970 likes | 1.65k Views
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สู่สถานศึกษา. โดย ดร.จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 19 มกราคม2550 โรงแรม. สาระ. กระทรวงศึกษาธิการบรรจุโครงการเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้แผนงานคุณธรรมนำความรู้ หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง แนวบริหารจัดการเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา แหล่งค้นหาตัวอย่างและข้อมูลดีๆ
E N D
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โดย ดร.จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 19 มกราคม2550 โรงแรม
สาระ • กระทรวงศึกษาธิการบรรจุโครงการเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้แผนงานคุณธรรมนำความรู้ • หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง • แนวบริหารจัดการเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา • แหล่งค้นหาตัวอย่างและข้อมูลดีๆ • เปิดศักราชใหม่กิจกรรมนักเรียน
คุณธรรมนำความรู้ น้อมนำสู่เศรษฐกิจพอเพียง • ปี2550 นโยบายรัฐบาลและศธ. เน้นคุณธรรมนำความรู้ - วิถีประชาธิปไตย(สถานศึกษาบริหารอย่างประชาธิปไตย/สอดแทรกในการสอน/จัดกิจกรรมสภานักเรียน /เรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น /มีเครือข่ายถ่ายทอดความรู้) -สมานฉันท์(จิตสำนึกเป็นพวกเดียวกัน/ มีเอกภาพในความหลากหลาย /เป็นมิตรต่อกัน /พึ่งพาอาศัยกัน/ไว้วางใจกัน/สร้างพลังร่วมของหมู่คณะ) - สันติสุข( คารวะธรรม / ปัญญาธรรม / สามัคคีธรรม) - เศรษฐกิจพอเพียง(พอประมาณ / มีเหตุผล / มีภูมิคุ้มกันในตัว)
ทิศทางใหม่การจัดการศึกษาในยุโรปเริ่มตั้งแต่ปี 2004 เน้นการสร้างวิถีประชาธิปไตยและหน้าที่พลเมือง 1. ให้เข้าถึงข้อมูลกฎหมาย ข่าวสารผ่านอินเตอร์เน็ต,นสพ.,วิทยุ.ทีวี จัดทำโดยนักเรียน 2. เน้นให้สถาบันการศึกษาส่งเสริมการร่วมพัฒนานโยบาย 3. ให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมชมรม/กิจกรรมสังคม 4.ส่งเสริมสิทธิและประชาธิปไตยในสถานศึกษา เปิดให้นักเรียน ประเมินสถานศึกษาผ่านอินเตอร์เน็ตได้ 5. ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักสิทธิเด็กตามกฎหมาย 52
การทำงานแบบสมานฉันท์โดยสร้างเครือข่ายการทำงานแบบสมานฉันท์โดยสร้างเครือข่าย • ทำบันทึกผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างหน่วยงาน/ผู้ร่วมงาน • ทำบัญชีรายชื่อหน่วยงานเกี่ยวข้อง / ทำบัญชีเว็บไซต์ • ไปเยี่ยมศึกษาดูงานแลกข้อมูลซึ่งกันและกัน • บทบาทผู้ให้และผู้รับทุนสนับสนุน • ขอใช้เป็นแหล่งวิชาการหรือฝึกอบรม • มีกลุ่มเครือข่ายแม่ข่ายและลูกข่าย • ทำโครงการร่วมกันตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน 13
ภายใต้แผนงานคุณธรรมนำความรู้ กิจกรรมฉลอง80พรรษาและโครงการเศรษฐกิจพอเพียง • 1. สกก. -ค่ายลูกเสือยุวกาชาดเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง • 2. สคบศ.-การฝึกอบรมผู้บริหารสร้างสถานศึกษา/องค์กรเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง • 3. กพร.-ใช้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นดัชนีวัดผลงานความสำเร็จ • 4. สอ.– จัดหลักสูตรฝึกอบรมข้าราชการทุกคน/OD ต้องรู้เศรษฐกิจพอเพียง • 5. สนย.-จัดทำงานวิจัย แนวคิดการสร้างหลักเศรษฐกิจพอเพียงในระบบการศึกษาอย่างยิ่งยืน
