450 likes | 728 Views
การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ (Government Procurement). ดร. วิลาวรรณ มังคละธนะกุล เจ้าหน้าที่การทูต 7 กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ. ทำไมการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐจึงได้รับความสนใจและเรียกร้องให้มีการเปิดตลาด.
E N D
การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ (Government Procurement) ดร. วิลาวรรณ มังคละธนะกุล เจ้าหน้าที่การทูต 7 กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
ทำไมการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐจึงได้รับความสนใจและเรียกร้องให้มีการเปิดตลาดทำไมการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐจึงได้รับความสนใจและเรียกร้องให้มีการเปิดตลาด • การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อมาก เพราะรัฐจำเป็นต้องใช้งบประมาณในการซื้อวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าสาธารณะ เช่น การให้บริการทางการศึกษา ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม สาธารณูปโภค สาธารณูปการ โครงสร้างพื้นฐาน สาธารณสุข ฯลฯ • หากคิดเป็นสัดส่วนในประเทศพัฒนาแล้วการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 10-15 ของ GDP และประมาณร้อยละ 20 ในประเทศกำลังพัฒนา
มุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐมุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ • ประเทศพัฒนาแล้ว :การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐจะต้องมีความโปร่งใส และไม่เลือกปฏิบัติเพื่อให้รัฐสามารถเลือกซื้อสินค้าและบริการที่มีราคาที่เหมาะสมและมีความคุ้มค่าในการใช้เงินที่สุด • ประเทศกำลังพัฒนา :การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐเป็นกลไกประการหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ จึงต้องให้ความสำคัญกับผู้ผลิตภายในประเทศก่อน
การหารือเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐในเวทีระหว่างประเทศการหารือเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐในเวทีระหว่างประเทศ • กรอบองค์การการค้าโลก :ความตกลงหลายฝ่ายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ (Government Procurement Agreement) • กรอบคณะกรรมาธิการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ :กฎหมายแม่บทว่าด้วการจัดหาสินค้า การก่อสร้างและบริการ (Model Law on Procurement of Goods, Construction and Services • กรอบเอเปค : (a) APEC Non-Binding Principles on Government Procurement relating to transparency, value for money, open and effective competition, fair dealing, accountability and due process, and non-discrimination; and (b) the APEC Transparency Standard for Government Procurement
ไทยกับการเจรจาเปิดเสรีการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐไทยกับการเจรจาเปิดเสรีการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ • ไทยมีการเจรจาจัดทำ คตล. การค้าเสรีกับคู่เจรจาหลายประเทศ แต่ไม่ใช่ทุกประเทศที่มีการระบุถึงการเจรจาการเปิดเสรีจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ 1. กรณีที่ประเทศไทยยังไม่มีพันธกรณีที่จะต้องเจรจา เช่น JTEPA 2. กรณีที่ไทยมีพันธกรณีที่จะต้องดำเนินการต่อไปเพื่อนำไปสู่การหารือใน รายละเอียดเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ เช่น ความตกลงเขตการค้าเสรี ไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) และ คตล. เขตการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์ (TNZFTA) 3. กรณีที่ไทยจะต้องเปิดเสรีการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐตามพันธกรณีใน คตล. หากมีผลใช้บังคับ เช่น สหรัฐฯ (แต่ขณะนี้ คตล. กับสหรัฐฯ ยังไม่มีการเจรจาต่อ)
พันธกรณีตาม คตล. TAFTA และ TNZFTA • TAFTA :เมื่อ คตล. TAFTA มีผลใช้บังคับ (ปี 2005) จะต้องตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับขอบข่ายของการเริ่มเจรจาเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐและความครอบคลุมของการเจรจาในระดับทวิภาคี และรายงานให้คณะกรรมาธิการร่วมฯ ทราบ • TNZFTA :เมื่อ คตล. TNZFTA มีผลใช้บังคับ (ปี 2005) จะต้องตั้งคณะทำงานเพื่อเจรจาเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐต่อไป
แนวทางและกลยุทธ์ในการเจรจาแนวทางและกลยุทธ์ในการเจรจา • กรณีที่ประเทศไทยยังไม่มีพันธกรณีที่จะต้องเจรจา • ศึกษาผลดีและผลเสียที่อาจเกิดขึ้น • ศึกษาแนวทางการเจรจากับประเทศต่างๆ ทั้งในด้านวัตถุประสงค์ หลักการ วิธีการ และการป้องกันผลกระทบจากการเปิดเสรีด้านการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ • ศึกษาตัวอย่างจากประสบการณ์ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประเทศอื่นๆ เพื่อนำมาใช้ประกอบการพิจารณา
