1 / 75

เรื่อง การเกิดเงาของวัตถุ

เรื่อง การเกิดเงาของวัตถุ. จัดทำโดย. อาจารย์ พิมล พงษ์เผ่า. รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ฟิสิกส์. โรงเรียนพลูตาหลวงวิทยา.

Download Presentation

เรื่อง การเกิดเงาของวัตถุ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เรื่อง การเกิดเงาของวัตถุ จัดทำโดย อาจารย์ พิมล พงษ์เผ่า รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ฟิสิกส์ โรงเรียนพลูตาหลวงวิทยา 7 ( 1-75 )

  2. การเกิดเงา เมื่อแสงตกกระทบวัตถุทึบแสง แสงไม่สามารถผ่านทะลุวัตถุ จึงทำให้เกิดเงาของวัตถุบนฉากทางด้านที่แสงไม่ได้ตกกระทบ เช่น คนเป็นวัตถุทึบแสง ดังนั้นเมื่อยืนอยู่กลางแสงแดดจะเกิดเงาบนพื้นของคนที่ยืนเพราะคนกั้นทางเดินของแสง ทำให้แสงส่องไปไม่ถึงพื้นเงาจึงหมายถึง บริเวณที่แสงส่องไปไม่ถึง เนื่องจากวัตถุทึบแสงกั้นทางเดินของแสง เงาที่เกิดขึ้นมี 2 บริเวณ คือ1. เงามืด หมายถึง บริเวณที่แสงส่องไปไม่ถึงเลย2. เงามัว หมายถึง บริเวณที่แสงส่องไปถึงบ้าง 7 ( 1-75 )

  3. เพื่อศึกษาการเกิดเงา ทำให้ทราบว่าเงาเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยลองเลื่อนวัตถุทึบแสงไปมาระหว่างแหล่งกำเนิดแสงกับฉาก จะเห็นว่าเกิดเงาบนฉาก และเงาของวัตถุจะเปลี่ยนแปลงคือ เมื่อวัตถุอยู่ใกล้ฉาก เงาจะมีสีดำเข้ม เห็นขอบเงาชัดเจน แต่ถ้าวัตถุอยู่ห่างฉาก ความเข้มเงาจะลดลง เห็นขอบเงาไม่ชัดเจน ส่วนตรงกลางของเงาจะมืดกว่าส่วนขอบจากข้อสังเกตดังกล่าวเกี่ยวกับการเกิดเงา จะพบว่าเมื่อวัตถุทึบแสงอยู่ที่บางตำแหน่งเงาที่ปรากฏบนฉากนั้นจะมีความมืดต่างกันคือ บริเวณตรงกลางจะมืดมาก เรียกว่า เงามืด ส่วนขอบเงาจะมืดน้อยกว่า เรียกว่า เงามัว ซึ่งสามารถเขียนแผนภาพแสดงการเคลื่อนที่ของแสงได้ ดังนี้ 7 ( 1-75 )

  4. เราจึงสรุปเกี่ยวกับการเกิดเงาได้ว่าเมื่อมีวัตถุทึบแสงมากั้นแสง จะทำให้เกิดเงาบนฉาก โดยเงาจะอยู่ในทิศตรงกันข้ามกับแหล่งกำเนิดแสงรูปร่างของเงาขึ้นอยู่กับวัตถุทึบแสงที่ทำให้เกิดเงา เงาเปลี่ยนขนาดและตำแหน่งได้ เช่น ถ้าเลื่อนฉากเข้าใกล้แหล่งกำเนิดแสง ขนาดของเงาจะเล็กลง แต่ถ้าเลื่อนฉากรับแสงให้ไกลออกไป เงาก็จะโตขึ้นรูปร่างของเงาขึ้นอยู่กับรูปร่างของวัตถุที่ทำให้เกิดเงาเช่นถ้าวัตถุเป็นรูปทรงกลมเงาก็จะเป็นวงกลมแต่ถ้า ใช้วัตถุโปร่งแสง เช่น กระจกฝ้า หรือกระดาษลอกลายมาแทนวัตถุทึบแสงโดยนำวัตถุโปร่งแสงดังกล่าวมากั้นแสง เงาที่เกิดขึ้นจะจางกว่าเงาที่เกิดจากวัตถุทึบแสงประโยชน์จากเงาเรานำประโยชน์จากเงามาใช้ในกิจกรรมต่างๆ     - ใช้ในแง่ให้ความบันเทิง เช่น หนังตะลุง     - ใช้ในแง่ของการให้ความร่มรื่น เช่น การปลูกต้นไม้เพื่อช่วยให้เกิดร่มเงา     - ใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น การบอกเวลา โดยใช้นาฬิกาแดดนอกจากนี้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติบางอย่าง เช่น จันทรุปราคา สุริยุปราคา ก็ยังเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากเงาอีกด้วย 7 ( 1-75 )

