1 / 27

ประวัติโรงเรียนอัสสัมชัญ

ประวัติโรงเรียนอัสสัมชัญ. เรื่องโดยย่อเกี่ยวกับ โรงเรียนอัสสัมชัญ. สถานที่สำคัญ. ประวัติ. สารบัญ. ประวัติ การพัฒนาโรงเรียน. เรื่องโดยย่อเกี่ยวกับ โรงเรียนอัสสัมชัญ. โรงเรียนอัสสัมชัญ. โรงเรียนอัสสัมชัญ (Assumption College) อักษรย่อ : AC , อสช

Download Presentation

ประวัติโรงเรียนอัสสัมชัญ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประวัติโรงเรียนอัสสัมชัญประวัติโรงเรียนอัสสัมชัญ

  2. เรื่องโดยย่อเกี่ยวกับเรื่องโดยย่อเกี่ยวกับ โรงเรียนอัสสัมชัญ สถานที่สำคัญ ประวัติ สารบัญ ประวัติ การพัฒนาโรงเรียน

  3. เรื่องโดยย่อเกี่ยวกับเรื่องโดยย่อเกี่ยวกับ โรงเรียนอัสสัมชัญ

  4. โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนอัสสัมชัญ (Assumption College) อักษรย่อ : AC , อสช เป็นโรงเรียนเอกชนชายล้วนขนาดใหญ่ แบ่งเป็นแผนกประถม (ซอยเซนต์หลุยส์ 3 ถนนสาทรใต้) และแผนกมัธยม (ซอยเจริญกรุง 40 (ซอยบูรพา)ถนนเจริญกรุง เขตบางรัก) ก่อตั้งโดยโดย บาทหลวงเอมิลกอลมเบต์ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1885 (พ.ศ. 2428) ปัจจุบันโรงเรียนอัสสัมชัญมีอายุ 124 ปี โรงเรียนอัสสัมชัญเป็นโรงเรียนแห่งแรกในเครือคณะภราดาเซนต์คาเบรียล แห่งประเทศไทย กลับสู่หน้าสารบัญ

  5. ประวัติ

  6. ประวัติ ช่วงเริ่มแรก จาก "โรงเรียนไทย-ฝรั่งเศส วัดสวนท่าน" สู่ "อาซมซานกอเล็ศ" ผู้ให้กำเนิดโรงเรียนอัสสัมชัญ คือ บาทหลวงเอมิลออกัสต์กอลมเบต์ เจ้าอาวาสวัดอัสสัมชัญ เมื่อ พ.ศ. 2420 โดยริเริ่มที่จะให้การศึกษาแก่เด็กคาทอลิกในชุมชนละแวกวัดสวนท่านด้วยการสอนวิชาความรู้และศาสนาควบคู่กันไป จากหนังสือประวัติกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2435 - พ.ศ. 2507 กล่าวถึงการจัดการศึกษาฝ่ายโรงเรียนราษฎร ว่า "...ในพ.ศ. 2420 มีโรงเรียนไทย-ฝรั่ง ซึ่งต่อมาเรียกว่าโรงเรียนอัสสัมชัญ..." (ประวัติกระทรวง น.99) มีต่อครับ

  7. ประวัติ อันที่จริง โรงเรียนไทย-ฝรั่งที่ว่านี้ ที่ถูกแล้วคือ โรงเรียนไทย-ฝรั่งเศส วัดสวนท่าน ซึ่งตั้งขึ้น โดยบาทหลวงเอมิล กอลมเบต์ (Pere Emile Colombet) นั่นเอง โรงเรียนไทย-ฝรั่งเศสแห่งนี้ กล่าวได้ว่าคือรากฐานที่พัฒนามาสู่โรงเรียนอัสสัมชัญในอีก 8 ปีต่อมา จากโรงเรียนเล็กๆที่ประกอบไปด้วยนักเรียนยากจนและกำพร้า โดยแรกเริ่มมีนักเรียน 12 คน บาทหลวงเอมิล กอลมเบต์ มีต่อครับ

