1 / 30

05-530-111 Computer Programming 1

05-530-111 Computer Programming 1. บทที่ 6 พอยน์เตอร์ (Pointer). หัวข้อศึกษา. พอยน์เตอร์คืออะไร สัญญลักษณ์ที่ใช้กับพอยน์เตอร์ การเรียกฟังก์ชันแบบ Call-by-Reference การกระทำทางคณิตศาสตร์กับพอยน์เตอร์ การจองหน่วยความจำ อาร์เรย์ของพอยน์เตอร์. พอยน์เตอร์คืออะไร.

marcus
Download Presentation

05-530-111 Computer Programming 1

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 05-530-111 Computer Programming 1 บทที่ 6พอยน์เตอร์ (Pointer)

  2. หัวข้อศึกษา • พอยน์เตอร์คืออะไร • สัญญลักษณ์ที่ใช้กับพอยน์เตอร์ • การเรียกฟังก์ชันแบบ Call-by-Reference • การกระทำทางคณิตศาสตร์กับพอยน์เตอร์ • การจองหน่วยความจำ • อาร์เรย์ของพอยน์เตอร์

  3. พอยน์เตอร์คืออะไร • เมื่อมีการประกาศตัวแปร ค่าของตัวแปรจะถูกเก็บอยู่ในหน่วยความจำ • แอดเดรสของตัวแปร คือ ตำแหน่งในหน่วยความจำที่ใช้เก็บตัวแปรตัวนั้น เขียนแทนด้วยเครื่องหมาย & • เช่น แอดเดรสของตัวแปร x เขียนแทนด้วย &x

  4. พอยน์เตอร์คืออะไร (ต่อ) • พอยน์เตอร์ คือ ตัวแปรชนิดหนึ่งที่ใช้ในการเก็บค่าแอดเดรสของตัวแปรตัวอื่น • พอยน์เตอร์มีหลายชนิด(ตามชนิดตัวแปรที่มีอยู่) • พอยน์เตอร์ของตัวแปร int • พอยน์เตอร์ของตัวแปร float • พอยน์เตอร์ของตัวแปร char • ฯลฯ • ประโยชน์ของพอยน์เตอร์ • ใช้ในการพัฒนาโครงสร้างข้อมูล (Data Structure) • ใช้ในโปรแกรมที่ต้องมีการติดต่อกับหน่วยความจำโดยตรง

  5. สัญลักษณ์ที่ใช้กับพอยน์เตอร์สัญลักษณ์ที่ใช้กับพอยน์เตอร์ • การประกาศตัวแปร ใช้เครื่องหมาย * เช่น • int *countPtr; countPtr เป็นพอยน์เตอร์ของ int (ซึ่งสามารถใช้ในการเก็บค่าแอดเดรสของตัวแปร int ได้) • char *str; str เป็นพอยน์เตอร์ของ char • float *nums; nums เป็นพอยน์เตอร์ของ float

  6. สัญลักษณ์ที่ใช้กับพอยน์เตอร์ (ต่อ) • การกำหนดค่าให้กับพอยน์เตอร์ • ใช้เครื่องหมาย = • ค่าที่กำหนดให้กับพอยน์เตอร์ต้องเป็นค่าแอดเดรสของตัวแปร int num = 6; int *numPtr; numPtr = # numPtr num 50000 50000 6 40000 numPtr num กำหนดให้ numPtr ชี้ไปที่ num 6

  7. สัญลักษณ์ที่ใช้กับพอยน์เตอร์ (ต่อ) • การอ้างอิงถึงค่าในตำแหน่งที่พอยน์เตอร์ชี้อยู่ • เรียกอีกอย่างว่า “Dereferencing” • ใช้เครื่องหมาย * นำหน้าตัวแปร • ตัวอย่างเช่น cout << *numPtr; *numPtr = 20; numPtr num 6 20

