230 likes | 400 Views
การเทียบโอนผลการเรียนระดับอุดมศึกษา. หลักการและเหตุผล พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 15 การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การเทียบโอนผลการเรียนนอกระบบและตามอัธยาศัยเป็นเรื่องใหม่ทบวงฯ จึงต้องพัฒนาหลักเกณฑ์กลาง เพื่อ... เที่ยงธรรม สุจริต โปร่งใส
E N D
การเทียบโอนผลการเรียนระดับอุดมศึกษาการเทียบโอนผลการเรียนระดับอุดมศึกษา หลักการและเหตุผล • พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 15 • การศึกษาในระบบ • การศึกษานอกระบบ • การศึกษาตามอัธยาศัย • การเทียบโอนผลการเรียนนอกระบบและตามอัธยาศัยเป็นเรื่องใหม่ทบวงฯ จึงต้องพัฒนาหลักเกณฑ์กลาง เพื่อ... • เที่ยงธรรม • สุจริต • โปร่งใส • ตรวจสอบได้ สามารถนำผลการเรียนมาเทียบโอนได้
วัตถุประสงค์ • เพื่อศึกษาระเบียบ/หลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียน ของสถาบันอุดมศึกษาไทย • เพื่อศึกษาแนวคิด หลักเกณฑ์ และวิธีการเทียบโอน ผลการเรียนนอกระบบ และตามอัธยาศัย เข้าสู่การศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาของต่างประเทศ • เพื่อเสนอยุทธศาสตร์ในการดำเนินการเรื่องการเทียบโอน ผลการเรียนที่เหมาะสมกับสังคมไทย และสอดคล้องกับ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
ขอบเขตการศึกษา • ศึกษาเฉพาะการเทียบโอนระดับปริญญาของสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดทบวงฯ สถาบันราชภัฏ และสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล • ศึกษาการเทียบโอนผลการเรียนนอกระบบและตามอัธยาศัยเข้าสู่การศึกษาในระบบ ระดับปริญญาเฉพาะของประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย
วิธีดำเนินการ • การเก็บรวบรวมข้อมูล • ศึกษาแนวคิด หลักเกณฑ์และวิธีการเทียบโอน ผลการเรียนของสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศจากเอกสารและ Internet • ศึกษาดูงาน เกี่ยวกับการเทียบโอนผลการเรียน ณ มลรัฐอัลเบอร์ต้า ประเทศแคนาดา และมลรัฐนิวแฮมเชียร์ และแมสซาจูเซ็ท สหรัฐอเมริกา • การวิเคราะห์ข้อมูล - โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
การเทียบโอนผลการเรียนนอกระบบหรือตามอัธยาศัย เข้าสู่สถาบันอุดมศึกษาของต่างประเทศ************************* ประเทศที่ศึกษา : • CA • USA • UK • NZ • AUS
คำที่ใช้เกี่ยวกับการเทียบโอนในประเทศต่าง ๆ ********************** CA : Prior Learning Assessment and Recognition (PLAR) USA : Prior Learning Assessment (PLA) UK : Accreditation of Prior Experiential Learning (APEL) NZ : Assessment of Prior Learning (APL) AUS : Recognition of Prior Learning (RPL) หรือ Recognition of Current Competence (RCC)
มีหน่วยงานกลางกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติ มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติใน การเทียบโอนฯ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งใช้เป็นกรอบและ แนวทางในการกำหนดระเบียบ/ข้อบังคับ CA : Council on Admissions and Transfers (CAT) USA : American Council on Education (ACE) UK : Quality Assurance Agency (QAA) NZ : New Zealand Qualification Authority (NZQA) AUS : Australian Vice - Chancellor Council (AVCC)
