370 likes | 612 Views
การส่งงานวิจัยให้ได้รางวัล. ศาสตราจารย์สมบูรณ์ เทียนทอง ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ใครมีผลงานวิจัยที่พร้อมจะส่งเข้า ร่วมประชุม R2R ปีนี้บ้าง. ขั้นตอนการพิจารณาผลงาน R2R. เป็นผลงาน R2R หรือไม่. ส่งบท คัดย่อ ผ่านระบบ. ปฐมภูมิ. ทุติยภูมิ. ตติยภูมิ/ รร. แพทย์.
E N D
การส่งงานวิจัยให้ได้รางวัลการส่งงานวิจัยให้ได้รางวัล ศาสตราจารย์สมบูรณ์ เทียนทอง ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ใครมีผลงานวิจัยที่พร้อมจะส่งเข้าใครมีผลงานวิจัยที่พร้อมจะส่งเข้า ร่วมประชุม R2R ปีนี้บ้าง
ขั้นตอนการพิจารณาผลงาน R2R เป็นผลงาน R2R หรือไม่ • ส่งบทคัดย่อผ่านระบบ • ปฐมภูมิ • ทุติยภูมิ • ตติยภูมิ/รร.แพทย์ • บริหาร • กรรมการ เกณฑ์ให้คะแนน ขอ:ฉบับสมบูรณ์/Manuscript/ตีพิมพ์(สัมภาษณ์) รางวัล
ลักษณะงานวิจัยที่เข้าข่าย R2R 1. โจทย์ของงานวิจัยได้มาจากปัญหา ในการทำงานประจำ (มิติคุณภาพ) 2. การวิจัยที่ดำเนินการโดยผู้ปฏิบัติ ที่ต้องการพัฒนางานประจำ 3. ผลของงานวิจัย เน้นที่ผู้รับบริการ 4. สามารถนำผลงานวิจัยไปใช้ ประโยชน์ในการพัฒนางานประจำ R2R Newsletter ฉบับปฐมฤกษ์ http://r2r.hsri.or.th
เกณฑ์การให้คะแนน (ตติยภูมิ)
ตัวอย่าง VAP • ICU ดูแล ผป 70 ราย/ด • การดูแลผู้ป่วย ICU มีปัญหาหลายอย่าง เช่น ขาดอาหาร,VAP, ….. • VAP เกิดขึ้นบ่อยๆ • ศึกษาลด VAP ด้วยวิธีไม่ล้างมือ (ยอมรับได้ไม๊) • ICU ดูแล ผป Ventilator 70ราย/ด • ผป ใส่ Ventilator มีปัญหา 3 อันดับแรก คือ 1 VAP (..%), 2 ขาดอาหาร (%), 3 ….(..%) • อุบัติการณ์ VAP หน่วยงาน = % • ศึกษาการลด VAP ด้วยวิธี (ใหม่) (ไม่เพิ่มความเสี่ยง)
ตัวอย่างบทคัดย่อ (บทนำ) งานประจำ • ผู้ป่วยภาวะวิกฤตที่มีภาวะหัวใจเต้นช้าผิดจังหวะจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการใส่เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอาจจะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นกระบวนการเตรียมความพร้อมก่อนทำหัตถการจึงมีความสำคัญยิ่ง วิธีเดิมสอนด้วยแผ่นภาพการทำหัตถการแต่เนื่องจากเนื้อหาค่อนข้างยากทำให้การสื่อสารถึงวิธีการทำหัตถการได้ไม่ชัดเจนและใช้เวลานานทำให้ผู้ป่วยขาดความสนใจไม่เข้าใจวิธีการรักษาโดยรับรู้ว่าเป็นการผ่าตัดใหญ่และวิตกกังวลกลัวการรักษา • พบว่ามีผู้ป่วยที่ปฏิเสธการรักษาด้วยวิธีนี้ร้อยละ 20-30 หลังทำหัตถการพบอุบัติการณ์เลื่อนหลุดของสาย 3-4 ครั้ง/เดือน ซึ่งสะท้อนว่าผู้ป่วยยังขาดความพร้อมก่อนการทำหัตถการ • การพัฒนาสื่อการสอน (...) จะช่วยให้ทีมสุขภาพทำงานได้ง่าย รวดเร็ว มีคุณภาพ ผู้ป่วยเข้าใจวิธีการทำและให้ความร่วมมือในการทำหัตถการ...... ปัญหา ขนาดปัญหา วัตถุประสงค์ คนหน้างาน? สร้างสรรค์?
