380 likes | 517 Views
บทที่ 8. การบริหารการเงิน (Financial Management). 8.1 เป้าหมายในการบริหารการเงิน. เป้าหมายของการบริหารการเงินคือ การทำให้เจ้าของกิจการในปัจจุบันมีความมั่งคั่งมากที่สุด. 8.2 หน้าที่ทางการเงินของผู้บริหาร. 1. หน้าที่ในการวางแผนทางการเงิน (Financial Planning)
E N D
บทที่ 8 การบริหารการเงิน (Financial Management)
8.1 เป้าหมายในการบริหารการเงิน เป้าหมายของการบริหารการเงินคือ การทำให้เจ้าของกิจการในปัจจุบันมีความมั่งคั่งมากที่สุด
8.2 หน้าที่ทางการเงินของผู้บริหาร 1. หน้าที่ในการวางแผนทางการเงิน (Financial Planning) 2. หน้าที่ในการควบคุม (Financial Controlling) 3. หน้าที่ในการตัดสินใจหาเงินทุน (Financing Decision or Raising Funds) 4. หน้าที่ในการจัดสรรการใช้เงินทุน (Management of Assets)
8.3 เงินลงทุน ( Capital ) เงินลงทุน (Capital) คือปัจจัยสำคัญของการดำเนินงานทางธุรกิจดังนั้นจึงต้องมีเงินลงทุนที่พอเพียงในการจัดการกับธุรกิจ
ประเภทของเงินทุน (Kinds of Capital) เงินทุนที่แบ่งตามแหล่งที่มามี 2 ประเภทดังนี้ 1. เงินทุนจากส่วนเจ้าของ (Equity Capital)คือเงินลงทุนที่เจ้าของธุรกิจเป็นเจ้าของเงินเอง 2. เงินจากการกู้ยืม (Borrowed Capital)คือเงินทุนที่ได้มาจากแหล่งเงินภายนอกองค์กร
เงินทุนที่แบ่งตามระยะเวลาสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท 1. เงินทุนระยะสั้น (Short-term Capital) หมายถึงเงินทุนที่ได้จากการก่อหนี้ระยะสั้นซึ่งมีระยะการชำระคืนภายใน 1 ปี เงินลงทุนระยะสั้นแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ 1.) สินเชื่อทางการค้า (Trade Credit) 2.) ตราสารพาณิชย์ (Commercial Paper) 3.) เงินกู้ระยะสั้น(Short-term Loans) - เงินกู้ชนิดไม่มีหลักทรัพย์ประกัน (Unsecured Loans) - เงินกู้ที่มีหลักทรัพย์ประกัน (Secured Loans)
2. เงินทุนระยะกลาง (Intermediate-term Capital) หมายถึงเงินทุนที่ได้จากการกู้ยืมเพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจซึ่งมีระยะเวลาในการชำระคืนเกินกว่า 1 ปีแต่ไม่เกิน 5 ปีซึ่งส่วนใหญ่ระยะเวลาของการใช้คืนจะอยู่ในช่วง 3-5 ปี เงินลงทุนระยะกลางแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ 1.) เงินกู้ระยะกลางแบบธรรมดา (Ordinary Term Loans) 2.) เงินกู้ระยะกลางแบบเครดิตชนิดหมุนเวียน (Revolving Credit) 3.) การจัดหาเงินทุนโดยการเช่าสินทรัพย์ (Lease Financing)
3. เงินทุนระยะยาว (Long-term Capital) เป็นเงินทุนที่ใช้ในการซื้อสินทรัพย์ถาวรที่มีอายุการใช้งานนานเป็นเงินทุนระยะยาวที่มีอายุการชำระคืนนานกว่า 5 ปีขึ้นไป เงินทุนระยะยาวแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ 1.) เงินทุนระยะยาวจากแหล่งภายใน(Internal Long-term Financing) ได้แก่กำไรสะสมและค่าเสื่อมราคา - กำไรสะสม (Retained Earning) - ค่าเสื่อมราคา (Depreciation) 2.) เงินทุนระยะยาวจากแหล่งภายนอก(External long-term Financing) - หนี้สินระยะยาว (Long-term Debt) - หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) - หุ้นสามัญ (Common Stock)
8.4 งบการเงิน (Financial Statement) และ โครงสร้างงบการเงิน งบการเงินคือเอกสารทางการเงินที่จะปรากฎในรายงานประจำปี (Annual Report) ของบริษัท
