640 likes | 1.05k Views
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา Personal Income Tax. จิตรา ณีศะนันท์ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี. 5 หัวข้อหลัก. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี หลักการจัดเก็บภาษีเงินได้ ฐานภาษี วิธีการเสียภาษี การอุทธรณ์. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี.
E N D
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาPersonal Income Tax จิตรา ณีศะนันท์ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี
5 หัวข้อหลัก • ผู้มีหน้าที่เสียภาษี • หลักการจัดเก็บภาษีเงินได้ • ฐานภาษี • วิธีการเสียภาษี • การอุทธรณ์
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี • ม.56 วรรคแรก “ให้บุคคลทุกคน... ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว…” • ม. 56 วรรคสอง “…กรณีห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่บุคคลนิติบุคคล…” • ม. 57ทวิ วรรคแรก “ถ้าผู้มีเงินได้…ตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง ถึงแก่ความตายก่อนที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง” • ม.57ทวิ วรรคท้าย “…ถ้ากองมรดกของผู้ตายยังมิได้แบ่ง…”
ม.56 วรรคแรก • บุคคลธรรมดา • บุคคลที่บรรลุนิติภาวะ • ผู้เยาว์ • คนไร้ความสามารถ • คนเสมือนไร้ความสามารถ • คนพิการ มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษี
ม. 56 วรรคสอง • ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล • คณะบุคคล ในทางภาษี ถือเป็นหน่วยภาษี (Tax Unit/Entity) ที่แยกต่างหากจากผู้ที่มาร่วมเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียนเป็น นิติบุคคล หรือคณะบุคคล
ม. 57 ทวิ วรรคแรก • ผู้ถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี (ปีปฎิทิน) หรือถึงแก่ความตายก่อนการยื่นแบบฯ (31 มีนาคม ของทุกปี)
ม.57 ทวิ วรรคท้าย • กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ ในการยื่นแบบแสดงรายการ เช่น ม.56 วรรค 2 ม.57 ม.57 ทวิ ม.57 ตรี (ดู ม.57 เบญจ ประกอบ)
หลักการจัดเก็บภาษีเงินได้หลักการจัดเก็บภาษีเงินได้ • หลักสัญชาติ (Nationality/ Citizen Rule) • หลักถิ่นที่อยู่ (Residence Rule) Worldwide Income Basis • หลักแหล่งเงินได้ (Source Rule) Territory Income Basis
หลักถิ่นที่อยู่ (Residence Rule) • ม.41 วรรคสาม: 180 วัน = เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย • ม.41 วรรคสอง: ผู้อยู่ในประเทศไทยและมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 เนื่องจาก • หน้าที่งานที่ทำในต่างประเทศ • กิจการที่ทำในต่างประเทศ • ทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ มีหน้าที่นำเงินได้ดังกล่าวมาเสียภาษีในประเทศไทย นำเงินได้เข้ามาในประเทศไทย
หลักถิ่นที่อยู่ (Residence Rule)-2 • ผู้มีเงินได้เกิดจากแหล่งนอกประเทศในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว จะต้องเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทย ก็ต่อเมื่อเข้าองค์ประกอบ 2 ประการ คือ • เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยในปีภาษีนั้น และ • นำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีนั้นด้วย (กค.0802/696 ลว 1 พค. 2530)*
หนังสือกรมฯที่ กค.0802/696 ลว. 1 พค.2530 • ม.41วรรค 2 ไม่ได้บัญญัติว่าต้องเป็นการนำเงินได้เข้ามาในประเทศไทยเมื่อใดจึงจะต้องเสียภาษี แต่กรมฯได้ตีความเป็นประโยชน์แก่ผู้เสียภาษี จึงตีความว่า ต้องเป็นการนำเงินเข้ามาในปีภาษีเดียวกันกับที่เงินได้เกิดขึ้นจึงจะเสียภาษีในประเทศไทย การวางแผนภาษี
ปุจฉา • บริษัทอังกฤษว่าจ้างนายแดงให้ทำงานในประเทศอังกฤษ โดยให้สำนักงานสาขาในไทยจ่ายเงินเดือนเข้าบัญชี ธ.กรุงไทยสาขาพหลโยธิน นายแดงทำงานในประเทศอังกฤษตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.50 จนถึง 30 เม.ย.51 นายแดงต้องเสียภาษีฯสำหรับปีภาษี 2550 หรือไม่ • นายแดงมีเงินได้ในต่างประเทศหรือไม่ • นายแดงเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ • นายแดงนำเงินเข้ามาในประเทศไทยหรือไม่
