390 likes | 764 Views
เศรษฐกิจพอเพียง กับการพัฒนาการวิจัย. ณัฏฐพงศ์ ทองภักดี ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. หัวข้อการบรรยาย. ความเป็นมาและความหมายของ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง
E N D
เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาการวิจัย เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาการวิจัย ณัฏฐพงศ์ ทองภักดี ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
หัวข้อการบรรยาย • ความเป็นมาและความหมายของ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง • การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง • ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการวิจัย • การพัฒนาคุณภาพการศึกษา • การสร้างองค์ความรู้ของปรัชญา • การดำเนินการวิจัยตามหลักปรัชญา
วิกฤติแสดงถึงความไม่พอเพียงในสังคมไทยวิกฤติแสดงถึงความไม่พอเพียงในสังคมไทย • ความไม่พอเพียงในการบริโภค---การออมลดลง • การลงทุนอย่างไม่พอเพียง • การก่อหนี้อย่างไม่พอเพียง • การประเมินเศรษฐกิจไทยที่สูงเกินความเป็นจริง • การบริหารเศรษฐกิจที่ขาดภูมิคุ้มกันที่ดี • การขาดคุณธรรม
ความเป็นมาของปรัชญา • วิกฤติแสดงถึงจุดอ่อน ทำให้ต้องมีการหาแนวทางใหม่ • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราโชวาทในวันที่ 4ธันวาคม 2540 ให้ตระหนักถึง เศรษฐกิจพอเพียง • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทาน ในแนวปรัชญาในหลายโอกาส • ห้าสถาบันร่วมจัดสัมมนาประจำปี TDRI มีการศึกษา รวบรวมพระราโชวาทในวาระต่างๆมาสรุปเป็นความหมายของปรัชญา และขอพระราชานุญาตนำมาในการสัมมนา เพื่อทำความเข้าใจและประยุกต์ • ข้อสรุปนั้นนำมาเป็นหลักแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9 และฉบับที่ 10
ทรงมีกระแสพระราชดำรัสแก่ปวงชนชาวไทย ให้ใช้แนวเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาประเทศ มาเป็นเวลานานแล้ว โดยมาจากพระราชกรณียกิจของพระองค์
การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือความพอมีพอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้าง ค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจ ขั้นที่สูงขึ้น โดยลำดับต่อไป พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๗
ทำโครงการอะไร ก็จะต้องนึกถึงขนาดที่เหมาะสมกับที่เรียกว่า อัตภาพ หรือกับสิ่งแวดล้อม ฉะนั้นการที่จะทำโครงการอะไร จะต้องทำด้วยความรอบคอบ และอย่าตาโตเกินไป พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐
การเป็นเสือนั้นไม่สำคัญสำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจ แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ให้มีพอเพียงกับตัวเอง อันนี้ก็เคยบอก ว่าความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐
ให้พอเพียงนี้ ก็หมายความว่า มีกิน มีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้แต่ว่าพอ แม้บางอย่างจะดูฟุ่มเฟือย แต่ถ้าทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำ พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเสมือนรากฐานของชีวิตรากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือน ตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากวารสารชัยพัฒนา ประจำเดือนสิงหาคม ๒๕๔๒
พอมีพอกินนี่ได้พูดมาหลายปี สิบกว่าปีแล้ว ให้พอมีพอกิน แต่ว่าพอมีพอกินนี้ เป็นเพียงเริ่มต้นของเศรษฐกิจ เมื่อปีที่แล้วบอกว่า ถ้าพอมีพอกิน คือ self-sufficiency คือพอมีพอกินของตัวเองนั้น ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเศรษฐกิจสมัยหิน สมัยหินนั้นเป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน แต่ว่าค่อยๆพัฒนาขึ้นมา ต้องมีการแลกเปลี่ยนกัน มีการช่วยระหว่างหมู่บ้าน หรือระหว่างจะเรียกว่าอำเภอ, จังหวัด ประเทศ จะต้องมีการแลกเปลี่ยน มีการไม่พอเพียง จึงบอกว่าถ้ามีเศรษฐกิจพอเพียง เพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ก็จะพอแล้ว จะใช้ได้ พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒
ทั้งหมดนี้พูดอย่างนี้ก็คือ เศรษฐกิจพอเพียงนั้นเอง เศรษฐกิจพอเพียงที่ได้ย้ำแล้วย้ำอีกแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า SUFFICIENCY ECONOMY ใครต่อใครก็ต่อว่า ว่าไม่มี SUFFICIENCY ECONOMY แต่ว่าเป็นคำใหม่ของเราก็ได้ หมายความว่า ประหยัดแต่ไม่ใช่ขี้เหนียว ทำอะไรด้วยความอะลุ้มอล่วยกัน ทำอะไรด้วยเหตุและผล จะเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแล้วทุกคนจะมีความสุขแต่พอเพียง พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๓
มีคณะทำงานการดำเนินการต่อ เพื่อทำความเข้าใจมากขึ้น สามารถนำมาประยุกต์ต่อไป • โดยใช้การศึกษาทฤษฎี การศึกษาพระราโชวาท สรุปลักษณะของปรัชญา • จนมาเป็นคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
การพัฒนากรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงการพัฒนากรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มพัฒนากรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พฤษภาคม ๒๕๔๖
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับ ครอบครัวระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง ความพอเพียงหมายถึงความพอ โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ประมาณความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผล กระทบใดๆอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ความ รอบคอบและควาระมัดระวัง อย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐนักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึก ในดำเนินชีวิตด้วยความอดทนความเพียรมีสติปัญญาและความรอบคอบ คุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่ เหมาะสม เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เศรษฐกิจพอเพียง กรอบแนวคิด ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คุณลักษณะ คำนิยาม เงื่อนไข แนวปฎิบัติและผลที่คาดหมาย
ทางสายกลาง พอประมาณ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มีเหตุผล ความรู้ มีสติปัญญา รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง คุณธรรมซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน สามัคคี แบ่งปัน นำไปสู่ เศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม/วัฒนธรรม/ สมดุล/ยั่งยืน/พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โครงสร้างและเนื้อหาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: ความพอเพียง ความพอประมาณ ความพอดี ยืนบน ขาของตนเอง ความมีเหตุมีผลรอบคอบ มองระยะยาว คำนึงถึง ความเสี่ยง การมีภูมิคุ้มกัน เตรียมรับกับการเปลี่ยนแปลง สร้างภูมิคุ้มกัน
โครงสร้างและเนื้อหาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: เงื่อนไขปฏิบัติ ความรอบรู้ ความรู้เกี่ยวกับวิชาการเพื่อใช้เป็น ประโยชน์พื้นฐานเพื่อนำไปใช้ในการ ปฏิบัติอย่างพอเพียง ความรอบคอบ การวางแผนโดยสามารถที่จะนำ ความรู้และหลักวิชาต่าง ๆ มา พิจารณาเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ความระมัดระวัง ความมีสติรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง คุณธรรม/ซื่อสัตย์ ความรู้คู่คุณธรรม อดทน พากเพียร
การประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง • การจะทำตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การตัดสินใจที่เหมาะสม โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีจุดมุ่งหมายตามปรัชญา • การครองตน การอาชีพ การจัดการครอบครัว • การบริหารจัดการองค์การ • การวางแผนและนโยบาย • การตัดสินใจโดยใช้หลักของปรัชญาคือการพิจารณาตามกรอบสามห่วง สองเงื่อนไข
เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา • คุณภาพการศึกษา จะขึ้นอยู่กับ • นักศึกษา อาจารย์ (inputs) • กระบวนการศึกษา(Process) • ผลผลิต (Outputs)
ผลิตบัณฑิตและงานวิชาการที่มีคุณภาพผลิตบัณฑิตและงานวิชาการที่มีคุณภาพ และคุณธรรม โดยการควบคุมคุณภาพ อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ ประกันและพัฒนาคุณภาพ • Input • Instructor Process Output
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะช่วยพัฒนาการศึกษาโดยใช้เป็นแนวทาง • ควบคุมพัฒนาคุณภาพ inputs • จัดกระบวนการศึกษา (เนื้อหาและการบริหารเป็นไปตามหลักของปรัชญา) • บัณฑิตเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมตามเศรษฐกิจพอเพียง
บัณฑิตที่มีจิตใจแห่งความพอเพียงบัณฑิตที่มีจิตใจแห่งความพอเพียง • ไม่เป็นผู้บริโภคนิยม แต่เข้าใจถึงการมีการบริโภคที่ยั่งยืน • มีความใฝ่รู้ มีการทดลองกับความเป็นจริง ไม่ติดตำรา • มีความพากเพียร • มีความเอื้ออาทร • มีคุณธรรม
การพัฒนากระบวนการการศึกษาการพัฒนากระบวนการการศึกษา • หลักสูตรทำให้นักศึกษาเข้าใจและมีจิตใจตามหลักของปรัชญา • การบริหารการศึกษาเป็นไปตามหลักของปรัชญา • ใช้หลักของปรัชญาประกันคุณภาพของปัจจัยการผลิต • มีการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในการสอน
การสร้างองค์ความรู้ของปรัชญาการสร้างองค์ความรู้ของปรัชญา • ยึดหลักความพอเพียงตามแนวพระราชดำริ (สามห่วง สองเงื่อนไข) • สร้างงานวิจัยในประเด็น • วิจัยในเชิงทฤษฎี ให้เข้าใจหลักปรัชญาได้ดีขึ้น • วิจัยประยุกต์ เพื่อให้มีความรู้ใช้หลักสามห่วงสองเงื่อนไขได้ดีขึ้น • วิจัยเพื่อสร้างความพอเพียง (วิจัยเฉพาะด้าน)
Rethinking Sufficiency Economy Dr. Wichai Turongpun Somchai Likitkean ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : การตีความเชิงวิพากษ์ว่าด้วยมิติทางวัฒนธรรมจากมุมมองหลังสมัยใหม่ โดย ผศ.ดร.จุฑาพรรธ์ (จามจุรี) ผดุงชีวิต
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารเศรษฐกิจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารเศรษฐกิจ โดย ผศ.ดร.ประสพโชค มั่งสวัสดิ์ • ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาชุมชน โดย อาจารย์วิชัย รูปขำดี
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาองค์กรหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาองค์กร โดย อาจารย์ ดร. สมบัติ กุสุมาวลี • ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการทรัพยากรดิน
ความพอเพียงที่ยิ่งใหญ่และยั่งยืนกับการจัดการร่วมสมัย:ความพอเพียงที่ยิ่งใหญ่และยั่งยืนกับการจัดการร่วมสมัย: ตัวแบบธุรกิจล้นเกล้า โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ผลิน ภู่จรูญ • ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการภาครัฐ โดย ดร.ไพโรจน์ ภัทรนรากุล
หลักเศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคล : ทฤษฎีและ ผลวิจัยเพื่อสร้างดัชนีในแนวจิตพฤติกรรมศาสตร์ โดย ผศ.ดร.ดุจเดือน พันธุมนาวิน และ ศ.ดร. ดวงเดือน พันธุมนาวิน
คลังข้อมูลสำหรับการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจคลังข้อมูลสำหรับการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิต หล่อจีระชุณห์กุล รศ. ดร. จิราวัลย์ จิตรถเวช ดร.ปราโมทย์ กั่วเจริญ การพัฒนาคุณธรรมของข้าราชการเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจพอเพียง โดย ดร.ณัฐฐา วินิจนัยภาค
การประกันสังคมเกษตรกรเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงการประกันสังคมเกษตรกรเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดย ผศ วีณา ฉายศิลปรุ่งเรือง,รศ.ดร.วิชิต หล่อจีระชุณห์กุล และ ผศ..ดร.นฤมล สอาดโฉม • การบริหารความเสี่ยงภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับภาคเอกชน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤมล สอาดโฉม
การวิจัยตามหลักของปรัชญาการวิจัยตามหลักของปรัชญา • นักวิจัยสามารถใช้ปรัชญาทำให้งานวิจัยของเรามีคุณภาพ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้หลักสามห่วงสองเงื่อนไข
ความมีเหตุมีผล เป็นงานที่มีประโยชน์ มี Research Design ที่ดี ความพอประมาณ มีความเหมาะสมกับ งบประมาณ เวลา โดยได้ผลงานตามวัตถุประสงค์ การมีภูมิคุ้มกัน หากงานไม่เป็นตามแผน (ขาดข้อมูล มีปัญหาจากแบบสอบถาม) จะเตรียมแก้อย่างไร ความรอบรู้ มีความรู้ในเรื่องที่จะทำ คุณธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
ข้อสังเกตในการประยุกต์ปรัชญาข้อสังเกตในการประยุกต์ปรัชญา • การประยุกต์ใช้ปรัชญานี้เกิดได้ในหลายมิติ และหลายรูปแบบ ไม่มีสูตรสำเร็จ แต่ละคนจะต้องพิจารณาตามความเหมาะสมในแต่ละกรณี ให้สอดคล้องกับเงื่อนไข และสภาวะที่เผชิญอยู่ • ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะช่วยในการให้ “ฉุกคิด” ว่าการตัดสินใจ การดำเนินชีวิต หรือการดำเนินธุรกิจ มีความเหมาะสมหรือไม่ จะมีความสมดุล ยั่งยืนหรือไม่ มีความเสี่ยงและการเตรียมรับความเสี่ยงอย่างไร
จบการบรรยาย ขอขอบคุณ