250 likes | 923 Views
โครงงานประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เรื่อง เปิดตำนานประวัติศาสตร์บ้านหนองแวง.. !! จัดทำโดย 1.นายกฤษดา ทำคำทอง 2.นายหฤษิต บุพจันโท 3.นายจิรายุทธ ชุมทอก 4.นายอภินันท์ บุญจวง 5.น.ส.เพ็ญจิรา งามสง่า 6.น.ส.ลลิตา ปัญญา 7.น.ส.สุมาลี บุญเมฆ ชั้น ม. 5/1 เสนอ อาจารย์ อรวรรณ กองพิลา. ที่มาและความสำคัญ
E N D
โครงงานประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโครงงานประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เรื่อง เปิดตำนานประวัติศาสตร์บ้านหนองแวง..!! จัดทำโดย 1.นายกฤษดา ทำคำทอง 2.นายหฤษิต บุพจันโท 3.นายจิรายุทธ ชุมทอก 4.นายอภินันท์ บุญจวง 5.น.ส.เพ็ญจิรา งามสง่า 6.น.ส.ลลิตา ปัญญา 7.น.ส.สุมาลี บุญเมฆ ชั้น ม. 5/1 เสนอ อาจารย์ อรวรรณ กองพิลา
ที่มาและความสำคัญ ในสมัยก่อนดินแดนบริเวณนี้เป็นดินแดนที่ว่างเปล่าไม่มีบุคคลกลุ่มใดอาศัยอยู่ โดยมีบุคคลกลุ่มแรก นายมา นายมี และนายที ซึ่งเดินทางมาจากจังหวัดร้อยเอ็ด ได้มาเห็นบริเวณนี้อุดมสมบูรณ์ดี เหมาะสำหรับการตั้งเป็นถิ่นฐานที่พักอาศัย และต่อมาในปี 2446 ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้าน คือ หมู่บ้านหนองแวง แต่ก่อนบริเวณนี้เป็นไม่มีคนเป็นที่รู้จักมากหนักเลยทำให้แต่ก่อนไม่มีใครมาจับจองพื้นที่แหล่งนี้ แล้วมีผู้มาบบุกเบิกเป็นคนกลุ่มแรกคือ บุคคลที่มาจากจังหวัดร้อยเอ็ดได้มาพื้นที่บริเวณนี้ เป็นทวาว่าไม่มีใครอาศัยอยู่เลย เลยทำให้กลุ่มคนเล่านี้ได้เข้ามาจับจองพื้นที่เพื่อทำมาหากิน ได้อย่างเป็นหลักเป็นแหล่ง โดยกลุ่มคนได้ชักชวนประชากรที่อยู่อาศัยบริเวณนี้เข้ามาอาศัยอยู่ด้วยกันอย่างเป็นรากฐานของหมู่บ้านและได้สถาปนาตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้านอย่างแท้จริง
ต่อมาผู้นำหมู่บ้านเลยประชุมกับลูกบ้านว่า เราจะอย่างไรในการตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้าน แล้วจะตั้งชื่อหมู่บ้านของเราชื่อว่า หมู่บ้านอะไร แล้วผู้ที่มาตั้งหมู่เลยออกความคิดเห็นว่า เนื่องจากเรามาก่อตั้งเป็นคนแรงเราได้เห็น หนองน้ำที่มีขนาดใหญ่ อยู่พอสมควร และเราเชื่อว่าในแหล่งน้ำแห่งนี้หน้าจะเลี้ยงชีวิตของพวกเราได้อย่างสบายเลยที่เดียว และข้างหนองน้ำมีต้นแวงอยู่ด้วย และเราคิดว่า หน้าจะเอาสองชื่อนี้เข้ามารวมกัน โดยมีทั้งหนองน้ำและต้นแวง สรุปแล้วจึงได้ชื่อว่า หมู่บ้านหนองแวง หลังจากนั้นหมู่บ้านหนองแวงเลยเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นเลยทำให้ ประชากรที่อยู่ในหมู่บ้าน ชักชวนเพื่อนญาติ พี่น้องที่อยู่บริเวณหมู่บ้านใกล้เคียงเข้ามาอาศัยอยู่ที่เดียวกัน โดยในตอนนั้นบ้านหนองแวง มีครอบครัวอยู่ประมาณ 15 ครัวเรือน และไดพัฒนามาจนถึงปัจจุบันนี้ประมาณ 209 หลังค่าเรือน และฐานะทางบ้านไม่ได้เป็นบ้านที่ร่ำรวย แต่ทำอาชีพเกษตรกรรมกันเป็นส่วนใหญ่เพราะอยู่ไกลแหล่งน้ำ และอาชีพค่าขาย และการเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย หมู ไก่ เป็ด เป็นต้น