1 / 36

หน่วยที่ 5 กลยุทธ์ในการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

หน่วยที่ 5 กลยุทธ์ในการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. เนื้อหา. ตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และตลาดทั่วไปแตกต่างกันอย่างไร จุดเริ่มต้น และเงินทุนที่ใช้ในการทำธุรกิจ บนอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมในการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย

Download Presentation

หน่วยที่ 5 กลยุทธ์ในการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หน่วยที่ 5กลยุทธ์ในการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  2. เนื้อหา • ตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และตลาดทั่วไปแตกต่างกันอย่างไร • จุดเริ่มต้น และเงินทุนที่ใช้ในการทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต • เทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมในการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย • การดำเนินธุรกิจโดยใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • การประชาสัมพันธ์และการตลาดที่ใช้สำหรับระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • กระบวนการในการจัดทำร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์ • การเลือกสินค้าให้เหมาะสมสำหรับการค้าออนไลน์ • องค์กรภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการค้าออนไลน์

  3. ตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และตลาดทั่วไปแตกต่างกันอย่างไร • พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีองค์ประกอบและมีผู้มีส่วนร่วมที่คล้ายกับตลาดทั่วไป เพียงแต่พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นการรวบรวมเทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลกับเทคโนโลยีการสื่อสารและขั้นตอนต่างๆ ในการค้าไว้ด้วยกัน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถทำให้ตลาดมีความใกล้เคียงกับตลาดแบบสมบูรณ์ (Perfect Market) เพราะผู้ซื้อผู้ขายสามารถเปรียบเทียบและตรวจเช็คข้อมูลของกันและกันได้ ทำให้เกิดการแข่งขันกันอย่างเต็มที่ทั้งในด้านราคา คุณภาพ และบริการ ก่อนการตัดสินใจซื้อสินค้า

  4. จุดเริ่มต้น และเงินทุนที่ใช้ในการทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต • พิจารณาความพร้อมของบริษัท พิจารณาว่าจะพัฒนาเว็บไซต์มาเพื่อวัตถุประสงค์ใด เช่นเพื่อประชาสัมพันธ์บริษัท ประชาสัมพันธ์สินค้า หรือว่าเพื่อมุ่งขายสินค้าโดยตรง ซึ่งแต่ละวัตถุประสงค์ก็จะมีองค์ประกอบภายในเว็บไซต์ต่างๆกัน ทำให้ต้องมีการกำหนดระยะเวลาในการดำเนินงานโดยละเอียด เพื่อให้มีแผนการทำงานที่แน่นอน • เลือกสินค้าที่จะจำหน่าย ควรศึกษาถึงความเป็นไปได้ของสินค้าที่จะจำหน่าย ดูสภาพตลาดว่ามีสินค้าประเภทเดียวกันนี้ในท้องตลาดมากน้อยเพียงใด แล้วนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับสินค้าของเรา เพื่อศึกษาหาความเป็นไปได้ในการเจาะตลาดนั้นๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นสินค้าที่หาซื้อได้ยากเท่านั้นอาจเป็นสินค้าที่มีจำหน่ายอยู่แล้ว เพียงแต่เพิ่มช่องทางจำหน่าย สินค้าที่จะจัดจำหน่าย ราคาต้องไม่สูงเกิน ไป และสามารถจัดส่งได้สะดวก สินค้าที่จำหน่ายผ่านอินเทอร์เน็ตจะแบ่งได้เป็นสองรูปแบบคือ สินค้าที่จับต้องได้ (Physical Goods) คือสินค้า ทั่วๆไป และสินค้าที่จับต้องไม่ได้ (Digital Goods) เช่นเพลง ซอฟต์แวร์ ข้อมูล และการบริการ (Services)

  5. จุดเริ่มต้น และเงินทุนที่ใช้ในการทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต • พัฒนาเว็บไซต์จะทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ เป็นที่แน่นอนว่าสิ่งที่จะขาดไม่ได้เลยก็คือ เว็บไซต์ การพัฒนาเว็บไซต์ประกอบด้วยขั้นตอนหลักๆ ดังต่อไปนี้ • กำหนดโครงสร้างของเว็บไซต์ว่าจะมีอะไรบ้าง เช่น Homepage, Company Profile, Product and Service, FAQ, Contact เป็นต้น • กำหนดรูปแบบของเว็บไซต์และเว็บเพจว่าภาพโดยรวมเป็นอย่างไร เรียบง่ายแต่รวดเร็ว หรือมีลูกเล่นมากแต่แสดงผลช้า • กำหนดวิธีการอธิบายลักษณะสินค้า และบริการให้สมบูรณ์ • กำหนดราคาสินค้า (บาทและดอลลาร์สหรัฐฯ) ราคารวมค่าขนส่ง/ประกันภัย/ภาษี • ลงรายละเอียดของร้านค้าที่ลูกค้าจะติดต่อได้ • กำหนดและระบุนโยบายการคืนสินค้า ถ้าไม่มีนโยบายการคืนสินค้าร้านค้าต้องแจ้งลูกค้าทราบ

