP 2,059 953% Hong Kong US Japan 225% Korea 85% UK Singapore 244% Korea Malaysia 118% Malaysia Thailand Indonesia 39% Singapore 63% Thailand Hong Kong ตลาดทุนไทยมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจของประเทศ และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ตลาดตราสารทุน ตลาดตราสารหนี้ Domestic debt outstanding and Debt outstanding-to-GDP ratio Market capitalization, Nominal GDP, and Market cap-to-GDP ratio ข้อมูล ณ ธ.ค. 2551; หน่วย: พันล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา, ร้อยละ ข้อมูล Market capitalization ณ ก.ย 2552, ข้อมูล Nominal GDP ปี 2551; หน่วย : พันล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา, ร้อยละ 8 ที่มา: IFS และ BIS ที่มา: WFE และ IMF
2552 2548 Philippines & Indonesia 3% Philippines & Indonesia 3% ตลาดทุนไทยกำลังถูกลดบทบาท (marginalized) และมีขนาดเล็กลงอย่างต่อเนื่องในเวทีตลาดทุนโลก Weight in MSCI Asia ex Japan index หน่วย: ร้อยละ ; ข้อมูล ณ สิงหาคม 2552 ที่มา: Morgan Stanley Capital International (MSCI) 9
ประกันชีวิต กบข. ประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม นักลงทุนสถาบันมีจำกัดและลงทุนในหุ้นเป็นสัดส่วนน้อย สัดส่วนการถือครองหุ้นของสถาบันในประเทศของไทย สัดส่วนการลงทุนในหุ้นของกองทุนรวมเปรียบเทียบกับต่างประเทศ หน่วย: ร้อยละของมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร; ข้อมูล ณ มิถุนายน 2552 หน่วย: ร้อยละของมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร; ข้อมูล ณ ปี 2551 ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย ออสเตรเลีย ไทย ที่มา: รวบรวมโดย UBS- ฮ่องกง, สิงคโปร์, มาเลเซีย, ออสเตรเลีย AIMC – ไทย (2 ต.ค. 52) ที่มา: คปภ., กบข., สำนักงานประกันสังคม, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนรวม (2 ต.ค. 52) 10
ตลาดทุนไทยมีต้นทุนในการระดมทุนที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆตลาดทุนไทยมีต้นทุนในการระดมทุนที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ Forward P/E ratio หน่วย : เท่า; ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2552 Forward P/E ที่มา :Bloomberg Forward P/E Ratio : อัตราส่วนระหว่างราคาหลักทรัพย์ ณ เวลาปัจจุบัน และ มูลค่าผลตอบแทนต่อหุ้นคาดการณ์ของปี 2552 ของทุกหลักทรัพย์ในแต่ละประเทศ 11
การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับตลาดทุนใช้เวลานาน การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับตลาดทุนใช้เวลานาน • พรบ. หลักทรัพย์ฯ ได้กำหนดบทลงโทษไว้เฉพาะการลงโทษทางอาญาเท่านั้น ซึ่งการลงโทษต้องเป็นไปตามมาตรฐานการพิสูจน์จนสิ้นสงสัย • ใช้ระยะเวลานานในการดำเนินการกับคดีที่เกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรม ได้แก่ การปั่นหุ้น แพร่ข่าวเท็จ การใช้ข้อมูลภายใน ทุจริต ตกแต่งบัญชี และการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์เถื่อน • เฉลี่ย 2 ปี ตั้งแต่ ก.ล.ต. ตั้งเรื่องจนถึงเปรียบเทียบปรับหรือกล่าวโทษ • เฉลี่ย 5 ปี 7 เดือนตั้งแต่ ก.ล.ต. กล่าวโทษจนถึงคดีสิ้นสุดที่ศาลชั้นต้น 12
ธุรกิจเงินร่วมลงทุน (venture capital) ของไทยมีขนาดเล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. และ Securities Commission, Malaysia หมายเหตุ : * ช่วงปี 2543 – 2548 (ไทย :SET; มาเลเซีย :MESDAQ) 13
การจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ปี 2552 - 2556 14
องค์ประกอบของคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทยองค์ประกอบของคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทย • นายกรัฐมนตรีลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทย เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2552โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน • แผนพัฒนาตลาดทุนไทยจัดทำขึ้นโดยความร่วมมือของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง • ภาคเอกชน • สมาคมธนาคารไทย • สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ • สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย • สมาคมบริษัทจัดการลงทุน • สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย • สภาธุรกิจตลาดทุนไทย • มูลนิธิกองทุนพัฒนาระบบตลาดทุน • ภาครัฐ • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง • สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ • กรมพัฒนาธุรกิจการค้า • กรมสรรพากร • สำนักงานคณะกรรมการ นโยบายรัฐวิสาหกิจ • กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ • หน่วยงานกำกับดูแล • คณะกรรมการกำกับหลัก ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ • ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย • ธนาคารแห่งประเทศไทย • สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย 15
วิสัยทัศน์และพันธกิจของแผนพัฒนาตลาดทุนไทยวิสัยทัศน์และพันธกิจของแผนพัฒนาตลาดทุนไทย 16
วิสัยทัศน์ (VISION) ตลาดทุนไทยเป็นกลไกหลักในการรวบรวม จัดสรร และติดตามดูแลการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 17
พันธกิจ (MISSION) 1. ให้ผู้ลงทุนและผู้ระดมทุนสามารถเข้าถึงตลาดได้โดยง่ายและทั่วถึง 2. พัฒนาคุณภาพและความหลากหลายของสินค้าและบริการ 3. ลดต้นทุนทางการเงิน (cost of fund) และต้นทุนการทำธุรกรรม (intermediary and transaction cost) ให้ธุรกิจไทยสามารถแข่งขันได้ 4. สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพทั้งทางด้านกฎหมาย ระเบียบ บัญชีภาษี ข้อมูล เทคโนโลยี และการกำกับดูแล 5. ให้ผู้ลงทุนมีความรู้และได้รับความคุ้มครองอย่างเหมาะสม 6. ส่งเสริมการแข่งขันในตลาดทุนไทย และความเชื่อมโยงกับตลาดทุนโลก 18
8 มาตรการปฏิรูปตลาดทุนไทย 19
ยกเลิกการผูกขาดและการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) การเปิดเสรีและการเพิ่มประสิทธิภาพของสถาบันตัวกลาง การปฏิรูปกฎหมายสำหรับการพัฒนาตลาดทุน การปรับปรุงระบบภาษีสำหรับการพัฒนาตลาดทุน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน การจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) การสร้างวัฒนธรรมการลงทุนผ่านการออมระยะยาวให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง การพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ 8 มาตรการปฏิรูปตลาดทุนไทย 20
ยกเลิกการผูกขาดและการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) • สิ่งที่คาดหวัง • ตลท. มีโครงสร้างการถือหุ้นและการกำกับดูแลที่ชัดเจนในรูปแบบขององค์กรธุรกิจ ซึ่งจะเอื้อต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สามารถเปิดสิทธิการซื้อขายให้แก่ผู้ร่วมตลาดที่มิใช่สมาชิก (open access) และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ร่วมตลาดกลุ่มต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ • ตลท. แข่งขันได้กับตลาดหลักทรัพย์คู่แข่งและธุรกิจหลักทรัพย์รูปแบบใหม่ๆ ภายใต้สภาวะที่การเคลื่อนย้ายเงินทุนเป็นไปอย่างเสรี • มีกองทุนเพื่อการพัฒนาตลาดทุน (Capital Market Development Fund :CMDF) ที่รับผิดชอบงานการพัฒนาตลาดทุนโดยตรง มาตรการสำคัญที่จะดำเนินการ การปฏิรูป ตลท. และปรับเปลี่ยนสถานะ ตลท. เป็นบริษัทมหาชนจำกัด (Q2/2554) นำ บมจ. ตลาดหลักทรัพย์ไทยเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Q3/2554) 21
