1 / 24

การศึกษาการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคธุรกิจ

การศึกษาการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคธุรกิจ. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุขสรรค์ กันตะบุตร กลุ่มวิจัยภาวะผู้นำ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล Email: cmsooksan@mahidol.ac.th การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 1 1 สิงหาคม 2550

luz
Download Presentation

การศึกษาการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคธุรกิจ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การศึกษาการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคธุรกิจ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุขสรรค์ กันตะบุตร กลุ่มวิจัยภาวะผู้นำ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล Email: cmsooksan@mahidol.ac.th การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 1 1 สิงหาคม 2550 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต

  2. ประเด็นของการนำเสนอ • คำถามหลักในการวิจัย • ระเบียบวิธีในการวิจัย • องค์กรธุรกิจในการศึกษา • ผลของการศึกษา • แนวทางการวิจัยต่อเนื่องในอนาคต

  3. คำถามหลักในการวิจัย (Broad Research Questions) แนวทางในการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนของประเทศไทยมีความคล้ายคลึงกันและสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ อย่างไร หากว่าแนวทางในการดำเนินธุรกิจขององค์กรธุรกิจที่ยั่งยืนในประเทศไทยมีความคล้ายคลึงกันและสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว แนวทางในการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนนี้ มีความคล้ายคลึงกับแนวทางในการดำเนินธุรกิจขององค์กรธุรกิจที่ยั่งยืนแห่งโลกตะวันตกหรือไม่ อย่างไร หากว่าแนวทางในการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนทั้งในประเทศและต่างประเทศดังกล่าว มีความคล้ายคลึงกันและสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว แนวทางเหล่านี้คืออะไร และสามารถอธิบายได้อย่างมีนัยสำคัญได้อย่างไรว่าแต่ละแนวทางนี้สามารถที่จะนำองค์กรธุรกิจไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน

  4. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

  5. องค์กรธุรกิจที่ยั่งยืนคืออะไร?องค์กรธุรกิจที่ยั่งยืนคืออะไร? มีผลการดำเนินงานที่ดี มีความสามารถที่จะทนทานต่อความยากลำบากทางเศรษฐกิจและสังคม มีความสามารถที่จะรักษาความเป็นผู้นำคนหนึ่งในธุรกิจที่ตนดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจอยู่

  6. ระเบียบวิธีในการวิจัยระเบียบวิธีในการวิจัย • “Middle-range thinking” (Laughlin, 1995) • การศึกษาที่มีอยู่แล้วที่ทำการศึกษาโดยนักวิจัยอื่นหรือผู้วิจัยเอง แล้วผู้วิจัยทำการศึกษาเพิ่มเติมโดยใช้ • เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น รายงานประจำปี รายงานการวิเคราะห์ต่าง ๆ การให้สัมภาษณ์ของผู้บริหารขององค์กรกับสื่อต่าง ๆ • การสนทนาหรือสัมภาษณ์กับผู้บริหาร พนักงาน หรืออดีตสมาชิกขององค์กรหรือผู้เกี่ยวข้องกับบริษัท • การสังเกตการณ์ระหว่างการเยี่ยมชมองค์กร (non-participant observation) • การสนทนากับนักวิจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง • “Grounded theory” (Glaser & Strauss, 1967) ขบวนการแบบอุปนัย (inductive process) เกิดขึ้นซ้ำไปซ้ำมาเป็นระยะเวลามากกว่า 1 ปี • การเปรียบเทียบ (comparison) • การเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่าง (contrasting) • การบันทึก (cataloguing) • การจัดกลุ่มของข้อมูล (classifying)

  7. องค์กรธุรกิจในการศึกษาองค์กรธุรกิจในการศึกษา SMEs 296 แห่งจากอุตสาหกรรมหลัก 6 กลุ่มของประเทศไทย (อภิชัย พันธเสน และคณะ, 2546) ชุมพร คาบาน่า รีสอร์ท (พันธุ์บุณย์ ทองสังข์, 2550) อายุ > 25 ปี บ้านอนุรักษ์กระดาษสา (สุขสรรค์ กันตะบุตร, 2547) อายุ > 30 ปี โรงพยาบาลเทพธารินทร์ อายุ > 20 ปี บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) (กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์, 2547) อายุ > 30 ปี บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) อายุ > 30 ปี บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (สมบัติ กุสุมาวลี, 2547) อายุ > 90 ปี องค์กรธุรกิจที่ยั่งยืน 28 องค์กรจากโลกตะวันตก เช่น Nordstrom, BMW, HSBC และ Munich Reinsurance (Avery, 2005)

