540 likes | 773 Views
กรมพลศึกษา ขอต้อนรับทุกท่าน เข้าสู่ การประชุมวิพากษ์ร่างมาตรฐานวิชาชีพ ผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ด้วยความยินดียิ่ง. วิสัยทัศน์. “ กรมพลศึกษา... เป็นองค์กรนำด้านการ พลศึกษา สร้างความสุข เพื่อ มวลชน ”. ผู้นำการเปลี่ยนแปลง.
E N D
กรมพลศึกษา ขอต้อนรับทุกท่าน เข้าสู่การประชุมวิพากษ์ร่างมาตรฐานวิชาชีพ ผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ด้วยความยินดียิ่ง
วิสัยทัศน์ “ กรมพลศึกษา...เป็นองค์กรนำด้านการพลศึกษา สร้างความสุขเพื่อมวลชน ”
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง “กรมพลศึกษาต้องเตรียมความพร้อมขององค์กร และพัฒนาบุคลากร เพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ด้วยการเร่งรัดพัฒนาผู้ฝึกสอนกีฬา ผู้ตัดสินกีฬา และบุคลากรทางการกีฬาและนันทนาการให้เป็นกำลังหลักในการส่งเสริมและพัฒนากีฬาขั้นพื้นฐาน และกีฬาเพื่อมวลชน ” นางแสงจันทร์ วรสุมันต์ อธิบดีกรมพลศึกษา
มาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา “ ข้อกำหนดเกี่ยวกับความสามารถ และคุณสมบัติที่ควรมีในการประกอบวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ซึ่งประกอบไปด้วย 3 สมรรถนะ ”
1.สมรรถนะทั่วไป(Generic Competencies) “ คุณสมบัติทั่วไปของบุคคลที่ควรมีในการเข้าสู่วิชาชีพ ผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬาซึ่งประกอบด้วย ความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ พฤติกรรม และแรงจูงใจ”
2. สมรรถนะหลัก (Core Competencies) “ คุณสมบัติเฉพาะในวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬาที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุผล ประกอบด้วย ความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ พฤติกรรมและแรงจูงใจ ”
3. สมรรถนะตามหน้าที่(Functional Competencies) “ คุณสมบัติเฉพาะในแต่ละตำแหน่งงาน หรือแต่ละระดับความรับผิดชอบของบุคคลในวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ประกอบด้วย ความรู้ และทักษะ ”
การจัดทำมาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาการจัดทำมาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬา และผู้ตัดสินกีฬา เป็นภารกิจโดยตรงของกรมพลศึกษา ในฐานะหน่วยงานราชการที่มีอำนาจตามกฎหมาย ให้ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของบุคลากร ด้านพลศึกษา สุขภาพ การกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา
วัตถุประสงค์ • เพื่อกำหนดเกณฑ์มาตรฐานและเพิ่มพูนสมรรถนะ ผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ตามแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (พ.ศ.2554 - 2558) ของกรมพลศึกษา ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมและพัฒนาพลศึกษา สุขภาพ กีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ที่มีเป้าประสงค์ในการมีบุคลากรด้านการกีฬา ที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานและเพียงพอ
วัตถุประสงค์ 2. เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งจะเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2558 และก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายบุคลากรสาขาอาชีพต่างๆ อย่างเสรี ตามกรอบข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพ หรือ MRAsและความตกลงว่าด้วยการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา หรือ MNP
