410 likes | 758 Views
สถานการณ์และมาตรการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย โดย นายแพทย์วิชัย สติมัย ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง 12 พฤษภาคม 2552 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี. สถานการณ์โรคไข้เลือดออก. ประจำสัปดาห์ที่ 17 เ ดือ น พฤษภาคม 2552 (ข้อมูล ณ วันที่ 26 เม.ย. – 2 พ.ค. 52 ).
E N D
สถานการณ์และมาตรการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย โดยนายแพทย์วิชัย สติมัยผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง12 พฤษภาคม 2552ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ประจำสัปดาห์ที่ 17 เดือน พฤษภาคม 2552 (ข้อมูล ณ วันที่ 26เม.ย. – 2 พ.ค. 52 ) เปรียบเทียบสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ณ สัปดาห์ที่ 17 2552 2551 25502549 2548 ป่วย (ราย) 8,225 11,856 6,789 5,870 6,689 ตาย (ราย) 8 13 6 8 10 อัตราป่วย 12.98 18.87 10.81 9.47 10.60 อัตราป่วยตาย 0.10 0.11 0.09 0.14 0.15 * รายงานผู้ป่วยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้วจำนวน 805 ราย
จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกแยกรายเดือน ปี 2552 ณ วันที่ 2 พฤษภาคม 2552
มาตรการในการป้องกันโรคไข้เลือดออกมาตรการในการป้องกันโรคไข้เลือดออก 1. การป้องกันโรคล่วงหน้าก่อนช่วงระบาด เพื่อตัดวงจรการแพร่เชื้อไวรัสในหน้าแล้ง ข้อที่ 1. วิเคราะห์ต้นตอการระบาดและสืบค้นแหล่งรังโรค วัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งในการจัดการ ในข้อที่ 2,3 ข้อที่ 2. ลดแหล่งแพร่โรค - กำจัดภาชนะเสี่ยงสำคัญ - จัดการแหล่งเพาะพันธุ์ - กวาดล้างลูกน้ำยุงลายให้ลดลงต่ำที่สุด HI < 10, CI =0
มาตรการในการป้องกันโรคไข้เลือดออก (ต่อ) 1. การป้องกันโรคล่วงหน้าก่อนช่วงระบาด เพื่อตัดวงจรการแพร่เชื้อไวรัสในหน้าแล้ง ข้อที่ 3.ลดการแพร่เชื้อ - เฝ้าระวังไข้ ค้นหาผู้ป่วย ส่งตรวจวินิจฉัย และควบคุมพาหะ - ป้องกันยุงกัด
มาตรการในการป้องกันโรคไข้เลือดออก (ต่อ) 2. การควบคุมโรคช่วงระบาด - ระบบการรายงาน ที่รวดเร็ว - ความทันเวลาในการควบคุมโรค - มีมาตรฐานการควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
กิจกรรม • 1. การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค • - Passive Surveillance • - Active Surveillance • - Serological Surveillance • - Vector Surveillance • - การควบคุมการระบาด
กิจกรรม(ต่อ) 2. พัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่าย และชุมชนในการป้องกันควบคุมโรค 2.1 พัฒนาศักยภาพชุมชน เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน 2.2 สนับสนุนการสร้างชุมชนเข้มแข็ง เช่น ดำเนินการ บ้านปลอดลูกน้ำยุงลายอย่างยั่งยืน
กิจกรรม(ต่อ) • 2.3 สนับสนุนกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรคในโรงเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ • 2.4 ประสานงานและสนับสนุนหน่วยงาน และองค์กรปกครองท้องถิ่น เพื่อกำหนดแนวทางและมาตรการด้านกฎหมายในการป้องกันควบคุมโรค
กิจกรรม(ต่อ) • 3. การพัฒนาระบบบริหารจัดการในพื้นที่ • 3.1 ผลักดันให้เป็นนโยบายระดับจังหวัด เพื่ออำนาจการสั่งการผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด/ นายอำเภอ • 3.2 จัดประชุมเครือข่ายระดับจังหวัด อำเภอ อปท. เพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยง ทิศทาง บทบาทและเกณฑ์การติดตามประเมินผล ให้มีการดำเนินงานแบบ Partnership
กิจกรรม(ต่อ) • 3. การพัฒนาระบบบริหารจัดการในพื้นที่ • 3.3 จัดระบบการควบคุมคุณภาพและประเมินผลการป้องกันโรค โดยใช้ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HI, CI) และการประเมินประสิทธิภาพการควบคุมโรค • 3.4 สรุปวิเคราะห์และแนวทางการแก้ไขของ War room เครือข่ายระดับพื้นที่ และการใช้ประโยชน์จากระบบการวิเคราะห์รายงาน • 4. การประชาสัมพันธ์ และแจ้งข้อมูลข่าวสาร เพื่อสร้างความตระหนักและการให้ความร่วมมือในการป้องกันควบคุมโรค ผ่านหอกระจายข่าว และสื่อท้องถิ่น
สถานการณ์โรคชิคุนกุนยาในประเทศไทย ปี 2552ข้อมูล ณ วันที่ 6 พฤษภาคม 2552 • จำนวนผู้ป่วย 17,994 ราย • อัตราป่วยต่อแสนประชากร 28.39 จำแนกรายภาค ดังนี้ ภาค ผู้ป่วย อัตราป่วย • เหนือ 0 0 • ตะวันออกเฉียงเหนือ 2 0.01 • กลาง 6 0.028 • ใต้ 17,986 205.75
จำนวนผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา ปี 2552 จำแนกรายจังหวัด
แผนภูมิแสดงจำนวนผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาจำแนกกลุ่มอายุ ปี 2552 แหล่งข้อมูล : รายงาน 506 สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ข้อมูล ณ วันที่ 6 พฤษภาคม 2552
ลักษณะของการระบาด • ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย • อายุมากกว่า 30 ปี • อาชีพทำสวนยางพาราและสวนผลไม้ • มียุงลายเป็นพาหะแพร่เชื้อไวรัส ได้แก่ ยุงลายสวน (Aedes albopictus) และยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) พบเชื้อในยุงลายสวน มากกว่า ยุงลายบ้าน
อาการของผู้ป่วย • ไข้ 97.40% • ปวดข้อ/กระดูก 95.85% • ปวดกล้ามเนื้อ 95.39% • ผื่น 30.12% • ข้อบวม 10.26% • ปวดกระบอกตา 4.78% ข้อมูล : 1 พ.ย. 51 – 5 ก.พ. 52 จาก อ. สะบ้าย้อย จ. สงขลา • ส่วนใหญ่ไข้สูง ออกผื่นจะเป็นเวลา 3 วันแรกแล้วหายไป แต่อาการปวดข้อยังคงอยู่ เป็นนานหลายสัปดาห์ ผู้ป่วยมาหาแพทย์ด้วยอาการปวดข้อเป็นหลัก
ระยะฟักตัวของโรค ประมาณ 3- 12 วัน ระยะติดต่อของโรค ระยะที่มีไวรัสในเลือด ประมาณ 3-5 วันแรกที่มีอาการ การเกิดอาการจะปรากฏหลังจากได้รับเชื้อ 2-3 วัน
