220 likes | 668 Views
การกำหนดเขตดำเนินการระบบขนส่งมวลชนและเขตปลอดภัยระบบรถไฟฟ้าตามโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล Determination of Right of way and Protection Zone of MRT. Initial System Project, Chaloem Ratchamonkhon Line.
E N D
การกำหนดเขตดำเนินการระบบขนส่งมวลชนและเขตปลอดภัยระบบรถไฟฟ้าตามโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคลการกำหนดเขตดำเนินการระบบขนส่งมวลชนและเขตปลอดภัยระบบรถไฟฟ้าตามโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล Determination of Right of way and Protection Zone of MRT. Initial System Project, ChaloemRatchamonkhon Line
โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เป็นโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทย โครงการนี้เกิดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นเจ้าของโครงการและผู้ให้สัมปทาน มีหน้าที่จัดสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และมอบสัมปทานการเดินรถให้แก่เอกชน คือ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล เป็นผู้ให้บริการการเดินรถ โดยเริ่มเปิดการเดินรถโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2547 เพื่อเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยของโครงสร้างใต้ดิน เช่น อุโมงค์ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ทางขึ้นลงของผู้โดยสาร อาคารระบายอากาศ เป็นต้น จึงได้มีการกำหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อประโยชน์ในการบำรุงรักษาและความปลอดภัยของบุคคลที่อยู่ในเขตระบบรถไฟฟ้าและคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่โครงสร้างใต้ดิน อันเนื่องมาจากการกระทำใด ๆ ซึ่งอยู่ภายในบริเวณเขตที่จะมีผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของโครงสร้างใต้ดิน (Influence Area)
โดยมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยฯ ดังกล่าว ประกอบด้วย • 1. การรักษาความปลอดภัยโครงสร้างใต้ดินส่วนที่อยู่ภายใน "เขตดำเนินการระบบขนส่งมวลชน " (Right of Way) การก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าใต้ดินตามโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล จะกระทำในบริเวณ "เขตดำเนินการระบบขนส่งมวลชน" (Right of Way) ซึ่งการก่อสร้างบางส่วนอาจจะกระทำบนผิวดิน เช่น ทางขึ้น-ลงผู้โดยสาร (Entrance Building) อาคารระบายอากาศ และทางออกฉุกเฉิน (Ventilation Building) และบางส่วนกระทำใต้ดิน เช่น สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน อุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน เป็นต้น • 2. การรักษาความปลอดภัยโครงสร้างใต้ดินส่วนที่อยู่ภายใน “เขตปลอดภัยระบบรถไฟฟ้า” (Protection Zone) นอกจากจะได้มีการกำหนดมาตรการการรักษาความปลอดภัยโครงสร้างใต้ดินส่วนที่อยู่ใน “เขตดำเนินการระบบขนส่งมวลชน” (Right of Way) แล้ว ยังได้มีการกำหนดกลไกในการรักษาความปลอดภัยแก่โครงสร้างใต้ดินส่วนที่อยู่ภายใน “เขตปลอดภัยระบบรถไฟฟ้า” (Protection Zone) ด้วย ถึงแม้ว่าที่ดินในบริเวณเขตปลอดภัยจะยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดิน และเจ้าของที่ดินสามารถดำเนินการใดๆ และก่อสร้างอาคารบริเวณดังกล่าวได้ แต่ต้องไม่ทำให้การดำเนินการนั้นๆ เป็นอันตรายหรืออุปสรรคต่อระบบขนส่งมวลชน
ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชนตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ที่ดินกรรมสิทธิ์ ของเอกชน ที่ดินของรัฐ ที่สาธารณะ ฯลฯ ต้องการกรรมสิทธิ์ ไม่ต้องการกรรมสิทธิ์ เวนคืน กำหนดภาระในอสังหาริมทรัพย์ พรบ.ว่าด้วยการ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 พรบ.ว่าด้วยการ จัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 พรบ.ว่าด้วยการ จัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 (มาตรา11)
ขุดเปิดหน้าดินเฉพาะทางขึ้นลงขุดเปิดหน้าดินเฉพาะทางขึ้นลง ก่อสร้างโดยไม่เปิดหน้าดิน (Mining Method)
ROW. ROW.