340 likes | 553 Views
บทที่ 5. ธนาคารอาคารสงเคราะห์. ความเป็นมาของธนาคารอาคารสงเคราะห์.
E N D
บทที่ 5 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ อ. ชารวี บุตรบำรุง
ความเป็นมาของธนาคารอาคารสงเคราะห์ความเป็นมาของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ก่อตั้งขึ้น ตามพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ.2496 ซึ่งมีสถานภาพเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยกระทรวงการคลังถือหุ้นทั้งหมดเป็นมูลค่า 20 ล้านบาท และอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของกระทรวงการคลังโดยตรง และโครงการที่สำคัญของธนาคารอาคารสงเคราะห์จะต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาล วัตถุประสงค์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ก็เพื่อที่จะให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประชาชนที่ต้องการที่อยู่อาศัย ในการดำเนินงานในระยะแรกธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้มีการสร้างบ้าน อาคาร และจัดสรรให้แก่ประชาชน อ. ชารวี บุตรบำรุง
ในช่วง พ.ศ.2513 เป็นต้นมาธนาคารอาคารสงเคราะห์ประสบปัญหา เรื่องเงินทุนจากภายนอก โดยอาศัยเพียงเงินทุนและเงินกู้ยืมจากรัฐบาลและธนาคารออมสิน ซึ่งเป็นครั้งคราวเท่านั้น แม้ว่าธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้รับอนุญาตตามกฎหมายให้รับเงินฝากได้ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป แต่ระยะขั้นต่ำที่กำหนดตามกฎหมายนั้นยาวนานเกินกว่าที่จะจูงใจคนนำเงินฝาก ต่อมาในปี พ.ศ.2515 สมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ได้ตั้งหน่วยงานการเคหะแห่งชาติขึ้นเพื่อรับผิดชอบการดำเนินงานในอันที่จะให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยและได้โอนกิจการงานบางอย่างที่เกี่ยวกับการให้เช่าซื้อที่ดินหรืออาคารของธนาคารอาคารสงเคราะห์ไปขึ้นอยู่กับการเคหะแห่งชาติ ดังนั้นกิจการของธนาคารอาคารสงเคราะห์จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใหม่เพื่อให้สอดคล้องและประสานกันกับกิจการของการเคหะแห่งชาติ อ. ชารวี บุตรบำรุง
ด้วยเหตุนี้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ.2496 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 317 จึงเป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่ประกอบธุรกิจในการส่งเสริมและช่วยเหลือประชาชนนำเงินไปลงทุนเกี่ยวกับการสร้างอาคารและที่ดินโดยตรง ทำหน้าที่เสมือนสื่อกลางในการนำเงินไปใช้ประโยชน์ในกิจการเคหะและเป็นสถาบันการเงินที่ดำเนินธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะอย่างซึ่งแตกต่างจากสถาบันการเงินอื่นๆ ทั่วไป งานหลักของธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่สำคัญ คือ ช่วยเหลือทางด้านการเงินเพื่อให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง อ. ชารวี บุตรบำรุง
