350 likes | 789 Views
จังหวัดกระบี่ ขอต้อนรับ สมาชิกสมาคมแพทย์ทหารแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ด้วยความยินดียิ่ง. พาวิลเลี่ยนควีนเบย์ 22 ต.ค. 51. ข้อมูลทั่วไปจังหวัดกระบี่. พื้นที่ 4,709 ตารางกิโลเมตร หรือ 2.94 ล้านไร่ ประกอบด้วย 8 อำเภอ 1 อบจ. 10 เทศบาล 51 อบต. 51 ตำบล 389 หมู่บ้าน
E N D
จังหวัดกระบี่ ขอต้อนรับ สมาชิกสมาคมแพทย์ทหารแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ด้วยความยินดียิ่ง พาวิลเลี่ยนควีนเบย์ 22 ต.ค.51
ข้อมูลทั่วไปจังหวัดกระบี่ข้อมูลทั่วไปจังหวัดกระบี่ • พื้นที่ 4,709 ตารางกิโลเมตร หรือ 2.94 ล้านไร่ • ประกอบด้วย 8 อำเภอ1 อบจ. 10 เทศบาล 51 อบต. 51 ตำบล 389 หมู่บ้าน • ประชากร 410,634 คน (ธ.ค. 2550) • ศาสนาพุทธ 65% ศาสนาอิสลาม 32% อื่นๆ 3% • ชายฝั่งทะเลยาว 160 ตารางกิโลเมตร • เกาะน้อยใหญ่ 154 เกาะ (มากที่สุดในประเทศ) • ต้นไม้ประจำจังหวัด คือ ต้นทุ้งฟ้า • ประชาชนมีรายได้ต่อคนต่อปี 95,135 บาท อันดับที่ 5 ของภาคใต้ อันดับที่ 20 ของประเทศ (ข้อมูลปี 2549) • คำขวัญประจำจังหวัด “กระบี่เมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก”
วิสัยทัศน์กลุ่มจังหวัดวิสัยทัศน์กลุ่มจังหวัด จังหวัดกระบี่อยู่ในกลุ่มภาคใต้ฝั่งอันดามัน รวม 5 จังหวัด คือ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง โดยร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์กลุ่มจังหวัดเป็น “ศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก ประตูเชื่อมโยงเศรษฐกิจสู่นานาชาติ”
วิสัยทัศน์จังหวัด “ศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเล เชิงอนุรักษ์และสุขภาพ แหล่งเกษตรอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน บนพื้นฐานของคุณภาพชีวิตและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี”
คำขวัญเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่คำขวัญเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ แหล่งถ่านหิน ถิ่นหอยเก่า เขาตระหง่าน ถิ่นหอยเก่า เขาตระหง่าน แหล่งถ่านหิน ธารสวย รวยเกาะ ธารสวย เพาะปลูกปาล์ม งามหาดทราย มรกตอันดามัน ใต้ทะเลสวยสด สวรรค์ เกาะพีพี ใต้ทะเลสวยสด เพาะปลูกปาล์ม สวรรค์ เกาะพีพี มรกตอันดามัน งามหาดทราย
แหล่งถ่านหิน แหล่งถ่านหิน จังหวัดกระบี่มีแหล่งถ่านหินมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 เพื่อนำถ่านหินมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าให้จังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียง ตั้งอยู่ที่ ม.2 ต.คลองขนาน อ.เหนือคลอง ห่างจากศาลากลางจังหวัด 20 ก.ม. เรียกว่าโรงไฟฟ้าภาคใต้ หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่าลิกไนต์