AEC: เกิดเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี
ข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพ Mutual Recognition Arrangement:MRAs เป็นข้อตกลงยอมรับร่วมกันในเรื่องมาตรฐานนักวิชาชีพของประชาคมอาเซียนในการให้การยอมรับวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ และคุณสมบัติที่เป็นไปตามข้อกำหนด ใบอนุญาต ใบคำร้อง ที่ได้รับในประเทศสมาชิก โดยสอดคล้องกับกฎระเบียบภายในประเทศที่เกี่ยวข้อง จะช่วยอำนวยความสะดวก การเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพ ในภูมิภาค ได้อย่างเสรี
การยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพการยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพ สาขาวิศวกรรม ลงนามยอมรับเมื่อ พ.ศ.2548 สภาวิศวกร กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ สาขาสถาปัตยกรรม ลงนามยอมรับเมื่อ พ.ศ.2550 สภาสถาปนิก กำหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐานวิชาชีพ สาขาแพทย์ ลงนามยอมรับเมื่อ พ.ศ.2552 แพทยสภา กำหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐานวิชาชีพ สาขาทันตแพทย์ ลงนามยอมรับเมื่อ พ.ศ.2552 ทันตแพทยสภา กำหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐานวิชาชีพ
การยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพการยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพ สาขาพยาบาล ลงนามยอมรับเมื่อ พ.ศ. 2549 สภาการพยาบาล กำหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐานวิชาชีพ สาขานักบัญชี ลงนามยอมรับเมื่อ พ.ศ. 2551 สภาวิชาชีพบัญชี กำหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐานวิชาชีพ สาขานักสำรวจ ลงนามยอมรับเมื่อ พ.ศ. 2550 สภาวิชาชีพนักสำรวจ กำหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐานวิชาชีพ สาขาท่องเที่ยว ลงนามยอมรับเมื่อ พ.ศ.2555 กระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา กำหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐานวิชาชีพ
ความตกลงว่าด้วยการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดาความตกลงว่าด้วยการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา Movement of Natural Person Agreement: MNP จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายบุคลากรที่ประสงค์จะให้บริการในประเทศสมาชิกในสาขาเกี่ยวกับการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน โดยเกี่ยวข้องกับการเข้าเมืองชั่วคราว การพำนักชั่วคราวและการอนุญาตทำงานของบุคคลธรรมดาชั่วคราว
ครอบคลุมการเคลื่อนย้ายบุคลากรครอบคลุมการเคลื่อนย้ายบุคลากร • 25 สาขาอาชีพ • คอมพิวเตอร์ • วิจัยและพัฒนา • ให้เช่า • โฆษณา • วิจัยตลาดและสำรวจ • ความเห็น • บริหารจัดการ • เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร • เกี่ยวเนื่องกับประมง • เกี่ยวเนื่องกับป่าไม้ • เกี่ยวเนื่องกับเหมืองแร่ • ที่ปรึกษา • ซ่อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ • การแปล • จัดประชุม • โทรคมนาคม • ผลิตสื่อวิทยุและโทรทัศน์ • ก่อสร้าง • การศึกษา • สิ่งแวดล้อม • การเงิน • สุขภาพ • โรงแรม • การขนส่ง • กีฬา • วิศวกรรม
ทุกขภาวะของคนไทย 1. กระทรวงสาธารณสุข สำรวจปี พ.ศ.2555 พบว่า คนไทยรูปร่างท้วมถึงอ้วน มีมากกว่า 17 ล้านคน นับเป็นอันดับ 5 ของ เอเชียแปซิฟิก ที่สำคัญ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่อ้วนขึ้นโดยเฉลี่ย 4 ล้านคนต่อปี เสียชีวิตจากโรคอ้วน ประมาณปีละ 20,000 คน