  6. จุดเริ่มต้น และเงินทุนที่ใช้ในการทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต • การรับและบริหารการสั่งซื้อ • ระบบการสั่งซื้อ (Ordering System) • ระบบการชำระเงิน (Payment System) วิธีที่สะดวกที่สุดคือการรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิต • ยืนยันคำสั่งซื้อ • บรรจุสินค้าเพื่อทำการจัดส่ง • วิธีการส่งต้องรวดเร็วและสะดวก โดยเสนอทางเลือกให้ลูกค้าด้วย • ดำเนินการทางด้านภาษีให้ถูกต้อง

  7. ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเริ่มต้นทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ก็คือเมื่อคุณสำรวจตัวเองแล้วพบว่ามีศักยภาพและความพร้อมเพียงพอ อย่าลังเลรีรอ ถึงแม้ว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้เกิดขึ้นมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ก็ยังถือว่าเป็นสิ่งที่ใหม่ ยังต้องอาศัยการเรียนรู้และปรับตัวของสังคมอีกเป็นเวลานานกว่าจะทำให้นวัตกรรมนี้แพร่หลายและเป็นที่ยอมรับมากขึ้นจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับด้านอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้แต่บริษัทยักษ์ใหญ่หลายๆแห่งในประเทศสหรัฐอเมริกาเอง ในช่วงแรกที่เข้าสู่ระบบนี้ก็ยังประสบปัญหาและเสียเวลาในการปรับกระบวนการทำงานและวัฒนธรรมในองค์กรเป็นอย่างมาก ดังนั้นการเข้าสู่ระบบนี้ได้เร็วเท่าไหร่ย่อมหมายถึงว่าเวลาและโอกาสที่จะใช้ในการเรียนรู้และปรับตัวก็มีมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งเมื่อถึงเวลาที่ทั่วโลกพร้อม คุณก็จะพร้อมแล้วเช่นกัน • อีกประการหนึ่งคือ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีอัตราการเติบโตที่รวดเร็วทำให้การกระจายข่าวบนชุมชนอินเทอร์เน็ตทำได้รวดเร็ว ซึ่งย่อมเป็นผลดีแก่ผู้บุกเบิกหรือริเริ่มอะไรใหม่ๆ เพราะจะได้รับการกล่าวถึงเป็นอย่างมาก ทำให้ได้เปรียบในเรื่องของชื่อเสียงและภาพพจน์ของบริษัท

  8. เงินลงทุนเบื้องต้น • ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ ประการ เช่น ขนาดและความซับซ้อนของเว็บไซต์ แผนการตลาดและประชาสัมพันธ์ เป็นต้น แต่ถ้าพูดถึงงบประมาณหลักๆ ที่จำเป็นต้องมีไว้ในกรณีที่ต้องการมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง คืองบประมาณสำหรับคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ ค่าจ้างในการทำเว็บไซต์ ค่าดูแลรักษาเว็บไซต์ และ ค่าโฆษณา เป็นต้น โดยรวมแล้วอยู่ประมาณหลักแสนถึงล้านบาท อย่างไรก็ดีสำหรับผู้มีเงินทุนน้อย ไม่เพียงพอสำหรับวิธีนี้ ทางเลือกอื่นก็มี เช่น การสร้างเว็บไซต์บน Free Homepage หรือ การเข้าไปร่วมเป็นส่วนหนึ่งในไซเบอร์มอลล์ (Cyber Mall) ซึ่ง สองแบบหลังนี้ใช้เงินทุนน้อยกว่า เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนของ ค่าซอฟต์แวร์ ค่าจ้างแรงงาน หรือ ค่าดูแลรักษาอุปกรณ์ต่างๆ • อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเลือกแบบไหน ข้อดีของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ก็คือ เงินลงทุนที่ใช้นั้นน้อยกว่าที่ใช้สำหรับการมีร้านหรือธุรกิจแบบกายภาพเป็นอย่างมาก