วัตถุประสงค์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์วัตถุประสงค์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ 1. การให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมด้านการเงินทุกประเภทโดยไม่มุ่งหวังกำไร เช่น การให้กู้ยืม การรับฝากเงิน การซื้อลดเครดิตแก่ประชาชนทั่วไป 2. ให้สินเชื่อเอกชนผู้ลงทุนประกอบกิจการด้านการเคหะก่อสร้างที่อยู่อาศัย รวมทั้งการเคหะแห่งชาติ เพื่อให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง 3. ให้ความช่วยเหลือด้านปัจจัยพื้นฐานของการดำรงชีวิตและเศรษฐกิจของชาติ อ. ชารวี บุตรบำรุง
การดำเนินงานของธนาคารอาคารสงเคราะห์การดำเนินงานของธนาคารอาคารสงเคราะห์ 1. การให้บริการด้านเงินฝาก 1.1 บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ การเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ขั้นต่ำมียอดเงิน เปิดบัญชีไม่ต่ำกว่า 100 บาท และการฝากเงินครั้งต่อไปไม่ต่ำกว่าครั้งละ 100 บาท ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยให้ทุกสิ้นงวดบัญชี ปีละ 2 ครั้ง คือ เดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคม ถ้าเงินฝากต่ำกว่า 300 บาท จะต้องเสียค่ารักษาบัญชี 50 บาทต่อปี อ. ชารวี บุตรบำรุง
1.2 บัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษ บัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษเป็นบัญชีเงินฝากที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินออมทรัพย์และให้ดอกเบี้ยทบต้นปีละ 2 ครั้ง ทุกสิ้นเดือนมิถุนายนและธันวาคม โดยมีหลักเกณฑ์ของเงินฝากออมทรัพย์พิเศษ คือ 1) ถอนเงินได้เมื่อทวงถาม 2) เงินเปิดบัญชีเงินฝากไม่น้อยกว่า 1,000 บาท 3) การฝากและถอนแต่ละครั้งต้องไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท 4) เงินฝากคงเหลือต่ำกว่า 1,000 บาท ธนาคารไม่คิดดอกเบี้ยให้และถ้าฝากเงินไม่เคลื่อนไหวเกิน 1 ปี ธนาคารจะคิดค่ารักษาบัญชีปีละ 100 บาท 5) ถอนเงินได้ไม่เกิน 2 ครั้งต่อเดือน ถ้าเกิน 2 ครั้ง จะคิดค่าธรรมเนียมในการถอนเงินฝาก อ. ชารวี บุตรบำรุง
1.3 บัญชีเงินฝากประจำ การฝากประจำเป็นเงินฝากที่มีวัตถุประสงค์ให้ลูกค้าออมเงิน โดยไม่มีการถอนก่อนระยะเวลาที่กำหนด มีหลักเกณฑ์บัญชีเงินฝากประจำ ดังนี้ 1) การฝากประจำกำหนดระยะเวลาฝากเงินตั้งแต่ 3 เดือน 6 เดือน 12 เดือน 24 เดือนและ 36 เดือน 2) การเปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 5,000 บาท จนถึง 10,000 บาทและฝากเงินครั้งต่อไปไม่ต่ำกว่าที่กำหนด ตามระยะเวลาการฝากเงิน 3) การคิดดอกเบี้ย ตามอัตราและระยะเวลาของประเภทเงินฝากเป็นหลัก อ. ชารวี บุตรบำรุง
1.4 บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เงินฝากกระแสรายวันเป็นบัญชีเพื่อธุรกิจฝากถอนโดยไม่ใช้เช็คมีเงื่อนไขการเปิดบัญชี ดังนี้ 1) เงินเปิดบัญชีไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท 2) การคำนวณดอกเบี้ยเป็นรายวัน สำหรับยอดเงินฝากส่วนที่เกินกว่า 10,000 บาท ในอัตราตามประกาศธนาคารฯ เมื่อใช้เช็คสั่งจ่ายไม่เกิน 20 ฉบับต่อเดือน ถ้าใช้เช็คเกิน 20 ฉบับต่อเดือนจะไม่คิดดอกเบี้ยจากเงินส่วนที่เกิน 10,000 บาท 3) จ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง โดยนำเข้าทุกสิ้นงวดบัญชี (มิถุนายนและธันวาคม) 4) ถ้าเงินฝากต่ำกว่า 500 บาท ต้องเสียค่ารักษาบัญชีงวดละ 100 บาท อ. ชารวี บุตรบำรุง
