470 likes | 1.22k Views
สารผสมเพิ่ม <Admixtures>. by น.ส. อัมพิกา ภู่พันธ์ตระกูล 5110110703. Present อาจารย์สิทธิชัย พิริยคุณธร. ส่วนผสมเพิ่ม.
E N D
สารผสมเพิ่ม <Admixtures> by น.ส. อัมพิกา ภู่พันธ์ตระกูล 5110110703
Present อาจารย์สิทธิชัย พิริยคุณธร
ส่วนผสมเพิ่ม สารผสมเพิ่ม หมายถึงสารที่ใส่ลงไปในส่วนผสมคอนกรีต ไม่ว่าจะก่อนหรือในขณะผสม เพื่อช่วยปรับปรุงให้คอนกรีตสดหรือคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว ให้มีคุณสมบัติหรือคุณภาพตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
คุณสมบัติและคุณภาพต่างๆ ที่สามารถปรับปรุงได้ มีดังนี้ 1. ลดปริมาณน้ำที่ใช้ผสมคอนกรีตให้น้อยลง 2. เร่งการแข็งตัว ทำให้คอนกรีตรับแรงได้เร็วกว่าปกติ 3. หน่วงการแข็งตัว ทำให้คอนกรีตแข็งตัวช้ากว่าปกติ 4. ทำให้คอนกรีตสดมีความเหลว ไหลลื่นดี สามารถเทลงแบบหล่อได้ง่ายขึ้น 5. เพิ่มปริมาณฟองอากาศในคอนกรีต 6. ลดการเยิ้มหรือคายน้ำของคอนกรีตสด 7. ช่วยขับน้ำ หรือป้องกันการไหลซึมของน้ำผ่านคอนกรีต 8. ทำให้คอนกรีตมีความคงทนต่อซัลเฟตมากขึ้น
Air-entraining Admixtures for Concrete (ASTM C 260) สารผสมเพิ่มประเภทนี้ใช้กันมานานแล้วประมาณกว่า 60 ปี โดยใช้กันอย่างแพร่หลายในสหราชอาณาจักร สารผสมเพิ่มอื่นๆ เป็นสารผสมเพิ่มที่ยังไม่มีมาตรฐานรับรอง แต่มีการผลิตออกมาใช้งานหลายชนิด สารผสมเพิ่มตามมาตรฐาน ASTM C 618 เป็นสารผสมเพิ่มประเภทแร่ธาตุ ประเภทของ สารผสมเพิ่ม สารผสมเพิ่มตามมาตรฐาน ASTM C 494 เป็นสารผสมเพิ่มประเภทสารเคมี เป็นของเหลวละลายน้ำได้
สารผสมเพิ่มชนิดนี้ในคอนกรีต ทำให้เกิดฟองอากาศขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง ~0.05 มม. กระจายไปในเนื้อคอนกรีต ทำให้คอนกรีตมีความเหลวและไหลลื่น (Workability) เพิ่มขึ้น เทลงแบบหล่อได้ง่าย ช่วยให้คอนกรีตไม่เป็นโพรงมีความทนทานต่อสภาพอากาศเย็นจัดจนเป็นน้ำแข็ง เช่น พื้นห้องเย็น (Cold storage) หรือคอนกรีตในประเทศหนาว โดยฟองอากาศเล็กๆ เหล่านี้ทำให้น้ำในคอนกรีตสามารถขยายตัวได้ ไม่เกิดแรงดันจนคอนกรีตแตกร้าวเสียหาย ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารกักกระจายฟองอากาศในงานที่ต้องการความเรียบของผิวคอนกรีต Air-entraining Admixtures for Concrete (ASTM C 260)
ดัชนีความคงทน กำลังอัดมาตรฐาน 300 15 200 10 100 5 0 5 10 15 20 25 ปริมาณอากาศ(% โดยปริมาตร) 20 ผลของการกักกระจายฟองอากาศต่อกำลังและความคงทน