  5. ข้อมูลเพิ่มเติมจากการทดลองข้อมูลเพิ่มเติมจากการทดลอง -เมื่อแสงตกทระทบกับวัตถุทึบแสงๆไม่สามารถผ่านทะลุวัตถุจึงทำให้เกิดเงาของวัตถุ-บริเวณที่แสงส่องไปไม่ถึง เนื่องจากวัตถุทึบแสงกั้นทางเดินของแสง ทำให้เกิดเงาขึ้น 2 แบบ 1.เงามืด=บริเวณที่แสงส่องไปไม่ถึงเลย 2.เงามัว=บริเวณที่แสงส่องไปถึงแค่บางส่วน หรือปริมาณของแสงไม่เพียงพอ-เงาจะเกิดขึ้นตรงข้ามกับแหล่งกำเนิดแสงเสมอ-รูปร่างของเงาขึ้นอยู่กับวัตถุ-วัตถุที่โปร่งแสงจะเกิดเงาที่จางกว่า วัตถุทึบแสง-พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก เงาของวัตถุจะทอดไปทิศตะวันตกแสดงว่าเงาจะเกิดขึ้นตรงข้ามกับโลกของเราหมุนรอบตัวเองหนึ่งรอบ(360 องศา) ใช้เวลา 24 ชั่วโมง ดังนั้นเราสามารถบอกได้ว่าเมื่อเวลาเปลี่ยนไป 24 ชั่วโมง โลกหมุนไป 360 องศา = เงาก็จะเปลี่ยนไป 360 องศาเมื่อเวลาเปลี่ยนไป 1 ชั่วโมง โลกหมุนไป 360/24 = 15 องศา = เงาก็จะเปลี่ยนไป 15 องศาเมื่อเวลาเปลี่ยนไป 4 นาที โลกหมุนไป 1 องศา = เงาก็จะเปลี่ยนไปแสงและเงา 7 ( 1-75 )

  6. เมื่อมีแสงตกกระทบวัตถุทึบแสง จะทำให้ไม่มีแสงผ่านวัตถุไปได้ ทำให้ด้านหลังของวัตถุนั้นจะเกิดเงาขึ้น การทดลองนี้เป็นการศึกษาการเกิดเงาของวัตถุ จากแสงสีต่าง ๆ จำนวน 3 สี คือสีแดง สีเขียวและสีน้ำเงิน และสามารถทดลองเกี่ยวกับการผสมของแสงสีต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกัน • การทดลอง • ด้านซ้ายมือคือฉาก ตรงกลางคือวัตถุกั้นแสง • กดปุ่มแสงสีที่ต้องการ(เริ่มต้นจะกำหนดให้เป็นแสงสีแดง) • กดปุ่ม "เส้นทางเดินของแสง" เพื่อดูแนวทางเดินของแสง • การเลื่อนวัตถุ ทำได้โดยเลื่อนเม้าไปที่วัตถุแล้วกดปุ่มซ้ายของเม้าและลากวัตถุไปยังตำแหน่งที่ต้องการ • การเปลี่ยนขนาดของวัตถุ ทำได้โดยเลื่อนเม้าไปที่วัตถุแล้วกดปุ่มขวาของเม้าและเลื่อนเม้าขึ้นหรือลงจนได้ขนาดตามต้องการ • ถ้ากดเม้าอย่างเร็ว 2 ครั้ง จะเป็นการเปลี่ยนแปลงกลับไปกับมาระหว่างวัตถุกับช่องเดี่ยว(สลิตเดี่ยว) และใช้วิธีเดียวกันกับข้างต้นเพื่อปลับเปลี่ยนตำแหน่งและขนาดของสลิต • การเปลี่ยนแปลงแหล่งกำเนิดแสง สามารถทำได้โดยกดปุ่มจากแถบเลือกด้านบน • แหล่งกำเนิดแสง1 คือแหล่งกำเนิดแสงที่เป็นจุด ซึ่งสามารถคลิกเม้าซ้ายแล้วเลื่อนไปยังตำแหน่งที่ต้องการได 7 ( 1-75 )

  7. แหล่งกำเนิดแสง2 คือแหล่งกำเนิดแสงที่เป็นแท่งทรงกระบอก ซึ่งสามารถคลิกเม้าซ้ายแล้วเลื่อนไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้ และ • สามารถเปลี่ยนความยาวของแท่งได้โดยการคลิกเม้าปุ่มขวา • ป 1 องศาเส้น แสง และเงาเส้น • หมายถึง จุดหลายๆจุดที่เรียงชิดติดกันเป็นแนวยาว หรือการลากเส้นจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งในทิศทางที่แตกต่างกัน จะเป็นทิศมุม 45 องศา 90 องศา 180 องศาหรือมุมใดๆ การสลับทิศทางของเส้นที่ลากทำให้เกิดเป็นลักษณะต่าง ๆ ในทางศิลปะเส้นมีหลายชนิดด้วยกันโดยจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ •             1.เส้นตรง หมายถึง เส้นที่เกิดจากจุดๆหนึ่งที่วิ่งไปหาจุดอีกจุดหนึ่งในทางตรงกันขัามโดยการลากเป็นเส้นต่อเนื่องหรือไม่ต่อเนื่องก็ได้แต่ถ้าขณะลากเส้นจะไม่เปลี่ยนทิศทาง จนกว่าจะถึงจุดที่สองจึงสามารถเปลี่ยนทิศทางได้ จำแนกเส้นตรงนี้ได้ 3 ลักษณะใหญ่ๆ (1.เส้นตรงแนวตั้ง , 2.เส้นตรงแนวนอน , 3.เส้นตรงแนวเฉียง) •              2.เส้นโค้ง หมายถึง เส้นที่ลากจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งแต่แนวของเส้นเปลี่ยนทิสทางเสมอดูลักษณะเส้นโค้ง 7 ( 1-75 )

  8. แสงและเงา 1.แสง คือ ส่วนที่ทำให้สีของภาพดูเจือจางลงและทำให้เกิดจุดเด่น ในภาพมากขึ้น2.เงา คือ ส่วนที่ทำให้สีของภาพดูหนักแน่นขึ้น บอกทิศทาง และมุมของแสง I:\Hearts.png การหักเหของแสงการเคลื่อนที่ของแสงผ่านวัตถุต่างๆจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อแสงเคลื่อนที่ผ่านวัตถุต่างชนิดกันนักเรียนเคยมองปลาหรือวัตถุต่างๆ ที่อยู่ในน้ำใสบ้างหรือไม่ และเคยคิดว่าปลาหรือวัตถุเหล่านั้นอยู่ตรงตำแหน่งที่มองเห็นหรือไม่ เพราะเหตุใด 7 ( 1-75 )

  9. นำดินสอใส่ลงในแก้วเปล่า แล้วมองแท่งดินสอในแนวต่างๆ กัน (ตำแหน่งของตาอยู่เหนือถ้วย) สังเกตลักษณะที่เห็น จากนั้นนำดินสอใส่ในแก้วที่บรรจุน้ำ สังเกตลักษณะที่เห็น และลองทำซ้ำโดยเปลี่ยนจากดินสอเป็นไม้บรรทัด สังเกตลักษณะที่เห็นเช่นกัน เราจะเห็นว่า ลักษณะดินสอทั้งแท่งในแก้วทั้งสอง จากการมองเห็นแตกต่างกัน ดินสอส่วนที่อยู่ในน้ำจะอยู่ตื้นกว่าที่เป็นจริง จะเห็นดินสอทั้งส่วนที่อยู่ในน้ำ และเหนือน้ำไม่ตรงเหมือนเดิม จะเห็นหักเป็นมุมที่ผิวน้ำ เมื่อเปลี่ยนดินสอเป็นไม้บรรทัด จะสังเกตเห็นไม้บรรทัดไม่ตรง จะเห็นหักเป็นมุมที่ผิวน้ำ ไม้บรรทัดส่วนที่อยู่ในน้ำ จะมองเห็นอยู่ตื้นกว่าที่เป็นจริง เมื่อแสงผ่านวัตถุต่างกัน แสงจะเบนไปจากแนวเดิมตรงผิวรอยต่อของน้ำและอากาศ เรียกแสงที่เบนไปจากแนวเดิมนี้ว่า รังสีหักเหสรุปว่า การที่เราเห็นวัตถุได้ เพราะแสงจากวัตถุมาเข้าตาเรา แสงจากวัตถุในน้ำที่มาเข้าตาเรา มีการเบนไปเมื่อผ่านจากน้ำออกสู่อากาศ ดังแผนภาพ 7 ( 1-75 )

  10. การมองวัตถุที่อยู่ในน้ำโดยผู้มองอยู่ในอากาศ แสงจากวัตถุเคลื่อนที่ผ่านน้ำ หักเหสู่อากาศ แล้วเข้าสู่นัยตา เมื่อต่อแนวรังสีหักเหไปตัดกันที่จุดหนึ่ง จุดนี้เป็นตำแหน่งภาพที่ตาเรามองเห็น ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้เรามองเห็นภาพวัตถุอยู่ตื้นกว่าวัตถุจริง จากความรู้นี้ คงจะอธิบายได้ว่า "เหตุใดเมื่อเรามองพื้นสระว่ายน้ำ จึงมองเห็นว่าพื้นสระว่ายน้ำตื้นกว่าความเป็นจริง" การหักเหของแสง เป็นสมบัติอย่างหนึ่งของแสง โดยปกติแสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง เมื่อเดินทางผ่านวัตถุโปร่งใสชนิดเดียวกัน แต่บางครั้งการเดินทางของแสงผ่านวัตถุ ๒ ชนิด เช่น แสงเดินทางผ่านอากาศแล้วผ่านไปในน้ำ การเดินทางของแสงในวัตถุทั้งสองจะเป็นเส้นตรง แต่ไม่อยู่ในแนวเดียวกัน นั่นคือแสงจะเกิดการหักเหไปจากแนวเดิม ตรงรอยต่อระหว่างผิวของวัตถุทั้ง ๒ ชนิดนั้น เราเรียกว่า การหักเหของแสง 7 ( 1-75 )