2.กรณีที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องเจรจาหรืออยู่ในระหว่างการเจรจา2.กรณีที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องเจรจาหรืออยู่ในระหว่างการเจรจา • วัตถุประสงค์และประโยชน์จากการทำความตกลง • ความสามารถในการแข่งขันในการประกอบธุรกิจสาขาต่างๆ ของไทย • การแข่งขันในการจัดซื้อจัดจ้างในทุกระดับของไทยตั้งแต่การจัดซื้อจัดจ้างขนาดเล็กจนถึงการจัดซื้อจัดจ้างและการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ โดยประเมินดูว่า หากมีการเปิดเสรีแล้วจะมีผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยทั้งรายใหญ่และรายย่อยในการรับสัญญาโครงการจากรัฐบาลหรือไม่อย่างไร
ประเมินถึงผลดีที่รัฐบาลและประชาชนจะได้รับจากการเปิดเสรีการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐในแง่ของการทำให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมและโปร่งใสในตลาดมากขึ้น ซึ่งจะทำให้รัฐบาลสามารถประหยัดงบประมาณอันจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้เสียภาษีหรือไม่ • ประเมินเหตุผลความจำเป็นทางด้านนโยบายว่า ควรจะให้มีการเปิดเสรีการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐเพื่อช่วยส่งเสริมการลงทุนในการพัฒนาอุตสาหกรรมหรือเทคโนโลยีในประเทศหรือการดำเนินการโครงสร้างพื้นฐาน หรือสนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) หรือไม่
ระดับความพร้อมของหน่วยงานรัฐที่เป็นผู้จัดซื้อจัดจ้าง(procuring entity) ที่จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้นจากพันธกรณีตามความตกลง และต้องต่อสู้กับบริษัทข้ามชาติอย่างโปร่งใส รวมทั้งการแก้ไขกฎหมายหรือกฎระเบียบ (หากมี) เพื่อให้รองรับพันธกรณีตามความตกลงด้วย • ศึกษาหามาตรการเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปิดเสรีการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ โดยการสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจเพื่อป้องกันผลกระทบที่จะมีต่อผู้ประกอบการไทยที่ยังไม่สามารถแข่งขันกับบริษัทต่างชาติอันเนื่องมาจากการเปิดเสรีดังกล่าวได้
1.ศึกษาแนวทาง กระบวนการและแนวทางปฏิบัติเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐในกรอบต่างๆ เช่น - ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) - ธนาคารโลก - กฎหมายแม่แบบเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐของคณะกรรมาธิการ กฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ - ข้อคิดเห็นและงานวิเคราะห์เรื่องการทำความตกลงจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ ของการประชุมสหประชาชาติเพื่อการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development) เพื่อกำหนดแนวทางการเจรจาจัดทำความตกลงที่สอดคล้องกับความสามารถในการแข่งขัน และก่อให้เกิดประโยชน์ตามเจตนารมณ์ของความตกลงและอาจหยิบยกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนาในการเจรจากับประเทศคู่เจรจาที่พัฒนาแล้ว
2. ควรจัดตั้งคณะทำงานสำหรับการเจรจาโดยมีผู้แทนจากส่วน ราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเข้าร่วมในการประชุม โดยจัดการประชุมร่วมเพื่อกำหนดท่าทีก่อนการเจรจาทุกครั้ง 3.ควรเน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ 4.ควรมีกระบวนการอย่างต่อเนื่องในการสร้างความรู้ความเข้าใจ การเจรจาเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐแก่ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ เกี่ยวข้อง
ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาในการเจรจาประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาในการเจรจา • การให้การประติบัติเยี่ยงคนชาติอย่างไม่มีเงื่อนไข (unconditional National Treatment) และการเข้าสู่ตลาด (Market Access) ที่ประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ต้องการผลักดันให้มีการยอมรับในการเจรจา ทั้งนี้ อาจพิจารณาแนวทางในความตกลงหลายฝ่ายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ (Agreement on Government Procurement : GPA) ภายใต้กรอบขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) ซึ่งมีข้อยกเว้นสำหรับประเทศกำลังพัฒนาในเรื่องการประติบัติเยี่ยงคนชาติ เช่น ในข้อบทที่ 5 วรรค4 ที่บัญัติว่า
“A developing country may negotiate with other participants in negotiations under this Agreement mutually acceptable exclusions from the rules on national treatment with respect to certain entities, products or services that are included in its coverage lists, having regard to the particular circumstances of each case.”
