1 / 21

การพัฒนาซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล สำหรับดาวเทียม SMMS

การพัฒนาซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล สำหรับดาวเทียม SMMS. โดย นาย เอกพล หิรัณยเอกภาพ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553. หัวข้อนำเสนอ. จุดประสงค์ การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางด้าน Remote Sensing ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน. จุดประสงค์. พัฒนาเครื่องมือสำหรับประมวลผลข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม

makani
Download Presentation

การพัฒนาซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล สำหรับดาวเทียม SMMS

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การพัฒนาซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูลสำหรับดาวเทียม SMMS โดย นาย เอกพล หิรัณยเอกภาพ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

  2. หัวข้อนำเสนอ • จุดประสงค์ • การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางด้าน Remote Sensing • ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน

  3. จุดประสงค์ • พัฒนาเครื่องมือสำหรับประมวลผลข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม • เพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆสามารถนำข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมไปประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

  4. การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางด้าน Remote Sensing(1) • แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ • ส่วนประมวลผลข้อมูล • ส่วนติดต่อกับผู้ใช้งาน • เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย • ORFEO Toolbox (OTB) • FWTools • Python

  5. การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางด้าน Remote Sensing (2) การพัฒนาส่วนประมวลผลด้วย ORFEO Toolbox (OTB) • พัฒนาบน OS Windows XP ด้วยเครื่องมือ • Microsoft Visual Studio 2008 • CMAKE 2.8 • โดยพัฒนาส่วนประมวลผลต่างด้วยภาษา C++ แล้วคอมไพล์และสร้างเป็นไฟล์ .exe เพื่อให้พร้อมเรียกใช้งาน

  6. การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางด้าน Remote Sensing (3)ORFEO Toolbox (OTB) • ORFEO Toolbox (OTB) คือไลบรารี่สำหรับประมวลผลข้อมูลภาพทางด้าน Remote sensing แบบเปิด (Open source) • ประกอบด้วยกลุ่มเครื่องมือต่างๆดังนี้ • เครื่องมือกรองข้อมูล (Filtering) • เครื่องมือลงทะเบียนข้อมูลภาพ (Image Registration) • เครื่องมือการปรับแก้ภาพและการฉายภาพ (Orthorectification and Map projection) • เครื่องมือประมวลผลเชิงคลื่น (Radiometry) • เครื่องมือหลอมรวมภาพ (Image Fusion) • เครื่องมือสกัดคุณลักษณะ (Feature Extraction) • เครื่องมือแบ่งกลุ่มภาพ (Image Segmentation) • เครื่องมือแบ่งประเภท (Classification) • เครื่องมือตรวจจับการเปลี่ยนแปลง (Change Detection)

  7. การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางด้าน Remote Sensing (4) เครื่องมือกรองข้อมูล (Filtering) • เป็นเครื่องมือสำหรับปรับปรุงภาพให้มีความเหมาะสมกับการประยุกต์ใช้งาน เช่น การลดสัญญาณรบกวนในภาพถ่าย, การเน้นภาพ, การตรวจหาขอบวัตถุ เป็นต้น

  8. การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางด้าน Remote Sensing (5) เครื่องมือลงทะเบียนข้อมูลภาพ (Image Registration) • ภาพถ่ายในบริเวณเดียวกันจากต่างแหล่งที่มา หรือต่างเวลากัน จำเป็นต้องนำมาเทียบเคียงตำแหน่งกัน โดยให้ภาพหนึ่งเป็นภาพอ้างอิง อีกภาพหนึ่งเป็นภาพที่นำมาแปลงรูปให้มีตำแหน่งตรงกันกับภาพอ้างอิง

  9. การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางด้าน Remote Sensing (6) Orthorectification and Map projection • เป็นการแปลงภาพถ่ายจากเรขาคณิตเชิงเซ็นเซอร์ (Sensor geometry) เป็นภาพฉายเชิงภูมิศาสตร์ (Geographic) และแปลงภาพต่อไปเป็นภาพฉายเชิงแผนที่ (Cartographic) • แบบจำลองเซ็นเซอร์ (Sensor model) ทำการแปลงจากพิกัดภาพถ่าย (แถว,หลัก) เป็นพิกัดเชิงภูมิศาสตร์ (ละติจูด,ลองจิจูด) โดยมีข้อมูลแบบจำลองความสูงเชิงเลข (DEM) ด้วย • การปรับแต่งแบบชุด (Bundle-block adjustment) ในกรณีปรับแต่งภาพชุดต่อเนื่อง • การฉายภาพแผนที่ (Map projection) เป็นการแปลงจากพิกัดเชิงภูมิศาสตร์เป็นภาพฉายแผนที่แบบต่างๆ

  10. การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางด้าน Remote Sensing (7) เครื่องมือประมวลผลเชิงคลื่น (Radiometry) • ภาพถ่ายที่ได้ไม่ได้ถ่ายที่วัตถุเป้าหมายโดยตรง แต่ผ่านสิ่งคั่นกลางเช่น บรรยากาศโลก ทำให้แสงสะท้อนจากวัตถุเปลี่ยนแปลงไป • ผลจากการกระเจิงแสง เช่น การสะท้อน, การเลี้ยวเบน, การหักเหของแสง เป็นต้น • ผลจากการดูดกลืนสเปกตรัม ในชั้นบรรยากาศประกอบไปด้วยก๊าซต่างๆหลายชนิด • OTB มีเครื่องมือการปรับแก้ผลจากชั้นบรรยากาศตามวิธี Second Simulation of a Satellite Signal in the Solar Spectrum (6S)