ภายใต้แผนงานคุณธรรมนำความรู้ กิจกรรมฉลอง80พรรษาในหลวงและโครงการเศรษฐกิจพอเพียง • 6. ศทก. - ประกวดผลงาน สื่อ electronics ของครู + เยาวชนในเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง • 7. สตผ.- ส่งผู้ตรวจราชการค้นหา Best Practices เศรษฐกิจพอเพียงในเขตตรวจราชการ 12+ กทม. • 8. กคศ.- จัดฝึกอบรมผู้บริหารการศึกษาในเรื่องคุณธรรมและเศรษฐกิจพอเพียง • 9. สช. - ส่งเสริมโรงเรียนเอกชนทุกประเภทนำหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงไปสอน+จัดกิจกรรมเสริม
ภายใต้แผนงานคุณธรรมนำความรู้กิจกรรมฉลอง80พรรษาในหลวงและโครงการเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้แผนงานคุณธรรมนำความรู้กิจกรรมฉลอง80พรรษาในหลวงและโครงการเศรษฐกิจพอเพียง กศน. - จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนต้นแบบ 1 ชุมชนในทุกอำเภอ • จัดการความรู้เพื่อพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยิ่งยืน โดยจัดร่วมกับ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง • องค์การมหาชน/มูลนิธิโครงการหลวง/มช./สป. (5 หน่วยงาน) • วิถีชีวิตของชุมชนพื้นที่สูง • การผลิตอาหารกิจกรรมหมู่บ้าน กลุ่มสหกรณ์ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มอาชีพ • ใช้องค์ความรู้จากโครงการหลวง ในเรื่องระบบนิเวศดิน/น้ำ/ป่า/ความรู้อาชีพ/การสร้างส่วนร่วมของชุมชน • กศน. เปิดศูนย์การเรียนรู้ชุมชนของไทยภูเขา
คุณธรรมนำความรู้ น้อมนำสู่เศรษฐกิจพอเพียง ระยะเวลาของสร้างคุณธรรมในระบบการศึกษาไทย- งาน 3 ระยะ 1. ร่วมคิด - ร่วมเข้าใจตรงกัน 2. ร่วมวางแผน - แบ่งงานกันทำ 3. ร่วมทำ - รณรงค์-เห็นผล ยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ 1. สร้างครอบครัวอบอุ่นมาร่วมมือโรงเรียนและชุมชน บ้าน-วัด-โรงเรียน 2. สร้างวัฒนธรรมสถานศึกษา 3. สร้างเครือข่ายสังคม
ยุทธศาสตร์คุณธรรมนำความรู้ ในส่วน สป. • 1. สนับสนุนระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและระบบดูแลความ ปลอดภัยของสถานศึกษา ให้เป็นไปตาม พรบ. คุ้มครองเด็ก พศ. 2546 • 2. พัฒนาเครือข่ายเสมารักษ์เพื่อส่งเสริมความประพฤตินักเรียน นักศึกษาตั้งแต่รับเรื่องร้องทุกข์ –ตรวจเยี่ยมสถานการณ์เสี่ยง -ฟื้นฟู-ส่งต่อ-การป้องกัน • 3. จัดระบบประสาน-ติดตาม-รายงาน–และเฝ้าระวังเพื่อ วิเคราะห์สถานการณ์ ในภาพรวมระดับเขต/จังหวัด/ประเทศ • 4. จัดการความรู้โดยการประชาสัมพันธ์/เผยแพร่/ยกย่อง สถานศึกษา/ครู/นักเรียนที่ทำดี
คุณธรรมนำความรู้ น้อมนำสู่เศรษฐกิจพอเพียง • สน. - โครงการเผยแพร่กฎหมายที่เกี่ยวกับคุณธรรม • ศทก. - โครงการอินเตอร์เน็ตสร้างสรรค์และปลอดภัยสำหรับเยาวชน • สกก. - โครงการลูกเสือ ยุวกาชาด ร่วมด้วยช่วยประชาชน - โครงการค่ายเยาวชนลูกเสือ ยุวกาชาด เศรษฐกิจพอเพียง,ลูกเสือ ยุวกาชาดทำเพ็ญประโยชน์ - โครงการงานชุมนุมลูกเสือ ยุวกาชาด • สคบศ. - โครงการส่งเสริมครูต้นแบบ - โครงการเครือข่ายวิถีพุทธ - โครงการกิจกรรมนำความรู้
คุณธรรมนำความรู้ น้อมนำสู่เศรษฐกิจพอเพียง • สนย.- โครงการศึกษาวิจัยการเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษา - โครงการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่สถานศึกษา • สตผ.- โครงการนำเสนอสถานศึกษาที่เป็น Best Practices ด้านการนำคุณธรรมจริยธรรมมาใช้ในสถานศึกษา - โครงการอบรมครูใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้ หลักคุณธรรมจริยธรรม • สต. - โครงการสร้างคุณธรรมด้วยหลักธรรมของท่านพุทธทาสภิกขุ