งบดุล (Balance Sheet) - เป็นการแสดงรายงานฐานะการเงินของกิจการณเวลาใดเวลาหนึ่ง - แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่บริษัทเป็นเจ้าของ (สินทรัพย์), สิ่งที่บริษัทมีภาระหนี้สิน (หนี้สิน) และส่วนทุนของผู้ถือหุ้น - การแสดงค่าจะแสดงด้วยราคาทุนสุทธิหรือที่เรียกว่ามูลค่าตามบัญชีของธุรกิจในขณะนั้น สินทรัพย์ (Assets) = หนี้สิน(Liabilities) + ส่วนของผู้ถือหุ้น(Ownership)
(สินทรัพย์) (หนี้สิน +ส่วนของผู้ถือหุ้น) สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสด /เงินทุนชั่วคราว ลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า รายได้ค้างรับ สินทรัพย์ถาวร ที่ดิน / อาคาร เครื่องจักร / ยานพาหนะ เครื่องตกแต่งสำนักงาน สินทรัพย์อื่นๆ เงินลงทุนระยะยาว สินทรัพย์ที่ไม่มี่ตัวตน เงินมัดจำ หนี้สินหมุนเวียน เจ้าหนี้ทางการค้า ตั๋วสัญญาการใช้เงิน รายจ่ายค้างจ่าย หนี้สินระยะยาว เงินกู้ ตั๋วเงินจ่าย รายได้รับล่วงหน้า ส่วนของผู้ถือหุ้น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ส่วนเกินมูลค่าหุ้น กำไรสะสม งบดุล
สินทรัพย์ ( Assets ) 1. สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets) หมายถึงสินทรัพย์ต่างๆของธุรกิจที่สามารถเปลี่ยนสภาพเป็นเงินสดได้ภายในช่วงระยะเวลาดำเนินงานตามปกติซึ่งโดยมากจะเป็นเวลา 1 ปีได้แก่ - เงินสด (Cash) - เงินลงทุนชั่วคราว (Short-term investment) - ลูกหนี้ (Accounts Receivable) - สินค้าคงเหลือ(Inventories) - ตั๋วแลกเงินรับ (Notes Receivable) - รายจ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expenses) - รายได้ค้างรับ
2. สินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets) คือสินทรัพย์ที่มีตัวตนหรือที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 1 รอบระยะเวลาการดำเนินงานปกติซึ่งไม่ได้มีไว้ขายในรูปของสินค้ามูลค่าของสินทรัพย์ถาวรที่แสดงในงบดุบจะเป็นมูลค่าที่มีการหักค่าเสื่อมแล้วเรียกว่ามูลค่าตามบัญชี 3. สินทรัพย์อื่นๆ - เงินลงทุนระยะยาว(Long-term Investment) - สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) - เงินมัดจำ
หนี้สิน (Liabilities) หมายถึงสิทธิของเจ้าหนี้ต่อทรัพย์สินของบริษัท 1. หนี้สินหมุนเวียน(Current Liabilities)หรือเรียกว่าหนี้สินระยะสั้น (Short-term Liabilities) คือหนี้สินที่ถึงกำหนดชำระภายในรอบระยะเวลาดำเนินงานปกติ - เจ้าหนี้ทางการค้า(Account Payable) - ตั๋วสัญญาใช้เงิน - รายจ่ายค้างจ่าย - เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ไม่ว่าวิธีการใดๆ
2. หนี้สินระยะยาว (Long term Liabilities) คือ หนี้สินที่ถึงกำหนดชำระมากกว่า 1 ปี และมักจะมีการใช้หลักทรัพย์ประกันและการคิดดอกเบี้ย 3. รายได้รับล่วงหน้า (Deferred Credit) คือ เงินที่ลูกค้าจ่ายล่วงหน้าเพื่อมัดจำสินค้าและบริการ 4. หนี้สินอื่นๆ
ส่วนของผู้ถือหุ้น (Shareholder Equity) หมายถึงสิทธิของเจ้าของกิจการต่อทรัพย์สินของบริษัทหลังจากที่ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้ทำไว้กับเจ้าหนี้ 1. หุ้นทุน (Capital Stock) 1.1 หุ้นสามัญ (common stock) 1.2 หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred stock)