หน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่สถาบันอุดมศึกษาที่ดำเนินการและหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่สถาบันอุดมศึกษาที่ดำเนินการและ สนับสนุนการเทียบโอนฯ • Open Learning Agency (CA) • Centre for Assessment of Prior Learning (NZ) • Educational Testing Services หรือ ETS (USA) • American College Testing Services หรือ ACT (USA) • Experiential Learning Assessment Network หรือ ELAN (USA)
หลักการเทียบโอน การเทียบความรู้จากจากศึกษานอกระบบหรือตามอัธยาศัย เข้าสู่การศึกษาในระบบของสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ จะเทียบเป็นรายวิชา หรือ กลุ่มรายวิชา
การประเมินความรู้จากการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามการประเมินความรู้จากการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย เพื่อเทียบความรู้เข้าสู่การศึกษาในระบบ • การทดสอบ (Tests) 1.1) Standardized Tests 1.2) Non – Standardized Tests • การประเมินการศึกษา/อบรมที่จัดโดยหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่ สถาบันอุดมศึกษา (Evaluation of Non – College Sponsored Training) • การประเมินโดยพิจารณาแฟ้มสะสมผลการเรียนรู้มาก่อน (Evaluation of Prior Learning Portfolio/Academic Portfolio)
1. การทดสอบ (Tests) 1.1) Standardized Tests • มีหน่วยงานกลางที่เป็นที่ยอมรับของสถาบันอุดมศึกษา - สร้างแบบทดสอบมาตรฐานของแต่ละรายวิชา - ทดสอบผู้ขอเทียบความรู้และประเมินผล (ให้คะแนน) แต่ไม่มี การให้หน่วยกิต • สถาบันอุดมศึกษามีมาตรฐานของตนเองในการยอมรับคะแนนการทดสอบมาตรฐาน • สถาบันฯ เป็นผู้พิจารณาในการให้หน่วยกิต แต่ไม่มีการให้เกรด • บันทึกผลการเรียนตามวิธีเทียบโอนคือ “CS” (Credit from Standardized Tests) • ไม่มีการคิดคะแนนผลการเรียน/คะแนนเฉลี่ยสะสม
1.2) Non – Standardized Tests • เป็นการทดสอบหรือประเมินความรู้โดยคณะวิชา/อาจารย์ผู้สอนประจำวิชานั้น ๆ หรือผู้ที่สถาบันอุดมศึกษา/คณะวิชากำหนดมี 4 วิธี (1) Challenge Exam (2) Oral Exam (3) Skill Performance (4) การผสมผสานตั้งแต่ 2 วิธีข้างต้น • ถ้าสอบผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดก็จะได้รับหน่วยกิต ในรายวิชานั้น แต่จะไม่มีการให้เกรด/คะแนน (1) การบันทึกผลการสอบจะบันทึก “CE” (Credit from Exams) (2) ไม่มีการนำมาคิดคะแนนผลการเรียน/คะแนนเฉลี่ยสะสม
Challenge Exam • กำหนดโดย สถาบันอุดมศึกษา/คณะ/อาจารย์ • วัดความรู้ด้านเนื้อหา (Content) • อาจารย์/ผู้ที่สถาบันอุดมศึกษากำหนดเป็นผู้ออกข้อสอบ • ลักษณะข้อสอบ สร้างตามวัตถุประสงค์ของรายวิชาบนพื้นฐานของเนื้อหาสาระและตำราเรียน • นักศึกษาควรปรึกษาอาจารย์ผู้สอนเพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบ
Oral Exam • เป็นการสอบวัดความรู้ความเข้าใจ โดยวิธี • สัมภาษณ์ • อภิปราย • ตอบคำถาม • อาจารย์ประจำรายวิชาเป็นผู้สอบ • เนื้อหาการสอบอยู่บนพื้นฐานของรายวิชาที่สอน • นักศึกษาควรปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา/ผู้สอนก่อนเลือกวิธีนี้ ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
Skill Performance • ให้ผู้เรียนสาธิตหรือแสดงออกถึงความสามารถใน การปฏิบัติงาน ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาที่ ขอเทียบโอน • อาจารย์ประจำรายวิชาตรวจสอบว่าผู้เรียนมีทักษะ ความสามารถตรงกับผลการเรียนรู้ในรายวิชาที่ขอ เทียบโอน
2. การประเมินการศึกษา/อบรมที่จัดโดยหน่วยงาน อื่นที่ไม่ใช่สถาบันอุดมศึกษา • ประเมินโดย • คณาจารย์/ผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัย ที่ยอมรับการเทียบโอน • องค์กรที่มหาวิทยาลัยมอบหมาย
2. การประเมินการศึกษา/อบรมที่จัดโดยหน่วยงาน อื่นที่ไม่ใช่สถาบันอุดมศึกษา (ต่อ) • ปัจจัยที่นำมาพิจารณา • ผลการศึกษา/อบรมที่มุ่งหวัง • ระยะเวลาในการศึกษา/อบรม • เนื้อหาของหลักสูตร • ระดับความยุ่งยากของเนื้อหา • วิธีการประเมินความสำเร็จของผลการศึกษา/อบรม • หลักสูตรใดผ่านการประเมินและกำหนดหน่วยกิตให้แล้วผู้สอบผ่านการประเมินจะได้หน่วยกิตในรายวิชาที่เทียบเท่า
3. แฟ้มสะสมผลการเรียนรู้ที่มีมาก่อน(Evaluation of Prior Learning Portfolio/Academic Portfolio) • เป็นการสรุปการเรียนรู้ที่ได้จากการศึกษาตามอัธยาศัย/ การฝึกอาชีพ/ประสบการณ์ • การขอเทียบโอนหน่วยกิต ต้องแสดง/พิสูจน์ว่า... • ได้เรียนรู้อะไรจากสิ่งที่ทำมา • ไม่ใช่แสดงว่าได้ทำอะไรมาบ้าง • เป็นแฟ้มผลงานที่รวบรวมข้อมูลความรู้และทักษะอย่างเป็นระบบ • แฟ้มผลงาน 1 แฟ้ม ต่อ 1 รายวิชา
ขั้นตอนการจัดทำแฟ้มสะสมผลงานเพื่อขอเทียบ ความรู้และโอนหน่วยกิต******************************************************** • รวบรวมความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ • เลือกสาขาวิชาที่จะขอเทียบความรู้ • เลือกรายวิชาในหลักสูตรที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ • ประมวลหลักฐานการเรียนรู้ • บรรยายสิ่งที่ได้เรียนรู้ พร้อมแสดงหลักฐานประกอบ มหาวิทยาลัย/คณะวิชาจะกำหนดรูปแบบการจัดทำแฟ้มสะสมผลการเรียนรู้
การประเมินแฟ้มสะสมผลงาน********************************************************การประเมินแฟ้มสะสมผลงาน******************************************************** • ประเมินโดยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้สอนวิชาที่ขอเทียบ • การตัดสินเพื่อให้ได้รับจำนวนหน่วยกิตของรายวิชานั้น ๆ (แต่ไม่ให้เกรด) • ระดับปริญญาตรี ความรู้ที่ขอเทียบต้องเท่ากับเกรด C หรือดีกว่า • ระดับบัณฑิตศึกษา ความรู้ที่ขอเทียบต้องเท่ากับเกรด B หรือดีกว่า
การประเมินแฟ้มสะสมผลงาน (ต่อ)******************************************************** • หากผลการประเมินแสดงว่าความรู้ตามที่แสดงไม่เพียงพออาจประเมินเพิ่มเติมโดย.- • ขอข้อมูลเพิ่มเติม • สอบข้อเขียน/สัมภาษณ์/ทดสอบทักษะปฏิบัติ • การบันทึกผลสอบใช้ “CP” (Credits from Portfolio) และไม่คิดคะแนนผลการเรียน/คะแนนเฉลี่ยสะสม