E N D
องค์ประกอบทางเคมีของ DNADNA เป็นสารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตและบางส่วนของ DNAทำหน้าที่เป็นจีน คือสามารถควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตได้ DNA เป็นกรดนิวคลีอิกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็น พอลิเมอร์ (polymer) สายยาวประกอบด้วย นิวคลีโอไทด์ซึ่งแต่ละนิวคลีโอไทด์ประกอบด้วยน้ำตาลดีออกซีไรโบส ไนโตรจีนัสเบส และหมู่ฟอสเฟต การประกอบขึ้นเป็นนิวคลีโอไทป์นั้น มีน้ำตาลเป็นแกนหลัก มีไนโตรจีนัสเบสอยู่ที่ตำแหน่งคาร์บอนที่ 1 และหมู่ฟอสเฟตอยู่ที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 5 ดังนั้น นิวคลีโอไทด์ใน DNA จึงมี 4 ชนิด ซึ่งแตกต่างกันตามองค์ประกอบที่เป็นเบส ได้แก่ อะดีนีน ( A=adenine)กวานีน (G=guanine) ไซโทซีน (C=cytosine) และไทมีน (T=tymine)
นิวคลีโอไทด์มีการเชื่อมกันเป็นโมเลกุลของ DNA การเชื่อมกันของนิวคลีโอไทด์ เกิดจากการสร้าง พันธะฟอสโฟไดเอสเทอร์ (phosphodiester bond) ระหว่างหมู่ฟอสเฟตที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 5ของน้ำตาลในนิวคลีโอไทด์หนึ่ง กับ หมู่ไฮดรอกซิลที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 3 ของน้ำตาลในอีกนิวคลีโอไทด์หนึ่ง เมื่อหลายๆนิวคลีโอไทด์มาเชื่อมกัน จะเกิดเป็นสายพอลีนิวคลีโอไทด์
จะเห็นว่าปลายด้านหนึ่งจะมีหมู่ฟอสเฟตเชื่อมอยู่กับน้ำตาล จะเห็นว่าปลายด้านหนึ่งจะมีหมู่ฟอสเฟตเชื่อมอยู่กับน้ำตาล ดีออกซีไรโบสที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 5 เรียกปลายด้านนี้ว่า 5l และปลายอีกด้านหนึ่งจะมีหมู่ไฮดรอกซิลที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 3 ที่เป็นอิสระ เรียกปลายด้านนี้ของสาย DNA ว่า 3lและพบว่า พอลีนิวคลีโอไทด์แต่ละสายจะแตกต่างกันที่ จำนวนของนิวคลีโอไทด์และลำดับของนิวคลีไทด์ ในปี พ.ศ.2492 เออร์วินชาร์กาฟฟ์ (Erwin Chargaff) นักชีวเคมีชาวอเมริกันได้วิเคราะห์ปริมาณเบสที่เป็นองค์ประกอบทางเคมีของโมเลกุล DNA ในสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ พบว่า อัตราส่วนของเบส 4 ชนิดใน DNA ที่สกัดจากสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ แตกต่างกัน ดังแสดงในตาราง ดังนี้
จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่า สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ปริมาณของเบส 4 ชนิดจะแตกต่างกัน แต่จะมีปริมาณของ A ใกล้เคียงกับ Tและ C ใกล้เคียงกับ G เสมอ เรียกว่า กฎของชาร์กาฟฟ์(Chaergaff’s rule) โดยสิ่งมีชีวิตจะมีอัตราส่วนระหว่าง A:T ละอัตราส่วนระหว่าง G:C ใกล้เคียงกับ 1 อาจเป็นไปได้ว่า A จับคู่กับ T และ G จับคู่กับ C จากอัตราส่วนนี้ชี้ให้เห็นว่า DNA จะต้องมีการจัดเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์4 ชนิด ที่ทำให้จำนวนของชนิด A เท่ากับ T และ G เท่ากับ C เสมอไป