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการกระจายฟองอากาศปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการกระจายฟองอากาศ ๑.วัสดุผสมคอนกรีตและสัดส่วนเพิ่ม ส่วนละเอียด เช่น ทรายละเอียด ที่เพิ่มขึ้นจะยับยั้งการเกิดฟองอากาศ ปริมาณของฟองอากาศจะเพิ่มขึ้นโดยลดขนาดของหิน สัดส่วนของทราย ทรายที่ได้จากการบดหินจะยับยั้งการเกิดฟองอากาศ การใช้ส่วนผสมอื่นๆ ร่วมกับการกักกระจายฟองอากาศจะต้องทำอย่างระมัดระวัง ๒. การผสมและการจี้เขย่า ถ้าจี้เขย่ามากเกินไปจะส่งผลให้ปริมาณฟองอากาศลดลง - คอนกรีตที่มีความสามรถเทได้ต่ำมากจะก่อให้เกิดฟองอากาศได้ยากมากและปริมาณฟองอากาศเพิ่มขึ้นเมื่อความสามารถในการเทได้มากขึ้น ๓. สภาพแวดล้อม - ปริมาตรฟองอากาศในคอนกรีตจะผกผันกับอุณหภูมิ เมื่ออุณหภูมิสูงจาก 10oc เป็น 32ocปริมาณฟองอากาศลดลงประมาณ 50 %
Type A Water Reducing Admixtures Type BRetarding Admixtures Type C Accelerating Admixtures Type D Water-Reducing and Retarding Admixtures ประเภทสารผสมเพิ่มตามมาตรฐาน ASTM C 494 Type G High Range Water Reducing and Retarding Admixtures Type E Water Reducing and Accelerating Admixtures Type F High Range Water Reducing Admixtures
ใช้สำหรับลดปริมาณน้ำในการผสมคอนกรีต โดยความข้นเหลวยังคงเดิม มีผลให้คอนกรีตแข็งแรงเพิ่มขึ้น กลับกันถ้าให้ปริมาณน้ำคงเดิม จะมีผลให้คอนกรีตสดมีความข้นเหลวเพิ่มขึ้น ทำให้การเทคอนกรีตลงแบบได้ดีขึ้น เพื่อ • เพื่อให้ได้กำลังคอนกรีตเพิ่มขึ้นจากการลด w/c ratio • เพิ่มความข้นเหลวแก่คอนกรีตสด ทำให้การเท การหล่อคอนกรีตง่ายขึ้น • ลดปริมาณการใช้ปูนซีเมนต์ เนื่องจากเราสามารถเพิ่มปริมาณหิน-ทรายได้ โดยความข้นเหลวยังคงเดิม • สารผสมเพิ่มนี้ทำให้ลดการใช้น้ำลง ~5% - 15% กำลังคอนกรีตเพิ่มขึ้น ~10%-20% ส่วนใหญ่ผลิตจากกรดหรือเกลือ Lignosulphonic (LSN) หรือ เป็นเกลือของกรด Hydroxylated carboxylic acid (HCA) Type A Water Reducing Admixtures
ผิวหน้าที่น้ำเยิ้มขึ้นมาผิวหน้าที่น้ำเยิ้มขึ้นมา คอนกรีตที่ใช้ปริมาณน้ำมากเกินไป น้ำส่วนเกิน ถ้ามีมากเกินไปจะผลเสียต่อคอนกรีต คือ เกิดการเยิ้มของน้ำขึ้นมาที่ผิวหน้ามาก เกิดการแยกตัว กำลังอัดต่ำลง เกิดการหดตัว ทำให้เกิดรูพรุน มีผลทำให้คอนกรีตขาดความทนทาน
Type B Retarding Admixtures เป็นสารผสมเพิ่มสำหรับใช้หน่วงปฏิกิริยา Hydration ทำให้คอนกรีตสดก่อตัวและแข็งตัวช้าลง จุดประสงค์ เพื่อ 1. สำหรับงานเทคอนกรีตในสภาพอากาศร้อน 2. ต้องส่งคอนกรีตผสมเสร็จไปยังงานก่อสร้างที่อยู่ไกล หรือต้องใช้เวลานานในการขนส่ง 3. เทคอนกรีตปริมาณมากๆ ซึ่งจะช่วยลดความร้อนจากปฏิกิริยา เพื่อให้ความร้อนมีเวลาระบายออกก่อนคอนกรีตแข็งตัว หรือต้องการให้การเทคอนกรีตต่อเนื่องเป็นเนื้อเดียวกัน 4. สำหรับกรณีลำเลียงคอนกรีตด้วยเครื่องปัมพ์ สารผสมเพิ่มเหล่านี้ได้แก่ เกลือของกรด LSN หรือเกลือของกรด HCA ซึ่งสารเหล่านี้มีคุณสมบัติในการลดน้ำด้วย