  8. a 2.5 b 5.6 p q ตัวอย่างที่ 6-1 3.5 8.6 #include <iostream.h> int main() { float a = 2.5,b = 5.6; float *p,*q; p = &a; q = &b; cout << "*p = " << *p << endl; cout << "*q = " << *q << endl; *p = *p + 1; *q = *q + 3; cout << "a = " << a << endl; cout << "b = " << b << endl; return 0; } ผลลัพธ์ *p = 2.5 *q = 5.6 a = 3.5 b = 8.6

  9. การเรียกใช้แบบ Call-by-Reference • การเรียกใช้ฟังก์ชันมี 2 แบบ คือ Call-by-Value และ Call-by-Reference • Call-by-Value • ใช้วิธีการส่งค่าของตัวแปรให้กับฟังก์ชัน • ไม่สามารถแก้ไขค่าของอาร์กิวเมนต์ภายในฟังก์ชันได้ • ใช้กับฟังก์ชันที่รับค่าเข้าเป็นตัวแปรธรรมดา (int, float, char, ...) • Call-by-Reference • ใช้วิธีการส่งแอดเดรสของตัวแปรไปให้ฟังก์ชัน • ใช้กับฟังก์ชันที่รับค่าเข้าเป็นพอยน์เตอร์หรืออาร์เรย์

  10. main number 5 n squareByValue ตัวอย่างที่ 6-2 #include <iostream.h> int squareByValue(int n); int main() { int number = 5; cout << "The original value of number is " << number <<endl; number = squareByValue(number); cout << "The new value of number is " << number << endl; return 0; } int squareByValue(int n) { n = n*n; return n; } 25 5 25

  11. main number 5 nPtr squareByReference ตัวอย่างที่ 6-3 #include <iostream.h> void squareByReference(int *nPtr); int main() { int number = 5; cout << "The original value of number is " << number <<endl; squareByReference(&number); cout << "The new value of number is " << number << endl; return 0; } void squareByReference(int *nPtr) { *nPtr = *nPtr * *nPtr; } 25

  12. การใช้ตัวดำเนินทางคณิตศาสตร์กับพอยน์เตอร์การใช้ตัวดำเนินทางคณิตศาสตร์กับพอยน์เตอร์ • ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ที่มักจะใช้กับพอยน์เตอร์ • +, -, ++, --, +=, -= • ใช้ในการเลื่อนพอยน์เตอร์ไปข้างหน้าหรือถอยหลัง • การเลื่อนพอยน์เตอร์จะเลื่อนทีละ 1 บล็อก เช่น • ถ้าเป็นพอยน์เตอร์ของ int 1 บล็อกคือ 4 ไบต์ • ถ้าเป็นพอยน์เตอร์ของ char 1 บล็อกคือ 1 ไบต์ • ถ้าเป็นพอยน์เตอร์ของ float 1 บล็อกคือ 4 ไบต์ • ฯลฯ

  13. ตัวอย่างการเลื่อนพอยน์เตอร์ตัวอย่างการเลื่อนพอยน์เตอร์ int v[5]; int *vPtr; vptr = v; //or vPtr = &v[0]; vPtr = vPtr + 2;

  14. 'C' 'o' 'e' '\0' msg[9] msg[0] msg[1] msg[2] msg[3] ... ptr ตัวอย่างที่ 6-4 #include <iostream.h> #include <string.h> int main() { char msg[10]; char *ptr; cout << "Enter text to reverse: "; cin >> msg; int len = strlen(msg); ptr = &msg[len-1]; while(ptr >= &msg[0]) { cout << *ptr; ptr--; } return 0; } Enter text to reverse: Coe eoC

