220 likes | 233 Views
LIS3122 ทรัพยากรสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Information Resources in Science and Technology). ครั้งที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - วรรณกรรมสำคัญในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - ทรัพยากรสารสนเทศทั่วไปในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี.
E N D
LIS3122ทรัพยากรสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Information Resources in Science and Technology) ครั้งที่ 2ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - วรรณกรรมสำคัญในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - ทรัพยากรสารสนเทศทั่วไปในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี อาจารย์พิมลอร ตันหัน ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
วัตถุประสงค์ • เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจลักษณะวรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • เพื่อให้นักศึกษาสามารถคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับห้องสมุดหรือแหล่งบริการสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
Assignment (Week2) • พิจารณาเลือกตำราเรียนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อจัดเก็บในห้องสมุดระดับอุดมศึกษามาอย่างน้อย 4รายชื่อ • แบ่งเป็นภาษาไทย 2รายชื่อ และภาษาอังกฤษ 2รายชื่อ โดยให้นักศึกษารวบรวมนำส่งเป็นรายการบรรณานุกรม • ให้เหตุผลประกอบสำหรับหนังสือแต่ละรายการ เหตุใดนักศึกษาจึงพิจารณาเลือกหนังสือดังกล่าวเป็นตำราเรียน
ขอบเขตของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ราชบัณฑิตยสถานได้กำหนด สาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ไว้ดังนี้ 1. วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Sciences) ประกอบด้วยสิ่งไม่มีชีวิต แบ่งเป็น 8 สาขาวิชา คือ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ดาราศาสตร์ ธรณีวิทยา คอมพิวเตอร์ศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา สมุทรศาสตร์
2. วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Biological Sciences) ว่าด้วยเรื่องราวของ สิ่งมีชีวิต แบ่งออกเป็น 3 สาขาวิชา ได้แก่ ชีววิทยา พฤกษศาสตร์ และสัตววิทยา 3. วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Sciences) คือ วิทยาศาสตร์ที่ ที่มุ่งประโยชน์ในทางปฏิบัติยิ่งกว่าทฤษฎี แบ่งออกเป็น 8 สาขาวิชา ได้แก่ แพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ เภสัชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ และวนศาสตร์การประมง
Library for Congress Classification Q วิทยาศาสตร์ QA คณิตศาสตร์ QK พฤษศาสตร์ QB ดาราศาสตร์ QLสัตวศาสตร์ QC ฟิสิกส์ QM กายวิภาคศาสตร์ QD เคมี QP สรีรวิทยา QE ธรณีวิทยา QR จุลชีววิทยา QH วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
Dewey Decimal Classification 500 วิทยาศาสตร์ธรรมชาติและคณิตศาสตร์ (Natural Science & Mathematics) 510 คณิตศาสตร์ (Mathematics) 520 ดาราศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง (Astronomy & Allied Sciences) 530 ฟิสิกส์ (Physics) 540 เคมี (Chemistry & Allied Sciences) 550 โลกวิทยา (Earth Sciences) 560 บรรพชีวินวิทยา (Paleontology Paleozoology) 570 วิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิต ชีววิทยา (Life Science Biology) 580 พืช (Plants) 590 สัตว์ (Animals)
ลักษณะวรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีลักษณะวรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • วรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ความสำคัญ กับความทันสมัย ของข้อมูลหรือสารสนเทศใหม่ ๆ • เอกสารปฐมภูมิเป็นวรรณกรรมที่เผยแพร่ ผลการศึกษาค้นคว้า วิจัย ทดลอง และการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์เป็นครั้งแรก เผยแพร่ในรูปแบบบทความวิจัยในวารสารวิชาการ รายงานการวิจัย รายงานการประชุมวิชาการ รายงานผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ สิทธิบัตร มาตรฐาน และ เอกสารการค้า เป็นต้น • เอกสารทุติยภูมิ เช่น หนังสืออ้างอิง ตำรา แบบเรียน เป็นต้น • เอกสารตติยภูมิ เช่น บรรณานุกรม ดรรชนี เป็นต้น