  9. เทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมในการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมในการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • เกณฑ์การเลือกเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับธุรกิจขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย หนึ่งในนั้นคือ ขนาดของธุรกิจ ถ้าตั้งใจทำเว็บไซต์ขนาดใหญ่หลายสิบหน้า มีลูกค้าเยี่ยมชมซื้อสินค้าตลอด 24 ชั่วโมง จำเป็นที่จะต้องใช้เทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ขั้นสูงที่มีประสิทธิภาพและราคาสูงกว่าซอฟต์แวร์สำหรับเว็บไซต์ที่มีอยู่ งบประมาณเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งงบประมาณน้อยย่อมมีทางเลือกที่จำกัดกว่า • การประเมินจากประเภทของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายก็สามารถช่วยในการตัดสินใจได้ ถ้าเว็บไซต์เป็นแบบ B2C ซอฟต์แวร์ที่ต้องใช้ก็จะแตกต่างจากสำหรับ B2B เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับ B2C จะต้องมีในส่วน ของภาษีการค้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าขนส่ง เป็นต้น แต่ในส่วนของ B2B ตรงนี้อาจไม่จำเป็น เพราะสามารถทำได้ใน Extranet • ทั้งนี้และทั้งนั้น ขอให้คำนึงถึงความคุ้มค่าเป็นหลัก ช่วงเริ่มต้นนี้ไม่จำเป็นต้องมีเทคโนโลยีหรือซอฟต์แวร์ที่ทันสมัยที่สุด ขึ้นอยู่กับความจำเป็นจริงๆ มากกว่า ขอให้ตอบสนองคุณลักษณะพื้นฐานต่างๆ ที่ต้องการใช้ได้ทั้งหมดก็พอ เทคโนโลยีนั้นเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เลือกที่ใช้ประโยชน์ได้เพียงพอ แล้วเลือกที่จะอัพเกรดในภายหลัง เมื่อถึงเวลา

  10. เทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมในการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมในการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • เมื่อได้เทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ที่ต้องการแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ การติดตั้งระบบ โดยอาจเลือกที่จะทำด้วยตัวเองหรือจะจ้างบริษัทภายนอกมาดำเนินงานให้ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับความสำคัญของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อองค์กรของคุณ • หากต้องการสร้างระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ขึ้นจากทีมงานภายในบริษัทเอง บริษัทจำเป็นต้องจ้างวิศวกรคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถสูง ซึ่งข้อดีของวิธีนี้คือ ความยืดหยุ่นของระบบมีสูง และสามารถพัฒนาระบบให้เข้ากับธุรกิจได้ดีกว่าและสามารถปรับเปลี่ยนระบบได้ตามความต้องการ จุดอ่อนของวิธีนี้ก็คือ ความจำเป็นที่ต้องจ้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถสูงในด้านเทคโนโลยีไว้ภายในบริษัท ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายสูง และอาจมีปัญหาเรื่องการรักษาบุคลากรเอาไว้อีกด้วย เพราะผู้เชี่ยวชาญด้านนี้เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก แต่หากว่าบริษัทของคุณมีขนาดใหญ่พอสมควรและพิจารณาแล้วว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือที่สำคัญของบริษัท ทางเลือกนี้ก็น่าจะจำเป็น

  11. เทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมในการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมในการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • อีกวิธีหนึ่งคือ การมอบหมายให้บริษัทที่เชี่ยวชาญในด้านนี้รับผิดชอบ (Outsource) ข้อดีของวิธีนี้อยู่ตรงที่ช่วยลดปัญหาเรื่องการบริหารบุคลากรและอาจมีต้นทุนต่ำกว่าในกรณีที่ไม่มีการไม่แก้ไขหรือปรับปรุงระบบบ่อยเกินไปนัก ส่วนข้อเสีย ก็คือ การสื่อสารกับบริษัทภายนอกมักทำได้ไม่เต็มที่เท่ากับการสื่อสารกับบุคลากรภายใน ซึ่งอาจทำให้ระบบที่ได้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของธุรกิจได้อย่างเต็มที่ • ประการสุดท้ายเรื่องของความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการ ถ้าหากคุณไม่ได้คิดจะสร้างทุกอย่างขึ้นมาจากสองมือของคุณเองแล้ว ความรู้พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ก็เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องเข้า คอร์สเรียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซับซ้อนเพิ่มเติม ณ เวลานี้แต่ละบริษัทต่างให้ความสำคัญกับความง่ายและสะดวกสบายในการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นอันดับต้นๆอยู่แล้ว

  12. มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย • เมื่อผู้ผลิต ผู้ขาย และลูกค้า เข้ามาอยู่ในระบบการติดต่อที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลกภายในเสี้ยววินาที ก่อให้เกิดการซื้อขายอย่างคล่องตัว ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น

  13. มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย • เนื่องจากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำธุรกิจในปัจจุบัน สำหรับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในไทย ติดอันดับ 30 ของโลก อันดับที่ 1 คือ สหรัฐฯ,2 เยอรมณี และ 3 ญี่ปุ่น ในปี 2553 มูลค่าการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในไทยมีมูลค่า 20,000 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 668,000 ล้านบาท คนไทยนิยมซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ตร้อยละ 40 • เว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กของไทยที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค 5 อันดับ (สำรวจ ต.ค. 2552) ได้แก่ • 1.www.pramool.com • 2. www.welovesshopping.com • 3. www.tarad.com • 4. www.pantipmarket.com • 5. www.thaionlinemarket.com

