580 likes | 912 Views
การบรรยายหลักสูตร “การเสริมสร้างสมรรถนะและทักษะนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ”. หัวข้อวิชา ระบบข้อมูลสารสนเทศและการใช้ประโยชน์. โดย พัชรินทร์ นาคะประวิง ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศ กรมส่งเสริมการเกษตร 16 มิถุนายน 2552. เนื้อหาวิชา. ความสำคัญของข้อมูลสารสนเทศ
E N D
การบรรยายหลักสูตร“การเสริมสร้างสมรรถนะและทักษะนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ”การบรรยายหลักสูตร“การเสริมสร้างสมรรถนะและทักษะนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ” หัวข้อวิชา ระบบข้อมูลสารสนเทศและการใช้ประโยชน์ โดย พัชรินทร์ นาคะประวิง ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศ กรมส่งเสริมการเกษตร 16 มิถุนายน 2552
เนื้อหาวิชา • ความสำคัญของข้อมูลสารสนเทศ • ระบบข้อมูลสารสนเทศของกรมส่งเสริมการเกษตร • ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมส่งเสริมการเกษตร • นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรกับข้อมูลสารสนเทศและ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ • การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่เกษตรกร
ข้อมูลและสารสนเทศ • ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์หรือการกระทำต่างๆ ที่ยังไม่ผ่านการวิเคราะห์ หรือการประมวลผลข้อมูลอยู่ในรูปแบบของตัวเลข ภาพ ตัวอักษร และสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น พื้นที่ปลูก ปริมาณผลผลิต ราคาสินด้า จำนวนเกษตรกร • สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมีการประมวลผล หรือวิเคราะห์สรุปผลด้วยวิธีการต่างๆ แล้วเก็บรวบรวมไว้ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามต้องการ หรือจัดกระทำเพื่อผลของการ เพิ่มความรู้ ความเข้าใจของผู้ใช้ ลักษณะของสารสนเทศ จะเป็นการรวบรวมข้อมูลหลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกันเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง • การประมวลผลข้อมูล (Data Processing)เป็นการนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆที่เก็บรวบรวมไว้มาผ่านกระบวนการต่างๆเพื่อแปรสภาพข้อมูลให้เป็นระบบและอยู่ในรูปแบบที่ต้องการ
ความสัมพันธ์ของข้อมูลและสารสนเทศความสัมพันธ์ของข้อมูลและสารสนเทศ ข้อมูล (DATA) ประมวลผล (PROCESSING) สารสนเทศ (INFORMATION)
องค์ประกอบของสารสนเทศองค์ประกอบของสารสนเทศ • องค์ประกอบของสารสนเทศ ประกอบด้วย 5 ส่วนคือ 1. ข้อมูล เป็นตัวเลข ข้อความ เสียงและภาพ เป็นข้อมูล ป้อนเข้า 2. การประมวลผล เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูล จัดกระทำข้อมูล เพื่อ ให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้ 3. การจัดเก็บ เป็นวิธีการที่จะเก็บข้อมูลให้เป็นระบบที่สะดวกต่อการใช้ และ สามารถแก้ไขปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน 4. เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเก็บข้อมูล การประมวลผลทำให้เกิดผลผลิต ได้แก่ คอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูป อุปกรณ์การสื่อสาร เป็นต้น 5. สารสนเทศ ผลผลิตของระบบสารสนเทศจะต้องถูกต้อง ตรงกับความต้อง การใช้ และทันต่อเหตุการณ์ใช้งาน
การผลิตสารสนเทศ • มีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการผลิตสารสนเทศ 9 วิธี ดังนี้ • 1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การ ทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
การผลิตสารสนเทศ • 2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมุลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ 2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล 2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน 2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์ • 3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่ง ประเภทข้อมูล เป็น หมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติ ของข้อมูลในลักษณ์ ที่หมาะสมมีความหมายและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