1.5 บัญชีเงินฝากประจำสินเคหะ บัญชีเงินฝากประจำสินเคหะเป็นเงินฝากเพื่อให้การออมในการซื้ออสังหาริมทรัพย์มีเงื่อนไขการฝากเงินและผลตอบแทน ดังนี้ 1) ระยะเวลาฝาก 2 ปีหรือ 24 เดือนติดต่อกัน 2) เปิดบัญชีขั้นต่ำ 1,000 บาท ได้คนละ 1 บัญชี 3) การฝากเงินต้องฝากเท่ากันทุกเดือนขั้นต่ำ 1,000 บาทและฝากได้สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท 4) ห้อมถอนเงินต้นบางส่วนหรือทั้งหมด ถ้าถอนเงินถือเป็นการปิดบัญชี อ. ชารวี บุตรบำรุง
5) ฝากต่ำกว่า 3 เดือน ธนาคารไม่จ่ายดอกเบี้ย 6) ฝากครบ 24 เดือน ธนาคารจ่ายดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารกำหนด ณ วันเปิดบัญชี บวกร้อยละ 0.5 ต่อปี และได้รับการยกเว้นภาษีเฉพาะบัญชีแรกเท่านั้น 7) ฝากครบ 24 เดือน มีสิทธิในการกู้เงินสินเคหะได้ในวงเงิน 80 เท่าของวงเงินงวดที่นำมาฝาก โดยธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วไปลดลงร้อยละ 0.50 ต่อปี ระยะเวลาใช้กู้เงินสินเคหะภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ครบกำหนดฝาก 8) ถ้าฝากไม่ครบ 24 เดือน ธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ย ณ วันเปิดบัญชี แต่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี อ. ชารวี บุตรบำรุง
9) การขาดเงินฝาก ธนาคารผ่อนผันให้ขาดเงินฝากได้ไม่เกิน 2 งวดติดต่อกัน และไม่เกิน 2 ครั้งภายในระยะเวลา 2 ปี ถ้าขาดเงินฝากเกินกว่า 3 งวดธนาคารจะทำการปิดบัญชี และไม่ได้รับการยกเว้นภาษี 1.6 เงินฝากตั๋วสัญญาใช้เงิน บัญชีเงินฝากประเภทตั๋วสัญญาใช้เงิน (promissory note : p/n) เป็นเงินฝากที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์เปิดให้ลูกค้าใช้บริการในลักษณะเป็นตราสารที่แสดงการกู้ยืมเงินที่ธนาคารออกให้แก่ลูกค้า โดยมีสัญญาว่าจะจ่ายเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดและ วัน เดือน ปี ที่กำหนด บนหน้าตั๋วสัญญาใช้เงินหรือเมื่อทวงถาม อย่างไรก็ตามผู้ฝากสามารถถอนเงินก่อนครบกำหนดได้และได้รับดอกเบี้ยตามกฎเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนดไว้ อ. ชารวี บุตรบำรุง
1) ประเภทตั๋วสัญญาใช้เงินมี 3 ประเภท คือ ตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อทวงถาม (call deposit) หรือเผื่อเรียก ตั๋วสัญญาใช้เงินประเภทรายวัน (day deposit) มี 2 ชนิด คือ 7 วันและ 14 วัน และตั๋วสัญญาใช้เงินแบบมีกำหนดระยะเวลากำหนด (term deposit) ฝากประจำ ได้แก่ 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน 6 เดือนและ 12 เดือน 2) การเปิดบัญชีเงินฝากตั๋วสัญญาใช้เงินครั้งแรก ขั้นต่ำ 100,000 บาทและยอดฝากครั้งต่อไปต้องมียอดเงินไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท อ. ชารวี บุตรบำรุง
1.7 บัตรบริการอิเล็กทรอนิกส์บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เป็นบริการเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าของธนาคาร การใช้บัตรบริการอิเล็กทรอนิกส์ เป็นบริการนอกเหนือจากการให้บริการด้านฝาก ถอนเงินเหมือน เอ ที เอ็ม (ATM) ทั่วไปแล้วยังให้บริการพิเศษแก่ลูกค้าที่มีบัญชีเงินกู้กับธนาคารอีกด้วย บัตรบริการอิเล็กทรอนิกส์ บริการพิเศษสามารถทำบัตรได้โดยการเปิดบัญชีออมทรัพย์เป็นบัญชีหลักและเปิดบัญชีออมทรัพย์พิเศษ บัญชีกระแสรายวันและบัญชีเงินกู้เป็นบัญชีเสริม ซึ่งเป็นบริการที่สามารถทำรายการได้ทั้ง 4 บัญชีและบัตรสามารถใช้กับบริการพิเศษดังนี้ อ. ชารวี บุตรบำรุง