  14. มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย • กลุ่มธุรกิจที่มีการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตมากที่สุด ได้แก่ ธุรกิจการท่องเที่ยว โดยคิดเป็นร้อยละ 26 รองลงมาคือ ธุรกิจคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 15 และธุรกิจเครื่องนุ่งห่มตามมาเป็นอันดับที่ 3 ที่ร้อยละ 8

  15. การดำเนินธุรกิจโดยใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์การดำเนินธุรกิจโดยใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยขั้นตอนทางธุรกิจต่างๆ ดังนี้ • การโฆษณาและประชาสัมพันธ์สินค้า/บริการ ให้เป็นที่รู้จักของลูกค้าผ่านสื่อต่างๆ • การสั่งซื้อ เมื่อลูกค้าพอใจในสินค้า/บริการ จะทำการสั่งซื้อสินค้า/บริการดังกล่าว • การชำระเงินค่าสินค้า/บริการนั้นๆ ซึ่งจะต้องทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจในระบบรักษาความปลอดภัย • การจัดส่งสินค้า/บริการ โดยผู้ประกอบการต้องจัดส่งสินค้า/บริการให้ถึงมือลูกค้าอย่างรวดเร็ว และตรงเวลา • แต่ถ้าเจาะลึกลงไปในรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงานของธุรกิจเฉพาะอย่าง จะพบว่ามีการดำเนินงานที่มีลักษณะเฉพาะตัวออกไป เช่น ธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว ที่จะต้องมี Customer Relationship, Customer Service ที่จะต้องเก็บประวัติของลูกค้า และพยายามรักษาลูกค้าเดิมเอาไว้ โดยการเชิญชวนลูกค้าเหล่านั้นให้กลับมายังโรงแรม เพื่อเป็นการสร้างคุณค่าของการให้บริการ และเป็นการสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นกับลูกค้า

  16. การประชาสัมพันธ์และการตลาดที่ใช้สำหรับระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์การประชาสัมพันธ์และการตลาดที่ใช้สำหรับระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 1. การประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ของตัวเองวิธีการใช้เว็บไซต์ของตนเองในการทำประชาสัมพันธ์ บางวิธีก็มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ผู้เข้าชมใช้เวลาบนเว็บไซต์นานขึ้นเพื่อสร้างการรับรู้ในยี่ห้อสินค้า แต่บางวิธีก็เพื่อทำให้ผู้เข้าชมกลับมาที่เว็บไซต์อีก 1.1 การลงทะเบียนวัตถุประสงค์ของการลงทะเบียนก็เพื่อเก็บรวบรวม ชื่อ นามสกุล e-Mail และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆของผู้เข้าชมเว็บไซต์ไว้โดยสามารถทำได้หลายวิธี เช่น กรอกแบบสอบถามสั้นๆ สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับข่าวสาร และ ตอบปัญหาชิงรางวัล เป็นต้น การลงทะเบียนนี้เป็นหนึ่งในวิธีที่สำคัญที่สุดสำหรับการประชาสัมพันธ์แบบนี้ เพราะข้อมูลที่คุณได้มานั้น โดยเฉพาะ e-Mail ทำให้คุณสามารถสานต่อความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ เช่น การ e-Mail กลับไปหาเพื่อแจ้งรายการสินค้าใหม่ หรือ เมื่อมีโปรโมชั่นใหม่ที่น่าสนใจมานำเสนอ 1.2 การแจกฟรีสินค้า หรือ คูปองส่วนลดการแจกฟรีสินค้าบางอย่างหรือคูปองส่วนลดก็เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับการที่ผู้เข้าชมต้องเสียเวลาลงทะเบียน ตอบแบบสอบถาม หรือแม้กระทั่งเพียงแค่เสียเวลาเข้ามาชมเว็บไซต์

  17. การประชาสัมพันธ์และการตลาดที่ใช้สำหรับระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์การประชาสัมพันธ์และการตลาดที่ใช้สำหรับระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 1.3 “Call-to-Action” Wordsเป็นข้อความที่จูงใจให้ผู้เข้าชมเกิดการปฏิบัติต่อเว็บไซต์ เช่น “เพียงแค่คลิ้กเดียว หน้านี้ก็กลายเป็นโฮมเพจของคุณแล้ว”, “โทรหาเรา เดี๋ยวนี้สิคะ” หรือ “ลงทะเบียนกับเราสิคะ ของที่ระลึกรอคุณอยู่” เป็นประเภทของข้อความที่เป็นที่นิยมอย่างมากบนเว็บไซต์ต่างๆ 1.4 กิจกรรมพิเศษคือ การทำให้ผู้เข้าชมกลับมาที่เว็บไซต์อีกครั้งโดยใช้กิจกรรมพิเศษเป็นตัวดึงดูด เช่น การพูดคุยแบบออนไลน์กับดารา นักร้อง การถ่ายทอดสดคอนเสิร์ตผ่านเว็บไซต์ หรือ การลดราคาสินค้าประจำปี เป็นต้น 1.5 เว็บบอร์ด (Web Board)เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในขณะนี้ เว็บบอร์ดมีขึ้นเพื่อเป็นที่แสดงความคิดเห็นในหัวข้อเรื่องต่างๆที่อยู่ในความสนใจของประชาชน โดยเว็บไซต์จะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมตั้งกระทู้ใหม่หรือแสดงความคิดเห็นในกระทู้เดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งทุกข้อความจะปรากฏอยู่บนเว็บไซต์ทันทีหลังจากที่ถูกพิมพ์เสร็จ วิธีนี้เป็นการกระตุ้นให้ผู้เข้าชมกลับมายังเว็บไซต์อีกในภายหลัง เพื่อดูว่ามีความคิดเห็นใดเกิดขึ้นบ้างกับกระทู้ของตน หรือมีกระทู้ใหม่ใดบ้างที่น่าสนใจ

