670 likes | 1k Views
ระบบเครือข่ายไร้สาย Wireless Lan. LAN Protocol. โปรโตคอลที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายท้องถิ่นจะเป็น โปรโตคอลที่ทำงานอยู่ ในเลเยอร์ ตั้งแต่ชั้นที่ 5 ลงมา จนถึงเลเยอร์ ชั้นล่างสุด.
E N D
ระบบเครือข่ายไร้สาย Wireless Lan
LANProtocol โปรโตคอลที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายท้องถิ่นจะเป็น โปรโตคอลที่ทำงานอยู่ในเลเยอร์ตั้งแต่ชั้นที่ 5 ลงมาจนถึงเลเยอร์ชั้นล่างสุด
หน้าที่ของ LAN โปรโตคอล - โปรโตคอลในเลเยอร์ชั้น Physical จะทำหน้าที่เข้ารหัส หรือถอดรหัส (Encode หรือ Decode) ของสัญญาณข้อมูล - โปรโตคอลในเลเยอร์ชั้น LLCมีหน้าที่จัดหาเส้นทาง หรือเป็นจุดติดต่อการบริการ (Service Access Point,SAP) 1 จุด หรือ มากกว่าสำหรับการสื่อสารในเครือข่าย รวมทั้งทำหน้าที่รวม หรือกระจาย เส้นทางการติดต่อ (มัลติเพล็กซ์และดีมัลติเพล็กซ์) ตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูล อุปกรณ์สำคัญที่ใช้ใน เลเยอร์นี้ - โปรโตคอลในเลเยอร์ชั้น MAC มีหน้าที่จัดระบบการติดต่อสื่อสารกับเลเยอร์ชั้น Network รวมทั้งจัดการการเข้าถึงต้นทางและปลายทางต่าง ๆ (Multiple Source/Destination Access) สำหรับโปรโตคอลในเครือข่าย LAN แล้วเราให้ความสำคัญกับโปรโตคอลในเลเยอร์ชั้น MAC มากที่สุด ดังนั้นเนื้อหาในส่วนนี้จะเน้นที่โปรโตคอลในเลเยอร์ชั้น MAC เป็นสำคัญ
ชนิดของ LAN โปรโตคอล โปรโตคอลสำหรับ LAN คือวิธีการในการควบคุมกำหนดการส่ง-รับ หรือแลกเปลี่ยนข่าวสาร ระหว่างผู้ส่งและผู้รับในเครือข่าย บางครั้งเราเรียกว่า "แอสเซสโปรโตคอล" (Access Protocol) แอสเซส โปรโตคอลที่นิยมใช้ในเครือข่าย LAN ได้แก่
CSMA/CDProtocol CarrierSenseMultipleAccesswithCollisionDetection : CSMA/CDอยู่ในชั้น MACใช้แบ่งปันสายสัญญาณในการรับ-ส่งข้อมูล แบ่งเป็น 1. 1-persistantCSMA/CD 2. Non-persistantCSMA/CD 3. P-persistantCSMA/CD
1-persistantCSMA/CD กำหนดไว้ว่า การส่งข้อมูลจะเกิดขึ้นได้ ต่อเมื่อสายสัญญาณว่าง และในกรณีหลาย Station ส่งข้อมูลพร้อมกัน ข้อมูลจะชนกัน ดังนั้นทุก Stationจะต้องหยุดรอเพื่อสุ่มเวลาจองสิทธิในการส่งข้อมูล Stationใดใช้เวลาในการสุ่มน้อยที่สุด จะมีสิทธิส่งข้อมูลก่อน
Non-persistantCSMA/CD กำหนดไว้ว่า การส่งข้อมูลจะเกิดขึ้น ต่อเมื่อสายสัญญาณว่าง หากไม่ว่างจะต้องรอจนกว่าจะว่างจริง ๆ จึงส่งข้อมูลได้ ไม่มีการสุ่มเวลาจองสิทธิ ซึ่งจะสามารถหลีกเลี่ยงการชนกันของข้อมูลได้ แต่จะใช้เวลาในการรอมากกว่าแบบ 1-persistant
P-persistantCSMA/CD ใช้กับช่องทางสื่อสารแบบ Slot (แบ่งช่วงเวลาของการส่งข้อมูลออกเป็นช่วง เรียกว่า Slot) กำหนดไว้ว่า การส่งข้อมูลจะรอสายสัญญาณว่าง แล้วส่งข้อมูลจำนวนหนึ่งเข้าสู่ Slot ด้วยความน่าจะเป็น p ส่วนข้อมูลที่เหลือจะรอส่งใน Slot ต่อไป ซึ่งหากไม่ว่างจะทำการสุ่มเวลาจองสิทธิในการส่งข้อมูล
