60 likes | 269 Views
( Service Plan). แนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบ บริการโดย ใช้กลไก พบส. พบส : หมายถึง.
E N D
( Service Plan) แนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบบริการโดยใช้กลไก พบส.
พบส : หมายถึง • การพัฒนาระบบบริหารจัดการเครือข่ายบริการสุขภาพ เป็นกลไกความร่วมมือและช่วยเหลือกันในการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพระหว่างสถานบริการสุขภาพทุกระดับตั้งแต่ รพศ./รพท/รพช/รพ.สต. แบบพี่-น้องช่วยกัน ให้สามารถเชื่อมโยงระบบบริการสุขภาพทุกระดับ ในการดำเนินการตาม Service Plan ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้รับบริการ
แนวทางปฏิบัติดังต่อไปนี้แนวทางปฏิบัติดังต่อไปนี้ • เครือข่ายบริการสุขภาพจัดให้มีโครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาเครือข่ายบริการให้ชัดเจนทั้งระดับเครือข่ายบริการ /จังหวัด โดยมีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เป็นเจ้าภาพ หลัก รพศ./รพท. เป็นแม่ข่าย ในเครือข่ายวิชาชีพและเครือข่ายกลุ่มโรค 10 สาขา • ให้ทุกเครือข่ายใช้กิจกรรมการพัฒนาแบบเครือข่าย พบส. ภายใต้ Concept “พี่-น้องช่วยกัน” เพื่อชาวบ้านได้ประโยชน์
โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ • 2.1 เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ของสถานบริการทุกระดับ (รพศ/รพท.รพช./รพ.สต.)ในเครือข่าย/จังหวัด/พวงบริการ โดยเน้นการสร้างวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดร่วมมือกันในการทำงาน ภายใต้ Concept “พี่-น้องช่วยกัน” เพื่อชาวบ้านได้ประโยชน์ • 2.2 เพื่อแบ่งเบาภาระงานของรพศ./รพท./รพช./รพ.สต.และงานในชุมชน โดย เชื่อมโยงการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้าน ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสุขภาพ แบบครบวงจร • 2.3 เพื่อใช้ประโยชน์ในการจัดสรรทรัพยากรตามภาระงาน ที่พี่น้องได้ตกลงกัน ใน Service Achievement Plan • 2.4 เพื่อพัฒนา Better Service และMore Efficiency ให้เกิดขึ้น ในระบบบริการสุขภาพตาม Service Plan
ขั้นตอนการดำเนินการ จัดทำแผน 3 ด้าน ได้แก่ • 1. ด้านบริหาร หมายถึง การร่วมมือและช่วยเหลือกันด้านบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆรวมทั้งกำลังคน เช่นการสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็น โดยการให้ยืม แลกเปลี่ยน การใช้ร่วมกัน การให้คำปรึกษาด้านต่างๆ เป็นต้น • 2. ด้านบริการ หมายถึง การร่วมมือและช่วยเหลือกันด้านระบบบริการในเครือข่าย เช่น การส่งแพทย์/พยาบาล จาก รพศ./รพท. ออกตรวจใน รพช. การส่งต่อผู้ป่วยจากรพศ./รพท. ไป รพช. ในการดูแลต่อก่อน Dischageผู้ป่วยกลับบ้าน เพื่อลดความแออัดของรพศ./รพท. การส่งต่อผู้ป่วย การบริการหน่วยจ่ายกลาง การตั้งศูนย์ Lab บริการ ฯลฯ • 3. ด้านวิชาการ หมายถึงความร่วมมือและช่วยเหลือกันด้านวิชาการในเครือข่าย เช่น การจัดอบรมความรู้ด้านต่างๆ ที่จำเป็น การอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากร การจัดประชุมวิชาการประจำปี การสนับสนุนแนวทาง/คู่มือ การเปิดช่องทางการหารือ ด้านวิชาการ เป็นต้น