1) สอบถามยอดหนี้ค้าง 2) โอนเงินระหว่างบัญชีบัตรเดียวกัน 3) โอนเงินไปยังบุคคลที่ 3 ที่มีบัญชีของธนาคารอาคารสงเคราะห์ 4) โอนเงินระหว่างธนาคารที่ผ่านระบบโอนเงินรายย่อย ( Online Retail Fund Transfer หรือ ORFT ) 5) โอนชำระหนี้เงินกู้ผ่านบัตร 6) โอนชำระหนี้เงินกู้บุคคลอื่น อ. ชารวี บุตรบำรุง
2. การให้บริการด้านสินเชื่อ 2.1 บริการเงินกู้สำหรับผู้ซื้อบ้านทั่วไป แบ่งเป็น 5 ประเภท ดังนี้ 2.1.1 เงินกู้ซื้อที่ดินพร้อมบ้าน เป็นสินเชื่อเพื่อกู้ซื้อที่ดินพร้อมบ้านมีหลักเกณฑ์ ดังนี้ 1) วงเงินกู้ยืมไม่เกินร้อยละ 85 ของราคาประเมิน และไม่เกินร้อยละ 85 ของราคาซื้อขาย หรือถ้าเป็นอาคารพาณิชย์กู้ยืมได้ไม่เกินร้อยละ 75 ของราคาประเมินและไม่เกินร้อยละ 75 ของราคาซื้อขาย 2) วงเงินกู้ยืมไม่เกิน 40 เท่าของเงินเดือนผู้ขอกู้ และอีก 15 เท่าของรายได้อื่นๆ หรือไม่เกิน 40 เท่าสำหรับอาชีพอิสระ 3) ระยะเวลาการกู้ยืมสูงสุดไม่เกิน 30 ปี และอายุผู้กู้รวมกับระยะเวลาการกู้ยืมต้องไม่เกิน 70 ปี อ. ชารวี บุตรบำรุง
2.1.2 เงินกู้เพื่อปลูกสร้าง หรือต่อเติม หรือซ่อมแซมบ้านเป็นสินเชื่อสำหรับการกู้เพื่อปลูกสร้างหรือต่อเติม หรือซ่อมแซมบ้านมีหลักเกณฑ์สินเชื่อ ดังนี้ 1) วงเงินกู้ยืมไม่เกินร้อยละ 85 ของราคาประเมิน 2) วงเงินกู้ยืมไม่เกิน 40 เท่าของเงินเดือนผู้ขอกู้ และอีก 15 เท่าของรายได้อื่นๆ หรือไม่เกิน 40 เท่าสำหรับอาชีพอิสระ 3) ระยะเวลาการกู้ยืมสูงสุดไม่เกิน 30 ปี และอายุผู้กู้รวมกับระยะเวลาการกู้ยืมต้องไม่เกิน 70 ปี อ. ชารวี บุตรบำรุง
2.1.3 เงินกู้ซื้อห้องชุด (คอนโดมิเนียม) เป็นเงินกู้ยืมเพื่อซื้อห้องชุดหรือคอนโดมิเนียม มีหลักเกณฑ์ ดังนี้ 1) วงเงินกู้ยืมไม่เกินร้อยละ 70 ของราคาประเมิน และไม่เกินร้อยละ 70 ของราคาซื้อขาย 2) วงเงินกู้ยืมไม่เกิน 40 เท่าของเงินเดือนผู้ขอกู้ และอีก 15 เท่าของรายได้อื่นๆ หรือไม่เกิน 40 เท่าสำหรับอาชีพอิสระ 3) ระยะเวลาการกู้ยืมสูงสุดไม่เกิน 30 ปี และอายุผู้กู้รวมกับระยะเวลาการกู้ยืมต้องไม่เกิน 70 ปี อ. ชารวี บุตรบำรุง
2.1.4 เงินกู้ไถ่ถอนจำนองกับสถาบันการเงินอื่น เป็นสินเชื่อสำหรับลูกค้าที่มีภาระหนี้เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยกับสถาบันการเงินอื่นและมีการผ่อนชำระอย่างสม่ำเสมอ ธนาคารมีบริการสามารถไถ่ถอนจำนองจากสถาบันการเงินอื่น โดยให้บริการสินเชื่อ เพื่อลดภาระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น มีหลักเกณฑ์สินเชื่อดังนี้ 1) ให้วงเงินกู้ยืมเท่ากับยอดเงินต้นคงเหลือกับสถาบันการเงินอื่น หรือบวกเพิ่มได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของวงเงินกู้ยืมคงเหลือจากสถาบันการเงินอื่น 2) วงเงินกู้ยืมไม่เกิน 40 เท่าของเงินเดือนผู้ขอกู้และอีก 15 เท่าของรายได้อื่นๆ หรือไม่เกิน 40 เท่าสำหรับอาชีพอิสระ อ. ชารวี บุตรบำรุง