ความรู้เพิ่มเติม..................ความรู้เพิ่มเติม.................. Concrete Pump ปั๊มคอนกรีต คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการลำเลียงคอนกรีตชนิดหนึ่ง โดยในปัจจุบันได้มีบทบาทในการลำเลียงคอนกรีต โดยเข้ามาทดแทนรถเข็น ลิฟท์ สายพานลำเลียงและวิธีการลำเลียงอื่นๆ ทั้งนี้เนื่องจากปั๊มคอนกรีตสามารถตอบสนองความต้องในการเทคอนกรีตในที่สูงหรือในที่ที่มีอุปสรรค ยากต่อการเทคอนกรีตโดยวิธีอื่น รวมทั้งยังให้ความสะดวกรวดเร็วในการเทคอนกรีตเมื่อเทียบกะวิธีอื่นด้วย
Type C Accelerating Admixtures เป็นสารที่เร่งปฏิกิริยา Hydration ทำให้คอนกรีตสดแข็งตัวเร็วขึ้น จุดประสงค์ของการให้คอนกรีตแข็งตัวเร็วขึ้น เพื่อ 1. สำหรับงานเร่งด่วน เพื่อสามารถเปิดใช้งานได้ทันเวลา 2. สำหรับคอนกรีตที่ต้องการถอดแบบเร็ว 3. สำหรับงานหล่อคอนกรีตในประเทศที่มีอุณหภูมิต่ำ ซึ่งปฏิกิริยา Hydration จะช้ามาก สารผสมเพิ่มประเภทนี้ ได้แก่ แคลเซียมคลอไรด์ อลูมิเนียมคลอไรด์ โปตัสเซียมคาร์บอเนต โซเดียมฟลูออไรด์ โซเดียมอลูมิเนต และโซเดียมซิลิเกต สารผสมเพิ่มประเภทคลอไรด์ เป็นสารผสมเพิ่มที่หาง่ายและราคาถูก ทำให้คอนกรีตแข็งตัวเร็ว เพิ่มความต้านทานต่อการขัดสี ส่วนข้อเสีย คือ ลดความต้านทานต่อการกัดกร่อนของสารซัลเฟต ทำให้คอนกรีตมีการหดตัวเพิ่มขึ้น และอาจทำให้เหล็กเสริมเป็นสนิมได้
Type D Water-Reducing and Retarding Admixtures สารผสมเพิ่มประเภทนี้ มีคุณสมบัติลดน้ำที่ใช้ในการผสมคอนกรีต และขณะเดียวกันจะหน่วงปฏิกิริยา Hydration ด้วย สารผสมเพิ่มเหล่านี้ได้แก่ เกลือของกรด LSN หรือเกลือของกรด HCA ซึ่งมีคุณสมบัติในการลดน้ำและหน่วงปฏิกิริยาด้วย
Type E Water Reducing and Accelerating Admixtures สารผสมเพิ่มประเภทนี้ มีคุณสมบัติในการลดน้ำที่ใช้ในการผสมคอนกรีต และขณะเดียวกันจะเร่งปฏิกิริยา Hydration ด้วย
Type F High Range Water Reducing Admixtures (Super plasticizer) เป็นสารผสมเพิ่มชนิดลดน้ำปริมาณมาก โดยสามารถลดปริมาณน้ำในการผสมคอนกรีตลงได้ ~15% - 30% ทำให้คอนกรีตมีกำลังเพิ่มขึ้น ~20% - 40% แต่ระยะเวลาการก่อตัวและแข็งตัวเร็วมาก (30 - 60 นาที) ดังนั้น จะต้องวางแผนงานในการเทและแต่งผิวให้ทันเวลา สารผสมเพิ่มชนิดนี้ ได้แก่ สารประกอบของเกลือ Sulphonated melamine formaldehyde condensates หรือ สารประกอบของเกลือ Sulphonated naphthalene formaldehyde condensates