  8. ประวัติ ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2428 ได้มีพิธีเปิดเรือนไม้ซึ่งเดิมเป็นบ้านเณรวัดอัสสัมชัญเป็นโรงเรียน ตั้งชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนอาซมซานกอเล็ศ (Le Collège de l'Assomption) ซึ่งมีความหมายว่า สถานที่สำหรับระงับบาปและหาวิชาความรู้ มีนักเรียน 33 คน ในปีแรกคุณพ่อกอลมเบต์ต้องขอร้องผู้ปกครองให้นำบุตรหลานมาเรียนหนังสือ พอถึงสิ้นปีมีนักเรียนรวม 75 คน นักเรียนคนแรก คือ นายยวงบับติส เซียวเม่งเต็ก (อสช 1) ปีต่อมามีนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 130 คน การเรียนการสอนในยุคแรก นั้น เปิดสอนภาษาไทยควบคู่กับภาษาฝรั่งเศส และสองปีต่อมาได้เปิดสอนภาษาอังกฤษเพิ่มอีก มีต่อครับ

  9. ประวัติ บาทหลวงกอลมเบต์เห็นว่าจะต้องขยายอาคารเรียน จึงได้ถวายฎีกาไปถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และบอกบุญเรี่ยไรบรรดาพ่อค้า วาณิช ทั้งชาวไทยและต่างประเทศในกรุงเทพฯ กลายมาเป็นโรงเรียนที่เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว ที่สำคัญก็คือในการสร้างอาคารเรียน หลังใหม่ของโรงเรียนในเวลา 2 ปีหลังจากที่เปิดสอนได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ พระราชทานและประทานทรัพย์อุดหนุนการนี้จำนวนหนึ่งเพื่อใช้ในการก่อสร้าง มีต่อครับ

  10. ประวัติ ในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2430 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จมาทรงวางศิลาฤกษ์ และเหรียญต่างๆที่ฝั่งพร้อมศิลาฤกษ์ของอาคารใหม่ เมื่อพระองค์ทรงจับค้อนเคาะศิลาฤกษ์ได้ตรัสว่า “ให้ที่นี้ถาวรมั่นคงสืบไป” อาคารใหม่ (ตึกเก่า) หลังนี้ได้สร้างสำเร็จบริบูรณ์ใน พ.ศ. 2433 กลับสู่หน้าสารบัญ

  11. ประวัติการพัฒนาโรงเรียนประวัติการพัฒนาโรงเรียน

  12. ประวัติช่วงการพัฒนา ช่วงแห่งการพัฒนา "อาซมซานกอเล็ศ" มาเป็น "โรงเรียนอัสสัมชัญ “ ในปี พ.ศ. 2443 บาทหลวงกอลมเบต์ได้ติดต่อขอความช่วยเหลือด้านบุคลากรมาจากคณะภราดาเซนต์คาเบรียล ณ ประเทศฝรั่งเศส และในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2444 ภราดา 5 ท่าน โดยการนำของภราดามาร์ติน เดอ ตูรส์ (ภายหลังเป็นอธิการคนที่ 2) ภราดาอาแบล ภราดาออกุสต์ ภราดาคาเบรียล เฟอร์เร็ตตี และภราดา ฮีแลร์ ได้เดินทางถึงกรุงเทพฯ และเข้ารับช่วงงานและสานต่องานด้านการศึกษาจากบาทหลวง กอลมเบต์ และทำให้โรงเรียนอัสสัมชัญกลายเป็นโรงเรียนแห่งแรกในมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย มีต่อครับ

