900 likes | 2.96k Views
วิวัฒนาการรัฐธรรมนูญของไทย และ ทัศนคติทางการเมืองต่อรัฐธรรมนูญ. อ ดร พรชัย วิสุทธิศักดิ์. ลำดับรัฐธรรมนูญ ของ ไทย. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม 2475 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
E N D
วิวัฒนาการรัฐธรรมนูญของไทย และ ทัศนคติทางการเมืองต่อรัฐธรรมนูญ อ ดร พรชัย วิสุทธิศักดิ์
ลำดับรัฐธรรมนูญของไทยลำดับรัฐธรรมนูญของไทย • พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม 2475 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 • ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 • ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 • ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 • ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
ฉบับที่ 1 พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 • เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นั้น ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทย เมื่อ คณะราษฎร์ ซึ่งประกอบด้วย ข้าราชการสายทหารบก ทหารเรือ และสายพลเรือน จำนวน 99 คน • ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศจากพระมหากษัตริย์ เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศจากระบอบสมบรูณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
http://www.photoontour.com/Misc_HTML/news/page/172.htm 11 Globalization and Law II
ฉบับที่ 1 พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 • โดยที่คณะราษฎร์ได้นำพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวซึ่งได้ร่างเตรียมไว้แล้ว ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และพระองค์จึงได้ทรงลงพระปรมาภิไธย • กฎหมายดังกล่าว ถือเป็นรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรฉบับแรก ซึ่งเป็นฉบับชั่วคราวและเป็นฉบับที่มีอายุการใช้งานเร็วที่สุด คือ รวมอายุการประกาศ และมีระยะเวลาบังคับใช้ทั้งหมดเพียง 5 เดือน 13 วัน นับจากการประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 จำนวน 39 มาตรา • ในที่สุด ก็ได้รับการยกเลิกอย่าง "สันติ" เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 เนื่องจากการประกาศ และบังคับใช้รัฐธรรมนูญใหม่ ฉบับถาวร
ฉบับที่ 1 พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 1) ประกาศว่าอำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของราษฎร (มาตรา 1) 2) พระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ กิจการสำคัญของรัฐทำในนามของพระมหากษัตริย์ 3) เป็นการปกครองแบบสมัชชา โดยกำหนดให้ คณะกรรมการราษฎร ซึ่งมีจำนวน 15 คน ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภาผู้แทนราษฎร 4) เริ่มมีรัฐสภาขึ้นเป็นครั้งแรก คือ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีอำนาจสูงสุด กล่าวคือ (ก) ตรากฎหมาย (ข) ควบคุมดูแลราชการ กิจการของประเทศ (ค) มีอำนาจถอดถอน หรือ สามารถปลดกรรมการราษฎร และข้าราชการทุกระดับชั้นได้ โดยคณะกรรมการราษฎร ไม่มี อำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎร (ง) วินิจฉัยการกระทำของพระมหากษัตริย์ 5) รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้กำหนดอายุของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง และผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไว้ 20 ปีบริบูรณ์เท่ากัน 6) ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามกฎหมาย แต่ไม่มีหลักประกันความอิสระของผู้พิพากษา
ฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 • เป็นรัฐธรรมนูญไทยที่ใช้บังคับได้นานที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยมีรัฐธรรมนูญมา โดยได้ประกาศ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 จำนวน 68 มาตรา และได้รับการยกเลิกอย่าง "สันติ" เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2489 เนื่องจากการประกาศ และบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ทั้งหมดนั้น เป็นระยะเวลายาวนานถึง 13 ปี 5 เดือนเลยทีเดียว
ฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 • กำหนดให้ประเทศสยามเป็นรัฐเดี่ยว • อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวสยาม พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นเท่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ คือ • บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดๆ มีข้อความแย้งหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัตินั้นๆ เป็นโมฆะ แต่ไม่กำหนดให้องค์กรใดเป็นผู้ชี้ขาด • เป็นการปกครองระบบรัฐสภา (Parliamentary System) โดยกำหนดให้คณะรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดินด้วยความไว้วางใจของสภาผู้แทนราษฎร ขณะเดียวกันคณะรัฐมนตรีก็อาจถวายคำแนะนำพระมหากษัตริย์ให้ทรงยุบสภาผู้แทนราษฎรได้ • ใช้ระบบสภาเดียวเช่นเดิม คือ สภาผู้แทน ประกอบด้วย สมาชิก 2 ประเภท คือ สมาชิกประเภทที่ 1 มาจากการเลือกตั้ง (ครั้งแรก ใช้วิธีการเลือกตั้งทางอ้อม โดยราษฎรเลือกผู้แทนตำบลก่อน แล้วผู้แทนตำบลเป็นผู้เลือก ส.ส. อีกต่อหนึ่ง จากนั้น ครั้งต่อๆ มาจึงใช้วิธีการเลือกตั้งจากราษฎรโดยตรง) ส่วนสมาชิกประเภทที่ 2 มาจากการแต่งตั้ง ซึ่งมีจำนวนเท่ากัน และมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี โดยที่อย่างช้าไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันใช้รัฐธรรมนูญนี้ ส.ส. ทั้งหมด จะต้องมาจากการเลือกตั้งของราษฎร
ฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 • มี คณะรัฐมนตรี (ค.ร.ม.) ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี มีจำนวนอย่างน้อย 15 คนอย่างมาก 24 คน โดยรัฐมนตรีอย่างน้อย 14 คน จะต้องเลือกมาจากสมาชิกของสภาผู้แทนราษฎร • การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะ ศาลจะจัดตั้งขึ้นได้ก็โดยพระราชบัญญัติ และรับรองอิสระของผู้พิพากษา • รับรองสิทธิของชนชาวสยามไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรก โดยได้รับรองความเสมอกันในกฎหมาย (มาตรา 12) รับรองเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา (มาตรา 13) รับรองเสรีภาพในร่างกาย เคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรมการประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม และการอาชีพ (มาตรา 14) • มีการกำหนดหน้าที่ของชนชาวสยามเป็นครั้งแรก โดยกำหนดให้บุคคลมีหน้าที่เคารพต่อกฎหมาย ป้องกันประเทศ และเสียภาษีอากร (มาตรา 15)
