1 / 78

การดำเนินงานอาชีวอนามัย ในโรงพยาบาล

การดำเนินงานอาชีวอนามัย ในโรงพยาบาล. อนุพันธ์ สุวรรณพันธ์. ความสำคัญ. บุคลากร ในโรงพยาบาล เป็นกลุ่มผู้ให้บริการ กลุ่ม ใหญ่. มี ลักษณะและกระบวนการทำงานที่มีความซับซ้อน. มีความเสี่ยงต่อการ เกิดปัญหาด้าน สุขภาพ อุบัติเหตุ. ควรมีระบบใน ด้านอา ชีวอนามัยและความปลอดภัยที่ดี. ความหมาย.

manny
Download Presentation

การดำเนินงานอาชีวอนามัย ในโรงพยาบาล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การดำเนินงานอาชีวอนามัยการดำเนินงานอาชีวอนามัย ในโรงพยาบาล อนุพันธ์ สุวรรณพันธ์

  2. ความสำคัญ บุคลากรในโรงพยาบาลเป็นกลุ่มผู้ให้บริการกลุ่มใหญ่ มีลักษณะและกระบวนการทำงานที่มีความซับซ้อน มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาด้านสุขภาพ อุบัติเหตุ ควรมีระบบในด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่ดี

  3. ความหมาย การดำเนินงานเพื่อการดูแลสุขภาพและความปลอดภัย ในการทำงานให้แก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล

  4. ความเสี่ยงของผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลความเสี่ยงของผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล มีอัตราอุบัติการณ์การเกิดผลกระทบต่อสุขภาพในลักษณะเฉียบพลัน (Acute conditions) ที่สูงกว่า* *Gun อ้างในNational Institute for Occupational Safety and Health: NIOSH

  5. ความสำคัญ ปัญหาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อหลัง (low-back injury) มักพบในเพศหญิงและมีความเสี่ยงสูงถึง 166 เท่า* *Gun อ้างในNational Institute for Occupational Safety and Health: NIOSH

  6. หลักการและองค์ประกอบ*หลักการและองค์ประกอบ* • บูรณาการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการบริหาร และระบบการควบคุมคุณภาพ • จัดบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยให้กับบุคลากรทุกระดับ • ประเมินความเสี่ยงในการทำงานแก่บุคลากรอย่างสม่ำเสมอในทุกด้าน *International Commission on Occupational Health (ICOH) และ International Social Security Association (ISSA)

  7. หลักการและองค์ประกอบ*หลักการและองค์ประกอบ* • จัดการป้องกันความเสี่ยงจากการทำงานอย่างเป็นระบบ และมีการจัดสรรทรัพยากรโดยการมีส่วนร่วม • บุคลากรได้รับข้อมูลข่าวสาร และการฝึกอบรมที่จำเป็น • นำมาตรการป้องกันความเสี่ยงมาปฏิบัติ รวมทั้งจัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่จำเป็น *International Commission on Occupational Health (ICOH) และ International Social Security Association (ISSA)

  8. หลักการและองค์ประกอบ*หลักการและองค์ประกอบ* • บูรณาการการป้องกันการติดเชื้อเข้าเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายด้านสุขอนามัยขององค์กร • จัดทำและนำโครงการให้ภูมิคุ้มกันที่จำเป็นแก่บุคลากรไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งการเข้าถึงบริการเกี่ยวกับ • การให้คำแนะนำทางการแพทย์ • ทบทวนมาตรการป้องกันความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อปรับปรุงมาตรการป้องกันให้ดียิ่งขึ้น *International Commission on Occupational Health (ICOH) และ International Social Security Association (ISSA)

  9. หลักการและองค์ประกอบ*หลักการและองค์ประกอบ* • การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานรวมทั้งการจัดทำประวัติการตรวจสุขภาพที่ครบถ้วนการตรวจสุขภาพเป็นระยะ • • การให้ความรู้ด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน • • การให้ภูมิคุ้มกันโรคที่จำเป็น • • การให้บริการดูแลกรณีเกิดการบาดเจ็บ/เจ็บป่วยในการทำงาน * National Institute for Occupational Safety and Health: NIOSH

  10. หลักการและองค์ประกอบ*หลักการและองค์ประกอบ* • การให้คำแนะนำปรึกษาด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน • การป้องกันควบคุมสิ่งคุกคาม และเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมในการทำงาน • การจัดทำระบบข้อมูลด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน • ประสานการวางแผนงานร่วมกับแผนกต่างๆ และการให้บริการทางสุขภาพแก่บุคลากรในโรงพยาบาล * National Institute for Occupational Safety and Health: NIOSH