Type G High Range Water Reducing and Retarding Admixtures (Super plasticizer) เป็นสารผสมเพิ่มเช่นเดียวกับ Type F แต่มีคุณสมบัติในการหน่วงปฏิกิริยา Hydration ด้วย เป็นสารเคมีประเภท naphthalene sulphonate ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานคอนกรีตกำลังสูง (HSC)
ความรู้เพิ่มเติม.... ศักยภาพของการใช้ MK ในงานซ่อมแซมและงานคอนกรีตกำลังสูง สำหรับคอนกรีตผสม MK จากการศึกษานี้เมื่อเปรียบเทียบโดยพิจารณา W/B และปริมาณการแทนที่ การแทนที่ด้วยปริมาณ MK 20% ให้ผลดีที่สุดในด้านกำลังดังในรูปที่ 2 แต่เมื่อพิจารณาในด้านความต้านทานการซึมผ่านของคลอไรด์ MK คอนกรีตทุกปริมาณการแทนที่ให้ค่าอยู่ในช่วงต่ำกว่าถึงต่ำมากซึ่งแสดงถึงประสิทธิภาพของ MK ในการปรับปรุงโครงสร้างภายในที่ทึบแน่นมากขึ้นเมื่อเทียบกับคอนกรีตผสมซิลิก้าฟูมและคอนกรีตกำลังสูงซึ่งใช้สารลดน้ำปริมาณสูงตามเกณฑ์ปกติซึ่งจัดอยู่ในระดับปานกลาง และระดับสูง ดังจะเห็นได้จากภาพถ่ายซึ่งไม่ปรากฏระดับการซึมของคลอไรด์ของ MK คอนกรีตเมื่อเทียบกับคอนกรีตปกติดังในรูปที่ 2
เนื่องจากสารผสมเพิ่มประเภท ASTM C 494 นี้เป็นสารอินทรีย์เคมี จึงมีอายุการใช้งาน ดังนั้น ผู้ที่จะนำไปใช้จึงควรตรวจสอบว่าสารผสมเพิ่มนั้นหมดอายุหรือเสื่อมคุณภาพหรือไม่ และก่อนใช้งานจริงจะต้องทดลองผสมดูปริมาณของสารผสมเพิ่มที่ใช้ว่าเหมาะสมเพียงไร
ตารางที่ 5.1 ข้อกำหนดของสารผสมเพิ่มตามมาตรฐาน ASTM C 494
สารผสมเพิ่มตามมาตรฐาน ASTM C 618 เป็นสารผสมเพิ่มประเภทแร่ธาตุ (Mineral Admixture) ชนิดหนึ่ง เป็นสารประกอบออกไซด์ของซิลิกอน (SiO2) ซึ่งเป็นขี้เถ้าที่เกิดจากการเผาเชื้อเพลิง เช่น เถ้าถ่านหิน เถ้าภูเขาไฟ หรือได้จากการเผาดินเหนียวหรือดินดาน สารผสมเพิ่มชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า Pozzolan วัสดุผสม ปอซโซลานจะทำปฏิกิริยากับแคลเซียมไฮดรอกไซด์ ที่อยู่ในซีเมนต์เพสต์ เกิดเป็นสารประกอบใหม่ที่มีคุณสมบัติในการเชื่อมประสาน ดังสมการ 2C3S + 6H C3S2H3 + 3Ca(OH)2 2C2S + 4H C3S2H3 + Ca(OH)2 3Ca(OH)2 + 2SiO2 3CaO.2SiO2.3H2O สารปอซโซลานถูกนำมาใช้เป็นสารผสมเพิ่ม เพื่อลดความร้อนจากปฏิกิริยา Hydration เนื่องจากเป็นตัวหน่วงปฏิกิริยากับน้ำ จึงทำให้ความร้อนออกมาน้อย กำลังในช่วงต้นต่ำ แต่กำลังในระยะหลังจะมากกว่าปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา นอกจากนี้ ยังมีคุณสมบัติทนทานต่อการกัดกร่อนของสารซัลเฟตได้ดีอีกด้วย
Non-Shrink Admixture Silica Fume or Micro-silica Gas Forming Admixtures สารผสมอื่นๆ Floor Hardener Pumping Aid Floor Hardener