2. ส่วนเกินมูลค่าหุ้นหรือส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น (Premium on Share Capital or Discount on Share Capital) คือเงินที่เกินหรือต่ำกว่ามูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (par value) ของหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ 3. กำไรสะสม (Retained Earning) หมายถึง กำไรสะสมส่วนหนึ่งที่จัดสรรไว้เป็นสำรองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บังคับไว้และจัดสรรไว้เป็นสำรองเพื่อการใดๆตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
บริษัทก้าวหน้าจำกัดงบดุลณวันที่ 31 ธันวาคม 2542 หน่วย:พันบาท
บริษัทก้าวหน้าจำกัดงบดุลณวันที่ 31 ธันวาคม 2542 (ต่อ) หน่วย:พันบาท
งบกำไรขาดทุน(Profit and Loss Statement) เป็นรายงานทางบัญชีที่แสดงถึงผลการดำเนินงานขององค์กรในระยะเวลาที่ผ่านมาโดยเปรียบเทียบรายได้กับรายจ่ายในช่วงเวลาเดียวกัน
บริษัทก้าวหน้าจำกัด งบกำไรขาดทุน สำหรับงวด 1 ปีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2542 หน่วย:พันบาท
8.5การวิเคราะห์ทางการเงิน (Financial Analysis) สามารถเปรียบเทียบได้ 2 ลักษณะด้วยกันคือ 1. การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการดำเนินงานภายในธุรกิจของตนเอง 2. การวิเคราะห์เปรียบเทียบกับธุรกิจอื่นที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
ประเภทอัตราส่วนทางการเงินประเภทอัตราส่วนทางการเงิน 1. อัตราส่วนที่แสดงถึงสภาพคล่อง (Liquidity Ratios) 2. อัตราส่วนวัดสภาพหนี้สิน (Debt or Leverage Ratios) 3. อัตราส่วนที่แสดงสมรรถภาพในการทำกำไร (Profitability Ratios)
อัตราส่วนที่แสดงถึงสภาพคล่อง(Liquidity Ratios) คืออัตราส่วนที่ใช้วัดสภาพคล่องหรือความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นของธุรกิจ (1) อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current Ratio) เป็นการเปรียบเทียบระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียนกับหนี้สินหมุนเวียน Current Ratio = สินทรัพย์หมุนเวียน (เท่า) หนี้สินหมุนเวียน
(2) อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็วหรืออัตราส่วนทุนหมุนเวียนอย่างถึงแก่น (Quick or Acid Test Ratio) เป็นการเปรียบเทียบระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียนที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็วจริงๆเทียบกับหนี้สินหมุนเวียน Quick Ratio = สินทรัพย์หมุนเวียน – สินค้าคงคลัง – ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า (เท่า) หนี้สินหมุนเวียน
(3) ระยะเวลาการเก็บหนี้ เป็นอัตราส่วนแสดงความสัมพันธ์ของลูกหนี้กับค่าสุทธิต่อวัน เพื่อพิจารณาถึงระยะเวลาในการจ่ายชำระหนี้ของลูกหนี้ ระยะเวลาการเก็บหนี้ = (ลูกหนี้การค้า)(จำนวนวันต่อปี) ยอดขาย
อัตราส่วนวัดสภาพหนี้สิน(Debt Ratios) (1) อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity Ratio)) เป็นการเปรียบเทียบระหว่างหนี้สินทั้งหมดกับส่วนผู้ถือหุ้น อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น = หนี้สินทั้งหมด (%) ส่วนของผู้ถือหุ้น
(2) อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวม (Debt to Total Assets) เป็นการเปรียบเทียบระหว่างหนี้สินทั้งหมดกับสินทรัพย์ทั้งหมด อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวม = หนี้สินรวม (%) สินทรัพย์รวม
(3) ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Time Interest Earned or Interest Coverage Ratio) เป็นการเปรียบเทียบระหว่างกำไรจากการดำเนินงานกับดอกเบี้ยจ่าย ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย = กำไรจากการดำเนินงาน ดอกเบี้ยจ่าย = กำไรก่อนภาษีและดอกเบี้ย (เท่า) ดอกเบี้ยจ่าย