  11. บทบาทหน้าที่ของบุคลากรในโรงพยาบาลบทบาทหน้าที่ของบุคลากรในโรงพยาบาล “โรงพยาบาลควรเป็นตัวอย่างแก่สาธารณชนในการที่จะดำเนินงานในการให้สุขศึกษา การป้องกันโรคจากการทำงานและส่งเสริมให้มีความปลอดภัยในการทำงาน”* *American Medical Association/American Hospital Association

  12. ปัญหาในการดำเนินงาน • บุคลากรดูแลตนเองได้ • เข้าถึงข้อมูล ข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ • เน้นไปที่การรักษาโรคมากกว่าสร้างเสริมสุขภาพ

  13. บทบาทหน้าที่ที่สำคัญของคณะกรรมการ*บทบาทหน้าที่ที่สำคัญของคณะกรรมการ* • ตรวจประเมินสถานที่ปฏิบัติงานเพื่อสืบค้นความเสี่ยง • วิเคราะห์ทบทวนข้อมูลการบาดเจ็บ/เจ็บป่วย • จัดเตรียมข้อมูลสำหรับผู้ปฏิบัติงาน เพื่อใช้ในการสืบค้น • จัดการฝึกอบรมให้ความรู้ • ทำการวิเคราะห์ทบทวนมาตรการ • ทำการสอบสวนอุบัติเหตุจากการทำงาน • จัดทำโครงการเพื่อสร้างแรงจูงใจผู้ปฏิบัติงาน *National Institute for Occupational Safety and Health: NIOSH

  14. ขั้นตอนการดำเนินงาน

  15. ขั้นตอนการดำเนินงาน

  16. กระบวนการพัฒนาและการรับรองกระบวนการพัฒนาและการรับรอง

  17. กระบวนการพัฒนาและการรับรองกระบวนการพัฒนาและการรับรอง

  18. กระบวนการพัฒนาและการรับรองกระบวนการพัฒนาและการรับรอง

  19. RAH.05

  20. RAH.01

  21. RAH.02

  22. RAH.03

  23. SRAH.1

  24. RAH.06

  25. องค์ประกอบหลักของการประเมินองค์ประกอบหลักของการประเมิน • องค์ประกอบที่ 1 การบริหารจัดการ • นโยบายด้านสุขภาพและความปลอดภัย • คณะกรรมการรับผิดชอบ • มีแผนงานโครงการ

  26. องค์ประกอบหลักของการประเมินองค์ประกอบหลักของการประเมิน • องค์ประกอบที่ 2 การดำเนินงานประเมินและแก้ไขความเสี่ยง • การประเมินความเสี่ยง • การจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการให้ผู้บริหาร • การตรวจสุขภาพบุคลากร • การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ • การจัดระบบข้อมูล • การจัดทำคู่มือ แนวทางปฏิบัติ

  27. องค์ประกอบหลักของการประเมินองค์ประกอบหลักของการประเมิน • องค์ประกอบที่ 3 การติดตามประเมินผล • การติดตามประเมินผลแผนงาน/โครงการ • การสรุปผลการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรค

  28. รายละเอียดตามองค์ประกอบรายละเอียดตามองค์ประกอบ

  29. สิ่งคุกคามสุขภาพ อุบัติเหตุ อัคคีภัย และภัยพิบัติในโรงพยาบาล

  30. สิ่งคุกคามสุขภาพ อุบัติเหตุ อัคคีภัยและภัยพิบัติ • สิ่งคุกคามสุขภาพทางกายภาพ • สิ่งคุกคามสุขภาพทางชีวภาพ • สิ่งคุกคามสุขภาพทางเคมี • สิ่งคุกคามสุขภาพทางการยศาสตร์ • สิ่งคุกคามสุขภาพทางจิตวิทยาสังคม • อัคคีภัยและภัยพิบัติ • อันตรายจากก๊าซภายใต้ความดัน • อันตรายจากอุปกรณ์ไฟฟ้า • คุณภาพอากาศภายในอาคาร

  31. สิ่งคุกคามทางกายภาพ (Physical health hazards) หมายถึง การทำงานในสิ่งแวดล้อมที่มีความร้อน ความเย็น เสียงดัง ความสั่นสะเทือน แสงสว่าง ความกดบรรยากาศสูง อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพคนทำงาน สิ่งคุกคามสุขภาพ ทางกายภาพ ที่พบในโรงพยาบาล