ตัวอย่างการทบทวนวรรณกรรม (VAP) • อุบัติการณ์ของ VAP ที่เป็นมาตรฐานไม่ควรเกิน....% • รายงาน (คนอื่น) ที่สามารถลด VAP ได้ดีอยู่ที่ ...% เขาทำได้อย่างไรบ้าง ....ระบุวิธีการ • วิธีการใดบ้างที่ใช้แล้วไม่ได้ผล ......ระบุวิธีการ • ประเด็นใดที่ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน ระบุ (อาจมีหลายประเด็น) • การวิจัยที่เราจะทำตอบปัญหาในประเด็นใด • แนวคิด/ทฤษฎี ที่ใช้ คืออะไร
วิธีการศึกษาแต่ละวิธีควรเน้นอะไรบ้างวิธีการศึกษาแต่ละวิธีควรเน้นอะไรบ้าง กลุ่มทดลอง/กึ่งทดลอง • กลุ่มตัวอย่าง/ขนาดตัวอย่าง • การสุ่มตัวอย่าง • เกณฑ์คัดออก • ระยะเวลาที่ศึกษา • ข้อมูลที่ต้องการศึกษา (รายละเอียดวิธีการที่สำคัญ) • การวิเคราะห์ สถิติเปรียบเทียบ • ผลการศึกษา พบอะไร การศึกษาเชิงพรรณนา • เก็บตัวอย่างจาก..... • ย้อนหลังหรือไปข้างหน้า • ระยะเวลาที่ศึกษา • กลุ่มตัวอย่าง/ขนาดตัวอย่าง • เกณฑ์คัดออก • ข้อมูลที่ต้องการศึกษา • การวิเคราะห์ (อาจไม่ต้อง) • ผลการศึกษา พบอะไร
ตัวอย่าง วิธีการศึกษา เชิงคุณภาพ • บริบทก่อนทำวิจัย • ตัวอย่าง คือใคร จำนวน • ระยะเวลาที่ศึกษา • ข้อมูลที่ต้องการศึกษา (รายละเอียดวิธีการที่สำคัญ) • ผลการศึกษา พบอะไร • การวิเคราะห์ ความน่าเชื่อถือ Action Research • บริบทก่อนทำวิจัย • การพัฒนา ประเด็นใดบ้าง ผู้เกี่ยวข้องมีใครบ้าง • วัดผลอะไรบ้าง อย่างไร • การวิเคราะห์ ความน่าเชื่อถือ
? ? อธิบายวิธีการทำ ระเบียบวิธีวิจัย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ....โดยแบ่งหัวข้อการเก็บข้อมูลออกเป็น1. ความพึงพอใจของ ผู้ป่วย 2. ระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจผู้ป่วยแต่ละราย 3. ความผิดพลาดที่เกิดจากการ ติดเครื่องมือผิดตำแหน่งการเก็บข้อมูลเป็น 2 ช่วง คือ 1.ก่อนการพัฒนา 2.หลัง การพัฒนา เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ 1.แบบสอบถามความพึงพอใจ (กี่ระดับ) 2. แบบบันทึกข้อมูลระยะเวลา และความผิดพลาดในการติดเครื่องมือผิดตำแหน่ง เริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนเมษายน – พฤษภาคม 2555 กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่เข้ารับ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่หน่วยตรวจโรค.....จำนวน 100 คน (?) Time? กลุ่มตัวอย่างและจำนวน
ผลการศึกษา • ข้อมูลพื้นฐานของผู้ที่ได้รับการศึกษา • ผลการศึกษามีหลายด้านแต่ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ • เสนอประเด็นที่พบ ทั้งข้อมูลจริงและการเปรียบเทียบที่ดีขึ้นหรือแตกต่าง • เลือกเฉพาะประเด็นที่สำคัญเพราะมีพื้นที่จำกัด • การใช้สถิติที่เหมาะสม