  18. การประชาสัมพันธ์และการตลาดที่ใช้สำหรับระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์การประชาสัมพันธ์และการตลาดที่ใช้สำหรับระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 2.การประชาสัมพันธ์บน World Wide Webมีมากมายทั้งแบบฟรีและแบบที่ต้องเสียเงิน แต่วิธีที่สำคัญๆ มีดังต่อไปนี้ 2.1การโฆษณาโดยใช้แบนเนอร์ 2.2การแลกเปลี่ยนลิงค์ (Link) หรือแบนเนอร์ กับเว็บไซต์อื่นๆเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่งอีกทั้งยังไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น การแลกปลี่ยนลิงค์คือการตกลงกับเว็บไซต์หนึ่งว่าต่างฝ่ายต่างจะนำลิงค์ของอีกฝ่ายหนึ่งไปไว้บนเว็บไซต์ของตน ลิงค์ที่ใช้อาจเป็นได้ทั้งตัวอักษร โลโก้ หรือ แม้กระทั่งแบนเนอร์ (ซึ่งมักเรียกว่าแลกเปลี่ยนแบนเนอร์แทน) โดยมากแล้วเว็บไซต์ที่จะยอมแลกเปลี่ยนลิงค์กันมักเป็นเว็บไซต์ที่มี ขนาด ชื่อเสียง ประเภทเนื้อหา และกลุ่มเป้าหมาย ที่เหมือนกัน อย่างไรในบางกรณี การแลกเปลี่ยนลิงค์กับเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียงกว่ามาก อาจจะทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายบ้าง

  19. การประชาสัมพันธ์และการตลาดที่ใช้สำหรับระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์การประชาสัมพันธ์และการตลาดที่ใช้สำหรับระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 2.3 การจดทะเบียนกับ Search Engine Search Engine คือเครื่องจักรที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล โดยใช้ดัชนีตัวแทน (Indexing Agents) ที่รู้จักกันดีในชื่อของ Spiders, Robots, Crawlers, หรือ Wanderers ที่สามารถค้นหาเว็บไซต์ที่มีคำที่ค้นหา (Keyword) ปรากฏอยู่ รวมทั้งลิงค์และหน้าต่างๆที่เกี่ยวกับเว็บไซต์นั้นไว้ได้ ข้อมูลที่ได้จาก Search Engine จึงมีความละเอียด • จริงๆ แล้วมีมากมายหลายวิธี ที่จะทำให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จักและดึงดูดความสนใจของผู้ชมโดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น แต่วิธีที่ได้รับความนิยมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ได้แก่ การขึ้นทะเบียนเว็บไซต์กับ Search Engine ซึ่งทำได้ไม่ยาก เพียงไปยังแต่ละ Search Engine เช่น Google, Excite, Yahoo!, หรือ Altavistaแล้วกรอกแบบฟอร์มขอขึ้นทะเบียนเว็บไซต์ เท่านี้ก็เป็นอันเรียบร้อย นอกจากนี้ยังสามารถจดทะเบียนผ่าน http://www.registerit.com ที่มีชื่อเสียงในการให้บริการด้านนี้โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ

  20. การประชาสัมพันธ์และการตลาดที่ใช้สำหรับระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์การประชาสัมพันธ์และการตลาดที่ใช้สำหรับระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 3.การประชาสัมพันธ์ในที่อื่นๆบนอินเทอร์เน็ต3.1 Newsgroupคือแหล่งชุมนุมของผู้ที่สนใจในเรื่องราวเดียวกันบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยการฝากข้อความ หรือสอบถามข้อมูลกันได้ การฝากข้อความใน Newsgroup นี้เปิดโอกาสให้คุณได้ทิ้งลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์รวมทั้ง URL ของเว็บไซต์ของคุณไว้ด้วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์วิธีหนึ่ง หัวข้อเรื่องต่างๆ ใน Newsgroup มีอยู่มากมาย เช่น คอมพิวเตอร์ การเมือง สังคม เศรษฐกิจ บันเทิง เรียกได้ว่าคลอบคลุมเกือบทุกเรื่องที่อยู่ในความสนใจของผู้คน 3.2 Mailing Listsเป็นการรวบรวมชื่อและ e-Mail ของผู้ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันเข้าด้วยกัน สามารถเป็นหนึ่งในรายชื่อนั้นได้โดยการส่ง e-Mail ไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่เก็บรายชื่อนี้ไว้ หลังจากนั้นก็สามารถเริ่มแลกเปลี่ยนข้อความทาง e-Mail กับคนอื่นๆในรายชื่อนั้นได้