TokenPassingProtocol ใช้หลักการส่งสัญญาณที่เรียกว่า Token วิ่งวนไปStation ต่าง ๆ รอบเครือข่าย โดยแต่ละ Station จะตรวจดูว่า Token ที่ผ่านมานั้นมีข้อมูลของตนหรือไม่ถ้าใช้ก็จะทำการคัดลอกข้อมูลนั้นขึ้นมาเก็บไว้ ดังนั้นToken จะว่าง Station อื่นจะสามารถฝากส่งข้อมูลไปยังจุดหมายได้
TokenPassingProtocol C Token ว่าง A B
TokenPassingProtocol C A A ฝากข้อมูล ให้ C B
TokenPassingProtocol C A B B ตรวจดูแล้วพบว่าไม่ใช่ข้อมูลของตน จึงส่งให้ C ต่อไป
TokenPassingProtocol C A B C ตรวจดูแล้วพบว่า ข้อมูลของตน
TokenPassingProtocol C คัดลอกข้อมูลของตน ทำให้ Token ว่าง C A B
TokenPassingProtocol C A การชนกันของข้อมูล จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ B
Wireless LAN แลนไร้สายหรือ ไวเลสแลน (Wireless LAN, WLAN) คือระบบที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายภายในพื้นที่แบบไร้สาย โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุในการเชื่อมต่อหรือสื่อสารกัน การเชื่อมต่อแลนไร้สายมีทั้งแบบเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน และเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านอุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Access Point) ไวเลส (Wireless) คือ ไม่มีสายที่เชื่อมต่อกันระหว่างคอมพิวเตอร์กับสวิตซ์ (Switch) หรือฮับ (Hub) ด้วยสายสัญญาณที่เรียกว่า สาย UTP แต่ไวเลส คือการเชื่อมต่อที่ไม่มีมีสายแลน
มาตรฐาน IEEE 802.X InstituteofElectricalandElectronicsEngineers เป็นองค์กรใหญ่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานต่าง ๆ คณะกรรมการในแต่ละชุด เรียกเป็นหมายเลข เช่น IEE802.X ทำหน้าที่พัฒนา และดูแลมาตรฐานเกี่ยวกับระบบเครือข่ายแบบ LANจัดเป็นคณะกรรมการที่มีองค์กรใหญ่มาก แบ่งออกเป็นอนุกรรมการหลายชุด แต่ละชุดจะระบุด้วยจุดทศนิยม เช่น IEEE 802.3 รับผิดชอบมาตรฐานของระบบ EthernetIEEE 802.5 รับผิดชอบสถาปัตยกรรมของ Token-Ring เป็นต้น
มาตรฐาน IEEE 802.X -IEEE 802.1 กำหนดการ Interface ในเครือข่าย -IEEE 802.2 กำหนด Protocol ใน LLCLayer -IEEE 802.3 กำหนด Protocol ใน MACLayer -IEEE 802.4 กำหนด Protocol ใน MACLayerสำหรับ TokenRing แบบ BUS -IEEE 802.5 กำหนด Protocol ใน MACLayer สำหรับ TokenRing แบบ Ring
มาตรฐาน IEEE 802.X ทุกมาตรฐานจะต่างกันที่ PhysicalLayer แต่จะ เข้ากันได้ที่ MACLayer
มาตรฐาน IEEE 802.3 กำหนดโดยบริษัท Xerox, DEC, Intel เป็นมาตรฐานสำหรับเครือข่าย Ethernet มีความเร็วในการส่งข้อมูล 10 Mbps จัดเป็น Protocol สำหรับ1-persistantCSMA/CD ซึ่งต้องเสียเวลาส่วนหนึ่งไปกับการรอสายสัญญาณว่างเพื่อส่งข้อมูล ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับงานแบบ RealTimeSystem
มาตรฐานIEEE 802.4 เป็น Protocol สำหรับเครือข่าย TokenRingแบบ BUS หรือเรียกว่า TokenBUS กล่าวคือ มีPhysicalTopology แบบ BUS หรือ Tree แต่มีLogicalTopology แบบ Ring การทำงานจะอาศัยหลักการของ TokenPassingProtocol