ทุกขภาวะของคนไทย 2. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายงาน เดือนกุมภาพันธ์ 2556 ระบุ คนไทยอ้วนเพิ่มมากขึ้น คิดเป็นจำนวนถึง 1 ใน 5 ของจำนวนคนไทยทั้งหมด ภาครัฐสูญเสียงบประมาณเป็นค่ารักษาพยาบาล ปีละกว่า 1 แสนล้านบาท
ทุกขภาวะของคนไทย 3. มหาวิทยาลัยมหิดล และกรมอนามัย วิจัยปี พ.ศ.2555 พบว่าเด็กไทยเป็นโรคอ้วนอย่างรวดเร็วในอัตราเร่ง สูงที่สุดในโลก โดยเด็กแรกเกิดถึงอายุ 12 ปี ป่วยเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 40 และวัยเริ่มทำงาน อายุ 20–29 ปี ป่วยเป็นโรคอ้วน 21.7%
ทุกขภาวะของคนไทย 4. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย พ.ศ.2555 แถลงข้อมูลเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปีเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2 เป็นร้อยละ 12 นำสู่โรคเรื้อรัง อีกหลายประเภท ได้แก่ โรคไต โรคหัวใจ โรคความดันโลหิต และกระทบต่อพัฒนาการทางสติปัญญา
จากทุกขภาวะที่เพิ่มขึ้นมีผลกระทบต่อความสามารถจากทุกขภาวะที่เพิ่มขึ้นมีผลกระทบต่อความสามารถ ด้านการแข่งขันกีฬา พิจารณาจากจำนวนเหรียญรางวัล รวมการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ (เหรียญทอง,เหรียญเงิน, เหรียญทองแดง) ของประเทศไทยมีสัดส่วนลดลง
ทุกขภาวะของคนไทย ประเทศไทยเคยได้รับเหรียญรางวัลรวมสูงสุด ร้อยละ 9.13(39เหรียญจาก 427 เหรียญ ) เมื่อเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 6 ปี พ.ศ.2513 เหลือเพียงร้อยละ 3.29 (52 เหรียญจาก 1,577 เหรียญ) คราวเอเชียนเกมส์ล่าสุดครั้งที่ 16 พ.ศ.2553
มาตรฐานวิชาชีพ: ประเทศออสเตรเลีย 1. สัดส่วนเหรียญรางวัลในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 2.83 (17 เหรียญ จาก 600 เหรียญ) คราวการแข่งขันโอลิมปิกครั้งที่ 20 พ.ศ.2515 สู่ร้อยละ 6.25(58 เหรียญ จาก 927 เหรียญ) เป็นลำดับ 4 ถัดจากสหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน จากการแข่งขัน โอลิมปิกครั้งที่ 27 พ.ศ. 2543
มาตรฐานวิชาชีพ: ประเทศออสเตรเลีย 2. ตรงกันข้ามทุกขภาวะของประชาชนออสเตรเลีย กลับเพิ่มขึ้น เมื่อสำนักงานสถิติแห่งชาติออสเตรเลีย สำรวจพบ วัยผู้ใหญ่เป็นโรคอ้วนมากเป็นอันดับ 5 ของประเทศพัฒนาแล้ว ผู้ชายร้อยละ 68 ผู้หญิงร้อยละ 55 เด็กร้อยละ 17 มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน สวนทางกับความเป็นเลิศทางกีฬาที่เพิ่มขึ้น
มาตรฐานวิชาชีพ: ประเทศออสเตรเลีย 3. ส่งผลให้ปีพ.ศ. 2553 รัฐบาลออสเตรเลีย ทบทวนยุทธศาสตร์กีฬาของประเทศ จาก “บนลงล่าง” เน้นความเป็นเลิศ มุ่งจำนวนเหรียญรางวัล เป็น “กีฬาจากรากหญ้า” สร้างโอกาสการเล่นกีฬาอย่างกว้างขวาง มองการกีฬาอย่างเป็นองค์รวม
มาตรฐานวิชาชีพ: ประเทศออสเตรเลีย 4. วิธีการดำเนินงาน “กีฬาจากรากหญ้า”สร้างโอกาสให้ เล่นกีฬาอย่างกว้างขวาง ประการหนึ่ง คือ การกำหนดมาตรฐานวิชาชีพครูพลศึกษา เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ทางกีฬาตั้งแต่รากฐาน โดยเริ่มจากเยาวชนในโรงเรียน
มาตรฐานวิชาชีพ: ประเทศสหรัฐอเมริกา 1. เป็นประเทศลำดับต้นที่ประกาศใช้ มาตรฐานวิชาชีพ ผู้ฝึกสอนกีฬาแห่งชาติ อย่างเป็นทางการ ด้วยพื้นฐานความคิด “ผู้ฝึกสอนกีฬาคุณภาพ การกีฬาคุณภาพ”