ปุจฉา-2 • ภราดรภาพเป็นนักกีฬาอาชีพพักอาศัยอยู่ในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1 ม.ค.51 –30 เม.ย. 51 ทำการแข่งขันที่ประเทศบราซิล และวันที่ 1 ก.ค.51 – 31 ส.ค. 51 ทำการแข่งขันที่ประเทศจีน และได้รับเงินรางวัลทั้งสิ้น 5 ล้านบาท และฝากเงินรางวัลไว้ใน ธ.สวิสเซอร์แลนด์ และโอนเงินเข้า ธ. กสิกรไทยเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 52 จะต้องเสียภาษีในประเทศไทยหรือไม่
ปุจฉา-3 • วันที่ 1 ม.ค. – 31 พ.ค. 2550 นาย ก เปิดร้านอาหารไทยในญี่ปุ่น มีรายได้ 5 ล้านบาทและโอนเงิน 3 ล้านบาท มาเข้าบัญชีเงินฝากของ ก ในประเทศไทย • วันที่ 1 มิ.ย. –31 ก.ค. 2550 ก เดินทางกลับและอยู่ประเทศไทย แต่ร้านอาหารยังคงเปิดดำเนินการอยู่และมีรายได้ 200,000 บาท • วันที่ 1 ส.ค. –31 ธ.ค. 2550 เดินทางกลับไปญี่ปุ่นและมีรายได้จากร้านอาหารอีก 4 ล้านบาท ? นาย ก ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทยหรือไม่
หลักแหล่งเงินได้ (Source Rule) • มาตรา 41 วรรคแรก • มีเงินได้ เนื่องจาก หน้าที่งานที่ทำในประเทศไทย • มีเงินได้ เนื่องจาก กิจการที่ทำในประเทศไทย • มีเงินได้ เนื่องจาก กิจการของนายจ้างในประเทศไทย* • มีเงินได้ เนื่องจาก ทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย
หลักแหล่งเงินได้ (Source Rule)-3 • มีเงินได้ เนื่องจาก กิจการของนายจ้างในประเทศไทย* • ตั้งแต่ปี 2539 กรมฯมีแนวว่าหากนายจ้างในประเทศไทยเป็นผู้จ่ายเงินได้ให้แก่ลูกจ้างหรือผู้รับจ้าง ให้ถือว่าเป็นเงินได้เนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย • หากสาขา NY เป็นผู้จ่ายเงินเดือนให้นายบุญมี เงินได้ดังกล่าวไม่เป็นเงินได้ที่เกิดในประเทศไทย แต่ถ้าสนญเป็นผู้จ่ายเงินเดือนให้นายบุญมี ให้ถือว่านายบุญมีมีแหล่งเงินได้ในประเทศไทย และต้องเสียภาษีในประเทศไทย
หลักแหล่งเงินได้ (Source Rule)-4 • หนังสือกรมฯที่ กค.0811/ก.1171 ลว 2 ต.ค. 2543 $$$ สาขา-สหภาพพม่า สนญ-ไทย $$ เมื่อสาขาขอให้สนญ. ทดรองจ่ายเงินเดือนให้แก่ผู้จัดการสาขา เงินเดือนส่วนที่ สนญ ทดรองจ่ายไปก่อนนั้น สนญ.มีหน้าที่หักภาษีฯ ฯที่จ่ายตาม ม.50(1) หรือไม่
หลักแหล่งเงินได้ (Source Rule)-5 • มีเงินได้ เนื่องจาก กิจการของนายจ้างในประเทศไทย* • ก่อนปี 2539 กรมฯมีแนวว่าหากเป็นการทำงานให้แก่กิจการในต่างประเทศของนายจ้าง ไม่มีหน้าที่เสียภาษีในประเทศไทย เช่นสนญ. ส่งนายบุญมีไปเป็นผู้จัดการประจำสาขา NY เงินเดือนที่นายบุญมีได้รับไม่ว่าจะจ่ายโดยสนญ หรือสาขา ไม่ต้องเสียภาษีในไทย
หลักแหล่งเงินได้ (Source Rule)-6 • มีเงินได้ เนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย • ลูกจ้างทำงานในต่างประเทศ ให้แก่นายจ้างในประเทศไทย • หากนายจ้างนำเงินได้ที่ลูกจ้างได้รับจากการทำงานในต่างประเทศมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีของนายจ้างในประเทศไทย • เงินได้ของลูกจ้างถือได้ว่าเป็นเงินได้จากแหล่งเงินได้ในประเทศไทย
หลักแหล่งเงินได้ (Source Rule)-7 มีเงินได้ เนื่องจาก ทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ชาวต่างชาติขายหุ้นปตท. และมีกำไรจากการขายดังกล่าว กำไรนี้เป็นเงินได้ที่มีแหล่งเงินได้ในประเทศไทย เนื่องจากเป็นเงินได้ที่เกิดจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย แต่การซื้อขายหุ้นที่กระทำในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้รับยกเว้น (ม.42(17)) ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)
ปุจฉา ? นักมวยชาวต่างชาติเข้ามาชกมวยเพื่อป้องกันตำแหน่งในประเทศไทยแล้วได้รับค่าตัวต้องเสียภาษีให้แก่ประเทศไทยหรือไม่ ? นาตาลีได้รับเงินค่าโชว์ตัว 5 ล้าน โดย 4 ล้านได้รับจากการโชว์ตัวในต่างประเทศ และ 1 ล้านได้รับจากการโชว์ตัวในประเทศไทย
