170 likes | 425 Views
ความหมาย และวิวัฒนาการ ของระบบปฏิบัติการ. ความเป็นมาการใช้งานคอมพิวเตอร์. ผู้ประดิษฐ์เครื่องจะเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงาน ทุกขั้นตอน คำสั่งเป็นภาษาเครื่อง ( Machin e language). ชุดคำสั่งภาษา แอสเซมบลี้ ( Assembly language) และมีตัวแปล คำสั่งเรียกว่า แอ สเซม เบลอ ( Assembler).
E N D
ความหมาย และวิวัฒนาการ ของระบบปฏิบัติการ
ความเป็นมาการใช้งานคอมพิวเตอร์ความเป็นมาการใช้งานคอมพิวเตอร์ ผู้ประดิษฐ์เครื่องจะเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงาน ทุกขั้นตอน คำสั่งเป็นภาษาเครื่อง (Machine language) ชุดคำสั่งภาษาแอสเซมบลี้(Assembly language) และมีตัวแปล คำสั่งเรียกว่า แอสเซมเบลอ (Assembler) ภาษาระดับสูง (High level language)เช่น ภาษาเบสิก (BASIC) โคบอล (COBOL)มีตัวแปลคำสั่งเรียกว่า คอมไพเลอร์ (Compiler) และอินเทอร์พรีเตอร์(Interpreter)คำสั่งที่ถูกแปลงมาคือCode
ความหมายของ System Software เป็นโปรแกรมทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการทำงานของระบบอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น ทำงานได้หลายประเภท เช่น ควบคุมการทำงานของเครื่อง และอุปกรณ์ I/O เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เช่น ระบบหลายภารกิจ หรือ ระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง (Multiprogramming)
ความหมายของระบบปฏิบัติการOperating System : OS เป็นซอฟต์แวร์ระบบที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป จัดสรรทรัพยากรในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการแก่ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ โปรแกรมที่ช่วยจัดการให้การรันโปรแกรมเสร็จสิ้นสมบูรณ์ และควบคุมการทำงานของเครื่อง
วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการวิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ ยุคที่ 1 หลอดสุญญากาศ ยังไม่มีระบบปฏิบัติการ ช่วงปี ค.ศ.1945 - ค.ศ.1955 ผลิตเครื่องจักรในการคำนวณโดยใช้หลอดสุญญากาศ (Vacumm Tube) เครื่องมีขนาดใหญ่มาก หลอดสุญญากาศประมาณ 10,000 หลอด ใช้ฮาร์ดแวร์ในการสั่งงาน หรือเรียกว่า ปลั๊กบอร์ด
ภาพตัวอย่าง ยุคที่ 1 หลอดสุญญากาศ ยังไม่มีระบบปฏิบัติการ
วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการวิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ ยุคที่ 2 ทรานซิสเตอร์กับการประมวลผลแบบแบทช์ ช่วงปี ค.ศ.1955 - ค.ศ.1965 ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ได้สำเร็จและนำมาเป็นองค์ประกอบหลักในการสร้างคอมพิวเตอร์ ใช้มากในวงการธุรกิจ มีการแบ่งกลุ่มหรือจัดสรรบุคลากรที่ทำงานด้านคอมพิวเตอร์ เช่น ผู้ออกแบบระบบ นักเขียนโปรแกรม ฯลฯ พัฒนาภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) ถือว่าเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงภาษาแรก โดยใช้บัตรเจาะรูในการบันทึกข้อมูล
วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการวิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ ยุคที่ 2 ทรานซิสเตอร์กับการประมวลผลแบบแบทช์ (ต่อ) ต่อมาพัฒนาเป็นระบบการประมวลผลแบบแบทช์(Batch Processing System) รวบรวมงานไว้ในเทปแม่เหล็ก ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าบัตรเจาะรู งานส่วนใหญ่ที่นำมาใช้เป็นงานเกี่ยวกับทางวิทยาศาสตร์ และการคำนวณทางวิศวกรรม การแก้สมการทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ ใช้ระบบปฏิบัติการเอฟเอ็มเอส (FMS :Fortran Moniter System)
ภาพตัวอย่าง ยุคที่ 2 ทรานซิสเตอร์กับการประมวลผลแบบแบทซ์
วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการวิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ ยุคที่ 3 ไอซีและระบบมัลติโปรแกรม (Multiprogramming) ช่วงปี ค.ศ.1965 - ค.ศ.1980 แบ่งกลุ่มงานเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ งานด้านธุรกิจ และงานด้านวิทยาศาสตร์ บริษัทไอบีเอ็มเป็นผู้พัฒนา ไอบีเอ็ม 360 เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่นำเอาเทคโนโลยีไอซีมาใช้ มีแนวคิดทำงานแบบหลายโปรแกรม โดยการแบ่งส่วนของหน่วยความจำเป็นส่วน ๆ เพื่อเก็บงานที่มีในระบบไว้
วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการวิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ ยุคที่ 3 ไอซีและระบบมัลติโปรแกรม (ต่อ) หากงานมีขนาดใหญ่ งานอื่น ๆ จะไม่ได้รับการประมวลผลจนกว่างานจะประมวลผลเสร็จสิ้นก่อน ทำให้งานอื่นต้องคอย ปัญหาการคอยนาน จึงเกิดแนวคิดและออกแบบระบบการทำงานแบบจัดสรรเวลา (Time Sharing)
วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการวิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ ยุคที่ 3 ไอซีและระบบมัลติโปรแกรม (ต่อ) ระบบปฏิบัติการแรกที่ใช้ คือ ระบบปฏิบัติการมัลติก(MULTIC : Multiplexed Information and Computing Service) พัฒนาโดยสถาบันเทคโนโลยีแห่งรัฐแมสชาชูเซต (MIT :Massachusetts Instute of Technology) เคน ทอมสัน (Ken Tompson) พัฒนาระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX Operating System) นิยมใช้ในปัจจุบันโดยเฉพาะสถาบันการศึกษา
ภาพตัวอย่าง ยุคที่ 3 ไอซีและระบบมัลติโปรแกรม (Multiprogramming)
วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการวิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ ยุคที่ 4 คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและระบบปฏิบัติการเครือข่าย ช่วงปี ค.ศ.1980 - ค.ศ.1990ประดิษฐ์วีแอลเอสไอ (VLSI : Very Large Scale Integrate Circuit) นำมาใช้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ใช้งานเฉพาะตัวหรือเชื่อมต่อหลาย ๆ เครื่องเข้าด้วยกัน ใช้ทรัพยากรร่วมกันเรียกว่า เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network)
วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการวิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ ยุคที่ 4 คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและระบบปฏิบัติการเครือข่าย (ต่อ) ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลคือ MS-DOS และ PC-DOS ระบบปฏิบัติการที่ใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายใช้เรียกว่า ระบบปฏิบัติการเครือข่าย(NOS : Network Operating System)
ภาพตัวอย่าง ยุคที่ 4 คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและระบบปฏิบัติการเครือข่าย