100 likes | 186 Views
รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายแบ่งตามกลุ่มผู้ใช้. อินเตอร์เน็ต (INTERNET).
E N D
รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายแบ่งตามกลุ่มผู้ใช้รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายแบ่งตามกลุ่มผู้ใช้
อินเตอร์เน็ต (INTERNET) อินเตอร์เน็ต (INTERNET) เป็นระบบเครือข่ายสากล ที่ให้บริการสื่อสารข้อมูลทั่วโลก โดยที่เป็นผลจากการวิจัยและพัฒนาการทางทหาร ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ในโครงการ ARPA (Advanced Project Research Agency) ในปี ค.ศ.1969 โดยการเริ่มจากการ เชื่อมโยงข้อมูลใน 4 มหาวิทยาลัย ด้วยการใช้โปรโตคอลที่มีชื่อว่า TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) หรือที่รู้จักกันในนาม Internet Protocol จนกลายมาเป็นชื่อของระบบเครือข่ายในที่สุด ซึ่งเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นเสมือนทางด่วนข้อมูล ของระบบสารสนเทศของโลก
อินทราเน็ต (INTRANET) เป็นเครือข่ายภายในองค์กร ที่เปลี่ยนโปรโตคอล ในการสื่อสาร บนระบบเครือข่าย แบบแลนเดิมๆ ไปเป็นโปรโตคอล TCP/IP เช่นเดียวกับอินเตอร์เน็ต และสามารถใช้โปรแกรมต่างๆ ที่พัฒนาเพื่อ ใช้กับอินเตอร์เน็ตได้ ทำให้มีค่าใช้จ่ายถูกลงมาก ต่างกันตรงที่ อินทราเน็ต จะเป็นเครือข่ายปิด ใช้เฉพาะในองค์กรเท่านั้น
เอ็กซ์ทราเน็ต (EXTRANET) เป็นระบบแบบเดียวกับอินทราเน็ต แต่ใช้เชื่อมโยงกัน ระหว่างองค์กรต่างๆ โดยทั่วๆไปจะเป็นองค์กร ที่ทำธุรกิจร่วมกัน ซึ่งต่างจากอินเตอร์เน็ต เพราะเอ็กซ์ทราเน็ตมีการใช้งาน จำกัดขอบเขตเฉพาะกลุ่ม เช่นกลุ่มธนาคาร จะมีเครือข่ายโอนเงิน เป็นกลุ่มของตนเอง
รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายแบ่งตามเทคโนโลยีรูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายแบ่งตามเทคโนโลยี
TOPOLOGY แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ 1. แบบดาว (Star network) 2. แบบวงแหวน (Ring network) 3. แบบต้นไม้ , บัส (Bus network) 4. แบบผสม (Bridge network)
เครือข่ายแบบดาว (Star network) การเชื่อมต่อเครือข่ายมีอยู่ด้วยกันหลายลักษณะ แต่ลักษณะการเชื่อมต่อ แบบดาว StarNetwork ) นั้นจะเป็นลักษณะของการต่อเครือข่ายที่ Work station แต่ละตัวต่อรวมเข้าสู่ศูนย์กลางสวิตซ์ เพื่อสลับตำแหน่งของเส้นทางของข้อมูลใด ๆ ในระบบ ดังนั้นใน โทโปโลยี แบบดาว คอมพิวเตอร์จะติดต่อกันได้ใน 1 ครั้ง ต่อ 1 คู่สถานีเท่านั้น เมื่อสถานีใดต้องการส่งข้องมูลมันจะส่งข้อมูลไปยังศูนย์กลางสวิทซ์ก่อน เพื่อบอกให้ศูนย์กลาง สวิตซ์มันสลับตำแหน่งของคู่สถานีไปยังสถานีที่ต้องการติดต่อด้วย ดังนั้นข้อมูลจึงไม่เกิดการชนกันเอง ทำให้การสื่อสารได้รวดเร็วเมื่อสถานีใดสถานีหนึ่งเสีย ทั้งระบบจึงยังคงใช้งานได้ ในการค้นหาข้อบกพร่องจุดเสียต่างๆ จึงหาได้ง่ายตามไปด้วย แต่ก็มีข้อเสียที่ว่าต้องใช้งบประมาณสูงในการติดตั้งครั้งแรก
เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring network) ได้ถูกออกแบบให้ใช้ Media Access Units (MAU) ต่อรวมกันแบบเรียงลำดับเป็นวงแหวน แล้วจึงต่อ คอมพิวเตอร์ (PC) ที่เป็น Workstation หรือ Server เข้ากับ MAU ใน MAU 1 ตัวจะสามารถต่อออกไปได้ถึง 8 สถานี เมื่อสถานีถัดไปนั้นรับรู้ว่าต้องรับข้อมูล แล้วมันจึงส่งข้อมูลกลับ เป็นการตอบรับดังนั้นทุกสถานีบน โทโปโลยี วงแหวนจะได้ทำงานทั้งหมดซึ่งจะคอยเป็นผู้รับและผู้ส่งแล้วยังเป็นรีพีทเตอร์ ในตัวอีกด้วย ข้อมูลที่ผ่านไปแต่ละสถานี นั้น ข้อมูลที่เป็นตำแหน่งที่อยู่ตรงกับ สถานีใด สถานีนั้นจะรับข้อมูลเก็บไว้ แต่มันจะไม่ลบข้อมูลออกจากระบบ
เครือข่ายแบบบัส (Bus network) แบบบัส ( BusNetwork ) เป็นลักษณะของการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อ เป็นระบบเครือข่าย ด้วยสายเคเบิลยาวต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ โดยมีคอน เน็คเตอร์ ในการเชื่อมต่อ โดยลักษณะของการส่งหรือรับข้อมูล จะเป็นการส่งข้อมูล ทีละเครื่องในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เท่านั้นจากนั้นเครื่องปลายทาง ก็จะส่งสัญญาณข้อมูลกลับมา และในการเชื่อมต่อในระบบ Bus นี้จะต้องมี T-Connector ที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อ และมี Terminator เป็นอุปกรณ์ปิดปลายสายสัญญาณ ของทั้งระบบ
เครือข่ายแบบผสม (Hybrid network) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผสมผสานระหว่างรูปแบบต่างๆ หลายๆ แบบเข้าด้วยกัน คือจะมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย หลายๆ เครือข่ายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานเครือข่ายบริเวณกว้าง เป็นตัวอย่างเครือข่ายผสมที่พบเห็นกัน มากที่สุด เครือข่ายแบบนี้จะเชื่อมต่อเครือข่ายเล็ก - ใหญ่หลากหลายเผ่า พันธ์เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียว ซึ่งเครือข่ายที่ถูกเชื่อมต่ออาจจะอยู่ห่างกันคนละจังหวัด หรือ อาจจะอยู่คนละประเทศก็เป็นได้