ปุจฉา-2 ? มิสเตอร์ PK มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 50 และสอนภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับค่าสอนเดือนละ 100,000 และในวันที่ 30 ธ.ค. 50 จึงเดินทางกลับไปยังสหรัฐอเมริกา เงินค่าสอนที่ได้รับนั้นต้องเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทยหรือไม่
ฐานภาษี • ความหมายของเงินได้พึงประเมิน • ประเภทของเงินได้พึงประเมิน • เงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี • เมื่อใดจึงจะถือว่ามีเงินได้เกิดขึ้น • ค่าใช้จ่าย และ • ค่าลดหย่อน
เงินได้พึงประเมิน (ม.39) • เงิน • ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน • ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณเป็นเงิน • เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ • เครดิตภาษี (ม.47ทวิ) เกณฑ์เงินสด
เงินได้พึงประเมิน (ม.39)-2 • เงิน • เงินสด เงินบาท เงินสกุลอื่นๆ ที่ได้รับจริงในปีภาษี ?? ถ้าได้รับเงินเดือนเป็นเงินตราต่างประเทศ
เงินได้พึงประเมิน (ม.39)-3 • ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ? ถ้าลูกจ้างโบนัสจากบริษัท โดยได้สิทธิในการซื้อหุ้นของบริษัทในมูลค่าต่ำกว่าราคาตลาด จะคำนวณเป็นเงินได้อย่างไร
เงินได้พึงประเมิน (ม.39)-4 • ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณเป็นเงิน • สวัสดิการบ้านพักของบริษัท (ป.23/2533 ลว 26 เม.ย. 2533) • สวัสดิการอาหารกลางวัน (กค.0802/5621 ลว 25 มี.ค. 2531)
เงินได้พึงประเมิน (ม.39)-5 • เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ • ค่าภาษีที่ออกแทน ให้ถือเป็นเงินได้ประเภทเดียวกับเงินได้ที่ได้รับการออกภาษีแทนให้และให้ถือเป็นเงินได้ในปีภาษีเดียวกันกับเงินได้ที่มีการออกแทนให้ (คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.7/2528)
เงินได้พึงประเมิน (ม.39)-6 • เครดิตภาษี (ม.47ทวิ) ?บริษัทไทยมีกำไร 1 ล้านบาท เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 30% กำไรหลังหักภาษีฯ จำนวน 700,000 บาท ประกาศจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น เงินได้พึงประเมินของผู้ถือหุ้นเป็นเท่าใด
วิสัชนา เงินได้พึงประเมินของผู้ถือหุ้น: • เงินปันผล (ม.40(4)(ข)) 700,000 • เครดิตภาษี 700,000* 30 300,000 100 - 30
ประเภทของเงินได้พึงประเมิน (ม.40) • (1) เงินได้ เนื่องจากการจ้างแรงงาน • (2) เงินได้ เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือการรับทำงานให้ • (3) เงินได้จากค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าสิทธิ และเงินปี • (4) เงินได้จากเงินลงทุน • (5) เงินได้ เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน ผิดสัญญาเช่าซื้อหรือการซื้อขายเงินผ่อน
ประเภทของเงินได้พึงประเมิน (ม.40)-2 • (6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ • (7) เงินได้จากการรับเหมาทั้งค่าแรงและค่าของ • (8) เงินได้จากการประกอบธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่นๆ นอกจากที่ระบุไว้ใน (1)-(7)
มาตรา 40 (1) • เงินได้ เนื่องจากการจ้างแรงงาน • สัญญาจ้างแรงงาน : นายจ้าง-ลูกจ้าง • เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จบำนาญ • เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง • เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ซึ่งนายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า • เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ • เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เช่น มูลค่าของการได้รับประทานอาหาร
มาตรา 40 (2) • เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ • สัญญาจ้างทำของ • ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด • เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส • เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับเนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ • เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า • เงินที่ผู้จ่ายเงินได้ชำระหนี้ใดๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ • เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่งานหรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับจ้างทำการให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงานหรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว
มาตรา 40 (3) • เงินได้จากค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าสิทธิ และเงินปี • ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ (Goodwill): ค่าความนิยม เป็นผลมาจากการที่ประกอบธุรกิจด้วยความยุติธรรม มีคุณภาพดีจนเป็นที่เชื่อถือและวางใจของลูกค้า • ค่าสิทธิ (Royalty): ค่าตอบแทนการให้อนุญาตให้ใช้ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) เช่น ค่าตอบแทนการอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Copy-right) สิทธิบัตร(Patent) เครื่องหมายการค้า (Trademark) • เงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล
ปุจฉา ?เงินได้จากการขายหนังสือ การขายแผ่นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การขายแผ่นเพลง เป็นเงินค่าสิทธิตามมาตรา 40(3) หรือไม่ ? การขายสินค้าดิจิตอล เช่น ภาพยนตร์ บนwebsite โดยไม่มีการจัดส่งสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ เงินได้จากการขายนี้เป็นค่าสิทธิตามมาตรา 40(3) หรือไม่ ? ค่าตอบแทนที่ได้จากการรับจ้างเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(3) หรือไม่ (ฎ.12466/2547)
มาตรา 40 (4) (ก)ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม(ไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่) หรือผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน (ข)เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กองทุนรวม หรือสถาบันการเงิน* (ค)เงินโบนัสที่จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
มาตรา 40 (4)-2 (ง)เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน (จ)เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งจากกำไรที่ได้มาหรือรับช่วงกันไว้รวมกัน (ฉ)ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากันหรือรับช่วงกันหรือเลิกกันซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน (ช)ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วน หรือโอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
ปุจฉา ? เงินที่ผู้ถือหุ้นได้รับจากการเลิกบริษัทเป็นเงินปันผลหรือไม่ ฎ7671/2546 หากพิจารณา ป.พ.พ ม. 1200 1201 วรรค 3 และ 1201วรรคหนึ่ง จากบทบัญญัติเหล่านี้แสดงว่า “เงินปันผลเป็นส่วนหนึ่งของกำไรที่บริษัทได้รับในรอบระยะเวลาบัญชีที่ประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ที่ได้จดทะเบียนไว้” เมื่อผลกำไรจากการขายทรัพย์สินเป็นผลกำไรที่เกิดขึ้นระหว่างการชำระบัญชี เมื่อมีการจดทะเบียนเลิกบริษัทแล้ว ผลกำไรที่แบ่งคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นจึงไม่ใช่เงินปันผลตามมาตรา 40(4)(ข) แต่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ฉ) เฉพาะส่วนที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าทุน ผู้ถือหุ้นจึงไม่มีสิทธิได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ
มาตรา 40 (5) • เงินได้ เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน ผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน หรือผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้น โดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว • ค่าเช่าทรัพย์สินทุกประเภท • เงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ* (กค 0802/2707 ลว 15 กพ. 2539) • ประโยชน์อย่างอื่นเนื่องจากการให้เช่า • การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน • การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้น โดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว
ปุจฉา ?ในปี 2535 นาย ก ทำสัญญาเช่ากับนาย ข และได้รับเงินกินเปล่าจากการให้เช่าที่ดินเป็นเงิน 24 ล้านบาทเป็นค่าตอบแทนที่ให้เช่าเป็นระยะเวลา 30 ปี และถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้เป็นเงิน 1.2 ล้านบาท (5%) นาย ก ต้องเสียภาษีอย่างไร
ให้นำเงินกินเปล่าของปีแรกมารวมคำนวณกับเงินได้ประเภทอื่น (ถ้ามี)ที่ได้รับในปี 2535 เพื่อยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้ตามแบบ ภ.ง.ด. 90 นาย ก จะต้องยื่นแบบและชำระภาษีเป็นการล่วงหน้าตามแบบ ภ.ง.ด. 93 สำหรับปี 2536-2565 ให้เสร็จสิ้นในปี 2535 การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 93 นั้นให้แยกยื่นเป็นรายปี ปีละฉบับ ในแต่ละปีภาษี (2536-2565) นาย ก ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 โดยนำค่าเช่าที่ได้รับในแต่ละปี รวมกับเงินกินเปล่าที่เฉลี่ยเป็นรายปี เมื่อคำนวณได้ภาษีเท่าไหร่แล้วให้นำภาษีเงินได้ที่ได้ชำระไว้ล่วงหน้าตามแบบ ภ.ง.ด. 93 มาหัก(เครดิต)ออกจากภาษีที่คำนวณได้ ? WHT 1.2 ล้านบาทนั้นจะนำมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ในปีภาษีใด วิสัชนา
วิสัชนา(ต่อ) • หนังสือกรมสรรพากรที่กค 0811/611 ลว 25 มี.ค. 2544 • การจัดเก็บภาษีเงินได้จาก ค่าเช่าล่วงหน้ามีการทยอยคิดภาษีแบ่งเป็นเงินภาษีแต่ละปี ด้วยเหตุนี้ยอดภาษีหัก ณ ที่จ่ายทั้งจำนวนก็ควรแบ่งเฉลี่ยเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีแต่ละปีเช่นกัน (มาตรา 60) • ฉะนั้น WHT จำนวน 1.2 ล้านบาทจึงต้องนำมาเฉลี่ยตามอายุสัญญาเช่า และนำมาหัก(เครดิต)ออกจากภาษีที่คำนวณได้
วิสัชนา(ต่อ) • ภ.ง.ด. 90 สำหรับปี 2535 เงินได้พึงประเมิน ม.40(5)-เงินกินเปล่า (24,000,000/30) 800,000 หัก คชจ.เป็นการเหมา-ที่ดินที่มิใช้ในการเกษตรกรรม (15%) 120,000 เงินได้พึงประเมินหลังหัก คชจ. 680,000 หัก ลดหย่อนส่วนตัว 30,000 เงินได้สุทธิ 650,000 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 70,000 หัก ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (1,200,000/30)40,000
วิสัชนา(ต่อ) • ภ.ง.ด. 93 สำหรับปีภาษี 2536-2565 เงินได้พึงประเมิน ม.40(5)-เงินกินเปล่า (24,000,000/30) 800,000 หัก คชจ.เป็นการเหมา-ที่ดินที่มิใช้ในการเกษตรกรรม (15%) 120,000 เงินได้พึงประเมินหลังหัก คชจ. 680,000 หัก ลดหย่อนส่วนตัว 30,000 เงินได้สุทธิ 650,000 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 70,000 หัก ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (1,200,000/30)40,000 ภาษีที่ต้องชำระ 30,000
มาตรา 40 (5)-2 • ผู้เช่ายกกรรมสิทธิในตัวอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆให้แก่ผู้ให้เช่าเมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่า ถือเป็นประโยชน์อย่างอื่นเนื่องจากการให้เช่า ? จะประเมินมูลค่าอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างไร ป.1/2526 เรื่อง การคำนวณค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่เจ้าของที่ดินได้รับกรรมสิทธิ์เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)(ก)
ตารางคำนวณค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนตามตารางคำนวณค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนตาม
มาตรา 40 (5)-3 • การผิดสัญญาเช่าซื้อ • เงินได้จากการชำระค่าเช่าซื้อเป็นรายเดือน ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(5) หรือไม่? ค่าเช่าซื้อที่ได้รับชำระนั้น ถือเป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจ จึงเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แต่ค่าปรับหรือเงินได้เนื่องจากการผิดสัญญาเช่าซื้อเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(5)
มาตรา 40 (5)-4 • เงินได้เนื่องจากการผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว