1 / 20

น้ำและความชื้นในผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร

น้ำ (water) หรือ ความชื้น (moisture) เมื่อ Mw ในอาหาร < 50% (w.b.) จะเรียกว่า น้ำอิสระ (Free water) ประพฤติตัวเหมือนน้ำบริสุทธิ์ จะมีคุณสมบัติทางฟิสิกส์และเคมีเหมือน ๆ กัน เช่น ความดันไอเท่า ๆ กัน

mare
Download Presentation

น้ำและความชื้นในผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. น้ำ (water) หรือ ความชื้น (moisture) เมื่อ Mw ในอาหาร < 50% (w.b.) จะเรียกว่า น้ำอิสระ (Free water) ประพฤติตัวเหมือนน้ำบริสุทธิ์ จะมีคุณสมบัติทางฟิสิกส์และเคมีเหมือน ๆ กัน เช่น ความดันไอเท่า ๆ กัน เมื่อปริมาณน้ำในอาหารลดล จนถึงจุดซึ่งน้ำไม่สามารถประพฤติตัวเหมือนน้ำบริสุทธ์ สถานะของน้ำในอาหารเช่นนี้จะเรียกว่า น้ำผูกพัน (Bound Water) น้ำและความชื้นในผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร

  2. น้ำอิสระ (Free Water) น้ำผูกพัน (Bound Water) แผนภาพจำลองการเปรียบเทียบน้ำอิสระและน้ำผูกพัน ระหว่างโมเลกุลและภายในโมเลกุล

  3. น้ำและความชื้นในผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารน้ำและความชื้นในผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร • น้ำอิสระเปรียบเสมือนน้ำที่ถูกดูดซับในท่อแคปปิลารี่ระหว่างโมเลกุล ส่วนน้ำผูกพันคือน้ำที่แทรกอยู่ตามผนังโครงสร้างของอาหารซึ่งถูกยึดด้วยกลไกระดับโมเลกุลในส่วนต่าง ๆ ของอาหาร • ส่วนน้ำผูกพันคือน้ำที่แทรกอยู่ตามผนังโครงสร้างของอาหารซึ่งถูกยึดด้วยกลไกระดับโมเลกุลในส่วนต่าง ๆ ของอาหาร ได้แก่ กลุ่มไฮดรอกซิลของโพลีแซกคาไลด์ กลุ่มของคาร์บอนิลและอะมิโนในโปรตีน และกลุ่มโมเลกุลมีขั้วต่าง ๆ

  4. การหาความชื้น • ความชื้นมาตรฐานเปียก • ความชื้นมาตรฐานแห้ง • ความสัมพันธ์ความชื้น

  5. มาตรฐานการหาความชื้น • การหาความชื้นโดยวิธีทางตรง อาจเป็นตู้อบไล่ความชื้นธรรมดาหรือเป็นตู้อบสุญญากาศก็ได้ (สมชาติ, 2540) • ผลไม้แห้ง อบที่ 70C เป็นเวลา 5 ชั่วโมงในตู้อบสุญญากาศ • นมผงแห้ง อบที่ 100C เป็นเวลา 5 ชั่วโมงในตู้อบสุญญากาศ • กากน้ำตาล อบที่ 70C เป็นเวลา 2 ชั่วโมงในตู้อบสุญญากาศ • เมล็ดพันธุ์ อบที่ 130C เป็นเวลา 1-2 ชั่วโมงในตู้อบไล่ความชื้นปกติ หรือ อบที่ 100C เป็นเวลา 72-96 ชั่วโมงในตู้อบไล่ความชื้นปกติ

  6. มาตรฐานการหาความชื้น • ในการอบไล่ความชื้น อาจสังเกตได้จากน้ำหนักแห้งของวัสดุที่เปลี่ยนไป หากพบว่าน้ำหนักของวัสดุยังมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อครบเวลาอบที่กำหนดไว้ แสดงว่าความชื้นในอาหารยังถูกกำจัดออกไปได้ไม่สมบูรณ์ ดังนั้นจึงควรอบต่อไปจนกระทั่งน้ำหนักวัสดุที่อบนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลง • Association of Official Agricultural Chemists หรือ AOAC

  7. ฮีตเตอร์อินฟราเรด เครื่องชั่งและประมวลผลความชื้น อาหารตัวอย่าง อุปกรณ์หาความชื้นแบบอินฟราเรด

  8. การวัดความชื้นโดยวิธีอ้อมการวัดความชื้นโดยวิธีอ้อม • โดยวัดคุณสมบัติบางอย่างของวัสดุซึ่งขึ้นอยู่กับความชื้น เช่นความต้านทานทางไฟฟ้าหรือคุณสมบัติทางไดอิเลคทริก (Dielectric) • วิธีนี้เป็นวิธีที่รวดเร็ว อาจใช้เวลาเพียง 1 นาทีเท่านั้น • ข้อเสีย • ช่วงการวัดความชื้นจะแคบกว่าวิธีตรง • มีความคลาดเคลื่อน เนื่องจากอุณหภูมิและความหนาแน่นของการบรรจุวัสดุตัวอย่าง • เครื่องวัดความชื้นแบบทางอ้อมนี้ส่วนใหญ่จะใช้กับเมล็ดพันธุ์ แต่ไม่เหมาะสำหรับอาหารที่มีความชื้นสูง