  15. การใช้คำสั่ง cout กับ char * และ อารเรย์ของ char • ถ้าใช้คำสั่ง cout กับตัวแปรอาร์เรย์ของ char สิ่งที่พิมพ์ออกมาคือ ตัวอักษรตั้งแต่อีลีเมนต์แรกไปจนกว่าจะเจอ ‘\0’ • ถ้าใช้คำสั่ง cout กับพอยน์เตอร์ชนิด char * สิ่งที่พิมพ์ออกมาคือ ตัวอักษรตั้งแต่ตำแหน่งที่พอยน์เตอร์ชี้อยู่ไปจนกว่าจะเจอ ‘\0’ • ตัวอย่างเช่น char name[8] = "Somchai"; cout << name; char *namePtr = name; cout << namePtr; namePtr = &name[3]; cout << namePtr; Somchai Somchai chai

  16. ความสัมพันธ์ระหว่างอาร์เรย์กับพอยน์เตอร์ความสัมพันธ์ระหว่างอาร์เรย์กับพอยน์เตอร์ • ตัวแปรอาร์เรย์และพอยน์เตอร์สามารถใช้งานแทนกันได้ในหลายโอกาส • ตัวแปรอาร์เรย์ถือเป็นพอยน์เตอร์เนื่องจากค่าในตัวแปรอาร์เรย์คือแอดเดรสของอีลีเมนต์แรก

  17. ความสัมพันธ์ระหว่างอาร์เรย์กับพอยน์เตอร์ (ต่อ) • สามารถกำหนดให้พอยน์เตอร์ชี้ไปที่อาร์เรย์ได้ int b[5]; int *bPtr; bPtr = b; // มีความหมายเหมือนกับbPtr = &b[0]; • สามารถใช้สัญลักษณ์ [] กับพอยน์เตอร์ได้ เช่น • bPtr[2]หมายถึง ค่าในตำแหน่งที่ถัดจาก bPtr ชี้อยู่ ไปอีก 2 บล็อก • bPtr[0]หมายถึง ค่าในตำแหน่งเดียวกับที่ bPtr ชี้อยู่

  18. b[4] b[0] b[1] b[2] b[3] 6 2 7 5 4 bPtr ตัวอย่างที่ 6-5 #include <iostream.h> int main() { int b[5] = {2,7,5,4,6}; int *bPtr; bPtr = b; cout << "bPtr[0] = " << bPtr[0] << endl; cout << "bPtr[1] = " << bPtr[1] << endl; bPtr = &b[2]; bPtr[1] = 10; cout << "b[1] = " << b[1] << endl; cout << "b[3] = " << b[3] << endl; return 0; } 10 bPtr[0] = 2 bPtr[1] = 7 b[1] = 7 b[3] = 10

  19. การจองหน่วยความจำ (Memory Allocation) • ในการประกาศตัวแปรแต่ละครั้ง คอมไพเลอร์จะจองหน่วยความจำชั่วคราว เพื่อใช้เก็บค่าของตัวแปรตัวนั้น เช่น • int a; จองหน่วยความจำขนาด 4 ไบต์ • char ch; จองหน่วยความจำขนาด 1 ไบต์ • int nums[10]; จองหน่วยความจำขนาด 40 ไบต์ • char name[20]; จองหน่วยความจำขนาด 20 ไบต์ • แต่หน่วยความจำเหล่านี้จะมีขอบเขตการใช้งานอยู่ภายในเครื่องหมาย {} ที่ได้มีประกาศตัวแปรไว้เท่านั้น • เช่น ตัวแปรที่ประกาศไว้ในฟังก์ชัน เมื่อออกจากฟังก์ชันแล้ว หน่วยความจำสำหรับตัวแปรเหล่านั้นก็จะถูกคืนให้แก่ระบบ

  20. การจองหน่วยความจำ (ต่อ) • ถ้าต้องการหน่วยความจำเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูล โดยสามารถที่จะคืนหน่วยความจำส่วนนี้เมื่อไรก็ได้ จะต้องจองหน่วยความจำโดยใช้คำสั่ง new • การจองหน่วยความจำโดยใช้คำสั่ง new มี 2 แบบ คือ • การจองหน่วยความจำแบบหนึ่งบล็อก • การจองหน่วยความจำเพื่อใช้งานเป็นอาร์เรย์

