1 / 24

เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำย่อยหนองงูเหลือม ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำย่อยหนองงูเหลือม ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม. จัดทำโดย. สถานีพัฒนาที่ดินนครปฐม สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตุลาคม 2550. สารบัญ. เรื่อง หน้า 1. หลักการและเหตุผล

malha
Download Presentation

เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำย่อยหนองงูเหลือม ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำย่อยหนองงูเหลือมเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำย่อยหนองงูเหลือม ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม จัดทำโดย สถานีพัฒนาที่ดินนครปฐม สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตุลาคม 2550

  2. สารบัญ เรื่อง หน้า 1. หลักการและเหตุผล 2. วัตถุประสงค์ 3. ระยะเวลาดำเนินการ 4. การดำเนินงาน 4.1 คัดเลือกพื้นที่ลุ่มน้ำ 4.2 การขีดวงรอบขอบเขตลุ่มน้ำ 4.3 การจัดทำข้อมูลแผนที่และการจัดเตรียมข้อมูล 4.3.1 ข้อมูลทั่วไป 4.3.2 ลักษณะทั่วไปของดิน 4.3.3 สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน 4.3.4 แผนการใช้ที่ดิน 4.3.5 การจำแนกความเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย 4.3.6 การจัดชั้นความเหมาะสมของดินทางวิศวกรรม 4.4 แผนการดำเนินงานเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำย่อย 4.5 ผลการดำเนินงานเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำย่อย

  3. เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำย่อยหนองงูเหลือมเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำย่อยหนองงูเหลือม ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 1. หลักการและเหตุผล ในวโรกาสอันเป็นมหามงคลดิถี ครบ 60 ปี ครองราชย์ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กรมพัฒนาที่ดินมีความมุ่งมั่นที่จะ “ตามรอยพระบาท” โดยจัดทำโครงการ เฉลิมพระเกียรติ ตามรอยพระบาท ครองราชย์ 60 ปี ฟื้นฟูปฐพีไทยซึ่งเป็นโครงการบูรณาการร่วมกันของหน่วย งานต่างๆ ภายในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน่วยงานจังหวัด องค์กรเอกชนและท้องถิ่น เพื่อช่วยเหลือพี่น้อง เกษตรกรในการฟื้นฟูทรัพยากรดินอย่างต่อเนื่อง มุ่งหวังให้เกษตรกรได้รับความรู้ในเรื่องการฟื้นฟูดินอย่าง จริงจัง มีความรู้เรื่องการฟื้นฟูทรัพยากรดินของตนเอง และมีการอนุรักษ์ทรัพยากรที่ดินของประเทศอย่างเหมาะสม กว้างขวางมีการใช้ที่ดินอย่างยั่งยื่นตามศักยภาพของทรัพยากรดิน ซึ่งนอกจากจะเป็นแก้ไขปัญหาดินจากข้อจำกัด ของวัตถุต้นกำเนิดทางธรรมชาติแล้วยังเป็นการแก้ไขการทำลายหน้าดินจากการเกษตรกรรมที่ไม่ระมัดระวัง ทำให้ เกิดปัญหาดินเสื่อมโทรม ซึ่งแต่ละปัญหาต้องมีวิธีการจัดการที่เฉพาะเจาะจงเพื่อแก้ไขและฟื้นฟูอย่างถูกวิธี เพื่อให้ มีทรัพยากรที่ดินเหลือไว้ใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนต่อไป ในส่วนของสถานีพัฒนาที่ดินนครปฐม ได้จัดทำเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำย่อยหนองงูเหลือม โดย บูรณาการกิจกรรมที่เกี่ยวข้องเช่น การจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำทั้งวิธีกลและวิธีพืชเพื่อป้องกันการชะล้าง พังทลายของดิน การปรับปรุงบำรุงดินที่มีปัญหา เช่น ดินเปรี้ยว ดินกรด ดินเปรี้ยวดินเค็มภาคใต้ และดินเค็ม รวมทั้ง การฟื้นฟูดินเสื่อมโทรมในพื้นที่ที่ดินขาดอินทรียวัตถุตามสภาพปัญหาของพื้นที่นั้นๆ เป็นต้น 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสเฉลิมสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในปี 2549 2.2 เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ อบรม สร้างเครือข่ายเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และชุมชนในการ ปรับเปลี่ยนทัศนคติให้เกิดการยอมรับและเห็นประโยชน์ในการร่วมใจฟื้นฟู อนุรักษ์พัฒนาและปรับปรุงบำรุงดิน ให้มีความยั่งยืนทางการเกษตร 2.3 เพื่อสาธิตงานพัฒนาที่ดินให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปได้เห็นประโยชน์ของการอนุรักษ์ ฟื้นฟูปรับปรุงบำรุงดินและการพัฒนาทรัพยากรดิน ให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินทำการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและยั่งยืน