การแบ่งประเภทของทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการในห้องสมุด/แหล่งบริการสารสนเทศการแบ่งประเภทของทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการในห้องสมุด/แหล่งบริการสารสนเทศ การแบ่งประเภทของทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการในห้องสมุดมีหลักเกณฑ์แตกต่างกันไป ส่วนมากจะแบ่งตามเนื้อหาสารสนเทศของทรัพยากรสารสนเทศ เช่น ทรัพยากรสารสนเทศทางสังคมศาสตร์ ทรัพยากรสารสนเทศทางมนุษยศาสตร์ ทรัพยากรสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น หรือแบ่งจากลักษณะและวัตถุประสงค์ของการจัดทำ เช่น หนังสืออ้างอิง สิ่งพิมพ์รัฐบาล หนังสือรายงานประจำปี สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง วารสาร นิตยสาร เป็นต้น และอาจแบ่งตามรูปแบบ (format) ของทรัพยากรสารสนเทศ เช่น สิ่งพิมพ์ วัสดุไม่ตีพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ / สื่อดิจิทัล เป็นต้น
การแบ่งประเภทของทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการในห้องสมุด/แหล่งบริการสารสนเทศการแบ่งประเภทของทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการในห้องสมุด/แหล่งบริการสารสนเทศ • ทรัพยากรสารสนเทศสื่อสิ่งพิมพ์ (Printed Material) ห้องสมุดหรือแหล่งบริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะจัดหาทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์ที่อยู่ในรูปแบบ ตำราหลัก/หนังสือวิชาการ หนังสืออ้างอิง หนังสือทั่วไป หนังสือ วารสาร/หนังสือพิมพ์ นิตยสาร นวนิยาย เรื่องสั้น โดยเน้นให้มีเนื้อหาที่ตรงกับการเรียนการสอน และเนื้อหาทั่วไปในแต่ละสาขาวิชาที่สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนของมหาวิทยาลัย ส่วนห้องสมุดหรือแหล่งบริการสารสนเทศที่อยู่ในการดูแลของหน่วยงานต่างๆ ก็จะจัดสิ่งพิมพ์ให้มีเนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงานนั่นๆ
ตัวอย่างห้องสมุดและแหล่งบริการสารสนเทศของหน่วยงานตัวอย่างห้องสมุดและแหล่งบริการสารสนเทศของหน่วยงาน ห้องสมุดสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม http://library.tisi.go.th/T/main.html
ตัวอย่างห้องสมุดและแหล่งบริการสารสนเทศของหน่วยงานตัวอย่างห้องสมุดและแหล่งบริการสารสนเทศของหน่วยงาน ห้องสมุดข้าว กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว http://brrd.ricethailand.go.th/library/
การแบ่งประเภทของทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการในห้องสมุด/แหล่งบริการสารสนเทศการแบ่งประเภทของทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการในห้องสมุด/แหล่งบริการสารสนเทศ • ทรัพยากรสารสนเทศสื่อไม่ตีพิมพ์ (Non-printed Material) ห้องสมุดหรือแหล่งบริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะจัดหาทรัพยากรสารสนเทศประเภทไม่ตีพิมพ์ที่อยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น แผนที่ หุ่นจำลอง วัสดุเสมือนจริง เป็นต้น โดยเน้นให้มีเนื้อหาที่ตรงกับการเรียนการสอน และเนื้อหาทั่วไปในแต่ละสาขาวิชาที่สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนของมหาวิทยาลัย ส่วนห้องสมุดหรือแหล่งบริการสารสนเทศที่อยู่ในการดูแลของหน่วยงานต่างๆ ก็จะจัดสิ่งพิมพ์ให้มีเนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
ตัวอย่างทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อไม่ตีพิมพ์ตัวอย่างทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อไม่ตีพิมพ์ พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬา พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ ภาพจาก: http://www.cu100.chula.ac.th/story/