ฉบับที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 • เนื่องจากได้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้ มาเป็นเวลานานถึง 15 ปีแล้ว เหตุการณ์บ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก สมควรที่จะเลิกบทเฉพาะกาล และปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2475 และที่สำคัญ ประเทศไทยต้องการจะสมัครเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติจึงต้องแสดงให้ชาวโลกได้เห็นว่าประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย จึงทำให้ต้องปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญเสียใหม่ • รัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 นี้ ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2489 จำนวน 96 มาตรา โดยนายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ • ถูก "ฉีกทิ้ง" เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 โดยการรัฐประหารของคณะรัฐประหาร อันมีพลโท ผินชุณหะวัน นายทหารกองหนุน เป็นหัวหน้า รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี 5 เดือน 28 วัน
ฉบับที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 • เป็นการปกครองในระบบรัฐสภา โดยใช้ระบบ 2 สภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนกับพฤฒสภา และมีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาในกิจการสำคัญๆ ด้วย โดยกำหนดให้ประธานพฤฒสภา เป็นประธานของที่ประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง และให้ประธานสภาผู้แทนเป็นรองประธาน สภาผู้แทน (ไม่มีคำว่า ราษฎร แต่อย่างใด) ประกอบด้วยสมาชิกที่ราษฎรออกเสียงเลือกตั้งโดยตรง โดยวิธีแบ่งเขตเลือกตั้ง เขตละ 1 คน และมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี และต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ • ห้ามข้าราชการประจำเป็นสมาชิกพฤฒสภา สมาชิกสภาผู้แทน และรัฐมนตรีในขณะเดียวกัน
ฉบับที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 • ให้เสรีภาพในการตั้งพรรคการเมืองเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และให้สิทธิในการเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ เพิ่มขึ้นจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 • ห้ามตั้งศาลพิเศษ และมีวิธีการประกันอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของผู้พิพากษา โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการตุลาการ • จัดตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นเป็นครั้งแรก โดยกำหนดให้รัฐสภาแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิขึ้น ประกอบด้วยประธานตุลาการ 1 คน และตุลาการอื่นอีก 14 คน เพื่อทำหน้าที่วินิจฉัยว่ากฎหมายใดใช้บังคับมิได้ เพราะแย้งหรือขัดกับรัฐธรรมนูญ (มาตรา 88)
ฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ด้วยคณะรัฐประหารอ้างว่า ประเทศชาติตกอยู่ในภาวะวิกฤติการณ์ ประชาชนได้รับความเดือดร้อน เพราะเครื่องอุปโภคบริโภคมีราคาสูงขึ้นเป็นอันมาก เป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมโทรมในศีลธรรมอย่างไม่เคยมีมาแต่ก่อน รัฐบาลและรัฐสภาไม่สามารถแก้ไขให้กลับสู่ภาวะปกติได้ จึงจำต้องให้เลิกใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489 และประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2490 ขึ้นแทน รัฐธรรมนูญของคณะรัฐประหารฉบับนี้ มีอีกชื่อหนึ่งว่ารัฐธรรมนูญฉบับ "ใต้ตุ่ม" หรือ "ตุ่มแดง" เนื่องจากก่อนหน้านั้น พลโท หลวงกาจสงคราม (กาจ เก่งระดมยิง) รองหัวหน้าคณะรัฐประหาร ซึ่งมีส่วนอย่างสำคัญในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้วนำไปเก็บซ่อนไว้ใต้ตุ่มน้ำเพราะเกรงว่าความจะแตกถ้าหากมีใครมาพบเข้า
ฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 • มี คณะอภิรัฐมนตรี จำนวน 5 คน ทำหน้าที่บริหารราชการในพระองค์ และถวายคำปรึกษาแก่พระมหากษัตริย์ โดยตั้งใจจะให้เป็นผู้ควบคุมคณะรัฐมนตรีอีกชั้นหนึ่ง • ยกเลิกเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมือง • ใช้ระบบ 2 สภา โดย วุฒิสภา (ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรก เพื่อแทนคำว่า พฤฒสภา) ประกอบด้วยสมาชิกที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง โดยไม่ห้ามข้าราชการประจำเป็นสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งมีกำหนดวาระ 6 ปี และโดย สภาผู้แทน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง แบบรวมเขตจังหวัด คือถือเอาเขตจังหวัด • เพิ่มอำนาจวุฒิสภา โดยให้สมาชิกวุฒิสภาเสนอร่างพระราชบัญญัติได้ แต่ต้องเสนอต่อสภาผู้แทนก่อน และในกรณีที่มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ให้ประธานวุฒิสภาเป็นประธานของที่ประชุม และให้ประธานสภาผู้แทนเป็นรองประธาน • คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอีก 15-25 คน รัฐมนตรีผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ว่าการกระทรวง ต้องรับผิดชอบในหน้าที่ของตนต่อรัฐสภา และต้องรับผิดชอบร่วมกันในนโยบายทั่วไปของคณะรัฐมนตรีด้วย
นโยบายของคณะรัฐมนตรีแต่ละคนที่ได้ดำเนินมาจะเสร็จลง หรือ ที่ดำเนินการอยู่เพียงใดก็ตาม คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินภายหลังจะเลิกล้ม หรือ แก้ไขให้เป็นไปอย่างอื่นมิได้ เว้นแต่จะเสนอขอรับพระบรมราชวินิจฉัย และได้รับพระบรมราชานุญาตแล้วเท่านั้นทั้งนี้เพื่อจะให้เป็นอำนาจของคณะอภิรัฐมนตรีในการถวายคำปรึกษา • รัฐมนตรีทั้งคณะต้องลาออกจากตำแหน่งเมื่อมีพระบรมราชโองการ โดยไม่บัญญัติว่าใครเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ • ไม่มีบทบัญญัติถึงคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ • กำหนดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร สภาร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยสมาชิก 40 คน ซึ่งรัฐสภาเลือกตั้งจากสมาชิกวุฒิสภา 10 คน จากสมาชิกสภาผู้แทน 10 คน จากผู้มีคุณสมบัติต่างๆ กัน 4 ประเภทๆ ละ 5 คน ทำการร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน
ฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 เกิดขึ้นโดย สภาร่างรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2491 ซึ่งประกอบด้วย สมาชิกวุฒิสภา 10 คน สมาชิกสภาผู้แทน 10 คน และจากผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญอีก 4 ประเภท ประเภทละ 5 คน เท่ากับ 20 คน รวมทั้งสิ้น 40 คน มีเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศเป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยที่จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน แล้วจึงนำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสนอต่อรัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบต่อไปรัฐธรรมนูญฉบับที่ร่างขึ้นโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญนี้ ได้ประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2492 จำนวน ฉีกทิ้ง" เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2494 โดยการทำรัฐประหารภายใต้การนำของจอมพล ป. พิบูลสงคราม รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 2 ปี 8 เดือน 6 วัน
ฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 • ให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของทหารทั้งปวง และกำหนดให้มีคณะองคมนตรี ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ • รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านั้น คือ มีการรับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมากขึ้น โดยได้บัญญัติถึงสิทธิและเสรีภาพไว้อย่างละเอียดถึง 20 มาตรา ขณะเดียวกันก็กำหนดหน้าที่ของปวงชนชาวไทย โดยได้บัญญัติขยายให้มากขึ้นด้วย • กำหนดให้มีแนวนโยบายแห่งรัฐเป็นครั้งแรก • ใช้ระบบรัฐสภาโดยมี 2 สภา สภาสูง ได้แก่ วุฒิสภา ประกอบด้วย สมาชิกจำนวน 100 คน มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริบูรณ์ โดยพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง มีกำหนดวาระ 6 ปี และให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ส่วน สภาผู้แทน นั้น สมาชิกเป็นผู้ที่ราษฎรเลือกตั้งโดยตรง ตามแบบรวมเขตจังหวัด มีกำหนดวาระ 4 ปี โดยมีข้อห้ามมิให้บุคคลเป็นสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนได้ในขณะเดียวกัน • ไม่มีอำนาจลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาล และไม่มีอำนาจเสนอร่างพระราชบัญญัติ แต่มีอำนาจยับยั้งพระราชบัญญัติ • วุฒิสภาและสภาผู้แทน มีวิธีเปิดอภิปรายทั่วไปในสภาแห่งตน โดยไม่มีการลงมติ เพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในปัญญาอันเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน
ฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 • สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทน จะเป็นข้าราชการประจำมิได้ และรัฐมนตรีจะเป็นข้าราชการประจำมิได้ เป็นการแยกราชการประจำออกจากการเมือง เพื่อป้องกันทหารประจำการไม่ให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง • ห้ามสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทน และรัฐมนตรีทำการค้า • กำหนดให้คณะรัฐมนตรี ขอให้สภาผู้แทนราษฎรยืนยันความไว้วางใจ ภายหลังที่สภาลงมติไว้วางใจในเมื่อแถลงนโยบายไปแล้วได้ และถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะฟังความคิดเห็นของสมาชิกวุฒิสภาและสภาผู้แทน นายกรัฐมนตรีจะแจ้งไปยังประธานรัฐสภาขอเปิดอภิปรายทั่วไปได้ • มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัยชี้ขาดกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและทำหน้าที่อื่นๆ ด้วย • ให้ประชาชนออกเสียงประชามติเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติม
ฉบับที่ 6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495 • หลังจากที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 ถูกใช้ได้เพียง 2 ปีเศษ ก็มีการทำรัฐประหาร เพื่อนำเอารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 กลับมาใช้อีกครั้ง • โดยอ้างว่า รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 นั้น ให้สิทธิเสรีภาพมากจนเกินไป ทำให้ไม่สามารถป้องกันภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์ได้ ส่วนเหตุผลที่แท้จริง ก็คือ ปรากฏว่ามีข้อห้ามข้าราชการประจำเป็นสมาชิกรัฐสภา และรัฐมนตรี • การห้ามสมาชิกรัฐสภาและรัฐมนตรีหาประโยชน์จากรัฐ ทำให้ผู้บัญชาการทหาร ซึ่งประสงค์จะเป็นรัฐมนตรีไม่สามารถเป็นรัฐมนตรีได้ นั่นเอง จึงได้เกิดการรัฐประหารนำรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2475 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (พ.ศ. 2482 กับ พ.ศ. 2483)
ฉบับที่ 6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495 รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีอายุประมาณ 5 ปี เกิด การเลือกตั้งสกปรก ขึ้นเป็นประวัติการณ์ เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการเลือกตั้งไม่สุจริต มีการโกงการเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครพรรคเสรีมนังคศิลาของจอมพล ป. โดยเฉพาะตามหน่วยเลือกตั้งหลายหน่วยในจังหวัดพระนคร จอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2500 และประกาศยุบเลิกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง 2 ประเภท แต่ก็มิได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ ทว่ายังคงให้ใช้รัฐธรรมนูญต่อไป ในขณะเดียวกัน ก็กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกประเภทที่ 1 ภายใน 90 วัน เมื่อเลือกตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว กลับปรากฏว่าการบริหารราชการแผ่นดินก็ไม่เป็นไปโดยราบรื่นนัก ในที่สุด รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็จึงได้ถูก "ฉีกทิ้ง" เสีย เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2501 โดยการทำรัฐประหารอีกครั้งหนึ่งของคณะรัฐประหารชุดเดิม ซึ่งมีจอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์ ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบกเป็นหัวหน้า รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ทั้งสิ้น 6 ปี 7 เดือน 12 วัน
ฉบับที่ 6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495 • ให้มีคณะองคมนตรีตามเดิม • คงแนวนโยบายแห่งรัฐไว้เหมือนเดิม • ระบบสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎร (มีคำว่า ราษฎร มาต่อท้าย) แต่ในระหว่างใช้บทเฉพาะกาลมีสมาชิก 2 ประเภท คือ สมาชิกประเภทที่ 1 ราษฎรเลือกตั้งโดยตรง อยู่ในวาระ 5 ปี และสมาชิกประเภทที่ 2 พระมหากษัตริย์แต่งตั้ง • เลิกข้อห้ามสมาชิกรัฐสภาและรัฐมนตรีหาประโยชน์จากรัฐ และเลิกข้อห้ามไม่ให้รัฐมนตรีเป็นข้าราชการประจำ • การแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นรัฐมนตรี จะไม่ทำให้ผู้นั้นจำต้องออกจากสมาชิกภาพ • รับรองสิทธิและเสรีภาพของปวงชนน้อยกว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 และได้เพิ่มข้อจำกัดการใช้สิทธิเสรีภาพ มิให้ ใช้เป็นปรปักษ์ต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ
ฉบับที่ 7 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 • หลังการปฏิวัติ จอมพลสฤษดิ์ ได้ออกประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 3 ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495 และประกาศให้สมาชิกภาพแห่งสภาผู้แทนราษฎร และคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง • โดยคณะปฏิวัติทำหน้าที่บริหารประเทศ โดยจอมพลสฤษดิ์ ผู้ที่เป็นทั้งหัวหน้าคณะปฏิวัติ และเป็นผู้บัญชาการสูงสุด ไม่มีการแบ่งแยกอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ให้ออกจากกัน คณะปฏิวัติออกกฎหมายโดยการออกประกาศของคณะปฏิวัติ และบริหารราชการแผ่นดินโดยหัวหน้าคณะปฏิวัติเป็นผู้สั่งการ เป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการอย่างไม่มีขอบเขต