อัตราส่วนที่แสดงสมรรถภาพในการทำกำไร(ProfitabilityRatios)อัตราส่วนที่แสดงสมรรถภาพในการทำกำไร(ProfitabilityRatios) (1) อัตราผลตอบแทนของส่วนผู้ถือหุ้น (Return on Equity) เป็นการเปรียบเทียบระหว่างกำไรส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญกับส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น = กำไรสุทธิ (%) ส่วนของผู้ถือหุ้น
ตัวอย่าง บริษัท ก้าวหน้า จำกัด เป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์เครื่องกีฬาที่มีชื่อเสียงจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อปี 2530 ด้วยทุนจดทะเบียน 1.0 ล้านบาท กิจการของบริษัทเจริญก้าวหน้าโดยลำดับ บริษัทมีงบการเงินในปี พ.ศ. 2542 จงหา อัตราส่วนที่แสดงถึงสภาพอัตราส่วนวัดสภาพหนี้สิน และอัตราส่วนที่แสดงสมรรถภาพในการทำกำไร
1. อัตราส่วนที่แสดงถึงสภาพคล่อง (Liquidity Ratio) 1) Current Ratio = สินทรัพย์หมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน = 18,800 = 1.96 เท่า (1.96 : 1) 9,600 เมื่ออัตราส่วนเฉลี่ยของอุตสาหกรรมเท่ากับ 1.94 เท่า (1.94:1)แสดงว่าบริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าธุรกิจในอุตสาหกรรมประเภทเดียวกันหรือมีความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นได้ดีกว่าธุรกิจประเภทเดียวกัน
2) Quick Ratio = สินทรัพย์หมุนเวียน - สินค้าคงคลัง - ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า หนี้สินหมุนเวียน = 18,800 – 12,600 = 0.65 เท่า 9,600 เมื่ออัตราส่วนเฉลี่ยของอุตสาหกรรมเท่ากับ 0.97 เท่า แสดงว่าบริษัทมีสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็วน้อยกว่าธุรกิจประเภทเดียวกันนอกจากนั้นบริษัทยังถือสินค้าคงคลังไว้มากเกินไปจึงทำให้อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็วมีค่าต่ำ
3) ระยะเวลาการเก็บหนี้ = ลูกหนี้การค้าจำนวนวันต่อปี ยอดขาย = 3000365 5400 = 21.3 เมื่ออัตราส่วนเฉลี่ยของอุตสาหกรรมเป็น 20.0 แสดงว่า บริษัทมีลูกหนี้ การค้ามากเกินไปอาจทำให้มีปัญหาในการเร่งรัดหนี้สิน
2. อัตราส่วนวัดสภาพหนี้สิน 1) อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวม = หนี้สินรวม สินทรัพย์รวม = 28,600 x 100% = 29.18% 98,000 เมื่ออัตราส่วนเฉลี่ยของอุตสาหกรรมเท่ากับ 52.16% แสดงว่าบริษัทใช้เงินทุนจากหนี้สินน้อยกว่าธุรกิจประเภทเดียวกัน มีความเสี่ยงทางการเงินต่ำมีโอกาสที่จะก่อหนี้เพิ่มขึ้นอีก
2) ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย = กำไรก่อนภาษีและดอกเบี้ย ดอกเบี้ยจ่าย = 8,834 = 22.08 เท่า 400 เมื่ออัตราส่วนเฉลี่ยของอุตสาหกรรม เท่ากับ 4.53 เท่า แสดงว่าบริษัทมีความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยสูงกว่าธุรกิจประเภท เดียวกัน ทำให้มีความเสี่ยงทางการเงินต่ำ
3. อัตราส่วนที่แสดงสมรรถภาพในการทำกำไร (Profitability Ratios) 1.อัตราส่วนผลตอบแทนของส่วนผู้ถือหุ้น = กำไรสุทธิของผู้ถือหุ้น ส่วนของผู้ถือหุ้น = 5,060 x 100% = 7.29 % 69,400 เมื่ออัตราส่วนเฉลี่ยของอุตสาหกรรมเท่ากับ 10.06 % ซึ่งบริษัทจ่ายผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้นสามัญน้อยกว่าธุรกิจประเภทเดียวกัน แสดงว่าผู้ถือหุ้นได้นำเงินไปลงทุนและได้บริหารการเงินได้ประโยชน์น้อย กว่าธุรกิจประเภทเดียวกัน