560 likes | 1.3k Views
การศึกษาหัวข้อสนใจ 1 (ทอ 491) อาหารฮาลาล. โดย วิวัฒน์ หวังเจริญ. บทบัญญัติของศาสนาอิสลาม เกี่ยวกับอาหารฮาลาล. บทที่ 2. หัวข้อบรรยาย. 2.1 สิ่งที่อนุญาตให้รับประทาน 2.2 การเชือดหรือการฆ่าสัตว์ 2.3 การชำระล้างให้สะอาด. ท่านทราบหรือไม่ว่า.
E N D
การศึกษาหัวข้อสนใจ 1 (ทอ 491)อาหารฮาลาล โดย วิวัฒน์ หวังเจริญ
บทบัญญัติของศาสนาอิสลามบทบัญญัติของศาสนาอิสลาม เกี่ยวกับอาหารฮาลาล บทที่ 2
หัวข้อบรรยาย 2.1 สิ่งที่อนุญาตให้รับประทาน 2.2 การเชือดหรือการฆ่าสัตว์ 2.3 การชำระล้างให้สะอาด
ท่านทราบหรือไม่ว่า • บทบัญญัติของศาสนาอิสลามที่เกี่ยวข้องกับอาหาร อาจสามารถพิจารณาแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ - สิ่งที่อนุญาตให้รับประทาน - การเชือดหรือฆ่าสัตว์ และ - การชำระล้างให้สะอาด (ปราศจากนะยิส)
ส่วนอื่นๆ จะเกี่ยวข้องกับการป้องกันการปนเปื้อนของสิ่งที่เป็นฮารอมและนะยิสลงมาในอาหาร ซึ่งสามารถจัดการได้โดย.... - การเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมตั้งแต่ขั้นตอน การผลิต การขนส่ง การเก็บรักษา และ การวางจำหน่าย เพื่อให้สามารถรักษาคุณภาพของอาหารไว้ได้ และสามารถป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งที่เป็น ฮารอมและนะยิสต่างๆ ได้
2.1 สิ่งที่อนุญาตให้รับประทาน • สิ่งที่อนุญาตให้รับประทานตามบทบัญญัติทางศาสนาอิสลามอาจแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ สัตว์ พืช และ เครื่องดื่ม • โดยในส่วนของสัตว์จะมีข้อกำหนดมากที่สุด ในขณะที่ในส่วนของพืชไม่มีรายละเอียดอื่นๆ ระบุไว้นอกจาก... -ห้ามรับประทานพืชที่มีพิษและมีอันตราย
ส่วนเครื่องดื่ม มีการระบุรายละเอียดของสิ่งที่ห้ามรับประทานดังนี้ -สิ่งที่เป็นอันตราย เช่น ยาพิษ เพราะเป็น สิ่งที่ทำลายร่างกาย - สิ่งที่เป็นสิ่งสกปรก เช่น เลือด ปัสสาวะ หรือ นมจากสัตว์ที่ห้ามรับประทานเนื้อของสัตว์เหล่านั้น - สิ่งที่ทำให้มึนเมา หรือ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ผสมอยู่
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสัตว์มีดังนี้ข้อกำหนดเกี่ยวกับสัตว์มีดังนี้ - สัตว์น้ำทุกชนิด (สัตว์ที่ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้บนบก) สามารถรับประทานได้ - สัตว์ที่มีบทบัญญัติให้รับประทานได้และผ่านการเชือดอย่างถูกต้องตามหลักศาสนา - ห้ามรับประทานสัตว์ที่มีบทบัญญัติห้ามรับประทาน เช่น ล่อ ลา - ห้ามรับประทานสัตว์ที่ไม่อนุญาตให้ฆ่า เช่น มด ผึ้ง นกหัวขวาน
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสัตว์มีดังนี้ (ต่อ) - ห้ามรับประทานสัตว์ที่เห็นว่าสกปรกหรือน่ารังเกียจ ได้แก่ สัตว์เลื้อยคลาน ยกเว้นสัตว์ที่มีระบุได้ว่าอนุญาตให้รับประทานได้ เช่น จิงโจ้ แย้ ซัมมูร (สัตว์รูปร่างคล้ายแมว) วับร์ (สัตว์ชนิดหนึ่งตัวเล็กกว่าแมว เบ้าตามีสีดำไม่มีหาง) อิบนุอัรส์ (สัตว์ชนิดหนึ่งตัวเล็ก เป็นศัตรูกับหนู สามารถจับหนูออกจากรูได้)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสัตว์มีดังนี้ (ต่อ) - ห้ามรับประทานสัตว์ที่มีเขี้ยวงา แข็งแรง และสามารถใช้เขี้ยวงาทำร้ายสัตว์อื่นได้ เช่น สุนัข สุกร หมาป่า หมี แมว เสือ และลิง เป็นต้น รวมทั้งนกทุกชนิดที่มีกรงเล็บที่แข็งแรง โดยสามารถใช้กรงเล็บนั้นทำร้ายสัตว์อื่นได้ เช่น เหยี่ยวชนิดต่างๆ นกอินทรีย์ เป็นต้น
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสัตว์มีดังนี้ (ต่อ) - ห้ามรับประทานสัตว์มีพิษ สัตว์นำโรค เช่น ตะขาบ หนู เป็นต้น - ห้ามรับประทานสัตว์ที่ปรากฏชัดว่าเป็นอันตราย เช่น งู แมงป่อง เป็นต้น
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสัตว์มีดังนี้ (ต่อ) - ห้ามรับประทานซากสัตว์ ไม่ว่าจะตายด้วยสาเหตุใดก็ตาม โดยซากสัตว์จะหมายถึง สัตว์ที่เสียชีวิตโดยไม่ได้ถูกทำการเชือดอย่างถูกต้องตามบทบัญญัติของศาสนา ไม่ว่าจะเสียชีวิตเองหรือตายด้วยการกระทำของผู้อื่นหรือสัตว์อื่น ทั้งนี้มีข้อยกเว้นสำหรับปลา และ ตั๊กแตน ที่ตาย ซึ่งศาสนาอนุญาตให้รับประทานได้
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสัตว์มีดังนี้ (ต่อ) - ห้ามรับประทานเลือดสัตว์ทุกชนิดยกเว้น ตับและม้ามถือเป็นเลือดที่ศาสนาอนุญาตให้รับประทานได้ (เพราะในสมัยก่อนเข้าใจว่าตับและม้าม คือ ก้อนเลือด)
สำหรับวัตถุเจือปนอาหารต่างๆ หากเป็นสิ่งที่ผลิตจากหรือมีส่วนผสมของ สิ่งที่เป็นฮารอมดังกล่าวข้างต้นให้ถือว่าเป็นฮารอมหากเป็นสิ่งที่ไม่สามารถบ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่าเป็นฮาลาลหรือฮารอม ต้องทำการพิสูจน์ให้แน่ชัดก่อนนำมาใช้
2.2 การเชือดหรือฆ่าสัตว์ • สำหรับวิธีการเชือดหรือฆ่าสัตว์ตามหลักศาสนาอิสลามนั้น มีเงื่อนไขที่จำเป็นต้องมีและปฏิบัติ ซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 4 กรณีดังนี้ - เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้เชือด - เงื่อนไขเกี่ยวกับสัตว์ที่ถูกเชือด - เงื่อนไขเกี่ยวกับวิธีการเชือด - เงื่อนไขเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้เชือด
(1) เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้เชือด • ผู้เชือดต้องเป็นมุสลิมหรือเป็นผู้ศรัทธาตามหลักเบื้องต้นของการศรัทธาในศาสนาอิสลาม • มีสุขภาพจิตสมบูรณ์ • ไม่เป็นโรคติดต่อที่สังคมรังเกียจ • ผู้เชือดจะต้องไม่เชือดสัตว์เพื่อสิ่งอื่นนอกจากอัลเลาะฮ์ (ซบ.)