ข้อมูลประชากร? ผลการศึกษา พบว่าข้อมูลก่อนการพัฒนาเรื่องความพึงพอใจได้ 42 % ระยะเวลาที่ใช้ในการทำ หัตถการในผู้ป่วยแต่ละรายประมาณ 5-6 นาที และข้อมูลความผิดพลาดในการติด เครื่องมือผิดตำแหน่งพบ 2 ราย เมื่อนำ“ ผ้ากันยุ่ง ”มาใช้ข้อมูลหลังการพัฒนา พบว่าความพึงพอใจได้ 58 % ระยะเวลาที่ใช้ในการทำหัตถการในผู้ป่วยแต่ละราย ประมาณ 4-5 นาที และไม่พบข้อมูลความผิดพลาดในการติดเครื่องมือผิด • จากการศึกษาข้อมูลที่ได้ทั้งก่อนและหลังการพัฒนาพบว่าในเรื่องความพึงพอใจของผู้ป่วยเปอร์เซ็นต์ที่ได้ไม่แตกต่างกันมาก เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ผู้ป่วยที่เป็นผู้ชายจะมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเปิดเผยอวัยวะบริเวณหน้าอกในขณะทำหัตถการน้อยกว่าผู้ป่วยที่เป็นผู้หญิง • เรื่องระยะเวลาที่ใช้ในการทำหัตถการในผู้ป่วยแต่ละราย ผลการศึกษาพบว่าหลังจากนำ “ ผ้ากันยุ่ง ” มาใช้ระยะเวลาในการทำหัตถการดีขึ้นเล็กน้อยเนื่องจาก“ ผ้ากันยุ่ง ” ยังมีข้อบกพร่อง คือ ขนาดของผ้าใหญ่เกินไป ผ้าที่นำมาตัดเย็บนิ่มเกินไปทำให้เสียเวลาจัดวางผ้าให้ได้รูปทรงก่อนการใช้งาน และผลการศึกษาเรื่องความผิดพลาดในการติดเครื่องมือผิดตำแหน่งพบว่า “ ผ้ากันยุ่ง ” ช่วยป้องกันความผิดพลาดในการติดเครื่องมือผิดตำแหน่งได้ดี ดีขึ้น 1 นาที? discussion
บทเรียนที่ได้รับจากการทำงานชิ้นนี้ทำให้เป็นการกระตุ้นบุคลากรในหน่วยงานทุกระดับให้เห็นว่าการทำ R2R ไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อน แต่เป็นการแก้ปัญหาในงานประจำที่ทำทุกวันให้ดีขึ้นและการใช้ “ ผ้ากันยุ่ง ” ยังต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อลดจุดบกพร่องและเพิ่มประสิทธิภาพจากคำแนะนำของผู้ใช้งานในหน่วยงาน • ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ความร่วมมือของทุกคนในหน่วยงานที่ช่วยให้คำติชม ข้อเสนอแนะต่างๆเกี่ยวกับการใช้ “ ผ้ากันยุ่ง ” • การสนับสนุนที่ได้รับจากผู้บริหารหน่วยงาน/องค์กร ได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้างานการพยาบาลผู้ป่วยนอกและฉุกเฉิน งานบริการผ้า และบุคลากรทุกคนในหน่วยงาน
การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ จากการที่ได้ศึกษาและพัฒนางานในครั้งนี้พบว่าการใช้ “ ผ้ากันยุ่ง ” ช่วยลดระยะเวลาในการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้เล็กน้อย ช่วยลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยหญิงมากกว่าผู้ป่วยชาย และลดความผิดพลาดจากการติดเครื่องมือผิดตำแหน่งของพยาบาลในขณะตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ ขณะนี้กำลังปรับปรุง “ ผ้ากันยุ่ง ” โดยการนำเอาข้อบกพร่องที่พบไปปรึกษากับงานบริการผ้าของศูนย์ให้เข้ามาช่วยปรับปรุง
ตัวอย่างบทคัดย่อ (1) • วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบปริมาณ ORS ที่ผู้ป่วยเด็กอุจจาระร่วงเฉียบพลันรับได้ในรูปแบบของสารละลายและแบบแช่แข็ง • วิธีการ: เป็นการศึกษาแบบทดลอง (RCT)ในผู้ป่วยเด็กท้องร่วงเฉียบพลัน (อายุ 1-12 ปี) ที่ป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันและรับตัวรักษาในหอผู้ป่วยเด็กโรงพยาบาล...... จำนวน 30 ราย โดยทุกรายมีภาวะขาดน้ำในระดับน้อยและปานกลาง ผู้ป่วย 30 รายถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มโดยวิธีสุ่ม กลุ่มแรกได้รับการรักษาภาวะขาดน้ำโดยการรับประทาน ORS แบบสารละลายและกลุ่มที่สองได้รับ ORS แบบแช่แข็งและเปรียบเทียบปริมาณ ORS ที่ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มรับได้ในเวลา 30 นาที สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ t-test และ chi-square test กำหนดค่า p <0.05