  21. ptr การจองหน่วยความจำแบบหนึ่งบล็อก • ใช้แทนการประกาศตัวแปร 1 ตัว • รูปแบบ: ตัวแปรพอยน์เตอร์ = new ชนิดตัวแปร; • เช่น int *ptr; ptr = new int; • การคืนหน่วยความจำ delete ptr;

  22. nums การจองหน่วยความจำเพื่อใช้งานเป็นอาร์เรย์ • รูปแบบ: ตัวแปรพอยน์เตอร์ = new ชนิดตัวแปร[ขนาดอาร์เรย์]; • ตัวอย่างเช่น int *nums; nums = new int[5]; • การใช้งานจะใช้แบบอาร์เรย์หรือพอยน์เตอร์ก็ได้ เช่น nums[1] = 10; // same as *(num+1) = 10; • การคืนหน่วยความ ต้องมีเครื่องหมาย [] หน้าตัวแปรพอยน์เตอร์ด้วย delete []nums; 10

  23. ตัวอย่างที่ 6-6 #include <iostream.h> int main() { int num_std; cout << "Enter number of students: "; cin >> num_std; float *scores = new float[num_std]; int i; for(i=0;i<num_std;i++) { cout << "Enter score of student " << i+1 << ": "; cin >> scores[i]; }

  24. ตัวอย่างที่ 6-6 (ต่อ) cout << "\nThe scores are "; float total = 0; for(i=0;i<num_std;i++) { cout << scores[i] << " "; total = total + scores[i]; } cout << "\nTotal scores of all students is "<< total; delete []scores; return 0; }

  25. ตัวอย่างที่ 6-6 (ต่อ) • จากโปรแกรม จะเห็นว่าสามารถจองหน่วยความจำได้ตามที่ผู้ใช้กำหนด • แต่ถ้าใช้ตัวแปรอาร์เรย์ธรรมดา จะไม่สามารถทำอย่างนี้ได้เนื่องจากขนาดอาร์เรย์ต้องเป็นค่าคงที่ จะกำหนดเป็นตัวแปรไม่ได้

  26. สตริง (String) • สตริงมี 3 ชนิด คือ • ค่าคงที่ประเภทข้อความ เช่น "Sanook" • อาร์เรย์ของ char • พอยน์เตอร์ชนิด char *

  27. สตริงแบบที่ใช้อาร์เรย์ของ char • ตัวอย่างเช่น char name[8] = "Sawat"; • การเปลี่ยนแปลงข้อความในอาร์เรย์ของ char • ห้ามใช้เครื่องหมาย = (เช่น name = "Sombat"; ไม่ได้) • ใช้ฟังก์ชัน strcpy เช่น strcpy(name,"Sombat");

  28. หน่วยความจำชั่วคราว สตริงแบบที่ใช้พอยน์เตอร์ชนิด char * • สามารถกำหนดค่าโดยใช้เครื่องหมาย = ได้ • char *str; • str = "Hello";

  29. สตริงแบบที่ใช้พอยน์เตอร์ชนิด char * (ต่อ) • สามารถเปลี่ยนแปลงข้อความโดยใช้ฟังก์ชัน strcpy ก็ได้ แต่ต้องมีการจองหน่วยความจำเพื่อใช้ในการเก็บข้อความที่จะนำมาวางเสียก่อน • ตัวอย่างเช่น char *str = new char[6]; strcpy(str,"Hello");

  30. อาร์เรย์ของพอยน์เตอร์อาร์เรย์ของพอยน์เตอร์ • ใช้ในกรณีที่ต้องการใช้งานพอยน์เตอร์หลายๆ ตัว • ตัวอย่างเช่น char *name_arr[3]; name_arr[0] = "Somchai"; name_arr[1] = "Sombat"; name_arr[2] = "Sawat";

More Related