Gas Forming Admixtures เป็นสารผสมเพิ่มที่ทำให้เกิดฟองอากาศขนาดใหญ่ขึ้นในเนื้อคอนกรีต จุดประสงค์เพื่อผลิตคอนกรีตน้ำหนักเบา หรือคอนกรีตที่เป็นฉนวนความร้อน สารผสมเพิ่มที่ใช้ได้แก่ ผงสังกะสี หรือ ผงอลูมิเนียม ซึ่งจะให้ก๊าซไฮโดรเจนเมื่อทำปฏิกิริยากับแคลเซียมไฮดรอกไซด์ในซีเมนต์เพสต์ ทำให้เกิดฟองอากาศขึ้นในเนื้อคอนกรีต 2 Al + 3Ca(OH)2 Al2O3 + 3CaO + 3H2 2 Zn + 3Ca(OH)2 Zn2O3 + 3CaO + 3H2
ซิลิก้าฟูม หรือ ไมโครซิลิก้า (Silica Fume or Micro-silica) เป็นสารผสมเพิ่มแบบแร่ธาตุ (Mineral admixture) ได้จากกระบวนการผลิต Silicon metal หรือ Ferrosilicon alloy ลักษณะเป็นผงมีความละเอียดสูงมาก ขนาดเล็กกว่าปูนซิเมนต์ ~70-100 เท่า ผลของการใช้สารผสมเพิ่มชนิดนี้ คือ 1. ลดการเยิ้ม (Bleeding) และการแยกตัว (Segregation) ของคอนกรีตสด 2.เพิ่มกำลังอัดของคอนกรีตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว 3.เพิ่มความหนาแน่นให้คอนกรีต ทำให้คอนกรีตมีความทนทานมากขึ้น และเพิ่มความทึบน้ำของคอนกรีต ผู้ใช้สามารถใช้สารผสมเพิ่มซิลิก้าฟูมผสมคอนกรีตได้ 2 ลักษณะ คือ 1. ใช้ซิลิก้าฟูมในลักษณะที่เป็นของแข็งใส่ลงไปในขณะที่ผสมคอนกรีต 2.ใช้ซิลิก้าฟูมในลักษณะที่เป็นของเหลว โดยนำไปละลายกับน้ำที่ใช้ผสมคอนกรีต ในอัตราส่วน 50 : 50 ปริมาณการใช้ซิลิก้าฟูมอยู่ระหว่าง 7 - 10 % โดยน้ำหนักของปูนซีเมนต์
ซิลิก้าฟูม ซิลิก้าฟูมสำเร็จรูป
ข้อควรระวังในการใช้สารผสมเพิ่มซิลิก้าฟูมข้อควรระวังในการใช้สารผสมเพิ่มซิลิก้าฟูม 1.คอนกรีตที่ใส่สารผสมเพิ่มซิลิก้าฟูม จะสูญเสียความสามารถเทได้ไปมาก ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ควบคู่กับสารผสมเพิ่ม Super plasticizer เพื่อเพิ่มความข้นเหลวของคอนกรีตสด 2.คอนกรีตที่ใส่สารผสมเพิ่มซิลิก้าฟูม มีแนวโน้มจะเกิดการแตกร้าวเนื่องจากการหดตัวมากกว่าคอนกรีตปกติ ดังนั้นจึงควรหาวิธีป้องกัน ด้วยการใช้เส้นใยบางอย่าง เช่น Polypropylene, PP หรือ ใยเหล็ก (Steel fibers) ซึ่งจะช่วยให้คอนกรีตมีความต้านทานต่อแรงดึงดีขึ้น ลดการแตกร้าวเนื่องจาก Plastic shrinkage ได้ 3. สารกันซึม (Water Proofing Admixture) เป็นสารผสมเพิ่มที่ช่วยให้คอนกรีตมีความทึบน้ำ ป้องกันการไหลซึมของน้ำผ่านคอนกรีต เหมาะสำหรับงานโครงสร้างคอนกรีตกักเก็บน้ำ หรือป้องกันน้ำ เช่น ถังเก็บน้ำ สระน้ำ อุโมงค์ ห้องใต้ดิน ดาดฟ้า ฯลฯ