ตัวอย่างบทคัดย่อ (2) • ผลการศึกษา: ในเวลา 30 นาทีพบว่า ผู้ป่วยเด็กอุจจาระร่วงเฉียบพลันรับประทาน ORS แบบแช่แข็งในปริมาณเฉลี่ย 66.8 มิลลิลิตร (มล.) ซึ่งมากกว่ากลุ่มที่ได้แบบสารละลายในปริมาณเฉลี่ย 39.8 มล.อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.023) ไม่พบอาการข้างเคียงจากการรับประทาน ORS แบบแช่แข็ง ผู้ปกครองยอมรับ ORS แบบแช่แข็งมากกว่ารูปแบบของสารละลาย โดยพบความพึงพอใจร้อยละ 86.7 ในกลุ่มที่ได้รับ ORS แบบแช่แข็งเปรียบเทียบกับร้อยละ 40 ในกลุ่มที่ได้รับ ORS แบบสารละลายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.008)
อ่าน MS จะได้คะแนนมากกว่านี้
ตัวอย่างบทคัดย่อ (1) • ที่มา การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจประจำวันทุกวันในหอผู้ป่วย เป็นการตรวจที่ปฏิบัติเป็นงาน ประจำวันในหอผู้ป่วย CCU และ ICCU โรงพยาบาล...... ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจประจำวันทุกเช้า เพื่อดูความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แม้ว่าจะมีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจประจำวันในช่วงเช้าแล้วก็ตาม ยังมีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจทำเพิ่มเติมในระหว่างวันเมื่อมีอาการผิดปกติ หรือเมื่อพบ ECG monitoring ผิดปกติที่เปลี่ยนไปจากเดิม อุบัติการณ์ความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจประจำวันที่ตรวจพบในแต่ละวันยังไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูล จึงมีข้อสงสัยที่ว่าการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในช่วงเช้าทุกวันมีความจำเป็นหรือไม่ • วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อให้ได้ข้อมูลเพื่อประกอบการกำหนดแนวทางในการตรวจ และลดค่าใช้จ่ายจากการตรวจที่ไม่จำเป็น
ตัวอย่างบทคัดย่อ (2) • วิธีการศึกษา เป็น prospective descriptive study design ในผู้ป่วยทุกรายที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย CCUและ ICCU โรงพยาบาล.. ในช่วงพฤษภาคม-มิถุนายน 2549 จำนวน 110ราย โดยทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจประจำวันผู้ป่วยทุกรายในช่วงเช้า และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเมื่อมีอาการผิดปกติ (?) จากนั้นวิเคราะห์หาอุบัติการณ์และชนิดของความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าทั้งหมดและความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เปลี่ยนแปลงการรักษา (ใครอ่าน)