ขอบเขตการใช้บังคับของความตกลง หากความตกลงจะมีขอบเขตการใช้บังคับกับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานรัฐทุกระดับตั้งแต่ส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่น ก็ควรจะต้องคำนึงถึงความพร้อมในการปฏิบัติตามพันธกรณีของหน่วยงานในแต่ละระดับเหล่านั้นด้วย เช่น หากมีการกำหนดว่า กฎ ระเบียบภายในที่เกี่ยวข้องจะต้องมีการทำคำแปลเป็นภาษาอังกฤษ เป็นต้น • ควรมีข้อบทมาตรการชดเชยหรือหักล้าง (offsets) โดยอาจประยุกต์กับความตกลง GPA (ข้อ XVI:2) ที่บัญญัติว่า “……, a developing country may at the time of accession negotiate conditions for the use offsets, such as requirements for the incorporation of domestic content……”
โดยความตกลง GPA ข้อ XVI:2 ให้ประโยชน์แก่ประเทศกำลังพัฒนา คือ อาจใช้มาตรการเพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาประเทศ หรือรักษา ดุลบัญชีการชำระเงินโดยบังคับให้ใช้สัดส่วน - ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (domestic content) - การให้เทคโนโลยี (licensing of technology) - ข้อกำหนดการลงทุน(investment requirement) - การค้าต่างตอบแทน(counter-trade) - หรือมาตรการอื่นๆ ที่เทียบเคียง (similar requirements)
ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาทุกข้อบทของเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐในภาพรวมร่วมกัน เพื่อพิจารณาทั้งพันธกรณีภายใต้ข้อบทและข้อผูกพันการเปิดตลาดไปพร้อมๆ กัน เพื่อมิให้ส่งผผลกระทบต่อจุดยืนของไทยในการเจรจา
เรื่องการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย และประเทศไทยยังมิได้เป็นภาคีความตกลง GPA ดังนั้น จึงควร - พิจารณาอย่างรอบคอบ - พิจารณาผลดีผลเสียของการทำความตกลงให้ชัดเจนและดำเนินการ ตามหลักการเปิดเสรีแบบก้าวหน้าโดยลำดับตามที่กำหนดไว้ในความ ตกลง WTO
- การทำความตกลงเรื่องนี้เป็นการทำความตกลงเพื่อกำหนดกติกาการ ดำเนินการค้าระหว่างประเทศให้มีความเป็นธรรม จึงควรดำเนินการ ตามบทบัญญัติและหลักการของความตกลงเรื่องการเปิดเสรีการลงทุน ที่ไทยเป็นภาคีทุกฉบับ โดยให้มีเรื่องการดำเนินมาตรการปกป้องผล กระทบจากการเปิดเสรี - เพื่อให้การเปิดเสรีเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐเป็นไปด้วยความ ระมัดระวัง ความพอประมาณ และมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอ ซึ่งจะทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจในระบบตลาดเสรีของไทยเป็นไป อย่างมั่นคง ยั่งยืน และมีเสถียรภาพ
สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ก้าวแรกการจัดซื้อโดยรัฐกับการเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศ บัณฑูร วงศ์สีลโชติวศ.บ.(เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จุฬา ฯ M.Sc. (University of Southampton, England) รองประธานคณะกรรมการกฎระเบียบและการค้าระหว่างประเทศ ประธานคณะอนุกรรมการอาเซียน-อียู ประธานคณะอนุกรรมการอาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ประธานคณะอนุกรรมการประเด็นทางการค้า