  8. งานวิจัยโดย ศ.ดร.อภิชัย พันธเสนและคณะ พบว่า SMEs 296 แห่งจากอุตสาหกรรมหลัก 6 กลุ่มของประเทศไทยที่สามารถผ่านวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจปี 2540 มาได้อย่างประสบความสำเร็จ มีการปฏิบัติตนสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และทำได้ดีเป็นพิเศษในช่วงวิกฤต SMEs และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

  9. SMEs และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง • สิ่งที่ค้นพบคือ SMEs ที่ผ่านวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 มาได้ปฏิบัติตนดังนี้ • ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม นั่นคือ ใช้เทคโนโลยีที่มีราคาไม่แพง แต่ถูกหลักวิชาการ • มีขนาดการผลิตที่เหมาะสม สอดคล้องกับความสามารถในการบริหารจัดการ • ไม่โลภเกินไปและไม่เน้นกำไรระยะสั้นเป็นหลัก • เน้นความซื่อสัตย์สุจริตในการประกอบการ ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค แรงงานลูกค้า และผู้จำหน่ายวัตถุดิบ • เน้นการกระจายความเสี่ยงจากการมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และ/หรือ มีความสามารถในการปรับเปลี่ยนผลผลิตได้ด้วย • เน้นการบริหารความเสี่ยงต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ก่อหนี้จนบริหารจัดการไม่ได้ • เน้นการตอบสนองตลาดในท้องถิ่น ภูมิภาค ตลาดในและนอกประเทศตามลำดับ

  10. ชุมพรคาบาน่า รีสอร์ต(> 25 years) จุดเด่นที่สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง • ใช้ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างความแตกต่างให้กับการให้บริการ ใช้นวัตกรรมเหล่านี้เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน มีการแบ่งปันความรู้ให้กับบุคลที่สนใจ • มีการปกป้องสิ่งแวดล้อมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม เช่น บ้านอนุรักษ์ธรรมชาติและพลังงาน • มีการ recycle วัตถุดิบใช้เอง เช่น การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรต่าง ๆ ขึ้นใช้ภายในรีสอร์ต ไม่ว่าจะเป็นการใช้กากผลไม้ หรือเศษอาหารจากครัว หรือมูลสัตว์ต่าง ๆ มาทำการหมักตามกรรมวิธี • ถึงแม้ว่าจะมีการขยายธุรกิจอย่างไม่ระมัดระวังเพียงพอช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540 แต่ก็ปรับตัวโดยการมีเหตุผลในการขยายธุรกิจในเวลาต่อมาอย่างค่อยเป็นค่อยไป • ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของพนักงาน อย่างจริงใจ มองพนักงานเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จของธุรกิจ ไม่มีการปลดพนักงานในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540 • มีการก่อให้เกิดความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนอื่น ๆ ของพนักงาน • มีความเพียรพยายามและมานะอดทน ไม่ล้มเลิกความตั้งใจง่าย ๆ

  11. บ้านอนุรักษ์กระดาษสา (> 30 years) จุดเด่นที่สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง • ใช้ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์กระดาษสา เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก มีการแบ่งปันความรู้ให้กับบุคคลที่สนใจ • มีนวัตกรรม และมีการคิดค้นวิธีการผลิตใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของผลิตภัณฑ์หรือขบวนการในการผลิต • มีการปกป้องสิ่งแวดล้อมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยคิดสร้างระบบบำบัดน้ำเสียเอง เครื่อง recycle วัตถุดิบเอง แบบชาวบ้าน • มีเหตุผลในการขยายธุรกิจ ขยายอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่รีบร้อนถึงแม้ว่าจะมี demand ในตลาดสำหรับสินค้าของตนสูง เริ่มจากตลาดภายในประเทศก่อน แล้วจึงไปตลาดต่างประเทศ • ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของพนักงาน อย่างจริงใจ มองพนักงานเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จของธุรกิจซึ่งต้องการความคิดสร้างสรรค์สูง • มีมาตรฐานทางจริยธรรมสูง ซื่อสัตย์ต่อคู่ค้า • มีการก่อให้เกิดความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนอื่น ๆ ของพนักงาน • มีการบริหารการเงินที่ดีตามศักยภาพ • มีความเพียรพยายามและมานะอดทน ไม่ล้มเลิกความตั้งใจง่าย ๆ