ตัวอย่างบทคัดย่อ (3) • ผลการศึกษา อุบัติการณ์การตรวจพบคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละวันการการตรวจเป็นประจำในช่วงเช้า มีจำนวนทั้งสิ้น 52.7% (95%CI 50.8, 61.7) อย่างไรก็ตามในจำนวนนี้มีอยู่ 25.9% (95%CI 21.9, 35.3) ที่สามารถตรวจพบจาก ECG monitoring ส่วนคลื่นไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงและมีผลต่อการรักษา มีจำนวน 20% (95%CI 16.3, 25.9) โดยมีเพียง 12.7% (95%CI 10.8, 16.5) ที่ไม่สามารถตรวจพบจาก ECG monitoring คลื่นไฟฟ้าหัวใจประจำวันที่พบว่าเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมพบมากในผู้ป่วยโรค acute coronary syndrome, CHF และ Arrhythmias ตามลำดับ ผู้ป่วยที่พบการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจประจำวันผิดปกติมากที่สุดคือ กลุ่ม acute coronary syndrome และพบมากในช่วง 3 วันแรกของการรักษา
ตัวอย่างบทคัดย่อ (4) • การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ จากงานวิจัยที่ได้ ได้นำมาเป็นแนวทางในการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจประจำวันในหอผู้ป่วย CCU และ ICCU จากเดิมที่ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการตรวจ EKG 12 leads ทุกวันในช่วงเช้า จนกว่าจะจำหน่ายออกจากหอผู้ป่วย เปลี่ยนเป็นการตรวจ EKG 12 leads เฉพาะในผู้ป่วยกลุ่ม Acute coronary syndrome ใน 3 วันแรกของการ Admit หลังจากนั้นตรวจเมื่อมีอาการเปลี่ยนแปลง ส่วนผู้ป่วยรายอื่นตรวจ EKG 12 leads แรกรับ ผลจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน พบว่าทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจประจำวันโดยประมาณจาก 1,728,000 บาทต่อปีเป็น 586,800 บาทต่อปี และลดระยะเวลาที่ต้องใช้ในการตรวจจาก17,280 นาทีต่อปี เป็น 5,868 นาทีต่อปี
ตัวอย่างบทคัดย่อ (5) • บทเรียนที่ได้รับจากการวิจัยได้มีการปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างทีมสุขภาพในการแก้ไขปัญหาในหอผู้ป่วย เพื่อวางแผนในการดูแลรักษาได้อย่างมีประสิทธิ ภาพ ลดการเพิ่มภาระงานที่ไม่จำเป็น ได้ฝึกทักษะในการทำงานวิจัย และช่วยให้บุคลากรในหอผู้ป่วยเกิดแรงบันดาลใจในการทำงานวิจัยเรื่องอื่นๆ ต่อไป • ปัจจัยแห่งความสำเร็จ บุคลากรในหน่วยงานทั้งพยาบาล แพทย์ ให้ความร่วมมือในการทำงานวิจัย มีการทำงานเป็นทีม และการนำผลงานวิจัยมาใช้ในการลดภาระงานในหอผู้ป่วย ทำให้บุคลากรมีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนางานประจำให้เป็นงานวิจัย • การสนับสนุนที่ได้รับจากผู้บริหารหน่วยงาน/องค์กร ได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้าสาขาหทัยวิทยา ในการทำงานวิจัย และโครงการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยของ..... สนับสนุนทั้งเงินทุน และการให้คำปรึกษาทุกด้านในการทำงานวิจัย
ขอเชิญรับรางวัล ครั้งที่ 6 (31 ก.ค.-2 ส.ค. 2556) ขอบคุณ