  32. สิ่งคุกคามทางกายภาพ (Physical health hazards) 1. ความร้อน (Heat) 2. เสียงดัง (Noise) 3. รังสีที่ก่อให้เกิดการแตกตัว (Ionizing radiation) 4. รังสีที่ไม่แตกตัว (Non-ionizing radiation)

  33. 1. ความร้อน (Heat) แหล่งที่พบ โรงซักรีด ห้องติดตั้งหม้อไอน้ำ งานโภชนาการ แผนกซักฟอก

  34. ผลกระทบต่อสุขภาพ 1) การเป็นลมเนื่องจากความร้อนในร่างกายสูง (Heat Stroke) 2) การอ่อนเพลียเนื่องจากความร้อน (Heat Exhaustion) 3) การเป็นตะคริวเนื่องจากความร้อน (Heat Cramp) 4) อาการผดผื่นตามผิวหนัง (Heat Rash)

  35. การป้องกันและควบคุม 1) ลดความร้อนในผู้ตัวปฏิบัติงานและที่ทำงาน - จัดให้ผู้ปฏิบัติงานมีระยะพักบ่อยขึ้น และพักในที่มีอากาศเย็น - เครื่องมืออุปกรณ์ที่มีแหล่งความร้อนสูง ควรมีฉนวน หุ้มกันความร้อน - ติดตั้งระบบดูดอากาศเฉพาะที่ - ติดตั้งฉากกันความร้อน ระหว่างแหล่งกำเนิดความร้อนกับตัวผู้ปฏิบัติงาน

  36. การป้องกันและควบคุม • - จัดให้มีพัดลมเป่า เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของอากาศและการระเหยของเหงื่อ • - จัดให้มีบริเวณสำหรับพักที่มีอากาศเย็น • ให้ความรู้กับผู้ปฏิบัติงานทุกคนที่ทำงานในที่มีแหล่งความร้อน • - ในผู้ปฏิบัติงานใหม่ในระยะแรก ควรกำหนดชั่วโมงการทำงานที่ต้องสัมผัสกับความร้อน

  37. การป้องกันและควบคุม 2) จัดให้มีโครงการเฝ้าคุมสิ่งแวดล้อมการทำงาน โดยมีกิจกรรมการประเมินการสัมผัสความร้อนในรูปของ ดัชนีความร้อน (WBGT index) ดัชนีกระเปาะเปียกและโกลบ (Wet Bulb globe thermometer)

  38. 2. เสียงดัง (Noise) หมายถึง เสียงที่ไม่พึงปรารถนา เกิดจากคลื่นเสียงสั่นสะเทือนอย่างรวดเร็วในอากาศ สามารถตรวจวัดได้ โดยใช้เครื่องมือวัดเสียง หน่วยที่วัดความเข้มเสียงคือ เดซิเบล (Decibel)

  39. 2. เสียงดัง (Noise) แหล่งที่พบ โรงซักรีด ห้องติดตั้งหม้อไอน้ำ งานโภชนาการ แผนกซักฟอก

  40. ผลกระทบต่อสุขภาพ 1. สูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว (Temporary hearing loss) 2. สูญเสียการได้ยินแบบถาวร (Permanent hearing loss) 3. เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของร่างกาย 4. รบกวนการพูด การสื่อความหมาย และกลบเสียงสัญญาณต่างๆ

  41. การป้องกันและควบคุม 1) จัดให้มีโครงการเฝ้าคุมเฝ้าระวังเสียงดัง 2) จัดให้มีโครงการลดระดับเสียงดัง - ด้านวิศวกรรม เช่น ใช้วิธีการปิดล้อมอุปกรณ์เครื่องจักรส่วนที่ทำให้เกิดเสียงดัง การใช้วัสดุรองกัน การสั่นสะเทือนของเครื่องจักร - การบริหารจัดการ เช่น ลดระยะเวลาการทำงานที่ต้องสัมผัสเสียงดัง - การใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง เช่น ที่ครอบหู ที่อุดหู

  42. 3. รังสีที่ก่อให้เกิดการแตกตัว (Ionizing radiation) รังสีที่ก่อให้เกิดการแตกตัวได้ถูกนำมาใช้ในโรงพยาบาลในรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น รังสีเอ๊กซ์ หรือรังสีแกมม่า ได้แก่ • การวินิจฉัยโรคด้วยสารรังสี • การรักษาโรคด้วยสารรังสี • การฉายรังสีเพื่อรักษาโรคผิวหนัง • เวชศาสตร์นิวเคลียร์ในขั้นตอนการวินิจฉัยและรักษา • การเตรียมยาและผลิตยา