2.1.5 เงินกู้เพิ่มจากบัญชีเดิมที่อยู่ระหว่างการผ่อนผันชำระกับธนาคาร เป็นวงเงินสินเชื่อให้กู้เพิ่มจากบัญชีเดิมที่อยู่ระหว่างการผ่อนผันชำระกับธนาคารเป็นบริการให้ลูกค้าของธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่มีการผ่อนผันชำระอย่างสม่ำเสมอ ลูกค้าสามารถขอวงเงินกู้ยืมเพิ่มได้โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้ 1) ขอให้ธนาคารประเมินหลักประกันของลูกค้าใหม่ตามสภาพปัจจุบันและอาจขอขยายเวลาการผ่อนชำระออกไปอีกเป็นเวลาสูงสุด 25 ปี นับจากปัจจุบัน อ. ชารวี บุตรบำรุง
2) วงเงินกู้ยืมที่ดินเปล่าให้กู้ยืมได้ไม่เกินร้อยละ 70 ของราคาประเมินที่ดินพร้อมอาคารให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาประเมินห้องชุด (คอนโดมิเนียม) กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาประเมิน 3) วงเงินกู้ยืมไม่เกิน 40 เท่าของเงินเดือนผู้ขอกู้ และอีก 15 เท่าของรายได้อื่นๆ หรือไม่เกิน 40 เท่าของผู้ประกอบอาชีพอิสระ 4) การเปลี่ยนแปลงระยะเวลาการกู้ใหม่ได้ห้องชุด (คอนโดมิเนียม) กู้เพิ่มได้สูงสุดไม่เกิน 15 ปี ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกู้ได้สูงสุดไม่เกิน 30 ปี ทั้งนี้อายุผู้กู้ต้องไม่เกิน 70 ปี อ. ชารวี บุตรบำรุง
2.2 บริการเงินกู้สวัสดิการ แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 2.2.1 เงินกู้โครงการสวัสดิการข้าราชการเป็นโครงการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยให้แก่ข้าราชการ และลูกจ้างประจำโดยอนุมัติงบประมาณให้กรมบัญชีกลางนำมาฝากธนาคารอาคารสงเคราะห์ และให้ธนาคารฯ นำเงินของธนาคารฯ ปล่อยกู้ให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำเป็นจำนวน 2 หรือ 3 เท่าของเงินฝากและให้ธนาคารฯ จัดสรรเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ส่วนราชการ ซึ่งส่วนราชการต่างๆ จะนำข้าราชการและลูกจ้างประจำในสังกัดมากู้เงินจากธนาคาร อ. ชารวี บุตรบำรุง
2.2.2 เงินกู้โครงการสวัสดิการมีเงินฝาก เงินกู้โครงการสวัสดิการเพื่อที่อยู่อาศัยประเภทเงินฝากเป็นการมาฝากประจำกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ เพื่อส่งเสริมให้ข้าราชการพนักงานของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจเอกชน ได้มีโอกาสซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองสะดวกขึ้นและได้รับสิทธิพิเศษมากกว่าการกู้แบบบุคคลธรรมดาทั่วไป เพียงแต่หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจเอกชน ทำข้อตกลงกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ ตามงวดผ่อนชำระ อ. ชารวี บุตรบำรุง
2.2.3 เงินกู้สวัสดิการไม่มีเงินฝาก โครงการเงินกู้สวัสดิการเพื่อที่อยู่อาศัย ประเภทไม่มีเงินฝากเป็นการให้บริการเงินกู้ของธนาคารอาคารสงเคราะห์เพื่อส่งเสริมให้ข้าราชการ พนักงานของหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจเอกชนได้มีโอกาสซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองสะดวกขึ้น และได้รับสิทธิพิเศษมากกว่าการกู้แบบบุคคลธรรมดาทั่วไป เพียงแต่หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจเอกชน ทำข้อตกลงกับธนาคารฯ และรับรองผู้กู้ ซึ่งเป็นข้าราชการ พนักงานโดยหักเงินเดือนส่งให้ธนาคารฯ ตามงวดผ่อนชำระ อ. ชารวี บุตรบำรุง
2.3 บริการเงินกู้สำหรับผู้ประกอบการจัดสรร เป็นวงเงินให้กู้ยืมแก่ผู้ประกอบการเคหะหรือผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์และจัดสรรเพื่อก่อสร้างอาคาร แฟลตเป็นการช่วงเหลือด้านเงินทุนธุรกิจให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 2.3.1 วงเงินกู้ยืมสร้างแฟลตให้เช่า เป็นวงเงินให้กู้ยืมแก่ผู้ประกอบการสร้างอาคารแฟลตให้เช่า โดยผู้กู้ต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ใช้เป็นที่ก่อสร้างและจดจำนองที่ดินเป็นหลักประกัน โดยมีเงื่อนไข ดังนี้ อ. ชารวี บุตรบำรุง
1) วงเงินกู้ยืมไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค้าการก่อสร้างอาคารแฟลตที่ธนาคารฯ ประเมินโดยไม่รวมราคาที่ดิน 2) ระยะเวลาการกู้ยืมไม่เกิน 15 ปีและอายุผู้กู้ต้องไม่เกิน 55 ปี เมื่อรวมระยะเวลาการกู้ยืมและอายุผู้กู้แล้วต้องไม่เกิน 70 ปี 3) การชำระหนี้เงินกู้ กรณีกู้ไถ่ถอนจำนองแฟลต ผู้กู้ต้องผ่อนชำระเงินงวดตามสัญญาตั้งแต่เดือนที่ทำสัญญากู้เงิน กรณีที่เป็นการขอกู้ประเภทปลูกสร้าง ผู้กู้จะต้องผ่อนชำระดอกเบี้ยทุกเดือน เริ่มตั้งแต่เดือนที่ทำสัญญากู้เงินและได้รับเงินกู้ไปแล้วและจะต้องผ่อนชำระเงินงวดเมื่อเบิกจ่ายเงินกู้ครบตามสัญญา อ. ชารวี บุตรบำรุง
2.3.2 กู้ยืมเงินเพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยและขอวงเงินกู้ยืมเบิกเกินบัญชี เป็นวงเงินที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ให้กู้ยืมเพื่อพัฒนาโครงการจัดสรรที่ดินพร้อมอาคารและใช้เงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ ไม่ให้กู้เพื่อจัดสรรที่ดินเปล่าหรือบ้านพักตากอากาศ 1) วงเงินกู้ยืมไม่เกินร้อยละ 70 ของมูลค่าการก่อสร้างอาคารและพัฒนาสาธารณูปโภค และอีกร้อยละ 30 ของมูลค่าที่ดินหรือให้กู้ร้อยละ 80 ของมูลค่าการก่อสร้างอาคารและพัฒนาสาธารณูปโภครวมกัน 2) จดจำนองที่ดินที่จัดทำโครงการเพื่อเป็นหลักประกันวงเงินกู้ อ. ชารวี บุตรบำรุง
3) การชำระหนี้วงเงินกู้เบิกเกินบัญชีครบแล้ว นอกจากผู้กู้จะต้องมีหน้าที่ชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนแล้วผู้กู้ต้องจัดให้มีการปลอดจำนองหลักประกันที่ได้ยื่น ขอจัดสรรเป็นแปลงๆ ไว้และต้องนำเงินค่าปลอดจำนองมาชำระหนี้คืนแก่ธนาคารทุกครั้ง อัตราปลอดหรือจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระเพื่อปลอดภาระผูกพันของโฉนดแต่ละแปลง อัตราปลอดจำนองเป็นไปตามที่ธนาคารเห็นสมควรตามระยะเวลาที่สมควร 2.3.3 สินเชื่อประเภทบ้านเช่า เป็นวงเงินที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ให้กู้ยืมเพื่อปลูกสร้างบ้านให้เช่า เพื่อไถ่ถอนจำนองบ้านให้เช่าและเพื่อซื้อ ชำระหนี้ ต่อเติม ซ่อมแซมบ้านให้เช่า อ. ชารวี บุตรบำรุง
2.4 สินเชื่อพิเศษ เป็นสินเชื่อธนาคารสงเคราะห์ให้กู้เงินแก่ผู้ประมูลซื้อทรัพย์ของลูกหนี้ธนาคารจากการขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี โดยผู้กู้ต้องเป็นผู้ได้รับอนุมัติให้ซื้อทรัพย์ธนาคารหรือเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากผู้ซื้อทรัพย์ธนาคาร โดยมีเงื่อนไข ดังนี้ 2.4.1 วัตถุประสงค์การกู้ เพื่อซื้อที่ดิน ที่ดินอาคาร ห้องชุดหรือแฟลต ซึ่งเป็นทรัพย์ที่ได้จากการโอนทรัพย์ชำระหนี้ หรือทรัพย์ที่ซื้อได้จากการบังคับของลูกหนี้ธนาคาร อ. ชารวี บุตรบำรุง