เพื่อเอาไว้ใช้งานและเลี้ยงไว้เพื่ออาหาร ในการดำรงชีพ เพื่อการอยู่รอดของคนในหมู่บ้าน และเป็นการเลี้ยงตนเองภายในอีกด้วย และไม่ต้องการพึ่งใครในสมมัยนั้น ต่อเริ่มมีการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน และภายในหมู่บ้านและระหว่างหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงกันอีกด้วย เศรษฐกิจจะมีการสพัด เงินทองจะได้มีอยู่ มีกิน ในการค่าขายทำให้ประชากรมีรายได้ต่อครัวเรือน อยู่ระหว่างครัวเรือนละ 1500 ต่อเดือน/ครัวเรือน ต่อมาหมู่บ้านหนองแวงก็ได้พัฒนาขึ้นมาเรื่อย ๆ และได้เข้าไปอยู่ในสังกัด ตำบล บ้านเหล่า อำเภอ บ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น
จุดประสงค์ในการทำโครงงานจุดประสงค์ในการทำโครงงาน 1.เพื่อศึกษาการดำรงชีวิตของคนในสมัยก่อนว่าเป็นอย่างไร 2.เพื่อศึกษาประวัติของหมู่บ้านหนองแวงว่าเป็นอย่างไร 3.เพื่อศึกษาบุคคลสำคัญของหมู่บ้าน 4.เพื่อศึกษาว่าใครเป็นผู้ก่อตั้งหมู่บ้านขึ้นเป็นคนแรก 5.เพื่อศึกษาว่าบุคคลที่มาตั้งหมู่บ้านมาจากที่ใด และเพราะเหตุใด จึงชื่อว่าบ้านหนอง แวง
ประโยชน์ที่จะได้รับ 1.ได้รู้ถึงความเป็นมาของบ้านหนองแวง 2.ได้เผยแพร่ให้เห็นว่าบุคคลสำคัญมีใครบ้าง 3.เพื่อให้บุคคลในสังคมมีความสามัคคี 4.เพื่อให้บุคคลในหมู่บ้านได้รู้ว่าประวัติในหมู่บ้านเป็นอย่างไร
คำถามเกี่ยวกับโครงงานประวัติศาสตร์ท้องถิ่นคำถามเกี่ยวกับโครงงานประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 1.หมู่บ้านหนองแวงก่อตั้งเมื่อไร และก่อตั้งขึ้นได้อย่างไร 2.ใครเป็นผู้ก่อตั้งหมู่บ้าน และทำไมถึงชื่อว่าบ้านหนองแวง
นี้แหล่งข้อมูล ซึ่งสรุปได้ดังนี้ แหล่งข้อมูลที่1. ประวัติความเป็นมา : บ้านหนองแวง ค้นหาจากเว็บไซต์ http://www.tbbanlao.org/banlao1/index.php?option=com_content&task=view&id=33&Itemid=49เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2554 เมื่อเวลา 10.05 น แหล่งข้อมูลที่2.ประวัติของหมู่บ้าน ค้นหาจากหนังสือแผนชุมชุน (ฉบับปรับปรุง ปี พ.ศ.2553) เมื่อเวลา 15.30 วันที่ 28 มกราคม 2554 แหล่งข้อมูลที่3. ประวัติความเป็นมา : บ้านหนองแวงค้นหาจากเว็บไซต์ https://sites.google.com/site/banlaoclub/chux-laea-prawati-khxng-taela-hmuban/hmu-7-ban-hnxng-waeng เมื่อเวลา 9.36 น. วันที่ 28 มกราคม 2554 แหล่งข้อมูลที่4. สอบถามจากผู้ใหญ่บ้านเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2554 ณ. เวลา 13.56 น. สอบ ณ บ้านเลขที่บ้านเลขที่ 14 หมู่7 ต.บ้านเหล่า อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น 40270 แหล่งข้อมูลที่5. หนังสือแผนชุนชมปี 2551ค้นหาเมื่อ 25 มกราคม พ.ศ.2554 เมื่อเวลา 15.00 น. ที่บ้านของท่านผู้นำของหมู่บ้าน ประวัติของหมู่บ้านบ้านหนองแวง ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้