2. การเปิดเสรีและการเพิ่มประสิทธิภาพของสถาบันตัวกลาง • สิ่งที่คาดหวัง • สถาบันตัวกลางสามารถทำธุรกิจได้ครบวงจร และให้กลไกตลาดสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ • กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ รวมทั้งอำนวยความสะดวกสำหรับการทำธุรกรรมข้ามประเทศ และการนำผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศเข้ามาจำหน่าย • มาตรการสำคัญที่จะดำเนินการ • ให้บริษัทหลักทรัพย์และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน สามารถทำธุรกิจหลักทรัพย์ได้เต็มรูปแบบ โดยสามารถจัดโครงสร้างธุรกิจได้ตามต้องการ (มีผลบังคับใช้แล้วสำหรับผู้มีใบอนุญาตประเภทนายหน้า กรณีอื่นๆ สามารถขอใบอนุญาตใหม่ ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2555) • เปิดเสรีใบอนุญาตหลักทรัพย์ (เริ่ม 1 ม.ค. 2555) • เปิดเสรีค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ • - มูลค่าซื้อขาย >20 ล้านบาท (เริ่ม 1 ม.ค. 2553) • - เปิดเสรีทุกกรณี (เริ่ม 1 ม.ค. 2555) • ดำเนินการด้าน mutual recognition เพื่อรองรับการทำธุรกรรมข้ามประเทศ (Q1/2553) 22
3.การปฏิรูปกฎหมายสำหรับการพัฒนาตลาดทุน3.การปฏิรูปกฎหมายสำหรับการพัฒนาตลาดทุน • สิ่งที่คาดหวัง • มีกฎหมายที่สนับสนุนการควบรวมกิจการเพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจไทยมีความแข็งแกร่งและมีขนาดใหญ่ขึ้น • มีกระบวนการบังคับใช้กฎหมายสำหรับความผิดเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่ดำเนินการได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ • มาตรการสำคัญที่จะดำเนินการ • 1. ออกกฎหมายเพื่อส่งเสริมการควบรวมกิจการและการปรับโครงสร้างของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ให้มีความสะดวกมากขึ้น (Q4/2553) • 2. เพิ่มมาตรการบังคับทางกฎหมายสำหรับธุรกรรมที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่ผิดกฎหมายได้แก่ มาตรการทางแพ่งและมาตรการบังคับทางปกครอง (Q4/2553) • 3. ผลักดันร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีแบบกลุ่ม (class action) (Q4/2552) 23
4.การปรับปรุงระบบภาษีสำหรับการพัฒนาตลาดทุน4.การปรับปรุงระบบภาษีสำหรับการพัฒนาตลาดทุน • สิ่งที่คาดหวัง • ลดอุปสรรคทางภาษีที่ขัดขวางการทำธุรกรรมต่างๆ ในตลาดทุน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ • ระบบการจัดเก็บภาษีมีความเป็นกลาง และมีความทัดเทียมกันระหว่างผู้ลงทุนและผู้ระดมทุนกลุ่มต่างๆ • ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นแรงจูงใจสนับสนุนธุรกรรมตลาดทุนบางประเภทให้เกิดขึ้น มาตรการสำคัญที่จะดำเนินการ เสนอแก้ไขปรับปรุงกฎหมายภาษีต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในด้านต่างๆ ดังนี้ - การควบรวมกิจการ (Q4/2553) - การลงทุนในตราสารหนี้ (Q4/2552) - การลงทุนผ่านตัวกลาง (Q1/2553) - การขจัดภาระภาษีที่ซ้ำซ้อนสำหรับเงินได้ประเภทเงินปันผลในระดับนิติบุคคล (Q1/2553) - การโอนย้ายเงินออมในระบบการออมระยะยาว สำหรับผู้ที่เป็นสมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Q4/2552) - กองทุนการออมแห่งชาติ (Q1/2553) - การลงทุนในกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ (Q1/2553) - การลงทุนในตราสารการเงินที่ออกเพื่อระดมทุนตามหลักศาสนาอิสลาม (Q4/2552) - การส่งเสริมธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (Q4/2552) - การส่งเสริมธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Q1/2553) 24
5. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน (1/2) • สิ่งที่คาดหวัง • ตลาดทุนไทยมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีความลึกและความหลากหลาย และมีเครื่องมือบริหารความเสี่ยงครบถ้วน • ประชาชนสามารถเข้าถึงเครื่องมือการออมที่หลากหลายมากขึ้น • ช่วยลดภาระการระดมทุนของภาครัฐ มาตรการสำคัญที่จะดำเนินการ จัดทำโครงการการระดมทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศผ่านกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure fund) (Q1/2553) ส่งเสริมการออกกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ (annuity product) เพื่อเพิ่มทางเลือกรูปแบบการออมเงินระยะยาว (Q4/2552) เปิดให้ซื้อขายตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงอัตราดอกเบี้ย/พันธบัตรรัฐบาล (interest rate futures) เพื่อเพิ่มเครื่องมือบริหารความเสี่ยงด้านการเงิน (Q4/2553) ออกกฎเกณฑ์เพื่อรองรับการระดมทุนที่สอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลาม (Sukuk) (Q4/2552) ส่งเสริมธุรกิจเงินร่วมลงทุน (venture capital) (Q1/2553) นำหุ้นที่กระทรวงการคลังถืออยู่ในบริษัทจดทะเบียนกระจายในตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น (increase free float of listed SOEs) (Q4/2553) เริ่มกระบวนการนำบริษัทลูกหรือหน่วยธุรกิจใหม่ของรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (listing of SOEs/business units) (Q1/2553) 25
5. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน (2/2) • กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure fund) • กรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ (annuity product) • ตราสารอิสลาม (Sukuk) • ตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงอัตรา ดอกเบี้ย/พันธบัตรรัฐบาล (interest rate / bond futures) • นำหุ้นที่กระทรวงการคลังถืออยู่กระจายในตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น (increase free float from SOE listed share) • นำบริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยธุรกิจใหม่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (listing of SOEs/business unit) • ตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยน (currency (THB) futures) • นำบริษัทที่จะขอขยายสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจาก BOI เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (listing of company with extended BOI privileges) • นำบริษัทที่ได้รับสัมปทาน หรือได้รับใบอนุญาตจากภาครัฐเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์(listing of concessionaire) • พันธบัตรที่มีการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยตามอัตราเงินเฟ้ออ้างอิง (inflation-linked bond) • ตราสารการเงินที่หนุนหลังโดย หลักทรัพย์หรือสินค้าโภคภัณฑ์ (securities / commodity based instrument) • ดึงบริษัทที่ทำธุรกิจในอินโดจีน เข้าจดทะเบียนในตลาดหลัก ทรัพย์ (foreign listing)) • กรมธรรม์ประกันชีวิตควบการ ลงทุน (unit-linked product) • กองทุนคาร์บอนเครติด (carbon credit fund) มาตรการที่ 5 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน • ส่งเสริมธุรกิจเงินร่วมลงทุน (venture capital) 26
6. การจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) • สิ่งที่คาดหวัง • ประชาชนทั่วประเทศจะมีความมั่นคงทางการเงินในวัยเกษียณมากขึ้น • สร้างระบบการออมระยะยาวให้แก่ประเทศ • ตลาดทุนไทยได้รับประโยชน์จากปริมาณเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้น มาตรการสำคัญที่จะดำเนินการ จัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เพื่อสร้างหลักประกันให้กับประชากรในวัยเกษียณ (Q4/2553) 27
7. การสร้างวัฒนธรรมการลงทุนผ่านการออมระยะยาวให้เกิดขึ้น อย่างกว้างขวาง • สิ่งที่คาดหวัง • สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีโอกาสเลือกแผนการลงทุนที่สอดคล้องกับความต้องการลงทุนของตนเองในแต่ละช่วงอายุ • เพิ่มองค์ความรู้และประสบการณ์ในการตัดสินใจลงทุนในตลาดทุนให้แก่สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ • มาตรการสำคัญที่จะดำเนินการ • ผลักดันให้นายจ้างรายใหม่จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และนายจ้างเก่าที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว จัดให้มีนโยบายการลงทุนมากกว่าหนึ่งแบบ (employee choice) เพื่อให้สมาชิกมีโอกาสเลือกแผนการลงทุน (Q4/2552) • ผลักดันให้ กบข. จัดให้มีนโยบายการลงทุนมากกว่าหนึ่งแบบสำหรับสมาชิก (Q4/2552) 28
8. การพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ • สิ่งที่คาดหวัง • รัฐบาลมีช่องทางในการบริหารจัดการเงินคงคลังมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการเงินของรัฐบาล และสามารถกำหนดแผนการออกพันธบัตรได้ชัดเจนมากขึ้น • ตลาดตราสารหนี้มีการพัฒนาในเชิงลึก มีเครื่องมือในการบริหารสภาพคล่องที่มีประสิทธิภาพ • มาตรการสำคัญที่จะดำเนินการ • แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเงินคงคลัง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารเงินคงคลัง (Q4/2555) • ธปท. เป็นแกนนำในการพัฒนา private repo และ ธุรกรรม SBL (securities borrowing and lending) เพื่อเพิ่มการบริหารสภาพคล่องของระบบการเงิน (Q4/2552) 29
มาตรการพัฒนาตลาดทุนไทยอื่นๆ นอกจากมาตรการปฏิรูปตลาดทุนไทยทั้ง 8 มาตรการข้างต้น แผนพัฒนาตลาดทุนไทยยังมีมาตรการเพื่อพัฒนาตลาดทุนอื่นๆ อีก 34 มาตรการ ที่จำเป็นต้องดำเนินการควบคู่กันไป 30
ร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตลาดทุนที่จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตลาดทุนที่จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี 31
ร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตลาดทุนที่จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (1/2) ระยะเวลาที่คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ร่างกฎหมายในแผนพัฒนาตลาดทุนไทย • ร่างแก้ไข พ.ร.บ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (การปฏิรูป ตลท. และการยกเลิกการผูกขาดธุรกิจตลาดหลักทรัพย์) • ร่างแก้ไข พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ เรื่องมาตรการบังคับทาง กม. (มาตรการลงโทษทางแพ่งและมาตรการบังคับทางปกครอง) • ร่างกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการควบรวมกิจการ • ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พ.ศ. .... (ฉบับที่ ...) ที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีแบบกลุ่ม (class action) • โครงการตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructurefund) ไตรมาส 4/2552 ไตรมาส 4/2552 ไตรมาส 3/2553 ไตรมาส 4/2552 ไตรมาส 1/2553 32
