550 likes | 706 Views
มาตรฐานและตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ/เขต. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ( องค์การมหาชน ). โดย. ผศ. ดร. สุพงศ์ นิ่มกุลรัตน์. กรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). หลักเกณฑ์การกำหนดตัวบ่งชี้.
E N D
มาตรฐานและตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ/เขต สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) โดย ผศ. ดร. สุพงศ์ นิ่มกุลรัตน์ กรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
หลักเกณฑ์การกำหนดตัวบ่งชี้หลักเกณฑ์การกำหนดตัวบ่งชี้ • การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554 – 2558) ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ/เขตสมศ.ได้กำหนด ตัวบ่งชี้เป็น 3 กลุ่ม • กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน • กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ และ • กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม • โดยให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553 ข้อ 38 ซึ่งกำหนดให้ สมศ.ทำการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ คือ • มาตรฐานผลการจัดการศึกษาในแต่ละระดับและประเภทการศึกษา • มาตรฐานการบริหารจัดการศึกษา • มาตรฐานการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ • มาตรฐานการประกันคุณภาพภายใน
การแบ่งกลุ่มตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้พื้นฐานหมายถึง กลุ่มตัวบ่งชี้ที่ประเมินภายใต้ภารกิจของสถานศึกษา โดยกำหนดตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินบนพื้นฐานที่ทุกสถานศึกษาต้องมีและปฏิบัติได้ ซึ่งสามารถชี้ผลลัพธ์และผลกระทบได้ดี (ตัวบ่งชี้ที่ 1-8)
การแบ่งกลุ่มตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ หมายถึง กลุ่มตัวบ่งชี้ที่ประเมินผลผลิตตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา รวมถึงความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละสถานศึกษา โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา (ตัวบ่งชี้ที่ 9-10)
การแบ่งกลุ่มตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม หมายถึง กลุ่มตัวบ่งชี้ที่ประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษา โดยสถานศึกษาเป็นผู้กำหนดแนวทางพัฒนาเพื่อร่วมกันชี้แนะ ป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมตามนโยบายของรัฐ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาและปัญหาสังคมที่เปลี่ยนไป โดยมีเป้าหมายที่แสดงถึงความเป็นผู้ชี้นำสังคม อาทิ การรักชาติ การบำรุงศาสนาและเทิดทูนพระมหากษัตริย์ การส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติเป็นแบบอย่าง การสร้างสังคมสันติสุขและความปรองดอง การส่งเสริมความร่วมมือในกรอบประชาคมอาเซียน การส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน เศรษฐกิจ สุขภาพ ค่านิยม จิตสาธารณะ และความประหยัด รวมทั้งการแก้ปัญหาสังคม อาทิ ความขัดแย้ง อุบัติภัย และสิ่งเสพติด เป็นต้น (ตัวบ่งชี้ที่ 11-12)
การกำหนดค่าน้ำหนักตัวบ่งชี้การกำหนดค่าน้ำหนักตัวบ่งชี้
ข้อมูลการดำเนินงานที่ใช้ประกอบการพิจารณาข้อมูลการดำเนินงานที่ใช้ประกอบการพิจารณา • ข้อมูลที่ใช้ในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย • ใช้ข้อมูลผลการดำเนินงานเฉลี่ย 3 ปีการศึกษาย้อนหลังก่อนการประเมิน • กรณีสถานศึกษาเปิดใหม่ที่มีการดำเนินงานไม่ครบ 3 ปีการศึกษา ให้ใช้ข้อมูลผลการดำเนินงานเฉลี่ย 2 ปีการศึกษาล่าสุด • หากมีการดำเนินงานไม่ครบ 2 ปีการศึกษา ให้ใช้ข้อมูลผลการดำเนินงาน 1 ปีการศึกษาล่าสุดก่อนการประเมิน)
กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐานกลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้ที่ 1 ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้ย่อย
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงตามวัย รวมทั้งรู้จักดูแลตนเองให้ มีความปลอดภัย น้ำหนัก 5 คะแนน (เชิงปริมาณ 4 คะแนน และพัฒนาการ 1 คะแนน) เกณฑ์การพิจารณาเชิงปริมาณ (4 คะแนน) (1.1) ร้อยละของผู้เรียนที่ได้รับการตรวจสุขภาพและมีพัฒนาการด้านสุขภาพดีขึ้น (1.2) ร้อยละของผู้เรียนที่ลด ละ เลิกจากปัญหาทางเพศ ยาเสพติด และสิ่งมอมเมา เช่น สุรา บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ เกม เป็นต้น วิธีการคำนวณ X เกณฑ์การให้คะแนนใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 4 คะแนน X เกณฑ์การพิจารณาพัฒนาการ (1 คะแนน) สถานศึกษามีค่าเฉลี่ยร้อยละของปีการศึกษาล่าสุดอยู่ในระดับดีมาก (ตั้งแต่ร้อยละ 90 ขึ้นไป) หรือมีค่าเฉลี่ยร้อยละของปีการศึกษาล่าสุดสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีการศึกษาที่ผ่านมาให้นับว่าสถานศึกษามีพัฒนาการ