  12. โรงพยาบาลเทพธารินทร์ (> 20 years) จุดเด่นที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง • ทำในสิ่งที่ตนเองทำได้ดีที่สุด คือกลุ่มโรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการรักษาและป้องกันโรคต่อมไร้ท่ออย่างต่อเนื่อง • มีเหตุผลในการเปลี่ยนโฟกัสจากการรักษามาเป็นการป้องกัน เพราะเป็นโรคทางพันธุกรรมและสามารถป้องกันหรือ delay ได้ • มีการแนะนำวิชาชีพใหม่ ๆ เช่น นักกำหนดอาหาร ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาเท้า ผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน • มีความมานะอดทน เพราะเมื่อเริ่มก่อตั้งไม่มีทั้งบุคลากรทางการแพทย์และ “ลูกค้า” ซึ่งเข้าใจโรคต่อมไร้ท่อ จึงขาดทุนอยู่หลายปี แต่ไม่ล้มเลิกความตั้งใจ • มองการณ์ไกลในการบริหารจัดการ ค่อยค่อยขยายธุรกิจตามสายธุรกิจหลักที่มีความชำนาญ เช่น medical fitness center • ผ่านวิกฤตปี 2540 มาได้ด้วยความสัมพันธ์อันดีกับผู้ให้กู้เงิน offshore และศักยภาพทางธุรกิจที่มีอยู่ และไม่มีการให้พนักงานออก เพราะเห็นความสำคัญของพนักงาน • มีการแบ่งปันความรู้ให้กับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และไม่เกรงว่าจะสร้างคู่แข่งให้กับตนเอง

  13. ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์หรือมาม่า(> 30 years) จุดเด่นที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง • ให้ความสำคัญกับพนักงาน ไม่มีการให้พนักงานออกในช่วงวิกฤตปี 2540 • มีการวิจัยสร้างความรู้ใหม่และนวัตกรรมใหม่ ๆ ในผลิตภัณฑ์อยู่ตลอดเวลา • มีมาตรฐานทางจริยธรรมสูง เช่นไม่มีความพยายามในการเพิ่มราคามาม่าเลยเป็นเวลากว่า 11 ปีแล้ว ถึงแม้ว่าจะสามารถทำได้ แต่ไม่ทำ กลับไปเพิ่มกำไรผ่านทางการบริหารต้นทุนที่ดีขึ้น • มองการณ์ไกล มีการวางแผนระยะยาว เช่นทราบว่าปริมาณคนไทยที่บริโภคมาม่ากำลังจะถึงจุดอิ่มตัว จึงมองการลงทุนในธุรกิจอื่น ๆ • มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างจริงใจ เช่นริเริ่มในการผลิตถ้วยกระดาษบรรจุมาม่า หรือการไม่เพิ่มราคาสินค้าที่กล่าวมาข้างต้น • มีนโยบายที่จะไม่โฆษณาตนเองสำหรับกิจกรรมที่ทำให้สังคมหรือบริจาคให้กับสังคมมาอย่างต่อเนื่อง เพราะถือว่าถ้าทำดีแล้วโฆษณาตนเอง จะไม่ได้บุญ • มีการคำนึงถึงการสร้างภูมิคุ้มกันอย่างชัดเจน เช่นปัจจุบันมีการวางแผนการลงทุนในธุรกิจใหม่ 2000 ล้านบาท แต่มีการสำรองเงินไว้ 1000 ล้านบาทด้วย

  14. แพรนด้าจิวเวลรี่(> 30 years) จุดเด่นที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง • การบริหารความเสี่ยงทางการตลาดที่ชัดเจน โดยมีตลาดที่หลากหลายในหลายส่วนของโลก มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและอยู่บนพื้นฐานของความรู้จริง • ผ่านวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ด้วยความช่วยเหลือจากคู่ค้า เช่น ลูกค้าไม่ทอดทิ้ง คู่ค้าวัตถุดิบให้วัตถุดิบมาใช้ก่อน • การเน้นในธุรกิจที่ตนเองมีความรู้จริงเท่านั้น คือเจาะกลุ่มผู้บริโภคที่อยู่ตรงกลางระหว่าง high-end และ low-end ไม่แข่งขันในตลาดแบบที่เป็น premium ซึ่งตนเองไม่มีความชำนาญ • คำนึงถึงและรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลาย ลงทุนอย่างมากมายในการพัฒนาสังคม • ให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ มีการฝึกอบรมพนักงานอย่างต่อเนื่อง และร่วมกับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในการอบรมบุคคลทั่วไปเพื่อรับเข้าเป็นพนักงานของตน ไม่มีการให้พนักงานออกในช่วงวิกฤต • มีนวัตกรรมในผลิตภัณฑ์สูง มีรูปแบบที่หลากหลาย • มีการแบ่งปันความรู้ให้กับบุคคลที่สนใจ