  11. เมื่อแสงเดินทางผ่านวัตถุต่างชนิดกัน จะเกิดการหักเหของแสง โดยการหักเหของแสงจะเบนเข้าหาเส้นแนวฉาก หรือเบนออกจากเส้นแนวฉากนั้น ขึ้นอยู่กับวัตถุที่แสงเดินทางผ่าน จึงควรพิจารณาดังนี้ (๑) ถ้าแสงเดินทางจากวัตถุที่แสงมีความเร็วมากกว่า ไปยังวัตถุที่แสงมีความเร็วน้อยกว่า เช่น จากน้ำไปสู่แก้ว จากอากาศไปสู่น้ำ หรือ จากน้ำไปสู่พลาสติก ลำแสงจะเบนเข้าหาเส้นแนวฉาก ดังภาพที่ ๑ 7 ( 1-75 )

  12. ๒) ถ้าแสงเดินทางจากวัตถุที่แสงมีความเร็วน้อยกว่า ไปยังวัตถุที่แสงมีความเร็วมากกว่า เช่น จากแก้วไปสู่น้ำ จากน้ำไปสู่อากาศ หรือ จากพลาสติกไปสู่อากาศ ลำแสงจะเบนออกจากเส้นแนวฉาก ดังภาพที่ ๒ ปรากฏการณ์ที่เกิดจากการหักเหของแสง(๑) การมองเห็นวัตถุที่อยู่ในน้ำหักงอ เช่น เห็นหลอดหรือช้อนที่อยู่ในแก้วซึ่งมีน้ำอยู่มีลักษณะหักงอผิดความจริง(๒) การมองเห็นสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในน้ำอยู่ตื้นกว่าความเป็นจริง เช่นเวลามองปลาที่อยู่ในน้ำ จะมองเห็นว่าปลาอยู่ตื้นกว่าความเป็นจริง(๓) เมื่อมองวัตถุผ่านน้ำไปยังอากาศ จะเห็นวัตถุอยู่ไกลกว่าความเป็นจริง 7 ( 1-75 )

  13. การสะท้อนของแสง การสะท้อนของแสงที่ผิวราบ เมื่อรังสีของแสงตกกระทบผิววัตถุที่จุดใดก็ตาม ถ้าเราลากเส้นตั้งฉาก กับผิววัตถุนั้น เส้นตั้งฉากที่ลากนี้เรียกว่าเส้นแนวฉากและเรียกมุมที่รังสีตกกระทบทำกับเส้นแนวฉากว่ามุมตกกระทบมุมที่รังสีสะท้อนทำกับแนวฉาก เรียกว่ามุมสะท้อน กฎการสะท้อนของแสงมีดังนี้ ๑.รังสีตกกระทบ รังสีสะท้อน และเส้นแนวฉาก อยู่บนระนาบเดียวกัน ๒. มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน วัตถุที่สะท้อนแสงได้ดีจะต้องมีผิวเรียบและเป็นมัน เช่น กระจกเงา จะทำให้เกิดการสะท้อนอย่างมีระเบียบ (ดังภาพที่ ๑) แต่ถ้าวัตถุที่มีผิวไม่เรียบ จะเกิดการสะท้อนไม่มีระเบียบ (ดังภาพที่ ๒) แต่การสะท้อนของแสดงเป็นไปตามกฎการสะท้อนของแสง 7 ( 1-75 )

  14. เราใช้การสะท้อนแสงที่ผิวกระจกราบมาใช้ประโยชน์ได้ดังนี้เราใช้การสะท้อนแสงที่ผิวกระจกราบมาใช้ประโยชน์ได้ดังนี้ กล้องเปอริสโคปเป็นกล้องที่ใช้สำหรับดูวัตถุที่อยู่สูงกว่าระดับสายตา หรือดูสิ่งที่มีของขวางกั้น โดยนำกฎการสะท้อนของแสงมาใช้ 7 ( 1-75 )

  15. ร้านขายสินค้าบางชนิด เช่น ร้านขายทอง หรือตามห้างสรรพสินค้า มักนำกระจกเงาระนาบ มาช่วยตกแต่งร้าน โดยวางทำมุมต่างๆ เพื่อให้ลูกค้ามองสินค้าแล้วรู้สึกว่ามีสินค้าวางจำหน่ายอยู่มาก และยังทำให้ร้านดูกว้างขวางอีกด้วย 7 ( 1-75 )

  16. การสะท้อนของแสงที่ผิวโค้งการสะท้อนของแสงที่ผิวโค้ง ถ้านำกระจกเงาที่มีผิวโค้งมาส่องดูใบหน้าของตัวเอง จะเห็นภาพในกระจกหรือไม่ อย่างไร กระจกที่ติดไว้ในรถยนต์เป็นกระจกเงาโค้งนูน ซึ่งคนขับรถใช้สำหรับมองด้านหลังหรือมองกระจกด้านข้าง นักเรียนลองใช้ตัวสะท้อนแสงผิวราบส่องดูใบหน้าตนเอง จากนั้นนำตัวสะท้อนแสงผิวโค้งนูน และผิวโค้งเว้ามาส่องดู แล้วสังเกตภาพของตนเองในตัวสะท้อนแสงว่าเป็นอย่างไร ลองทำซ้ำหลายๆครั้ง โดยเปลี่ยนระยะห่างระหว่างตัวสะท้อนแสงกับใบหน้า สังเกตภาพที่เกิดในตัวสะท้อนแสง แล้วบอกความแตกต่างของภาพ สรุปได้ว่า ถ้าใช้ตัวสะท้อนแสงผิวโค้งนูน จะเห็นภาพของสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น แต่ภาพจะมีขนาดเล็กกว่าของจริง และเป็นภาพหัวตั้ง และถ้าใช้ตัวสะท้อนแสงผิวโค้งเว้า จะไดภาพที่มีขนาดต่างกัน ทั้งหัวตั้งและหัวกลับ ภาพที่ปรากฎบนกระจกนูนและกระจกเงาเว้า ลักษณะของกระจกเงาเว้าและกระจกเงานูน ผิวที่ทำหน้าที่สะท้อนแสง มีลักษณะโค้งคล้ายผิวของรูปทรงกลม เมื่อใช้กระจกเงานูนส่องใบหน้าที่ระยะหนึ่ง ภาพที่เกิดขึ้นจะมีขนาดเล็กกว่าใบหน้าจริง เป็นภาพหัวตั้ง เมื่อกระจกเงานูนอยู่ห่างจากใบหน้าที่ระยะต่างๆ ภาพที่เกิดขึ้นจะมีขนาดเล็กกว่าวัตถุ เมื่อใช้กระจกเงาเว้าส่องดูใบหน้าที่ระยะต่างๆกัน พบว่าภาพที่เกิดขึ้นจะมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ - ถ้ากระจกอยู่ใกล้ๆ จะเห็นภาพหัวตั้ง ขนาดใหญ่กว่าใบหน้าจริง - ถ้ากระจกอยู่ไกลๆ จะเห็นภาพหัวกลับ มีทั้งขนาดเล็กหรือใหญ่กว่าใบหน้าจริง และบางตำแหน่งจะไม่เห็นภาพ 7 ( 1-75 )

  17. แสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถเคลื่อนที่ได้โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง และมีการเคลื่อนที่แนวเส้นตรงในตัวกลางชนิดหนึ่ง ๆจะเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางแต่ละชนิดด้วยความเร็วไม่เท่ากันตัวกลางใดมีความหนาแน่นมากแสงจะเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางนั้น  ด้วยความเร็วน้อย อัตราเร็วของแสงจะมีค่ามากที่สุดในสุญญากาศ คือ 3 x 108 m/s  (หมายความว่าในเวลา 1 วินาที แสงเดินทางได้เป็นระยะทาง 3 x 108เมตร) เมื่อมี  ลำแสงตกกระทบผิววัตถุจะทำให้เกิดปรากฏการณ์ ขึ้น 2 อย่าง คือ  1.การสะท้อนของแสง   2.การหักเหของแสง 7 ( 1-75 )

  18. การสะท้อนของแสงเป็นไปตามกฎการสะท้อนการสะท้อนของแสงเป็นไปตามกฎการสะท้อน กฎการสะท้อนแสง 1.  รังสีตกกระทบ รังสีสะท้อน และเส้นแนวฉาก จะอยู่ในระนาบเดียวกัน รังสีตกกระทบ หมายถึงรังสีที่แสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของแสงที่ตกกระทบกับผิววัตถุ(AO) รังสีตกสะท้อน หมายถึงรังสีที่แสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของแสงที่สะท้อนออกจากผิววัตถุ(OC) เส้นแนวฉากคือเส้นตรงที่ลากตั้งฉากกับผิววัตถุ ณ จุดที่รังสีตกกระทบผิววัตถุ(ON) 2. มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน ! มุมตกกระทบ คือ มุมที่รังสีตกกระทบทำกับเส้นแนวฉาก(มุม i ) มุมตกสะท้อน คือ มุมที่รังสีสะท้อนทำกับเส้นแนวฉาก (มุม r ) 7 ( 1-75 )