คุณธรรมนำความรู้ น้อมนำสู่เศรษฐกิจพอเพียง • สอ. - ประชาสัมพันธ์เผยแพร่และจัดการความรู้ผลงาน • กพร. - โครงการปับกระบวนทัศน์วัฒนธรรมองค์กรแห่งคุณธรรมและโปร่งใส มีบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน • กศน. - โครงการส่งเสริมคุณธรรมนำความรู้ - โครงการส่งเสริมการดำเนินงานเศรษฐกิจพอเพียง - โครงการวิจัยส่งเสริมประชาธิปไตยใน กศน. • กคศ. - โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของข้าราชการ - โครงการอบรมการบริหารสถานศึกษา โดยใช้ระบบคุณธรรม • สช. - โครงการศาสนสัมพันธ์
การสอนที่ส่งเสริมคุณธรรมนำความรู้การสอนที่ส่งเสริมคุณธรรมนำความรู้ 1.ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรมขั้นพื้นฐาน : ความรับผิดชอบ + ทำงานร่วมกับผู้อื่น 2.จัดกิจกรรมครอบคลุมทั้ง การคิด+ พฤติกรรมที่ทำ+ เกิดความรู้สึก 3.ใช้วิธีส่งเสริมแบบบูรณาการให้เกิดความคิดในเชิงบวก 4. สร้างบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่อบอุ่น 5. สร้างโอกาสการเรียนรู้เชิงคุณธรรมให้แก่นักเรียน 43
การสอนที่ส่งเสริมคุณธรรมเชิงสร้างสรรค์การสอนที่ส่งเสริมคุณธรรมเชิงสร้างสรรค์ 6.สอดแทรกคุณธรรมทุกวิชาและ ให้เกียรตินักเรียน 7.กระตุ้นให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 8.กระตุ้นครูทุกคนเป็นแบบอย่างที่ดีของศิษย์ 9.สร้างกิจกรรมนักเรียนในการเป็นผู้นำที่มีคุณธรรม 10.ขอความร่วมมือผู้ปกครองและชุมชน สนับสนุนการทำดีของลูก 11.การประเมินความสำเร็จของโรงเรียนให้ ประเมินจากพฤติกรรมของเด็กนักเรียน 44
ณ ปัจจุบัน คนไร้ศีลธรรมทำลายสิ่งแวดล้อมไม่ชอบพึ่งตนเองรายได้ต่ำรสนิยมสูงมุ่งแต่ประโยชน์ส่วนตนไม่อดทดและอดออมซื้อทุกอย่างที่ขวางหน้ามักง่ายไม่มีความพอรอพึ่งคนอื่นปล่อยตัวปล่อยใจตามแรงกระตุ้นของวัตถุนิยมฯลฯ เกิดมาจากความโลภ ขาดวินัยฯทั้งสิ้น แต่เรายังมีหนทางแก้ไข ถ้าเราใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
โครงการการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่สถานศึกษา เศรษฐกิจพอเพียง กระทรวงศึกษาธิการ สถานศึกษา
เศรษฐกิจพอเพียง กรอบความคิดเศรษฐกิจพอเพียง “เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็มและลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำ”พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (วารสารชัยพัฒนา)
หลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทางสายกลาง พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัว เงื่อนไขความรู้(รอบคอบ รอบรู้ ระมัดระวัง) เงื่อนไขคุณธรรม(ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน แบ่งปัน) ชีวิตเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สมดุล มั่นคง และยั่งยืน
หลักปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงหลักปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยพื้นฐาน คือการพึ่งตนเองเป็นหลัก พิจารณาถึงความพอดี พอเหมาะ พอควร สมเหตุสมผล การสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นบนพื้นฐานของความสมดุล ครอบคลุมทั้งทางด้านจิตใจ สังคม เทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ
หลักของความพอประมาณ (พอดี)5ประการ ข้อสรุปของสภาพัฒน์ฯ เข็มแข็ง มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร ประนีประนอม นึกถึงประโยชน์ส่วนรวม พอดีด้านจิตใจ พอดีด้านสังคม ช่วยเหลือเกื้อกูล รู้รักสามัคคี สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน พอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ และเกิดความยั่งยืนสูงสุด รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและสอดคล้องต่อความต้องการเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมและเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมและพัฒนาจากภูมิปัญญาชาวบ้านก่อน พอดีด้านเทคโนโลยี พอดีด้านเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอควร พออยู่ พอกิน สมควรตามอัตตาภาพและฐานะของตน