  4. 3. ระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี (เดือนตุลาคม 2549 – กันยายน 2550) 4. การดำเนินงาน 4.1 การคัดเลือกพื้นที่ลุ่มน้ำ สถานีพัฒนาที่ดินนครปฐม ได้คัดเลือกพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยหนองงูเหลือม เนื่องจาก เป็นลุ่มน้ำสาขาของที่ราบแม่น้ำท่าจีน ครอบคลุมพื้นที่ 19,341 ไร่ ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ประกอบอาชีพส่วนใหญ่คือ ปลูกอ้อย , ข้าว และหน่อไม้ฝรั่ง ลักษณะการทำการเกษตรของเกษตรกรที่ดำเนินการ อยู่ในปัจจุบัน มีการใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติลดลงและ เกษตรกรมีการปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุน้อยมาก ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อเกษตรกรทั้งในเรื่องของ ผลผลิตที่ลดลง อัตราการใช้ปุ๋ยเคมีสูงขึ้น ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตสูงและรายได้ของเกษตรกรลดลง ดังนั้น จึงคัด เลือกพื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตพัฒนาที่ดิน เพื่อดำเนินการพัฒนาโดยบูรณาการกิจกรรมที่เกี่ยวข้องได้แก่ การปรับปรุง บำรุงดินที่มีปัญหา รวมทั้งการฟื้นฟูดินเสื่อมโทรมในพื้นที่ดินขาดอินทรีย์วัตถุตามสภาพปัญหาของดิน ตลอดจน เป็นพื้นที่สาธิตงานพัฒนาที่ดินรูปแบบต่างๆ ให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปได้เห็นประโยชน์ของการอนุรักษ์ ฟื้นฟูปรับปรุงบำรุงดิน และพัฒนาทรัพยากรดินให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและ ยั่งยืน 4.2 การขีดวงรอบเขตลุ่มน้ำ

  5. แผนที่ขอบเขตพื้นที่ดำเนินการ (Ortho)