ถิ่นหอยเก่า ถิ่นหอยเก่า ถิ่นหอยเก่า หมายถึง แหล่งซากเปลือกหอยที่ตายทับถมกันมานานนับล้านปี แล้วมีธาตุปูนจากน้ำทะเลเข้ามาประสานทำให้หอยติดกันเป็นฟืดเป็นแผ่นๆ จึงเรียกบริเวณนี้ว่าสุสานหอย 75 ล้านปี และเป็นซากฟอสซิลเปลือกหอย 1 ใน 3 ของโลก
เขาตระหง่าน เขาตระหง่าน เขาตระหง่าน หมายถึง เทือกเขาพนมเบญจา เดิมชาวบ้านเรียกเขานี้ว่า “เขานม” เพราะลักษณะรูปเขาคล้ายรูปผู้หญิงนอนหงายเหยียดยาว มองเห็นเป็นภาพศีรษะ นม และ ขาทั้ง 2 ข้าง ทอดยาวไป รวมเป็น 5 ยอด จึงตั้งชื่อเป็นทางการว่า “เขาพนมเบญจา”
ธารสวย ธารสวย ธารสวย เดิมจะเรียกเฉพาะ “ธารโบกขรณี” ซึ่งตั้งมุมอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี อ.อ่าวลึก เป็นธารน้ำธรรมชาติที่ไหลลงมาสู่แอ่งน้อยใหญ่ที่ต่างระดับกันสวยงามมาก แต่ปัจจุบันกระบี่มีธารสวยอีกหลายแห่ง เช่น น้ำตกร้อน น้ำตกห้วยโต้ น้ำพุร้อนเค็ม เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นธารน้ำสวยของกระบี่ เช่นกัน
รวยเกาะ รวยเกาะ กระบี่มีเกาะมากที่สุดของประเทศไทย จำนวน 154 เกาะ ที่สำคัญมีเกาะสวยงามที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกอยากมาสัมผัส คือ เกาะพีพี และเกาะลันตา
เพาะปลูกปาล์ม เพาะปลูกปาล์ม กระบี่ มีพื้นที่ปลูกปาล์มมากที่สุดในประเทศไทย ปี 2550 มีพื้นที่ปลูก 8.5 แสนไร่ และมีการปลูกปาล์มน้ำมันต้นแรกของกระบี่ เมื่อ 12 มีนาคม 2512 ณ อำเภอปลายพระยา และมีบริษัทน้ำมันแห่งแรกในประเทศไทย
งามหาดทราย งามหาดทราย เดิมกระบี่มีหาดทรายที่สวยงามที่สุด คือ หาดนพรัตน์ธารา ตั้งอยู่บริเวณอ่าวนาง แต่ปัจจุบันมีหาดทรายที่สวยงามเพิ่มขึ้นอีกหลายหาดที่สำคัญและมีหาดขาวสะอาด เช่น อ่าวมาหยา อ่าวไร่เล และทะเลแหวก เป็นต้น
ใต้ทะเลสวยสด ใต้ทะเลสวยสด กระบี่มีแหล่งดำน้ำที่เลืองลือไปทั่วโลก เนื่องจากใต้ทะเลสวยงามมาก มีปะการังหลากสี มีปลาสวยงาม ที่สำคัญมีแหล่งปะการังหินแดงและ หินม่วง บริเวณเกาะลันตา ที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกอยากมาชมความงาม
มรกตอันดามัน มรกตอันดามัน ทะเลกระบี่มีสีสวยงามพิเศษไม่เหมือนทะเลอื่น คือ ไม่ใช่สีฟ้า และไม่เป็นสีเขียว แต่เป็นสีฟ้าอมเขียว ที่เรียกว่า “สีมรกต” ซึ่งเมื่อมองทะเลกระบี่แล้วก็จะเห็นเป็นสีมรกตทั่วพื้นน้ำ จึงเรียกว่า “มรกตอันดามัน”
สวรรค์ เกาะพีพี สวรรค์เกาะพีพี เกาะพีพี เป็นเกาะที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกอยากมาชื่นชม และตั้งฉายาให้กระบี่ว่า“Twin Haft Moon Island” บริเวณเกาะพีพีมีแหล่งดำน้ำที่สวยงาม มีอ่าวมาหยา เป็นสถานที่ถ่ายทำหนังที่โด่งดัง เรื่อง "The Beach" และมีถ้ำไวกิ้ง เป็นถ้ำที่มีรังนก ที่เรียกถ้ำไวกิ้ง เพราะมีภาพเขียน เรือไวกิ้ง อยู่ในถ้ำ เป็นฝีมือชาวต่างชาติที่เดินทางมาในสมัยก่อนด้วย
เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของจังหวัด จึงได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ไว้ 3 ประเด็น ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1: ศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเล เชิงอนุรักษ์และสุขภาพ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2: แหล่งเกษตรอุตสาหกรรม ที่ยั่งยืน ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3: คุณภาพชีวิตและการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี
ประเด็นยุทธศาสตร์ศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และสุขภาพ1.แบ่งการท่องเที่ยวเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 หมู่เกาะลันตาและเกาะบริวารพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการดำน้ำ ดูปะการังที่สำคัญมีปะการังหินแดงและหินม่วงที่นักดำน้ำทั่วโลก อยากมาสัมผัสและชมวัฒนธรรมวิถีชีวิต ของชาวเล ขณะนี้อยู่ระหว่างการของบฯ ก่อสร้างสะพาน ช่วงเกาะลันน้อย-เกาะลันตาใหญ่
กลุ่มที่ 2 อ่าวนาง ไร่เล หาดนพรัตน์ธารา พัฒนาให้เป็น แหล่งท่องเที่ยวด้านธรรมชาติ ปีนผา ว่ายน้ำ มีทะเลแหวก ซึ่งเป็น Unseen ของกระบี่ อยู่ที่กลุ่มนี้ด้วย ทะเลแหวก แหวกทะเล เสน่ห์ยิ่ง แปลกแต่จริง ยิ่งได้ยล ชลดั่งฝัน นี่! Unseen In Thailand แดนมหัศจรรย์ ดุจสวรรค์ อันเรืองรอง ของกระบี่
กลุ่มที่ 3 อ่าวท่าเลน อ่าวลึก - พังงา พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ชมความงามตามธรรมชาติ โดยเฉพาะการพายเรือแคนนู เรือคยัค
กลุ่มที่ 4 น้ำพุร้อนเค็ม น้ำตกร้อน สระมรกต พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ & สปา
กลุ่มที่ 5 ศูนย์บริการด้านพืช ท่าปอมคลองสองน้ำ เขาพนมเบญจา ปากแม่น้ำกระบี่ พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
กลุ่มที่ 6 หมู่เกาะพีพี เป็นเกาะที่นักท่องเที่ยว ทั่วโลกอยากมาสัมผัส และเรียกเกาะนี้ว่า Twin Half Moon Island
การพัฒนาและฟื้นฟูเกาะพีพีการพัฒนาและฟื้นฟูเกาะพีพี • ก่อสร้างบ้านพักถาวรผู้ประสบภัย สึนามิ • ก่อสร้างเส้นทางหนีภัย • ก่อสร้างอาคารหลบภัย • การติดตั้งหอเตือนภัย • ก่อสร้างโรงพยาบาลและโรงเรียนเกาะพีพี • ขยายระบบไฟฟ้าด้วยเคเบิ้ลใต้น้ำ • ก่อสร้างท่าเทียบเรือเพื่อการท่องเที่ยว • เรือบรรทุกขยะ • จัดตั้งที่ว่าการอำเภอเมืองส่วนแยกเกาะพีพี
2.ส่งเสริมตลาดการท่องเที่ยว ดำเนินการ ดังนี้ 2.1 เพิ่มรูปแบบการจัดงานกระบี่เบิกฟ้าอันดามัน โดยในปี 51 จะจัด ร่วมกับงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติภาคใต้ 2.2 ส่งเสริมการตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะงานแสดงสินค้าด้านการ ท่องเที่ยวนานาชาติ ณ เยอรมัน (ITB: International Travel Borse) 2.3 ส่งเสริมการตลาดภายในประเทศ ภาคอีสาน และภาคเหนือ 2.4 กระบี่เป็นจังหวัดแรกที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบ Green Season 2.5 จัดแข่งขันกีฬาแอดเวนเจอร์ อันดามัน เกมส์ ปี 2552 (วิ่ง ว่าย พาย ปีน ปั่น)