  43. กลุ่มเสี่ยง แพทย์ พยาบาล นักรังสีเทคนิคการแพทย์ และผู้เกี่ยวข้องกับสารกัมมันตรังสี บุคลากรอื่น

  44. ผลกระทบต่อสุขภาพ • ปริมาณมากกว่า 100 Roentgens (เรินต์เกน) • • ผลเฉียบพลัน การได้รับปริมาณรังสีที่ก่อให้เกิดการแตกตัวทำให้ผิวหนังบวมแดง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน อ่อนเพลีย หมดสติ • ผลเรื้อรัง ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของยีนส์ การเปลี่ยนแปลงของโครโมโซม การแบ่งตัวของเซลล่าช้า • และเซลถูกทำลาย

  45. การป้องกันและควบคุม 1) การควบคุมการสัมผัส การควบคุมปริมาณการได้รับรังสีเอ็กซ์ หรือแกมม่า 2) การเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมการทำงาน โดย ตรวจวัดปริมาณรังสีในพื้นที่การทำงานเป็นระยะๆ ตรวจวัดปริมาณรังสีที่ดูดกลืนเข้าสู่ร่างกายขณะที่ 3) การเฝ้าระวังทางการแพทย์ ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน และตรวจเป็นระยะๆ

  46. 4. รังสีที่ไม่แตกตัว (Non-ionizing radiation) รังสีที่ไม่แตกตัวเป็นรังสีที่อะตอมไม่แตกตัว แต่จะทำให้เกิดความร้อน เกิดจากการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น รังสีอัลตราไวโอเลท รังสีในช่วงคลื่นที่สายตามองเห็นได้ รังสีใต้แดง รังสีไมโครเวฟ รังสีอัลตราซาวน์ และเลเซอร์ เป็นต้น กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ แพทย์ พยาบาล และบุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้อง

  47. ผลกระทบต่อสุขภาพ 1) รังสีอัลตราไวโอเลท(แสง UV) ทำให้ตาแดง เยื่อบุในชั้นตาดำอาจถูกทำลายผิวหนังอักเสบ คัน สัมผัสเป็นเวลานานทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ 2) รังสีในช่วงคลื่นที่มองเห็นได้ คือ แสงจากหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ และหลอดไฟชนิดมีไส้ ทำให้เกิดความเมื่อยล้าของสายตา ปวดศีรษะ 3) รังสีอินฟาเรด(IR) ทำให้เกิดอันตรายต่อเกิดตกตะกอนของสารประกอบที่อยู่ในเซลล์ เป็นมากอาจตาบอด อาจทำให้ผิวหนังไหม้ได้

  48. ผลกระทบต่อสุขภาพ 4) อัลตราซาวนด์ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน Tinitusปวดหู มึนงง อ่อนเพลีย เกิดการสูญเสียการได้ยินชั่วคราว 5) เลเซอร์ ทำให้เกิดอันตรายต่อตา โดยเฉพาะส่วนกระจกตาและเลนส์ตา มีผลต่อผิวหนังที่สัมผัสทำให้เกิดตุ่ม 6) ไมโครเวฟ มีผลทำให้เกิดอันตรายต่อตา ระบบประสาทส่วนกลางและระบบสืบพันธุ์

  49. การป้องกันและควบคุม 1) ให้ความรู้กับบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับรังสีที่ไม่แตกตัว เน้นเรื่องอันตรายและการป้องกัน 2) การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายขณะทำงาน เช่น สวมแว่นตานิรภัย ป้องกัน แสง UV, แสง IR, เลเซอร์ 3) มีการตรวจสอบเครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ และการบำรุงรักษา เพื่อป้องกันการรั่วไหลของรังสี 4) ตรวจสุขภาพประจำปี โดยเน้นการตรวจตาและผิวหนัง

  50. สิ่งคุกคามสุขภาพทางชีวภาพ (Biological health hazards) หมายถึง สิ่งแวดล้อมการทำงานที่มีเชื้อจุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรีย รา ไวรัส ปาราสิต เป็นต้น ซึ่งอาจแพร่มาจากผู้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อที่มารับการรักษาพยาบาล และเกิดการแพร่เชื้อสู่ผู้ปฏิบัติงานได้

More Related