  15. ปูนซิเมนต์ไทย(> 90 years) จุดเด่นที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง • ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองทำได้ดีที่สุด ถึงแม้ว่าจะมีการทำธุรกิจในสิ่งที่ตนเองไม่มีความรอบรู้ในช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 แต่ก็ผ่านวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจปี 2540 ด้วยการกลับมาทำในสิ่งที่ตนเองมีความรอบรู้ • ให้ความสำคัญกับพนักงานและคุณภาพชีวิตของพนักงาน ไม่มีการให้พนักงานออกในช่วงวิกฤต • พัฒนาผู้บริหารระดับสูงจากบุคลากรภายในองค์กร • คำนึงถึงและรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลาย ลงทุนอย่างมากมายในการพัฒนาสังคม • ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีการฝึกอบรมพนักงานอย่างต่อเนื่อง แม้แต่ในยามวิกฤต • มีนวัตกรรมในผลิตภัณฑ์สูง และคำนึงถึงการประหยัดพลังงาน • ไม่ให้ความสำคัญกับการทำกำไรสูงสุดในระยะสั้น แต่ท้าทายนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ให้มองการณ์ไกลและคำนึงถึงธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน

  16. Nordstrom (> 100 years) จุดเด่นที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง • ไม่ให้ความสำคัญกับการสร้างกำไรสูงสุด เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นแต่เพียงอย่างเดียว แต่คำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดของธุรกิจ เพื่อรักษาความสัมพันธ์ระยะยาว • มีสินค้าที่หลากหลาย ในราคาที่ยุติธรรม • ลงทุนอย่างมากมายกับ พนักงาน ลูกค้า สังคม สิ่งแวดล้อม และส่วนอื่น ๆ ของสังคม • ไม่กังวลกับการรายงานผลดำเนินงานทุกไตรมาสกับตลาดหลักทรัพย์ แต่ท้าทายนักลงทุนซึ่งมุ่งหวังผลกำไรในระยะสั้น โดยการบริหารงานเพื่อผลตอบแทนในระยะยาวมากกว่า • จ่ายเงินเดือนและค่าตอบแทนให้กับพนักงานมากกว่าที่ควรจะเป็น • ให้ความสำคัญกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ของพนักงาน เพื่อก่อให้เกิดความพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า ไม่มีการอบรมพนักงานขาย เพียงแต่บอกว่าให้บริการให้ดีที่สุดเท่านั้น • มีการเลื่อนตำแหน่งงานที่สูงขึ้นจากภายใน ไม่ชอบที่จะนำเอาบุคคลภายนอกเข้ามา • ในช่วงภาวะวิกฤติ ไม่มีการให้พนักงานออก เพื่อรักษาองค์ความรู้และวัฒนธรรมแห่งองค์กร • ให้ความสำคัญอย่างมากกับการพัฒนาชุมชนที่ตนดำเนินธุรกิจอยู่ ลงทุนในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชน และสนับสนุนให้พนักงานมีส่วนร่วมในชุมชน

  17. HSBC(> 140 years) จุดเด่นที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง • ลงทุนมากมายในการพัฒนาพนักงาน เลือกที่จะพัฒนาพนักงานของตนเองให้เป็นผู้บริหาร • ถือเป็นความจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด บทบาทที่สำคัญต่อสังคมคือ ดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ บริการลูกค้าอย่างดีเลิศ ให้ผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้น และสร้างบรรยากาศและสถานที่ทำงานที่ปลอดภัยให้แก่พนักงาน • Corporate Social Responsibility ไม่ใช่แค่การบริจาคเท่านั้น แต่รวมถึงกิจกรรมทางธุรกิจทุกอย่างที่ทำทุก ๆ วัน • มีมาตรฐานทางจริยธรรมสูงในการปล่อยเงินกู้ เช่นมีความระมัดระวังและจำกัดการให้เงินกู้แก่ธุรกิจผลิตอาวุธ และไม่ให้เงินกู้เลยแก่ธุรกิจที่ผลิตระเบิดหรือส่งออกระเบิด ตรงกันข้าม HSBC กลับให้เงินช่วยเหลือเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายจากระเบิด • มองการณ์ไกลในการบริหารจัดการ รวมถึงการชนะใจลูกค้าโดยการให้บริการอย่างมืออาชีพ โปร่งใสและซื่อสัตย์สุจริตตลอดมา • มีการแบ่งปันความรู้และสร้างนวัตกรรมทั่วทั้งองค์กร