ฉบับที่ 7 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ประเทศไทยมีการปกครองโดยปราศจากรัฐธรรมนูญ เป็นเวลา 101 วัน นับตั้งแต่ วันที่ 20 ตุลาคม 2501 จนถึงวันที่ 28 มกราคม 2502 จึงได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญไทยที่สั้นที่สุด คือ มีเพียง 20 มาตรา กล่าวได้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีลักษณะเป็นรัฐธรรมนูญของรัฐเผด็จการที่ชัดเจนที่สุด รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ถึงแม้จะได้ชื่อว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เพื่อรอการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร แต่ก็ถูกใช้เป็นเวลายาวนานรวมถึง 9ปี 4 เดือน 20 วัน จนกระทั่งถูกยกเลิกอย่าง "สันติ" เมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรแล้วเสร็จและประกาศบังคับใช้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2511
ฉบับที่ 7 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 • ประกาศว่าอำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย แต่ไม่มีองค์กรใดแห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรที่มาจากราษฎรเลย แม้แต่องค์กรเดียว ไม่มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร์สำหรับฝ่ายบริหารกำหนดให้กษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามคำแนะนำของประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ • ยืนยันว่า ประเทศไทยเป็นเอกรัฐ (รัฐเดี่ยว) อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข • มีคณะองคมนตรีเป็นคณะที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ • ให้มีสภาเดียว คือ สภาร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้ง จำนวน 240 คน ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ และให้มีฐานะเป็นรัฐสภา ทำหน้าที่นิติบัญญัติด้วย • พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี แต่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจะเป็นสมาชิกสภามิได้ ในขณะเดียวกัน พระมหากษัตริย์ก็ทรงถอดถอนรัฐมนตรีได้ แต่จะทรงถอดถอนนายกรัฐมนตรี มิได้
ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ใน มาตรา 17 ให้อำนาจ (พิเศษ) นายกรัฐมนตรี โดยมติของคณะรัฐมนตรี มีอำนาจสั่งการ หรือ กระทำการใดๆ ได้ และให้ถือว่าคำสั่ง หรือ การกระทำเช่นว่านั้น เป็นคำสั่ง หรือ การกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งถือได้ว่า มาตรานี้ ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีใช้อำนาจเผด็จการได้อย่างเต็มที่ เช่น มีการสั่งให้ประหารชีวิต หรือ จะยึดทรัพย์สินใครก็ได้ เป็นต้น ดังความบัญญัติว่า" • รับรองความเป็นอิสระของผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาคดี แต่ไม่มีหลักประกันความเป็นอิสระ • ในกรณีที่เกิดช่องว่างของรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยกรณีนั้นตามประเพณีการปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย (มาตรา 20)
ฉบับที่ 8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีจำนวน 183 มาตรา ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 ของไทย ซึ่งถูกยกร่างโดย สภาร่างรัฐธรรมนูญ ทว่าเป็นสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ทำหน้าที่ทางนิติบัญญัติด้วย ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว นับว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้เวลาในการยกร่างจัดทำยาวนานที่สุดถึง 9 ปีเศษ โดยละเอียดถี่ถ้วน ในที่สุด ก็ได้ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2511 แต่ทว่าก็กลับมีอายุในการใช้งานเพียง 3 ปี 4 เดือน 27 วัน กล่าวคือ หลังจากใช้บังคับได้ไม่นานนัก เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 รัฐธรรมนูญก็ถูก "ฉีกทิ้ง" อีกครั้งหนึ่ง โดยการทำรัฐประหารตนเองของจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี และผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น และก็ได้นำเอารัฐธรรมนูญฉบับที่ 7 มาแก้ไขปรับปรุงรายละเอียดใหม่เล็กน้อยก่อนประกาศใช้บังคับ
ฉบับที่ 8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 • ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข • ใช้ระบบรัฐสภามี 2 สภา คือ สภาผู้แทน และวุฒิสภา สภาผู้แทนประกอบด้วยสมาชิกที่ราษฎรเลือกตั้งโดยตรง แบบรวมเขตจังหวัด มีวาระคราวละ 4 ปี วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ จำนวน 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎร มีวาระคราวละ 6 ปี • วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีอำนาจมาก คือ มีสิทธิเสนอร่างกฎหมาย สิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายตัว หรือทั้งคณะได้ รวมทั้งมีสิทธิตั้งกระทู้ถามด้วย • ไม่มีข้อห้ามมิให้สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนและรัฐมนตรีรับประโยชน์จากรัฐ • แยกฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารออกจากกันให้มากยิ่งขึ้น โดยกำหนดให้นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีอื่น ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารจะเป็นสมาชิกแห่งรัฐสภาในขณะเดียวกันมิได้
ฉบับที่ 8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 • เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว คณะรัฐมนตรีเป็นแต่มาแถลงนโยบายให้รัฐสภาทราบ โดยไม่มีการลงมติไม่ไว้วางใจ • ไม่มีข้อจำกัดการยุบสภาเหมือนกับรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 5 ที่ว่าการยุบสภา จะกระทำได้เพียงครั้งเดียวในเหตุการณ์เดียวกันนั้น • ไม่มีบทบัญญัติห้ามสมาชิกวุฒิสภาและรัฐมนตรีเป็นข้าราชการประจำ แต่สำหรับสมาชิกสภาผู้แทนมีข้อห้ามมิให้เป็นข้าราชการประจำ แสดงว่ารัฐธรรมนูญปัจจุบันไม่ประสงค์จะแยกการเมืองออกจากราชการประจำ • พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคำแนะนำได้ • รัฐสภาอาจมอบอำนาจให้พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางคณะรัฐมนตรี โดยประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับ เช่น พระราชบัญญัติได้