ร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตลาดทุนที่จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (2/2) ร่างกฎหมายในแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ระยะเวลาที่คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา 6. การปรับปุรงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการด้านภาษีเพื่อสนับสนุน - การควบรวมกิจการ - การขจัดภาระภาษีซ้ำซ้อนสำหรับเงินได้ประเภทเงินปันผลในระดับนิติบุคคล - การลงทุนผ่านตัวกลาง - การโอนย้ายเงินออมในระบบการออมระยะยาวสำหรับผู้ที่เป็นสมาชิก ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ - กองทุนการออมแห่งชาติ - การลงทุนในกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ - การลงทุนในตราสารการเงินที่ออกเพื่อระดมทุนตามหลักศาสนาอิสลาม - ตลาดพันธบัตร - การส่งเสริมธุรกิจเงินร่วมลงทุน 7. การปรับปรุงแก้ไข พรบ. เงินคงคลัง ไตรมาส 4/2552 ไตรมาส 4/2552 ไตรมาส 4/2552 ไตรมาส 4/2552 ไตรมาส 1/2553 ไตรมาส 4/2552 ไตรมาส 4/2552 ไตรมาส 4/2552 ไตรมาส 1/2553 ไตรมาส 3/2554 33
ตัวชี้วัดที่สำคัญของแผนพัฒนาตลาดทุนไทยตัวชี้วัดที่สำคัญของแผนพัฒนาตลาดทุนไทย 34
ตัวชี้วัดที่สำคัญของแผนพัฒนาตลาดทุนไทย1-3ตัวชี้วัดที่สำคัญของแผนพัฒนาตลาดทุนไทย1-3 1 การกำหนดเป้าหมายของตัวชี้วัดอยู่บนสมมติฐานที่ว่า GDP ของไทยในช่วงปี 2552 – 2556 จะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4 – 5 ต่อปี 2 แผนพัฒนาตลาดทุนไทยมีตัวชี้วัดทั้งหมด 20 ตัว แบ่งเป็นตัวชี้วัดระดับภาพรวม 1 ตัว และตัวชี้วัดระดับพันธกิจ 19 ตัว 3 นิยามของตัวแปรต่างๆ ปรากฎในแผนพัฒนาตลาดทุนไทย หน้า 57 - 63 35
แนวทางการติดตามและประเมินผลแนวทางการติดตามและประเมินผล 36
แนวทางการกำกับดูแลเพื่อให้การดำเนินการตามแผนพัฒนาตลาดทุนไทยเป็นไปตามกำหนด (1/2) • หน่วยงานที่รับผิดชอบ : ปรับบทบาทคณะอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทยเป็นคณะอนุกรรมการกำกับ/ติดตามผลการดำเนินการตามแผนพัฒนาตลาดทุนไทย เพื่อให้การดำเนินงานตามแผนฯ มีความต่อเนื่อง • แนวทางการประเมินผล • 2.1 ติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบตามแผนงานที่ระบุไว้ในแผนฯ (action plan) • 2.2 ประเมินผลความสำเร็จจากเกณฑ์ตัวชี้วัดทั้งในระดับภาพรวม และระดับพันธกิจ (KPIs) 37
3.1 จัดประชุมคณะอนุกรรมการกำกับและติดตามผลฯ เพื่อติดตามความคืบหน้า อุปสรรคและข้อจำกัดของการดำเนินงาน 3.2 จัดประชุมรายงานความคืบหน้าแก่คณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทย 3.3 การรายงานความคืบหน้าแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยว ข้องกับมาตรการต่างๆ ได้แก่ - จัดประชุมและ/หรือจัดทำรายงานผลความคืบหน้าแก่ ผู้มีส่วนได้เสีย 3.4 ประเมินผลสำเร็จตามเกณฑ์ตัวชี้วัดที่ได้กำหนดไว้ -ฝ่ายเลขานุการของคณะอนุกรรมการกำกับและติดตามผลฯ ทบทวนผลสำเร็จตามเกณฑ์ตัวชี้วัด และนำเสนอแก่ที่ประชุม คณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทย แนวทางการกำกับดูแลเพื่อให้การดำเนินการตามแผนพัฒนาตลาดทุนไทยเป็นไปตามกำหนด (2/2) ระยะเวลา 3. แนวทางการกำกับและติดตามผล ไตรมาสละ 1 ครั้ง (และเปิดเผยลงwebsiteทุกไตรมาส) ปีละ 2 ครั้ง 2 ครั้งต่อปี (รอบ 6 เดือน) ปีละ 1 ครั้ง (สิ้นปี หรือไตรมาส ที่ 1 ของปีถัดไป) 38