มาตรฐานวิชาชีพ: ประเทศสหรัฐอเมริกา 2. มาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาแห่งชาติ ของสมาคมกีฬาและพลศึกษาแห่งชาติปี พ.ศ.2549 มุ่งหมาย เพื่อยกระดับคุณภาพของหลักสูตร การฝึกอบรม นำเสนอรูปแบบการฝึกสอนที่ดีเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ ผู้ฝึกสอนกีฬา เสนอแนวทางการมุ่งสู่กีฬาอาชีพ รวมไปถึงการพัฒนาทักษะการกีฬาของประชาชนทั่วไป
มาตรฐานวิชาชีพ: ประเทศสหรัฐอเมริกา 3. เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาแบ่งเป็น 8 หมวดใหญ่ รวม 40 เกณฑ์มาตรฐานย่อย ได้แก่ ปรัชญาและจริยธรรม ความปลอดภัยและการป้องกันการบาดเจ็บ สภาพร่างกาย ความเจริญเติบโตและการพัฒนาการ การสอนและการสื่อสาร ทักษะและกลยุทธ์ทางการกีฬา องค์กรและการบริหาร และการประเมินผล
ความสอดคล้องจากประสบการณ์ของ 2 ประเทศ มหาอำนาจกีฬา คือ “การยกระดับความสามารถของ บุคลากรด้านการกีฬา ด้วยมาตรฐานวิชาชีพ บุคลากรด้านกีฬา”
มาตรฐานวิชาชีพ: ประเทศไทย 1. เริ่มดำเนินการปีงบประมาณ 2554 จำนวน 4 มาตรฐานวิชาชีพ ได้แก่ มาตรฐานวิชาชีพ ผู้ฝึกสอนกีฬาฟุตบอล, ผู้ตัดสินกีฬาฟุตบอล, ผู้นำนันทนาการ และนักบริหารจัดการการกีฬา
มาตรฐานวิชาชีพ: ประเทศไทย 2. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ถึงปัจจุบัน อยู่ระหว่างดำเนินการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬา และมาตรฐานวิชาชีพผู้ตัดสินกีฬา เพิ่มเติมอีก 8 ชนิดกีฬา รวม 16 มาตรฐาน ได้แก่ มวยไทย เซปักตะกร้อ ว่ายน้ำ แบดมินตัน วอลเลย์บอล บาสเกตบอล แฮนด์บอล และ วู้ดบอล
กระบวนการจัดทำ 1. ยกร่างมาตรฐานวิชาชีพ ด้วยการจัดประชุมระดมสมองและความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ อาทิ ผู้บริหารองค์กรกีฬา ผู้ฝึกสอนกีฬา ผู้ตัดสินกีฬา ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ สื่อมวลชน โดยใช้หลักการความน่าเชื่อถือทางวิชาการ (Academic Credibility) ด้วยความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาชั้นนำ ได้แก่ มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยศิลปากร
กระบวนการจัดทำ 2. นำร่างมาตรฐานวิชาชีพมาจัดการประชุมวิพากษ์ บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมอย่างเปิดกว้าง (Open Participation) ซึ่งจัดขึ้นในวันนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 400 คน จากองค์กรกีฬา สมาคมกีฬา สถาบันการศึกษา ผู้ฝึกสอนกีฬา ผู้ตัดสินกีฬา สื่อมวลชน เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ ข้อสังเกต ข้อคิดเห็น ไปปรับปรุงฉบับร่าง ให้เกิดความถูกต้องสมบูรณ์ ทั้งในเชิงเนื้อหาและกระบวนการ ได้รับ การยอมรับและนำไปใช้ปฏิบัติอย่างแพร่หลาย
ประโยชน์ : มาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ประโยชน์ต่อผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬามีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับทั้งภายในและต่างประเทศ สร้างโอกาสที่เปิดกว้าง มากขึ้นในการประกอบอาชีพ
ประโยชน์ : มาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ประโยชน์ต่อนักกีฬาเป็นเครื่องประกันคุณภาพ ความรู้ ความสามารถของผู้ฝึกสอนกีฬา ตลอดจนผู้ตัดสินกีฬาที่ทำหน้าที่ในการแข่งขัน ให้เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม
ประโยชน์ : มาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ประโยชน์ต่อวงการกีฬาสร้างความมั่นใจให้ประชาชน ในมาตรฐานที่น่าเชื่อถือได้ของวงการกีฬา ส่งผลกระทบต่อการเข้ามามีส่วนร่วมในการกีฬา คุณภาพนักกีฬา เกิดความเข้มแข็งของการกีฬาทั้งระบบ