  21. การประชาสัมพันธ์และการตลาดที่ใช้สำหรับระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์การประชาสัมพันธ์และการตลาดที่ใช้สำหรับระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 4.การประชาสัมพันธ์ที่ไม่ได้อยู่บนอินเทอร์เน็ตวิธีนี้ก็คือการประชาสัมพันธ์บนสื่อทั่วๆ ไปนั่นเอง เช่น การโฆษณาบนโทรทัศน์ วิทยุ หรือ ป้ายโฆษณากลางแจ้ง ซึ่งวิธีดังกล่าวต้องใช้เงินสูง ดังนั้นการแจกสินค้าพรีเมี่ยมพวกเครื่องเขียน เช่น ปากกาที่มีชื่อเว็บไซต์ของคุณอยู่ หรือ อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เช่น แผ่นรองเม้าส์ ที่มีรูปโลโก้เว็บไซต์ของคุณอยู่ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

  22. การประชาสัมพันธ์และการตลาดที่ใช้สำหรับระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์การประชาสัมพันธ์และการตลาดที่ใช้สำหรับระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • วิธีการโฆษณาบนอินเทอร์เน็ตที่เป็นที่นิยมมากที่สุดวิธีหนึ่งได้แก่ การโฆษณาผ่านแบนเนอร์ (แถบโฆษณาบนเว็บไซต์) บน เว็บพอร์ทัลหลักๆ เช่น Yahoo!, Excite, และ Mwebเป็นต้น เพราะเว็บไซต์ประเภทนี้มีผู้เข้าชมเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน ดังนั้นโอกาสของแบนเนอร์ที่จะเข้าถึงลูกค้าก็มีสูง • บางบริษัทพบว่าการโฆษณาบนเว็บ Portal ใหญ่ๆ สามารถเข้าถึงคนจำนวนมากได้ก็จริงแต่คนเหล่านั้นอาจไม่ใช่กลุ่มลูกค้าที่ต้องการก็ได้ ในทางตรงกันข้ามการโฆษณาบนเว็บไซต์ที่มีกลุ่มลูกค้าชัดเจนตรงกับเป้าหมายของสินค้าน่าจะได้ผลดีกว่า เช่น หนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันฉบับใหม่อาจจะลงโฆษณาบน Qthai.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลข่าวสารด้านธุรกิจและการเงินของไทยมากกว่าจะไปลงโฆษณาบน Mweb.co.thหรือว่า ซอฟต์แวร์สร้างกราฟิกเวอร์ชันใหม่ล่าสุด อาจจะลงโฆษณาบน Webmaster.or.thแทนที่จะไปลงโฆษณาใน Thairath.com การลงโฆษณาแบบนี้แน่นอนว่าเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า และยังเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ตรงกว่าด้วย

  23. การประชาสัมพันธ์และการตลาดที่ใช้สำหรับระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์การประชาสัมพันธ์และการตลาดที่ใช้สำหรับระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • เมื่อความนิยมเช่นนี้เกิดขึ้นมากเรื่อยๆ เว็บพอร์ทัลต่างๆ จึงต้องหากลยุทย์ใหม่มานำเสนอ โดยเสนอการลงโฆษณาแบบใหม่ที่ขึ้นอยู่กับคำที่ผู้ชมต้องการค้นหา (Keyword) เช่น ถ้าผู้ชมคนหนึ่งใน Sanook.com ค้นหาคำว่า “อาหารไทย” ในหน้าที่แสดงผลลัพธ์ จะมีภาพโฆษณาของร้านอาหารต่างๆ ปรากฏขึ้นมาด้วย วิธีนี้จะช่วยทำให้โฆษณาเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มากขึ้น

  24. กระบวนการในการจัดทำร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์กระบวนการในการจัดทำร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์ 1. สำรวจตัวเอง เพื่อค้นหาจุดอ่อน/จุดแข็งของสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ • เป้าหมาย • สินค้าและบริการ • ต้นทุน • บุคลากร • เทคโนโลยี