  9. Water Activity • คือปริมาณน้ำอิสระที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ • ค่า aw สามารถนิยามได้ว่าเป็นความชื้นสัมพัทธ์สมดุล (Equilibrium relative humidity: ERH) ณ จุดที่อาหารไม่มีการดูดซับหรือสูญเสียน้ำ awx100 = %ERH = P/P0x100

  10. aw • aw น้ำบริสุทธิ์ = 1.00 aw ของอาหาร = 0-1.00 • อาหารความชื้นสูง เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อ ฯลฯ aw > 0.97 • อาหารความชื้นปานกลางจะมีค่า aw = 0.6-0.9 • อาหารแห้ง เช่น ขนมปังแผ่น นมผง กาแฟสำเร็จรูป ค่า aw < 0.6 • การถนอมอาหารจะใช้วิธีการลดค่า aw ให้ต่ำลง ซึ่งจะจำกัดปริมาณความชื้นที่จะเป็นประโยชน์ต่อปฏิกิริยาต่าง ๆ ที่ทำให้อาหารเสื่อมคุณภาพ เช่น ปฏิกิริยาเคมีแบบ Enzymatic,Non-enzymatic, Lipid oxidation รวมไปถึง การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์

  11. aw • ถ้าลด aw ของธัญพืชต่ำเกินไป (แห้งมาก ๆ) จะทำให้ธัญพืชนั้นเริ่มกรอบ เปราะ และมีรอยแตก ส่งผลให้คุณภาพตกต่ำและเสียงต่อการเข้าทำลายของหนอนแมลง เป็นต้น • นอกจากการลดปริมาณน้ำเพื่อลดค่า aw ในอาหารด้วยวิธีการทำแห้งแล้ว อาจใช้วิธีการอื่นเพื่อลดค่า aw ได้เช่นการแช่อิ่มหรือการทำเค็ม

  12. ค่า aw ต่ำสุดสำหรับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรคต่าง ๆ (Pathogens).

  13. ตัวอย่างของจุลินทรียและค่า aw ต่ำสุดที่มีผลต่ออาหารบางชนิด

  14. Sorption Isotherm Moisture Content Desorption Adsorption 0.6 0.8 0 0.2 0.4 1.0 Water Activity (aw)

  15. การวัดค่า aw • ไม่มีเครื่องมือใด ๆ ที่จะสามารถวัดค่า aw ของอาหารได้โดยตรง • การวัดค่า aw จะทำโดยการวัดค่าความชื้นของอากาศแวดล้อมในภาชนะปิดที่สภาวะความชื้นสมดุลของอาหารและของอากาศแวดล้อม แทน • วิธีการวัดทำได้ 2 แบบ คือ วิธีแบบสถิตย์ (Static) และแบบพลวัต (Dynamic)

  16. อุปกรณ์ปิด ควบคุมอุณหภูมิได้ สารละลายเกลืออิ่มตัว อาหารตัวอย่างที่ต้องการหาค่า aw การวัดค่า awแบบสถิต • อาหารจะถูกทำให้อยู่ในสภาพสมดุลด้วยอากาศชื้นนิ่ง อาหารตัวอย่างซึ่งทำให้เหลือแต่มวลแห้ง (Dry matter) โดยผ่านการอบแห้งมาก่อนจะถูกวางอยู่ในภาชนะปิดซึ่งมีสารละลายเกลืออิ่มตัวบรรจุอยู่

  17. ค่า aw ของสารละลายเกลืออิ่มตัวสำหรับอ้างอิง.ที่มา: AOAC, 1995.

  18. การวัดค่า awแบบพลวัต • การหาค่า aw แบบพลวัตจะทำได้โดยการวัดค่าความชื้นสัมพัทธ์ของอาหารในภาชนะปิดด้วยด้วยเครื่องมือซึ่งสามารถวัดความชื้นสัมพัทธ์ของพื้นที่อากาศว่าง (Head space) ของอาหารด้วยเซ็นเซอร์แบบต่าง ๆ ที่นิยมใช้มี 2 แบบคือเซ็นเซอร์แบบตัวเก็บประจุ (Capacitance relative humidity sensor) กับเซ็นเซอร์แบบกระจกสะท้อนจุดอิ่มตัว (Chilled-mirror dewpoint sensor)

  19. อุปกรณ์วัดค่า aw โดยวัดความชื้นแบบ Chilled-mirror dewpoint sensor ผลิตโดย Decagon Device, Inc.

More Related