FTA กับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เป็นเงื่อนไขความตกลงภายใต้ เอฟทีเอ ไทย-ออสเตรเลีย และ ไทย-นิวซีแลนด์ เอฟทีเอ อาเซียน อียู ระบุความต้องการให้ไทยปรับปรุงเรื่องความโปร่งใส เป็นเงื่อนไข JTEPA กำหนดเรื่องความโปร่งใสเป็นเงื่อนไขที่ไทยต้องปรับปรุง เอฟทีเอ ไทย-สหรัฐไทยต้องเปิดเสรีจัดซื้อจัดจ้างภายใน 5 หรือ 10 ปี หลังการลงนาม
ข้อถกเถียงโต้แย้งการเปิดเสรีข้อถกเถียงโต้แย้งการเปิดเสรี งบประมาณจัดซื้อจัดจ้างมีไว้ให้บริษัทในประเทศไทยเท่านั้น หากเปิดเสรี บริษัทไทยจะแข่งขันไม่ได้ บริษัทต่างชาติจะได้งานไปหมด บริษัทไทยไม่สามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้ ฯ ล ฯ
Why is liberalizing government procurement important for Thailand?(ความคิดเห็นจากผู้แทนสหรัฐ) Good governance Good government mitigate corruption Ensure tax money spent most efficiently
Corruption, an organized crime of the globalized world Corruption poses serious threat to the development of a country and its people. Corruption causes reduced investment, Corruption causes lack of respect for the rule of law and human rights, Corruption leads to undemocratic practices Corruption lead to diversion of funds intended for development and essential services, affects government's ability to provide basic services to its citizens Corruption has the greatest impact on the most vulnerable part of a country's population, the poor.
Corruption Perception Index(CPI) RankCountryIndex 20072007 1 Finland 9.4 17 Japan 7.5 20 U.S.A. 7.2 4 Singapore 9.3 43 Malaysia5.1 84 Thailand3.3 131 Philippines 2.5 143 Indonesia2.3
Per Capita Income 2007 USA USD45,845.00 Japan USD34,312.00 Singapore USD35,163.00 South Korea USD18,392.00 Malaysia USD6,948.00 Thailand USD3,737.00 Indonesia USD1,925.00 Philippines USD1,625.00 Vietnam USD818.00 Laos USD656.00 Cambodia USD600.00 Myanmar USD235.00
นสพ กรุงเทพธุรกิจ 6.3.2551 คอลัมน์แกะรอยการเมือง หัวหน้ากลุ่มอุปถัมภ์ส่วนใหญ่ทางการเมืองไทย พัฒนาการมาจาก “เจ้าพ่อ” ประจำจังหวัด ภาค หรือท้องถิ่นที่อิงประโยชน์กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ “เจ้าพ่อ” ที่สามารถสร้างฐานรายได้ที่มากพอดูแลลูกน้องในก๊กได้นั้นมักเกี่ยวข้องกับการผูกขาดการสัปทานการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ บ่อน การพนัน หวยใต้ดิน ยาเสพติด สินค้าหนีภาษี สรุปง่าย ๆ คือหากินกับสิ่งผิดกฎหมาย (และที่ทำได้ก็เพราะเจ้าหน้าที่ของรัฐรับสินบน)
ค่าก่อสร้างสนามบิน Suvarnabhumi Airport,, 4.62 billion US dollars, 563,000 square meters, 45 million passengers Beijing airport, terminal 3, 3.8 billlion US dollars, 986,000 square meters, 76 million passengers a year Hong Kong Check Lap Kok airport, 2.56 billion US dollars,570,000 square meters, 45 million passengers Shanghai airport, 2 billion dollars, 40 million passengers Singapore airport, 2.1 billion US dollars, 1.045 million square meters, 77 million passengers a year
