110 likes | 195 Views
การคำนวณเงินจ่ายล่วงหน้าสำหรับหน่วยบริการ สป.สธ. 2557. ข้อแตกต่างของงบเหมาจ่ายรายหัวล่วงหน้า ปี 57. การคำนวณเงินจ่ายล่วงหน้าสำหรับหน่วยบริการ สป.สธ. 2557. ค่าบริการ OP ที่จ่ายแบบเหมาจ่ายตาม ประชากร ค่าบริการ IP ทั้งบริการในเขตและนอกเขต
E N D
การคำนวณเงินจ่ายล่วงหน้าสำหรับหน่วยบริการ สป.สธ. 2557
การคำนวณเงินจ่ายล่วงหน้าสำหรับหน่วยบริการ สป.สธ. 2557 • ค่าบริการOP ที่จ่ายแบบเหมาจ่ายตามประชากร • ค่าบริการ IP ทั้งบริการในเขตและนอกเขต • ค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค(P&P basic services) • งบจ่ายตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ (QOF) • 5. ค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยบริการ • 6. การปรับลดค่าแรง (หักเงินเดือน)
1.การประมาณการจัดสรรงบค่าบริการOP Capitation 57 (1,001.87) • จัดสรรเบื้องต้นโดยใช้ฐานประชากร UC ที่เป็นปัจจุบัน (ก.ค. 56)โดยอาจปรับตามจำนวนประชากร UC ที่คาดว่าจะลดลงในปี2557 จากการเปลี่ยนแปลงไปเป็นสิทธิข้าราชการท้องถิ่น หรือปรับจากกรณีอื่นๆเช่น ปรับจากกรณีบุคคลซ้ำซ้อน เป็นต้น โดยจัดสรรด้วยอัตรา Diff Capitation ระดับจังหวัด(830.86) + อัตราเท่ากัน ที่ 171.01 บาท ต่อหัวประชากร UC • สำหรับหน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการใหม่ใน ปีงบประมาณ 2557 หรือรับโอนประชากรจากหน่วยบริการอื่นจะมีการปรับฐานประชากรตามข้อมูลที่ได้ประสานเพิ่มเติมกับสปสช.เขต
2. การประมาณการจัดสรรงบค่าบริการIP 57 • ทั้งที่ให้บริการในเขต และนอกเขต • ประมาณการadjRWที่คาดว่าหน่วยบริการจะทำได้ทั้งปีจากผลงานของหน่วยบริการที่ผ่านมา • ประมาณการจัดสรรเงิน IP กรณีที่หน่วยบริการให้บริการรักษาผู้ป่วยภายในเขตเดียวกันด้วยอัตราจ่ายเบื้องต้นที่ประมาณการได้ในแต่ละเขต • ประมาณการจัดสรรเงิน IP กรณีที่หน่วยบริการให้บริการรักษาผู้ป่วยนอกเขต โดยคำนวณจ่ายอัตรา 9,600 บาทต่อ adjRW • 4) ประมาณการเงินบริการรักษาผู้ป่วยโรคนิ่วเพื่อนำนิ่วออกจากระบบทางเดินปัสสาวะด้วยเครื่องสลายนิ่วให้เป็นไปตามเงื่อนไขบริการและอัตราที่ สปสช.กำหนด
3. การประมาณการจัดสรรงบ P&P basic services • 1) P&P basic servicesจำนวน 162บาทต่อหัวประชากรไทย คำนวณอัตราจ่ายเป็นภาพรวมของแต่ละหน่วยบริการประจำและจังหวัด ได้แก่ • จำนวน 100.72บาท จัดสรรแบบเหมาจ่ายรายหัวตามจำนวนผู้มีสิทธิ UC ณ 1 ก.ค. 56 ให้กับแต่ละ CUP สำหรับส่วนที่เหลือ (Non UC) จัดสรรเป็นภาพรวมระดับจังหวัดให้ อปสจ. พิจารณาปรับเกลี่ยเงินให้หน่วยบริการประจำ/หน่วยบริการ/สถานพยาบาลที่สมัครเข้าร่วมจัดบริการ • จำนวน 61.28บาทต่อหัวประชากรไทย จัดสรรตามปริมาณผลงานข้อมูลบริการในช่วงระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมาตามชุดกิจกรรมภายใต้สิทธิประโยชน์แต่ละกลุ่มวัยทุกสิทธิ • 2) P&P เพื่อจัดบริการทันตกรรมส่งเสริมป้องกัน (เฉพาะกลุ่ม) จำนวน 10 บาทต่อหัวประชากรไทย • จัดสรรแบบเหมาจ่ายรายหัวตามจำนวนผู้มีสิทธิ UC ณ 1 ก.ค. 56 ให้กับแต่ละ CUP สำหรับส่วนที่เหลือจัดสรรเป็นภาพรวมระดับจังหวัดให้ อปสจ. พิจารณาปรับเกลี่ยเงินให้หน่วยบริการประจำ/หน่วยบริการ/สถานพยาบาลที่สมัครเข้าร่วมจัดบริการ • 3) P&P จ่ายตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการ จัดสรรล่วงหน้าจำนวน 11 บาทต่อผู้มีสิทธิ UC (55%ของ 20บาท)ตามจำนวนผู้มีสิทธิ UC ณ 1 ก.ค. 56 ให้กับแต่ละ CUP