  6. 4.3.1 การจัดทำข้อมูลแผนที่และการจัดเตรียมข้อมูล ประวัติความเป็นมาของตำบลหนองงูเหลือม ตำบลหนองงูเหลือม เดิมขึ้นอยู่กับตำบลทัพหลวง หมู่ที่ 16 มีพื้นที่รกร้างว่างเปล่ามาก ต่อมามี ประชาชนย้ายเข้ามาหนาแน่นขึ้น ในปี พ.ศ. 2501 มีพระราชกฤษฎีกาแยกตำบลหนองงูเหลือมจากตำบลทัพหลวง สาเหตุที่ชื่อหนองงูเหลือมเนื่องจากเคยมีหนองน้ำเนื้อที่ประมาณ 8 ไร่เศษ มีน้ำขังตลอดปี มีปลาชุกชุมมีกอไผ่ขึ้นหนาทึบและมีงูเหลือมจำนวนมากเพราะอาหารอุดมสมบูรณ์ ภายหลังมีการจัดระบบชลประทาน มีคลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำ ทำให้หนองน้ำดังกล่าวกลายสภาพเป็นพื้นที่ทำการเกษตรไปทั้งหมด ที่ตั้ง ตำบลหนองงูเหลือม อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดนครปฐมห่างจากที่ว่าการอำเภอเมือง นครปฐม ไปทางถนนมาลัยแมน (นครปฐม-สุพรรณบุรี) ประมาณ 17 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 19,518 ไร่อยู่ในแผนที่ภูมิประเทศลำดับชุด L 7O17 ระวาง 4936 I ระหว่างเส้นรุ้งที่ 13 ํ 53’ 3” และ 13 ํ 56’ 30” เหนือและเส้นแวงที่ 99 ํ 57’ 38”และ 99 ํ 59’ 47” ตะวันออก ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลห้วยหมอนทอง ตำบลห้วยขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลทัพหลวง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ตำบลห้วยกระบอก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ขอบเขตการปกครอง ประกอบด้วย 11 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านแปดโรง หมู่ที่ 2 บ้านหนองงูเหลือม หมู่ที่ 3 บ้านรางกระทุ่ม หมู่ที่ 4 บ้านหนองหม้อแตก หมู่ที่ 5 บ้านหนองไผ่ล้อม หมู่ที่ 6 บ้านหนองงูเหลือม หมู่ที่ 7 บ้านตลาดใหม่หนองงูเหลือม หมู่ที่ 8 บ้านหนองแก หมู่ที่ 9 บ้านหนองแก หมู่ที่ 10 บ้านไร่ใหม่ หมู่ที่ 11 บ้านหนองพงษ์

  7. สภาพภูมิประเทศ มีลักษณะสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 6 เมตร พื้นที่บางส่วนในช่วงฤดูฝนจะมีน้ำท่วมแช่ขัง เนื่องจากสภาพพื้นที่ราบเรียบการไหลบ่าของน้ำบนผิวดินช้า ประกอบการสร้างถนนในพื้นที่มีมากขึ้น ทำให้เกิดการปิดกั้นเส้นทางการไหลของน้ำ เมื่อมีฝนตกชุกติดต่อกันเป็นเวลาหลาย ๆ วัน จึงทำให้เกิดปัญหาการท่วมแช่ขังของน้ำในพื้นที่ได้ ลักษณะภูมิอากาศ ตำบลหนองงูเหลือม ตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลลมมรสุม ซึ่งพัดผ่านประจำปีสภาพอากาศค่อนข้างร้อนในฤดูร้อนและอบอุ่นในฤดูหนาวจากสถิติประมาณฝนของกรมอุตุนิยมวิทยาพบว่า ในระยะหนึ่งปีมีฝนตก ประมาณ 101.8 วัน ปริมาณฝนตกเฉลี่ย 951.26 ม.ม. ต่อปี ระยะเวลาที่ฝนตกอยู่ระหว่างเดือน มกราคม-ธันวาคม ฝนตกมากที่สุดเดือนกันยายน ประมาณ 254.14 ม.ม. และฝนตกน้อยที่สุดคือเดือน มกราคม ประมาณ 6.14 ม.ม.อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 28.3 องศาเซลเซียส อัตราการระเหยของน้ำเฉลี่ย 883.80 ม.ม. ต่อปี