กลุ่มเสี่ยงต่อการติดโรคกลุ่มเสี่ยงต่อการติดโรค • ประชาชนที่อาศัยอยู่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สงขลา / ยะลา / นราธิวาส / ปัตตานี) • ประชาชนที่เคลื่อนย้ายระหว่างชายแดนไทย-มาเลเซีย • ประชาชนที่ใช้แรงงาน (รับจ้างกรีดยาง) • ทหาร / ตำรวจ ที่ปฏิบัติงานใน 4 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ • นักศึกษาพยาบาลที่มีภูมิลำเนาใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ • เยาวชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เข้าร่วมโครงการทำดี มีงานทำ (ทหาร)
มาตรการควบคุมโรคไข้ปวดข้อยุงลายมาตรการควบคุมโรคไข้ปวดข้อยุงลาย • มาตรการป้องกันโรค • มาตรการควบคุมผู้ป่วย ผู้สัมผัส และสิ่งแวดล้อม • มาตรการเมื่อมีการระบาด • มาตรการควบคุมระหว่างประเทศ • การประกาศเป็นเขตพื้นที่ภัยพิบัติ
มาตรการป้องกันโรค • ให้สุขศึกษา เกี่ยวกับ การกำจัดหรือทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย การป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด • สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน เพื่อประเมินความชุกชุมของยุงพาหะ จำแนกชนิดของ แหล่งเพาะพันธุ์ และกระตุ้นเตือนประชาชนให้ดำเนินการควบคุมและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ด้วยตนเอง
มาตรการควบคุมผู้ป่วย ผู้สัมผัส และสิ่งแวดล้อม • การรายงานโรค : ต้องรายงานเร่งด่วน เนื่องจากเป็นกลุ่ม โรคอุบัติใหม่ • การแยกผู้ป่วย : ต้องป้องกันผู้ป่วยจากยุงกัด • การทำลายเชื้อ : ไม่จำเป็น • การกักกัน : ไม่จำเป็น • การให้ภูมิคุ้มกัน : ไม่มี
มาตรการควบคุมผู้ป่วย ผู้สัมผัส และสิ่งแวดล้อม • การสอบสวนผู้สัมผัส : ค้นหาผู้ป่วยในชุมชนในช่วง 2 สัปดาห์ ก่อนผู้ป่วยมีอาการ • การรักษา : ยังไม่มีการรักษาจำเพาะสำหรับโรคชิคุนกุนยา วิธีดีที่สุด คือการรักษาตามอาการ
มาตรการดำเนินการเมื่อเกิดการระบาดมาตรการดำเนินการเมื่อเกิดการระบาด มาตรการดำเนินการ แบ่งตามสถานการณ์ของโรค 4 ระดับ ระดับ 1 ยังไม่มีรายงานผู้ป่วย ระดับ 2 มีผู้ป่วยรายสุดท้ายไม่เกิน 1 เดือน ระดับ 3 มีผู้ป่วยภายใน 1 เดือน รายสุดท้ายเกิน 1 สัปดาห์ ระดับ 4 ยังมีผู้ป่วยภายในรอบสัปดาห์
มาตรการควบคุมการระบาดและป้องกันการแพร่กระจายดำเนินการเข้มข้น 10 มาตรการ • จัดตั้ง War room แม้พบผู้ป่วยรายเดียว • อบรมให้ความรู้เรื่องโรค การควบคุม ป้องกัน ถึงระดับ สอ. • ปรับระบบการรายงานผู้ป่วย • รายงานจากคลินิก ทำสั้น ๆ ให้ SRRT เก็บรายงานทุกวัน • รายงานจากร้านขายยา ให้โทรแจ้งเมื่อมีผู้ป่วย • ค้นหาผู้ป่วย โดยร่วมกับ อสม. ในพื้นที่รัศมี 100 – 500 เมตร
มาตรการควบคุมการระบาดและป้องกันการแพร่กระจายดำเนินการเข้มข้น 10 มาตรการ • ทำ Mapping แผนที่หมู่บ้าน เพื่อวางแผนรณรงค์ ควบคุมโรค โดย แบ่งกำลังให้คลอบคลุมทุกพื้นที่ • สำรวจผู้ป่วยรายใหม่ ในพื้นที่ • สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ • ให้ความรู้ประชาชน เรื่องโรค การป้องกันยุงกัด โดยเฉพาะในผู้ป่วย • พ่นทำลายยุงตัวเต็มวัย : fogging / ULV