ฉบับที่ 9 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 9 ซึ่งประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญชั่วคราว เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2515 นั้น มีบทบัญญัติรวมทั้งสิ้นเพียง 23 มาตรา ทว่าที่สำคัญ ก็คือ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้นำเอาอำนาจพิเศษของนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 17 มาบัญญัติไว้อีกด้วย ขณะที่มีเวลาใช้บังคับอยู่เพียง 1 ปี 9 เดือน 22 วัน ก็ต้องถูกยกเลิกไป อย่าง "สันติ" เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2517 เนื่องจากการประกาศและบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ฉบับที่ 9 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 • รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีหลักการสำคัญคล้ายกันกับรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 7 แต่ก็มีการแก้ไขเพิ่มเติมบ้างเล็กน้อย กล่าวคือ • นายกรัฐมนตรีมีอำนาจพิเศษตามมาตรา 17 เช่นเดียวกับอำนาจในมาตรา 17 ของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 7 ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ เป็นผู้เริ่มต้นนำมาใช้ แต่มาตรา 17 ของจอมพลถนอม ให้อำนาจเพิ่มเติมสำหรับใช้บังคับการกระทำต่างๆ กว้างขวางกว่า กล่าวคือ มาตรา 17 ของจอมพลสฤษดิ์ นำมาใช้เพื่อประโยชน์ในการระงับ หรือ ปราบปราม แต่มาตรา 17 ของจอมพลถนอม นำมาใช้เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ระงับ หรือ ปราบปราม โดยเพิ่มคำว่า ป้องกัน ไว้ด้วย ซึ่งการป้องกันนั้น สามารถจะยกขึ้นมากล่าวอ้างได้อย่างกว้างขวาง จึงขัดต่อหลักการนิติรัฐอย่างร้ายแรง • ข้าราชการประจำมีสิทธิเข้าดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี หรือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ในขณะเดียวกัน • มีสภาเดียว คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 299 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์ และมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี เพื่อทำหน้าที่ออกกฎหมาย ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล และอนุมัติร่างรัฐธรรมนูญที่คณะรัฐมนตรีเสนอให้พิจารณาเท่านั้น ไม่ได้ทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญด้วย • สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีได้ ซึ่งต่างจากรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 7
ฉบับที่ 10 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 • เป็นรัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งที่ได้ชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด เพราะว่ามีบทบัญญัติที่เปลี่ยนแปลงไปในทางก้าวหน้าและเป็นแบบเสรีนิยมมากขึ้นในหลายเรื่องด้วยกัน เริ่มต้น ในหมวด 1 บททั่วไป ได้มีบทบัญญัติห้ามมิให้มีการนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือ รัฐธรรมนูญ และหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ได้บัญญัติขึ้นเป็นครั้งแรกว่า ในการสืบราชสันตติวงศ์นั้น ในกรณีที่ไม่มีพระราชโอรส รัฐสภาอาจให้ความเห็นชอบในการให้พระราชธิดาสืบราชสันตติวงศ์ได้ นอกจากนั้น ยังได้มีบทบัญญัติอันเป็นการเพิ่มหลักประกันในเรื่องสิทธิเสรีภาพ และประโยชน์ของประชาชนไว้มากกว่ารัฐธรรมนูญทุกฉบับที่ผ่านๆ มาก่อนหน้านั้น • ตลอดจนรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็ถูกร่างขึ้นภายหลังเกิดเหตุการณ์ วันมหาวิปโยค ที่ซึ่งรู้จักกันในนามสั้นๆ ว่า 14 ตุลา อีกด้วย อันสืบเนื่องมาจากการที่มีกลุ่มบุคคลไม่พอใจที่รัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร ใช้เวลาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นานเกินไป ทั้งๆ ที่เคยร่างรัฐธรรมนูญมาครั้งหนึ่งแล้ว กลุ่มบุคคลดังกล่าว ประกอบด้วยผู้นำนิสิต นักศึกษา และปัญญาชนทั่วไป เริ่มรณรงค์เรียกร้องให้รัฐบาลประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยเร็ว ปรากฏว่า รัฐบาลกลับตอบโต้ต่อการเรียกร้องดังกล่าว โดยการจับกุมกลุ่มผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ จำนวน 13 คน โดยตั้งข้อหาว่าเป็นการทำลายความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ รวมทั้งใช้อำนาจตามมาตรา 17 แห่งรัฐธรรมนูญ
ฉบับที่ 10 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 1) หลักการปกครองในระบบรัฐสภาซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 2) หลักการมี 2 สภา โดยให้ สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง แบบผสมระหว่างรวมเขตจังหวัดและแบ่งเขตๆ 1 คน เป็นแบบผสมเขตละไม่เกิน 3 คน มีจำนวนไม่น้อยกว่า 240 คน แต่ไม่เกิน 300 คน มีวาระ 4 ปี ส่วน วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกมาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ จำนวน 100 คน โดยมีประธานองคมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี แต่ทุกๆ 3 ปี สมาชิกจำนวนครึ่งหนึ่ง จะต้องพ้นจากตำแหน่งไป โดยประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานรัฐสภา 3) วางหลักประกันความเป็นอิสระของผู้พิพากษา4) แยกข้าราชการประจำออกจากการเมือง คือ ส.ส. และ ส.ว. ต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ 5) แยกนักการเมืองออกจากวงธุรกิจการค้าที่มุ่งหากำไร หลักการที่กำหนดขึ้นใหม่ 1) ถวายสิทธิแก่พระราชธิดาให้สืบราชสันตติวงศ์ได้ ในกรณีไม่มีพระราชโอรส 2) ให้สิทธิเสรีภาพแก่ชนชาวไทยไว้อย่างกว้างขวาง 3) วางแนวทางในการสร้างความเป็นธรรมในสังคมไว้อย่างชัดเจน (มาตรา 79, 81, 89) 4) ส่งเสริมนักการเมืองระดับท้องถิ่น โดยห้ามมิให้นักการเมืองระดับชาติดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับท้องถิ่น 5) บังคับให้รัฐมนตรีและสมาชิกรัฐสภา แสดงสินทรัพย์และหนี้สินของตนต่อประธานรัฐสภา
6) บังคับให้ผู้ที่จะสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องสังกัดพรรค และลาออกจากพรรคมิได้หลังจากได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนแล้ว (มาตรา 17) และกำหนดให้มีผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 126) 7) บังคับให้นายกรัฐมนตรี จะต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 177) 8) ห้ามคณะรัฐมนตรีประกาศใช้กฎอัยการศึกตามอำเภอใจ โดยไม่กำหนดระยะเวลา 9) อนุญาตให้ตั้งศาลปกครอง และศาลพิเศษอื่นๆ 10) ประกันการปกครองตนเองของประชาชนในท้องถิ่น11) ให้รัฐสภามีอำนาจตรวจสอบการปฏิบัติงาน รวมทั้งการใช้จ่ายเงินของข้าราชการได้ โดยการตั้งกรรมาธิการวิสามัญ และมีอำนาจตั้งผู้ตรวจเงินแผ่นดินของรัฐสภาได้ด้วย 12) วางมาตรการป้องกันมิให้รัฐธรรมนูญถูกยกเลิกโดยมิชอบ โดยห้ามมิให้นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการล้มล้างรัฐธรรมนูญ (มาตรา 4) 13) มีตุลาการรัฐธรรมนูญที่แตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านั้น โดยกำหนดให้ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) เป็นผู้เลือกผู้ทรงคุณวุฒิฝ่ายละ 3 คน เป็นคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ และในเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้นำเอาหลักการออกเสียงประชามติในร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญไทยเป็นครั้งแรก