หลักของความมีเหตุผล ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพ ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพ ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในทางการค้าขายประกอบอาชีพ แบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง ไม่หยุดนิ่งที่หาทางในชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลด เลิก สิ่งยั่วกิเลสให้หมดสิ้นไป ไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่องทำลายตัวเอง ทำลายผู้อื่น พยายามเพิ่มพูนรักษาความดี ที่มีอยู่ให้งอกงามสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
หลักของความมีภูมิคุ้มกันหลักของความมีภูมิคุ้มกัน มีความรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง มีคุณธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต ขยันอดทนและแบ่งปัน
สหประชาชาติยกย่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาคนของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติกับเศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกัน สหประชาชาติจึงยอมรับ-เป้าหมายอยู่ที่การพัฒนาคน-บนฐานความเชื่อว่าการพัฒนาคือการช่วยให้คนมีโอกาสปรับปรุงตนเอง และให้มีชีวิตที่มีคุณภาพ สร้างสรรค์ มีเสรีภาพและมีศักดิ์ศรี -เชื่อว่าการพัฒนาต้องมีความยั่งยืน เสมอภาค เคารพธรรมชาติและใช้ทรัพยากรธรรมชาติด้วยความระมัดระวัง
แต่เศรษฐกิจพอเพียงมีความแตกต่างจากแนวทางการพัฒนาคนอยู่ 2 ประการสำคัญ • 1. เศรษฐกิจพอเพียงเสนอกระบวนการ ตามหลักการ 3 ข้อ(พอประมาณ พอดี มีภูมิคุ้มกันความเสี่ยง) ที่นำไปใช้วิเคราะห์สถานการณ์ กำหนดวัตถุประสงค์ วางแผน และตัดสินใจเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน สุขอนามัยที่ดี ชีวิตที่ยืนยาว การมีความรู้ การมีสิทธิอำนาจ และการอยู่ดีมีสุขของคน • 2.ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาพื้นฐานจิตใจและคุณธรรม โดยถือว่าการพัฒนาพื้นฐานจิตใจของคนเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาในทุกๆ ด้านที่แยกออกจากกันไม่ได้
6 ข้อเสนอในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงระดับชาติ • 1.เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาสำคัญยิ่งในการขจัดความยากจนและการลดความยากจน และการลดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของคนจน - ใช้เศรษฐกิจพอเพียงนำทางสำหรับนโยบายขจัดความยากจนของรัฐบาล โดยให้มีโครงการที่เน้นการพัฒนาขีดความสามารถของคนจนในการพึ่งตนเอง การผลิต การสร้างวินัยในการใช้จ่าย และการป้องกันความเสี่ยง • จัดสรรที่ดินให้แก่คนจนที่ไม่มีที่ทำกินหรือที่ทำกินไม่มีคุณภาพ โดยเวนคืนจากที่ดินในครอบครองของหน่วยงานที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก • สนับสนุนให้ชุมชนมีสิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยออกกฎหมายป่าชุมชนและกฎระเบียบสนับสนุนอื่นๆ - สร้างหลักประกันว่าการจัดสรรงบประมาณ โดยให้ความสำคัญกับพื้นที่ที่จำเป็นจริง และใช้งบประมาณอย่างสร้างสรรค์ -สร้างพลังอำนาจชุมชน