มาตรฐาน IEEE 802.5 เป็น Protocol สำหรับเครือข่าย TokenRingที่มี PhysicalTopology แบบ Ring ซึ่งจะเชื่อมโยงเครือข่ายแบบ Point-to-Point ต่อกันเป็นวงแหวนสามารถทำงานได้กับสัญญาณแบบ Digital ทั้งหมดทำการรับ - ส่งข้อมูลได้ดีทั้งในเครือข่ายแบบ LANและ WAN
มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย IEEE 802.11เครือข่ายไร้สายมาตรฐาน IEEE 802.11 โดยสถาบัน IEEE (The Institute of Electronics and Electrical Engineers) ซึ่งมีข้อกำหนดระบุไว้ว่า ผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สายในส่วนของ PHY Layer นั้นมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลที่ความเร็ว 1, 2, 5.5, 11 และ 54 เมกะบิตต่อวินาที โดยมีสื่อนำสัญญาณ 3 ประเภทให้เลือกใช้งานอันได้แก่ คลื่นวิทยุย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์, 2.5 กิกะเฮิรตซ์และคลื่นอินฟาเรด ส่วน.ในระดับชั้น MAC Layer นั้นได้กำหนดกลไกของการทำงานแบบ CSMA/CA (Carrier Sense Multiple Access/Collision Avoidance) ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับ CSMA/CD (Collision Detection) ของมาตรฐาน IEEE 802.3 Ethernet ซึ่งนิยมใช้งานบนระบบเครือข่ายแลนใช้สาย โดยมีกลไกในการเข้ารหัสข้อมูลก่อนแพร่กระจายสัญญาณไปบนอากาศ พร้อมกับมีการตรวจสอบผู้ใช้งานอีกด้วย
มาตรฐาน IEEE 802.11 ในยุคเริ่มแรกนั้นให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ค่อนข้างต่ำ ทั้งไม่มีการรับรองคุณภาพของการให้บริการที่เรียกว่า QoS (Quality of Service) ซึ่งมีความสำคัญในสภาพแวดล้อมที่มีแอพพลิเคชันหลากหลายประเภทให้ใช้งาน นอกจากนั้นกลไกในเรื่องการรักษาความปลอดภัยที่นำมาใช้ก็ยังมีช่องโหว่จำนวนมาก IEEE จึงได้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาหลายชุดด้วยกัน เพื่อทำการพัฒนาและปรับปรุงมาตรฐานให้มีศักยภาพเพิ่มสูงขึ้น
IEEE 802.11a เป็นมาตรฐานที่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยใช้เทคโนโลยี OFDM (Orthogonal Frequency Division Multiplexing) เพื่อพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์ไร้สายมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็วสูงสุด 54 เมกะบิตต่อวินาที โดยใช้คลื่นวิทยุย่านความถี่ 5 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานโดยทั่วไปในประเทศไทย เนื่องจากสงวนไว้สำหรับกิจการทางด้านดาวเทียม ข้อเสียของผลิตภัณฑ์มาตรฐาน IEEE 802.11a ก็คือมีรัศมีการใช้งานในระยะสั้นและมีราคาแพง ดังนั้นผลิตภัณฑ์ไร้สายมาตรฐาน IEEE 802.11a จึงได้รับความนิยมน้อย
IEEE 802.11b เป็นมาตรฐานที่ถูกตีพิมพ์และเผยแพร่ออกมาพร้อมกับมาตรฐาน IEEE 802.11a เมื่อปี พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและได้รับความนิยมในการใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากที่สุด เพื่อให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราความเร็วสูงสุดที่ 11 เมกะบิตต่อวินาที โดยใช้คลื่นสัญญาณวิทยุย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่อนุญาตให้ใช้งานในแบบสาธารณะทางด้านวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม และการแพทย์ โดยผลิตภัณฑ์ที่ใช้ความถี่ย่านนี้มีชนิด ทั้งผลิตภัณฑ์ที่รองรับเทคโนโลยี Bluetooth, โทรศัพท์ไร้สายและเตาไมโครเวฟ จึงทำให้การใช้งานนั้นมีปัญหาในเรื่องของสัญญาณรบกวนของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ข้อดีของมาตรฐาน IEEE 802.11b ก็คือ สนับสนุนการใช้งานเป็นบริเวณกว้างกว่ามาตรฐาน IEEE 802.11a ผลิตภัณฑ์มาตรฐาน IEEE 802.11b เป็นที่รู้จักในเครื่องหมายการค้า Wi-Fi
IEEE 802.11g เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้งานกันมากในปัจจุบันและได้เข้ามาทดแทนผลิตภัณฑ์ที่รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11b เนื่องจากสนับสนุนอัตราความเร็วของการรับส่งข้อมูลในระดับ 54 เมกะบิตต่อวินาที โดยใช้เทคโนโลยี OFDM บนคลื่นสัญญาณวิทยุย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ และให้รัศมีการทำงานที่มากกว่า IEEE 802.11a พร้อมความสามารถในการใช้งานร่วมกันกับมาตรฐาน IEEE 802.11b ได้ (Backward-Compatible)
IEEE802.11g เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้งานกันมากในปัจจุบันและได้เข้ามาทดแทนผลิตภัณฑ์ที่รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11b เนื่องจากสนับสนุนอัตราความเร็วของการรับส่งข้อมูลในระดับ 54 เมกะบิตต่อวินาที โดยใช้เทคโนโลยี OFDM บนคลื่นสัญญาณวิทยุย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ และให้รัศมีการทำงานที่มากกว่า IEEE 802.11a พร้อมความสามารถในการใช้งานร่วมกันกับมาตรฐาน IEEE 802.11b ได้ (Backward-Compatible)
IEEE 802.11g เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้งานกันมากในปัจจุบันและได้เข้ามาทดแทนผลิตภัณฑ์ที่รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11b เนื่องจากสนับสนุนอัตราความเร็วของการรับส่งข้อมูลในระดับ 54 เมกะบิตต่อวินาที โดยใช้เทคโนโลยี OFDM บนคลื่นสัญญาณวิทยุย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ และให้รัศมีการทำงานที่มากกว่า IEEE 802.11a พร้อมความสามารถในการใช้งานร่วมกันกับมาตรฐาน IEEE 802.11b ได้ (Backward-Compatible)
IEEE 802.11h มาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สายที่ใช้งานย่านความถี่ 5 กิกะเฮิรตซ์ ให้ทำงานถูกต้องตามข้อกำหนดการใช้ความถี่ของประเทศในทวีปยุโรป
IEEE 802.11i เป็นมาตรฐานในด้านการรักษาความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สาย โดยการปรับปรุง MAC Layer เนื่องจากระบบเครือข่ายไร้สายมีช่องโหว่มากมายในการใช้งาน โดยเฉพาะฟังก์ชันการเข้ารหัสแบบ WEP 64/128-bit ซึ่งใช้คีย์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับสภาพการใช้งานที่ต้องการความมั่นใจในการรักษาความปลอดภัยของการสื่อสารระดับสูง มาตรฐาน IEEE 802.11i จึงกำหนดเทคนิคการเข้ารหัสที่ใช้คีย์ชั่วคราวด้วย WPA, WPA2 และการเข้ารหัสในแบบ AES (Advanced Encryption Standard) ซึ่งมีความน่าเชื่อถือสูง