  19. วิธีทดลองให้ใช้เม้าคลิก ณ ตำแหน่งที่ต้องการให้รังสีตกกระทบผิวสะท้อน จะเห็นแนวของรังสีตกกระทบและรังสีสะท้อน ในกรณีที่ต้องการรังสีหลาย ๆ รังสี จากรูปเมื่อมีแสงจากวัตถุตกกระทบกระจก จะทำให้แสงสะท้อนออกจากกระจกซึ่งรังสีสะท้อนจะเป็นไปตามกฏการสะท้อน คือมุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน แสงแต่ละรังสี(แต่ละเส้น)จะเป็นไปตามหลักเดียวกัน ถ้าเราต่อแนวของรังสีสะท้อนแต่ละแนว จะพบว่าจะพบกันที่จุดเดียว และจุดนั้นคือตำแหน่งที่เกิดภาพนั่นเอง การเขียนภาพที่เกิดจากระจก ที่ปลายแต่ละด้านของวัตถุลากรังสีตกกระทบกับกระจก 2 เส้น เมื่อรังสีแต่ละเส้นไปตกกระทบกระจกจะสะท้อนออกจากกระจกโดยมีมุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อนแนวของรังสีทั้งสองตัดกันที่จุดใด จุดนั้นคือตำแหน่งที่เกิดปลายด้านนั้นของภาพ เส้นตรงที่ลากระหว่างปลายด้านบนและปลายด้านล่างของภาพ คือขนาดของภ 7 ( 1-75 )

  20. ภาพที่เกิดจากกระจกเงาราบ 1 บาน      1.ให้ภาพเสมือนหัวตั้งอยู่หลังกระจก      2. ขนาดภาพ = ขนาดวัตถุ      3. ระยะภาพ = ระยะวัตถุ      4. ภาพที่ได้กลับซ้ายเป็นขวา ภาพที่เกิดจากกระจก 2 บาน ทำมุมกัน ถ้ากระจกราบ 2 บาน ทำมุมกัน จำนวนภาพที่เกิดขึ้นหาได้จาก จำนวนภาพ  =   *** จุดทศนิยม ปัดขึ้นเสมอ *** 7 ( 1-75 )

  21. หลักการเขียนรูปการเกิดภาพจากเลนส์นูนหลักการเขียนรูปการเกิดภาพจากเลนส์นูน 7 ( 1-75 )

  22. สมบัติของแสง แสงเป็นคลื่นจึงมีสมบัติ 4ประการ คือ 1. การสะท้อน2. การหักเห 3. การเลี้ยวเบน4. การแทรกสอด 7 ( 1-75 )

  23. กระจกเว้า ( ใช้จุด c เป็นหลัก ) 7 ( 1-75 )

  24. เลนส์นูน (ใช้จุด 2Fเป็นหลัก ) 7 ( 1-75 )

  25. หลักการจำ • เลนส์นูนและกระจกเว้า ให้ทั้งภาพจริง และภาพเสมือน ภาพจริงมีทั้งขนาดเล็ก และใหญ่กว่าวัตถุ ภาพเสมือน มีแต่ขนาดใหญ่กว่าวัตถุเสมอ • เลนส์เว้าและกระจกนูน ให้ภาพเสมือนหัวตั้ง ขนาดเล็กกว่าวัตถุอย่างเดียวเท่านั้น 7 ( 1-75 )

  26. หลักการคำนวณกระจกและเลนส์หลักการคำนวณกระจกและเลนส์ • 1 = 1 + 1 f s s’ กำลังขยาย m = I = S’ O S f – คือระยะโฟกัส s – คือระยะวัตถุ s’ - คือระยะภาพ I – ขนาดภาพ O – ขนาดวัตถุ 7 ( 1-75 )

  27. การใช้เครื่องหมายในการคำนวณการใช้เครื่องหมายในการคำนวณ 7 ( 1-75 )

  28. **หมายเหตุ -1. ถ้าเป็นกระจกจะมีสูตร f = R/2 ซึ่งจะเป็นจริงเฉพาะกระจกโค้ง ที่มีความโค้งน้อย และบานเล็ก ๆ เท่านั้น ถ้าเป็นเลนส์ห้ามใช้สูตรนี้ ต้องใช้สูตรคือ 1/f = (n-1)[1/R1 + 1/R2] จึงต้องทราบทั้งค่า n ของแก้ว และ R ของเลนส์ทั้งสองข้างจึงหา f ได้m = s’- f f m = f s - f -2. ถ้ารวมสูตร m = I/O = S’/ S เข้ากับ 1/f = 1/S+1/S’ จะได้สูตร -3. การแทนค่าในสูตรต้องคิดเครื่องหมาย +,- ด้วย โดยภาพจริงใช้ m เป็นบวก,ภาพเสมือนใช้ m เป็นลบ 7 ( 1-75 )

  29. การเกิดภาพซ้อนที่เดียวกับวัตถุการเกิดภาพซ้อนที่เดียวกับวัตถุ หลัก 1. จะเกิดภาพที่เดียวกับวัตถุได้แสดงว่าแสงต้องเคลื่อนที่ไปตกตั้งฉากกับกระจก แล้วสะท้อนกลับทางเดิม รังสีของแสงจึงมาตัดกันที่เดิม 2. ควรใช้วัตถุเป็นจุด เพื่อให้เขียนทางเดินแสงได้ง่าย 7 ( 1-75 )