สารไม่หดตัว (Non-Shrink Admixture) เป็นสารผสมเพิ่มที่ใช้เพื่อลดการหดตัวของซีเมนต์เพสต์ ส่วนใหญ่ใช้เป็นวัสดุอุดช่องว่างเรียกว่า Non-shrink grouting materials ตัวอย่างเช่น ใช้อัดหรือฉีดเข้าในรอยร้าวของเนื้อหินใต้ฐานเขื่อน ใช้อุดซ่อมรูโพรงในเนื้อคอนกรีต ใช้อุดช่องว่างระหว่างฐานคอนกรีตกับแท่นเครื่องจักร ใช้อุดรูยึดน๊อตเครื่องจักรกับฐานคอนกรีต
สารเพิ่มความแข็งให้ผิวคอนกรีต (Floor Hardener) เป็นสารที่ใช้โรยบนผิวหน้าคอนกรีตสดในขั้นตอนที่ทำการแต่งผิวหน้าเพื่อให้ผิวหน้าคอนกรีตมีความแข็งต่อการขัดสีจากการใช้งานหนัก เหมาะสำหรับพื้นคอนกรีตโรงงาน โรงซ่อมเครื่องจักร คลังสินค้า ฯลฯ
สารเพิ่มความแข็งให้ผิวคอนกรีต (Floor Hardener) เป็นสารผสมเพิ่มที่ช่วยให้การยึดเกาะระหว่างคอนกรีตเก่าและคอนกรีตใหม่หรือระหว่างคอนกรีตกับเหล็กเสริม หรือระหว่างคอนกรีตเก่ากับคอนกรีตเก่า สารชนิดนี้ส่วนใหญ่ทำมาจาก Polymer latex
สารช่วยการลำเลียงคอนกรีตด้วยปั๊ม (Pumping Aid) เป็นสารผสมเพิ่มที่ช่วยให้คอนกรีตสด ไหลผ่านเครื่องปั๊มและท่อส่งได้ง่ายและไม่เกิดการแยกตัวของซีเมนต์เพสต์ สารชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นผงที่ละลายน้ำได้ เป็นสารที่เรียกว่า polyethylene oxide polymer
ข้อควรระวังในการใช้สารผสมเพิ่มข้อควรระวังในการใช้สารผสมเพิ่ม ได้แก่ 1 สามารถปรับปรุงส่วนผสมคอนกรีตธรรมดาให้ได้คุณสมบัติตามที่ต้องการได้หรือไม่ 2 สามารถใช้ปูนซีเมนต์พิเศษที่ผลิตขายในท้องตลาดมาผลิตคอนกรีตเพื่อให้ได้คุณสมบัติตามที่ต้องการได้หรือไม่
กรณีที่จำเป็นต้องใช้สารผสมเพิ่มช่วยปรับปรุงคุณสมบัติของคอนกรีต ผู้ใช้จะต้องเตรียมการต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. ศึกษาคู่มือที่ผู้ผลิตแนะนำวิธีการใช้ เพื่อทราบผลข้างเคียงจากการใช้สารผสมเพิ่มนั้น 2. ตรวจสอบว่าสารผสมเพิ่มนั้นเสื่อมคุณภาพหรือหมดอายุใช้งานหรือไม่ 3. ปริมาณหรือความเข้มข้นของสารผสมเพิ่มที่ใช้ในการผสมคอนกรีต 4. ทดลองทำการผสมคอนกรีตและหาสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้ได้คอนกรีตที่มีคุณสมบัติตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
อ่างอิง http://www.rdi.ku.ac.th/Techno_ku60/res-83/index83.html: สุวิมล สัจจวาณิชย์ เจริญวุฒิ ปัญญานุสรณ์กิจ และ จิรวัฒน์ สุวรรณพฤกษ์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ http://www.highpump.co.th/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=4&Id=539007271 ข้อมูลจากศูนย์วิชาการคอนกรีตซีแพค http://www.ce.eng.psu.ac.th/civil/filedownload_Sitichai.php เอกสารสำหรับ นักศึกษา . อาจารย์ สิทธิชัย พิริยคุณธร ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์