การผลิตสารสนเทศ • 4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร • 5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้น ต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของ ข้อมูลอีกด้วย
การผลิตสารสนเทศ • 6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูล ในรูปความสัมพันธ์ กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการ ของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว • 7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์
การผลิตสารสนเทศ • 8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออก จากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ • 9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้าย ของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบ เอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ
สารสนเทศที่ดี • ลักษณะของสารสนเทศที่ดีต้องประกอบไปด้วยรายละเอียด ดังนี้ 1. ความเที่ยงตรง (Accuracy) หมายถึง ปราศจากความเอนเอียง สารสนเทศที่ดี ต้องบอกลักษณะความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ชี้นำไปทางใดทางหนึ่ง 2. ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (Relevancy) หมายถึง มีเนื้อหาตรงกับเรื่อง ที่ต้องการใช้ของผู้ใช้แต่ละคน 3. ทันต่อเวลา (Timeliness) หมายถึง สามารถนำสารสนเทศที่ต้องการไปใช้ได้ ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การจัดเตรียมสารสนเทศให้ทันต่อเวลา ที่ต้องการใช้ มี 2 ลักษณะ คือ การจัดทำสารสนเทศล่วงหน้าตามกำหนดเวลาที่เหตุการณ์จะเกิดในอนาคต และการจัดทำสาร สนเทศอย่างรวดเร็วเพื่อนำไปใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น
ระบบข้อมูลสารสนเทศของกรมส่งเสริมการเกษตรระบบข้อมูลสารสนเทศของกรมส่งเสริมการเกษตร ระบบข้อมูลกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 31 ระบบ ระบบข้อมูลพื้นฐานในงานส่งเสริมการเกษตร จำนวน 7 ระบบ ระบบข้อมูลตามโครงการส่งเสริมการเกษตร จำนวน 8 ระบบ ระบบข้อมูลสนับสนุนการปฏิบัติงาน จำนวน 13 ระบบ ระบบข้อมูล ภูมิสารสนเทศ จำนวน 3 ระบบ
ระบบฐานข้อมูลพื้นฐานในงานส่งเสริมการเกษตรระบบฐานข้อมูลพื้นฐานในงานส่งเสริมการเกษตร • ระบบฐานข้อมูลพื้นฐานในงานส่งเสริมการเกษตร (ข้อมูลสถิติ) 7 ระบบ 1. ฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกร (6,544,446 ครัวเรือน) 2. ฐานข้อมูลภาวะการเพาะปลูกพืช (881 อำเภอ) 3. ฐานข้อมูลรายงานการเกิดภัยธรรมชาติ (881 อำเภอ) 4. ฐานข้อมูลสถาบันเกษตรกร (881 อำเภอ) 5. ฐานข้อมูลทะเบียนวิสาหกิจชุมชน (59,295 แห่ง) 6. ฐานข้อมูลศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร (7,105 ศูนย์) 7. ฐานข้อมูลทะเบียนอาสาสมัครเกษตรและเกษตรหมู่บ้าน (128,714 คน)
ระบบฐานข้อมูลตามโครงการระบบฐานข้อมูลตามโครงการ • ระบบฐานข้อมูลตามโครงการ 8 ระบบ 1. ฐานข้อมูลโครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย 2. ฐานข้อมูลโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ 3. ฐานข้อมูลโครงการสายใยรัก 4. ฐานข้อมูลโครงการรับจำนำผลผลิตการเกษตร 5. ฐานข้อมูลโครงการพื้นที่พิเศษมันสำปะหลัง 6. ฐานข้อมูลโครงการเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้ส่งออก 7. ฐานข้อมูลเกษตรกรเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเกษตร 8. ฐานข้อมูลโครงการสำรวจโรงงานปุ๋ยอินทรีย์
ระบบข้อมูลสนับสนุนการปฏิบัติงาน (Back Office) • ระบบข้อมูลสนับสนุนการปฏิบัติงาน (Back Office) 13 ระบบ 1. ระบบงานบริหารงานบุคคล ( DPIS 4.0 ) 2. ระบบงานบริหารจัดการองค์กร ( HRD) 3. ระบบงานใบรับรองเงินเดือน 4. ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ 5. ระบบงานนำเข้าเอกสารราชการ 6. ระบบแผนปฏิบัติราชการผู้บริหาร 7. ระบบข้อมูลงานวิจัย-งานวิชาการ 8. ระบบข้อมูลคลังความรู้การเกษตร
ระบบข้อมูลสนับสนุนการปฏิบัติงาน (Back Office) • ระบบข้อมูลสนับสนุนการปฏิบัติงาน (Back Office)13 ระบบ (ต่อ) 9. ระบบการจองห้องประชุม 10. ระบบรายงานติดตามความก้าวหน้าการปฏิบัติงาน ส่งเสริมการเกษตร 11. ระบบงานการฌาปนกิจสงเคราะห์ 12. ระบบการบริหารจัดการรถยนต์ (จองรถยนต์) 13. ระบบการรายงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร
ระบบข้อมูลภูมิสารสนเทศระบบข้อมูลภูมิสารสนเทศ • ระบบข้อมูลภูมิสารสนเทศ 3 ระบบ 1. ระบบให้บริการแผนที่ ในงานส่งเสริมการเกษตร (GIS Online) ( ขอบเขตการปกครอง การใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานการเกษตร พื้นที่ประสบภัยธรรมชาติ ที่ตั้ง ศบกต . ฯลฯ ) 2. ระบบสนับสนุนงานโครงการส่งเสริมการเกษตร ต่างๆเช่น - โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา - โครงการศูนย์คัดแยกผลไม้ชุมชน จังหวัดชายแดนภาคใต้ - โครงการพื้นที่ประสบภัยธรรมชาติ - โครงการพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง - โครงการพื้นที่วางกับดักแมลงวันผลไม้ ฯลฯ 3. ระบบให้บริการตรวจสอบชุดดินทางอินเตอร์เน็ต
ระบบฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกร (http://services.doae.go.th) • ประกอบด้วยข้อมูลของครัวเรือนเกษตรกร ชื่อ-สกุล ที่อยู่ สถานที่ทำการเกษตร ลักษณะการประกอบอาชีพ รายได้หลัก รายได้รอง จำนวนสมาชิกในครัวเรือน การเป็นสมาชิกองค์กร การถือครองที่ดิน การเพาะปลูก การเลี้ยงปศุสัตว์ การเลี้ยงสัตว์น้ำ
แบบจัดเก็บข้อมูลทะเบียนเกษตรกร (ทบก.01)
ระบบฐานข้อมูลภาะการเพาะปลูกพืชรายเดือนระบบฐานข้อมูลภาะการเพาะปลูกพืชรายเดือน • ประกอบด้วยข้อมูล พื้นที่เพาะปลูก ชนิดพืชที่ปลุก ชนิดพันธุ์ เนื้อที่ปลูกที่ยืนต้น เนื้อที่ปลูกที่ปลูกเพิ่มใหม่ เนื้อที่เก็บเกี่ยว เนื้อที่เสียหาย ผลผลิตที่เก็บเกี่ยว ราคาผลผลิตเฉลี่ย
แบบจัดเก็บข้อมูลภาวะการผลิตข้าว พืชไร่ พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับและสมุนไพร (รม. 01)
ขั้นตอนการดำเนินการ ระบบข้อมูลภาวะการเพาะปลูกพืชรายเดือน
ระบบฐานข้อมูลสถาบันเกษตรกรระบบฐานข้อมูลสถาบันเกษตรกร • จัดเก็บทะเบียนและข้อมูลของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร และกลุ่มยุวเกษตรกร เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานกลุ่ม สถานะทางการเงินและทรัพย์สินการดำเนินงานของกลุ่ม การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสมาชิกและเป็นแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งประเมินการดำเนินงานของกลุ่ม http://farmgroup.doae.go.th
ระบบฐานข้อมูลสถาบันเกษตรกรระบบฐานข้อมูลสถาบันเกษตรกร
ระบบฐานข้อมูลทะเบียนวิสาหกิจชุมชนระบบฐานข้อมูลทะเบียนวิสาหกิจชุมชน • ประกอบด้วย ชื่อวิสาหกิจชุมชน ที่ตั้ง สมาชิกผู้มีอำนาจทำการแทน จำนวนสมาชิก รายละเอียดข้อมูลของสมาชิก กิจการ-กิจกรรมที่ดำเนินการ ลักษณะการประกอบการ http://smce2.doae.go.th
ระบบรายงานผลการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตร (e-Project) • จัดเก็บข้อมูลการรายงานแผนและผลการปฏิบัติงาน เชิงปริมาณทั้งงานและเงินของทุกหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณและโครงการ (คง.2) ของกรมฯ เป็นรายกิจกรรม โดยผู้รับผิดชอบโครงการในส่วนกลาง (Project Director) นำเข้าข้อมูลโครงการ เพื่อให้หน่วยงานรายงานความก้าวหน้าแผนและผลการปฏิบัติงาน และการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อให้ผู้บริหารใช้ติดตามสถานการณ์ แก้ไขปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ
ระบบรายงานผลการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตร (e-Project) http://project.doae.go.th
ระบบฐานข้อมูลเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเกษตร (RBM) • จัดเก็บข้อมูลเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเกษตรของกรมฯ ตามแบบบันทึกข้อมูลเป็นรายโครงการ (กสก.) รายงานตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ เพื่อประเมินเกษตรกรก่อนเข้าร่วมโครงการและหลังเข้าร่วมโครงการ มีการนำความรู้ไปปฏิบัติหรือไม่
ระบบปฏิทินการปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรระบบปฏิทินการปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร • จัดเก็บข้อมูลแผนการปฏิบัติงานประจำเดือนของสำนักงานเกษตรจังหวัดและสำนักงานเกษตรอำเภอ เพื่อให้ทราบการจัดกิจกรรมของหน่วยงาน เช่น จัดประชุม จัดสัมมนา ติดตามนิเทศงาน เมื่อใดและที่ไหน http://www.research.doae.go.th/aes
ระบบปฏิทินการปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรระบบปฏิทินการปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร
สถิติข้อมูลในงานส่งเสริมการเกษตรสถิติข้อมูลในงานส่งเสริมการเกษตร
เว็บไซต์กรมส่งเสริมการเกษตรเว็บไซต์กรมส่งเสริมการเกษตร http://www.doae.go.th
ระบบอินทราเน็ตกรมส่งเสริมการเกษตรระบบอินทราเน็ตกรมส่งเสริมการเกษตร http://ssnet.doae.go.th
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ • เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม • องค์ประกอบที่สำคัญ คือ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) ฐานข้อมูล (Database) เครือข่าย (Network) กระบวนการ (Procedure)
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมส่งเสริมการเกษตรระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมส่งเสริมการเกษตร • อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ปัจจุบัน -เครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 4,184 เครื่อง - ส่วนกลาง จำนวน 719 เครื่อง - ส่วนภูมิภาค จำนวน 3,465 เครื่อง - เครื่อง Notebook จำนวน 75 เครื่อง - เครื่อง Scanner จำนวน 110 เครื่อง - อุปกรณ์ Switching จำนวน 23 เครื่อง - เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย จำนวน 27 เครื่อง ฯลฯ
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมส่งเสริมการเกษตรระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมส่งเสริมการเกษตร • เว็บไซต์กรม (doae.go.th) ตั้งแต่ 2540 969 เว็บไซต์ • อินทราเน็ต (Songserm Net) ตั้งแต่ 2542 1 ระบบ ( ศูนย์รวมข้อมูล ข่าวสารฉับไว สื่อสารทำความเข้าใจ เชื่อมโยงสายสัมพันธ์ ) • ระบบโปรแกรมออนไลน์ ตั้งแต่ 2545 30 ระบบ • จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( @ doae.go.th) ตั้งแต่ 2548 3,239 บัญชีผู้ใช้(หน่วยงาน 1,089 บัญชี , บุคคล 2,150 บัญชี) • ระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) ตั้งแต่ 2548 - ส่วนกลาง + 6 เขต ( 7 จุด )
ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกรมส่งเสริมการเกษตรระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร TOT Internet I P Star 100 M Frame Relay VoIP เขต 6 เขต VoIP 2 Mbps x 6 วงจร Dial CDMA ADSL สนง.อำเภอ และศูนย์ 28 แห่ง สนง.จังหวัด –อำเภอ –ศูนย์ 977 แห่ง 100 Mbps 5 M ADSL
ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกรมส่งเสริมการเกษตรระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกรมส่งเสริมการเกษตร • ADSL (2 Mb - 128 Kb ) 922 หน่วยงาน • CDMA (256 Kb – 64 Kb) 58 หน่วยงาน • Dial –Up Modem (56 Kb) 6 หน่วยงาน • IP Star (512 Kb – 128 Kb) 28 หน่วยงาน • Frame Relay (ส่วนกลาง 100 Mb - เขต 2 Mb) 7 หน่วยงาน • ระบบโทรศัพท์ Voice Over IP ระหว่างส่วนกลาง และเขต 6 เขต
ระบบการเรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning)(http://e-learning.doae.go.th)
ระบบการเรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning)(http://e-learning.doae.go.th) ตัวอย่างบทเรียน On Line
ระบบการเรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning)(http://e-learning.doae.go.th) • ขั้นตอนเบื้องต้นในการเรียนออนไลน์ 1. คลิกที่ Studentใส่ User name และ Password2. คลิกแก้ไขข้อมูลส่วนตัว (ข้อระวัง ระบบจะให้ท่านกรอกรหัสผ่านอีกรอบ ให้ดูด้วยว่าท่านได้เปลี่ยนภาษาได้ถูกต้องหรือไม่)3. เลือกวิชาที่ลงทะเบียน 4. เข้าทำ Pre-test แบบทดสอบก่อนเรียน (ในแต่ละบทไม่ต้องทำ Pre-test แล้ว) เมื่อทดสอบเสร็จเรียบร้อย จะทราบผลทันที่(มีทดสอบบางหลักสูตร)5. คลิกเมนูเข้าเรียน
ระบบการเรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning) (http://e-learning.doae.go.th) • ขั้นตอนเบื้องต้นในการเรียนออนไลน์ 6. เมื่อเลิกเรียนให้คลิกที่ เลิกเรียน ด้านซ้าย ข้างบน จะเป็นการบันทึกเวลาในการเรียน7. ผู้เรียนจะต้องคลิกปุ่ม >> ตลอดเป็นการเปลี่ยนหน้า หากไม่คลิก ระบบจะตัดภายใน 15 นาที ต้องเข้าเรียนใหม่8. ผู้เรียนสามารถทำข้อสอบหลังเรียน Post-test ได้ 2 ที่ด้วยกัน คือ หน้าเมนู และหน้าสารบัญ (มีบางหลักสูตร)9. ผู้เรียนสามารถเช็คเวลาเรียนได้หน้าเมนู เลือก รายงานการเข้าเรียน10. ผู้เรียนจะต้องทำแบบสอบถาม และร่วมตอบกระดานข่าว
บทบาทนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรกับข้อมูลสารสนเทศและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศบทบาทนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรกับข้อมูลสารสนเทศและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ • จัดเก็บข้อมูลและจัดทำสารสนเทศ • ใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตร • ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตร • ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร • ถ่ายทอดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่เกษตรกร
การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่เกษตรกรการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่เกษตรกร ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน • กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจึงได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ในศาสนสถาน หรือชุมชนที่เหมาะสม โดยต่อยอดจากโครงการหนึ่งวัดหนึ่งศูนย์การเรียนรู้ (OTEC) • วัตถุประสงค์ - เพื่อให้เป็นแหล่ง การเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของเด็ก เยาวชนและชุมชน - เพื่อให้เยาวชน และ ประชาชนทั่วไป สามารถสืบค้น เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต - เพื่อขยายบริการไปสู่ส่วนท้องถิ่น ยกระดับคุณภาพการ ให้บริการ อินเทอร์เน็ตทั้งทางด้านข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี - เพื่อลดช่องว่างในการเข้าถึง เทคโนโลยีสารสนเทศ และให้ประชาชน ในท้องถิ่นมีการเข้าถึงสารสนเทศเพิ่มมากขึ้นด้วย
การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่เกษตรกรการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่เกษตรกร ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน • โดยในโครงการจะมีกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดการอบรมให้แก่ประชาชนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง และในแต่ละศูนย์จะมี กิจกรรมการประกวดสารสนเทศชุมชนและการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนที่ดี กิจกรรม ติดตาม ศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการของชุมชน เพื่อลดช่องว่างที่เกิดจากการขาดทักษะและความรู้ ในการใช้งานอุปกรณ์รวมไปถึงการใช้ให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งยังเป็นการอบรมเพื่อให้เกิดการต่อยอดและ นำเข้าสารสนเทศ องค์ความรู้อันเป็นสารประโยชน์ที่เกิดจากภูมิปัญญา ประสบการณ์ เข้าสู่เว็บไซต์ TKC เพื่อเผยแพร่สู่สังคมต่อไป • นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการใช้งานอย่างต่อเนื่อง พร้อม ทั้งศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการของชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนอย่าง ต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป
การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่เกษตรกรการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่เกษตรกร
การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่เกษตรกรการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่เกษตรกร นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) แก่เกษตรกร ส่งเสริมเกษตรกรยุคใหม่ ให้รู้จักการใช้ไอทีสร้างมูลค่าเพิ่มในการผลิต เกษตรกรรุ่นใหม่ ต้องใช้ไอทีเป็น
เป้าหมายการพัฒนางานข้อมูลสารสนเทศและ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ • ระบบข้อมูลสารสนเทศมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง ครบถ้วน พร้อมใช้งาน • เจ้าหน้าที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน • เกษตรกรเข้าถึงข้อมูลข่าวสารผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ • เกษตรกรรับบริการงานส่งเสริมการเกษตรผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศได้ • เกษตรกรใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิต เพิ่มรายได้