  30. 1. วางวัตถุที่จุดศูนย์กลางความโค้ง ( C ) ของกระจกเว้า แนวรังสีจะอยู่ในแนวรัศมีวงกลม จึงตกตั้งฉากกับผิวกระจกเว้าแล้วสะท้อนกลับทางเดิม 7 ( 1-75 )

  31. 2. วางวัตถุที่จุดโฟกัสของเลนส์นูน (F) ที่วางหน้ากระจกเงาราบ เมื่อวางวัตถุไว้ที่จุดโฟกัสของเลนส์นูน จะได้รังสีขนาดซึ่งเมื่อตกตั้งฉากกระจกเงาราบ รังสีจะสะท้อนกลับทางเดิม สังเกต ไม่ว่ากระจกกับเลนส์จะห่างกันเท่าใด จะให้ผลเช่นเดียวกัน 7 ( 1-75 )

  32. 3. วางวัตถุที่จุดใด ๆ หน้าเลนส์นูนที่วางกระจกนูน วางวัตถุไว้ที่จุดใดก็ตามหน้าเลนส์นูน จะเกิดการรวมแสงให้แคบลงมา ถ้าจัดให้รังสีที่ผ่านเลนส์นูนมีแนวตรงกับจุด C ของกระจกนูน รังสีนั้นจะตกตั้งฉากผิวกระจกนูนทำให้สะท้อนกลับทางเดิม 7 ( 1-75 )

  33. ช่องคู่และช่องเดี่ยว ถ้าให้แสงเคลื่อนที่มาพบสิ่งกีดขวางที่มีช่องเปิดเล็ก ๆ 1 ช่อง จะเรียกว่า “ช่องเดี่ยว” และถ้ามีช่องเปิดเล็ก ๆ 2 ช่อง จะเรียกว่า “ช่องคู่” ซึ่งแสงที่ผ่านช่องเดี่ยวและช่องคู่จะสามารถเลี้ยวเบนได้ทั้งคู่ แต่จะมีลักษณะการแทรกสอดที่แตกต่างกัน ซึ่งจะสังเกตได้บนฉากที่ไปรับแสงด้านหลังสลิต 7 ( 1-75 )

  34. ช่องคู่ ช่องคู่แนวปฏิบัพจะลงตัวเป็น 1λ , 2 λ , 3λ ,… แนวบัพจะลงครึ่งเริ่มจาก 0.5 λ , 1.5 λ , 2.5 λ ,… 7 ( 1-75 )

  35. **หมายเหตุ • d ในสูตรช่องคู่ คือ ระยะห่างระหว่างกึ่งกลางช่อง แถบสว่างทุกแถบมีความกว้างเท่ากัน และแถบที่อยู่ติดกันจะมีความสว่างใกล้เคียงกัน (ถ้าช่องแคบมากและฉากอยู่ไกลถือว่าทุกแถบสว่างเท่ากัน) 7 ( 1-75 )

  36. ช่องเดี่ยว ช่องเดี่ยว แนวบัพจะลงตัวเป็น 1 λ , 2 λ , 3 λ ,… แนวปฏิบัพจะลงครึ่งเริ่มจาก 1.5 λ , 2.5 λ , 3.5 λ ,… 7 ( 1-75 )

  37. **หมายเหตุ • d ในสูตรช่องเดี่ยวคือความกว้างช่อง แถบสวางกลางกว้างเป็น 2 เท่าของแถบอื่น และมีความสว่างแตกต่างกันมากโดยแถบสว่างกลางสว่างที่สุด แถบอื่นยังเบนจากแนวกลางยิ่งสว่างลดลงเรื่อย ๆ 7 ( 1-75 )

  38. ความผิดปกติของตา • หลัก 1.คนปกติจะมองเห็นภาพได้ชัดเจนเมื่อแสงมารวมกันตกที่เรตินาพอดี 2.คนปกติเห็นได้ใกล้ที่สุดประมาณ 25 เซนติเมตร จากตาเรียกว่า “จุดใกล้” และมองเห็นไกลสุดที่ ∞ เรียกว่า ”จุดไกล” 7 ( 1-75 )

  39. สายตาสั้น Tมองเห็นแค่ระยะใกล้ ๆ ระยะไกล ๆ จะเห็นไม่ชัด (นั่นคือ จุดใกล้เท่าเดิม แต่จุดไกลไม่ใช่ คือจะอยู่ใกล้ตาเข้ามา) Tสายตาสั้น เพราะแสงตกสั้นเกินไป คือ ตกก่อนถึงเรตินา Tแก้ไขโดยใช้เลนส์เว้า ช่วยถ่างแสง ให้ตกที่เรตินาพอดี 7 ( 1-75 )