(2) เงื่อนไขเกี่ยวกับสัตว์ที่ถูกเชือด • ต้องเป็นสัตว์ที่รับประทานได้ตามบัญญัติของศาสนา • ไม่มีการทรมานหรือทารุณสัตว์ก่อนหรือขณะเชือด • สัตว์ที่จะถูกเชือด ต้องอยู่ในสภาพที่มีชีวิตอยู่อย่างมั่นคง ถ้าหากทำการเชือดสัตว์ที่อยู่ในสภาพอ่อนเปลี้ยเหมือนสัตว์ใกล้ตาย ไม่ถือว่าเป็นการเชือดที่ถูกต้องตามบัญญัติศาสนา และไม่อนุญาตให้รับประทาน
(3) เงื่อนไขเกี่ยวกับวิธีการเชือด • ผู้เชือดจะต้องเอ่ยนามของอัลเลาะฮ์ (ซบ.) เมื่อเริ่มเชือด (บิสมิลลา) • ต้องตัดหลอดลม หลอดอาหาร และเส้นเลือดสองข้างลำคอให้ขาดจากกันในครั้งเดียว ถ้าหากตัดไม่ขาด สัตว์ตัวนั้นก็ไม่อนุญาตให้รับประทาน • ควรผินหน้า (ทั้งผู้เชือดและสัตว์) ไปทางกิบลัด (ทิศอันเป็นที่ตั้งของนครเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย)
(4) เงื่อนไขเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้เชือด • เครื่องมือที่ใช้เชือดต้องทำให้เกิดบาดแผลด้วยคมของเครื่องมือที่ใช้ ไม่ว่าเครื่องมือนั้น จะเป็นเหล็ก ทองแดง ตะกั่ว หรือสิ่งใดก็ตาม ดังนั้นการทุบสัตว์ให้ตายโดยใช้ก้อนหินหรือสิ่งอื่นใดที่ไม่มีคม ไม่ถือว่าเป็นการเชือดที่ถูกต้องตามบัญญัติของศาสนาอิสลาม และเครื่องมือที่ใช้ต้องมีความคม เพื่อให้สัตว์ตายอย่างรวดเร็ว และ ไม่ทรมานในขณะถูกเชือด
(4) เงื่อนไขเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้เชือด (ต่อ) • เครื่องมือที่ใช้ในการเชือดจะต้องไม่ใช้ฟันและเล็บ (โดยให้ถือว่า กระดูกทุกชนิดของมนุษย์และ สัตว์ รวมอยู่ในคำว่าฟันและเล็บด้วย)
2.3 การชำระล้างให้สะอาด • การชำระล้างที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม จะแตกต่างกันออกไปตามประเภทของนะยิส ดังรายละเอียดต่อไปนี้ • มุค๊อฟฟะฟะห์ (นะยิสย่อย) ได้แก่ ปัสสาวะของเด็กชายซึ่งอายุไม่ถึง 2ขวบ ไม่ได้กินหรือดื่มสิ่งอื่นใดที่ทำให้อิ่มนอกจากน้ำนมของแม่ • วิธีการชำระล้าง:ให้เช็ดหรือเอานะยิสออกเสียก่อน แล้วใช้น้ำพรมบนรอยเปื้อนนะยิสนั้นให้ทั่วก็ใช้ได้
มูตาวัสซิเตาะห์ (นะยิสปานกลาง) ได้แก่ อาเจียน ปัสสาวะ อุจจาระ โลหิต น้ำหนอง น้ำเหลือง ซากสัตว์ (ยกเว้นมนุษย์ ปลา และตั๊กแตน) น้ำนมของสัตว์ที่ห้ามรับประทาน สุรา และของเหลวที่ทำให้มึนเมา • วิธีการชำระล้าง: ให้เช็ดหรือเอานะยิสออกให้หมดเสียก่อน แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด โดยวิธีใช้น้ำไหลผ่าน 1ครั้งก็ใช้ได้ แต่ถ้า 3ครั้งจะดีกว่า
ในกรณีที่ไม่สามารถใช้น้ำไหลผ่านได้ เช่น ปัสสาวะบนพื้นที่ไม่มีทางไหล ให้เอาผ้าเช็ดปัสสาวะจนแห้ง นำผ้าไปซักให้สะอาด แล้วเอาผ้าเปียกมาเช็ดตรงรอยเปื้อนปัสสาวะ เอาผ้าไปซักให้สะอาด แล้วเอาผ้าเปียกมาเช็ดตรงรอยเปื้อนอีก ทำดังนี้ 3 ครั้งก็ใช้ได้ ถึงแม้ว่าปัสสาวะนั้นจะแห้งแล้ว ก็ให้ทำความสะอาดด้วยวิธีเดียวกัน