  11. การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางด้าน Remote Sensing (8) เครื่องมือหลอมรวมภาพ (Image fusion) • เป็นกระบวนการในการนำข้อมูลภาพจากเซ็นเซอร์ทั้ง 2 มารวมกัน เพื่อให้ได้ภาพที่มีคุณสมบัติที่ดีของทั้ง 2 ภาพ • ภาพถ่ายดาวเทียมที่ได้จากเซ็นเซอร์ต่างกันมีความละเอียดภาพต่างกัน เช่น ภาพถ่ายที่ 1 เป็นภาพความละเอียดสูงแบบ 1 แบนด์, ภาพถ่ายที่ 2 เป็นภาพที่มีความละเอียดต่ำกว่าแต่มีหลายย่านความถี่ เป็นต้น

  12. การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางด้าน Remote Sensing (9) เครื่องมือสกัดคุณลักษณะ (Feature extraction) • เป็นการแปลงข้อมูลภาพให้อยู่ในรูปของคุณลักษณะ เพื่อลดรูปรายละเอียดที่ใช้ในการแสดงผล ทำให้ง่ายขึ้นในการแยกแยะข้อมูล ตัวอย่างการตรวจจับเมฆ

  13. การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางด้าน Remote Sensing (10) เครื่องมือแบ่งกลุ่มภาพ (Image segmentation) • เป็นเครื่องมือในการแบ่งขอบเขตของวัตถุในภาพ โดยมีเป้าหมายเพื่อง่ายขึ้นในการแสดงผลและการวิเคราะห์ ตัวอย่างการแบ่งกลุ่มภาพแบบขยายขอบเขต (Region growing)

  14. การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางด้าน Remote Sensing (11) เครื่องมือแบ่งประเภท (Classification) • มีเป้าหมายในการจำแนกชนิดของข้อมูล โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ลัษณะคือ • Unsupervised Classification คือ การจำแนกประเภทข้อมูลที่ผู้วิเคราะห์ไม่ต้องกำหนดข้อมูลตัวอย่าง • Supervised Classification คือ การจำแนกประเภทข้อมูลที่ผู้วิเคราะห์กำหนดข้อมูลตัวอย่าง เพื่อเป็นตัวแทนของข้อมูลแต่ละประเภท

  15. การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางด้าน Remote Sensing (12) ตัวอย่างการแบ่งประเภทข้อมูลภาพ แบบ K-Means (แบ่ง 4 กลุ่ม)

  16. การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางด้าน Remote Sensing (13) เครื่องมือตรวจจับการเปลี่ยนแปลง (Change detection) • เป็นการเปรียบเทียบภาพ 2 ภาพ (หรือมากกว่า) ในบริเวณพื้นที่เดียวกัน • การนำภาพถ่ายไปประยุกต์ใช้งานในการตรวจจับการใช้พื้นที่, การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และการตรวจจับภัยพิบัติ ตัวอย่างภาพถ่ายย่านใกล้อินฟาเรดของพื้นที่ก่อน/หลัง เกิดน้ำท่วม

  17. FWTools • เป็นกลุ่มของเครื่องมือสำหรับข้อมูล GIS ประกอบไปด้วย • OpenEVเป็นเครื่องมือสำหรับเปิดและวิเคราะห์ข้อมูลภาพแบบ raster/vector • GDAL/OGR เป็นไลบรารี่และเครื่องมือสำหรับการอ่านและเขียนข้อมูล raster/vector • MapServerเป็นเครื่องมือสำหรับการทำแผนที่บนเว็บ • PROJ.4 เป็นไลบรารี่การฉายภาพแผนที่ • OGDI เป็นเครื่องมือสำหรับการอ่านข้อมูล raster/vector ซึ่งรองรับข้อมูลในหลายรูปแบบไฟล์

  18. Python (1) • Python เป็นภาษาสำหรับการเขียนโปรแกรมระดับสูง โดยมีจุดเด่นดังนี้ • ความเป็นภาษาคำสั่ง (Script) ทำให้ใช้เวลาในการเขียนและคอมไพล์ไม่มาก • ความเป็นภาษากาว (Glue language) คือ มีสามารถเรียกใช้ภาษาโปรแกรมอื่นๆได้อย่างดี ทำให้เหมาะที่จะใช้เขียนเพื่อประสานงานโปรแกรมที่พัฒนาจากภาษาที่ต่างกันได้ • มีชุดไลบรารี่ต่างๆ ซึ่งช่วยลดภาระของโปรแกรมเมอร์ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ • ใช้ในการพัฒนาส่วนติดต่อกับผู้ใช้งาน • โดยอิงกับไลบรารี่ WxPython

  19. Python (2) • พัฒนาส่วนติดต่อกับผู้ใช้งาน โดยเรียกใช้คำสั่งต่างๆผ่านทางหน้าต่างเมนู • เรียกใช้งานคำสั่งของส่วนประมวลผลต่างๆที่พัฒนาขึ้นจากไฟล์ .exe ที่คอมไพล์ได้จากส่วนประมวลผลที่พัฒนาด้วย OTB • เมนูเรียกใช้งานภาษาคำสั่ง Python ให้ผู้ใช้งานสามารถเรียกใช้ และเขียนโปรแกรมเองได้ตามความต้องการ

  20. ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน • การตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่พืช • การตรวจจับพื้นที่น้ำท่วม • การตรวจจับพื้นที่ปลูกข้าว

  21. ขอบคุณครับ

More Related