3.การเตรียมความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยวด้านต่างๆ3.การเตรียมความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยวด้านต่างๆ 3.1 การจัดระเบียบชายหาด 3.2 การวางระบบความปลอดภัย 3.3 การวางมาตรฐานของโรงแรม 3.4 การพัฒนาบุคลากร 3.5 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
รายได้จากการท่องเที่ยว : ปี 2548 ลดลงเนื่องจากผลกระทบจาก สึนามิ ปี 2549 เพิ่มขึ้นสู่ภาวะปกติ ปี 2550 มีแนวโน้มสูงขึ้นมาก
ประเด็นยุทธศาสตร์แหล่งเกษตรอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนประเด็นยุทธศาสตร์แหล่งเกษตรอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน ด้านปาล์มน้ำมัน มีโรงงานต้นแบบการผลิตไบโอดีเซล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จเป็นประธานเปิด เมื่อ 16 ก.พ. 50 1.คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กระบี่เป็นเมืองแห่งปาล์มน้ำมัน (Oil Palm City) เมื่อ 6 ก.ย. 48 2.มีคณะกรรมการบริหารปาล์มน้ำมัน (Krabi Oil Palm Boad : KOPB) 3.ขับเคลื่อน Road map ปาล์มน้ำมัน ดังนี้ 3.1 ต้นน้ำ เพื่อส่งเสริมวิธีเขตกรรมที่เหมาะสม 3.2 กลางน้ำ เพื่อลดค่าใช้จ่ายและการสูญเสีย 3.3 ปลายน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าเพิ่ม พ.ศ. 2550 พื้นที่ปลูก 8.58 แสนไร่ พื้นที่ให้ผลผลิต 7.28 แสนไร่ ผลผลิตรวม 2.30 ล้านตัน ผลผลิต เฉลี่ย 3,161 กิโลกรัม/ไร่ มูลค่า 10,512 ล้านบาท มูลค่าเฉลี่ย 4.57 บาท/ก.ก. เพาะปลูกปาล์ม
ประเด็นยุทธศาสตร์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีประเด็นยุทธศาสตร์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โครงการกระบี่เมืองสะอาด จัดทำขึ้นจากแนวคิดการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว โดยเป็นการบริหาร จัดการให้กระบี่มีสภาพแวดล้อมที่สะอาด สวยงาม เกิดความประทับใจ แก่ผู้มาเยือน • เริ่มโครงการเมื่อปี 2548 โดยมีกิจกรรมสร้างจิตสำนึกที่ดี • ปี 2549 มีกิจกรรมตกผลึกสู่การปฏิบัติ • ปี 2550 มีกิจกรรมวัดและประเมินผล • ปี 2551 มีกิจกรรมขยายผลสู่ความยั่งยืน
การจัดตั้งเครือข่ายวิทยุ Krabi Safety Radio • ให้สถานีวิทยุเป็นเครือข่ายช่วยเหลือด้านการเตือนภัย • ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมอันดับ 3 ระดับชาติ ในผลงานวิชาการและนวัตกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจร
ปัญหาที่สำคัญของจังหวัดกระบี่ปัญหาที่สำคัญของจังหวัดกระบี่ • การบุกรุกทำลายป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติ • ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมขยะ น้ำเสีย ในบริเวณแหล่งท่องเที่ยว แก้ไขโดยกระบวนการชุมชน
กระบี่เมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก คงได้มีโอกาสต้อนรับท่านอีก สวัสดี ชัยเลิศ ภิญโญรัตนโชติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ 22 ตุลาคม 2551