โดยชาวบ้านเชื่อกันว่าบ้านหนองแวงตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2446 รวมถึงปัจจุบันบ้านหนองแวงมีอายุราวประมาณ 107 ปี ผู้ก่อตั้งมีชื่อว่า นายมา ไม่ทราบนามสกุล นายมี ไม่ทราบนามสกุล นายที ไม่ทราบนามสกุล ซึ่งเดินทางมาจากจังหวัดร้อยเอ็ด โดนเห็นว่าที่นี่เหมาะสมสำหรับการตั้งเป็นหมู่บ้านเพราะมีพื้นที่ลุ่ม และมีหนองน้ำขนาดใหญ่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกเป็นอย่างยิ่ง สาเหตุที่ตั้งชื่อว่าบ้านหนองแวง กล่าวคือว่า มีหนองน้ำใหญ่มากด้วยธัญพืช ในน้ำโดยต้นไม้ชื่อว่า ต้นแวง และเนินดินมีบริเวณกว้างที่ติดกับหนองน้ำซึ่งเหมาะสำหรับการตั้งเป็นหมู่บ้าน เลยเอาตามชื่อต้นแวงว่า หนองแวง เป็นต้นมา
ที่ตั้งชุมชน บ้านหนองแวงหมู่ที่ 7 อยู่ในเขตการปกครองของตำบลบ้านเหล่า อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่นการเดินทางเข้าสู่หมู่บ้านจากศาลากลางจังหวัดขอนแก่นสามารถเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวหรือรถยนต์โดยสารประจำทางโดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข สายขอนแก่น-บ้านฝางจากศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ไปทางทิศตะวันตก ผ่าน อำเภอบ้านฝาง รวมระยะทาง 27 กิโลเมตร อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับ บ้านโคกสีตำบลบ้านฝาง ทิศใต้ติดต่อกับทุ่งนา ทิศตะวันออกติดต่อกับ บ้านกระพี้ตำบลบ้านเหล่า ทิศตะวันตกติดต่อกับ บ้านสร้างแก้ว ตำบลโนนฆ้อง ลักษณะภูมิประเทศ /ภูมิอากาศ ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่บ้าน ร้อยละ 70 เป็นที่ราบ เหมาะสำหรับ ทำนา เลี้ยงสัตว์มีลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุมมี 3 ฤดูดังนี้ร้อนฝน และ หนาว
วิธีดำเนินการ • อุปกรณ์ในการทำงาน ได้แก่ ดินสอ ปากกา ยางลบ ปากกาลบคำผิด กระดาษ สมุด กล้องโทรศัพท์มือถือ
2.วิธีการดำเนินงานทางประวัติศาสตร์2.วิธีการดำเนินงานทางประวัติศาสตร์ การหาหัวข้อ เกิดจากข้อสงสัย ในประวัติของหมู่บ้าน เนื่องจากข้อมูลในหมู่บ้านยังไม่ชัดเจนพอ เพราะปัจจุบันนี้ บุคคลในหมู่บ้านไม่ค่อยสนใจในเรื่องประวัติ ของหมู่ ของพวกเรามากหนัก โดยเฉพาะในพวกวัยรุ่น เนื่องจากไม่สนใจเรื่องประวัติหมู่บ้านและเรื่องราวในอดีต
การค้นหาข้อมูล ได้ลงพื้นที่สอบถามผู้อาวุโสในหมู่บ้านและเอกสารของราชการและหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรเช่น แผนชุมชนในปีต่างๆ แหล่งข้อมูลนอกหมู่บ้าน(จากเว็บไซต์ของ อบต.บ้านเหล่า)
โดยทั้งหมดทั้งมวลสามารถตีความและสรุปได้ว่าโดยทั้งหมดทั้งมวลสามารถตีความและสรุปได้ว่า ข้อมูลที่น่าเชื่อถือคือแผนชุมชนข้อมูลที่ได้มาจากการสอบถามจากคนแก่ในสมัยก่อนที่เขียนประวัติหมู่บ้านไว้เป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในปี พ.ศ.2536 โดยจากการสอบถามจากในหมู่บ้านและไม่ได้ระบุชื่อของผู้ที่สอบถามของคนภายในหมู่บ้านและได้เรียบเรียงข้อมูลไว้เป็นแผนชุมชน และได้ปรับปรุงมาจนปัจจุบันนี้ ซึ่งหน้ามีความหน้าเชื่อถือมากกว่าการบอกเล่าของผู้ที่มีอายุน้อยกว่า บุคคลในสมัยก่อน โดยมีข้อความว่า หมู่บ้านแห่งนี้ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2446 และมีผู้ที่มาก่อตั้งคือ นายมา นายมี และนายที ซึ่งได้เดินทางมาจากจังหวัดร้อยเอ็ด โดยข้อความชั้นต้นที่กล่าวมานั้น มีข้อความที่คล้ายกันมากเลยสรุปได้ว่า ข้อความที่รับมีความเชื่อว่าเป็นจริงอย่างแน่นอน
1.ก่อนก่อตั้งหมู่บ้าน ในสมัยก่อนบริเวณนี้เป็นพื้นที่ราบ และเนินอยู่เล็กน้อย โดยรอบบริเวณนี้มีหนองน้ำขนาดใหญ่พอสมควร และพื้นที่อุดมสมบูรณ์และมีป่าไม้หนามาก และไม่มีถนนหนทางในสมัยก่อนเลยทำให้ บริเวณแห่งนี้ไม่มีใครมาอาศัยอยู่เลย
2.เริ่มการก่อตั้งหมู่บ้าน2.เริ่มการก่อตั้งหมู่บ้าน ใน พ.ศ. 2446 บ้านหนองแวงเริ่มมีผู้เข้ามาก่อตั้งถิ่นฐาน เพราะบริเวณนี้อุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมากเลยทำให้กลุ่มเหล่านี้ เป็นกลุ่มแรกเข้าจับจองพื้นที่ คือ กลุ่มคนจากจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นบุกเบิกเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นกลุ่มแรก โดยมี คนที่ชื่อ นายมา นายมี และนายที ทำให้ได้จัดตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้าน โดยสมัยนั้นมีบุคคลเข้าอาศัยอยู่ด้วย ประมาณ 15 ครัวเรือน เลยทำให้บ้านหนองแวงใน ขณะนั้นยังเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ไม่มีใครรู้จักมากหนัก ต่อมาเริ่มมีคนเข้ามาอาศัยอยู่มากพอประมาณเลยทำให้ นายถึงผาสุขซึ่งผู้ใหญ่บ้านในสมัยนั้น ได้ก่อตั้งสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นคือ ด้านการศึกษา คือก่อตั้งโรงเรียนขึ้น คือ โรงเรียนบ้านหนองแวง เพื่อให้เด็กได้มีการศึกษา เพื่อหาความรู้ และประสบการณ์ ที่จะนำความรู้ที่ได้ไปทำมาหากินอย่างเป็นอาชีพ ด้านศาสนา คือ ได้ก่อตั้งวัดขึ้น คือ วัดอาภาวาส เพื่อเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในหมู่บ้าน และเป็นศูนย์ในการทำกิจกรรมในหมู่บ้านของชุมชน นอกจากนี้ได้ก่อตั้ง ศาลปู่ตา ขึ้น เพื่อเป็นที่ศัการะบูชา ของชุมชน ด้านคมนาคม คือ เป็นถนนลูกลัง ด้านข้างถนนเป็นป่าไม้ ด้านไฟฟ้า คือ ใช้การจุดตะเกียง และยังไม่มีไฟฟ้า ด้านประปา คือ ใช้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ
3. ปัจจุบัน บ้านหนองแวงตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2446 รวมถึงปัจจุบันบ้านหนองแวงมีอายุประมาณ 107 ปี ผู้ก่อตั้งมีชื่อว่า นายมาไม่ทราบนามสกุล นายมีไม่ทราบนามสกุล นายที ไม่ทราบนามสกุล ซึ่งเดินทางมาจากจังหวัดร้อยเอ็ด สาเหตุที่ตั้งชื่อว่าบ้านหนองแวง กล่าวคือว่า มีหนองน้ำใหญ่มากด้วยธัญพืช ในน้ำมีชื่อว่าต้นแวง และเนินดินมีบริเวณกว้างที่ติดกับหนองน้ำซึ่งเหมาะสำหรับการตั้งเป็นหมู่บ้าน เลยเอาตามชื่อต้นแวงว่าหนองแวง เป็นต้นมา
พื้นที่ของบ้านหนองแวงพื้นที่ของบ้านหนองแวง 1.มีพื้นที่ทำการเกษตร จำนวน 1,669 ไร่ ปลูกสร้างบ้านเรือน 250ไร่ สำหรับทำนา ทำสวน ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ และเป็นแหล่งหาอาหาร เช่น กบ ปลา เป็นต้น ส่วนอาหารที่ไม่สามารถหาเองได้ก็จะไปชื้อตามร้านค้าในหมู่บ้าน ตลาดสดอำเภอบ้านฝาง หรือไม่ก็ไปชื้อที่ตลาดขอนแก่น 2.มีพื้นที่สาธารณประโยชน์ จำนวน 91 ไร่ เป็นหนองน้ำ ป่าช้า และที่ดินสาธารณะ 3.พื้นที่สำหรับที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของราษฎรภายในหมู่บ้าน จำนวนประมาณ 250 ไร่ และมีจำนวนบ้านเรือนของราษฎรภายใน หมู่บ้านอยู่ประมาณ 209 หลังคาเรือน