มูฆ็อลลาเซาะห์ (นะยิสใหญ่) ได้แก่ สุนัข สุกร หรือทุกสิ่งอันเกิดจาสัตว์ทั้งสองนี้ เช่น ปัสสาวะ อุจจาระ รอยเท้าที่เปียกหรือน้ำลายของมัน เป็นต้น วิธีการชำระล้าง:ให้เช็ดหรือเอานะยิสออกให้หมดเสียก่อน แล้วใช้น้ำดินหรือน้ำดินสอพองล้างให้ไหลผ่านเป็นครั้งที่ 1 แล้วจึงเอาน้ำสะอาดล้างให้น้ำไหลผ่านอีก 6 ครั้ง รวมเป็น 7 ครั้ง
นอกจากวิธีการชำระล้างที่ถูกต้องกับประเภทของนะยิสแล้ว น้ำที่ใช้ทำความสะอาดก็จะต้องเป็นน้ำที่ถูกต้องตามหลักการของศาสนาด้วย ซึ่งน้ำที่สามารถใช้เพื่อการชำระล้างได้อย่างถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม มี 7ชนิด คือ 1. น้ำจากแม่น้ำ ลำคลอง น้ำประปา 2. น้ำฝน น้ำค้าง น้ำตก 3. น้ำทะเลมหาสมุทร
4. น้ำบ่อ น้ำบาดาล 5. น้ำจากหิมะหรือน้ำแข็ง 6. น้ำจากลูกเห็บ 7. น้ำจากตาน้ำ
และยังมีการแบ่งระดับความสะอาดของน้ำไว้เป็น 4 ประเภทดังนี้ คือ 1.น้ำมุตลัก (น้ำสะอาด) คือ น้ำสะอาดและชำระล้างสิ่งอื่นให้สะอาดได้ ซึ่งหมายถึงน้ำทั้ง 7 ชนิดข้างต้น 2. น้ำมูซัมมัส (น้ำสะอาดที่เปลี่ยนสภาพ) คือ น้ำสะอาดที่สามารถใช้ทำความสะอาดสิ่งอื่นๆ ได้ แต่ไม่ควรใช้ (มักโระฮ์) หากไม่จำเป็น ได้แก่ น้ำสะอาดที่อยู่ในภาชนะที่เกิดสนิมได้และถูกแดดเผาจนร้อน
3. น้ำมุสตะอ์มัล (น้ำสะอาดที่ไม่บริสุทธิ์) คือ น้ำที่สะอาด แต่ใช้ทำความสะอาดสิ่งอื่นไม่ได้ เช่น น้ำที่ถูกใช้ทำความสะอาดไปแล้ว แม้จะไม่มีการเปลี่ยนสี กลิ่น และรสก็ตาม 4. น้ำนะยิส (น้ำสกปรก) คือ น้ำที่มีนะยิสเจือปนอยู่และมีปริมาณน้ำไม่ถึง 216ลิตร (2กุลละห์) หรือหากมีปริมาณเกิน 216ลิตร แต่สภาพของน้ำเปลี่ยนสี กลิ่น รส จะนำไปใช้ชำระล้างสิ่งสกปรกไม่ได้ (ปริมาณน้ำ 2 กุลละห์นี้ เมื่อเทียบเป็นลิตร แหล่งข้อมูลต่างๆ มีการให้ตัวเลขที่แตกต่างกันออกไปดังนี้ คือ 193 200 และ 216 ลิตร)
ดังนั้นจึงมีข้อพึงระวังเกี่ยวกับการทำความสะอาดโดยการชำระล้างดังต่อไปนี้ คือ 1. สิ่งสกปรก (นะยิส) และวิธีทำความสะอาดตามบัญญัติอิสลาม มีความแตกต่างจากความรู้สึกของคนทั่วไป 2. น้ำที่ใช้ชำระล้างสิ่งสกปรก (นะยิส) จะต้องเป็นน้ำสะอาดตามบัญญัติอิสลาม
3. วิธีชำระล้างสิ่งสกปรก (นะยิส) แต่ละประเภทมีกฎเกณฑ์เฉพาะซึ่งต่างจากวิธีการทั่วไป เช่น จำนวนครั้งของการล้าง น้ำต้องไหลผ่าน หรือ การใช้น้ำดิน เป็นต้น 4. ต้องระวังอย่าให้นะยิสตกลงไป หรือใช้ภาชนะที่เปื้อนนะยิสตักน้ำที่ใช้ทำความสะอาด เพราะจะทำให้น้ำนั้นเป็นน้ำนะยิส
จบบทที่ 2 ขอบคุณทุกท่านที่กรุณาติดตาม แล้วพบกันในบทที่ 3 ครับ