250 likes | 575 Views
ความสำคัญของคุณภาพข้อมูล และ หลักการ RDQA. ผศ.นพ.เกรียงไกร ศรีธนวิบุญชัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 30 มิ.ย. 2557. ความสำคัญของคุณภาพข้อมูล. การติดตามประเมินผลการดำเนินงาน การกำหนดนโยบายและทิศทางการทำงาน ต้องอาศัยข้อมูลที่ได้จากระบบรายงาน
E N D
ความสำคัญของคุณภาพข้อมูล และหลักการ RDQA ผศ.นพ.เกรียงไกร ศรีธนวิบุญชัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 30มิ.ย.2557
ความสำคัญของคุณภาพข้อมูลความสำคัญของคุณภาพข้อมูล • การติดตามประเมินผลการดำเนินงาน การกำหนดนโยบายและทิศทางการทำงาน ต้องอาศัยข้อมูลที่ได้จากระบบรายงาน • หากข้อมูลไม่มีคุณภาพ จะทำให้ผลการประเมินและนโยบายคลาดเคลื่อนจากที่ควรจะเป็น • ในกรณีของหน่วยบริการเอง ข้อมูลที่มีคุณภาพสามารถนำมาใช้วิเคราะห์งาน และพัฒนางานได้ • ข้อมูล RIHIS ที่มีคุณภาพ จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนางานและกำหนดแนวทางการป้องกัน HIV ในประชากรที่มีความเสี่ยงสูงอย่างต่อเนื่อง
(Routine Data Quality Assessment) RDQA • Global Fund ให้ความสำคัญกับคุณภาพข้อมูลรายงานจึงได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนาเครื่องมือชื่อ RDQA ขึ้น • RDQA เป็นแนวทาง/เครื่องมือ ที่ใช้ช่วยในการตรวจสอบคุณภาพข้อมูลและพัฒนาระบบข้อมูล • เป็นกระบวนการตรวจวัดคุณภาพข้อมูลรายงานที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง หรือโดยหน่วยติดตามกำกับ
วัตถุประสงค์ของเครื่องมือ RDQA • VERIFY ตรวจสอบ • คุณภาพของข้อมูลรายงานสำหรับตัวชี้วัดหลักต่างๆ • ระบบการบริหารจัดการข้อมูล • DEVELOP พัฒนาแนวทางการดำเนินงาน โดยให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขและเสริมสร้างศักยภาพในการบริหารจัดการข้อมูลตลอดจนระบบการรายงาน เพื่อข้อมูลที่มีคุณภาพ • MONITOR ติดตามกำกับและดูแลอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาศักยภาพ การบริหารจัดการข้อมูลตลอดจนระบบการรายงาน เพื่อข้อมูลที่มีคุณภาพ
กรอบแนวคิดของ RDQA ข้อมูลที่มีคุณภาพ หน่วยติดตามประเมินผล (M&E unit) ระบบจัดการและรายงานข้อมูล ระดับการรายงาน หน่วยรวบรวมข้อมูล เช่น จังหวัด เขต หน่วยบริการ
คุณลักษณะของระบบข้อมูลที่ดีคุณลักษณะของระบบข้อมูลที่ดี • ถูกต้อง (Accuracy, Validity) • คงเส้นคงวา (Reliability) • มีรายละเอียดเพียงพอ (Precision) • ครอบคลุม (Completeness) • ทันเวลา (Timeliness) • ซื่อตรง (Integrity) • รักษาความลับ (Confidentiality)
ถูกต้อง (Accuracy, Validity) • ความหมาย: ข้อมูลที่รายงานมีความถูกต้องตามความเป็นจริง และตรงตามสิ่งที่ต้องการวัด • ตัวอย่าง: • โรงพยาบาล A รายงานจำนวน MSM ที่มาฟังผลการตรวจ anti-HIV ติดเชื้อเอชไอวีในไตรมาสที่ 2 ของปี 2556 เท่ากับ 7 ราย • ทีมตรวจเยี่ยมนับจำนวน MSM ที่มาฟังผลการตรวจ anti-HIV ติดเชื้อเอชไอวี ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2556 จากบันทึกการให้บริการได้ 7 ราย เท่ากันกับที่รายงาน • บทบาทหน้าที่ของหน่วยบริการ: มาก
คงเส้นคงวา (Reliability) • ความหมาย: ระบบรายงานและข้อมูลที่จัดเก็บไม่เปลี่ยนแปลงบ่อย มีความสม่ำเสมอต่อเนื่อง • ตัวอย่าง: ระบบ RIHIS มีรายการข้อมูลที่หน่วยบริการต้องจัดเก็บชัดเจน ทุกที่จัดเก็บเหมือนกัน และมีแบบรายงาน และระบบการรายงานที่เป็นรูปแบบเดียวกัน โดยต้องรายงานอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน • บทบาทหน้าที่ของหน่วยบริการ: ปานกลาง
มีรายละเอียดเพียงพอ (Precision) • ความหมาย: มีการเก็บรวบรวมข้อมูลตามตัวแปรย่อยต่าง ๆ อย่างเพียงพอที่จะบอกสถานการณ์ของตัวชี้วัดหลัก และนำไปใช้ประโยชน์ได้ • ตัวอย่าง: แบบรายงาน HIV VCT ของ RIHIS กำหนดให้รายงานจำนวนผู้รับบริการ pretest ผู้ตัดสินใจตรวจเลือด ผู้กลับมาฟังผลเลือด และผู้ที่มีผลเลือดบวก แยกตามเพศ และกลุ่มเสี่ยง • บทบาทหน้าที่ของหน่วยบริการ: น้อย