การแบ่งประเภทของทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการในห้องสมุด/แหล่งบริการสารสนเทศการแบ่งประเภทของทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการในห้องสมุด/แหล่งบริการสารสนเทศ • ทรัพยากรสารสนเทศสื่ออิเล็กทรอนิกส์/สื่อดิจิทัล(Electronic / Digital Materials) ห้องสมุดหรือแหล่งบริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะจัดหาทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่ออิเล็กทรอนิกส์/สื่อดิจิทัล โดยเน้นให้มีเนื้อหาที่ตรงกับการเรียนการสอน และเนื้อหาทั่วไปในแต่ละสาขาวิชาที่สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนของมหาวิทยาลัย ส่วนห้องสมุดหรือแหล่งบริการสารสนเทศที่อยู่ในการดูแลของหน่วยงานต่างๆ ก็จะจัดสิ่งพิมพ์ให้มีเนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงานนั่นๆ เช่น ฐานข้อมูลออนไลน์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ และโปรแกรมการจัดการบรรณานุกรมและการอ้างอิง เป็นต้น
การพิจารณาคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศการพิจารณาคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ • ผู้ที่สามารถคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศเข้าห้องสมุด ได้แก่ • อาจารย์ • บุคลากร • บรรณารักษ์ • นักศึกษา
การพิจารณาคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศการพิจารณาคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ • เลือกทรัพยากรสารสนเทศที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบายของห้องสมุด • เลือกทรัพยากรสารสนเทศที่ครอบคลุมทุกสาขาวิชาให้ได้สัดส่วนสมดุลกัน • เลือกทรัพยากรสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้ • พิจารณาคุณค่าของทรัพยากรสารสนเทศ • ผู้แต่ง / ผู้รับผิดชอบการพิมพ์มีความน่าเชื่อถือ • เนื้อหามีความทันสมัย • จัดพิมพ์ด้วยวัสดุที่มีคุณภาพ / มีภาพประกอบสีชัดเจน • สำนักพิมพ์ / หน่วยงานที่จัดพิมพ์มีความเชียวชาญในสาขาวิชานั้นๆ • เลือกทรัพยากรสารสนเทศด้วยความเที่ยงธรรม • เลือกทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาไม่ขัดต่อศีลธรรม และข้อกฎหมาย • การเลือกทรัพยากรสารสนต้องคำนึงถึงงบประมาณ
วรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • วรรณกรรมคลาสสิค (Classic): วรรณกรรมที่เสนอทฤษฏี แนวคิด ปรัชญาของศาสตร์ในสาขาวิชาต่างๆ เขียนโดยปราชญ์ในสาขาวิชานั่นๆ เช่น The Elements of Geometry by Euclid. , Natural History by Pliny the Elder. , Letters on the Solar Spots by Galileo. • วรรณกรรมพื้นฐาน (Basic): วรรณกรรมพื้นฐาน ที่เสนอความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ เขียนโดยนักวิชาการในสาขาวิชา
ตัวอย่างวรรณกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตัวอย่างวรรณกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • “สิทธิบัตร (Patent) : หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด เป็นสิทธิพิเศษที่ให้ผู้ประดิษฐ์คิดค้นหรือผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์มีสิทธิที่จะผลิตสินค้า จำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียว ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การประดิษฐ์ หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับ ลักษณะองค์ประกอบ โครงสร้างหรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิต การรักษา หรือปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น หรือทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ ที่แตกต่างไปจากเดิม “ (กรมทรัพย์สินทางปัญญา, 2559)
วรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • มาตรฐาน (Standard) : เป็นกรอบแนวทางที่จะช่วยให้องค์กรที่ต้องการประสบความสำเร็จ และสามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพทำให้องค์กรมีความก้าวหน้าในนวัตกรรมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมาตรฐานเป็นวิธีการทดลองหรือการสดสอบการ การตรวจสอบการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ช่วยให้องค์กรลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น • ตัวอย่างมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • - ISO14001 การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม • - ISO/IEC 27001 การรักษาความปลอดภัยข้อมูล • - ISO50001 การจัดการพลังงาน
วรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตัวอย่างมาตรฐานทางการแพทย์และสาธารณสุข