  13. ประวัติช่วงการพัฒนา เนื่องจากชื่อ โรงเรียนอาซมซานกอเล็ศ นั้นอ่านออกเสียงยากและประกอบกับทาง กระทรวงธรรมการ กรมศึกษา มีนโยบายให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นภาษาไทย ดังนั้น ในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2453 ภราดาฮีแลร์ จึงได้แจ้งไปทางกรมการศึกษาเพื่อขอเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนอาศรมชัญ แต่อธิบดีกรมศึกษา พระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ แนะนำว่าควรเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนอัสสัมชัญ ไม่เพียงแต่การออกเสียงยังคล้ายกับชื่อเดิม ความหมายก็คงไว้ตามเดิมของคำว่า "อาศรมชัญ" ด้วย ดังนั้นในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2453 โรงเรียนอาซมซานกอเล็ศ จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น โรงเรียนอัสสัมชัญ นับแต่นั้นเป็นต้นมา มีต่อครับ

  14. ประวัติช่วงการพัฒนา นอกจากนี้ คำว่า "อัสสัมชัญ" ก็ออกเสียงคล้ายกับภาษาอังกฤษว่า "Assumption" ซึ่งก็มีความหมายเหมาะกับการตั้งเป็นชื่อโรงเรียน และคำว่า "อัสสัมชัญ" ก็ยังมีคำในภาษาบาลีว่า "อัสสโม" แผลงเป็นไทยว่า "อาศรม" ซึ่งหมายความถึง "กุฏิที่ถือศีลกินพรต" ส่วนคำว่า "ชัญ" ก็ จะแยกตาม ชาติศัพท์เดิม ก็ได้แก่ ธาตุศัพท์ว่า "ช" ซึ่งแปลว่า เกิด และ "ญ" ซึ่งแปลว่าญาณ ความรู้ รวมความได้ว่า "ชัญ" คือที่สำหรับเกิด ญาณความรู้ เมื่อรวมสองศัพท์ มาเป็นศัพท์เดียวกันแล้ว ได้ว่า "อัสสัมชัญ" คือ "ที่สำหรับระงับบาปและหาวิชาความรู้" นั่นเอง มีต่อครับ

  15. ประวัติช่วงการพัฒนา วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เสด็จเยี่ยมชมกิจการของโรงเรียน พระองค์ได้ประทาน พระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า ...ที่จริงโรงเรียนนี้ข้าได้คิดมานานแล้วว่าอยากจะมาดูสักทีหนึ่ง เพราะว่าในการที่พวกคณะโรมันคาทอลิกอุตสาหะ สร้างโรงเรียนนี้ขึ้น ก็นับว่าเป็นกุศลเจตนาบุญกิริยา ซึ่งน่าชมเชยและน่าอนุโมทนาเป็นที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง สมเด็จพระบรมชนกนาถของข้าจึงได้ทรง อุดหนุนมาเป็นอันมากและก็การที่โรงเรียนนี้ได้รับความอุดหนุน รับพระมหากรุณาของพระเจ้าอยู่หัว มาทุกรัชกาลนั้นก็ไม่เป็นการเปล่าประโยชน์และผิดคาดหมาย มีต่อครับ

  16. ประวัติช่วงการพัฒนา เพราะโรงเรียนนี้ได้ตั้งมั่นคงและได้ทำการสั่งสอนนักเรียนได้ผลดีเป็นอันมาก สมกับที่ได้รับพระมหา กรุณาธิคุณใน พระเจ้าแผ่นดินเป็นลำดับมาโรงเรียนนี้ได้เพาะข้าราชการและพลเมืองที่ดีขึ้น เป็นอันมาก นักเรียนเก่าของโรงเรียนนี้ได้รับราชการในตำแหน่งสูงๆอยู่เป็นอันมาก... กลับสู่หน้าสารบัญ