สาเหตุของการคอร์รัปชั่นสาเหตุของการคอร์รัปชั่น การเลือกตั้งมีการใช้เงินซื้อเสียง มีการผูกขาดการเมืองโดยคนส่วนน้อย มีการแทรกแซงการบริหารและองค์กรตรวจสอบ การกำหนดนโยบาย ออกกฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ เอื้อต่อประโยชน์ของตนและพวก ค่านิยมคนไทย อันได้แก่ บุญคุณนิยม ผู้มีอำนาจให้ความช่วยเหลือดูแลลูกน้อง พวกพ้องนิยม มีความเห็นแก่ตัวสูง อำนาจนิยม สุขนิยม คนไทยหันมานิยมวัตถุ ความร่ำรวย ไม่สนใจเรื่องศีลธรรม
Government Procurement in FTA countries USA USD420 billion (14.0ล้านล้านบาท) Australia AUD17 billion (510,000 ล้านบาท) Korea Won61 trillion (2.1 ล้านล้านบาท) Japan 4.76 trillion yen (1.4ล้านล้านบาท) EU 1,500 billion euro (75ล้านล้านบาท)
WTO plurilateral agreement on Government Procurement Parties to the agreement (committee members) Canada, European Communities (including its 27 member States: Austria, Belgium, Cyprus, Czech Republic, Denmark, Estonia, Finland, France, Germany, Greece, Hungary, Ireland, Italy, Latvia, Lithuania, Luxemburg, Malta, Netherlands, Poland, Portugal, Slovak Republic, Slovenia, Spain, Sweden, United Kingdom), Hong Kong China, Iceland, Israel, Japan, Korea, Liechtenstein, Netherlands with respect to Aruba, Norway, Singapore, Switzerland, United States, Bulgaria Negotiating accession Albania, Georgia, Jordan, Kyrgyz Republic, Moldova, Oman, Panama, Chinese Taipei
สร้างความพรัอมให้กับผู้ประกอบการไทยสร้างความพรัอมให้กับผู้ประกอบการไทย เริ่มใช้แนวทางสากลในการจัดซื้อจัดจ้างให้ผู้ประกอบการไทยคุ้นเคย โดยเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงระเบียบปฎิบัติจัดซื้อจัดจ้างใหม่ให้สอดคล้องกับแนวทางสากล แก้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ขจัดความคิดที่ว่าการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐไม่โปร่งใสส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้มาสนใจ ส่งเสริมให้เอกชนไทยหันมาสนใจแข่งขันในการขายให้กับรัฐ ในตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของต่างประเทศ
Transparency ความโปร่งใสจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการตรวจสอบทั้งภายในและภายนอก ในการกำหนดแผนการจัดซื้อจัดจ่าง ขบวนการ วิธีเปิดประมูล วิธีพิจารณาคัดเลือกสามารถรับผิดชอบหากมีการฟ้องรัอง ไม่ให้สิทฺธิพิเศษกับบุคคลใด หรือกลุ่มบุคคลใด เวลาให้ผู้ร่วมประมูลต้องมีมากพอในการเตรียมการ ต้องมีศาลพิเศษที่มีหน้าที่รับการร้องเรียน ตั้งแต่การกำหนดเงื่อนไขของผู้มีสิทธิยื่นประมูล (PQ) หากไม่มีความเป็นธรรม ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จก่อนมีการประมูล
Transparency เงื่อนไขต่าง ๆ ในการพิจารณาคัดเลือกผู้ชนะการประมูลต้องกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ชัดเจนเพื่อผู้ร่วมประมูลจะสามารถพิจารณาความมีเหตุผลในเงื่อนไขต่าง ๆ เหล่านั้น และในกรณีเงื่อนไขการพิจารณาเหล่านั้นไม่เป็นธรรม ผู้ร่วมประมูลสามารถร้องขอให้เปลี่ยนแปลง เพื่อพิจารณาขอความเป็นธรรมแก้ไขได้ และการแก้ไขต้องแล้วเสร็จก่อนการประมูลจะเกิดขึ้น เพื่อสร้างความโปร่งใสในการพิจารณา ผู้พิจารณาคัดเลือกควรคัดเลือกจากข้อเสนอโดยไม่ให้ล่วงรู้ถึงชื่อผู้ประมูลงาน