ภูมิประเทศ 1.ภูมิประเทศส่วนใหญ่ เป็นที่ราบมีความชันน้อย ลักษณะพื้นที่เป็นดินเค็มและบ้างส่วนเป็นดินทรายและทรายจัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ 2.จำนวนประชากร เป็นชาย 459 คน เป็นหญิง 503 คน รวมประชากรทั้งสิ้น 962 คน 3.สภาพทางเศรษฐกิจ ประชากรมีอาชีพทั้งรับราชการ การค้าขาย ทำงานโรงงานต่างๆ กรรมกร รับจ้าง แต่อาชีพส่วนใหญ่จะทำการเกษตรกรรมกันเป็นส่วนใหญ่
สภาพทางสังคม แบ่งได้ต่อไปนี้ 1. ด้านการศึกษา มีโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 1 แห่ง คือ โรงเรียนหนองแวงคุรุราษฎร์รังสรรค์ 2. ด้านศาสนา มีวัดอาภาวาส วัดป่าสุวรรณเขต และวัดป่าบ้านค้อ เป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชุมชน 3. ด้านสาธารณสุข มีสถานีอนามัยบ้านหนองชาด โรงพยาบาลบ้านฝาง และโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น เป็นสถานที่รับรองในยามเก็บไข้ได้ป่วย โดยมีบริการบัตร 30 บาทรักษาได้ทุกโรค และบัตรประกันสังคม 4. ด้านความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน มีที่พักสายตรวจตำบลบ้านเหล่า และสถานีตำรวจภูธรอำเภอบ้านฝาง เป็นผู้รับผิดชอบ
การบริการพื้นฐาน แบ่งเป็น 3 อย่าง 1. การคมนาคม เป็นถนนคอนกรีตบางส่วน ถนนลาดยางยางส่วน ถนนดินบางส่วน และถนนลูกรัง แต่ปัจจุบันเป็นถนนคอนกรีตหมดแล้ว 2. การไฟฟ้า มีไฟฟ้าใช้ครบทุกหลังคาเรือนแล้ว 3. แหล่งน้ำธรรมชาติ มีลำห้วย หนอง คลอง บึง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำหรับใช้ทำระบบประปาของหมู่บ้าน นอกจากนี้แล้วยังมีศาลปู่ตา ซึ่งเป็นแหล่งที่เคารพ และนับถือของหมู่บ้านและชุมชน คือ โบราณสถานดอนปู่ตา
ที่ตั้งชุมชน บ้านหนองแวงหมู่ที่ 7 อยู่ในเขตการปกครองของตำบลบ้านเหล่า อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่นการเดินทางเข้าสู่หมู่บ้านจากศาลากลางจังหวัดขอนแก่นสามารถเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวหรือรถยนต์โดยสารประจำทางโดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข สายขอนแก่น-บ้านฝางจากศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ไปทางทิศตะวันตก ผ่าน อำเภอบ้านฝาง รวมระยะทาง 27 กิโลเมตร
อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับ บ้านโคกสีตำบลบ้านฝาง ทิศใต้ติดต่อกับทุ่งนา ทิศตะวันออกติดต่อกับ บ้านกระพี้ตำบลบ้านเหล่า ทิศตะวันตกติดต่อกับ บ้านสร้างแก้ว ตำบลโนนฆ้อง ลักษณะภูมิประเทศ /ภูมิอากาศ ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่บ้าน ร้อยละ 70 เป็นที่ราบ เหมาะสำหรับ ทำนา เลี้ยงสัตว์มีลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุมมี 3 ฤดูดังนี้ร้อนฝน และ หนาว