ฉบับที่ 11 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 • รัฐธรรมนูญฉบับที่ 11 นั้น เกิดจากการที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ภายใต้การนำของ พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ ได้เข้ายึดอำนาจ หลังจากเกิดเหตุการณ์ล้อมปราบนักศึกษากับประชาชน ซึ่งชุมนุมประท้วงการเดินทางกลับสู่ประเทศไทยของจอมพลถนอม กิตติขจร ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยความทารุณโหดร้ายอย่างถึงที่สุด คนไทยต้องฆ่ากันเอง โดยที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน อ้างว่า เป็นแผนการของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ที่ต้องการจะทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ อีกทั้งยังทำการต่อสู้ขัดขวางการจับกุมของเจ้าหน้าที่ด้วยอาวุธร้ายแรง ประกอบกับการที่รัฐมนตรีบางคน และนักการเมืองบางกลุ่ม ได้ให้การสนับสนุนการเคลื่อนไหวของนิสิตนักศึกษาดังกล่าว ซึ่งทำให้ “รัฐบาลไม่สามารถรักษาสถานการณ์บ้านเมืองด้วยวิถีทางรัฐธรรมนูญได้” หลังการปฏิวัติล้มรัฐบาล อันเนื่องมาจากเหตุการณ์นองเลือด เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 แล้ว คณะปฏิวัติ ก็ได้แต่งตั้ง นาย ธานินทร์กรัยวิเชียร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมๆ กันกับที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2519 โดยมีบทบัญญัติเพียง 29 มาตราเท่านั้น ซึ่งในที่สุด ก็ถูก "ฉีกทิ้ง" โดยการทำรัฐประหารของคณะปฏิรูปฯ เดิม ในนามใหม่ว่า "คณะปฏิวัติ" ในวันที่ 20 ตุลาคม 2520 ซึ่งมีหัวหน้าคนเดิม คือ พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ รวมอายุการบังคับใช้แค่ 1 ปีเท่านั้น
ฉบับที่ 11 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 • รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีหลักการสำคัญคล้ายคลึงกับรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 7 และฉบับที่ 9 อย่างมาก ดังนี้ 1) รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีฐานะเป็นเพียงเครื่องมือที่คณะปฏิวัติสร้างขึ้น เพื่อให้การใช้อำนาจถูกต้องชอบธรรมตามกฎเกณฑ์ มิใช่ รัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย แต่อย่างใด 2) ไม่มีบทบัญญัติห้ามข้าราชการประจำเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองในขณะเดียวกัน 3) ไม่มีหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนไว้อย่างชัดเจน เพียงแต่รับรองอำนาจอิสระของศาลในการพิจารณาอรรถคดีไว้เท่านั้น 4) ให้อำนาจพิเศษแก่นายกรัฐมนตรีไว้อย่างมากในมาตรา 21 5) รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ถือเป็นรัฐธรรมนูญโครงการสร้างประชาธิปไตย โดยคณะรัฐมนตรี จะเป็นผู้เสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นคราวๆ ไป ตามความเหมาะสมกับสภาวการณ์ในแต่ละระยะรวม 3 ระยะ ระยะละ 4 ปี รวมทั้งหมด 12 ปี ดังนี้
ฉบับที่ 12 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 • รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เกิดจากการทำรัฐประหารของคณะปฏิวัติ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2520 โดยให้เหตุผลว่าเพราะภัยคุกคามของคอมมิวนิสต์ หลังจากประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 11 แล้ว คณะปฏิวัติได้จัดตั้งคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวขึ้น ตามหลักการที่คณะปฏิวัติกำหนดไว้ จากนั้น คณะปฏิวัติจึงได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2520 ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2520 • รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีบทบัญญัติ 32 มาตรา และได้รับการยกเลิกอย่าง "สันติ" เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2521 เนื่องจากการประกาศใช้ธรรมนูญฉบับใหม่ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 อันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 13 ของประเทศไทย
ฉบับที่ 12 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 1) กำหนดเวลาการบังคับใช้ไว้อย่างแน่นอน คือ ไม่พ้นสิ้นเดือนเมษายน ในปี 2522 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้ว่า จะต้องมีการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (มาตรา 10) 2) กำหนดให้รัฐสภา มีสภาเดียว แต่มีอำนาจน้อย คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งมาจากการแต่งตั้ง มีหน้าที่จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับถาวร และพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเท่านั้น แต่ไม่มีอำนาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ไม่มีสิทธิแม้แต่จะเสนอร่างพระราชบัญญัติ เพราะอำนาจการเสนอกฎหมายเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีเท่านั้น 3) ในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ถ้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่ให้ความเห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญซึ่งร่างขึ้นมาใหม่เป็นครั้งที่ 2 ในวาระที่ 1 หรือวาระที่ 3 ก็ให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติพ้นจากตำแหน่งและให้คณะรัฐมนตรีนำร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติยกร่างขึ้นใช้ 4) รับรองคณะปฏิวัติให้มีฐานะเป็นองค์กรหนึ่งในรัฐธรรมนูญที่เรียกว่า สภานโยบายแห่งชาติ มีฐานะเหนือกว่าคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติ ดังนี้ 5) กำหนดให้นายกรัฐมนตรีใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 27 ได้ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและสภานโยบายแห่งชาติ 6) ไม่ให้สิทธิสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตั้งกระทู้ถาม และเสนอร่างกฎหมาย ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ตามปกติของสภานิติบัญญัติในระบอบประชาธิปไตย 7) ข้าราชการประจำ สามารถดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ แต่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี จะเป็นสมาชิกสภาในขณะเดียวกัน ไม่ได้
ฉบับที่ 13 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช • รัฐธรรมนูญฉบับที่ 13 นี้ เป็นผลจากการร่างของคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามข้อกำหนดในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญใหม่ขึ้นเพื่อใช้แทนรัฐธรรมนูญเก่า และสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบ แล้วประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2521 • รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว มีบทบัญญัติทั้งหมดรวมบทเฉพาะกาล 206 มาตรา โดยสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ นับว่าเป็นประชาธิปไตยพอสมควร หากไม่นับบทบัญญัติเฉพาะกาลที่มีผลใช้บังคับอยู่ในช่วง 4 ปีแรกของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้