  18. BMW(> 90 years) จุดเด่นที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง • มีนวัตกรรม และมีการคิดค้นวิธีการผลิตใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง • ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของพนักงาน อย่างจริงใจ มองพนักงานเป็นการลงทุนมากกว่าต้นทุนจม • แทบจะไม่เคยจ้างผู้บริหารระดับสูงจากนอกบริษัท แต่เลือกที่จะพัฒนาพนักงานของตนเองให้เป็นผู้บริหาร • มีการปกป้องสิ่งแวดล้อมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม • มีการก่อให้เกิดความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนอื่น ๆ ของพนักงาน • ให้โอกาสกับนักศึกษาในการฝึกงาน และจ้างนักศึกษาเหล่านี้เมื่อจบการศึกษาแล้ว เป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบทางสังคม • ให้ความสำคัญสูงสุดต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ • มีความรับผิดชอบต่อมนุษยชาติและสิ่งแวดล้อม ลงทุนมหาศาลในการลดเสียงรบกวนแก่ชุมชนใกล้เคียง พยายามให้ชิ้นส่วนรถยนต์มีการนำกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือใช้รถไฟในการขนส่งเมื่อเป็นไปได้ • มีความโปร่งใสต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด

  19. ผลของการศึกษา(แนวทางปฏิบัติ 10 ประการแห่งองค์กรธุรกิจแบบเศรษฐกิจพอเพียง) จากการวิเคราะห์ (grounded theory) พบว่าธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนในการศึกษานี้ มีแนวทางในการดำเนินธุรกิจที่คล้ายกัน 10 แนวทางดังนี้ • มองการณ์ไกลในการบริหารจัดการและตัดสินใจในเชิงนโยบาย อย่างมุ่งหวังกำไรในระยะสั้นแต่คิดถึงผลกระทบในระยะยาว • ให้คุณค่าแก่พนักงานอย่างจริงใจและพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่อง (รวมถึงการพัฒนาพนักงานของตนเองให้เป็นผู้บริหาร)หลีกเลี่ยงการให้พนักงานออกแม้แต่ในยามทุกยากทางเศรษฐกิจ เพราะพนักงานคือสินทรัพย์ (ที่พัฒนาได้) ขององค์กร • จริงใจและหวังดีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของธุรกิจทั้งหมด รวมถึงประชากรและสังคมในอนาคต • ให้ความสำคัญต่อการพัฒนานวัตกรรมทั่วทั้งองค์กร ทั้งในส่วนของผลิตภัณฑ์และขบวนการให้บริการหรือขบวนการผลิต • ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

  20. ผลของการศึกษา(แนวทางปฏิบัติ 10 ประการแห่งองค์กรธุรกิจแบบเศรษฐกิจพอเพียง) • ใช้ และ/หรือพัฒนาเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพแต่ราคาไม่สูง โดยเฉพาะเทคโนโลยีแบบไทย ๆ หรือพื้นบ้าน • ขยายธุรกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป เมื่อพร้อมทุกด้านเท่านั้น • ลดความเสี่ยงโดยการมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ตลาดที่หลากหลาย และการลงทุนที่หลากหลาย โดยอยู่บนพื้นฐานของความรู้จริง • แบ่งปัน รวมถึงการแบ่งปันองค์ความรู้ที่มีเพื่อพัฒนาตลาด เพื่อผลประโยชน์ที่ตกแก่ผู้บริโภคและสังคม • สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีจริยธรรม ความอดทนและขยันหมั่นเพียรเป็นค่านิยมพื้นฐาน

  21. ผลของการศึกษา • ผลของการศึกษาชี้แนะว่า องค์กรธุรกิจที่ดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจะมีลักษณะดังนี้ • มีนวัตกรรมสูงมากทั่วทั้งองค์กร ทำให้ยากแก่การเลียนแบบ • มีต้นทุนที่ซ่อนเร้นเกี่ยวกับบุคลากรต่ำ (เช่น การทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ) • สามารถที่จะผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูงอย่างสม่ำเสมอ • สามารถที่จะปรับตัวได้อย่างทันท่วงที เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