4. งบจ่ายตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ งบจ่ายตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ จัดสรรล่วงหน้าจำนวน 17.60 บาทต่อผู้มีสิทธิ UC (55%ของ 32บาท)ตามจำนวนผู้มีสิทธิ UC ณ 1 ก.ค. 56 ให้กับแต่ละ CUP
5. ค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยบริการ เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น งบประมาณทั้งหมด 900 ล้านบาทโดยมีแนวทางการบริหารจัดการ ดังนี้ • เป็นค่าบริการเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการที่จำเป็นต้องให้บริการในพื้นที่กันดารและพื้นที่เสี่ยงภัย (พื้นที่ Hardship) • ให้ใช้ผลการศึกษาสมการต้นทุนของโรงพยาบาลและ รพ.สต. (ชุดที่ปรับปรุงใหม่เป็นตัวแทนหน่วยบริการที่มีประสิทธิภาพ) และข้อมูลงบการเงินของหน่วยบริการ โดยประยุกต์จ่ายตามตัวแปรของสมการต้นทุน • หน่วยบริการสังกัด สป.สธ. อาจต้องเกลี่ยงบบริการผู้ป่วยนอกทั่วไปที่ได้รับมาสนับสนุนหน่วยบริการในพื้นที่ Hardship หากงบรายการนี้ไม่เพียงพอ • ให้คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง เป็นผู้พิจารณารายชื่อหน่วยบริการและเงื่อนไขการจ่าย
6. การปรับลดค่าแรง (หักเงินเดือน) 1) ปรับลดค่าแรงจากงบประมาณที่หน่วยบริการได้รับจากงบประมาณ OP/IP/PP 2) ผนวกการปรับประสิทธิภาพหน่วยบริการกับการปรับเกลี่ยค่าแรงโดยมีหลักการ ดังนี้ • การปรับเกลี่ยต้องนำข้อมูลรายรับรายจ่ายจากทุกแหล่งมาคำนวณ ไม่ใช่เฉพาะ UC • การปรับเกลี่ยต้องนำข้อมูลด้านประสิทธิภาพของหน่วยบริการ โดยอาจใช้ ต้นทุนต่อหน่วย (unit cost) หรือตัวชี้วัดอื่นที่สามารถแสดงถึงประสิทธิภาพและศักยภาพของหน่วยบริการ มาพิจารณาประกอบ โดยต้องได้รับการยอมรับและตรวจทานจากหน่วยบริการสังกัด สป.สธ. ทุกระดับ • การช่วยหน่วยบริการที่มีปัญหาการขาดทุนต้องมีเงื่อนไขในการพัฒนาประสิทธิภาพของหน่วยบริการให้ดีขึ้น • ต้องจัดระบบรายงานความก้าวหน้าในการพัฒนาและระบบในการติดตามกำกับให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพตามแผนงานที่หน่วยบริการให้สัญญาว่าจะดำเนินการ • อาจต้องมีมาตรการเฉพาะหากหน่วยบริการไม่สามารถแก้ไขปัญหาการขาดประสิทธิภาพได้ตามแผนงานที่หน่วยบริการให้สัญญาว่าจะดำเนินการ
6. การปรับลดค่าแรง (หักเงินเดือน) ต่อ 3) ให้ปรับลดค่าแรงที่ระดับหน่วยบริการ (CUP) ตามจำนวนที่สำนักงบประมาณปรับลด และหากจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาสภาพคล่องของหน่วยบริการให้ปรับลดค่าแรงเพิ่มอีกไม่เกินร้อยละ 3 (ประมาณ 1,841 ล้านบาท) ของจำนวนเงินเดือนของ CUP โดย สป.สธ. เป็นผู้พิจารณา 4) จำนวนเงินที่หักไว้เกินเงินเดือนที่สำนักงบประมาณหักไว้ ให้เป็นวงเงินสำหรับการแก้ไขปัญหาสภาพคล่องของหน่วยบริการ (เงิน CF) โดยมอบให้เครือข่ายบริการสุขภาพระดับเขตของกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดสรรระหว่างจังหวัดในเขต และหากไม่จำเป็นต้องใช้ เงิน CF ให้จ่ายคืนหน่วยบริการ 5) การสนับสนุนเงินสำหรับการแก้ไขปัญหาสภาพคล่องของหน่วยบริการให้ จังหวัด เป็นผู้พิจารณาเกลี่ยการหักเงินเดือนระหว่าง CUP ภายในจังหวัดเพื่อให้มีรายได้ที่เหมาะสม โดยไม่ให้เกลี่ยเงินของ CUP ในกลุ่ม hardship ไปช่วย CUP อื่น สำหรับการปรับเกลี่ยการหักเงินเดือนให้คำนึงถึงปัจจัยการบริหารจัดการภายในจังหวัดด้วย เช่น การส่งตัวผู้ป่วยนอกภายในจังหวัด/ข้ามจังหวัด , ค่าดำเนินการ (Fixed cost) ของสถานีอนามัย ,เงินเดือนนักเรียนทุน/ลูกจ้าง หรือกิจกรรมอื่นๆที่จำเป็นต้องใช้ในการส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของแต่ละหน่วยบริการ เป็นต้น
เปรียบเทียบงบก่อนปรับเกลี่ย จาก สสจ.