  8. ปฏิทินการชลประทานปี 2550 ส่งน้ำ การส่งน้ำ หยุดส่งน้ำ 16 ก.ค. – 25 พ.ย. 1 ม.ค. - 4 ก.พ. 5 ก.พ. - 3 มิ.ย. 26พ.ย.-30ธ.ค. 4 มิ.ย. – 15 ก.ค. ช่วงเดือน ม.ค. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.พ. ก.ค. ก.ย. ส.ค. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทรัพยากรน้ำ แหล่งน้ำสำคัญของตำบลหนองงูเหลือม เพื่อการเกษตร ใช้น้ำทั้งจากผิวดินและแหล่งน้ำใต้ดิน แหล่งน้ำบนผิวดินเป็นน้ำจากหนอง,บึงและคลองชลประทาน ตำบลหนองงูเหลือมได้รับน้ำเพื่อทำการเกษตร ดังนี้ จากแหล่งน้ำธรรมชาติร้อยละ 3.52 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด จากระบบการชลประทานร้อยละ 59.69 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด จากบ่อบาดาลร้อยละ 36.79 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด ระบบชลประทาน ลุ่มน้ำย่อยหนองงูเหลือมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการชลประทานลุ่มน้ำท่าจีนตอนกลางประกอบด้วย คลองชลประทานสายย่อยแยก2 ขวา ของสายย่อย 2 ขวา -5 ซ้าย และ 2 ขวา-1 ขวา,ซ้าย-5 ซ้าย อยู่ในความรับผิดชอบของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากำแพงแสน จ.กาญจนบุรี กรมชลประทาน โดยมีระยะเวลาการส่งน้ำดังนี้

  9. ปฏิทินการชลประทานปี 2550 เริ่มส่งน้ำฤดูแล้งสัปดาห์ที่ 6 ( 05 กุมภาพันธ์ 2550 ) หยุดส่งน้ำฤดูแล้งสัปดาห์ที่ 23 ( 04 มิถุนายน 2550 ) เริ่มส่งน้ำฤดูฝนสัปดาห์ที่ 29 ( 16 กรกฎาคม 2550 ) หยุดส่งน้ำฤดูฝนสัปดาห์ที่ 48 ( 03 ธันวาคม 2550 )

  10. 4.3.2 ลักษณะทั่วไปของดิน

  11. ประโยชน์ที่ดิน 4.3.3 สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน

  12. 4.3.4 แผนการใช้ที่ดิน

  13. 4.3.5 การจัดชั้นความเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย ผลของการสำรวจและจำแนกดิน โดยกลุ่มวางแผนการใช้ที่ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1ในบริเวณพื้นที่ดำเนินการ มีเนื้อที่ประมาณ 19,518.78 ไร่ จำแนกได้ 4 ชุดดิน (soil series) โดยมีลักษณะของชุดดินต่าง ๆ ดังนี้ ตัวอย่างชุดดินกำแพงแสน 1. ชุดดินกำแพงแสน (KamphaengSaen Series : Ks) กลุ่มชุดดินที่ 33 การจำแนกดิน Fine-silty, mixed, semiactive, isohyperthermic TypicHaplustalfs. วัตถุต้นกำเนิดเกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บน สันดินริมน้ำ สภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 0-5 เปอร์เซ็นต์ การระบายน้ำ ดี การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลางถึงช้า สภาพซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นที่อยู่อาศัย หมู่บ้าน สวนไม้ผล ไม้ยืนต้นหรือ ปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย ข้าวโพด ถั่ว หรือพืชผักต่างๆ ลักษณะและสมบัติของดิน เป็นดินลึก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายแป้งหรือดินร่วน สีน้ำตาลหรือน้ำตาลเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นด่างอ่อน (pH 8.0) ดินบนตอนล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายแป้ง หรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้งหรือดินร่วน สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเหลืองปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงด่างอ่อน (pH 7.0-8.0) ดินล่างตอนล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง สีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลเข้ม พบเกล็ดแร่ไมก้าตลอดหน้าตัดของดินและมวลสารพวกปูนปะปนอยู่ในดินชั้นล่าง ปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงด่างอ่อน (pH 7.0-8.0) ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์อาจจะขาดน้ำในช่วงฤดูเพาะปลูกซึ่งจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ดินมีความเหมาะสมดีในการปลูกพืชทั่ว ๆไป ถ้ามีการชลประทานหรือมีแหล่งน้ำเพียงพอ ดินนี้จะเป็นแหล่งผลิตทางการเกษตรที่สำคัญควรปรับปรุงบำรุงรักษาดิน โดยการใส่ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อเพิ่มแร่ธาตุที่จำเป็นต่อพืชให้กับดินและทำให้คุณสมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น ชุดดินกำแพงแสน ที่สำรวจพบในพื้นที่มี 1 ประเภท ได้แก่ หน่วยแผนที่ดิน Ks-siclB : ชุดดินกำแพงแสน มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ความลาดชัน 2-5 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อที่ 13,136.64 ไร่ หรือร้อยละ 67.30 ของพื้นที่โครงการ