ครอบคลุม (Completeness) • ความหมาย: ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมีความครบถ้วน ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย และทุกตัวชี้วัดสำคัญ • ตัวอย่าง: เจ้าหน้าที่สถานพยาบาลลงบันทึกการให้บริการ และรายงานการให้บริการ HIV VCT ทั้งที่ให้บริการในสถานพยาบาล และบริการเชิงรุกนอกสถานพยาบาล • บทบาทหน้าที่ของหน่วยบริการ: มาก
ทันเวลา (Timeliness) • ความหมาย: สัดส่วนของรายงานที่ส่งทันเวลาจากจำนวนรายงานที่ต้องส่งทั้งหมด ในแต่ละช่วงเวลาที่กำหนด • ตัวอย่าง: จากหน่วยบริการ HIV VCT ในจังหวัด A ทั้งหมด 20 แห่ง ส่งรายงาน RIHIS ประจำเดือน ส.ค. 2556 ทันภายในวันที่ 10 ก.ย. 2556 จำนวน 15 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 75 • บทบาทหน้าที่ของหน่วยบริการ: มาก
ซื่อตรง (Integrity) • ความหมาย: ข้อมูลไม่ถูกบิดเบือนโดยตั้งใจจากผู้ปฏิบัติหรือผู้กำหนดนโยบาย • ตัวอย่าง : เจ้าหน้าที่สถานพยาบาลลงบันทึก และทำรายงานตามที่ให้บริการจริง ไม่มีการปรับเพิ่มตัวเลข • บทบาทหน้าที่ของหน่วยบริการ: มาก
รักษาความลับ (Confidentiality) • ความหมาย: มีระบบและวิธีการปฏิบัติในการเก็บข้อมูลทางการแพทย์ของผู้รับบริการเป็นความลับ • ตัวอย่าง: แบบบันทึกการให้บริการ STI ของสถานพยาบาล A ถูกเก็บไว้ในตู้ล็อกกุญแจ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลและเขียนรายงาน สามารถเข้าถึงได้เฉพาะเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบที่มี password เท่านั้น • ความเกี่ยวข้องของหน่วยบริการ: มาก
กรอบแนวคิดของ RDQA ข้อมูลที่มีคุณภาพ หน่วยติดตามประเมินผล (M&E unit) ระบบจัดการและรายงานข้อมูล ระดับการรายงาน หน่วยรวบรวมข้อมูล เช่น จังหวัด เขต หน่วยบริการ
ระบบการบริหารจัดการข้อมูลระบบการบริหารจัดการข้อมูล I ศักยภาพ บทบาท และความรับผิดชอบของหน่วยกำกับดูแล II การฝึกอบรม III ข้อกำหนดของระบบรายงาน IV นิยามของตัวชี้วัด V แบบบันทึกและแบบรายงาน VI กระบวนการในการบริหารจัดการข้อมูล VII วิธีการควบคุมคุณภาพของข้อมูล VIII การเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบรายงานของประเทศ
I ศักยภาพ บทบาท และความรับผิดชอบของหน่วยกำกับดูแล • มีผู้รับผิดชอบงานติดตามประเมินผล/งานบริหารจัดการข้อมูล • มีการระบุบทบาทหน้าที่ความผิดชอบของเจ้าหน้าที่อย่างชัดเจน
II การฝึกอบรม • ผู้รับผิดชอบงานติดตามประเมินผล/งานบริหารจัดการข้อมูลได้รับการฝึกอบรมที่จำเป็น
III ข้อกำหนดของระบบรายงาน • ระบบมีเอกสารที่ระบุอย่างชัดเจนถึง • สิ่งที่ต้องรายงาน (what) • รายงานส่งถึงใคร (who) • รูปแบบวิธีของการรายงาน (how) • และระยะเวลาในการรายงานข้อมูล (when)
IV นิยามของตัวชี้วัด • นิยามตัวชี้วัดเชิงปฏิบัติการเข้าได้กับมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง • หน่วยบริการทุกแห่งในพื้นที่ใช้เป็นหลักในการถือปฏิบัติ
V แบบบันทึกและแบบรายงาน • มีแบบฟอร์มการเก็บรวบรวมข้อมูลและการรายงานที่ถูกใช้เป็นมาตรฐานร่วมกัน • แบบฟอร์มมีรายละเอียดเพียงพอที่จะวัดตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง • ข้อมูลถูกเก็บรักษาตามมาตรฐานการรักษาความลับระดับประเทศ หรือระดับนานชาติ • เอกสารต้นฉบับถูกเก็บไว้และพร้อมให้ตรวจสอบ
VI กระบวนการในการบริหารจัดการข้อมูล • มีเอกสารที่แสดงขั้นตอนการจัดเก็บข้อมูล การรวบรวมข้อมูล และการจัดการข้อมูลอย่างชัดเจน • มีการกำหนดประเด็นความท้าทายต่อข้อมูลที่มีคุณภาพ และวิธีการแก้ไขหากเกิดปัญหาเหล่านั้น
VII วิธีการควบคุมคุณภาพของข้อมูล • มีเอกสารที่แสดงวิธีการตรวจหาและแก้ไขให้ลงรอยกัน หากรายงานต่าง ๆ มีความแตกต่างกัน • มีเอกสารที่แสดงวิธีการยืนยันความถูกต้องของข้อมูลกับเอกสารต้นฉบับ
VIII การเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบรายงานของประเทศ • ระบบเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานข้อมูลมีการเชื่อมต่อหรือส่งต่อข้อมูลไปยังระบบรายงานของประเทศหรือไม่