มาตรการควบคุมการระบาดและป้องกันการแพร่กระจายดำเนินการเข้มข้น 10 มาตรการ • นำข้อมูลมาวางแผนในระดับ คปสอ. ให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วม • หากข้อมูลซ้ำ ที่ได้ดำเนินการแล้วภายใน 1 อาทิตย์ ไม่ต้องดำเนินการซ้ำ • หากมีผู้ป่วย > 10 ราย / หมู่บ้าน ให้ทำประชาคมกับชุมชน เน้นให้ความรู้ การป้องกันตนเอง • การทำ Big Cleaning Day ทั้งชุมชน ทุกอาทิตย์ จนกว่าโรคสงบ • หากมีผู้ป่วย > 20 ราย / หมู่บ้าน ให้ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ • ประชาสัมพันธ์เรื่องโรคและการป้องกัน ผ่านสื่อต่าง ๆ ในชุมชน
มาตรการควบคุมโรคระหว่างประเทศมาตรการควบคุมโรคระหว่างประเทศ • ควรแจ้งสำนักงานองค์การอนามัยโลกประจำประเทศ
ประสานความร่วมมือในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคประสานความร่วมมือในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กรรมการ TASK FORCE สำนักงานเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค สำนักสารนิเทศ สถาบันพระบรมราชชนก กองสุขศึกษา กองสนับสนุนบริการสุขภาพภาคประชาชน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมการแพทย์
กระทรวงกลาโหม กรมแพทย์ทหารบก กระทรวงมหาดไทย สำนักอนามัย (กรุงเทพมหานคร) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศ. ดร. ธีรภาพ เจริญวิริยะภาพ ผู้เชี่ยวชาญ (ศ.คลินิก พญ.สุจิตรา นิมมานนิตย์ / นพ.สุชาติ เจตนเสน) องค์กรเอกชน (สมาคม อสม. แห่งประเทศไทย สมาคมมาลาเรียแห่งประเทศไทย) ประสานความร่วมมือในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค
การประกาศเป็นเขตพื้นที่ภัยพิบัติการประกาศเป็นเขตพื้นที่ภัยพิบัติ หลักเกณฑ์การประกาศเขตภัยพิบัติ (ผ่านการพิจารณาจากกระทรวงการคลัง เมื่อ 13 มีนาคม 2552) ต้องประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ • เป็นสาธารณภัย • เป็นเหตุการณ์ฉุกเฉิน • เกิดผลกระทบกับประชาชนเป็นจำนวนมาก
หลักเกณฑ์การประกาศเขตภัยพิบัติหลักเกณฑ์การประกาศเขตภัยพิบัติ ผู้มีอำนาจในการประกาศเขตภัยพิบัติ ในกรุงเทพมหานคร เป็นอำนาจของอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาธารณภัย ในจังหวัดอื่น เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด
หลักเกณฑ์การประกาศเขตภัยพิบัติหลักเกณฑ์การประกาศเขตภัยพิบัติ • ขอบเขต พื้นที่ เป็น ระดับอำเภอ • และครอบคลุมหลักเกณฑ์ ทั้ง 2 ข้อ ดังนี้ ข้อที่ 1ด้านความรุนแรงของโรค • ในรอบ 3 ปี ที่ผ่านมาไม่มีผู้ป่วย และเกิดมีผู้ป่วยขึ้น จำนวนมาก ข้อที่ 2ด้านการต้องการความช่วยเหลือ • ภายใน 4 สัปดาห์ จังหวัดไม่สามารถควบคุมการระบาดของโรคในพื้นที่ หลังดำเนินการควบคุมตามแนวทางป้องกันควบคุมโรคแล้ว
หลักเกณฑ์การประกาศเขตภัยพิบัติหลักเกณฑ์การประกาศเขตภัยพิบัติ • ขั้นตอนการดำเนินการ • สสจ. เสนอผลการวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ เพื่อผ่านคณะกรรมการประสานการพัฒนางานสาธารณสุขระดับเขต (คปสข.) • นำเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อพิจารณา