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 ผู้เรียนมีสุนทรียภาพ น้ำหนัก 5 คะแนน (เชิงปริมาณ 2 คะแนน และพัฒนาการ 3 คะแนน) เกณฑ์การพิจารณาเชิงปริมาณ (2 คะแนน) ร้อยละของผู้เรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งในและนอกหลักสูตร ด้านศิลปะ ดนตรี/นาฏศิลป์ วรรณศิลป์ หรือนันทนาการ วิธีการคำนวณ X เกณฑ์การให้คะแนนใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 2 คะแนน X
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 ผู้เรียนมีสุนทรียภาพ (ต่อ) น้ำหนัก 5 คะแนน (เชิงปริมาณ 2 คะแนน และพัฒนาการ 3 คะแนน) เกณฑ์การพิจารณาเชิงคุณภาพ (3 คะแนน) พิจารณาจากกระบวนการเชิงนโยบายของผู้บริหารสถานศึกษาและ ผลงานของผู้เรียนจากองค์ประกอบ 3 ข้อ ได้แก่ ข้อ 1 การกำหนดนโยบายส่งเสริมสุนทรียภาพของสถานศึกษา ข้อ 2 มีการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ (PDCA) ข้อ 3 มีผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนอยู่ในระดับดีขึ้นไป เกณฑ์การให้คะแนน
กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐานกลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้ที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ย่อย
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ผู้เรียนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวหรือชุมชน เกณฑ์การพิจารณาเชิงปริมาณ (4 คะแนน) ร้อยละของผู้เรียนที่เป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว โดยแบ่งระดับคุณภาพ ออกเป็น5 ระดับได้แก่ ระดับน้อย (มีการปฏิบัติสัปดาห์ละ 1 ครั้ง) ระดับค่อนข้างน้อย (มีการปฏิบัติสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 2 วัน) ระดับปานกลาง (มีการปฏิบัติสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3 - 4 วัน) ระดับค่อนข้างมาก (มีการปฏิบัติสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 5 - 6 วัน) ระดับมาก (มีการปฏิบัติสม่ำเสมอทุกวัน) โดยผู้เรียนที่มีคุณลักษณะตามเกณฑ์ระดับดีขึ้นไป หมายถึง ผู้เรียนที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนผลการประเมินคุณลักษณะการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวและชุมชน ตั้งแต่ระดับดีขึ้นไป วิธีการคำนวณ X เกณฑ์การให้คะแนนใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 4 คะแนน X
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 ผู้เรียนเป็นนักศึกษาที่ดีของสถานศึกษา น้ำหนัก 4 คะแนน (เชิงปริมาณ 2 คะแนน และพัฒนาการ 2 คะแนน) เกณฑ์การพิจารณาเชิงปริมาณ (2 คะแนน) 1.1 ร้อยละของผู้เรียนที่มาเรียนสม่ำเสมอ มาเรียนทันเวลา 1.2ร้อยละของผู้เรียนที่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของสถานศึกษา วิธีการคำนวณ X เกณฑ์การให้คะแนนใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 4 คะแนน X
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 ผู้เรียนเป็นนักศึกษาที่ดีของสถานศึกษา (ต่อ) เกณฑ์การพิจารณาเชิงคุณภาพ (2 คะแนน) พิจารณาจากคุณลักษณะของการเป็นผู้เรียนที่ดีของสถานศึกษา ดังนี้ (1) สุภาพ(2) รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น (3) ซื่อสัตย์(4) ขยัน (5) สะอาด(6)ประหยัด (7)รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และรักความเป็นไทย (8)ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (9) กตัญญูกตเวที(10) สามัคคี (11) มีวินัย เกณฑ์การให้คะแนน
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผู้เรียนมีการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม เกณฑ์การพิจารณาเชิงปริมาณ (2 คะแนน) ร้อยละของผู้เรียนที่ทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมทั้งในและนอกสถานศึกษาโดยผ่านกระบวนการคิด วางแผน กำหนดกิจกรรม และดำเนินการโดยสถานศึกษาหรือผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง วิธีการคำนวณ X เกณฑ์การให้คะแนนใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 2 คะแนน X
กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐานกลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้ที่ 3 ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้ย่อย
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 ผู้เรียนค้นคว้าหาความรู้จากการอ่านและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เกณฑ์การพิจารณาเชิงปริมาณ (5 คะแนน) ร้อยละของผู้เรียนที่มีการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอจากการอ่านและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง วิธีการคำนวณ X เกณฑ์การให้คะแนนใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 5 คะแนน X
ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงร่วมกับผู้อื่นทั้งในและนอกสถานศึกษา เกณฑ์การพิจารณาเชิงปริมาณ (5 คะแนน) ร้อยละของผู้เรียนที่เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงร่วมกับผู้อื่นทั้งในและนอก สถานศึกษาจากการดู การฟัง การลงมือปฏิบัติ การทัศนศึกษา ตามเกณฑ์ ของสถานศึกษา และจากข้อมูลเชิงประจักษ์ วิธีการคำนวณ X เกณฑ์การให้คะแนนใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 5 คะแนน X
กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐานกลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้ที่ 4 ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้ย่อย
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ผู้เรียนมีความสามารถด้านการคิด เกณฑ์การพิจารณาเชิงปริมาณ (5 คะแนน) ร้อยละของผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินความสามารถด้านการคิด และข้อมูลเชิงประจักษ์ วิธีการคำนวณ X เกณฑ์การให้คะแนนใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 5 คะแนน X
ตัวบ่งชี้ที่ 4.2 ผู้เรียนมีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคม เกณฑ์การพิจารณาเชิงปริมาณ (5 คะแนน) ร้อยละของผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคม และข้อมูลเชิงประจักษ์ วิธีการคำนวณ X เกณฑ์การให้คะแนนใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 5 คะแนน X
กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐานกลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้ที่ 5 ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ย่อย
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนการศึกษาพื้นฐาน ประกอบด้วย 5 ตัวบ่งชี้ย่อย คือ หมายเหตุ กรณีที่ยังไม่มีผลคะแนนการทดสอบ (N-NET) ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ให้ใช้คะแนนสอบปลายภาคของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนการศึกษาพื้นฐาน (ต่อ) วิธีการคำนวณผลสัมฤทธิ์ (ตัวบ่งชี้ละ 1.5 คะแนน) X เกณฑ์การให้คะแนน ใช้บัญญัติไตรยางค์เทียบกำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 1.5 คะแนน ร้อยละของผู้เรียนที่มีคะแนนผลการทดสอบ (N-NET) ในแต่ละกลุ่มสาระ การเรียนรู้สูงกว่าขีดจำกัดล่างของค่าเฉลี่ยผลการทดสอบ X 1.5 จำนวนผู้เรียนทั้งหมด
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนการศึกษาพื้นฐาน (ต่อ) เกณฑ์การให้คะแนนพัฒนาการ (ตัวบ่งชี้ละ 0.5 คะแนน)
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่องที่สามารถจบการศึกษาตามหลักสูตร/โครงการ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่องที่สามารถจบการศึกษาตาม หลักสูตร/โครงการ หมายถึง ผู้เรียนหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องในแต่ละหลักสูตร/โครงการ (เฉพาะที่มีระยะเวลาเรียนตั้งแต่ 40 ชั่วโมงขึ้นไป) ที่จบการศึกษาตามหลักสูตร/โครงการที่กำหนด วิธีการคำนวณ X เกณฑ์การให้คะแนนใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 5 คะแนน X
ตัวบ่งชี้ที่ 5.3 ผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่องที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ หมายถึง ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาต่อเนื่อง (เฉพาะหลักสูตร/โครงการที่มีระยะเวลาเรียนตั้งแต่ 40 ชั่วโมงขึ้นไป) ไปใช้ประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม เช่น นำความรู้ไปพัฒนาหรือประกอบอาชีพ เปลี่ยนอาชีพ ซึ่งก่อให้เกิดรายได้หรือ ลดรายจ่าย หรือนำความรู้ ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม เป็นต้น วิธีการคำนวณ X เกณฑ์การให้คะแนนใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 5 คะแนน X
กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐานกลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้ที่ 6 ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้ย่อย
ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 ประสิทธิผลการดำเนินการของสถานศึกษา ประสิทธิผลการดำเนินการของสถานศึกษา หมายถึง ระดับคุณภาพการบริหารจัดการและการสนับสนุนของผู้บริหารสถานศึกษา มีเกณฑ์การประเมินคุณภาพและการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 ข้อ ดังนี้ 1) สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูได้รับการพัฒนาในวิชาที่สอนหรือวิชาครูตามที่คุรุสภากำหนด (ไม่ต่ำกว่า 20 ชั่วโมง/ปี) 2) สถานศึกษามีการตรวจสอบและประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ของครูทุกคนอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง 3) สถานศึกษามีการนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินการจัดการเรียนการสอนของครูทุกคนอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง 4) สถานศึกษามีการวิเคราะห์คุณภาพของแบบวัด แบบทดสอบ ของครูทุกคน ทุกภาคกาารศึกษา 5) สถานศึกษามีการนำผลจากข้อ 1- 4 ไปพัฒนาครูแต่ละคนอย่างเป็นระบบ เกณฑ์การพิจารณาพิจารณาจากผลการดำเนินการอย่างมีคุณภาพตามข้อ 1 - 5 เกณฑ์การให้คะแนน
ตัวบ่งชี้ที่ 6.2 กระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู กระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู หมายถึง ครูสามารถจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จำนวน 8 ข้อ ดังนี้ 1) การกำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ด้านความรู้ ทักษะกระบวนการที่เป็นความคิดรวบยอด หลักการและความสัมพันธ์ รวมทั้งคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 2) การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเป็นรายบุคคล แล้วนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่ท้าทายความสามารถของผู้เรียน 3) การออกแบบการเรียนรู้และจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมอง เพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย 4) การจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ 5) การจัดเตรียมและใช้สื่อให้เหมาะสมกับกิจกรรม นำภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ในการจัดการเรียนการสอน 6) การประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนด้วยวิธีที่หลากหลาย เหมาะสมกับธรรมชาติของวิชาและระดับพัฒนาการของผู้เรียน รวมทั้งการวางเงื่อนไขให้ผู้เรียนประเมินความก้าวหน้าของตนเองและนำมาใช้ปรับปรุงและพัฒนาตนเอง 7) การวิเคราะห์ผลการประเมินและนำมาใช้ในการซ่อมเสริมและพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน 8) การศึกษาค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนาสื่อและกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ
ตัวบ่งชี้ที่ 6.2 กระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู (ต่อ) เกณฑ์การพิจารณา พิจารณาจากผลการดำเนินการของครู ตามข้อ 1 - 8 เกณฑ์การให้คะแนน
กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐานกลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้ที่ 7 ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนาสถานศึกษา เกณฑ์การพิจารณาเชิงคุณภาพ พิจารณาจากผลการปฏิบัติงานตามบทบาท หน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาในการบริหารจัดการและพัฒนาสถานศึกษา จำนวน 4 ข้อ ดังนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 7 ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนาสถานศึกษา (ต่อ) ข้อที่ 1 ประสิทธิภาพการบริหารจัดการตามบทบาท หน้าที่ของผู้บริหารสถาน ศึกษา (2 คะแนน) คือ ผู้บริหารสถานศึกษามีการบริหารจัดการตามมาตรา 39 ของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 เกณฑ์การให้คะแนน หมายเหตุ สำหรับหน่วยงานในสังกัดอื่นที่นอกเหนือจาก สพฐ. ให้ปรับเทียบเคียง การดำเนินงานตามเกณฑ์การพิจารณา