  17. สถานที่สำคัญ

  18. สถานที่สำคัญ ตึกเก่า (พ.ศ. 2433 - พ.ศ. 2513) สร้างขึ้นเพื่อทดแทนอาคารไม้หลังแรก โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จมาทรงวางศิลาฤกษ์ ในปี พ.ศ. 2430 ลักษณะอาคารเป็นแบบตะวันตก โดยมีอาคารคู่แฝดอีกหลังตั้งอยู่ไม่ห่างกันมาก (ปัจจุบันเป็นอาคารของสถานีตำรวจดับเพลิงบางรัก และได้รับการขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากร) 80 ปีต่อมา ได้มีอาการรื้อถอนเพื่อสร้าง ตึก ฟ.ฮีแลร์ ซึ่งสามารถรองรับนักเรียนได้มากขึ้น หากแต่สัญลักษณ์ของตึกเก่าที่ยังคงหลงเหลือคือ ศิลาฤกษ์ที่ตั้งอยู่ข้างตึก ฟ.ฮีแลร์ ในปัจจุบัน มีต่อครับ

  19. สถานที่สำคัญ หอประชุมสุวรรณสมโภช(พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2544) เป็นหอประชุมแห่งแรกของโรงเรียนอัสสัมชัญ ได้ก่อสร้างเมื่อโรงเรียนมีอายุครบ 80 ปี ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เคยเสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรการแสดงคอลเสิร์ต ภายหลังได้มีการสร้างทางเดินจากอาคารหอประชุมฯ กับอาคารข้างเคียงคือ ตึก ฟ.ฮีแลร์ และตึกกอลมเบต์ โดยทางเชื่อมฝั่งตึกกอลมเบต์เดิม ชั้นล่างเป็นที่ตั้งห้องน้ำเดิมของโรงเรียน และห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ม.ต้น ถัดขึ้นมาเป็นห้องเรียนและห้องพักครูภาษาอังกฤษ ม.ต้น สำหรับทางเชื่อมฝั่ง ตึก ฟ.ฮีแลร์ เดิม มีต่อหอประชุมสุวรรณสมโภชครับ

  20. สถานที่สำคัญ ชั้นล่างเป็น ฝ่ายวิชาการ ถัดขึ้นมาเป็นห้องพักครู และห้องปฏิบัติการชีววิทยา สำหรับใต้หอประชุมเดิมเป็นห้องเก็บของ และเป็นห้องเรียนวิชาไฟฟ้าและเขียนแบบ ต่อมามีการพัฒนาเป็นห้องเรียนในระดับมัธยมต้นเพิ่มขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2540 เนื่องจากปริมาณนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้นและห้องเรียนในตึกกอลมเบต์ไม่สามารถรองรับจำนวนนักเรียนได้หมด อาคารแห่งนี้ได้ถูกรื้อถอนเมื่อปี พ.ศ. 2544 เพื่อที่จะสร้างอาคารคู่ประกอบ 2 อาคาร คือ อาคารอัสสัมชัญ 2003 และ อาคารนักบุญหลุยส์-มารีย์ และเมื่อปี พ.ศ. 2545 จะเป็นปีที่หอประชุมนี้จะมีอายุครบ 50 ปี มีต่อครับ

  21. สถานที่สำคัญ ตึกอัสสัมชัญ 100 ปี (พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2547) ตึกอัสสัมชัญ 100 ปี สร้างขึ้นเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองการก่อตั้งโรงเรียนครบ 100 ปี เป็นอาคารอเนกประสงค์โดยชั้นล่างเป็นโรงอาหาร ชั้นสองเป็นห้องสมุด และชั้นสามเป็นโรงพละศึกษา ใช้สำหรับเล่นกีฬาในร่ม เช่น บาสเก็ตบอล วอลเลย์บอล แฮนด์บอล ฟุตซอล ฯลฯ และ สำหรับซ้อมเชียร์และแปรอักษร อาคารมีทางเดินเชื่อมต่อไปยัง ตึกฟ.ฮีแลร์ และ ตึกกอลมเบต์ โดยทางเชื่อมไปยัง ตึก ฟ.ฮีเลร์ ชั้นบนสุดเป็นลานเอนกประสงค์ พื้นทาด้วยสีเขียว เรียกโดยทั่วไปว่า "ลานเขียว" ภายหลัง ตึกได้ถูกรื้อถอนในปี พ.ศ. 2547 เพื่อสร้างอาคารคู่ประกอบ 2 อาคาร มีต่อครับ