ประโยชน์ : มาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ประโยชน์ต่อประชาชนเกิดความเชื่อมั่นและมีแรงจูงใจในการเล่นกีฬา ประชาชน มีร่างกายแข็งแรง ทุกขภาวะด้านสุขภาพลดน้อยลง
ประโยชน์ : มาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ประโยชน์ต่อประเทศไทยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันทั้งด้านการกีฬาและด้านอื่นๆ ที่ล้วนต้องอาศัยความเข้มแข็งของประชาชนเป็นพื้นฐาน
แนวทางการนำมาตรฐานวิชาชีพแนวทางการนำมาตรฐานวิชาชีพ ผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ไปปฏิบัติอย่างเป็นทางการ แนวทางที่ 1 ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ดังนี้ขั้นตอนที่ 1 กรมพลศึกษาจัดประชุมหารือร่วมกับ การกีฬ่าแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาแนวทางการนำมาตรฐานวิชาชีพไปใช้ ตลอดจนจัดทำโครงการนำร่องประเมินสมรรถนะผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา เพื่อขึ้นทะเบียนทั้งของกรมพลศึกษาและสมาคมกีฬา
แนวทางการนำมาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ไปปฏิบัติอย่างเป็นทางการ ขั้นตอนที่ 2 กรมพลศึกษานำข้อสรุปจากขั้นตอนที่ 1 จัดทำระเบียบหรือข้อบังคับกรมพลศึกษา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพบุคลากรด้านการพลศึกษาและการกีฬา เพื่อเป็นพื้นฐานการยกระดับสู่ พระราชบัญญัติมาตรฐานวิชาชีพบุคลากรด้านการพลศึกษาและการกีฬา
แนวทางการนำมาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ไปปฏิบัติอย่างเป็นทางการ แนวทางที่ 2 กรมพลศึกษาจัดประชุมหารือร่วมกับคุรุสภา และกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อ1. ชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพ ผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา
แนวทางการนำมาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ไปปฏิบัติอย่างเป็นทางการ 2. ขอความร่วมมือให้ครูพลศึกษา และนักวิชาการ นันทนาการประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ารับการประเมินสมรรถนะจากกรมพลศึกษา
แนวทางการนำมาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา ไปปฏิบัติอย่างเป็นทางการ 3. ร่วมกันกำหนดแนวทางการนำผลการประเมิน สมรรถนะจากกรมพลศึกษา ไปพิจารณาดำเนินการ ตามอำนาจหน้าที่และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ของแต่ละหน่วยงาน
ความร่วมมือผลักดันมาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬาความร่วมมือผลักดันมาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา
การเสวนาหัวข้อ “มาตรฐานวิชาชีพบุคลากรด้านการกีฬา... ก้าวสู่ AEC”
นายแพทย์วารินทร์ ตัณฑ์ศุภศิริ รองเลขาธิการ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล บุคลากรดีเด่น วันกีฬาแห่งชาติ พ.ศ.2547 ศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2553
ดร.ชาญวิทย์ ผลชีวิน รองอธิบดีกรมพลศึกษา หัวหน้าผู้ฝึกสอนฟุตบอลทีมชาติไทย พ.ศ.2547-2550 หัวหน้าผู้ฝึกสอน สโมสรฟุตบอลธนาคารกสิกรไทย พ.ศ.2534-2543 นักกีฬาฟุตบอล สโมสรกีฬาราชประชา พ.ศ.2520-2523
คุณมนตรี ไชยพันธุ์ รองผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนา พ.ศ.2539-2541 ผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมกีฬา พ.ศ.2541-2542 ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายและแผน พ.ศ.2542-2543