2.4.2 วงเงินกู้ 1) ตามเกณฑ์รายได้ ไม่พิจารณาความสามารถในการผ่อนชำระตามเกณฑ์รายได้ กรณีผู้กู้ใช้โครงการผ่อนดาวน์และชำระเงินดาวน์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของราคาซื้อขาย ยกเว้นกรณีแฟลตต้องชำระเงินดาวน์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 ของราคาซื้อขาย 2) ตามเกณฑ์หลักประกัน (1) ให้กู้ไม่เกินร้อยละ 90 ของราคาประเมินและไม่เกินร้อยละ 90 ของราคาขายทรัพย์ทุกประเภท ยกเว้นกรณีหลักประกันเป็นอาคารแฟลตให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาซื้อขาย อ. ชารวี บุตรบำรุง
(2) กรณีที่ราคาขายสูงกว่าราคาประเมินให้ใช้ราคาขายเป็นราคารับเป็นหลักประกัน แต่เกินราคาประเมินได้ไม่เกินร้อยละ 20 โดยผู้กู้จะต้องชำระเงินดาวน์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของราคาขาย (กรณีแฟลตไม่ต่ำกว่า 20) ส่วนที่เหลือให้สินเชื่อได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของราคาที่ธนาคารรับเป็นหลักประกัน แต่ไม่เกินร้อยละ 108 ของราคาประเมิน (กรณีแฟลตให้สินเชื่อได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาที่ธนาคารรับเป็นหลักประกัน) แต่ไม่เกินร้อยละ 96 ของราคาประเมิน 3) ระยะเวลาการกู้ไม่เกิน 30 ปี โดยอายุผู้กู้รวมกับระยะเวลาการกู้ไม่เกิน 70 ปี 4) หลักประกันโฉนดที่ดิน หรือ นส.3 ก. หรือ อช. 2 (หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด) อ. ชารวี บุตรบำรุง
5) ธนาคารยกเว้นค่าธรรมเนียมการวิเคราะห์โครงการสำหรับการกู้เงินเพื่อซื้อแฟลต 6) อัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ประเภทลอยตัวหรือประเภทคงที่ระยะเวลา 3 ปี หรือ 5 ปี ตามประกาศธนาคาร หรือใช้สิทธิตามข้อตกลงสวัสดิการข้าราชการ สวัสดิการประเภทมีเงินฝากหรือประเภทไม่มีเงินฝากอย่างใดอย่างหนึ่ง กรณีแฟลตใช้ได้เฉพาะอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ประเภทลอยตัวหรือใช้สิทธิตามข้อตกลงหน่วยงานสวัสดิการ อ. ชารวี บุตรบำรุง
กรณีที่ดินเปล่าสามารถใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ประเภทคงที่ตามประกาศธนาคารได้โดยไม่ต้องบวกร้อยละ 0.5 (ทั้งลูกค้าทั่วไปและลูกค้าสวัสดิการซึ่งมีข้อตกลงกับธนาคารให้ซื้อที่ดินเปล่าได้) และเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่แล้วอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะเปลี่ยนเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวตามประกาศธนาคาร โดยไม่ต้องบวกร้อยละ 0.5 7) ในกรณีนิติบุคคลประสงค์จะประมูลซื้อทรัพย์ของลูกหนี้ธนาคารจากการขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี เพื่อนำไปปรับปรุงและขายต่อธนาคารมีโครงการให้สินเชื่อด้วยเงื่อนไขพิเศษเช่นกัน อ. ชารวี บุตรบำรุง
2.5 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะยาว โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารเป็นอัตราดอกเบี้ยที่อิงกับอัตราดอกเบี้ยพื้นฐาน ตาม MRR,MLR และ MOR เช่น MRR ใช้กับลูกค้ารายย่อยทั่วไป 7.50% MLR ใช้กับผู้ประกอบการทั่วไปและผู้กู้สร้างแฟลต 6.75% MOR ใช้กับผู้ประกอบการที่ใช้เงินกู้เกินบัญชี 9.75% อ. ชารวี บุตรบำรุง