2.ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานสร้างพลังอำนาจและศักยภาพชุมชนให้เป็นฐานรากของการพัฒนาประเทศ2.ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานสร้างพลังอำนาจและศักยภาพชุมชนให้เป็นฐานรากของการพัฒนาประเทศ - ปรับเป้าหมายการพัฒนาชุมชนทั้งในชนบทและในเมือง โดยเน้นให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ และการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเป็นเป้าหมายหลัก - เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการเงินทุนและยกระดับกองทุน ของชุมชนให้เป็นธนาคารท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์และกู้ยืมภายในชุมชน - สร้างหลักประกันว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเปิดโอกาสให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนการพัฒนาท้องถิ่น - ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และกรณีตัวอย่างจากชุมชนและเครือข่ายที่ประสบผลสำเร็จ - ยกเลิกโครงการประเภทให้เปล่าและสนับสนุนโครงการที่ให้ชุมชนได้ใช้ศักยภาพของตนเองในการวางแผนและพัฒนาตรงความต้องการ - สนับสนุนให้ภาคธุรกิจเอกชนร่วมมือกันรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการส่งเสริมโครงการพัฒนาชุมชนตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียง -บูรณาการความคิด
3.เศรษฐกิจพอเพียงช่วยยกระดับความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทที่เน้นผลกำไรระยะยาวในบริบทที่มีการแข่งขัน3.เศรษฐกิจพอเพียงช่วยยกระดับความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทที่เน้นผลกำไรระยะยาวในบริบทที่มีการแข่งขัน - นำหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบรรจุไว้ในหลักสูตรการอบรมผู้บริหารบริษัทต่างๆ และในข้อพึงปฏิบัติของบรรษัทภิบาล -ณรงค์ให้สมาคมทางธุรกิจความรู้สมาชิกของตน ให้คณะบริหารธุรกิจของ มหาวิทยาลัยต่างๆ นำเอาเศรษฐกิจพอเพียงบรรจุในหลักสูตร - พัฒนาศักยภาพของธุรกิจชุมชนและธุรกิจขนาดเล็ก(SMEs) โดยใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้และเทคโนโลยีท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความสามารถในการแข่งขัน • สนับสนุนให้ธุรกิจต่างๆ แบ่งปันช่วยเหลือกันในเรื่องวัตถุดิบ อุปกรณ์ และการพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อพัฒนาตลาด • -ยกระดับธรรมาภิบาล
4.หลักการเศรษฐกิจพอเพียงสำคัญยิ่งต่อการปรับปรุงมาตรฐานของธรรมาภิบาลในการบริหารงานภาครัฐ4.หลักการเศรษฐกิจพอเพียงสำคัญยิ่งต่อการปรับปรุงมาตรฐานของธรรมาภิบาลในการบริหารงานภาครัฐ - หาทางเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่องค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการโกงและประพฤติมิชอบในระบบราชการ - บูรณาการหลักการเศรษฐกิจพอเพียงเข้าในแผนบริหารราชการแผ่นดินและพัฒนาตัวชี้วัดในการประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งในระดับองค์กรและตัวบุคคล - พัฒนากรอบแนวทางที่ใช้ติดตามกระบวนการตัดสินใจอนุมัติและดำเนินงานโครงการของภาครัฐให้เป็นไปตามหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง - ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยเสรีภาพด้านข่าวสารข้อมูล เพื่อสร้างหลักประกันให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้โดยไม่ถูกปิดกั้น -สร้างภูมิคุ้มกัน-สร้างชาติ
5.ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางกำหนดนโยบายชาติ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อสถานการณ์ที่กระทบฉับพลันและส่งเสริมการเติบโตที่เสมอภาคและยั่งยืน - ปรับนโยบายเกี่ยวกับพลังงานต่างๆ ให้มีความสอดคล้องต้องกันให้มากขึ้น เน้นการพึ่งตนเองให้มากขึ้น ด้วยการเร่งวิจัยเกี่ยวกับพลังงานทดแทนและการใช้พลังงานให้คุ้มค่าสูงสุด - คงนโยบาย หลักประกันสุขภาพ แต่ปรับปรุงการดำเนินงานให้เป็นไปตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความยั่งยืน • ปลูกจิตสำนึก-ปรับค่านิยม