  14. 2. ชุดดินลำสนธิ (Lam Sonthi series : Ls) กลุ่มชุดดินที่ 31 การจำแนกดินFine, mixed, active, isohyperthermicOxyaquic (Ultic) Haplustalfs. วัตถุต้นกำเนิดเกิดจากตะกอนน้ำพามาบริเวณสันดินริมน้ำหรือเนินตะกอนรูปพัด สภาพพื้นที่ ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 0-5 เปอร์เซ็นต์ การระบายน้ำ ดีปานกลาง การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า สภาพซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดินปลูกพืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น หรือพืชผักต่างๆ ลักษณะและสมบัติของดินเป็นดินลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนดินเหนียว สีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลปนเทาเข้มมาก ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ดินล่างตอนบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวถึงดินเหนียว สีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลเข้ม มีจุดประสีน้ำตาลปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงด่างปานกลาง (pH 6.5-8.0) ดินล่างตอนล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวสีน้ำตาลถึงน้ำตาลปนเทา มีจุดประสีแดงปนเหลืองและสีแดง และพบก้อนปูนทุติยภูมิปะปน ปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงเป็นด่างปานกลาง (pH 7.0-8.0) ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ดินตอนบนมักแน่นทึบ รากชอนไชได้ยาก ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ปรับปรุงด้วยอินทรียวัตถุ โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น ชุดดินลำสนธิ ที่สำรวจพบในพื้นที่มี 2 ประเภท ได้แก่ หน่วยแผนที่ดิน Ls-siclB : ชุดดินลำสนธิ มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ความลาดชัน 2-5 เปอร์เซ็นต์มีเนื้อที่ 2,929.24 ไร่ หรือร้อยละ 15.01 ของพื้นที่โครงการ หน่วยแผนที่ดิน Ls-siclA : ชุดดินลำสนธิ มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์และมีคันนา มีเนื้อที่ 17.87 ไร่ หรือร้อยละ 0.09 ของพื้นที่โครงการ ตัวอย่างชุดดินลำสนธิ

  15. ตัวอย่างชุดดินนครปฐม 3. ชุดดินนครปฐม (NakhonPathomseries : Np) กลุ่มชุดดินที่ 7 การจำแนกดินFine, mixed, active, isohyperthermic Aeric Endoaqualfs. วัตถุต้นกำเนิดเกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนที่ราบตะกอนน้ำพา หรือตะพักลำน้ำ สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ การระบายน้ำ ค่อนข้างเลวถึงเลว การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า สภาพซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดินทำนา ลักษณะและสมบัติของดินเป็นดินลึก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง หรือดินร่วนปนดินเหนียว สีน้ำตาลปนเทาหรือสีน้ำตาลเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดเล็กน้อย (pH 5.0-6.5) ดินบนตอนล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวหรือดินร่วนปนดินเหนียว สีน้ำตาลปนเทาเข้ม มีจุดประสีน้ำตาลแก่หรือสีน้ำตาลปนเหลืองในดินบนและดินล่าง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงด่างปานกลาง (pH 6.5-8.0) ดินล่างตอนล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวสีน้ำตาลปนเทาเข้มถึงน้ำตาลเข้ม มีจุดประสีน้ำตาลปนเหลือง และจะพบมวลก้อนกลมของเหล็กและแมงกานีสปะปนอยู่ พบมวลก้อนกลมของปูนในดินล่างในระดับความลึก 80 ซม. จากผิวดินลงไป ปฏิกิริยาดินเป็นด่างปานกลาง (pH 8.0) ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์มีน้ำท่วมขังในฤดูฝนนาน 3-4 เดือน ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ทำนา ควรมีระบบการชลประทานเข้าช่วย และเพิ่มความอุดม สมบูรณ์ของดินด้วยการปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีในอัตราที่เหมาะสม ชุดดินนครปฐม ที่สำรวจพบในพื้นที่มี 1 ประเภท ได้แก่ หน่วยแผนที่ดิน Np-siclA : ชุดดินนครปฐม มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อที่ 124.74 ไร่ หรือร้อยละ 0.64 ของพื้นที่โครงการ