ฉบับที่ 13 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช • อย่างไรก็ตาม ได้มีความพยายามที่จะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับนี้อยู่หลายครั้ง ซึ่งสุดท้ายก็ประสบความสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ. 2528 ว่าด้วยเรื่อง ระบบการเลือกตั้ง โดยแก้ไขจากแบบรวมเขตรวมเบอร์ หรือ คณะเบอร์เดียว มาเป็นการเลือกตั้งแบบผสม เขตละไม่เกิน 3 คน การแก้ไขเพิ่มเติมครั้งนี้ ถือว่าเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 ขณะที่การแก้ไขเพิ่มเติมอีกครั้ง คือ ครั้งที่ 2 นั้นเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2532 เกี่ยวกับเรื่องประธานรัฐสภา โดยแก้ไขให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรดำรงตำแหน่งเป็นประธานรัฐสภา • รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้ใช้บังคับเป็นเวลาค่อนข้างยาวนานถึง 12 ปีเศษ แต่ก็ถูก "ยกเลิก" โดยการรัฐประหารอีกจนได้ เมื่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (ร.ส.ช.) ภายใต้การนำของ พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ได้เข้าทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศจากรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534
ฉบับที่ 13 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช • กำหนดกลไกการสร้างพรรคการเมืองขึ้นด้วยมาตรการ ดังนี้ก) บังคับให้ผู้สมัครรับเลือกเป็น ส.ส. ต้องสังกัดพรรคข) เพื่อลดจำนวนพรรคการเมืองให้มีน้อยลงเหลือเฉพาะพรรคการเมืองใหญ่ จึงกำหนดไว้ว่าพรรคการเมืองที่จะมีสิทธิส่งสมาชิกเข้ารับสมัครเลือกตั้ง ส.ส. ต้องเป็นพรรคที่ส่งสมาชิกเข้ารับสมัครเลือกตั้งเป็น ส.ส. ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน ส.ส. ทั้งหมดที่จะพึงมีได้ในการเลือกตั้งครั้งนั้นค) พรรคการเมืองจะมีบทบาทในสภาผู้แทนราษฎร โดยเฉพาะในเรื่องเสนอกฎหมายได้ต่อเมื่อสมาชิกได้รับเลือกให้เป็น ส.ส. ตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป • กำหนดมาตรการเพื่อทำให้การจัดตั้งรัฐบาลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยกำหนดให้คณะรัฐมนตรีมาแถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อนเข้าบริหารประเทศ แต่ไม่มีการลงมติไม่ไว้วางใจ และจำกัดการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจให้ทำได้ยากขึ้น โดยห้ามมิให้เจ้าของญัตติเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ ถ้าหากการเสนอญัตติครั้งแรกได้คะแนนไม่ถึงกึ่งหนึ่ง • มีสภาที่ 1 คือ สภาผู้แทนราษฎร มาจากการเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ (เมื่อแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว) เป็นการเลือกตั้งโดยตรงแบบผสม เป็นแบบรวมเขต (เบอร์เดียว) ทั้งจังหวัด เขตละไม่เกิน 3 คน ส.ส. อยู่ในวาระ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง เวลาลงคะแนนออกเสียงเลือกตั้งเป็นคณะตามบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองส่งเข้าสมัครรับเลือกตั้งในเขตนั้น • ให้มีสภาที่ 2 คือ วุฒิสภา ซึ่งมาจากการแต่งตั้งโดยการเสนอชื่อของนายกรัฐมนตรี จำนวนไม่เกิน 3 ใน 4 ของจำนวน ส.ส. มีวาระ 6 ปี แต่มีอำนาจน้อยกว่าสภาผู้แทนราษฎร โดยกำหนดให้ทำหน้าที่เป็นเพียงสภากลั่นกรองกฎหมาย ไม่มีสิทธิเสนอกฎหมาย และลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี แต่มีสิทธิตั้งกระทู้ถามและร่วมกับสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การตีความรัฐธรรมนูญ และให้ความเห็นชอบในรัฐกิจที่สำคัญๆ ตามมาตรา 143 • แยกข้าราชการประจำออกจากการเมือง โดยห้ามมิให้ดำรงตำแหน่ง ส.ส. หรือ เป็นรัฐมนตรีในขณะเดียวกัน แต่ก็ไม่ได้ห้ามในการเข้าดำรงตำแหน่งเป็นวุฒิสมาชิก ข้าราชการประจำ จึงยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองในบางส่วน
ฉบับที่ 14 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 • ภายหลังจากที่ ร.ส.ช. ได้ทำการยึดอำนาจแล้ว ก็กำหนดให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521และวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง โดยชี้แจงถึงเหตุผลและความจำเป็นของการเข้ายึดและควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ โดยกล่าวหารัฐบาล หรือ ผู้บริหารประเทศว่า (มี 5 ประการ) คือ 1) พฤติการณ์การฉ้อราษฎร์บังหลวง 2) ข้าราชการการเมืองใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงข้าราชการประจำผู้ซื่อสัตย์สุจริต 3) รัฐบาลเป็นเผด็จการทางรัฐสภา 4) การทำลายสถาบันทางทหาร 5) การบิดเบือนคดีล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์
ฉบับที่ 14 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 • จากนั้น ร.ส.ช. จึงได้นำร่างธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2534 โดยมีบทบัญญัติอยู่เพียง 33 มาตรา • ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรฉบับนี้ มีระยะเวลาการใช้บังคับสั้นมาก คือ เพียง 9 เดือน กับอีก 8 วัน เท่านั้น ก็จึงถูกยกเลิกไป จากผลของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2534
ฉบับที่ 14 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว และมีหลักการสำคัญคล้ายกับรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 12 อย่างยิ่ง แต่ก็มีข้อแตกต่างบางประการ ดังนี้ • ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ รัฐสภา มีสภาเดียว คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีสมาชิก 200 ถึง 300 คน ทำหน้าที่จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ และอนุมัติพระราชกำหนดที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ โดยที่ไม่มีสิทธิเสนอกฎหมาย ในกรณีที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติกระทำการอันเป็นการเสื่อมเสีย หรือ มีพฤติการณ์อันเป็นการขัดขวางต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คนมีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานสภานิติบัญญัติฯ เพื่อให้ผู้นั้นพ้นจากสมาชิกภาพได้ (มาตรา 8) • รัฐธรรมนูญกำหนดให้ สภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ เป็นองค์กรหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินร่วมกับคณะรัฐมนตรี และให้ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ นายกรัฐมนตรี หรือให้ทั้ง 2 ร่วมกัน ใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 27 ได้ ก็ด้วยความเห็นชอบของที่ประขุมร่วมระหว่างสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติกับนายกรัฐมนตรี (มาตรา 27)
ฉบับที่ 15 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 มักจะถูกเรียกขานว่า "รัฐธรรมนูญฉบับ ร.ส.ช." เพราะเป็นผลงานการยกร่างและจัดทำของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อันประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 292 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำกราบบังคมทูลของประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีทั้งสิ้นจำนวน 233 มาตรา และได้ประกาศใช้ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2534 • โดยที่ในชั้นร่างรัฐธรรมนูญนั้น มีประเด็นปัญหาทางกฎหมายรัฐธรรมนูญหลายประเด็น อันก่อให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดระหว่างคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญของสภานิติบัญญัติแห่งชาติกับสาธารณชนโดยทั่วไป • มีการเดินขบวนต่อต้านรัฐบาลก็เลยออกคำสั่งให้ทหารและตำรวจเข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มประชาชนซึ่งรวมตัวกันประท้วงอยู่ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และถนนราชดำเนิน ในช่วงระหว่าง วันที่ 17 ถึง 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 แต่ทว่ากลับเป็นการนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือดที่เรียกกันว่า เหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ในที่สุด
ฉบับที่ 15 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 15.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ.2535 15.2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2535 15.3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่3) พ.ศ. 2535 15.4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2535 15.5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่5 ) พ.ศ. 2538 15.6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2539
ฉบับที่ 16 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นกฎหมายสูงสุดว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองประเทศไทยที่เป็นลายลักษณ์อักษร ฉบับที่ 16 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้สิ้นสุดลงแล้ว ด้วยการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ออกประกาศ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2549 ทั้งนี้คณะปฏิรูปฯได้ออกประกาศคงบทบัญญัติบางหมวดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2549 ไว้ภายหลัง • รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 นี้ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ริเริ่มขึ้นโดยพรรคชาติไทย นายบรรหาร ศิลปอาชานายก รัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองเข้ามาดำเนินการและได้ตั้งคณะ กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา และมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 99 คน โดย 76 คนเป็นตัวแทนของแต่ละจังหวัด และอีก 23 คนมาจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์ ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งฉบับเดียวของประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้ 15 ฉบับมาจากคณะรัฐมนตรีที่มาจากการแต่งตั้งหรือรัฐบาลทหาร รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถูกเรียกว่าเป็น "รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน" เนื่องจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่า
ฉบับที่ 17 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 คณะ ปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน นำมาใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศชั่วคราว ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2549 โดยมีจำนวน 39 มาตราโดยได้ยกเลิกไปเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 ทันทีที่รัฐธรรมมนูญฉบับที่ 18 มีผลบังคับใช้
ฉบับที่ 17 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 • สาระสำคัญ • 1. องคมนตรี พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้ง 1.1 มีจำนวนไม่เกิน 19 คน ประกอบด้วย ประธาน 1 คน และองคมนตรีอีกไม่เกิน18 คน 1.2 ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธาน องคมนตรี และประธานองคมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรี • 2. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง 2.1 มีจำนวนไม่เกิน 250 คน เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด และมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี 2.2 ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 2.3 องค์ประชุมสภาต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด (ต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่า 125 คน) 2.4 สมาชิกไม่น้อยกว่า 25 คน หรือคณะรัฐมนตรี มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติได้ 2.5 สมาชิกไม่น้อยกว่า 20 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานสภา เพื่อให้สมาชิกอื่นพ้นจากตำแหน่ง โดยอาศัยมติของสภาไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ในวันลงคะแนน 2.6 สมาชิกไม่น้อยกว่า 100 คน มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายเพื่อซักถามคณะรัฐมนตรีได้ แต่ไม่สามารถลงมติได้ 2.7 นายกรัฐมนตรี มีสิทธิแจ้งไปยังประธานสภาขอให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปเกี่ยวกับปัญหาสำคัญ ของการบริหารราชการแผ่นดิน แต่ไม่สามารถลงมติได้
ฉบับที่ 17 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 • 3. คณะรัฐมนตรี พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง 3.1 คณะรัฐมนตรีประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอีกไม่เกิน 35 คน 3.2 ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง และให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง 3.3 นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง และให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง • 4. สมัชชาแห่งชาติ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง 4.1 มีจำนวนไม่เกิน 2,000 คน มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด และมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี 4.2 ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ 4.3 ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติ 4.4 สมัชชาแห่งชาติมีหน้าที่คัดเลือกสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ จำนวน 200 คน ให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน นับแต่การเปิดประชุมครั้งแรก แล้วเสนอให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ คัดเลือกให้เหลือ 100 คน เพื่อให้ทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