6.ปลูกฝังจิตสำนึกพอเพียง ต้องปรับเปลี่ยนค่านิยม และความคิดของคนเพื่อให้เอื้อต่อการพัฒนาคน • พัฒนาคนให้มีความรู้ ที่ถูกต้องโดยสร้างแรงจูงใจการจัดการศึกษาให้ตนปฏิบัติตนและหน้าที่ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง • ปรับปรุงคุณภาพของการศึกษาทั้งด้านเนื้อหาและวิธีการเรียนการสอน เน้นคุณธรรม นำความรู้ • - ขยายรูปแบบการบริหารและจัดการสถานศึกษาโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงให้กว้างขวาง • - สนับสนุนการศึกษานอกโรงเรียนให้ตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน และส่งเสริมการบูรณาการเรียนรู้ในชุมชน • ส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงผ่านสื่อมวลชน รวมถึงการเพิ่มเวลาให้กับรายการที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาคน การพัฒนาสังคม - ยกย่องตัวอย่างความสำเร็จแบบเศรษฐกิจพอเพียง
วัตถุประสงค์ ขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาทุกระดับทั้งในและนอกระบบ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารองค์กร บริหารการศึกษาและพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ สู่การดำรงชีวิต เฉลิมฉลองพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ให้สถานศึกษาเป็นศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้ในชุมชน สร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตที่พอเพียง
วิธีการจัดการให้เกิดเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาวิธีการจัดการให้เกิดเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา • 1. วางระบบบริหารจัดการของโรงเรียนให้เป็นไปตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง • 2. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นเศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการเพื่อสร้างค่านิยม • 3. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
เป้าหมาย สร้างกระบวนการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแก่บุคลากรทางการศึกษาทุกระดับ ระยะแรก2550-2551 สร้างความรู้ความเข้าใจและกระแสสนับสนุนเกี่ยวกับปรัชญาฯ สร้างผู้นำ สถานศึกษาต้นแบบ เกิดการพัฒนาและสร้างคนที่มีความรู้ความเข้าใจในหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถ่องแท้
ขยายผลสู่สถานศึกษาระดับองค์กรหลักขยายผลสู่สถานศึกษาระดับองค์กรหลัก องค์กรหลักนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในทุกมิติ และขับเคลื่อนสู่หน่วยงาน และสถานศึกษาในสังกัด อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เชิญชวนโรงเรียนเข้าร่วมโครงการโดยความสมัครใจ ระยะสอง2551 เป็นต้นไป ส่งเสริมสนับสนุน และพัฒนาการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ติดตามประเมินผลและรายงานผล นำทูลเกล้าร่วมเฉลิมฉลองในพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา กำหนดเป็นนโยบายต่อเนื่องสู่การปฏิบัติและยั่งยืน
ขั้นตอนการดำเนินงานตามโครงการขั้นตอนการดำเนินงานตามโครงการ 1. การขับเคลื่อนในระดับกระทรวง แต่งตั้งคณะกรรมการ / คณะทำงาน สร้างพลังเครือข่ายแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อรูปแบบต่างๆ