  25. กระบวนการในการจัดทำร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์กระบวนการในการจัดทำร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์ 2. สำรวจตลาด เพื่อทราบความต้องการของตลาด • กลุ่มเป้าหมาย • ความต้องการของตลาดด้านสินค้า/บริการ • ราคา • พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค

  26. กระบวนการในการจัดทำร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์กระบวนการในการจัดทำร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์ 3. สำรวจคู่แข่ง เพื่อสร้างความแตกต่าง • สินค้า/บริการ • ราคา • กลุ่มเป้าหมาย

  27. กระบวนการในการจัดทำร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์กระบวนการในการจัดทำร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์ 4. สำรวจศักยภาพทางเทคโนโลยี เพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขันในด้านต่างๆ ต่อไปนี้ • ระบบสั่งซื้อ • ระบบโต้ตอบอัตโนมัติ • ระบบส่งเสริมการขาย • ระบบชำระเงิน • ระบบหลังร้าน • ระบบรักษาความปลอดภัย

  28. การเลือกสินค้าให้เหมาะสมสำหรับการค้าออนไลน์การเลือกสินค้าให้เหมาะสมสำหรับการค้าออนไลน์ หลักในการพิจารณาว่าสินค้าใดเป็นที่ต้องการของตลาด สามารถทำการตลาดได้ง่าย และสร้างรายได้ได้ดี มีดังนี้ • สนองความต้องการกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริง อย่างแรกเราต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนเสียก่อน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่จะทำให้เราประสบความาสำเร็จอย่างรวดเร็ว ต้องมีอำนาจซื้อ (มีเงิน) จากนั้นดูความต้องการสินค้าที่เขายังขาดอยู่ และเมื่อรู้ตัวสินค้านั้น ก็ต้องทราบความต้องการใช้งานที่แท้จริงเป็นอย่างไร เป็นความต้องการถาวรหรือไม่ หรือว่าเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ต้องการซื้อในราคาเท่าใด หากซื้อจะไปซื้อที่ช่องทางใด และมีปัจจัยในการซื้อสินค้าที่ว่านี้อย่างไร • ต้องจัดหาได้โดยง่าย เราสามารถผลิตหรือสร้างสรรค์เองได้ โดยไม่ต้องพึ่งพิงโรงงานผลิต เพราะจะทำให้เสียเวลารอคอยควบคุมต้นทุนไม่ได้ ฉะนั้นควรขายสินค้าที่เป็นต้นฉบับ แล้วสามารถให้ลูกค้า Copy จากต้นฉบับนี้ได้เองโดยอัตโนมัติเป็นดีที่สุด • ไม่ต้องจัดส่ง คือขายเสร็จแล้วไม่ควรจะต้องเสียเวลาบรรจุหีบห่อ เพราะการส่งมอบด้วยวิธีปกติจะทำให้สินค้ามีโอกาสเสียหาย หรือล่าช้าได้ อาจทำให้ลูกค้าปฏิเสธการรับสินค้า ทางที่ดีการจัดส่งควรอยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ เช่น หนังสือพิมพ์ เพลง เป็นต้น

  29. การเลือกสินค้าให้เหมาะสมสำหรับการค้าออนไลน์การเลือกสินค้าให้เหมาะสมสำหรับการค้าออนไลน์ • ขายตัวเองได้โดยอัตโนมัติ สามารถสร้างระบบการขายแลกเปลี่ยนอัตโนมัติ คือเชื่อมต่อกับระบบตะกร้า ระบบรับชำระเงินเรียลไทม์หรือออนไลน์ เมื่อบัตรเครดิตอนุมัติผ่านแล้ว ก็ให้ผู้ซื้อเข้าไปรับสินค้า/บริการนั้นๆ ได้เลย โดยที่ไม่ต้องเป็นภาระแก่เจ้าของเว็บอีก เช่น ลูกค้าเข้าไปดาวน์โหลดได้ • ผู้ซื้อสามารถจัดการเองได้ เลือกคุณลักษณะหรือบริการปลีกย่อยได้เอง เมื่อลูกค้าเลือกจนเป็นที่พอใจแล้ว ระบบสามารถคิดราคายืดหยุ่นให้โดยอัตโนมัติ • ราคาเหมาะสม ซื้อ-ขายคล่อง ราคาของสินค้า/บริการควรจะอยู่ในระดับที่ซื้อ-ขายคล่อง และมีหลายระดับราคาให้เลือก มักอยู่ในช่วงตั้งแต่ 10-200 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งราคาระดับนี้จะทำให้ผู้ซื้อรู้สึกกล้าที่จะเสี่ยง และเมื่อได้รับสินค้า/บริการในทันทีก็จะมั่นใจยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการมีระดับราคาต่ำๆ ไว้ให้เป็นตัวเลือกนั้นถือว่าสำคัญมาก เพราะลูกค้าบางรายจะทดลองซื้อสินค้าที่ถูกที่สุดในร้านก่อนเพื่อทดสอบคุณภาพการให้บริการก่อน • จับกลุ่มเป้าหมายได้กว้าง ไม่ควรจำกัดเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น เพราะผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีอยู่ทั่วโลก ดังนั้นเว็บไซต์ของเราควรทำเป็นภาษาอังกฤษ หรือถ้าจะให้ดีควรจัดทำเป็นภาษาท้องถิ่นของประเทศกลุ่มเป้าหมายไว้ด้วย