  16. ตัวอย่างชุดดินราชบุรีตัวอย่างชุดดินราชบุรี 4. ชุดดินราชบุรี (Ratchaburi series : Rb) กลุ่มชุดดินที่ 4 การจำแนกดิน Fine, mixed, active, nonacid isohyperthermic Vertic (Aeric) Endoaquepts. วัตถุต้นกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่ในบริเวณที่ราบน้ำท่วม หรือที่ราบตะกอนน้ำพา สภาพพื้นที่ราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ การระบายน้ำ ค่อนข้างเลวถึงเลว การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า สภาพซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดินทำนา ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวปนทรายแป้งตลอด สีน้ำตาลปนเทาเข้ม มีจุดประสีน้ำตาลแก่และสีน้ำตาลปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ดินบนตอนล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียว สีน้ำตาลปนเทาเข้มหรือสีน้ำตาลเข้ม มีจุดประสีน้ำตาลปนเหลือง สีน้ำตาลและสีน้ำตาลปนเหลืองในดินชั้นล่าง อาจพบรอยถูไถและจุดประสีแดงปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นด่างปานกลาง (pH 8.0) ดินล่างตอนล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียว สีน้ำตาลปนเทาเข้ม มีจุดประสีน้ำตาลปนเหลือง อาจพบเกล็ดแร่ไมก้า ก้อนเหล็ก และแมงกานีสสะสมตลอดหน้าตัดดิน ปฏิกิริยาดินเป็นด่างปานกลาง (pH 8.0) ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์มีน้ำท่วมขังในฤดูฝนนาน 3-4 เดือน ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ใช้ปลูกข้าว ควรปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก เพื่อเพิ่มแร่ธาตุที่จำเป็นแก่พืชให้กับดิน และทำให้คุณสมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น ชุดดินราชบุรี ที่สำรวจพบในพื้นที่มี 1 ประเภท ได้แก่ หน่วยแผนที่ดิน Rb-siclA : ชุดดินราชบุรี มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อที่ 222.15 ไร่ หรือร้อยละ 1.14 ของพื้นที่โครงการ

  17. 4.4 วางแผนพัฒนาเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำย่อย

  18. ผลการดำเนินงานเขตพัฒนาที่ดิน (โครงการเฉลิมพระเกียรติ 60 ปี) ประจำปี 2550 เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำย่อยหนองงูเหลือม พื้นที่ 15,000 ไร่ สถานที่ดำเนินการ หมู่บ้านพัฒนาที่ดิน หมู่ 1 – 11 ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1 สถานีพัฒนาที่ดินนครปฐม 4.5 ผลการดำเนินงานและการรายงานผลการดำเนินงาน

  19. ภาคผนวก

  20. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำย่อยคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำย่อย

  21. คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินงานเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำย่อยหนองงูเหลือมคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินงานเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำย่อยหนองงูเหลือม

  22. คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเขตพัฒนาที่ดินคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเขตพัฒนาที่ดิน

More Related