IEEE 802.11k เป็นมาตรฐานที่ใช้จัดการการทำงานของระบบเครือข่ายไร้สาย ทั้งจัดการการใช้งานคลื่นวิทยุให้มีประสิทธิภาพ มีฟังก์ชันการเลือกช่องสัญญาณ, การโรมมิงและการควบคุมกำลังส่ง นอกจากนั้นก็ยังมีการร้องขอและ ปรับแต่งค่าให้เหมาะสมกับการทำงาน การหารัศมีการใช้งานสำหรับเครื่องไคลเอนต์ที่เหมะสมที่สุดเพื่อให้ระบบจัดการสามารถทำงานจาก
IEEE 802.11n เป็นมาตรฐานของผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สายที่คาดหมายกันว่า จะเข้ามาแทนที่มาตรฐาน IEEE 802.11a, IEEE 802.11b และ IEEE 802.11g ที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน โดยให้อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลในระดับ 100 เมกะบิตต่อวินาที IEEE 802.1x เป็นมาตรฐานที่ใช้งานกับระบบรักษาความปลอดภัย ซึ่งก่อนเข้าใช้งานระบบเครือข่ายไร้สายจะต้องตรวจสอบสิทธิ์ในการใช้งานก่อน โดย IEEE 802.1x จะใช้โพรโตคอลอย่าง LEAP, PEAP, EAP-TLS, EAP-FAST ซึ่งรองรับการตรวจสอบผ่านเซิร์ฟเวอร์ เช่น RADIUS, Kerberos เป็นต้น
มาตราฐานความเร็วของแลนไร้สายมาตราฐานความเร็วของแลนไร้สาย ความเร็วที่ใช้ในการสื่อสารกันหรือเชื่อมต่อกัน มาตราฐานIEEE 802.11a, b และ g ซึ่งแต่ละมาตราฐานใช้กำหนดความเร็วและคลื่นความถี่ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน มาตรฐาน IEEE 802.11aมีความเร็วสูงสุดที่ 54 Mbpsที่ความถี่ย่าน 5 GHz มาตรฐาน IEEE 802.11bมีความเร็วสูงสุดที่ 11 Mbpsที่ความถี่ย่าน 2.4 GHz มาตรฐาน IEEE 802.11gมีความเร็วสูงสุดที่ 54 Mbpsที่ความถี่ย่าน 2.4 GHz มาตรฐาน IEEE 802.11nมีความเร็วสูงสุดที่ 150 Mbps (ที่แบนวิธ 40 MHz) ที่ความถี่ย่าน 2.4/5 GHz ในประเทศไทยอนุญาตให้ใช้ความถี่ 2 ย่านความถี่ ได้แก่ (2400-2500) MHz และ (5150-5350) MHz , (5470-5850) MHz เป็นคลื่นความถี่อนุญาตให้ใช้เสรีในระดับสากล(ISM band)
ระยะทางการเชื่อมต่อของระบบ Wireless LANภายในอาคาร 1. ระยะ 50 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 11 Mbps 2. ระยะ 80 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 5.5 Mbps 3. ระยะ 120 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 2 Mbps 4. ระยะ 150 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 1 Mbps ภายนอกอาคาร 1.ระยะ 250 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 11 Mbps 2. ระยะ 350 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 5.5 Mbps 3. ระยะ 400 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 2 Mbps 4. ระยะ 500 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 1 Mbps
การเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย Wireless LANมี 2 ลักษณะ ดังนี้ 1. การเชื่อมโยงระบบแบบ Ad-hoc (Peer to Peer) โครงสร้างการเชื่อมโยงระบบแบบ Ad-hoc หรือ Peer to Peer เป็นการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายและอุปกรณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป โดยที่ไม่มีศูนย์กลางควบคุมอุปกรณ์ทุกเครื่องสามารถสื่อสารข้อมูลถึงกันได้เอง ตัวส่งจะใช้วิธีการแพร่กระจายคลื่นออกไปในทุกทิศทุกทางโดยไม่ทราบจุดหมายปลายทางของตัวรับว่าอยู่ที่ใด ซึ่งตัวรับจะต้องอยู่ในขอบเขตพื้นที่ให้บริการที่คลื่นสามารถเดินทางมาถึงแล้วคอยเช็คข้อมูลว่าใช่ของตน หรือไม่ ด้วยการตรวจสอบค่า Mac Address ผู้รับปลายทางในเฟรมข้อมูลที่แพร่กระจายออกมา ถ้าใช่ข้อมูลของตนก็จะนำข้อมูลเหล่านั้นไปประมวลผลต่อไป การเชื่อมโยงเครือข่ายไวร์เลสแลนที่ใช้โครงสร้างการเชื่อมโยงแบบ Ad-hoc ไม่สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบเครือข่ายอีเธอร์เน็ตได้ เนื่องจากบนระบบไม่มีการใช้สัญญาณเลย
2. การเชื่อมโยงระบบแบบ Infrastructure (Client/Server)โครงสร้างการเชื่อมโยงระบบแบบ Infrastructure หรือ Client / Server มีข้อพิเศษกว่าระบบแบบ Ad-hoc ตรงที่มีแอ็กเซสพอยน์เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยง (ทำหน้าที่คล้ายฮับ) และเป็นสะพานเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายอุปกรณ์ไวร์เลสแลนเข้าสู่เคลือข่ายอีเธอร์เน็ตแลนหลัก (Ethernet Backbone) รวมถึงการควบคุมการสื่อสารข้อมูลอุปกรณ์ไวร์เลสแลน
คอมพิวเตอร์ • ในระบบเครือข่ายจะต้องมีคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบพื้นฐาน • คอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมนั้นไม่จำเป็นต้องเป็น หรือประเภทเดียวกันสามารถที่จะนำคอมพิวเตอร์หลากรุ่นมาเชื่อมต่อกันได้ • ไม่ว่าจะเป็นเครื่องพีซี แมคอินทอช หรือยูนิกซ์เวิร์กสเตชัน • ทรัพยากรอื่นๆในเครือข่าย • ซึ่งหมายถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่น ๆ ที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายได้ เช่น เครื่องพิมพ์ แฟกซ์หรืออุปกรณ์เก็บข้อมูลอื่นๆ เป็นต้น
สายเคเบิล • สายสัญญาณที่ใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และทรัพยากรอื่นๆ ในเครือข่าย • มีหลายแบบด้วยกันต่างกันที่ • ความเร็วในการรับส่งข้อมูล • ราคา • การเลือกใช้สายเคเบิล ขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของเครือข่ายที่ใช้
โมเด็ม (Modem) มาจากจากคำว่า “ Modulator/Demodulator ” • กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณอนาล็อกเรียกว่า มอดูเลชั่น (Modulation) • โมเด็มที่ทำหน้าที่นี้เรียกว่า โมดูเลเตอร์ (Modulator) • กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณอนาล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอลเรียกว่าดีมอดูเลชั่น (Demodulation) • โมเด็มที่ทำหน้าที่นี้เรียกว่า ดีโมดูเลเตอร์ (Demodulator)
การ์ดเชื่อมต่อเครือข่ายหรือแลนการ์ด (Network Interface Card : NIC) • ใช้เชื่อมระหว่างคอมพิวเตอร์กับสายเคเบิล คือการ์ดเชื่อมเครือข่าย • ติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยเสียบลงบนเมนบอร์ด • พอร์ตในการเชื่อมต่อกับสายเคเบิลจะอยู่ทางด้านหลังของเครื่อง • ช่วยในการควบคุม การรับส่งข้อมูล และตรวจสอบข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น