  22. นัยสำคัญของการวิจัย • องค์กรธุรกิจที่ศึกษาทั้งหมด ทำการศึกษาโดยทีมวิจัยที่แตกต่างกันเป็นส่วนใหญ่ จึงมีการควบคุม bias ที่อาจเกิดได้จากผู้วิจัยคนใดคนหนึ่งเอง • องค์กรธุรกิจที่ศึกษาทั้งหมดมีทีมผู้บริหารที่แตกต่างกัน มีสภาวการณ์การแข่งขันที่แตกต่างกัน และในบางกรณีอยู่กันคนละส่วนของโลก แต่มีแนวทางในการดำเนินธุรกิจที่คล้ายกัน และประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนตามเงื่อนไขสามประการขององค์กรธุรกิจที่ยั่งยืน ถึงแม้ว่างานศึกษา SME296 แห่งของ ศ. ดร. อภิชัย พันธเสน จะไม่มีข้อมูลเรื่องสถานะความเป็นผู้นำของธุรกิจ แต่ก็น่าจะถือว่าเป็นองค์กรธุรกิจที่ยั่งยืนได้ เพราะได้ผ่านการทดสอบในช่วงวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540 ในขณะที่คู่แข่งก็ได้ล้มละลายไปมาก • แนวทางในการดำเนินธุรกิจที่คล้ายกันนี้ จะไม่มีนัยสำคัญเลย หากเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจที่นักธุรกิจปฏิบัติกันอยู่แล้วโดยทั่วไป ตรงกันข้ามแนวทางของธุรกิจที่ยั่งยืนในการศึกษานี้ส่วนใหญ่กลับสวนทางกับแนวปฏิบัติที่นิยมกัน (Anglo/US capitalism model of short-term maximization of shareholder value) แต่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

  23. ข้อจำกัดของการวิจัย • ธุรกิจในประเทศไทยที่ทำการศึกษายังมีอายุยังไม่มากนักเมื่อเทียบกับองค์กรธุรกิจทางตะวันตก จึงผ่านการทดสอบความยั่งยืนได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น • เมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรธุรกิจที่ยั่งยืนทางตะวันตก องค์กรธุรกิจไทยในการศึกษาส่วนใหญ่ ยังมีจุดบกพร่องซึ่งอาจจะเกิดปัญหาความไม่ยั่งยืนได้ในอนาคต เช่น มีการบริหารแบบ top-down approach โดยการตัดสินใจขึ้นอยู่กับผู้บริหารพียงไม่กี่คน หาผู้สานต่อธุรกิจลำบาก เป็นต้น • ถึงแม้ว่าการศึกษาครั้งนี้จะมีการพยายามควบคุม validity ของข้อมูล แต่ก็อาจจะมีการผิดพลาดได้ ดังนั้น งานวิจัยในอนาคตจะต้องดำเนินต่อไป เพื่อทดสอบ external validity ของแนวทางปฏิบัติ 10 ประการแห่งองค์กรธุรกิจแบบเศรษฐกิจพอเพียงและพัฒนาต่อ (refining)

  24. แนวทางการวิจัยต่อเนื่องในอนาคตแนวทางการวิจัยต่อเนื่องในอนาคต • การทดสอบ external validity ของ แนวทางปฏิบัติ 10 ประการขององค์กรธุรกิจแบบเศรษฐกิจพอเพียง (โดยใช้เงื่อนไขสามประการขององค์กรธุรกิจแบบยั่งยืนเป็นตัวตั้ง) • ในธุรกิจการเงินการธนาคาร หรือธุรกิจเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว • ในธุรกิจที่การคอรัปชั่นเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันอยู่โดยทั่วไป • ใน SMEs และอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศไทย • การวิจัยเพื่อพัฒนาดัชนีแห่งความยั่งยืน หรือ Sufficiency Economy Index ให้กับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยอาจจะใช้แนวทางปฏิบัติ 10 ประการขององค์กรธุรกิจแบบเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐานในการคิดคะแนน • การศึกษาแนวทางในการสร้างค่านิยม “พอเพียง” ให้กับนักธุรกิจไทย • การศึกษาแนวทางในการสอดแทรกปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในหลักสูตรทางด้านการบริหารธุรกิจ เช่น การจัดการตลาด การบริหารการเงิน การจัดการเทคโนโลยี การจัดการทรัพยากรบุคคล

More Related