  40. สายตายาว Tมองเห็นแค่ระยะยาว ๆ ระยะใกล้ ๆ จะมองไม่เห็น (นั่นคือ จุดไกลเท่าเดิม แต่จุดใกล้ไม่ใช่ 25 เซนติเมตร แต่จะไกลตาออกไปอีก) Tสายตายาว เพราะแสงตายาวเกินไป คือ ตกเลยเรตินา Tแก้ไขโดย ใช้เลนส์นูนช่วงรวมแสง ให้ตกที่เรตินาพอดี 7 ( 1-75 )

  41. แบบฝึกหัด 1. ถ้านำกระดาษทึบแสงมาปิดช่วงครึ่งซ้ายของเลนส์ที่ทำให้เกิดภาพ ของวัตถุบนฉากข้อความใดต่อไปนี้ถูก ก ภาพซีกซ้ายของวัตถุจะหายไป ข ภาพของวัตถุจะหายไป ค ภาพซีกขวาของวัตถุจะหายไป ง ภาพของวัตถุจะครบทุกส่วน 2. คนมองปลาในสระน้ำในแนวทำมุม 30 องศา กันแนวราบ จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้ว่าข้อใดถูก 1. คนเห็นปลาตื้นกว่าที่เป็นจริง 2. คนเห็นปลาลึกกว่าที่เป็นจริง 3. คนเห็นปลาตามตำแหน่งที่เป็นจริง 4. คนเห็นปลากลับซ้าย-ขวา 7 ( 1-75 )

  42. เฉลย 1. Answer : 4 แนวคิด ในการนำกระดาษทึบแสงมาปิดช่วงครึ่งท้ายของเลนส์ แต่ก็ยังเหลือครึ่งขวาดังนั้นบริเวณแสงที่มากระทบเลนส์เพียงแค่น้อยลง แต่ภาพของวัตถุยังครบทุกส่วน 7 ( 1-75 )

  43. Answer เฉลยข้อ 1 แสงจากปลาออกสู่อากาศ (เข้าตาคน) จะเบนออกจากเส้นแนวฉากทำให้ θ2 > θ1 เมื่อแสงเข้าตา ตาจะมองเห็นเป็นแนวเส้นตรง ทำให้เห็นปลาตื้นขึ้นมาจากความเป็นจริง 7 ( 1-75 )

  44. ยินดีต้อนรับแบบฝึกหัดเรื่องแสงจัดทำโดยนางสาว ชนัดดา เปรมสุขดีชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/1 เลขที่ 27เสนออาจารย์ พิมล พงศ์เผ่าโรงเรียนพลูตาหลวงวิทยา 7 ( 1-75 )

  45. วัตถุกลมแบนทึบแสง B มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2a วางอยู่กึ่งกลางระหว่างต้นกำเนิดแสง A และฉาก C ปรากฏเงามืดของ B บนฉากโดยไม่มีเงามัว ถ้ามีต้นกำเนิดแสงอีกอันหนึ่ง F เหมือน A ทุกประการ มาวางโดยที่แนว AF ขนานกับฉาก C AF จะมีค่าเท่าใด เงาของ B อันเกิดจาก A จะต่อกับเงาของ B อันเกิดจาก F พอดี 1. a 2. 2a 3. 3a 4. 4a 7 ( 1-75 )

  46. 7 ( 1-75 )

  47. 3. ในสมัยสงครามมีข้อกำหนดในการพรางไฟว่าให้ทุกบ้านเรือนใช้ความสว่างได้ไม่เกิน 0.4 ลักซ์ บ้านหลังหนึ่งใช้หลอดไฟที่มีความเข้มแห่งการส่องสว่างเท่ากับ 10.0 แคนเดลา จะต้องแขวนหลอดไฟดวงนี้ไว้หน้าบ้านสูงจากพื้นอย่างน้อยที่สุดเท่าใดจึงจะเป็นไปตามข้อกำหนดในการพรางไฟ 1. 4  เมตร 2. 2  เมตร 3. 5  เมตร 4. 25  เมตร 7 ( 1-75 )

  48. 7 ( 1-75 )

  49. 5. หลอดไฟฟ้า 2 ดวง A และ B ตั้งอยู่บนรางคนละฟากกันโดยมีแผ่นกระดาษที่มีหยดน้ำมันวางคั่นระหว่างกลาง เมื่อเลื่อนหลอด A และ B ให้ห่างจากแผ่นกระดาษเท่ากับ 50 และ 100 เซนติเมตร ตามลำดับ พบว่าเราไม่สามารถมองหยดน้ำมันบนแผ่นกระดาษได้ชัดเจน ถ้าหลอด A มีค่าความเข้มแห่งการส่องสว่างเท่ากับ 100 แคนเดลา อยากทราบว่าหลอด B มีค่าความเข้มแห่งการส่องสว่างเท่าไร 1. 100  แคนเดลา 2. 200  แคนเดลา 3. 300  แคนเดลา 4. 400  แคนเดลา 7 ( 1-75 )

  50. 7 ( 1-75 )

More Related