  30. การเลือกสินค้าให้เหมาะสมสำหรับการค้าออนไลน์การเลือกสินค้าให้เหมาะสมสำหรับการค้าออนไลน์ • หาได้ยากในท้องตลาดทั่วไป ไม่เช่นนั้นจะขายได้ลำบาก พยายามคิดริเริ่มสินค้าใหม่ๆ ที่ตลาดต้องหาออกมา ต้องขยันปรับปรุงเพื่อให้แตกต่างกับที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดตลอดเวลา เป็นการดึงลูกค้าให้เป็นลูกค้าประจำและเพิ่มคุณค่าของสินค้า • ขายได้ต่อเนื่อง หรือต้องซื้อเป็นประจำ ควรเป็นระบบเช่า เพราะจะสร้างกระแสเงินสดที่ต่อเนื่อง และหมุนเวียนตลอดเวลา หรือเป็นสินค้าประเภทที่มีวันหมดอายุ หรือใช้แล้วหมดไปทำให้ต้องมาต่ออายุ หรือสมัครเป็นสมาชิกประจำ หรือทำให้สินค้านั้นตกรุ่นบ่อยๆ • จัดระบบการขายแบบ Multi-Level Marketing (MLM) ได้ ควรเป็นสินค้า/บริการที่มีคนใช้เป็นจำนวนมาก เข้าใจง่าย แพร่หลาย และมีส่วนต่างของกำไรมาก พอที่จะจัดแบ่งให้แต่ละลำดับชั้นของตัวแทนขายที่ต้องจัดสรรค่าคอมมิชชั่นลงไปเป็นทอดๆ

  31. การเลือกสินค้าให้เหมาะสมสำหรับการค้าออนไลน์การเลือกสินค้าให้เหมาะสมสำหรับการค้าออนไลน์ • คู่แข่งเลียนแบบได้ยาก สินค้าที่ว่านี้ต้องมีคุณลักษณะพิเศษ ไม่เช่นนั้นแล้วเมื่อท่านนำออกขายได้ไม่นาน คู่แข่งก็อาจจะลอกเลียนแบบและทำออกมาขายแข่ง ซึ่งกลายเป็นว่าเราคิดสินค้าขึ้นมาแต่คนอื่นได้กำไรแทน • สามารถเชื่อมต่อกับระบบบริหารหลังร้านได้โดยง่าย คือสามารถติดต่อระบบฐานข้อมูลเพื่อบริหารด้านการเงิน บัญชี การบริการหลังการขาย การออกใบเสร็จรับเงิน การคิดคอมมิชชั่น(ถ้ามี) การสะสมแต้ม หรือการปรับปรุงข้อมูลต่างๆ ได้โดยอัตโนมัติ โดยที่ทำงานเพียงจุดเดียวก็สามารถให้ระบบดำเนินการต่อจนจบกระบวนการ • สร้างระบบให้ลูกค้าช่วยกันอัพเดทข้อมูลหรือระบบไปให้ด้วยในตัว เช่น Amazon.com ที่ให้ลูกค้าช่วยขายหนังสือโดยการวิจารณ์และให้ประเมินคุณภาพของหนังสือ

  32. องค์กรภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการค้าออนไลน์ • กระทรวงวิทยาศาสตร์ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) http://www.nectec.or.thศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ECRC) http://www.ecommerce.or.th • กระทรวงอุตสาหกรรมกรมส่งเสริมการส่งออก (http://www.depthai.go.th) และเว็บไซต์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง http://www.wethai.com, http://www.thaiexponet.com, http://www.thailandexport.com, http://www.thaixport.com • กระทรวงพาณิชย์กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ http://www.thaiecommerce.net • กระทรวงการคลังธนาคารแห่งประเทศไทย http://www.bot.or.th

  33. องค์กรภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการค้าออนไลน์ • บริษัท สยามเว็บ จำกัด – http://www.siamweb.com • บริษัท ดิจิทัล อินเทอร์เน็ต แฟกทอรี่ จำกัด – http://www.digitalinternetfactory.com • บริษัท เว็บสตูดิโอวัน โซลูชั่นจำกัด – http://www.webstudio-1.com • บริษัท สยามอีคอมเมิร์ซ เทคโนโลยี จำกัด – http://www.siam-e-Commerce.com • บริษัท เน็ต เรดดี้ จำกัด – http://www.netready.co.th • อาร์เคเดียน อินเทอร์เน็ต กรุ๊ป – http://www.arcadian.net ฯลฯ

More Related