ตัวบ่งชี้ที่ 7 ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนาสถานศึกษา (ต่อ) ข้อที่ 2 ประสิทธิภาพของคณะกรรมการสถานศึกษา(1 คะแนน) คือ การได้มาของคณะกรรมการสถานศึกษาและการปฏิบัติหน้าที่ตามคู่มือการ สรรหาและการแต่งตั้งคณะกรรมการสถานศึกษา สำนักงาน กศน. เกณฑ์การให้คะแนน การคิดคะแนนถ่วงน้ำหนัก
ตัวบ่งชี้ที่ 7 ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนาสถานศึกษา (ต่อ) ข้อที่ 3 บรรยากาศและสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา (2 คะแนน) คือ สถานศึกษามีบรรยากาศและสภาพแวดล้อม ดังต่อไปนี้ 1) มีความสะอาด ถูกสุขลักษณะ 2) มีความปลอดภัย 3) มีความสวยงาม เกณฑ์การให้คะแนน เกณฑ์การให้คะแนนรวมตัวบ่งชี้ที่ 7
กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐานกลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้ที่ 8 พัฒนาการของการประกันคุณภาพภายในโดยสถานศึกษาและต้นสังกัด น้ำหนัก 5 คะแนน (เชิงปริมาณ 2.5 คะแนน และพัฒนาการ 2.5 คะแนน) 1. เกณฑ์การพิจารณาเชิงปริมาณ (2.5 คะแนน) ใช้คะแนนของผลการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา จากต้นสังกัด ๑ ปีล่าสุด หมายเหตุ หากสถานศึกษาไม่มีข้อมูลผลการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษาจากต้นสังกัด จะได้คะแนนเท่ากับ 0 คะแนน การคิดคะแนนถ่วงน้ำหนัก คะแนนที่ได้* หมายถึง คะแนนของผลการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากต้นสังกัด 1 ปีล่าสุด (จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน)
กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐานกลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้ที่ 8 พัฒนาการของการประกันคุณภาพภายในโดยสถานศึกษาและต้น สังกัด (ต่อ) 2. เกณฑ์การพิจารณาพัฒนาการ (2.5คะแนน) ใช้คะแนนผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา 3 ปีย้อนหลัง เกณฑ์การให้คะแนน หมายเหตุ หากสถานศึกษาคงคะแนนอยู่ในช่วงระดับคุณภาพดีมาก (4.50 -5.00 จาก คะแนนเต็ม 5) ในแต่ละปี จะได้ 2 คะแนน
กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐานกลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้ที่ 8 พัฒนาการของการประกันคุณภาพภายในโดยสถานศึกษาและต้นสังกัด (ต่อ) การคิดคะแนนถ่วงน้ำหนัก เกณฑ์การให้คะแนนรวมตัวบ่งชี้ที่ 8
กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ ตัวบ่งชี้ที่ 9 ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง สถานศึกษา เกณฑ์การพิจารณาเชิงคุณภาพ 1) ผู้บริหาร ครู บุคลากร ชุมชนและองค์กรภายนอกมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนปฏิบัติงานโดยระบุเป้าหมายและกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับปรัชญา ปณิธาน/วิสัยทัศน์ และพันธกิจการดำเนินงานของสถานศึกษาโดยได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา 2) มีการสร้างระบบการมีส่วนร่วมของผู้เรียน และบุคลากรในการปฏิบัติตามกลยุทธ์ที่กำหนดอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และบุคลากรไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติ 3) มีการประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในสถานศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 4) ผลการดำเนินงานบรรลุตามปรัชญา ปณิธาน/วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์การจัดตั้งสถานศึกษา และเกิดผลกระทบที่ดีต่อชุมชน ท้องถิ่น 5) ผู้เรียนร้อยละ75 ขึ้นไปมีอัตลักษณ์ตามปรัชญา ปณิธาน/วิสัยทัศน์ และพันธกิจด้านผู้เรียนตามที่สถานศึกษากำหนด และเป็นที่ยอมรับของชุมชน ท้องถิ่น
กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ ตัวบ่งชี้ที่ 9 ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง สถานศึกษา (ต่อ) เกณฑ์การให้คะแนน
กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ ตัวบ่งชี้ที่ 10 ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อน เป็นเอกลักษณ์ของ สถานศึกษา เกณฑ์การพิจารณาเชิงคุณภาพ 1. ผู้บริหาร ครู บุคลากร ชุมชนและองค์กรภายนอกมีส่วนร่วมในการกำหนดจุดเน้น จุดเด่น หรือความ เชี่ยวชาญเฉพาะของสถานศึกษา รวมทั้งกำหนดแผนปฏิบัติงานโดยระบุเป้าหมายและกลยุทธ์การดำเนินงาน โดยได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา 2. มีการสร้างระบบการมีส่วนร่วมของผู้เรียน และบุคลากรในการปฏิบัติตามกลยุทธ์ที่กำหนดอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และบุคลากรไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง 3. มีการประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในสถานศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 4. ผลการดำเนินงานบรรลุตามจุดเน้น จุดเด่น หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของสถานศึกษาและเกิดผลกระทบที่ดีต่อชุมชน ท้องถิ่น 5. สถานศึกษามีเอกลักษณ์ตามจุดเน้น จุดเด่น หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะที่กำหนด และได้รับการยอมรับจากองค์กรภายนอกสถานศึกษา
กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ ตัวบ่งชี้ที่ 10 ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อน เป็นเอกลักษณ์ของ สถานศึกษา(ต่อ) เกณฑ์การให้คะแนน
กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสิรมกลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสิรม ตัวบ่งชี้ที่ 11 ผลการดำเนินงานโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาท ของสถานศึกษา เกณฑ์การพิจารณาเชิงคุณภาพ ดูจากการดำเนินโครงการพิเศษระดับสถานศึกษาที่สถานศึกษากำหนดเพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาทั้งในสถานศึกษา และ/หรือ ชุมชน รวมทั้งการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ การจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและการพัฒนาบุคลากร ตามเกณฑ์การพิจารณาดังนี้ 1. มีแผน/แนวทางการขับเคลื่อนชุมชนที่ชัดเจน 2. ชุมชนสามารถขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการต่อเนื่องเองได้ 3. ผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการ ต่อเนื่อง จากจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 4. ชุมชนที่ดำเนินโครงการ สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนอื่น 5. ได้รับการยอมรับจากสังคม หน่วยงาน องค์กรภายนอก
กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสิรมกลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสิรม ตัวบ่งชี้ที่ 11 ผลการดำเนินงานโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาท ของสถานศึกษา (ต่อ) เกณฑ์การให้คะแนน
กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสิรมกลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสิรม ตัวบ่งชี้ที่ 12 ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน รักษา มาตรฐาน และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ ที่สอดคล้องกับแนวทางการ ปฏิรูปการศึกษา เกณฑ์การพิจารณาเชิงคุณภาพ พิจารณาจากผลการปรับปรุงและพัฒนาสถานศึกษาตามแผนการดำเนินงานประจำปี ตามมาตรการที่นำมาปรับปรุงและพัฒนา เพื่อมุ่งไปสู่สถานศึกษาที่มีคุณภาพตามกลุ่มสถานศึกษา 1) มีแผนการดำเนินงานประจำปีตามมาตรการที่นำมาปรับปรุงและพัฒนา เพื่อมุ่งไปสู่สถานศึกษาที่มีคุณภาพตามกลุ่มสถานศึกษา โดยใช้ข้อเสนอแนะจากผลการประเมินคุณภาพภายนอกและผลการประเมินคุณภาพภายใน (กรณีสถานศึกษาที่ยังไม่เคยได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสองให้ใช้ผลการประเมินคุณภาพภายในจากต้นสังกัด) 2) มีข้อตกลงร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับหน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานสนับสนุน หรือหน่วยงานอื่นๆ ทั้งเป็นลายลักษณ์อักษรหรือมีข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบครบวงจรคุณภาพ (PDCA) 4) มีผลการดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามแผนการดำเนินงานประจำปีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 5) มีผลกระทบต่อคุณภาพของสถานศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสิรมกลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสิรม ตัวบ่งชี้ที่ 12 ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน รักษามาตรฐาน และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ ที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา(ต่อ) เกณฑ์การให้คะแนน
การรับรองมาตรฐานกศน. • มีผลรวมคะแนนการประเมินคุณภาพภายนอกระดับสถานศึกษา ตั้งแต่ 80.00 คะแนนขึ้นไป 2. มีตัวบ่งชี้อย่างน้อย 10 ตัวบ่งชี้ จากทั้งหมด 12 ตัวบ่งชี้ ที่มีระดับคุณภาพแต่ละตัวบ่งชี้ตั้งแต่ระดับดีขึ้นไป 3. ต้องไม่มีตัวบ่งชี้ใดอยู่ในระดับคุณภาพต้องปรับปรุง หรือ ต้องปรับปรุงเร่งด่วน