Accountability & Due Process Accountability คือ รับผิดรับชอบการกระทำ หน่วยงานรับผิดชอบการจัดซื้อจัดจ้าง ต้องเป็นผู้รับผิดรับชอบในการตัดสินใจคัดเลือก สามารถแสดงเหตุผลได้ขัดเจน หากพบว่ามีความไม่โปร่งใสเกิดขึ้น ต้องมีขบวนการยุติธรรม (due process) สามารถดำเนินคดีกับหน่วยงาน จัดให้มี “สำนักงานทบทวนการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ” เพื่อพิจารณาข้อร้องเรียน ข้อโต้แย้งข้อค้ดค้าน และพิจารณาแก้ไขตามหลักจริยธรรม คุณธรรม และ หลักความโปร่งใส
Value for Money ความคุ้มค่าของเงิน เป็นหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบ เพราะว่า ราคาไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวในการกำหนดผู้ชนะการประมูล ผู้ให้ราคาต่ำสุดไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ชนะการประมูล หลักเกณฑ์การพิจารณาต้องคำนึงถึง เปรียบเทียบประวัติการทำงานของผู้เข้าประมูลแต่ละราย มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด แตกต่างกันอย่างไรในแต่ละราย เปรียบเทียบความเสี่ยงของข้อเสนอแต่ละข้อของแต่ละราย เปรียบเทียบความสามารถในการดัดแปลงเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัย สำหรับสินค้าหรือบริการที่เสนอ เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ (operating cost) และเปรียบเทียบ benefit/cost ของทุกข้อเสนอ เปรียบเทียบราคาที่จะได้รับเมื่อเลิกใช่งานแล้ว ราคาของทราก
Open & Effective Competition การจัดให้มีการประมูลต้องเปิดกว้างให้กับผู้ประกอบการทั่วไป ไม่ปิดกั้น กีดกันไม่ให้ผู้หนึ่งผู้ใดมีสิทธิน้อยกว่าผู้อื่น สร้างความไว้วางใจและความมั่นใจให้กับผู้เข้าร่วมประมูลงาน เปิดให้มีการแข่งขันอย่างเสรี โดยประกาศให้สารธาณชนทราบว่าจะจัดให้มีการประมูลเมื่อไร อะไร อย่างไร กฎเกณฑ์ เงื่อนไข ต้องให้ชัดเจน และให้มีระยะเวลาก่อนการจัดให้มีการประมูลนานเพียงพอ สำหรับการคัดค้าน หรือโต้แย้งใด ๆ อันอาจเกิดขึ้น และจัดการกับข้อโต้แย้งให้เสร็จก่อนเริ่มการประมูล ไม่ใช้การจัดให้มีการประมูลแบบเร่งด่วน (fair dealing) ไม่กำหนด PQ หรือคุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้าร่วมการประมูลอย่างไม่เป็นธรรมเพื่อกีดกัน (non-discrimination)
Debriefing ต้องกำหนดเป็นหลักเกณฑ์ว่า จะต้องแจ้งให้ผู้ร่วมการประมูลทุกรายที่ไม่ชนะการประมูล ได้รับทราบถึงเหตุผลที่ไม่ได้ชนะ เพื่อให้เขาเหล่านั้นได้มีโอกาสปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อนของตัวเอง เพื่อมาสู้ใหม่ในโอกาสต่อ ๆ ไป การปฎิบัติทำนองนี้ จะทำให้เกิดการแข่งขันมากขึ้นในอนาคต เป็นประโยชน์ต่อประเทศในการใช้จ่ายเงินภาษีราษฎรอย่างมีประสิทธิภาพ
สรุปแนวทางจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐแบบสากลสรุปแนวทางจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐแบบสากล Transparency Value for Money Open and Effective Competition Debriefing Accountability Due Process