2. การขยายผลสู่สถานศึกษาระดับองค์กรหลัก องค์กรหลักนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในทุกมิติ และขับเคลื่อนสู่หน่วยงาน และสถานศึกษาในสังกัด อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เชิญชวนโรงเรียนเข้าร่วมโครงการโดยความสมัครใจ ส่งเสริมสนับสนุน และพัฒนาการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์และระดับความสำเร็จที่กำหนด
3. การติดตามประเมินผลและรายงานผล 4. นำทูลเกล้าร่วมเฉลิมฉลองในพิธีมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา 80 พรรษา 5. กำหนดเป็นนโยบายต่อเนื่องสู่การปฏิบัติและ ยั่งยืน
แนวทางการจัดกิจกรรมในสถานศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมในสถานศึกษา
แนวทางการจัดกิจกรรมในสถานศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมในสถานศึกษา
แนวทางการจัดกิจกรรมในสถานศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมในสถานศึกษา
แนวทางการจัดกิจกรรมในสถานศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมในสถานศึกษา
แนวทางการจัดกิจกรรมในสถานศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมในสถานศึกษา
หลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียง ป.1 ปฏิบัติตนดี มีความพอเพียง - รับผิดชอบตนเอง- ใช้เงินประหยัด- รู้จักออม- รู้จักแบ่งปัน ป.2 ชีวิตสดใส พอใจเศรษฐกิจพอเพียง - รับผิดชอบต่อครอบครัว- มีวินัยการจ่าย- ชื่นชมปฏิบัติตนพอเพียง ป.3 ภูมิใจในตน ชุมชนของเรา - รับผิดชอบต่อชุมชุม - ประหยัด - วิเคราะห์รายรับรายจ่ายตนเอง - มีส่วนร่วมภูมิใจชีวิตครอบครัว
คุณธรรมนำความรู้ น้อมนำสู่เศรษฐกิจพอเพียง ป4. ชีวิตมีคุณค่า พึงพอเศรษฐกิจพอเพียง - เข้าใจรายรับ -รายจ่าย - สำรวจภูมิปัญญาชาวบ้าน -วิเคราะห์พระราชดำริเรื่องวินัย + หิริโอตตัปปะปะ ป.5ชีวิตพอเพียงไม่เสี่ยงความยากจน - นำหลักเศรษฐกิจมาใช้ ในครอบครัว - วิเคราะห์ชุมชน - ร่วมอนุรักษ์/ช่วยเหลือชุมชน- วิเคราะห์พระราชดำริเรื่องขยัน/ซื่อสัตย์ ป.6- วิถีชีวิตไทยภูมิใจเศรษฐกิจพอเพียง • เข้าใจชุมชน/สำรวจชุมชน - นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเปรียบเทียบกับครอบครัว - วิเคราะห์พระราชดำริเรื่อง สามัคคี และพึ่งตนเอง
คุณธรรมนำความรู้ น้อมนำสู่เศรษฐกิจพอเพียง ม.1 ตามรอยพ่อต่ออายุทรัพยากร - เข้าใจปรัชญา - นำแนวคิดมาใช้กับตนเอง ม.2 รอบรั้วบ้านเรา - สำรวจปัญหาของชุมชน -เสนอข้อแก้ไขปัญหาชุมชน ม.3 ชุมชนพัฒนา - เข้าใจเศรษฐกิจไปสัมพันธ์สิ่งแวดล้อม+วัฒนธรรม - มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาชุมชน
คุณธรรมนำความรู้ น้อมนำสู่เศรษฐกิจพอเพียง ม.4 เศรษฐกิจพอเพียงกับชุมชน - เข้าใจการบริหารองค์กรวิสาหกิจชุมชน - นำแนวทางวิสาหกิจชุมชนมาใช้ในชีวิต ม.5 เศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาประเทศ - เข้าใจนำไปพัฒนาประเทศ - นำปรัชญาระดับชาติมาใช้ในชีวิตตนเอง ม.6 เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ - เข้าใจโลกาภิวัตน์ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง • เข้าใจการพัฒนาประเทศให้สมดุล - ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน
ระยะเวลาดำเนินการ ระยะแรก ปีงบประมาณ 2550 - 2551 ระยะสอง ปีงบประมาณ 2551 เป็นต้นไป
หน่วยงานดำเนินการ หน่วยงานที่มีสถานศึกษาในสังกัด(สพฐ. , สช. , กศน. , สอศ. , สกอ. ) สถานศึกษารูปแบบพิเศษต่างๆ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
งบประมาณ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ องค์กรหลัก และทุกภาคส่วนราชการ ภาคเอกชนและเครือข่าย