  22. สถานที่สำคัญ ตึกกอลมเบต์(พ.ศ. 2479 - ปัจจุบัน) เป็นตึกที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาตึกที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีอายุเกือบ 100 ปี และได้ขึ้นทะเบียนกับกรมศิลปากรเพื่อ การอนุรักษ์ไว้ โดยห้ามทุบ ทำลาย หรือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หากแต่ให้บูรณะให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ตามความเหมาะสม เดิมใช้เป็นห้องเรียนในระดับมัธยมต้น ปัจจุบันใช้เป็นที่เรียนของนักเรียนในแผนก English Program และเป็นสถานที่ตั้งของงานอภิบาล ตึกนี้เคยถูกระเบิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดนหอนาฬิกาของตึกซึ่งมุมนั้นเคยเป็นห้องพักของภราดา ฟ.ฮีแลร์ อดีตอาจารย์ฝ่ายปกครองและผู้แต่งหนังสือดรุณศึกษา ตึกหลังนี้ถูกออกแบบในสถาปัตยกรรมที่เรียบง่าย สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่คุณพ่อกอลมเบต์ ผู้สถาปนาและผู้ดำรงตำแหน่งอธิการคนแรกของโรงเรียนอัสสัมชัญ มีต่อครับ

  23. สถานที่สำคัญ ตึกฟ.ฮีแลร์(พ.ศ. 2515 - ปัจจุบัน) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นองค์ประธานในการทำพิธีเปิดอาคาร ตึกฟ.ฮีแลร์ เดิมเป็นตึกเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยในแต่ละชั้นมี 6 ห้อง ชั้นล่างเป็นโถงกว้างตลอดความยาวของตัวอาคาร ใช้สำหรับทำกิจกรรมทั่วไป ชั้นบนสุดเป็นห้องพักของคณะภราดา ภายหลังใช้เป็นห้องเรียนสำหรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 รวมถึงใช้เป็นห้องกิจกรรมต่างๆ เช่น ห้องเอซีแบน ห้องดนตรีไทย ห้องกีต้า ห้องไวโอลีน ศูนย์คอมพิวเตอร์1 และ ร้านถ่ายเอกสาร เป็นต้น มีต่อครับ

  24. สถานที่สำคัญ อาคารอัสสัมชัญ 2003(พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน) ถือได้ว่าเป็นอาคารเรียนที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่ง ออกแบบตกแต่ในสไตล์โมเดิน ตัวอาคารประกอบด้วยห้องใต้ดินไว้สำหรับเก็บเพลทสำหรับงานแปรอักษร ห้องเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ห้องครุภัณฑ์ ห้องบริหารฝ่ายต่างๆ สำนักอธิการ หอประชุมออดิทอเรี่ยม ห้องประชุมย่อย 4 ห้อง ห้องแยกเรียน ที่พักภราดา และมีทางเดินเชื่อมสู่ อาคารนักบุญหลุยส์-มารีย์ มีต่อครับ

  25. สถานที่สำคัญ อาคารนักบุญหลุยส์-มารีย์(พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นองค์ประธานเปิดอาคารนักบุญหลุยส์-มารีย์อาคารประกอบอาคารอัสสัมชัญ 2003 อาคารที่พร้อมไปด้วยเทคโนโลยีทันสมัย ห้องอาหาร หอประชุมใหญ่ ห้องสมุดมาร์ติน เดอ ตูรส์ ห้องถ่ายภาพ ห้องผลิตสื่อ ห้องคาราโอเกะ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และห้อง Robot เป็นต้น พื้นที่ทั้งหมดรองรับ WiFi

  26. แหล่งอ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/ กลับสู่หน้าสารบัญ

  27. ขอบคุณครับ ชมการนำเสนอใหม่

More Related