ฮับ (Hub) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อสายเคเบิลในเครือข่ายมีลักษณะเป็นช่องเสียบสายเคเบิลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์กับเครื่องพีซีอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องไคลเอนต์
รีพีตเตอร์ (Repeater) • ใช้เปลี่ยนตัวกลาง นำสัญญาณจากตัวกลางหนึ่งไปอีกตัวกลางหนึ่ง • จากไฟเบอร์ออฟติกมายังโคแอกเชียล • เชื่อมต่อระหว่างตัวกลางเดียวกันก็ได้ • ทำให้เครือข่ายทั้งสอง เสมือนเชื่อมกัน โดยที่สัญญาณจะวิ่งทะลุถึงกันได้หมด • มีประโยชน์ในการเชื่อมต่อความยาวให้ยาวขึ้น
บริดจ์ (Bridge) • อุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลนเข้าด้วยกัน • สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้เรื่อยๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบ ไม่ลดลงมากนัก • มักจะใช้ในการเชื่อมเครือข่ายย่อยๆ ในองค์กรเข้าเป็นเครือข่ายใหญ่ เพียงเครือข่ายเดียว • เพื่อให้เครือข่ายย่อยๆ ติดต่อกับเครือข่ายย่อยอื่นๆ ได้
เราเตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายระบบเข้าด้วยกัน คล้ายกับบริดจ์ แต่มีส่วนการทำงานที่ซับซ้อนมากกว่าบริดจ์มากโดยเราเตอร์จะมีเส้นทางการเชื่อมโยงระหว่างแต่ละเครือข่ายเก็บไว้เป็นตารางเส้นทาง เรียกว่า Routing Table ทำให้เราเตอร์สามารถทำหน้าที่จัดหาเส้นทางและเลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการเดินทาง เพื่อการติดต่อระหว่างเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เกตเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงสุด ในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆเข้าด้วยกัน โดยไม่มีขีดจำกัด ทั้งระหว่างเครือข่ายต่างระบบ หรือแม้กระทั่งโปรโตคอล จะแตกต่างกันออกไป เกตเวย์จะแปลงโปรโตคอล ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่ต่างชนิดกัน จัดเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพง และติดตั้งใช้งานยุ่งยาก เกตเวย์บางตัว จะรวมคุณสมบัติในการเป็นเราเตอร์ด้วยในตัว หรือแม้กระทั่ง อาจรวมเอาฟังก์ชั่นการทำงาน ด้านการรักษาความปลอดภัยที่เรียกว่าไฟร์วอลล์ (Firewall) เข้าไว้ด้วย
ประโยชน์ของระบบ Wireless LAN 1. สะดวกในการเคลื่อนย้าย ติดตั้ง เนื่องจาก WLAN ไม่จำเป็นต้องมีสายเคเบิ้ลในการต่อพ่วง 2. ง่ายในการติดตั้ง เพราะไม่จำเป็นต้องเดินสายเคเบิ้ล 3. ลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากไม่ต้องจำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษา ในระยะยาว 4. สามารถขยายเครือข่ายได้ไม่จำกัด ข้อเสียของระบบ Wireless LAN 1. มีอัตราการลดทอนสัญญาณสูง นั่นหมายความว่า “ ส่งสัญญาณได้ระยะสั้น ” 2. มีสัญญาณรบกวนสูง 3. ต้องแชร์กันใช้ช่องสัญญาณคลื่นความถี่เดียวกัน 4. ยังมี หลายมาตรฐาน ตามผู้ผลิต แต่ละราย ทำให้มีปัญหาในการใช้งานร่วมกัน 5. ราคาแพงกว่าระบบเครือข่ายแบบมีสาย 6. มีความเร็วไม่สูงมากนัก